Tuesday, 8 July 2025
GoodsVoice

รมว.เฮ้ง เปิดศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ผู้ประกันตน ม.33 สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ 4 จังหวัดเศรษฐกิจ ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา เริ่ม 8 ก.ค. 64 เป็นต้นไป

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 ณ เซ็นทรัลพลาซ่า ชลบุรี, อมตะ คาสเซิล อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี พร้อมเดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ผู้ประกันตนใน 4 จังหวัดเศรษฐกิจ ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา โดยมี นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พลตำรวจตรีนันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) ร่วมตรวจเยี่ยมในครั้งนี้โดยมี นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ โฆษกสำนักงานประกันสังคม นาวาตรีวิทวัส กู้ประเสริฐ ประกันสังคมจังหวัดชลบุรี และผู้บริหารกระทรวงแรงงานพร้อมเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ 

จากนั้น รมวแรงงาน และคณะได้เดินทางลงพื้นที่ต่อไปยังศูนย์ฉีดวัคซีน บริษัท เดลต้า อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) สาขานิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมี นางสาวไพลิน จินดามณีพร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม นางสาวปาริฉัตร จันทร์อำไพ ประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา และนางสาวหัฏหิริภิม ณมงคลบุญวงษ์ หัวหน้าประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาบางปะกง พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงแรงงานและเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ 

นายสุชาติ กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้มีนโยบายให้การฉีดวัคซีนเป็น “วาระแห่งชาติ”กระทรวงแรงงาน ภายใต้การกำกับดูแลของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบหมายสำนักงานประกันสังคมบูรณาการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงการคลัง โดยธนาคารกรุงไทย และสถานพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับผู้ประกันตน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไม่ให้กระจายออกสู่วงกว้างทั้งในโรงงานและสถานประกอบการ ซึ่งระยะแรกได้มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่สีแดงเข้ม ในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.- 6 ก.ค.64 ที่ผ่านมา มีผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้รับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) เข็มแรกไปแล้ว 583,313 คน โดยในระยะถัดไปจะได้เร่งฉีดให้กับผู้ประกันตนในจังหวัดพื้นที่เศรษฐกิจ
          
นายสุชาติ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ตนได้มาเปิดศูนย์วัคซีนโควิด-19 เพื่อผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จังหวัดชลบุรี ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการฉีดให้กับผู้ประกันตน เพื่อสร้างภูมิป้องกันโรคให้กับผู้ประกันตน คนรอบข้าง และผู้เข้ามารับบริการ เพื่อให้กิจการและเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมกันนี้ กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม จะเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 4 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ และฉะเชิงเทรา ซึ่งศูนย์ฉีดวัคซีนผู้ประกันตนในแต่ละจังหวัด มีดังนี้ซึ่งจากการสำรวจความต้องการฉีดวัคซีนผ่านระบบ e-service ของผู้ประกันตน ตัวเลขล่าสุด ณ วันที่ 7 ก.ค.64 จังหวัดชลบุรี ที่นิคมอมตะซิตี้ ชลบุรี เซ็นทรัลพลาซ่า ชลบุรี แปซิฟิกพาร์ค ศรีราชา และเซ็นทรัลมารีน่า พัทยา มีผู้ประกันตนลงทะเบียนต้องการวัคซีน 394,899 คน มีศักยภาพการฉีดวันละ 4,200 คน จังหวัดระยอง ที่สวนอุตสาหกรรมอีสเทิร์นอินดัสเตรียลปาร์ค ปลวกแดง บริษัท เอส ซี จี เคมีคอลไทย จำกัด มีผู้ประกันตนลงทะเบียนต้องการฉีดวัคซีน จำนวน 257,851 คน มีศักยภาพการฉีดได้วันละ 2,000 คน จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่บริษัท เดลต้า อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) มีผู้ประกันตนลงทะเบียนต้องการฉีดวัคซีน จำนวน 150,527 คน และจังหวัดสมุทรปราการ ที่บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ หอประชุมที่ว่าการอำเภอพระสมุทรเจดีย์ บริษัท ต่อยอดเฟรช (ประเทศไทย) จำกัด และหอชมเมืองสมุทรปราการ มีผู้ประกันตนที่ต้องการฉีดวัคซีนจำนวน 483,426 คน มีศักยภาพ การฉีดวันละ 4,000 คน โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป เวลา 09.00- 16.00 น. (จันทร์- ศุกร์)


