Monday, 12 May 2025
Lite

'สัปเหร่อ' สุดฮอต!! กวาด 7 รางวัลสุพรรณหงส์ ด้าน 'ต้องเต' วอนรัฐสนับสนุนหนังไทยจริงจัง

(30 ก.ย. 67) เรียกได้ว่าเป็นปีทองอย่างมาก สำหรับภาพยนตร์เรื่อง ‘สัปเหร่อ’ ที่กวาดรางวัลสุพรรณหงส์ไปได้ถึง 7 รางวัล ซึ่งได้แก่ รางวัลเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม, รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม และ ภาพยนตร์ไทยรายได้สูงสุดประจำปี 2566

โดย ‘ต้องเต ธิติ’ ผู้กำกับ ‘สัปเหร่อ’ โพสต์ร่ายยาวขอบคุณทุกคนที่เกี่ยวข้องและฝากรัฐบาลสนับสนุนหนังไทยอย่างใจจริงต่อไป

รางวัลสุพรรณหงส์ครั้งที่ 32
หนังเรื่องสัปเหร่อได้รับรางวัลในครั้งนี้ทั้งหมด 7 รางวัล ได้แก่

รางวัลสุพรรณหงส์ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ สัปเหร่อ
รางวัลสุพรรณหงส์ ผู้กำกับยอดเยี่ยม ได้แก่ ธิติ ศรีนวล จาก สัปเหร่อ
รางวัลสุพรรณหงส์ นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ได้แก่ ชาติชาย ชินศรี จาก สัปเหร่อ
รางวัลสุพรรณหงส์ บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ สัปเหร่อ
รางวัลภาพยนตร์ไทยรายได้สูงสุดประจำปี 2566 ได้แก่ สัปเหร่อ
รางวัลสุพรรณหงส์ เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้แก่ เพลงยื้อ - ปรีชา ปัดภัย จาก สัปเหร่อ
รางวัลภาพยนตร์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยยอดเยี่ยม ได้แก่ สัปเหร่อ

ขอบคุณทีมงานทุก ๆ คนมาก ๆ ๆ นะครับทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง และขอบคุณไทบ้าน สตูดิโอ ขอบคุณเฮียโต้ง พี่ปัน พี่เอก พี่สัก พี่จ็อบ พี่กัส พี่โอม พี่แจ้ พี่นิค ขอบคุณอ้ายก้องเอื้อยเบล และพี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคนที่มีส่วนร่วมทุก ๆ คนนะครับ ขอบคุณครอบครัวของผมนำเด้อครับ ขอบคุณเพื่อนแก๊งเซียนหรั่งด้วยนะครับ

และที่ขาดไม่ได้เลย คือขอบคุณคนดูทุกท่านและพ่อแม่พี่น้องชาวอีสานนำเด้อครับ ขอบคุณเพื่อน ๆ ผมที่ทำหนังอีสานมาด้วยกัน ผมฝากเป็นกำลังใจให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยนะครับ ผมเป็นแค่มนุษย์คนนึ่งหรือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งนะครับ ผมได้มีโอกาสในการพูดครั้งนี้และขอฝากบอกรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยนะครับ ส่งเสริม ช่วยเหลือ แก้ไข ผลักดัน และซัปพอร์ตพวกเราจริง ๆ หน่อยนะครับ ขอบคุณมาก ๆ จริง ๆ นะครับ

ขอบคุณพ่อแม่พี่น้องที่คอยซัปพอร์ตหนังอีสานจากค่ายเล็ก ๆ นะครับ รางวัลนี้คงเป็นแรงผลักดันและ แรงขับเคลื่อนหัวใจด้วยความสุขในการพัฒนาเรียนรู้แก้ไขเข้าใจและทุ่มเทที่จะทำผลงานต่อ ๆ ไปของพวกเรา และขอให้รางวัลนี้เป็นกำลังใจให้วงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยทุก ๆ ท่านนะครับ ฝากสนับสนุนหนังไทยด้วยนะครับ

ฝากหนังเรื่องต่อไปของผมด้วยนะครับ สัปเหร่อ 2
ฝากไทบ้านและสถุนโปรดักชั่นไว้ด้วยนะครับ
ขอบพระคุณจากใจทุก ๆ ท่านจริง ๆ นะครับ

