Tuesday, 20 May 2025
เอกนัฏ_พร้อมพันธุ์

‘พีระพันธุ์’ เผยเสนอชื่อ ‘เอกนัฏ พร้อมพันธุ์’ ให้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรี ในโควตา ‘รทสช.’ ‘เศรษฐา’ รับพิจารณา แต่ว่า!! ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีทางการเมืองก่อน

(12 ส.ค. 67) ที่ท้องสนามหลวง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวถึงการปรับคณะรัฐมนตรี (ปรับ ครม.) ในส่วนของพรรค รทสช. ยังเหมือนเดิมหรือไม่ ที่เสนอให้นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ขณะที่ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม ยังอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ นายพีระพันธุ์ พยักหน้ารับ 

ส่วนที่นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ เรียกแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล หารือช่วงเย็นวันนี้ (12 ส.ค. 67) นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า เป็นการพูดคุยเรื่องเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ เมื่อถามถึงจุดยืนของพรรค รทสช. ในเรื่องนี้เป็นอย่างไร นายพีระพันธุ์ ตอบว่า “ยังเหมือนเดิมคือต้องดูข้อกฎหมายก่อน”

ก่อนหน้านั้น (เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 67) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะผู้ประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวถึงการเชิญพรรคร่วมรัฐบาล ประชุมในช่วงเย็นวันที่ 12 ส.ค.นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า เป็นการพบปะกันปกติเดือนละครั้ง เป็นการพูดคุยกันตามปกติ สอบถามในเรื่องของการทำงาน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของวาระสภาผู้แทนราษฎร รวมไปถึง ครม.

เมื่อถามว่าเป็นการนัดเพื่อส่งรายชื่อการปรับ ครม. หรือไม่ นายภูมิธรรม ตอบว่า นายกรัฐมนตรีไม่ได้เข้าร่วมการหารือ และยืนยันว่าไม่เกี่ยวกัน เนื่องจากเป็นเพียงเรื่องการประสานงานที่ตนทำหน้าที่ เป็นการพูดคุยกันเฉพาะหัวหน้าพรรคและผู้แทนพรรคเท่านั้น ถือเป็นวาระปกติ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 ส.ค.67 ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เคยให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวพรรครวมไทยสร้างชาติ  ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี กรณีโควตาพรรคที่ว่างอยู่ 1 ตำแหน่ง หากมีการปรับ ครม. พรรคขอเสนอ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะเลขาธิการพรรค เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ว่า ตนได้อ่านจากหนังสือพิมพ์ แต่เรื่องยังไม่ถึงมือ 

ตอนนี้เดือนสิงหาคม คิดว่ามีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบตุลาการเยอะไปหมด จริงๆ แล้วต้องให้เกียรติตรงนั้นก่อนดีกว่า ให้หลายเรื่องมันจบไปก่อนดีกว่ามั้ง แต่แน่นอนถ้าเกิดพรรคร่วมรัฐบาลเสนอมาเราก็ต้องพิจารณา แต่ว่าคงไม่ใช่เร็วๆ นี้ เพราะยังมีเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ ต้องให้เกียรติตรงนั้นก่อน

‘ลอรี่ พงศ์พล’ แนะผู้ไม่หวังดี เลิกตั้งศาลเตี้ย กรณีแต่งตั้ง ‘เอกนัฏ’ ชี้!! ควรปล่อยให้ ‘กฤษฎีกา’ ได้พิจารณา ไปตามกระบวนการ

(25 ส.ค. 67) นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ หรือ 'ลอรี่' รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้โพสต์เฟซบุ๊กแนะผู้ไม่หวังดี ให้เลิกตั้งศาลเตี้ย...กรณีแต่งตั้ง ‘เอกนัฏ’ ระบุว่า...

ฝากถึงนักการเมืองเก่าเหล่านั้น ช่วยเอาเวลาโจมตี ‘เอกนัฏ’ ไปทำประโยชน์ ปล่อยกฤษฎีกาได้พิจารณาคุณสมบัติ รมต.ตามกระบวนการ

ตามที่นักการเมืองอดีตสังกัดพรรคสีฟ้า ออกมาดาหน้าโจมตี เลขาธิการพรรค รทสช. 'เอกนัฏ พร้อมพันธุ์' ถึงจริยธรรมและความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

ส่วนตัวที่สัมผัสตัวตน คุณเอกนัฏสนใจแต่การทำงานให้ชาติไม่ว่าในตำแหน่งแห่งหนใด จะในฐานะเป็นรมต.หรือไม่? จึงควรให้เวลาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้พิจารณาคุณสมบัติตามกระบวนการ

ไม่มีอะไรซับซ้อน เราไม่เน้นโต้วาทีสาดโคลนไปมา

จริงอยู่ มันจะมีนักการเมืองที่เห็นแต่ผลประโยชน์ ซึ่งพวกนั้นจะย้ายหลายพรรคเมื่อมีจังหวะ คอยปัดสวะใส่คนอื่น พูดอะไรก็คืนคำ ทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นนักร้องทุกเรื่องเอาดีเข้าตน จนเป็นนิสัย 

คุ้นๆ ไหมครับ มันคือ นิสัยนักการเมืองเก่าเน่าๆ นั่นเอง

แต่ผมว่าไม่ใช่กับ 'เอกนัฏ' ที่ลาออกจาก สส.อายุน้อยที่สุดในสภา มาเป็นนักสู้ข้างถนน ในฐานะเลขากปปส. ไม่ได้หลบหนีพี่น้องร่วมอุดมการณ์ ยามเสียงปืนแตก อุดมการณ์กับหัวใจไม่เคยเปลี่ยนแปลง

‘เอกนัฏ’ คนเดียวกันกับที่ขึ้นศาล สู้คดีไปทุกครั้งทุกนัด มีหมายอัยการเรียกไม่เคยหนี ฝั่งไหนก็ไป ให้การเรื่องม.112 อย่างสุจริตชนตรงไปตรงมา

