Tuesday, 29 April 2025
CoolLife

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาช และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา

ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี หลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ พระองค์ใหญ่ซึ่งปรากฏพระนามภายหลังว่าเจ้าฟ้าราชกุมาร สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ รองลงมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์น้อย คือ  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 40 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ให้คงเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม มิให้ขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบทูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่าขอให้ลูกเธอได้อาศัยในพระราชวังบวรฯ ต่อไป ทั้งทรงพระราชดำริเห็นว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว ไม่ช้านานเท่าใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็จะได้เสวยราชสมบัติ การย้ายวัง ควรไว้ย้ายเมื่อเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทีเดียว

ถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ เป็นวันแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในไทย

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันที่ประเทศไทยมีการกระจายเสียงทางวิทยุเป็นครั้งแรก

กิจการวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 ด้วยพระดำริของ 'พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน' เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และโทรคมนาคม

พระองค์ทรงดำริตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้น เมื่อพ.ศ.2471 โดยสั่งเครื่องส่งกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง และให้อยู่ในความควบคุมของช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ตั้งสถานีที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะเป็นครั้งแรก ใช้ชื่อสถานีว่า '4 พีเจ' (HS 4 PJ) ต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ตำบลศาลาแดงใช้ชื่อสถานีว่า 'หนึ่ง หนึ่ง พีเจ' (HS 11 PJ) ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า 'พีเจ' ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า 'บุรฉัตรไชยากร' อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ศาลสั่งยึดทรัพย์ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ รวมมูลค่ากว่า 46,000 ล้านบาท

วันนี้ เมื่อ 13 ปีก่อน ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 46,373 ล้านบาท คืนเงิน 30,247 ล้านบาท

องค์คณะผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาในเวลา 13.30 น.ใช้เวลาอ่านคำฟ้องของอัยการ 1 ช.ม.อ่านคำคัดค้านการยึดทรัพย์ของผู้ถูกร้อง (จำเลย) 1.30 ช.ม. เริ่มเข้าสู่การพิจารณาในแต่ละประเด็น 16.00 น.

1. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดทางละเมิดของศาลปกครอง หรือ คดีถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

2. มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ร้อง ทั้งอัยการ, ป.ป.ช., คตส. มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะ

2.1 พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 42 ไม่ได้สิ้นสุดลงตาม รธน.40 จากการยึดอำนาจ 19 ก.ย.49
2.2 คตส.จึงสามารถใช้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบการทุจริต ตามประกาศ คปค.ได้

2.3 การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.กำหนดให้การฟ้องคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องทำในสมัยที่นักการเมืองคนนั้น อยู่ในตำแหน่ง ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับการตรวจสอบของ คตส.ที่มีการบัญญัติไว้เป็น กม.เฉพาะได้

2.4 การตั้งนายกล้าณรงค์ จันทิก , นายบรรเจิด สิงคเนติ , นายแก้วสรร อติโพธิ เป็นอนุกรรมการตรวจสอบชอบด้วย กม.ไม่ได้มีอคติ หรือ เป็นปรปักษ์กับผู้ถูกกล่าวหา เพราะการไปฟังกลุ่มพันธมิตรฯปราศรัย , การแสดงความเห็นตรงข้ามกับผู้ถูกกล่าวหา เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในฐานะประชาชนทั่วไป , นักวิชาการ และ ส.ว. ไม่ได้มีเรื่องโกรธแค้นเป็นการส่วนตัวกับผู้ถูกกล่าวหา

2.5 ป.ป.ช.ชุดนี้ตั้งตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ซึ่งชอบด้วย กม.แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องให้ ปธ.วุฒิสภา รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง

2.6 คดีนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีแพ่งประกอบคดีอาญา ที่ต้องรอผลทางอาญาก่อน ตาม ป.วิ อาญา ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจึงสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคำพิพากษาในส่วนที่เป็นคดีอาญาก่อน

3. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คำร้องขอให้ยึดทรัพย์ 7.66 หมื่นล้าน มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถือหุ้นชินคอร์ปผ่านเครือญาติ และนิติบุคคลที่ตัวเองตั้งขึ้น

27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ในพิธี วางศิลาฤกษ์ ‘เขื่อนสิริกิติ์’

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

เดิมเขื่อนนี้มีชื่อว่า 'เขื่อนผาซ่อม' โดยก่อสร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน บริเวณเขาผาซ่อม ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายหลังได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาขนานนามเขื่อนว่า เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ก้มกราบแผ่นดิน หลังลี้ภัยในต่างแดน 1 ปี 5 เดือน

วันนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากต้องลี้ภัยในต่างแดนเป็นเวลา 1 ปี 5 เดือน จากเหตุรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549

ย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ได้มีภาพของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏและเป็นข่าวโด่งดังซึ่งประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก กับกรณีการ ก้มกราบแผ่นดิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

หลังจากที่ นายทักษิณ ต้องออกจากประเทศไทยและลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษนานถึง 1 ปี 5 เดือน เนื่องจากถูกปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งนำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. เมื่อปี 2549

เหตุการณ์ในวันนั้น เมื่อนายทักษิณ เดินทางมาถึง ได้อยู่ภายในห้องวีไอพีกับครอบครัว ซึ่งเป็นห้องที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดเตรียมไว้ให้เซ็นรับทราบข้อกล่าวหา รวมถึงทำกระบวนการต่างๆ ตรวจพาสปอร์ต จากนั้นได้เดินออกจากอาคารสนามบินสุวรรณภูมิทักทายอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย รัฐมนตรี และ ส.ส. ที่มายืนรอต้อนรับ

1 มีนาคม พ.ศ. 2433 รัชกาลที่ 5 ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟสายแรก กรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมา

วันนี้ เมื่อ 133 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกาศพระบรมราชโองการ ให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงเมืองนครราชสีมาเป็นทางรถไฟสายแรกในราชอาณาจักรไทย

เมื่อ พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งในเครื่องราชบรรณาการนั้นมีรถไฟเล็กจำลองย่อส่วนจากรถจักรไอน้ำของจริงที่ใช้ในเกาะอังกฤษ ประกอบด้วยหัวรถจักรไอน้ำชนิดมีปล่องสูงและรถพ่วงครบขบวน ซึ่งเป็นที่สนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น แต่ตลอดรัชสมัยของพระองค์ยังไม่มีการสร้างทางรถไฟเกิดขึ้น เพราะภาวะเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสยามในขณะนั้นยังอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงและยังมีจำนวนประชากรน้อยอยู่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากการทรงทอดพระเนตรการสร้างทางรถไฟในชวาและทรงประทับรถไฟในอินเดีย พระองค์ทรงเห็นว่ารถไฟจะทำให้ราชอาณาจักรสยามมีความเจริญยิ่งขึ้น และจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงให้กับราชอาณาจักรได้ ซึ่งในขณะนั้นราชอาณาจักรสยามกำลังถูกกดดันจากชาติตะวันตกในการล่าอาณานิคม ดังนั้นการสร้างทางรถไฟจึงได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2433 โดยมีประกาศพระบรมราชโองการสร้างทางรถไฟสยามตั้งแต่กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา ดังมีข้อความแสดงพระราชดำริบางดอนว่า

"การสร้างหนทางรถไฟเดินไปมาในระหว่างหัวเมืองไกล เป็นเหตุให้ความเจริญแก่บ้านเมืองได้เป็นอย่างสำคัญอันหนึ่ง เพราะทางรถๆฟอาจจะชักย่นหนทางหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ไกลไปมาถึงกันยากให้กลับเป็นหัวเมืองใกล้ไปมาถึงกันได้โดยสะดวกเร็วพลัน การย้ายขนสินค้าไปมาเป็นการลำบาก ก็สามารถจะย้ายขนไปมาถึงกันได้โดยง่าย เป็นการเปิดโอกาสให้อาณาประชาราษฎร์ มีทางตั้งการทำมาหากินกว้างขวางออกไปและทำทรัพย์สมบัติกรุงสยามให้มากมียิ่งขึ้นด้วย ทั้งเป็นคุณประโยชน์ในการบังคับบัญชา ตรวจตราราชการบำรุงรักษาพระราชอาณาเขตให้ราษฎรอยู่เย็นเป็นสุขได้โดยสะดวก"

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากรมรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ไปทรงขุดดินถมทางรถไฟหลวงสายแรก

2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ ขณะประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ

วันนี้ เมื่อ 89 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงประกาศสละราชสมบัติ

“…ข้าพเจ้าเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิ์ขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร

บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิ์ออกเสียงในนโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จและเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวง ซึ่งเป็นของข้าพเจ้าในฐานที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมาก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์…”

ข้อความนี้คือบางส่วนของคำประกาศสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในพระราชหัตถเลขา ลงวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 เวลา 13.45 น. ซึ่งเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับพระราชหัตถเลขาของพระองค์ไว้ในฐานะผู้แทนรัฐบาล

