Monday, 12 May 2025
Lite

16 ตุลาคม พ.ศ. 2336 ‘มารี อ็องตัวแน็ต’ ราชินีฝรั่งเศสองค์สุดท้าย ถูกประหารด้วยกิโยตีน ผลพวง ‘การปฏิวัติฝรั่งเศส’

มารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) นามเดิมตอนประสูติคือ อาร์ชดัชเชสมารีอา อันโทนีอา โยเซฟา โยฮันนา (Maria Antonia Josepha Johanna)

มารี อ็องตัวแน็ต เป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แกรนด์ดยุกแห่งตอสคานา (ราชวงศ์ลอแรน) กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา แห่งฮังการีและโบฮีเมีย อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย (ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค) พระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 เป็นพระธิดาองค์ที่ 14 ในจำนวน 16 พระองค์ของพระบิดาและพระมารดา

พระนางมารี อ็องตัวแน็ต (Marie Antoinette) องค์หญิงจากออสเตรีย วัย 14 ชันษา ถูกส่งตัวมาฝรั่งเศส จากนั้นอภิเษกสมรสกับ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI) ในปี ค.ศ. 1770 เป็นการเชื่อมอำนาจระหว่าง ออสเตรีย-ฝรั่งเศส สองผู้ยิ่งใหญ่ในยุโรปแห่งศตวรรษที่ 18 แต่วิถีชีวิตที่อยู่กับความมั่งคั่งจากมรดกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14-15 กลายเป็นความฟุ้งเฟ้อ หรูหรา และลงท้ายด้วยการถูกประชาชนประณาม ถึงการใช้ทรัพย์สินในท้องพระคลัง จนเกือบถึงขั้นล้มละลาย ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่อย่างลำบากยากแค้น ปัญหาเศรษฐกิจที่แก้ไม่ออก จนนำไปสู่การเคลื่อนไหวปฏิวัติโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และล้มล้างสถาบันกษัตริย์ เพื่อสถาปนาระบอบสาธารณรัฐขึ้นมาแทน

นอกจากการถูกฝ่ายฝักใฝ่สาธารณรัฐ เกลียดชังในความฟุ้งเฟ้อ พระนางมารี อ็องตัวแน็ต ยังถูกเรื่องฉาวข่าวลือซุบซิบในราชสำนักไม่ว่างเว้น และหนึ่งในเรื่องที่เล่าขานต่อๆ กันมากที่สุดเรื่องหนึ่งก็คือพระนางมารี กับความสัมพันธ์ลับๆ กับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้รัก เคานต์ แอ็กเซิล ฟอน แฟร์ซอง (Axel von Fersen) เอกอัครราชทูตสวีเดน ซึ่งมาประจำการที่พระราชวังแวร์ซาย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1774 

ข่าวลือเรื่องชู้รักรุนแรงถึงขั้นที่กล่าวกันว่า องค์รัชทายาท หลุยส์ที่ 18 (Dauphin Louis XVII เกิดปีค.ศ. 1785-เสียชีวิต ปี ค.ศ. 1795) นั้นเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของแฟร์ซอง ไม่ใช่ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยพบจดหมายที่ทั้งสองเขียนถึงกันหลายฉบับ เนื้อหาในจดหมายส่วนใหญ่เป็นการบอกข่าวความเป็นอยู่อย่างยากลำบากในสถานการณ์การเมืองที่ตึงเครียด และความพยายามขอความช่วยเหลือจากพันธมิตรต่างประเทศ เพื่อหนีจากเงื้อมมือคณะปฏิวัติ รวมทั้งการติดต่อขอความช่วยเหลือจากเหล่าผู้ปกครองราชวงศ์และขุนนางในยุโรป

หลังเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของฝรั่งเศส ในฐานะนักโทษของแผ่นดิน พระนางมารี อ็องตัวแน็ต ถูกกักบริเวณหรือจองจำอยู่ในพระราชวังตุยเลอรี ก่อนที่จะถูกสมัชชาแห่งชาติของคณะผู้นำการปฏิวัติฝรั่งเศสดำเนินคดีและพิพากษาประหารชีวิตบนแท่นกิโยตีนในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) ในข้อหาผู้ทรยศโกงชาติ

