Tuesday, 8 July 2025
GoodsVoice

ธปท. ชี้ โควิดระลอกสาม พาแรงงานตกงาน แถมทักษะหาย

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทย ในเดือนพ.ค. ได้รับผลกระทบชัดเจนขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด ระลอก 3 จนทำให้เครื่องชี้การบริโภคลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนในทุกหมวดการใช้จ่าย กิจกรรมทางเศรษฐกิจ รายได้ของภาคครัวเรือน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลง แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงกำลังซื้อภาคครัวเรือนได้บางส่วน 

ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศยังมีอยู่ ส่วนมาตรการควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 6 จังหวัด (สีแดงเข้ม) ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาครตั้งแต่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา ยอมรับว่ามาตรการเหล่านี้มีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่ง  ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและประเมินผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจอีกครั้ง

ทั้งนี้ ธปท. ยอมรับว่า ยังมีความกังวลสถานการณ์การระบาดของโควิดจะยืดเยื้อ เป็นปัจจัยกดดันสำคัญต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคแรงงาน มีอัตราการว่างงานนานกว่าที่คาด และอาจจะกลายเป็นแผลเป็นที่แก้ได้ยากขึ้นในอนาคต เนื่องจากแรงงานบางส่วนที่ไม่ได้ทำงานเป็นระยะเวลานานอาจจะสูญเสียทักษะไปเพราะฉะนั้นเมื่อเศรษฐกิจกลับมาฟื้นก็ต้องเร่งฟื้นฟูทักษะให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ด้วย เพื่อเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการท่องเที่ยว

รอเลยพรุ่งนี้เงินเข้าแล้ว “คนละครึ่ง” 1,500 บาท

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ซึ่งจะเริ่มโอนเงินให้ในวันที่ 1 ก.ค. นี้ ว่า กระทรวงการคลังพร้อมโอนเงินโครงการคนละครึ่ง เข้าแอปพลิเคชันเป๋าตัง ให้ผู้มีสิทธิ 25.5 ล้านคน ได้เริ่มใช้วันแรก 1 ก.ค. นี้ เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ในการโอนเงินลงไปให้นั้น ในรอบแรกจะโอนก่อน 1,500 บาท เพื่อใช้จ่ายระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย. 64 และรอบที่ 2 โอนวันที่ 1 ต.ค. อีก 1,500 บาท เพื่อใช้เดือน ต.ค.-ธ.ค. 64

ส่วนโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้จะเริ่มใช้จ่ายได้ 1 ก.ค. นี้ เช่นกัน โดยมีผู้ผ่านสิทธิแล้ว 4.2 แสนคน และคลังยังได้ปรับเงื่อนไขให้สามารถใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 10,000 บาท ซึ่งจะเสนอ ครม. เพื่อให้เริ่มทันวันที่ 15 ก.ค. นี้ เพื่อจูงใจให้คนเข้ามาร่วมโครงการมากขึ้น

ทั้งนี้ คลังขอย้ำว่าสำหรับประชาชนที่ได้รับเอสเอ็มเอส ระบุข้อความลงทะเบียนสำเร็จ โปรดใช้สิทธิผ่านแอปเป๋าตัง เริ่มวันที่ 1 ก.ค. 64 หากเข้าแอปพลิเคชันเป๋าตัง แล้วขึ้นข้อความว่าไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน หรือระบบกำลังดำเนินการตรวจสอบ ขอให้อัปเดตแอปพลิเคชันเป๋าตัง เป็นเวอร์ชันล่าสุดก่อนเข้าใช้งาน เมื่ออัปเดตแอปพลิเคชันเป๋าตังเป็นเวอร์ชั่นปัจจุบันแล้ว จะได้รับข้อความ โครงการคนละครึ่ง สามารถใช้ได้ 1 ก.ค. 64