#สุพรรณหงส์ครั้งที่32

4 ตุลาคม พ.ศ. 2313 ‘พระเจ้าตากสินมหาราช’ สถาปนาราชธานีแห่งใหม่ ทรงพระราชทานนามว่า ‘กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร’

ย้อนกลับไปเมื่อที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2313 ‘เมืองธนบุรี’ ได้ถูกสถาปนาเป็น ‘ราชธานีแห่งใหม่’ หลังจาก ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’ หรือ ‘สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’ สามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่า  

ในเวลานั้นสภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวง เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายและยากแก่การบูรณะ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยายังมีพื้นที่กว้างขวางยากแก่การรักษาบ้านเมือง และอยู่ห่างจากปากแม่น้ำไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ ทำให้ต้องสถาปนาราชธานีแห่งใหม่

สำหรับสาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราชเลือก ‘กรุงธนบุรี’ เพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่าง ๆ ไปตามหัวเมืองเมื่อเกิดศึกสงคราม 

นอกจากนี้ หากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังจะต้านทานก็ยังสามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้โดยอาศัยทางเรือ อีกทั้งยังมี 2 ป้อมปราการทั้งป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์ อยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ 

โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2313 พระราชทานนามว่า ‘กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร’ และทรงสร้างพระราชวังขึ้นทางทิศใต้ของกรุงธนบุรี ขนาบข้างด้วยวัดแจ้ง หรือวัดมะกอก (ปัจจุบันคือ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร) และวัดท้ายตลาด (ปัจจุบันคือวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร)   

อย่างไรก็ดี ‘อาณาจักรธนบุรี’ เป็นอาณาจักรเพียงแค่ช่วงสั้น ๆ ระหว่างปี 2310 - 2325 หรือเพียง 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ ‘สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี’ และต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

5 ตุลาคม ‘วันนวัตกรรมแห่งชาติ’ เทิดพระเกียรติ ‘ในหลวง รัชกาลที่ 9’ ‘พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย’

วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันนวัตกรรมแห่งชาติ’ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 รำลึกถึงพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินโครงการของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ และทรงได้มีพระราชดำรัสแสดงถึงความเป็นนวัตกรรมของ ‘โครงการแกล้งดิน’ ที่ไม่มีใครทำมาก่อน ทั้งนี้ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริให้ทำเป็นตำรา คือ ‘คู่มือปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดเพื่อการเกษตร’ สำหรับที่จะใช้พัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวอื่น ๆ ต่อไป

ด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และความตั้งพระราชหฤทัยที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยนั้น เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติคุณกันทั่วทิศานุทิศ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเทิดพระเกียรติพระองค์เป็น ‘พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย’ จากการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ 

คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ให้ดำเนินโครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้

1. เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น 'พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย'
2. ให้วันที่ 5 ตุลาคมของทุกปี เป็น 'วันนวัตกรรมแห่งชาติ'

✨ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

✨ประจำวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567

🟢 รางวัลที่ 1 รางวัลละ 6,000,000 บาท : 718665

🔴 รางวัลข้างเคียงรางวัลที่ 1 รางวัลละ 100,000 บาท : 718664718666

🔴 รางวัลเลขหน้า 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 053 812

🔴 รางวัลเลขท้าย 3 ตัว รางวัลละ 4,000 บาท : 079 566

🔴 รางวัลเลขท้าย 2 ตัว รางวัลละ 2,000 บาท : 59

🔴 รางวัลที่ 2 รางวัลละ 200,000 บาท : 618304 706570 920212 619457 803186

🔴 รางวัลที่ 3 รางวัลละ 80,000 บาท : 

079513 899161 028929 015089 576883
848720 332583 827661 936769 807587

🔴 รางวัลที่ 4 รางวัลละ 40,000 บาท : 

447798 379538 070465 143828 565201
100523 730422 654733 350914 968249
715944 974039 073792 306489 394717
823339 371560 229354 549734 544300
791315 612189 588560 705120 156039
079288 961797 325692 235485 068766
549143 585487 214339 656278 849778
795687 166685 827766 448648 415631
579404 331211 522846 952454 001650
430370 406839 483088 392399 791536