         
ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนผ่านระบบ e-service เท่านั้น ไม่รับ Walk in ขอให้ผู้ประกันตนทุกคนมั่นใจว่า กระทรวงแรงงานพร้อมดำเนินงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อสนับสนุน ให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการวัคซีนโควิด-19 อย่างแน่นอน สำหรับผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการนัดหมายให้เข้ารับการฉีดวัคซีนในล็อตแรก หากสำนักงานประกันสังคมได้รับการจัดสรรวัคซีน จะนัดหมายให้เข้ารับการฉีดในล็อตถัดไปเรียงตามลำดับการลงทะเบียน หากท่านไม่มาตามกำหนดเวลา จะถือว่าสละสิทธิ์ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ติดต่อ สายด่วน 1506 กด 7 เจ้าหน้าที่พร้อมให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

โฆษกแรงงาน โต้ ส.ส.มด ประกันสังคมจ่ายเยียวยาคนงานในแคมป์ไปแล้วกว่า 28 ล้านบาท  

นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า ตามที่ ส.ส.มด นางสาววรรณวิภา ไม้สน ส.ส.พรรคก้าวไกล ออกมาให้ข่าวทางทวิตเตอร์และเพจ
เฟสบุ๊คส่วนตัวว่า วันนั้นบอกจ่ายเงินสดทุก 5 วัน วันนี้ บอกดีเดย์เริ่ม 23 นี้ สรุปว่าจะเยียวยาก็เกือบเดือน รัฐบาลชุดนี้เหลืออะไรให้เชื่อถือได้บ้าง ? นั้น ในเรื่องนี้ กระทรวงแรงงาน ขอชี้แจงรายละเอียด ดังนี้ กรณีการประกาศปิดแคมป์คนงานก่อสร้างตามประกาศ ศบค.นั้น กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้จ่ายสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเหตุสุดวิสัยโควิด-19 โดยตัดจ่ายระยะเวลา 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2564 ได้มีการจ่ายให้แก่ลูกจ้างจำนวน 13,655 ราย เป็นเงิน 28,494,966.60 บาท

นางเธียรรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนการจ่ายเงินวันที่ 23 กรกฎาคมนั้น เป็นเงินของรัฐบาล ตาม พ.ร.บ.กู้เงินที่จะเยียวยาให้ลูกจ้างและนายจ้างเพิ่มเติม ซึ่งเป็นเงินคนละส่วนกับของสำนักงานประกันสังคม การที่ ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ออกมาให้ข่าวลักษณะดังกล่าวทำให้ประชาชนเกิดความสับสน เข้าใจผิด ถ้าไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริงให้มาสอบถาม ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานยินดีต้อนรับทุกคน ในการแก้ไขปัญหาให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานให้ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด

กระทรวงแรงงาน เตรียมจัด"นัดพบแรงงาน Online" ช่วยคนหางาน ผ่านวิกฤตโควิด -19

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งจัด"นัดพบแรงงาน Online พร้อมกันใน 9 จังหวัดใหญ่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก และนครศรีธรรมราช เป้าหมายช่วยคนถูกเลิกจ้าง คนว่างงาน และคนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ที่รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และยังไม่มีทีท่าว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลง ส่งผลให้การดำเนินการในกิจกรรมต่างๆรวมทั้งการจัดหางานในรูปแบบที่ผ่านมา ที่มีการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก ต้องชะลอ ปรับ เปลี่ยน เพื่อความปลอดภัยตามมาตรการศบค. อย่างไรก็ดี ความต้องการจ้างงานและความต้องการมีงานทำยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่รอไม่ได้  ทุกหน่วยงานจึงต้องปรับรูปแบบและแนวทางของการดำเนินงานตามโครงการต่างๆ ให้เหมาะสม หลังประชุมหารือได้ข้อสรุปว่า สำนักงานจัดหางานจังหวัดจะจัดงานนัดพบแรงงานใหญ่ในรูปแบบ “นัดพบแรงงาน  Online” พร้อมกันใน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 น. -16.30 น. โดยการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ สร้างห้องแต่ละประเภทกิจกรรม อาทิ ห้องกิจกรรมนัดพบแรงงาน ห้องกิจกรรมการฝึกอบรมสาธิตการประกอบอาชีพ ห้องกิจกรรมการฝึกอบรมเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อให้ผู้สนใจได้ลงทะเบียนในห้องกิจกรรมที่ต้องการ และมีสำนักงานจัดหางานจังหวัดเป็นผู้ประสาน กำหนดนัดหมาย ตารางคิวการสัมภาษณ์งานผ่านระบบ VDO Conference  ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดจะดำเนินการแบบออนไลน์ ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

“ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รู้สึกห่วงใยคนว่างงานจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างมาก และได้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนว่า นอกจากการปฏิบัติงานในหน้าที่แล้ว ยังต้องทำงานด้วยความเห็นอกเห็นใจประชาชน คำนึงถึงความลำบากของคนหางาน เพื่อเปิดโอกาสให้กับคนหางานได้เข้าถึงตำแหน่งงาน นำไปสู่การมีงานทำ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน เน้นย้ำมาโดยตลอดว่าคนไทยที่ประสงค์ทำงานต้องได้รับโอกาส สามารถเข้าถึงการจ้างงานที่สะดวกรวดเร็ว เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดลงพื้นที่สำรวจตำแหน่งงานว่างของนายจ้าง/สถานประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมงานนัดพบแรงงาน Online เพิ่มเติมตั้งแต่วันนี้ จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม  เพื่อรวบรวมข้อมูลตำแหน่งงานว่างอย่างเป็นปัจจุบันที่สุดลงในระบบ เตรียมพร้อมแก่คนหางานที่จะมาใช้บริการนัดพบแรงงาน Online ในวันที่  6 สิงหาคม 2564  
นอกจากการจัดงานนี้ กรมการจัดหางานยังรวบรวมตำแหน่งงานว่าง ทั้งงานประจำและงานพาร์ทไทม์ จากนายจ้าง/สถานประกอบการทั่วประเทศที่ยังมีความต้องการจ้างงาน จำนวน 72,569 อัตรา โดยตำแหน่งงานว่าง 10 อันดับแรกที่นายจ้าง/สถานประกอบการต้องการมากที่สุด ได้แก่ 1.แรงงานในด้านการผลิตต่าง ๆ, แรงงานทั่วไป 2.แรงงานด้านการประกอบอื่น ๆ 3.แรงงานด้านการผลิต 4.พนักงานขาย และผู้นำเสนอสินค้าอื่นๆ 5.ตัวแทนนายหน้าขายบริการธุรกิจอื่นๆ 6. ตัวแทนขายผลิตภัณฑ์ 7.พนักงานจัดส่งสินค้าอื่น ๆ 8.พนักงานขายสินค้า (ประจำร้าน), พนักงานขายของหน้าร้าน 9.พนักงานขับรถยนต์ 10.นักการตลาด ; เจ้าหน้าที่การตลาด ; เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย ซึ่งจะได้รับอัตราค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนด

“ทั้งนี้ ผู้ว่างงานที่ประสงค์จะหางานทำ สามารถเลือกสมัครงานผ่านช่องทางการให้บริการจัดหางานรูปแบบออนไลน์ด้วยตนเองได้ที่เว็บไซต์ smartjob.doe.go.th  เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปติดต่อที่สำนักงาน ลดการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก และป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 แต่ในกรณีที่ไม่สามารถใช้บริการแบบออนไลน์ได้ สามารถติดต่อขอรับบริการ ณ ศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job Center) สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด โดยปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคที่สาธารณสุขในพื้นที่กำหนด” อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

รัฐเขียวตรึงค่าไฟยาวถึงสิ้นปีช่วยลดค่าครองชีพ 

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้ตรึงค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนกันยายน-ธันวาคม 2564 โดยให้เรียกเก็บที่ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้ายังคงจ่ายค่าไฟฟ้าเท่าเดิมในอัตรา 3.61 บาทต่อหน่วย ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2564  ตามแนวทางการพิจารณาที่จะเกลี่ยค่าเอฟทีให้คงที่ตลอดปี 2564 เพื่อลดค่าครองชีพประชาชน