‘เอกนัฏ’ คนเดียวกันกับที่ผมรู้จัก ยังเป็นเลขาธิการพรรคที่เสียสละให้กับ สส.ในพรรคท่านอื่นได้ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีก่อน ด้วยความนอบน้อม ไม่ได้ยึดติด ถวิลหาตำแหน่งตามที่ถูกกล่าวหาแต่อย่างใด

คงเป็นเรื่องน่าเสียดายไม่น้อย ถ้าประเทศนี้ไม่ได้ใช้งานรัฐมนตรีรุ่นใหม่ มากความรู้ความสามารถดีกรี ม.อ๊อกซ์ฟอร์ด ที่ชื่อ'เอกนัฏ'เข้ามาขับเคลื่อนประเทศ

วันหนึ่งประชาชนจะตัดสินใจเองได้ ว่าโต้วาทกรรมไปมาไม่ใช่ทางออก แต่คือการตั้งหน้าตั้งตาทำงานให้เป็นที่ประจักษ์ 

แบบฉบับ DNA จากลุงตู่ สร้างความเจริญตลอด 9 ปีวันนี้มีแต่คนคิดถึง มา 'คุณพีระพันธุ์' แก้กฎหมายพลังงานรุดหน้า แม้มีเสียงเหยียดหยันก็ไม่หวั่น มาจนถึงคุณเอกนัฏ จะต่างอะไรกัน? คนเหล่านี้คือ ‘นักสู้’ 

ด่าได้ด่าไป รทสช.จะตอบกลับในรูปแบบผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ต่อชาติและประชาชน ให้สาสม...ขอบคุณในแรงผลักดันเหล่านี้ครับ

'รศ.หริรักษ์' วิเคราะห์ปม 'เอกนัฏ' เชื่อ!! ไม่ได้เป็นพยานให้แก่คุณทักษิณแต่อย่างใด ด้านโซเชียล ติง!! 'เอกนัฏ' อย่าเป็น 'ผู้บริสุทธิ์' ที่สุดท้ายต้องถูกวิจารณ์กันเลอะเทอะ

(27 ส.ค.67) รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Harirak Sutabutr' ระบุข้อความว่า...

คุณวัชระ เพชรทอง ออกมาให้ข่าวว่า คุณเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ มีชื่อเป็นพยานให้คุณทักษิณ ในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่อัยการสั่งฟ้องไปแล้ว จากนั้นสำนักข่าวต่าง ๆ ต่างก็รายงานข่าวกันอย่างกว้างขวาง 

ฟังรายงานข่าวแล้วค่อนข้างสับสน บางสำนักรายงานว่า การไปเป็นพยานแต่ละฝ่ายคือ โจทก์และจำเลย จะต้องระบุรายชื่อพยานทางฝ่ายตัวเองยื่นต่อศาล แสดงว่าคุณทักษิณเสนอชื่อคุณเอกนัฏเป็นพยานฝ่ายจำเลย จึงมีคำถามว่า เหตุใดคุณทักษิณจึงเลือกคนที่เป็นศัตรูไปเป็นพยาน หรือเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการที่พรรครวมไทยสร้างชาติเสนอชื่อคุณเอกนัฏเป็นรัฐมนตรี ทำให้คนที่ไม่ได้ตามข่าวอย่างละเอียดเข้าใจไปต่าง ๆ นานา จนกระทั่งคุณอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ออกมาให้ข่าวแทนคุณเอกนัฏว่า ที่คุณเอกนัฏไปเป็นพยานนั้น เป็นการให้ปากคำในชั้นการสอบสวนของตำรวจ ตำรวจมีหมายเรียกให้ไปให้ปากคำ ซึ่งเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ต้นปี จึงไม่เกี่ยวกับตำแหน่งรัฐมนตรีแต่อย่างใด 

หลังจากนั้นก็มีการตอบโต้คำอธิบายของคุณอรรถวิชช์จากฝ่ายต่าง ๆ ว่า ตำรวจจะไม่เรียกตัวไปให้ปากคำเองโดยไม่มีการระบุชื่อจากโจทก์หรือจำเลย ดังนั้นคุณทักษิณจะต้องระบุชื่อให้คุณเอกนัฏเป็นพยานฝ่ายจำเลยอย่างแน่นอน การที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าวเช่นนั้น จึงน่าจะไม่ใช่ความจริง

ในฐานะที่ผมเคยมีประสบการณ์ให้ปากคำกับตำรวจในคดีความผิดตามมาตรา 112 มาครั้งหนึ่ง จึงขอให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงดังนี้...

1. เมื่อมีผู้ไปร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้ที่กระทำสิ่งที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวน จะทำการรวบรวมพยานหลักฐาน และถามความเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นปี จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความมั่นใจในพยานหลักฐานแล้วก็จะส่งต่อไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด หากเห็นว่าไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็อาจไม่ส่งไปยังอัยการ และคดีก็จะจบลงในชั้นตำรวจ

2. ในชั้นการสืบสวนของตำรวจ ยังไม่มีโจทก์หรือจำเลย มีแต่ผู้ถูกกล่าวหา จึงยังไม่มีการเสนอรายชื่อพยานในชั้นนี้ไม่ว่าฝ่ายใด 

3. กรณีคุณทักษิณ เรื่องผ่านการรวบรวมพยานหลักฐานของตำรวจไปถึงอัยการ และอัยการสูงสุดสั่งฟ้องไปแล้ว เรื่องในขณะนี้อยู่ที่ศาล และมีการนัดตรวจสอบพยานหลักฐานไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการสืบพยานแต่อย่างใด จะมีการสืบพยานครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปีหน้า