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

บอร์ดสับปะรดไฟเขียวแผนดันส่งออก สร้างมูลค่าเพิ่ม

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ เห็นชอบแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมสับปะรด โดยให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เร่งรัดการปรับปรุงบันทึกข้อตกลงด้านการจ้างงานแรงงานระยะสั้นในภาคการเกษตรกับประเทศ ลาว กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม และนำกลับมารายงานให้ที่ประชุมทราบ

ทั้งนี้ยังเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านสับปะรด พ.ศ. 2563-2565 ซึ่งมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพและบริหารจัดการผลิต เพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมแปรรูป เพิ่มศักยภาพการส่งออก โดยที่ประชุมเน้นย้ำถึงการใช้นโยบายเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ/Bio เศรษฐกิจหมุนเวียน/Circular และเศรษฐกิจสีเขียว/Green) ของรัฐบาลเป็นแนวทางการดำเนินการของทุกภาคส่วน ส่งเสริมการนำนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสับปะรด เพื่อเกิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้เตรียมพร้อมการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตออกมามากในช่วง ต.ค. - ธ.ค. ทั้งนี้ 10 จังหวัดที่เป็นแหล่งผลิตสับปะรดของประเทศ ได้มีความพร้อมในเรื่องนี้อยู่แล้ว เป็นการดำเนินการของคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ร่วมกับหลายกระทรวง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ได้จัดคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัด ที่จะมาเป็นหลักในการกระจายผลผลิต การเพิ่มช่องทางการขายonline และ offline การส่งเสริมการบริโภค การเชื่อมโยงตลาดล่วงหน้า การทำสัญญาข้อตกลงกับโรงงานแปรรูป การส่งเสริมการแปรรูป

สำหรับการส่งออกสับปะรดรวมทุกผลิตภัณฑ์ ตัวเลขช่วง ม.ค.- เม.ย. 64 มีมูลค่า 6.64 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดียวกันของปี 63 ที่มีมูลค่า 5.83 พันล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.14 % อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มการส่งออกจะดีขึ้น แต่หากเทียบกับช่วงก่อนปี 2562 พบว่ามีมูลค่าลดลง 

เริ่มแล้วภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์ เที่ยวแรก 24 คนจากยูเออี

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า เที่ยวบินแรกที่เดินทางเข้ามาถึงภูเก็ต ในวันที่ 1 ก.ค. 2564 คือ เที่ยวบิน EY 430 ของสายการบินเอทิฮัด แอร์เวย์ ซึ่งบินมาจากเมืองอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ลงแตะพื้นท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต เวลา 11.09 น. ถือเป็นเที่ยวบินแรกที่นำนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนแล้วเข้าประเทศไทยโดยไม่ถูกกักตัว ตามโครงการภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์ ที่เริ่มต้นเป็นวันแรก 

สำหรับผู้โดยสารที่มาเที่ยวบินนี้ ได้ถือใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศ (COE) ตามโครงการภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์ มีจำนวน 24 คน โดยกลุ่มนี้เมื่อมาถึงจะถูกทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR จากนั้นจะขึ้นรถไปยังโรงแรม และต้องรออยู่ในห้องพัก หากผลตรวจออกมาเป็นลบหรือไม่ติดเชื้อ จึงจะออกมานอกห้องพักได้ และสามารถเดินทางไปได้ทั่วเกาะภูเก็ต 

ทั้งนี้ในวันแรกของภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มีนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเดินทางมากับ 4 สายการบิน ได้แก่ เอทิฮัด, กาตาร์ แอร์เวย์ส, แอล อัล อิสราเอล แอร์ไลน์ และสิงคโปร์ แอร์ไลน์ รวมจำนวน 300 คน ซึ่งได้ COE ทั้งหมด 100% สามารถเข้าพักในโรงแรมที่ได้มาตรฐาน SHA PLUS แม้จำนวนนักท่องเที่ยวในวันแรกจะลดลงจากที่เคยประเมินไว้ เพราะออก COE ให้ไม่ทัน ทำให้นักท่องเที่ยวเลื่อนการเดินทางเข้าภูเก็ต แต่หลังจากนี้จะทยอยเข้ามามากขึ้น