17 ตุลาคม ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันตำรวจ’ ผู้มีหน้าที่ดูแลความผาสุกประชาชน

วันตำรวจ ของประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ซึ่งเป็นวันประกาศรวม "กรมพลตระเวน" กับ "กรมตำรวจภูธร" เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมตำรวจ" ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" จึงได้ถือเอาวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันตำรวจ 

ทั้งนี้ เพื่อร่วมแสดงความเคารพเทิดทูนต่อในหลวง รัชกาลที่ 9 จึงมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงวันตำรวจไทย เป็นวันที่ 17 ตุลาคม โดยถือเอาฤกษ์วันสถาปนาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 มากำหนดเป็นวันตำรวจแทน

18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพ ณ พระราชวังเดิม เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 

พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ วันที ๒ เมษายน พ.ศ.2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การปกครองได้แก่ ตำราพิชัยสงคราม การฝึกอาวุธ วิชาคหกรรม โหราศาสตร์ และ ทรงโปรดวิชาภาษาต่างประเทศ เป็นพิเศษ พระองค์ท่านทรงมีความเชียวชาญในวิชาโหราศาสตร์และดาราศาสตร์อย่างมาก ปวงชนชาวไทยจึงได้ถวายพระราชสมัญญาให้พระองค์เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”

เมื่อ พ.ศ.2411 พระองค์ทรงคำนวณว่าจะสามารถเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงได้ในประเทศสยาม ณ หมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระองค์จึงโปรดให้ตั้งพลับพลาเพื่อเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่พระองค์ทรงคำนวณก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงดังที่ทรงได้คำนวณไว้

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคต ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2411 พระชนมายุ 64 พรรษา

ส่องลุค ‘ลิซ่า ลลิษา’ บนเวที Victoria's Secret กับ 2 เพลงดัง ROCKSTAR-MOONLIT FLOOR

(16 ต.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "ลิซ่า-ลลิษา" หรือ "ลิซ่า"  BLACKPINK ได้รับเกียรติเปิดโชว์ Victoria's Secret Fashion Show 2024  ที่กลับมาจัดอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งในรอบ 6 ปี  และได้ทำการแสดงด้วยกัน ถึงสองเพลง ROCKSTAR และ  MOONLIT FLOOR

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

✨ประจำวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2567

🟢 รางวัลที่  1  482962    6,000,000 บาท

🔴 เลขหน้า 3 ตัว    561 648    4,000 บาท

🔴 เลขท้าย 3 ตัว    919 493    4,000 บาท

🔴 เลขท้าย 2 ตัว    00    2,000 บาท

🔴 รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1: รางวัล 100,000 บาท
482963, 482961

🔴 รางวัลที่ 2: รางวัล 200,000 บาท
091247, 887149, 042170, 209783, 960616

🔴 รางวัลที่ 3: รางวัล 80,000 บาท
744996, 309600, 942966, 079381, 701566, 327831, 350969, 360198, 835479, 803140

🔴 รางวัลที่ 4: รางวัล 40,000 บาท
167913, 729593, 226460, 536788, 414059, 874449, 388836, 021948, 826605, 470723, 730622, 138948, 462725, 006344, 395774, 288167, 656780, 424010, 056126, 500651, 195795, 315440, 863363, 176736, 573022, 318165, 637681, 417106, 322962, 884284, 405302, 168879, 934027, 825993, 604412, 155170, 394200, 423542, 630912, 180486, 564006, 215243, 615764, 563373, 113438, 292397, 358015, 528843, 391203, 724358