ทั้งนี้ กกพ. ได้พิจารณาแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับ 66.3 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล และแนวโน้มการอ่อนตัวของค่าเงินบาทมาอยู่ในระดับ 31.3 บาทต่อเหรียญสหรัฐในเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งมีผลโดยตรงต่อค่าเอฟทีในช่วงปลายปี หากพิจารณาราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2565 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกแล้ว ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะราคาพลังงานขาขึ้น ทำให้ค่าเอฟทีในปี 2565 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

นายคมกฤช กล่าวว่า การบริหารค่าเอฟทีในปี 2565 จะเป็นไปในทิศทางเพื่อสร้างให้ค่าไฟฟ้ามีเสถียรภาพ มีความมั่นคง เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการดูแลผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย

กระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาครัฐและภาคเอกชน เปิดงานประกวดนวัตกรรม Catalyst Startup 2021 เร่งศักยภาพ Startup ยกระดับนวัตกรรมไทย เฟ้นหาสุดยอด BCG Startup ต่อยอดธุรกิจเข้าถึงแหล่งทุน

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เผยถึงที่มาของการจัดงาน เกิดจากนโยบายรัฐบาล ที่ตั้งเป้าหมายในการเปิดประเทศในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งจะมุ่งเน้นการเร่งฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศ การปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้สอดคล้องกับวิถีใหม่ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการปรับทักษะแรงงาน เน้นการสร้างโอกาสใหม่ให้แก่บุคลากรภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ ค้าขายส่วนตัว หรือการประกอบธุรกิจส่วนตัวที่นำความรู้ความสามารถของตนเองมาช่วยในการสร้างธุรกิจ จนอาจจะสามารถเกิดเป็นผู้ประกอบการใหม่ หรือผู้ประกอบการธุรกิจ Startup ได้ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาล

กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานภายใต้กำกับทุกหน่วยงาน ได้เตรียมแนวทางในการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินที่มีการสนับสนุนสินเชื่อสำหรับการพัฒนาธุรกิจ การส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ภายใต้แนวคิดการพัฒนาการตลาด และการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในธุรกิจ ซึ่งจะสามารถเร่งศักยภาพและยกระดับนวัตกรรมไทย ตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

งาน Catalyst Startup 2021 เร่งศักยภาพ Startup ยกระดับนวัตกรรมไทย จะเป็นหนึ่งในแนวทางที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และหน่วยงานพันธมิตร ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันต่าง ๆ จะร่วมกันขับเคลื่อนและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีผู้ประกอบการ Startup ที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีจำนวนมากขึ้น

โดยภายในงาน จะมีกิจกรรม Online Demo Day ที่จะคัดเลือกผู้สมัครจำนวน 35 ทีม มาทำร่วมทำ Work Shop พร้อมการนำเสนอไอเดียหรือแผนธุรกิจต่อคณะกรรมการจากหน่วยงานพันธมิตร เพื่อคัดเลือกเข้าสู่กิจกรรม Pitching Day ที่จะได้มีโอกาสนำเสนอไอเดียหรือแผนธุรกิจต่อหน่วยงาน บริษัทชั้นนำ และเหล่านักลงทุน ได้แก่

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, บริษัท ไลฟ์ฟินคอร์ป จำกัด, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน), บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด, บริษัท บัวหลวงเวนเจอร์ส จำกัด, บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

ซึ่ง Startup ที่ผ่านการคัดเลือกเหล่านี้ อาจจะมีโอกาสในการได้รับการร่วมลงทุน หรือได้รับสินเชื่อ เพื่อต่อยอดหรือเสริมสภาพธุรกิจได้ในอนาคต โดยภายหลังจากการจัดงานในครั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเกิดการร่วมลงทุนหรือได้รับสินเชื่อจากหน่วยงานหรือบริษัทชั้นนำที่ร่วมงาน ไม่น้อยกว่า 12 ทีม วงเงินสินเชื่อ หรือเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปิดท้าย

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง Facebook สำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ www.facebook.com/thaismefund/ หรือเว็บไซต์งาน Catalyst Startup 2021 เร่งศักยภาพ Startup ยกระดับนวัตกรรมไทย www.catalyststartup.tech

ทั้งนี้ ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่กิจกรรม Online Demo Day จำนวน 35 ทีม จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้บริการ Online Enterprise System จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัท ไลฟ์ฟินคอร์ป จำกัด ทีมละ 10,000 บาทต่อทีม

และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มอบคูปองใช้บริการ HUAWEI CLOUD Credit ทีมละ 5,000 USD หรือประมาณ 150,000 บาทต่อทีม และสำหรับผู้ชนะภายในกิจกรรม Pitching Day บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มอบคูปองใช้บริการ HUAWEI CLOUD Credit ทีมละ 10,000 USD หรือ ประมาณ 300,000 บาทต่อทีม พร้อมสิทธิในการเข้าร่วม HUAWEI Partner Network และสิทธิ์ในการเข้าร่วมอบรมหลักสูตร HUAWEI CLOUD หลักสูตรละประมาณ 50,000 บาทต่อทีม


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

รัฐบาลตั้ง 3 แนวทางแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน

 นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่เรื้อรังมายาวนาน และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยืดเยื้อ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชน และยิ่งทำให้ปัญหานี้ท้าทายมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนแบบเบ็ดเสร็จ รัฐบาลจึงเดินหน้าใน 3 เรื่องสำคัญ ประกอบด้วย 1. การให้ความรู้ทางการเงินแก่ประชาชน 2.การกำกับดูแลเจ้าหนี้ให้ปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม และ 3.การปรับโครงสร้างหนี้และการไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สิน

ทั้งนี้ มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินในครั้งนี้จะมีผลช่วยลดภาระของประชาชน และทำให้ประชาชนมีเงินเหลือไว้ใช้สอยมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยอีกทางหนึ่ง โดยจะมีประชาชนกลุ่มต่างๆหลายล้านคนได้รับประโยชน์จากมาตรการแก้ปัญหาในครั้งนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยเห็นว่าระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย “การเป็นหนี้” ไม่มีทางที่จะยั่งยืน สุ่มเสี่ยงต่อปัญหาเสถียรภาพในระยะยาว ประชาชนที่มีหนี้มักจะมีความกังวลต่างๆมากมาย ไม่มีสมาธิ ทำให้ใช้ชีวิตได้ไม่เต็มศักยภาพ ซึ่งบั่นทอนศักยภาพของประเทศโดยรวม
 
สำหรับการผลักดันมาตรการแก้หนี้ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดมาตราการระยะสั้นและระยะยาวในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยมาตรการระยะสั้นที่สามารถดำเนินการได้ภายใน 6 เดือน อาทิ การลดภาระดอกเบี้ยของประชาชน การแก้ไขการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และดอกเบี้ยในช่วงพักชำระหนี้ที่ไม่เป็นธรรม การทบทวนเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อจำนำทะเบียน การปรับลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็นและที่เรียกเก็บอย่างไม่สมควร โดยเร่งรัดให้คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประกาศกำหนดอัตราค่าทวงถามหนี้โดยเร็วที่สุด

ขณะที่ การกำกับดูแลธนาคารเฉพาะกิจ และสหกรณ์ออมทรัพย์ให้มีการบริหารความเสี่ยงการให้สินเชื่อที่เหมาะสม ลดการให้ลูกหนี้ซื้อประกันความเสี่ยงที่ไม่จำเป็นและพิจารณายกเลิกการค้ำประกันด้วยบุคคล เน้นการไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สินเพื่อลดการดำเนินคดีกับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เร่งไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้กับผู้กู้ที่คำพิพากษาถึงที่สุดแล้วกว่า 1.2 ล้านราย และกลุ่มที่ยังไม่ฟ้องอีก 1.1 ล้านราย และเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ เพราะการที่ประชาชนรายย่อยไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบได้และต้องไปกู้นอกระบบเป็นหนึ่งในต้นเหตุของการเป็นหนี้ที่กติกาไม่เป็นธรรมและดอกเบี้ยสูงเกินเหตุ และแก้ปัญหาหนี้ครูด้วย

รัฐหาทางแก้หนี้สัญญาเงินผ่อนช่วยเหลือผู้บริโภค

นายธสรณ์อัฑฒ์ ธนิทธิพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า สคบ.กำลังหาทางช่วยผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาหนี้สิน โดยเตรียมปรับปรุงประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เกี่ยวกับกรณีการขายทอดตลาดที่ไม่เป็นธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่เป็นลูกหนี้ในสัญญาเช่าซื้อทุกประเภท โดยเฉพาะการเช่าซื้อรถยนต์ จักรยานยนต์ และอสังหาริมทรัพย์  ซึ่งล่าสุดคณะอนุกรรมการกำลังไปศึกษาแนวทางการช่วยเหลือ คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายใน 2 สัปดาห์นี้ จากนั้นจะเสนอให้ทางคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาพิจารณาเห็นชอบ