การที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าวว่าคุณเอกนัฏได้ไปให้การกับตำรวจไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว น่าจะคลาดเคลื่อนเพราะจากที่เป็นข่าว คดีนี้ผ่านจากตำรวจไปถึงสำนักงานอัยการสูงสุดหลายปีแล้ว แต่ที่ยังไม่สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นเพราะตัวคุณทักษิณอยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถมาฟังคำสั่งของอัยการได้ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า ตำรวจ ได้เชิญคุณเอกนัฏไปให้ความเห็นในคดีคุณทักษิณหลายปีมาแล้ว ซึ่งคุณเอกนัฏเท่านั้นที่สามารถบอกได้ 

ผมเองเคยได้รับการติดต่อจากตำรวจซึ่งเป็นรองผู้กำกับจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อไปให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้ถูกร้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งไม่ใช่เป็นหมายเรียก และเราสามารถปฏิเสธไม่ไปก็ได้ แต่ผมก็ไป เมื่อไปถึงท่านรองผู้กำกับก็นำโพสต์ของบุคคลหนึ่งใน Social Media ซึ่งมีคำว่า 'เจ้านาย' ว่าอ่านแล้วคิดอย่างไร ซึ่งเราก็ต้องอ่านข้อความทั้งหมดเสียก่อน จึงจะให้ความเห็นได้ เพราะคำว่า 'เจ้านาย' จะหมายถึงใครย่อมขึ้นอยู่ว่าอยู่ในบริบทไหน ความเห็นเราจึงอาจเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้ถูกร้องก็ได้ ซึ่งก็น่าจะคล้าย ๆ กับคดีคุณทักษิณที่มีคำว่า 'Palace Circle' ที่จะต้องตีความว่า หมายถึงใครบ้าง 

ดังนั้นหากคุณเอกนัฏไปให้ความเห็นต่อตำรวจในลักษณะที่ผมเคยไป ก็แสดงว่าคุณเอกนัฏไม่ได้เป็นพยานให้แก่คุณทักษิณแต่อย่างใด เพียงไปให้ความเห็นต่อตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีคุณทักษิณเท่านั้น 

อย่างไรก็ดี คุณเอกนัฏควรต้องออกมาแถลงด้วยตัวเองว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันจนเลอะเทอะ และทำให้เสียชื่อเสียงไปโดยใช่เหตุ 

หวังว่าที่ยังเงียบอยู่คงไม่ใช่เป็นเพราะคุณเอกนัฏมีชื่อเป็นพยานให้จำเลยคือ คุณทักษิณในชั้นศาลจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงเป็นการให้ความเห็นในชั้นตำรวจอย่างที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าว หากเป็นเช่นนั้นจริงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายมาก

ทั้งนี้ ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ออกมาโพสต์คอมเมนต์ข้อความขอบคุณ รศ.หริรักษ์ ที่ช่วยขยายความ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ว่า...

"ตำรวจออกหมายเรียกโดยอ้างว่าอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ไปสอบเพิ่มเมื่อต้นปีจริงครับ ช่วงเดือนมีนาคม ผมไม่เคยเจรจา ซักซ้อมใด ๆ ครับ ในหมายเรียกไม่ได้ระบุว่าเหตุการณ์ช่วงไหน ระบุแต่ผู้ถูกกล่าวหา ข้อหา แต่ไม่ได้บรรยายพฤติกรรมครับ ซึ่งไม่นานมานี้ ผมเคยถูกเชิญโดยตำรวจไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีอื่น เราก็ไปตามหนังสือ ส่วนว่าจะต้องไปเป็นพยานในชั้นศาลหรือไม่นั้น ถึงวันนี้ ไม่ทราบเลยครับ ทราบแต่ว่าอัยการได้ส่งฟ้องไปแล้วครับ"

ขณะที่ด้าน ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ตอบคอมเมนต์ นายเอกนัฏ ด้วยว่า "ควรชี้แจงตั้งแต่ตอนโดนกล่าวหาแล้วนะครับ"

ขณะที่ รศ.หริรักษ์ ได้ตอบกลับคอมเมนต์ของ นายเอกนัฏ ด้วยว่า "เข้าใจแล้วครับ โล่งอกที่คุณเอกนัฏไม่ได้เป็นพยานให้จำเลย และไปให้ข้อมูลต่อตำรวจ เมื่ออัยการมีคำสั่งให้สอบเพิ่มเติม ขอบคุณที่ชี้แจงครับ"

ทั้งนี้ มีชาวเน็ตท่านหนึ่งเข้ามาถามคอมเมนต์ของนายเอกนัฏ ด้วยว่า "เรื่องตำรวจออกหมายเรียกหรือจะไปเองก็เรื่องนึง แต่สังคมอยากรู้ว่าคุณเอกนัฏพูดประโยคนี้ "…(การ)บอกว่าคำพูดของทักษิณไม่เข้ามาตรา 112 นั้น" ตามที่ วัชระ เพชรทอง กล่าวหา ว่าเป็นความจริงหรือป่าวก็แค่นั้นเอง"

ด้าน นายเอกนัฏ ตอบกลับทันทีว่า "ไม่เคยพูดประโยคนี้ครับ" ซึ่งชาวเน็ตก็มองว่า "หากมีการนำคำอ้างแบบนี้มาใช้ ก็สมควรดำเนินการฟ้องผู้กล่าวอ้างคืนเสียบ้าง"

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในมุมมองของชาวเน็ตส่วนใหญ่ ยังเห็นไปในทางเดียวกันอีกด้วยว่า "นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงของพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ชอบทำอะไรเงียบๆ ไม่ค่อยออกมาตอบเรื่องใด ๆ ในทันที อย่างเรื่องดี ๆ ที่ทำไป ก็มักจะหายเข้ากลีบเมฆ แต่ถ้าเป็นเรื่องปมดรามาหรือประเด็นทางสังคม ก็มักจะปล่อยให้ถูกนำมาโจมตีและแพร่กระจายในโซเชียลโดยไม่มีการชี้แจงทันที... พรรค รทสช.ควรทำงานด้านการสื่อสารเพิ่มบ้าง"

‘เอกนัฏ’ แจง ไปให้การศาลและเจ้าพนักงานเป็นประจำ ยัน!! ไม่เคยพูด “คำพูดของทักษิณ ไม่เข้ามาตรา 112”

(27 ส.ค. 67) รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'Harirak Sutabutr' ระบุข้อความว่า...