🔴 รางวัลที่ 5: รางวัล 20,000 บาท
755262, 367162, 177122, 034806, 987926, 668768, 940940, 464258, 777604, 767119, 128580, 567405, 696974, 070972, 859244, 164916, 105882, 526233, 892802, 104312, 059147, 449561, 924761 995215, 392533, 424294, 916049, 996774, 141955, 812819, 109582, 937467, 755995, 726301, 594820, 565243, 269216, 311731, 892171, 848771, 315418, 915590, 396665, 207873, 516238, 926205, 400476, 714625, 169064, 318414. 474541, 913324, 133254, 942020 493933, 818894, 293854, 524834, 516489, 192105, 706603, 161363, 574970, 852841, 414328, 277076, 026221, 242520, 446104, 727325, 749182, 019648, 650003, 690027, 375592, 744551, 782906, 572047, 533524, 389716, 544623, 956648, 918643, 399081, 529490, 158877, 305067, 468744, 943107, 356122, 103237, 354352, 889734, 923774, 958786, 750256, 279617, 169981, 976947, 347685

อาลัย ‘เลียม เพย์น’ อดีตสมาชิกวง ‘One Direction’ ตำรวจรายงานพบเสียชีวิตที่อาร์เจนติน่า จากเหตุพลัดตกตึก

(17 ต.ค. 67) เลียม เพย์น อดีตสมาชิกวงบอยแบนด์ชื่อดัง One Direction เสียชีวิตหลังพลัดตกจากหน้าต่างโรงแรมแห่งหนึ่งในบัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา ในอายุ 31 ปี เมื่อวานนี้(16 ต.ค. 67) ตามเวลาท้องถิ่น 

เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันพุธที่โรงแรมแห่งหนึ่งบนถนน Costa Rica ในย่าน Palermo ตามคำกล่าวของตำรวจ

เพย์นเคยเดินทางไปอาร์เจนตินาเพื่อชมคอนเสิร์ตของอดีตสมาชิกวงเดียวกันอย่างไนอัลล์ โฮแรน เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ตามวิดีโอที่โพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียจากงานแสดง

เลียมเพิ่งฉลองวันเกิดอายุครบ 31 ปีในสหราชอาณาจักร ตามวิดีโอที่โพสต์ลงบน Snapchat เพย์นเกิดที่เมืองวูล์เวอร์แฮมป์ตัน มิดเดิลแวสต์ และเป็นคนเล็กในบรรดาสามพี่น้อง เขาเป็นศิษย์เก่าของวิทยาลัยเมืองวูล์เวอร์แฮมป์ตัน ในสาขาเทคโนโลยีดนตรี

เพย์นเป็นที่รู้จักมากที่สุดในฐานะสมาชิกวงบอยแบนด์ชื่อดังชาวอังกฤษ One Direction วงดนตรีที่ประกอบด้วยแฮร์รี่ สไตล์ส, เซน มัลลิค, หลุยส์ ทอมลินสัน และฮอราน ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2010 หลังจากที่สมาชิกแต่ละคนปรากฏตัวในรายการแข่งขันเรียลลิตี้โชว์ "The X Factor" เวอร์ชั่นสหราชอาณาจักร

19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสาธิตการทดลองฝนหลวงให้ผู้แทนรัฐบาลสิงคโปร์

ย้อนไปเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินทรงควบคุมการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อสาธิตให้ผู้แทนของรัฐบาลสิงคโปร์ชม ณ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจาน 

โดยเหตุการณ์ในวันนั้น ได้แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝน หวังผลให้ตกในพื้นที่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประเทศสิงคโปร์ที่กำลังประสบภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับสภาวะแห้งแล้งในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ในขณะนั้น ขอส่งนักวิทยาศาสตร์มาสังเกตการณ์และขอรับถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญใน การปฏิบัติการทำฝนหวังผลในประเทศไทย 

ในการนี้ทรงพระกรุณารับบัญชาการปฏิบัติการสาธิตด้วยพระองค์เอง ทรงกำหนดให้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีพื้นที่ผิวน้ำเพียง 46.5 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,162.5 ไร่ เป็นพื้นที่เป้าหมายหวังผลในการปฏิบัติการทำฝนสาธิตครั้งนี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยปฏิบัติการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทำฝนหวังผลที่ผ่านมา ทรงสามารถบังคับหรือชักนำฝนให้ตกลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนแก่งกระจานอย่างแม่นยำภายในเวลาประมาณ 5 ชั่วโมงนับจากเริ่มปฏิบัติการ เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาและเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ และข้าราชบริพารที่เป็นข้าราชการและข้าราชบริพารระดับสูงที่เฝ้าฯ สังเกตการณ์อยู่ ณ ที่นั้น ต่างประทับใจในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ 'โครงการพระราชดำริ ฝนหลวง' เกิดขึ้นจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี 2495 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาด แคลนน้ำ อุปโภค บริโภค และการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทาน โครงการพระราชดำริฝนหลวง ให้กับ ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลอง ปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น 