ทั้งนี้ในแนวทางการช่วยเหลือ สคบ. ยังได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมมือแก้ปัญหาด้วย เช่น กรณีของการคิดดอกเบี้ยเช่าซื้อนั้น ที่ผ่านมาไม่ได้มีการกำหนดอัตราไว้อย่างชัดเจน ล่าสุดได้ขอความร่วมมือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หาทางปรับปรุงและออกข้อกำหนดมารองรับให้ครอบคลุมถึงส่วนนี้ด้วย เพื่อจะได้ช่วยเหลือผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมในกรณีที่ถูกเอาเปรียบจากการคิดดอกเบี้ยเกินจริง 

ส่วนการติดตามทวงถามหนี้ ที่ผ่านมาสคบ.ได้หารือเบื้องต้นกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีกฎหมายดูแลเป็นการเฉพาะ คือ พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 โดยสคบ.จะประสานแนวทางการคุ้มครองดูแลผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เพิ่มเติม เช่น การติดตามทวงถามหนี้จะผ่อนปรนได้อย่างไรบ้าง การติดตามทวงถามรายวันทำอย่างไร มีวิธีการอย่างไรบ้าง และสามารถปรับลดลงได้อย่างไร เพื่อจะได้ช่วยให้ผู้บริโภคที่เป็นหนี้ไม่ได้รับความเดือดร้อนจากการคิดค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูง 

เช่นเดียวกับการปรับโครงสร้างหนี้นั้น ที่ผ่านมา สคบ. เคยเชิญผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ที่มีสัญญาเช่าซื้อกับผู้บริโภคมาหารือ ถึงแนวทางการผ่อนปรนในช่วงวิกฤตโควิดครั้งนี้จะช่วยเหลือผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง เช่น การลดค่าธรรมเนียม การพักชำระหนี้ หรือการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป

แบงก์ชาติ รับโควิดรอบนี้กระทบศก.หนักเกิดคาด

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานประชุมนักวิเคราะห์ ว่า ขณะนี้พบว่า การล็อกดาวน์รอบล่าสุดที่เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 64 ได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าที่ ธปท. ประเมินไว้ ซึ่งตอนนี้จะประเมินผลกระทบอย่างใกล้ชิด โดยขอรอดูผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจริงก่อน จากนั้นจึงมาสรุปอีกครั้งว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้รับผลกระทบมากแค่ไหน 

ทั้งนี้ที่ผ่านมาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุด ก็ได้หารือถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยที่ประชุมได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือ 1.8% จากเดิมที่คาดไว้ 3.0% ในเดือนมี.ค. โดยเหตุผลสำคัญมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกสามที่มีความรุนแรงและกระจายในวงกว้าง ส่งผลให้อุปสงค์ในประเทศถูกกระทบจากการระบาดในระลอกสาม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาน้อยกว่าที่คาด จากการระบาดที่รุนแรงทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 7 แสนคน จากประมาณการเดิม 3 ล้านคน 

พร้อมกันนี้ยังประเมินความเสี่ยงสำคัญต่อประมาณการเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ได้แก่ การระบาดที่อาจรุนแรงขึ้น และการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด ความต่อเนื่องของแรงกระตุ้นทางการคลัง ปัญหาฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจที่อาจนำไปสู่การเลิกจ้างแรงงาน รวมทั้งปัญหาการชะงักของห่วงโซ่การผลิตที่อาจรุนแรงกว่าคาด

รมว.แรงงาน เผยความคืบหน้าช่วยเหลือแรงงานในแคมป์ก่อสร้าง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายกรมการจัดหางาน ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารคนงานแคมป์ก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 12 -27 ก.ค. 64 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลออกมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ นครปฐม เพื่อควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง โดยมีคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง และที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงานทั้งภายในและภายนอกสถานที่ก่อสร้าง รวมทั้งมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้าง ห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงานเป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 30 วัน นั้น 