คุณวัชระ เพชรทอง ออกมาให้ข่าวว่า คุณเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ มีชื่อเป็นพยานให้คุณทักษิณ ในคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่อัยการสั่งฟ้องไปแล้ว จากนั้นสำนักข่าวต่าง ๆ ต่างก็รายงานข่าวกันอย่างกว้างขวาง 

ฟังรายงานข่าวแล้วค่อนข้างสับสน บางสำนักรายงานว่า การไปเป็นพยานแต่ละฝ่ายคือ โจทก์และจำเลย จะต้องระบุรายชื่อพยานทางฝ่ายตัวเองยื่นต่อศาล แสดงว่าคุณทักษิณเสนอชื่อคุณเอกนัฏเป็นพยานฝ่ายจำเลย จึงมีคำถามว่า เหตุใดคุณทักษิณจึงเลือกคนที่เป็นศัตรูไปเป็นพยาน หรือเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับการที่พรรครวมไทยสร้างชาติเสนอชื่อคุณเอกนัฏเป็นรัฐมนตรี ทำให้คนที่ไม่ได้ตามข่าวอย่างละเอียดเข้าใจไปต่าง ๆ นานา จนกระทั่งคุณอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ออกมาให้ข่าวแทนคุณเอกนัฏว่า ที่คุณเอกนัฏไปเป็นพยานนั้น เป็นการให้ปากคำในชั้นการสอบสวนของตำรวจ ตำรวจมีหมายเรียกให้ไปให้ปากคำ ซึ่งเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ต้นปี จึงไม่เกี่ยวกับตำแหน่งรัฐมนตรีแต่อย่างใด 

หลังจากนั้นก็มีการตอบโต้คำอธิบายของคุณอรรถวิชช์จากฝ่ายต่าง ๆ ว่า ตำรวจจะไม่เรียกตัวไปให้ปากคำเองโดยไม่มีการระบุชื่อจากโจทก์หรือจำเลย ดังนั้นคุณทักษิณจะต้องระบุชื่อให้คุณเอกนัฏเป็นพยานฝ่ายจำเลยอย่างแน่นอน การที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าวเช่นนั้น จึงน่าจะไม่ใช่ความจริง

ในฐานะที่ผมเคยมีประสบการณ์ให้ปากคำกับตำรวจในคดีความผิดตามมาตรา 112 มาครั้งหนึ่ง จึงขอให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงดังนี้...

1. เมื่อมีผู้ไปร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีผู้ที่กระทำสิ่งที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 112 เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวน จะทำการรวบรวมพยานหลักฐาน และถามความเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นปี จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความมั่นใจในพยานหลักฐานแล้วก็จะส่งต่อไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด หากเห็นว่าไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็อาจไม่ส่งไปยังอัยการ และคดีก็จะจบลงในชั้นตำรวจ

2. ในชั้นการสืบสวนของตำรวจ ยังไม่มีโจทก์หรือจำเลย มีแต่ผู้ถูกกล่าวหา จึงยังไม่มีการเสนอรายชื่อพยานในชั้นนี้ไม่ว่าฝ่ายใด 

3. กรณีคุณทักษิณ เรื่องผ่านการรวบรวมพยานหลักฐานของตำรวจไปถึงอัยการ และอัยการสูงสุดสั่งฟ้องไปแล้ว เรื่องในขณะนี้อยู่ที่ศาล และมีการนัดตรวจสอบพยานหลักฐานไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการสืบพยานแต่อย่างใด จะมีการสืบพยานครั้งแรกในเดือนกรกฎาคมปีหน้า

การที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าวว่าคุณเอกนัฏได้ไปให้การกับตำรวจไปตั้งแต่ต้นปีแล้ว น่าจะคลาดเคลื่อนเพราะจากที่เป็นข่าว คดีนี้ผ่านจากตำรวจไปถึงสำนักงานอัยการสูงสุดหลายปีแล้ว แต่ที่ยังไม่สั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นเพราะตัวคุณทักษิณอยู่ต่างประเทศ ไม่สามารถมาฟังคำสั่งของอัยการได้ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า ตำรวจ ได้เชิญคุณเอกนัฏไปให้ความเห็นในคดีคุณทักษิณหลายปีมาแล้ว ซึ่งคุณเอกนัฏเท่านั้นที่สามารถบอกได้ 

ผมเองเคยได้รับการติดต่อจากตำรวจซึ่งเป็นรองผู้กำกับจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อไปให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้ถูกร้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งไม่ใช่เป็นหมายเรียก และเราสามารถปฏิเสธไม่ไปก็ได้ แต่ผมก็ไป เมื่อไปถึงท่านรองผู้กำกับก็นำโพสต์ของบุคคลหนึ่งใน Social Media ซึ่งมีคำว่า 'เจ้านาย' ว่าอ่านแล้วคิดอย่างไร ซึ่งเราก็ต้องอ่านข้อความทั้งหมดเสียก่อน จึงจะให้ความเห็นได้ เพราะคำว่า 'เจ้านาย' จะหมายถึงใครย่อมขึ้นอยู่ว่าอยู่ในบริบทไหน ความเห็นเราจึงอาจเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้ถูกร้องก็ได้ ซึ่งก็น่าจะคล้าย ๆ กับคดีคุณทักษิณที่มีคำว่า 'Palace Circle' ที่จะต้องตีความว่า หมายถึงใครบ้าง 

ดังนั้นหากคุณเอกนัฏไปให้ความเห็นต่อตำรวจในลักษณะที่ผมเคยไป ก็แสดงว่าคุณเอกนัฏไม่ได้เป็นพยานให้แก่คุณทักษิณแต่อย่างใด เพียงไปให้ความเห็นต่อตำรวจที่เป็นพนักงานสอบสวนในคดีคุณทักษิณเท่านั้น 