ต่อมาปี 2512 โครงการฝนหลวงประสบความสำเร็จมากขึ้น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง ในปี 2518 ต่อมาประเทศไทยได้จดทะเบียนกิจกรรมฝนหลวง กับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แห่งสหประชาชาติ เป็นครั้งแรกในปี 2525 และนำความรู้ด้านการสร้างฝนเทียมนี้เผยแพร่ไปยังต่างประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำฝน 

จากนั้นองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจึงได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540 ต่อมารัฐบาลไทยจึงมีมติเทิดพระเกียรติพระองค์ในฐานะ 'พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย' เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม ของทุกปีเป็น 'วันเทคโนโลยีของไทย' เริ่มครั้งแรกในปี 2544

20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จสวรรคต

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง (พระบรมราชชนนี ในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7) ทรงพระประชวรไข้พระวรกาย และเสด็จสวรรคต ณ พระตำหนัก พระราชวังพญาไท เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 

สำหรับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 66 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2407 เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 55 ปี พระองค์มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 9 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 7 พระองค์ พระราชธิดา 2 พระองค์

เมื่อแรกประสูติพระองค์ได้รับพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี  พระองค์มีพระเชษฐาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาทั้งสิ้น 6 พระองค์ ได้แก่ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชยพระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ 

เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์นั้น พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีพระปัญญาที่เฉียบแหลมมาก ทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาหมั่นซักถามแสวงหาความรู้ด้วยพระวิริยะอุตสาหะและทรงศึกษาวิชาการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วอันเป็นเครื่องแสดงถึงการที่ทรงมีพระวิริยะ พระปัญญาปราดเปรื่องหลักแหลม ต่อมาขณะที่มีพระชนม์ 15 พรรษา ทรงเข้ารับราชการเป็นมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และในปีถัดมาก็ได้รับการสถาปนาเป็น พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชเทวี

ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสในพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพระองค์ต่อมา พร้อมทั้งสถาปนาพระอิสริยยศของพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ในฐานะเป็นพระชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นพระยศพระอัครมเหสีเช่นเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2440 เพื่อตรวจดูแบบแผนราชการแล้วนำมาเปรียบเทียบปรับปรุงการปกครองของราชอาณาจักรสยาม พร้อมกันนั้นก็เพื่อทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับอารยประเทศในยุโรป พระองค์จึงทรงมอบหมายให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินได้เรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่งนัก ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถจรรยนุวัติปฏิบัติ ประกอบด้วยพระราชอัธยาศัยสภาพสมด้วยพระองค์เป็นขัตติยนารีนาถ และกอปรด้วยพระกรุณภาพยังสรรพกิจทั้งหลายที่ได้พระราชทานปฏิบัติมาล้วนแต่เป็นเกียรติคุณแก่ประเทศสยามทั่วไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามาภิไธย จากสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี เป็น 'สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ' เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระองค์แรกในประเทศไทย

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราช กุมาร ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี ในฐานะพระราชมารดาพระองค์จึงทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น 'สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี' และทูลเชิญพระองค์เสด็จมาประทับที่พระราชวังพญาไท ซึ่งพระองค์ก็เสด็จประทับที่พระราชวังแห่งนี้จนกระทั่งเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้ออกพระนามพระบรมราชชนนีภายหลังการเสด็จสวรรคตว่า ‘สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง’