ออมสิน ขยายความช่วยเหลือลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจร้านอาหาร พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือน จากเดิมที่ให้สิทธิ์เฉพาะธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ แจ้งเข้าร่วมมาตรการได้ถึง 23 ก.ค. นี้

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรง รัฐจำเป็นต้องประกาศยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มข้นขึ้น โดยรัฐบาลและกระทรวงการคลังมอบนโยบายให้ธนาคารออมสิน ขยายความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบ ธนาคารจึงปรับเกณฑ์มาตรการยกเว้นการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เงินงวดเป็นศูนย์ ตลอด 6 เดือน โดยเปิดให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจที่ได้นำเงินกู้ไปประกอบกิจการร้านอาหาร สามารถขอเข้าร่วมมาตรการนี้ได้ด้วย จากเดิมที่ให้สิทธิ์เฉพาะธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนท์

ทั้งนี้ ผู้ประกอบกิจการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่เป็นลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจธนาคารออมสิน วงเงินสินเชื่อรวมไม่เกิน 250 ล้านบาท และมีหนี้ค้างชำระไม่เกิน 90 วัน สามารถขอเข้าร่วมมาตรการฯ เพื่อรับสิทธิ์ยกเว้นการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย มีผลตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม 2564 โดยแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการได้ตั้งแต่บัดนี้ ที่สาขาธนาคารออมสิน หรือศูนย์สินเชื่อธุรกิจลูกค้า SMEs ที่ได้ติดต่อขอสินเชื่อไว้ หมดเขตแจ้งความประสงค์วันที่ 23 กรกฎาคม 2564

อนึ่ง ที่ผ่านมาธนาคารได้จัดทำมาตรการยกเว้นการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับผู้ประกอบการ SMEs โรงแรม รีสอร์ต เกสต์เฮาส์ และเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งจะหมดเขตให้แจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เช่นเดียวกัน โดยธนาคารมีเป้าหมายเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายแก่ผู้ประกอบการ ให้สามารถประคับประคองธุรกิจจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 จะคลี่คลาย และกิจการกลับมามีรายได้อีกครั้ง


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธาน บมจ. อินเตอร์ลิ้งค์ฯ จัดงาน “INTERLINK MID YEAR SALE 2021” ชอปปิงออนไลน์ครั้งยิ่งใหญ่ !! ลดครั้งสุดท้ายของปี

คุณสมบัติ อนันตรัมพร ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทอินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) จัดงาน “INTERLINK MID YEAR SALE 2021” ชอปปิงออนไลน์ครั้งยิ่งใหญ่ !! ลดครั้งสุดท้ายของปีนี้

ยกทัพขบวนสินค้าลดสูงสุด 70% พร้อมแจกทองคำ และของรางวัลอีกมากมายตลอดทั้งงาน ให้กับกลุ่มลูกค้ามากกว่า 400 คน คาดว่าจะได้รับการสั่งจองสินค้า 65  ล้านบาท

???? LIVE จากสนง.ใหญ่ อินเตอร์ลิ้งค์ กรุงเทพฯ

#MIDYEARSALE 

 

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก หนุน SUSUNN จาก เอสซีจี เซรามิกส์ จัดทำโครงการซื้อขายไฟฟ้าและคาร์บอนเครดิต

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO พร้อมกับ นายนำพล มลิชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทเอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้แบรนด์ SUSUNN ร่วมลงนามในสัญญาความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกของ เอสซีจี เซรามิกส์ ซึ่งจะดำเนินการภายใต้ระบบการรับรองของ TGO

สำหรับ เอสซีจี เซรามิกส์ ภายใต้แบรนด์ SUSUNN ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าและพลังงานสะอาด ล่าสุดได้คิดค้นพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้าให้สามารถเชื่อมโยงกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และแนวทางของ TGO ที่มุ่งพัฒนาและส่งเสริมโครงการและตลาดซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจก จึงได้ร่วมมือกันเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และแบบแผนในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการก๊าซเรือนกระจก รวมถึงร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มของ เอสซีจี เซรามิกส์ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานตามแนวทางของ TGO ด้วย

โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ยังสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์อันมุ่งมั่นของ เอสซีจี ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามหลักการ ESG ซึ่งครอบคลุมทั้งทางด้าน Environment, Social and Governance อันเป็นเรื่องที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายประเทศทั่วโลกกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ โดยคาดหวังว่าจะนำไปสู่การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องและภาคธุรกิจต่าง ๆ ตระหนักถึงความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเร่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาตลาดกลาง เพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตของประเทศให้เป็นที่แพร่หลายในอนาคต


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

นักศึกษาช้อปกระหน่ำช่วงโควิด พบยอดซื้อออนไลน์พุ่ง 7.5 หมื่นล.

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นของประชาชน จำนวน 7,499 คน ทุกอำเภอทั่วประเทศ เกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-มี.ค.64) ใน 13 กลุ่มสินค้า ว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หันมาซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์กันมากขึ้น โดยพบว่า มีมูลค่าการใช้จ่ายสูงถึง 75,000 ล้านบาทต่อเดือน เพิ่มขึ้น 45.05% จากที่เคยสำรวจช่วงเดือน พ.ย. 63 ที่มีมูลค่า 52,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือมีการซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้น 68.97% จากการสำรวจครั้งก่อน  

ทั้งนี้ สินค้าทั้ง 13 กลุ่ม พบว่า กลุ่มเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมซื้อออนไลน์สูงสุด รองลงมา คือ อาหารและเครื่องดื่ม, สินค้าสุขภาพ เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนบุคคล, ของใช้ในบ้าน สำนักงาน, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์มือถือ, เครื่องกีฬา เครื่องเขียน, เพลง ภาพยนตร์ และสินค้าบันเทิงอื่นๆ, ซอฟต์แวร์ เกม, การจอง/บริการต่าง ๆ, คอมพิวเตอร์, ของเล่น, หนังสือ นิตยสาร โดยโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์มือถือ เป็นสินค้าที่มีสัดส่วนใช้จ่ายออนไลน์สูงสุด

สำหรับ ผู้ที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์มากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี เฉลี่ยคิดเป็น 87.00% รองลงมา คือ น้อยกว่า 20 ปี คิดเป็น 85.71% และช่วงอายุ 30-39 ปี คิดเป็น 80.13% โดยกลุ่มผู้ซื้อใกล้เคียงกับผลสำรวจเดือน พ.ย.63 และหากพิจารณาถึงปริมาณการใช้จ่าย พบว่า ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยกลุ่มอายุที่มียอดใช้จ่ายเฉลี่ยสูงสุด คือ ช่วงอายุ 20-29 ปี ประมาณ 2,379.30 บาท/เดือน รองลงมา อายุ 50-59 ปี 2,349.00 บาท/เดือน และหากจำแนกตามอาชีพ พบว่า ผู้ที่ใช้จ่ายออนไลน์สูงสุดมีอาชีพนักศึกษา คิดเป็น 92.88% โดยเฉพาะในสินค้ากลุ่มโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์มือถือ และกลุ่มคอมพิวเตอร์ รองลงมา คือ ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ พนักงานรัฐ 84.57% และพนักงานบริษัท 84.36% 

โดยข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ พนักงานรัฐ และนักธุรกิจ เจ้าของกิจการ เจ้าของแผงค้า มียอดค่าใช้จ่ายสูงสุด สอดคล้องกับความมั่นคงในอาชีพและการเงิน และหากจำแนกตามภูมิภาค พบว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการใช้จ่ายผ่านออนไลน์มากที่สุด 81.62% ตามด้วย ภาคใต้ 71.68% ภาคกลาง 68.25% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 67.86% และภาคเหนือ 64.42%

รมว.แรงงาน ชื่นชม เชิดชูเกียรติ 1,306 สถานประกอบกิจการดีเด่น ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2564