อย่างไรก็ดี คุณเอกนัฏควรต้องออกมาแถลงด้วยตัวเองว่า ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมีการวิพากษ์วิจารณ์กันจนเลอะเทอะ และทำให้เสียชื่อเสียงไปโดยใช่เหตุ 

หวังว่าที่ยังเงียบอยู่คงไม่ใช่เป็นเพราะคุณเอกนัฏมีชื่อเป็นพยานให้จำเลยคือ คุณทักษิณในชั้นศาลจริง ๆ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงเป็นการให้ความเห็นในชั้นตำรวจอย่างที่คุณอรรถวิชช์ให้ข่าว หากเป็นเช่นนั้นจริงก็เป็นเรื่องน่าเสียดายมาก

ทั้งนี้ ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ออกมาโพสต์คอมเมนต์ข้อความขอบคุณ รศ.หริรักษ์ ที่ช่วยขยายความ พร้อมทั้งให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ว่า...

"ตำรวจออกหมายเรียกโดยอ้างว่าอัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ไปสอบเพิ่มเมื่อต้นปีจริงครับ ช่วงเดือนมีนาคม ผมไม่เคยเจรจา ซักซ้อมใด ๆ ครับ ในหมายเรียกไม่ได้ระบุว่าเหตุการณ์ช่วงไหน ระบุแต่ผู้ถูกกล่าวหา ข้อหา แต่ไม่ได้บรรยายพฤติกรรมครับ ซึ่งไม่นานมานี้ ผมเคยถูกเชิญโดยตำรวจไปให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรณีอื่น เราก็ไปตามหนังสือ ส่วนว่าจะต้องไปเป็นพยานในชั้นศาลหรือไม่นั้น ถึงวันนี้ ไม่ทราบเลยครับ ทราบแต่ว่าอัยการได้ส่งฟ้องไปแล้วครับ"

ขณะที่ด้าน ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ตอบคอมเมนต์ นายเอกนัฏ ด้วยว่า "ควรชี้แจงตั้งแต่ตอนโดนกล่าวหาแล้วนะครับ"

ขณะที่ รศ.หริรักษ์ ได้ตอบกลับคอมเมนต์ของ นายเอกนัฏ ด้วยว่า "เข้าใจแล้วครับ โล่งอกที่คุณเอกนัฏไม่ได้เป็นพยานให้จำเลย และไปให้ข้อมูลต่อตำรวจ เมื่ออัยการมีคำสั่งให้สอบเพิ่มเติม ขอบคุณที่ชี้แจงครับ"

ทั้งนี้ มีชาวเน็ตท่านหนึ่งเข้ามาถามคอมเมนต์ของนายเอกนัฏ ด้วยว่า "เรื่องตำรวจออกหมายเรียกหรือจะไปเองก็เรื่องนึง แต่สังคมอยากรู้ว่าคุณเอกนัฏพูดประโยคนี้ "…(การ)บอกว่าคำพูดของทักษิณไม่เข้ามาตรา 112 นั้น" ตามที่ วัชระ เพชรทอง กล่าวหา ว่าเป็นความจริงหรือป่าวก็แค่นั้นเอง"

ด้าน นายเอกนัฏ ตอบกลับทันทีว่า "ไม่เคยพูดประโยคนี้ครับ" ซึ่งชาวเน็ตก็มองว่า "หากมีการนำคำอ้างแบบนี้มาใช้ ก็สมควรดำเนินการฟ้องผู้กล่าวอ้างคืนเสียบ้าง"

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในมุมมองของชาวเน็ตส่วนใหญ่ ยังเห็นไปในทางเดียวกันอีกด้วยว่า "นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงของพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ชอบทำอะไรเงียบๆ ไม่ค่อยออกมาตอบเรื่องใด ๆ ในทันที อย่างเรื่องดี ๆ ที่ทำไป ก็มักจะหายเข้ากลีบเมฆ แต่ถ้าเป็นเรื่องปมดรามาหรือประเด็นทางสังคม ก็มักจะปล่อยให้ถูกนำมาโจมตีและแพร่กระจายในโซเชียลโดยไม่มีการชี้แจงทันที... พรรค รทสช.ควรทำงานด้านการสื่อสารเพิ่มบ้าง"

'เอกนัฏ-รมว.อุตสาหกรรม' น้อมรับเสียงวิจารณ์หลังร่วมงาน 'ครม.อุ๊งอิ๊ง 1' ชี้!! ภัยคุกคามและความท้าทายของชาติเปลี่ยน ทุกคนต้องร่วมมือกัน

เมื่อวานนี้ (4 ก.ย. 67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมป้ายแดง ในรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า เคยเป็นแกนนำ กปปส.ไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่กลับมาร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ว่า เมื่ออยู่ในการเมือง ก็ยินดีรับฟังทุกความเห็น และพิสูจน์ตัวเองด้วยการทำงาน วันนี้เรื่องของบ้านเมืองต้องมาก่อน เชื่อว่า คนที่มีจุดยืนและอุดมการณ์เดียวกัน ก็อาจมีวิธีที่ต่างกัน ตนในฐานะเลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ จะต้องเลือกวิธีที่ดีที่สุด เพื่อเป็นทางออกของประเทศที่ดีที่สุด บางทีอาจเป็นทางออกทางเดียว ซึ่งยืนยันว่าอยู่ในจุดยืนนี้มาโดยตลอด คือ อุดมการณ์ในการปกป้องและรักษาสถาบัน ที่เป็นเสาหลักของประเทศ

เมื่อถามว่าจะเสียแนวร่วมหรือกลุ่มสนับสนุนไปหรือไม่? นายเอกนัฏ กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่ขอให้ผลงานกับระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ "ทุกความเห็น ไม่ว่าจะเป็นคำด่าหรือคำติชม ยินดีรับฟัง อาชีพนักการเมืองเป็นอาชีพที่ผมรัก และยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติมาโดยตลอด ก็จะตั้งใจทำงานให้คุ้มค่ากับโอกาสที่ได้รับ"