ด้วยพระเกียรติคุณที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนนานัปการ จนเป็นที่ประจักษ์ชัดจนถึงทุกวันนี้ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส จึงได้ประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติคุณยกย่องให้สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเป็น 'บุคคลสำคัญของโลก' ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นด้านการศึกษาสำหรับเด็กและสตรี การศึกษาด้านการสาธารณสุขศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม และมนุษยศาสตร์ ปี พ.ศ.2557 เนื่องในโอกาสครบ 150 ปี แห่งการพระราชสมภพ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ปรากฏแผ่ไพศาล สืบไป

21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 วันพระราชสมภพ ‘สมเด็จย่า’ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จย่า ของปวงชนชาวไทย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ทรงเป็นพระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และทรงเป็นพระอัยยิกา (ย่า) ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10)

ตลอดพระชนม์ชีพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ทรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนที่ยากไร้และชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพในปี พ.ศ. 2538 รวมพระชนมายุ 95 พรรษา
 .
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็น ‘บุคคลสำคัญของโลก’ ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวมในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม

พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวไทยและประเทศชาติมีมากมาย พระองค์ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ทรงอุทิศพระวรกายและสละเวลาให้แก่ประชาชน เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยตลอดมา รัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ จึงได้กำหนดให้วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันสำคัญของประเทศไทย ดังนี้

• วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ 
ด้วยพระเมตตา และพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จย่า ทรงมีต่อประชาชนที่ได้พบเห็นในถิ่นทุรกันดารในเรื่องของโรคภัย คือ เรื่องโรคฟัน ถือเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับประชาชนในถิ่นทุรกันดารและไม่สามารถช่วยตนเองได้ ในปี พ.ศ. 2512 พระองค์จึงทรงจัดตั้ง ‘หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระราชชนนี’ (พอ.สว.) ขึ้น และทรงให้ทันตแพทย์ร่วมปฏิบัติงานในหน่วยแพทย์พอ.สว.นี้ รวมทั้งพระองค์ได้พระราชทานวิชาชีพทันตแพทยศาสตร์และทันตบุคลากร ในปี พ.ศ.  2532 คณะรัฐมนตรีเห็นว่าสมเด็จย่ามีพระมหากรุณาธิคุณ จึงกำหนดให้วันที่ 21 ตุลาคม เป็นวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ และพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาแก่พระองค์เป็น ‘พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย’

• วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ
สืบเนื่องจากพระองค์ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและเวลาเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก และสมควรนำมาเป็นแบบอย่างในการประพฤติตนและการปฏิบัติงานเพื่อสังคมส่วนรวม เมื่อปี พ.ศ. 2528 รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย ในปี 2542 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศพระนามให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ : การพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม 

• วันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ
วันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ หรือ วันรักต้นไม้แห่งชาติ หรือ ‘วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ’ (National Annual Tree Care Day) ถือกำเนิดขึ้นจากแรงปณิธานของสมเด็จย่า ที่ทรงให้ความสำคัญการบำรุงรักษาต้นไม้และฟื้นฟูความสมดุลของธรรมชาติ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2533 กำหนดให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น ‘วันบำรุงรักษาต้นไม้ประจำปีของชาติ’ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อสมเด็จย่า ที่ทรงงานพัฒนาชนบทโดยเฉพาะการฟื้นฟูสมดุลของธรรมชาติ

• วันพยาบาลแห่งชาติ 
ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจในการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตา และด้วยพระวิริยะอุตสาหะ กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันพยาบาลแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา

22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

22 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวรวิหาร

ก่อนที่จะถึงวันพระราชพิธีทรงผนวช ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระราชทานกระแสพระราชดำรัสในการที่จะทรงผนวชแก่พระบรมวงศานุวงศ์ คณะองคมนตรี คณะทูต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราช ซึ่งเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย แจ้งข้อพระราชดำริที่จะบรรพชาอุปสมบท และขอให้ทุกฝ่ายสมัครสมานกันรักษาประเทศ ทรงขอบใจรัฐบาลที่รับภาระเตรียมการบรรพชาอุปสมบท