🔴 รางวัลที่ 5 รางวัลละ 20,000 บาท

280422 036283 754306 886771 443091
526698 221366 985280 458809 028519
122019 971141 566721 487641 142265
265401 611367 803474 222108 176036
974833 082021 409813 743601 505928
634524 982865 749235 815227 090743
930041 445026 385388 331823 432285
924197 280547 749834 929691 271493
519617 316668 867435 581639 738631
238694 145004 815448 369105 237296
529047 123489 647932 264184 674505
779485 954373 098621 759723 729975
499637 237865 564652 380962 699053
817965 183407 930997 312076 609336
094704 868444 171250 187093 445974
041466 761270 977415 086635 628125
072238 713107 111308 400188 495788
629558 714202 041220 737191 749137
269228 562878 822973 224689 705352
330818 520432 447142 511989 342384

‘สาวนิวยอร์ก’ นั่งเครื่องครึ่งโลกมาไทยกว่า 18 ชม. เพียงเพื่อให้ได้พบ ‘หมูเด้ง’ ฮิปโปแคระสุดน่ารัก

'หมูเด้ง' ฟีเวอร์ของแท้ ‘มอลลี สวินดัลล์’ สาวชาวรัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ อดทนนั่งเครื่องบินจากนิวยอร์กมาไทยกว่า 18 ชั่วโมง เพื่อมาหา 'หมูเด้ง' แถมซื้อของที่ระลึกเสื้อผ้าหมูเด้งไปใส่ด้วย

กลายเป็นไวรัลบนโลกโซเชียล เมื่อ 'มอลลี สวินดัลล์' สาวชาวรัฐนิวยอร์กของสหรัฐฯ เดินทางไกลกว่า 12,800 กิโลเมตร หรือมากกว่า 18 ชั่วโมง มายังสวนสัตว์เปิดเขาเขียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดและบ้านของหมูเด้ง ฮิปโปแคระสุดน่ารักที่กำลังขโมยหัวใจของคนทั่วโลก

สำหรับ สวินดัลล์ เป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ที่โด่งดังมาจากการเผยคลิปวิดีโอในฐานะแฟนคลับตัวยงของเทเลอร์ สวิฟต์ โดยได้ระบุในช่องติ๊กต็อกของเธอว่า เธอตัดสินใจบินจากนิวยอร์กไปกรุงเทพฯ ในนาทีสุดท้ายเพื่อพบกับหมูเด้ง "ดิว่าสาวในตำนานอย่างหมูเด้ง ฉันแทบรอไม่ไหวที่จะพบเธอ"

Molly Tea ชานมมะลิสัญชาติจีนบุกตลาดไทย ดึง ‘ปอร์เช่-ชาช่า’ 2 ศิลปินดัง ร่วมฉลองเปิดสาขาแรกสุดเอ็กซ์คลูซีฟ

(3 ต.ค.67) เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้ว สำหรับ Molly Tea แบรนด์เครื่องดื่มชานมมะลิสัญชาติจีน พรีเมียม ต้นกำเนิดจากเมืองเซินเจิ้น ที่มีกว่า 800 สาขาทั่วโลก โดยสาขาแรกที่ไทย ได้บุกใจกลางสยามอย่าง เซ็นเตอร์พอยท์สยามสแควร์ชั้น 1

สำหรับ Molly Tea สาขาแรก ได้เปิดให้ทุกคนมาสัมผัสประสบการณ์ชานม มะลิที่มากับเอกลักษณ์แบรนด์สีชมพูสุดคิวท์ เมื่อวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

ขณะที่ภายในงานมี 'ปอร์เช่ ธนธรณ์ เจริญรัตนพร' หนุ่มหล่อนักแสดงนำจากซีรีส์ MY STAND-IN ตัวนาย ตัวแทน และ 'ชาช่า กนกรักษ์งาม ลิขิตเลิศ' เด็กฝึกตัวเต็ง 30 คนสุดท้าย จากรายการ CHUANGASIA THAILAND 2024 มาร่วมโชว์การแสดงสุดเอ็กซ์คลูซีฟ พร้อมลิ้ม รสชาติเครื่องดื่มสุดพิเศษ อีกทั้งยังมีสื่อมวลชนและอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังมากมายมาร่วมสัมผัส ประสบการณ์ ชานมมะลิพรีเมียม ที่ Molly Tea สาขาแรก ในไทย อีกด้วย