“ท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ต่างห่วงใยทั้งแรงงานไทย และแรงงานต่างด้าวที่ได้รับผลกระทบจากการให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของรัฐบาล จึงกำชับให้กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลแรงงานที่ได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึง ซึ่งผมในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับฟังปัญหาหลายด้าน ทั้งจากผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และสมาคมภัตตาคารไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่นกัน จึงได้ให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และสมาคมภัตตาคารไทยทำข้าวกล่องเพื่อส่งแคมป์คนงานที่ถูกกักตัวช่วงที่มีการปิดสถานที่ก่อสร้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่แรงงานภายในแคมป์ไปพร้อมกับช่วยเหลือผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และสมาคมภัตตาคารไทยให้มีรายได้ โดยมีกระทรวงแรงงานเป็นผู้สนับสนุนค่าอาหาร จนครบกำหนดตามประกาศ ซึ่งในระหว่างวันที่ 12 – 27 กรกฎาคม 2564 ได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนาย ไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางาน รับข้อสั่งการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือแรงงานในแคมป์ก่อสร้าง ด้านอาหาร โดยล่าสุดได้มอบหมายสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 ซึ่งมีแคมป์คนงาน จำนวน 520 แห่ง และสำนักงานจัดหางานจังหวัดปทุมธานี สำนักงานจัดหางานจังหวัดนนทบุรี สำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครปฐม และสำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีแคมป์คนงานรวม 797 แห่ง เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร ระหว่างกลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอย และสมาคมภัตตาคารไทย ที่เป็นผู้จัดทำอาหาร และสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่เป็นผู้ดูแลแจกจ่ายอาหารให้แก่แรงงานในแคมป์ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งกรมการจัดหางานหวังอย่างยิ่งว่า ระหว่างวันที่ 12 – 27 กรกฎาคม 2564 ที่ดำเนินการโครงการฯ นี้ จะได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ค่าอาหารแก่แรงงานในแคมป์ก่อสร้าง ทำให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ต้องหยุดงานได้จนครบกำหนด

ครม.เห็นชอบ พ.ร.บ.กิจการอวกาศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศไทย 

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ว่า ครม. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ เพื่อกำหนดให้มีองค์กรทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผนกิจการอวกาศ กำหนดหลักเกณฑ์และให้บริการรับคำขอและชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตด้านอวกาศ เพื่อให้ดำเนินการกิจการอวกาศเป็นไปด้วยความเหมาะสม สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และภาครัฐสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศได้เพิ่ม 

โดยสาระสำคัญ กำหนดให้มีนโยบายและแผนกิจการอวกาศ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการอวกาศก่อให้เกิดเศรษฐกิจอวกาศ และกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายกิจการอวกาศ ตามขอบเขตของพระราชบัญญัติ และสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติ ทำหน้าที่เลขานุการให้กับคณะกรรมการฯกำกับดูแล ส่งเสริมกิจการอวกาศ เป็นหน่วยรับแจ้งเหตุในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรืออุบัติการณ์จากการดำเนินกิจการอวกาศก่อนประสานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าว นอกจากนั้นกำหนดลักษณะและประเภทการอนุญาต รวมถึงมาตรการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ดำเนินกิจการอวกาศ เพื่อก่อให้เกิดเศรษฐกิจอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ โดยใช้ทรัพยากร เทคโนโลยี และองค์ความรู้จากการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ขับเคลื่อนผ่านธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจให้บริการนำส่งดาวเทียม ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม ธุรกิจสำรวจอวกาศให้กำหนดโทษผู้ดำเนินกิจการอวกาศ โดยไม่ได้แจ้งหรือไม่มีใบอนุญาตดำเนินกิจการอวกาศ เป็นต้น 

ทั้งนี้ให้ ครม. จัดสรรทุนประเดิมให้แก่สำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติระยะเริ่มแรกตามความจำเป็น และให้นายกรัฐมนตรี เสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาให้ข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐ มาปฏิบัติงานเป็นพนักงานของสำนักงานฯ เป็นการชั่วคราวภายในระยะเวลาที่ ครม. กำหนด และกำหนดให้รายได้ของสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติเป็นของหน่วยงาน ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top