ก่อนหน้านั้นระหว่างการเสด็จประพาสยุโรป รัชกาลที่ 7 ทรงมีโทรเลขมาถึงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็นเหตุให้ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ทรงทำหนังสือไปถึง พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีถ้อยคำบางส่วนว่า

3 มีนาคม พ.ศ.2544 เครื่องบินการบินไทย ระเบิดคาลานจอด ก่อน ‘ทักษิณ’ จะขึ้นเครื่องเพียงไม่กี่นาที 

วันนี้ เมื่อ 22 ปีก่อน เครื่องบินของการบินไทย เกิดระบิดขึ้นก่อนที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่องไม่กี่นาที 

เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น กลางสนามบินดอนเมือง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนจำนวนมาก โชคดีของผู้โดยสารที่ยังไม่มีใครขึ้นบนเครื่องบิน จึงไม่มีผู้โดยสารสังเวยชีวิตในครั้งนั้น มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คนอยู่บนเครื่องและในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

เครื่องบินโบอิง 737-4D7 ของการบินไทย เที่ยวบินที่ 114 ที่มีกำหนดการเดินทางจากท่าอากาศยานดอนเมือง ไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2544 เวลา 14.48 น. แต่ปรากฏว่า 35 นาทีก่อนกำหนดการบิน ขณะที่เครื่องจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองได้เกิดการระเบิดขึ้น ผลการสอบสอบสวนพบว่าเกิดการสันดาปที่ถังน้ำมันส่วนกลาง ซึ่งอยู่ใกล้กับระบบปรับอากาศซึ่งทำงานอย่างต่อเนื่อง และมีความร้อนสูง ขณะเกิดเหตุยังไม่มีผู้โดยสารอยู่บนเครื่อง มีเพียงเจ้าหน้าที่จำนวน 8 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 คน

ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าว มีบุคคลสำคัญหลายคนเดินทางไปด้วย รวมทั้งนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพานทองแท้ ชินวัตร บุตร ซึ่งจะเดินทางไปร่วมพิธีเปิดศูนย์การค้าสุรวงศ์เซ็นเตอร์ ของ ‘เจ๊แดง’ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่จังหวัดเชียงใหม่

4 มีนาคม ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันปะการัง’ ตระหนักรู้ความสำคัญนิเวศทางทะเล

วันปะการัง ตรงกับวันที่ 4 มีนาคมของทุกปี เป็นวันที่ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปะการัง ที่มีส่วนช่วยให้ระบบนิเวศทางทะเลมีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล

รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 4 มีนาคมเป็นวันปะการัง ซึ่งก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของปะการัง ซึ่งมีส่วนช่วยให้ระบบนิเวศทางทะเลมีความสมดุลต่อสิ่งแวดล้อมใต้ทะเลมากยิ่งขึ้น โดยที่เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันในฐานะทะเลที่มีปะการังมากที่สุดติดอันดับโลก ซึ่งในช่วงระหว่างเกาะอิชิกาคิจนถึงเกาะอิริโอโมเตะจะพบกับแนวปะการังเซคิเซโซโกะ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และยังเป็นกลุ่มปะการังสีฟ้าที่มีคุณค่าติดอันดับของโลก ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ปะการังประมาณ 200 ชนิดจากทั้งหมด 800 ชนิดบนโลกได้รับการยืนยันว่ามีอยู่ในเมืองโอกินาวา

แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันจากอุณหภูมิในน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว การเคลื่อนตัวของดินสีน่ำตาลแดงจากการป้องกันแนวชายฝั่ง รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในทะเลอย่างดาวมงกุฎหนามและหอยทะเลบางชนิดทำให้ปะการังในโอกินาวามีจำนวนลดลง

5 มีนาคม ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันนักข่าว’ หรือวันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ

วันนักข่าว หรือวันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ ในประเทศไทยตรงกับวันที่ 5 มีนาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันสถาปนาสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2498

‘วันนักข่าว’ หรือ ‘วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ’ ตรงกับวันที่ 5 มีนาคมของทุกปี ก่อตั้งโดย สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 และนายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย สมัยนั้นคือ นายโชติ มณีน้อย เป็นนักข่าวรุ่นบุกเบิก ก่อตั้งลงนามร่วมกับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์รวม 16 ฉบับ

‘วันนักข่าว’ ทำให้สมาชิก และผู้ที่อยู่ในวงการแวดวงข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และสื่อทุกช่องทาง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข่าวสาร มีการมอบรางวัลนักข่าวดีเด่น ภาพข่าวดีเด่น และข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ ที่จุดประกายต่อยอดเป็นประโยชน์ต่อสังคม


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top