สำหรับจุดเด่นและความพิเศษของ Molly Tea ที่ไม่เหมือนใคร คือ ความหอมของกลิ่นมะลิที่ส่งตรงมาจากจีนแบบพรีเมียม พร้อมส่งมอบความสดชื่นตลอดการดื่มด่ำ ไปกับรสชาติแบบต้นตำรับ มากไปกว่านั้นยังมีเมนูคริสปี้ครีม เพิ่มความคลาสสิกได้อย่างลงตัว

6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ‘กัมพูชา’ ฟ้องเรียกร้องสิทธิเหนือ ‘เขาพระวิหาร’ สุดท้าย ‘ศาลโลก’ ให้ไทยแพ้ 9 ต่อ 3 เสียง

วันนี้ เมื่อ 64 ปีก่อน กัมพูชา ยื่นฟ้องต่อศาลโลก เรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือเขาพระวิหาร ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษของไทย

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลกัมพูชา นำโดย เจ้านโรดม สีหนุ ได้ยื่นฟ้องต่อ ศาลโลก หรือ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เรียกร้องกรรมสิทธิ์เหนือ เขาพระวิหาร ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษของไทย โดยอ้างว่าประเทศไทยละเมิดอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารซึ่งเป็นของกัมพูชา ตั้งแต่ปี 2497 เป็นต้นมา และขอเรียกร้องให้คืนอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารคืนแก่กัมพูชา 

การไต่สวนพิจารณาคดียาวนานถึง 3 ปี มีการนัดพิจารณาสืบพยานทั้งหมด 73 ครั้ง จนในที่สุด เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ศาลโลกก็ตัดสินให้กัมพูชาเป็นฝ่ายชนะคดีด้วยคะแนน 9 ต่อ 3 เสียง ยังผลให้ประเทศไทยต้องยินยอมทำตามข้อเรียกร้องทั้ง 2 ข้อของกัมพูชา 

หลังจากแพ้คดี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยินยอมให้นักศึกษาเดินขบวนประท้วงคำตัดสิน และปิดทางขึ้นปราสาทซึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย เป็นการตอบโต้กัมพูชา เหลือเพียงทางขึ้นเป็นช่องเขาแคบ ๆ สูงชันและอันตราย ในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของกัมพูชา เขาพระวิหารก็ถูกปิด ๆ เปิด ๆ ให้เข้าชมอยู่หลายครั้งตามสถานการณ์ภายในประเทศ ก่อนจะเกิดความร่วมมือกันอีกครั้งระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวจนถึงปัจจุบันนี้ เขาพระวิหารนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จ. ศรีสะเกษ

7 ตุลาคม พ.ศ. 2463 ‘เรือหลวงพระร่วง’ เดินทางถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เรือรบหลวงลำแรกของไทยจากเงินเรี่ยไรชาวสยาม

วันนี้ เมื่อ 103 ปีก่อน ‘เรือหลวงพระร่วง’ เรือรบหลวงลำแรกของไทย เดินทางมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ภายใต้การบังคับการโดย ‘กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์’ 

เรือหลวงพระร่วง เป็นเรือหลวงลำแรกในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งข้าราชการและประชาชนผู้มีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างเรือรบไว้เพื่อป้องกันราชอาณาจักรทางทะเล จึงร่วมกันจัดตั้ง ราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (The Royal Navy League of Siam) ขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 เพื่อเรี่ยไรทุนทรัพย์ซื้อเรือรบถวายเป็นราชพลี 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความยินดีและเห็นชอบ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามเรือนี้ว่า พระร่วง อันเป็นสิริมงคลตามวีรกษัตริย์อันเป็นที่นับถือของชาวไทยทั่วไป พระองค์ทรงเป็นกำลังสำคัญในการหาทุนเพื่อสร้างเรือลำนี้ เช่น ได้แก้ไขบทละครเรื่อง ‘มหาตมะ’ ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2475 ทรงนำเรื่องการเสียสละทุนทรัพย์สมทบทุนสร้างเรือรบเข้ามาเป็นหัวใจของเรื่อง และได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการแสดงเพื่อเก็บเงินสมทบทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ทั้งยังมีการแสดงละครพระราชนิพนธ์อีกหลายเรื่องตลอดจนโปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวดภาพเพื่อหารายได้อีกด้วย 