รมว.แรงงาน ชื่นชม เชิดชูเกียรติ 1,306 สถานประกอบกิจการ ที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานที่ดี ฟันฝ่าอุปสรรควิกฤตโควิด-19 ทำให้สถานประกอบกิจการดำเนินกิจการอยู่ได้ จนได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2564 ตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศ

นายสุชาติ  ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานได้มอบให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดโครงการส่งเสริมสถานประกอบกิจการให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2564 ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในการลดปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงานที่อาจเกิดขึ้น โดยสนับสนุนให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบกิจการ ซึ่งส่งผลให้ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและมีความสุขในการทำงาน นายจ้างได้ผลผลิตสูงสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนในและต่างประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ โดยในปี 2564 มีการประเมินในเรื่องของความร่วมมือกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

โดยใช้กลไกของสหภาพแรงงานหรือคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบกิจการมาดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย จึงขอชื่นชมและขอยกย่องเชิดชูเกียรติสถานประกอบกิจการที่ผ่านการพิจารณาตัดสินได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2564 ทั้ง 1,306 แห่ง

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีนี้ มีสถานประกอบกิจการทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 1,339 แห่ง และผ่านเกณฑ์การพิจารณาได้รับรางวัล จำนวน 1,306 แห่ง โดยแบ่งเป็นประเภทรางวัลเกียรติยศสูงสุด 15-19 ปีติดต่อกัน จำนวน 101 แห่ง รางวัลเกียรติยศ 10-14 ปีติดต่อกัน จำนวน 203 แห่ง รางวัลเชิดชูเกียรติ 5-9 ปีติดต่อกัน จำนวน 431 แห่ง รางวัลระดับประเทศ 1-4 ปี จำนวน 530 แห่ง และรางวัลระดับจังหวัด จำนวน 41 แห่ง ซึ่งสถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินได้รับรางวัลในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะเข้ารับรางวัลในงาน Thailand Labour Management Excellence Award 2021 ที่จะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกันยายน 2564 สำหรับสถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินได้รับรางวัลในส่วนภูมิภาค กรมจะจัดส่งโล่รางวัลและเกียรติบัตรให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด มอบให้กับสถานประกอบกิจการต่อไป ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดประกาศผลรางวัลฯ ได้ที่ https://www.labour.go.th หรือ http://relation.labour.go.th

คลังเปิดผลมาตรการรัฐวันแรกคนใช้จ่าย 1,646 ล้าน

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 ประกอบด้วย โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โครงการเพิ่มกำลังซื้อกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ได้เปิดให้ประชาชนใช้จ่ายวันแรกเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2564 พบว่า การใช้จ่ายวันแรก มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวมกว่า 7.8 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายรวม ทั้งหมด 1,646 ล้านบาท

สำหรับสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้  

1.) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 3.5 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายรวม 791.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 399.4 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 391.8 ล้านบาท

2.) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 3,428 ราย โดยเป็นยอดการใช้จ่ายรวม 9.1 ล้านบาท  

3.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 4.2 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 826.3 ล้านบาท

และ 4.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิจำนวนกว่า 1 แสนราย มียอดการใช้จ่ายรวม 19.6 ล้านบาท 

“การใช้จ่ายในทุกโครงการ จะต้องเป็นการจ่ายเงินระหว่างประชาชนกับร้านค้าหรือผู้ให้บริการแบบพบหน้าเท่านั้น และจะต้องไม่มีกระบวนการใด ๆ รองรับการซื้อขายที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ หรือผ่านคนกลาง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ที่เป็นการหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมแบบพบหน้าดังกล่าว เช่น การนำ QR Code ไปคัดลอกส่งต่อแก่บุคคลอื่นเพื่อสแกนจ่ายเงิน และการสแกนจ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะต้องระบุยอดเงินให้ตรงตามมูลค่าสินค้าหรือบริการนั้น เนื่องจากไม่สามารถทอนเงินหรือรับแลกสินค้าหรือบริการคืนเป็นเงินสดได้”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top