ครั้นเสร็จพระราชพิธีภายใน พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัยแล้ว จึงเสด็จฯ มายังพระที่นั่งสุทไธสวรรค์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จออกสีหบัญชร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสว่า

“ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ท่านทั้งปวงได้มาประชุมกัน ณ ที่นี้ ขอถือโอกาสแจ้งดำริ ที่จะบรรพชาอุปสมบทให้อาณาประชาราษฎร์ทราบทั่วกัน

อันพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจําชาติของเรา ตามความอบรมที่ได้รับมาก็ดี ตามศรัทธาเชื่อถือส่วนตัวของข้าพเจ้าก็ดี เห็นเป็นศาสนาที่ดีศาสนาหนึ่ง มีคําสั่งสอนให้คนประพฤติตนเป็นคนดี ทั้งเพรียบพร้อมด้วยบรรดาสัจธรรมอันชอบด้วยเหตุผลน่าเลื่อมใสยิ่งนัก  ข้าพเจ้าเคยคิดอยู่ว่า ถ้าโอกาสอำนวยก็น่ารักได้อุปสมบทในพระศาสนาตาม ประเพณีสักเวลาหนึ่ง ซึ่งมักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบุพการีตามคตินิยมอีกโสดหนึ่งด้วย 

และนับตั้งแต่ข้าพเจ้าได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบสันตติวงศ์มาเป็นเวลาช้านานพอสมควรแล้ว น่าจะเป็นโอกาสที่จะทําตามความตั้งใจไว้นั้นได้แล้วประการหนึ่ง อนึ่ง การที่สมเด็จพระสังฆราชซึ่งทรงมีพระคุณูปการในส่วนตัวข้าพเจ้าได้หายประชวรในครั้งหลังนี้ ก่อให้เกิดความปีติยินดีแก่ข้าพเจ้าเป็นอันมาก มาคํานึงเห็นว่า ถ้าในการที่ข้าพเจ้าจะอุปสมบทนี้ ได้พระองค์ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วยแล้ว ก็จะเป็นการแสดงออกซึ่งความศรัทธา เคารพ ของข้าพเจ้าที่มีอยู่ในพระองค์ท่านได้อย่างเหมาะสมด้วยอีกประการหนึ่ง อาศัยเหตุเหล่านี้จึงได้ตกลงใจจะอุปสมบทในวันที่ 22 เดือนนี้

ส่วนกิจการบ้านเมืองนั้นก็หวังว่า ในระยะเวลาที่ข้าพเจ้าบวชนี้คงไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดขัดข้อง โดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ข้าพเจ้าก็ได้แต่งตั้งสมเด็จพระราชินีเป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ไว้แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงช่วยกันรักษาความสงบสุขในกิจการบ้านเมืองของเราให้ดําเนินไปด้วยดีเถิด

ขอคุณพระศรีรัตนตรัย ได้อภิบาลคุ้มครองท่านทั้งหลายให้มีความสุขสวัสดี ขอทุกๆ ท่านจงมีส่วนได้รับกุศลความดีงามอันจักพึงมีจากการที่ข้าพเจ้าเข้าอุปสมบทในพระศาสนาครั้งนี้โดยทั่วกัน เทอญ”

สำหรับพระราชพิธีทรงผนวชในครั้งนั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาจารย์ เมื่อเสร็จพิธีแล้วพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงได้รับสมญานามจาก ว่า “ภูมิพโล”

ในระหว่างที่ทรงดำรงสมณเพศ ทรงปฏิบัติพระราชกิจ เช่นเดียวกับพระภิกษุทั้งหลายอย่างเคร่งครัด เช่น เสด็จลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้า-เย็น ตลอดจนทรงสดับพระธรรมและพระวินัย นอกจากนี้ยังได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจพิเศษอื่นๆ เช่น เสด็จฯ ไปทรงรับบิณฑบาต จากพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน เสด็จฯ ไปทรงรับบิณฑบาต ณ วังสระปทุม เสด็จฯ ไปทรงนมัสการพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เสด็จฯ ไปทรงรับบิณฑบาตจากประชาชนทั้งในบริเวณถนนพระสุเมรุ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และสี่แยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี เป็นต้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top