นอกจากนั้นพระองค์ยังได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวน 80,000 บาท กับเงินที่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้พร้อมใจกันออกทุนเรี่ยไรถวายเมื่อครั้งจัดงานพระราชพิธีทวีธาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งยังเหลือจากการใช้จ่ายเป็นจำนวนเงิน 116,324 บาท ทั้งยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์อีกเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท เมื่อรวมกับเงินที่เรี่ยไรทั่วพระราชอาณาจักร ได้จำนวนรวมทั้งสิ้น 3,514,604 บาท 1 สตางค์ ในปี พ.ศ. 2463

ต่อมา นายพลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงพิเศษออกไปจัดซื้อเรือในภาคพื้นยุโรปพร้อมด้วยนายทหารอีก 5 นาย คณะข้าหลวงพิเศษตรวจการซื้อเรือในภาคพื้นยุโรปชุดนี้คัดเลือกได้เรือพิฆาตตอร์ปิโด มีนามว่า ‘เรเดียนท์’ (RADIANT) ของบริษัทธอร์นิครอฟท์ (Thornycroft Co.,) ประเทศอังกฤษ ซึ่งเห็นว่าเหมาะสมแก่ความต้องการของกองทัพเรือและเป็นเรือที่ต่อขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ระหว่างมหาสงครามโลกครั้งที่ 1 ครั้นสงครามยุติลงเมื่อ พ.ศ. 2461 อังกฤษจึงยินดีขาย คณะข้าหลวงพิเศษได้ตกลงซื้อเรือลำนี้เป็นเงิน 200,000 ปอนด์ ส่วนเงินที่เหลือจากการซื้อเรือนั้นได้พระราชทานให้แก่กองทัพเรือไว้สำหรับใช้สอย เสด็จในกรมฯ ได้เป็นผู้บังคับการเรือลำนี้จากประเทศอังกฤษเข้ามาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2463 นับเป็นเกียรติประวัติครั้งแรกที่คนไทยเดินเรือทะเลได้ไกลถึงเพียงนี้

สำหรับสมรรถนะของเรือหลวงพระร่วงมีดังนี้ คือ มีระวางขับน้ำ 1,046 ตัน ความยาวตลอดลำ 83.57 เมตร ความกว้างสุด 8.34 เมตร กินน้ำลึก 4 เมตร อาวุธปืน 102 ม.ม. 3 กระบอก ปืน 76 ม.ม. 1 กระบอก ต่อมาติดปืน 40 ม.ม. 2 กระบอก ปืน 20 ม.ม. 2 กระบอก มีตอร์ปิโด 21 นิ้ว 4 ท่อ มีรางปล่อยระเบิดลึก และมีแท่นยิงปืนระเบิดลึก 2 แท่น เครื่องจักรเป็นแบบไอน้ำแบบ บี.ซี. เกียร์ เทอร์ไบน์ จำนวน 2 เครื่อง ใบจักรคู่ กำลัง 29, 000 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 35 น นอต ความเร็วมัธยัสถ์ 14 นอต รัศมีทำการเมื่อความเร็วมัธยัสถ์ 1,896 ไมล์ ทหารประจำเรือ 135 คน

9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย ถึงแก่อสัญกรรม

ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของประเทศไทย เป็นผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ พรรคกิจสังคม หนังสือพิมพ์สยามรัฐ และเป็นนักเขียน 

โดยในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์เป็นบุคคลสำคัญของโลกใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล พ.ศ. 2554

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์เกิด 20 เมษายน 2454 ในเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เป็นโอรสของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค) เรียนมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นไปเรียนต่อวิชาปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการเมือง จากวิทยาลัยควีนส์ (The Queen’s College) มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด กลับมารับราชการที่กรมสรรพากร และกระทรวงการคลัง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าเป็นทหาร ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตรีในปี 2531 เริ่มเล่นการเมืองตั้งแต่ปี 2488 โดยก่อตั้ง พรรคก้าวหน้า ต่อมาได้ยุบรวมกับ พรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นก่อตั้ง พรรคกิจสังคม ในปี 2517 และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทยเมื่อปี 2518 นอกจากบทบาททางการเมืองท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านหนังสือพิมพ์และวรรณกรรมด้วย โดยก่อตั้ง หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ในปี 2493 

ในบทบาทนักเขียน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ได้เขียนนวนิยาย สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บางเพลง, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน, ราโชมอน, ฮวนนั้ง, โจโฉ, นายกตลอดกาล รวมเรื่องสั้น เช่น มอม, เพื่อนนอน, หลายชีวิต หนังสือสารคดี เช่น ฉากญี่ปุ่น, ยิว, เจ้าโลก, สงครามผิว, คนของโลก, ชมสวน, ธรรมคดี, น้ำพริก, ฝรั่งศักดินา, สรรพสัตว์, สัพเพเหระคดี, ข้อคิดเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย, โครงกระดูกในตู้, พม่าเสียเมือง, ถกเขมร, เก็บเล็กผสมน้อย, เบ้งเฮ็ก ผู้ถูกกลืนทั้งเป็น, เมืองมายา, เรื่องขำขัน, กฤษฎาภินิหารอันบดบังมิได้, คนรักหมา, ตลาดนัด, นิกายเซน, บันเทิงเริงรมย์, วัยรุ่น, สงครามเย็น, อโรคยา, สยามเมืองยิ้ม, ห้วงมหรรณพ รวมถึงบทละครเวทีเรื่อง ลูกคุณหลวงและราโชมอน

จากผลงานเขียน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ประจำปี พ.ศ. 2528

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช สิริรวมอายุ 84 ปี 5 เดือน 20 วัน

๘ ตุลาคม วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหาร และพนักงาน สำนักข่าวออนไลน์ THE STATES TIMES

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับวีระยุทธ ดิษยะศริน เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และเป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

>>พระประวัติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ หรือพระนามลำลองว่า พระองค์หริภา ประสูติเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2525 ณ พระตำหนักใหม่ สวนจิตรลดา เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กับนาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน มีพระขนิษฐาหนึ่งพระองค์ คือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ

เมื่อประสูติพระองค์ดำรงพระยศที่ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า ด้วยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระโอรสพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ให้ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า ทุกพระองค์ ซึ่งพระยศดังกล่าวเทียบเท่าตำแหน่ง "พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า"

>>การศึกษา
พระองค์เข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลปีที่ 1 - ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจิตรลดา, ประถมศึกษาปีที่ 5 - มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนฮอล์ตัน-อามส์ (Holton-Arms School) รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา, ระดับเกรด 8 โรงเรียนเฮอร์เบิร์ตฮูเวอร์มิดเดิล (Herbert Hoover Middle School) สหรัฐอเมริกา, ระดับเกรด 8-11 โรงเรียนมัธยมวอลเตอร์ จอห์นสัน (Walter Johnson High School) สหรัฐอเมริกา ภายหลังได้นิวัติกลับประเทศไทยและเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนจิตรลดา

ส่วนระดับอุดมศึกษา ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาพพิมพ์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ปัจจุบันสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาศิลปไทย ภาควิชาศิลปไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร

>>พระกรณียกิจ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ ทรงประกอบพระกรณียกิจทั้งในด้านการสนองพระเดชพระคุณในฐานะพระราชวงศ์ และพระกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ

- รองประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมกีฬาทางอากาศและการบินแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ประธาน ศูนย์ปฏิบัติการบินอาสา อนุรักษ์และกู้ภัย สิริภาจุฑาภรณ์ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัยพิบัติ
- โครงการงานบ้านกู้ภัย ‘โครงการบ้านกู้ภัยร่วมใจสิริภา’ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบพิบัติภัย

>>ด้านศิลปะ
ทรงส่งเสริมงานด้านต่าง ๆ ของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย ต่าง ๆ อาทิ

- ทรงจัดประมูลงาน ‘ภาพฝีพระหัตถ์พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์’ เพื่อช่วยเหลือสุนัขจรจัด ในงาน ‘นิทรรศการศิลปะเพื่อสุนัข My Friends’
- งานบูรณะพระวิหาร บูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนังบูรณะศาลาบ่อทิพย์ และปรับพื้นที่ภูมิทัศน์ วัดธาราทิพย์ชัยประดิษฐ์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการจัดสร้างสวนประติมากรรม ‘พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพุทธศาสนา’ เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับชุมชน
- โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์เวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
- โครงการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังพระวิหารวัดหนองน้ำขุ่น ตำบลวังหว้า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top