เมื่อถามว่ามีหลายคนใช้คำแรงว่า เราหักอุดมการณ์ตัวเอง? นายเอกนัฏ กล่าวว่า "เข้าใจ เพราะตนมายืนอยู่ในตรงนี้ อาชีพนี้ การตัดสินใจและจะทำอะไรต่างๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ยืนยันว่า ได้เลือกทางที่ดีที่สุด ณ จังหวะเวลานี้ ภัยคุกคามและความท้าทายของประเทศมันเปลี่ยนไป ตอนนี้เป็นจังหวะสำคัญที่เราต้องร่วมมือกัน"

เมื่อถามว่าสามารถทำงานได้สนิทใจหรือไม่ กับลูกของนายทักษิณ ชินวัตร? นายเอกนัฏ กล่าวว่า "ก็ต้องทำล่ะครับ วันนี้ขอให้คิดถึงบ้านเมืองเป็นหลัก มันก็สามารถทำงานด้วยกันได้ เราไม่ได้ลืม เราไม่ได้ลบ แต่เราเลือก"

เมื่อถามว่าได้พูดคุยเรื่องนี้กับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำ กปปส. หรือไม่? นายเอกนัฏ กล่าวว่า "ตนยังคงพูดคุยกับทุกคนปกติ ตนเข้าใจแล้วที่ผ่านมาไม่อยากพูดมาก แต่ไม่ได้แปลว่าไม่รับฟัง เข้าใจว่าคนที่ตำหนิมามีความปรารถนาดี ก็ต้องรับฟังและปรับปรุงตัว แต่ย้ำว่าตลอดชีวิตการทำงานการเมืองที่ผ่านมามีจุดยืน ในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง"

เมื่อถามถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าไปเป็นพยานให้ นายทักษิณ ชินวัตร คดี 112 ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร? นายเอกนัฏ กล่าวว่า "ความจริงมีหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมา ไม่ได้ไปโดยพลการ ซึ่งหากไม่ไป ก็จะต้องถูกหมายจับ จึงต้องไปทำหน้าที่ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ หากยังมีข้อสงสัย ตนก็จะหาโอกาสที่แจ้งอย่างเป็นทางการอีกครั้ง"

เมื่อถามถึงเรื่องของคุณสมบัติ ที่มีการท้วงติงกันก่อนหน้านี้? นายเอกนัฏ กล่าวว่า "การตรวจสอบคุณสมบัติไม่ใช่หน้าที่ของตน ซึ่งเมื่อดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ก็ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบแล้ว เนื่องจากคดีของตนมีคำพิพากษาของศาลออกมาแล้ว ดังนั้น ที่จะมีการไปร้องให้ตรวจสอบ ขอไม่พูดถึง เดินหน้าทำงานดีกว่า"

'รมว.เอกนัฏ' เปิดฉาก!! 'ปฏิรูปอุตสาหกรรม' หลังเข้ากระทรวงอุตฯ วันแรก พร้อมเตรียมงานเชิงรุก ก่อนลุยเก็บข้อมูลกากของเสียรั่วไหลที่ระยอง

(11 ก.ย. 67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ เดินทางเข้ากระทรวงอุตสาหกรรมเป็นวันแรก เพื่อเตรียมการทำงาน แลกเปลี่ยนมุมมองกับคณะผู้บริหารระดับสูง โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำเสนอภาพรวมการดำเนินงาน พร้อมแนะนำผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม

โดยนายเอกนัฏ กล่าวถึง 'การปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย' (Industrial Reform) เพื่อรับโอกาสใหม่ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของโลกใน 3 พันธกิจสำคัญเร่งด่วน ดังนี้...

1. จัดการกากอุตสาหกรรมตกค้างทั้งระบบอย่างเข้มงวด

2. ปกป้องอุตสาหกรรมไทยจากการทุ่มตลาด: ช่วยผู้ประกอบการรายย่อย ที่รับผลกระทบจากการทะลักเข้าของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน และยกระดับขีดความสามารถ SME ไทย

3. สร้างอุตสาหกรรมแห่งอนาคต สร้าง New S-Curve กับประเทศ ด้วยสินค้าเกษตรเทคโนโลยีสูง พลาสติกชีวภาพ โอลีโอเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง อุตสาหกรรมยานยนต์ EV ชิพเซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมที่จะรื้อปรับปรุง กฎหมาย กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง พร้อมผสานความร่วมมือกับภาคประชาชน เอกชน ท้องถิ่น และกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการงานให้สำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่ชัดเจน

รวมถึงการจัดตั้ง 'กองทุนเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม' แบบครบวงจร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการไทย อัปสกิลผลิตแรงงานคุณภาพสูง ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยี บริหารจัดการค่าจับปรับด้านสิ่งแวดล้อมแบบไม่ต้องพึ่งพางบกลาง

"ผมจะทำทันที ทำทุกวินาที ไม่ยอมจนกว่าจะทำให้สำเร็จ" รมว.อุตสาหกรรม กล่าวเสริม

หลังจากประชุมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงแล้วนายเอกนัฏ และคณะ ได้ออกเดินทางทันที เพื่อสำรวจพื้นที่ที่มีสารเคมีรั่วไหลใน อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ตามข้อร้องเรียนของประชาชน

'รมว.เอกนัฏ' ลุยงานเชิงรุก สางปม 'กาก-น้ำ-อากาศพิษ' กระทบประชาชนเตรียมยกเครื่องจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม

(11 ก.ย. 67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลุยงานเชิงรุก ลงพื้นที่บริษัท วินโพรเสส จำกัด อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง รับฟังข้อมูล เพื่อวางแนวทางการแก้ไขปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม

นายเอกนัฏ กล่าวว่า จากปัญหาการลักลอบทิ้งกากของเสียอุตสาหกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อมและพื้นที่สาธารณะ นำไปสู่การรั่วไหลแพร่กระจายของสารมลพิษเป็นพื้นที่ปนเปื้อนในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นวงกว้าง ซึ่งตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านและติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกรณีของ บริษัท วินโพรเสส จำกัด อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารโรงงานที่มีการลักลอบเก็บกากของเสียและสารอันตรายจำนวนมาก ทำให้สารเคมีและสารมลพิษเกิดการแพร่กระจายและชะล้างออกสู่พื้นที่ภายนอก สร้างปัญหาและความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านข้างเคียง 

"วันนี้ ได้ลงพื้นที่ร่วมกับคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงและผลกระทบจากการแพร่กระจายของมลพิษ ตลอดจนแนวทางและการดำเนินการแก้ปัญหาด้วยตนเอง เพื่อวางแนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรมตกค้างอย่างเข้มงวด พร้อมยกระดับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบอย่างเป็นรูปธรรม"

นอกจากนี้ รมว.อุตสาหกรรม ยังเตรียมที่จะรื้อปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมแบบครบวงจร พร้อมผสานความร่วมมือกับภาคประชาชน เอกชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการงานให้สำเร็จตามเป้าหมายภายในระยะเวลาที่ชัดเจน ยกระดับความปลอดภัยในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม และสร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ ต่อไป

ด้าน ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรณีของ บริษัท วินโพรเสส จำกัด อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง กระทรวงอุตสาหกรรมได้ฟ้องร้องต่อศาลจังหวัดระยองและเร่งรัดให้บริษัทฯ ทำการบำบัดกำจัดกากของเสียและสารอันตรายในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดเหตุเพลิงไหม้ในช่วงเช้าของวันที่ 22 เมษายน 2567 ทำให้สารเคมีและสารมลพิษเกิดการแพร่กระจายและชะล้างออกสู่พื้นที่ของชาวบ้านข้างเคียง โดยในระยะเร่งด่วน กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งดำเนินการ ดังนี้...

1)  ทำการเบี่ยงทางน้ำป้องกันปริมาณน้ำฝนไม่ให้ไหลกัดเซาะบ่อกักเก็บน้ำเสียและชะล้างสารเคมีหรือกากอุตสาหกรรมไหลปนเปื้อนออกสู่พื้นที่ของชาวบ้านข้างเคียง ซึ่งปัจจุบันดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำและวางระบบท่อพร้อมใช้งาน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมผ่านกิจกรรม 'อุตสาหกรรมรวมใจ' เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด กลุ่มบริษัทในเครือเอสซีจี บริษัท อูเบะ เคมิคอลส์ (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 

2) เร่งทำการบำบัดกำจัดตะกรันอะลูมิเนียมโดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท จากเงินที่วางไว้ต่อศาลจังหวัดระยอง 

และ 3) เร่งทำการบำบัดน้ำเสียในพื้นที่เพื่อลดการปนเปื้อนและรั่วซึมไปสู่พื้นที่ของชาวบ้าน นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะเร่งทำการกำจัดของเสียทั้งหมดที่อยู่ภายในอาคารโรงงานและพื้นที่โดยรอบอาคาร และจะทำการบำบัดกำจัดของเสียที่อยู่ใต้ดิน ตลอดจนทำการฟื้นฟูพื้นที่ในระยะต่อไป เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านโดยเร็วที่สุด 

"ผมจะต่อสู้กับปัญหาขยะพิษที่ทำร้ายชีวิตประชาชน ไม่อ่อนข้อให้ผลประโยชน์ ไม่เกรงกลัวต่ออิทธิพล เดินหน้า เร่งคืนน้ำที่สะอาด และอากาศที่บริสุทธิ์ให้คนไทย" รมว.เอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย

'รมว.เอกนัฏ' สั่งพักหนี้ SME ที่ได้รับผลกระทบทันที พร้อมสั่งการจัดส่งถุงยังชีพเพิ่มช่วยผู้ประสบภัย

(13 ก.ย. 67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยรุนแรงในพื้นที่ในภาคเหนือ ส่งผลกระทบชีวิตผู้คนทั้งในบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมเป็นวงกว้าง ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการสรุปรายงานสถานการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา รวมทั้ง 14 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ มีสถานประกอบการได้รับความเสียหาย จำนวน 61 ราย คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 42.1 ล้านบาท และมีผู้ประกอบการ SME รายย่อย ได้รับผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม จำนวนไม่ต่ำกว่า 505 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 กันยายน 2567)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนและสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จึงได้กำชับให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เตรียมให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ขณะนี้ทางปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (นายณัฐพล รังสิตพล) ได้มอบหมายให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เร่งสำรวจความเสียหายของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบว่ามีกี่ราย เสียหายอย่างไรบ้าง และเร่งส่งมอบถุงยังชีพ 'อุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน' ซึ่งเป็นการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ผ่านกิจกรรม 'อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย' บรรจุเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็นถุงยังชีพรวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้

นอกจากนั้นยังเตรียมแผนการเยียวยาเต็มรูปแบบ หลังพื้นที่ประสบภัยน้ำเริ่มลดลง ให้หน่วยงานในสังกัด อก. เร่งเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน โดย...

1) จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ ทีมวิศวกร หรือช่างชุมชนของโครงการอาชีพช่าง เข้าปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟู เครื่องจักร ระบบไฟฟ้า 

2) จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าประเมินสภาพปัญหาให้คำปรึกษาปัญหาธุรกิจ วางแผน ฟื้นฟูสถานประกอบการ ผ่านศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM BSC) 

3) จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปให้คำปรึกษาฟื้นฟูกระบวนการผลิต ระบบคุณภาพ GMP/HACCP/GHP มาตรฐานความปลอดภัย ผ่านศูนย์ DIPROM Center ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนสามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างปกติโดยเร็ว 

4) การพักชำระหนี้ 3 เดือน สำหรับลูกหนี้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีฯ

"หลังน้ำลดและสถานการณ์คลี่คลาย ผมและคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม จะเร่งลงพื้นที่เพื่อเข้าให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการและพี่น้องประชาชนโดยรอบ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ขอร่วมส่งกำลังใจให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ ให้ทุกท่านผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้และกลับมาดำเนินชีวิตในรูปแบบปกติได้โดยเร็ว และจะเดินเคียงข้างพี่น้องประชาชนให้ก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้" รมว.เอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย

‘พีระพันธุ์’ ถก ‘เอกนัฏ’ ประสานความร่วมมือ ‘พลังงาน-อุตสาหกรรม’ แก้ช่องโหว่กฎหมายเอื้อโซลาร์ทั่วถึง-ดันนิคมฯ SME ช่วยรายย่อย

(17 ก.ย. 67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังการหารือกับนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน วานนี้ (16 ก.ย.67) ว่า รองนายกรัฐมนตรี ได้แสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมหารือการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ทำอย่างไรให้ประชาชนได้รับบริการที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ลดขั้นตอน สร้างความสะดวก คล่องตัวให้กับประชาชน 

ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมเป็นกำลังหลักที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่เราต้องส่งเสริม สร้างโอกาส ให้ความสะดวก เติมทุนหนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อยกระดับธุรกิจให้เติบโต สร้างงานสร้างรายได้ เพื่อให้สามารถเดินต่อและแข่งขันได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภาพรวมอีกด้วย 

รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ ยังกล่าวต่อว่า ยังมีแนวคิดที่จะทำนิคมอุตสาหกรรมเพื่อธุรกิจขนาดเล็กขึ้น (นิคมฯ SME) เพื่อช่วยลดต้นทุน สามารถส่งต่อวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมได้ ทำให้การสนับสนุนเอสเอ็มอีทำได้สะดวกขึ้น รวมทั้งการเร่งแก้กฎระเบียบ กฎหมาย เพื่อให้สอดรับกับการดำเนินงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย 

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญในการผลักดันการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสีเขียว โดยได้มีการแก้กฎหมายในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ไม่เข้าข่ายโรงงานที่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน จากเดิมที่กำหนดว่าหากมีกำลังผลิตเกินกว่า 1 เมกะวัตต์ เข้าข่ายเป็นโรงงานต้องขอรับใบอนุญาต โดยการแก้กฎหมายดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ทุกภาคส่วนใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อยกระดับพลังงานไทยให้มีความเสถียร ยั่งยืน เป็นพลังงานสะอาด และราคาถูก ตอบสนองกติกาสากล ทั้งนี้ คาดว่าการปลดล็อกกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายในปี พ.ศ. 2567 

รมว.เอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงอุตสาหกรรม จะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย ตอบโจทย์การประกอบการและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย โดยการปรับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ ซึ่งจะมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน การเพิ่มโทษอาญา พร้อมวางแนวทางในการปรับกฎหมายและภารกิจเข้าสู่ภาครัฐดิจิทัล สร้าง Ease of Doing Business (ความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ) โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมายแก้ช่องโหว่ในการส่งเสริมการประกอบการที่ดี การมีระบบ Digital แบบ One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้กับผู้ประกอบการ และการจัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมสู่อนาคต สร้างความยั่งยืนและฟื้นฟูเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดจากการประกอบการ ให้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นการเพิ่มเครื่องมือหนึ่งในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม

‘เอกนัฏ’ นำทัพกระทรวงอุตฯ เร่งฟื้นฟูระบบน้ำประปา ช่วยผู้ประสบภัย จ.เชียงราย พร้อมพักชำระหนี้ ‘SMEs’ ที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้โครงการ ‘อุตสาหกรรมรวมใจ’

(21 ก.ย.67) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำทีมข้าราชการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ พร้อมช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในจังหวัดเชียงราย โดยวันนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะได้มอบท่อพีวีซี แข็ง ‘ท่อน้ำไทย’ ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เอจีซี วีนิไทย จำกัด (มหาชน) ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไท อำเภอแม่ฟ้าหลวง จำนวน 8,360 เส้น นำไปฟื้นฟูระบบประปาภูเขา ผ่านโครงการ 'อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยผู้ประสบภัยจังหวัดเชียงราย' พร้อมมอบถุงยังชีพ ‘อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย’ บรรจุเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งของจำเป็น เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัย ณ หอประชุมบ้านเทอดไท หลังจากนั้น คณะได้เดินทางไปยังหมู่บ้านแม่หม้อ หมู่ 7 ตำบลเทอดไท เพื่อร่วมกันประกอบท่อประปาหมู่บ้านทดแทนท่อเดิมที่ถูกดินสไลด์ บรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นกับประชาชน

รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวต่ออีกว่า นอกจากนี้ ยังได้เข้าไปพบปะหารือกับผู้ประกอบการจังหวัดเชียงราย โดยทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย ได้รายงานว่า มีผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จำนวน 22 ราย ประกอบกิจการผลิตเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งภายใน ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ อู่ซ่อมรถยนต์ โรงชำแหละเนื้อสัตว์ ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า ผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นขนมจีน สกัดน้ำมันพืช เมล็ดพันธุ์ทางการเกษตร ซึ่งเครื่องจักร เครื่องมือไฟฟ้า วัตถุดิบได้รับความเสียหาย ส่วนการประกอบกิจการดูดทราย รถยนต์ที่ใช้ประกอบกิจการ ตราชั่ง อุปกรณ์สำนักงาน เรือดูดทราย ได้รับความเสียหาย มูลค่าความเสียหายกว่า 23.6 ล้านบาท โดยทางกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้เข้าไปสำรวจพบว่า มีผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการพักชําระหนี้เงินต้น 3 เดือน จํานวน 8 ราย 

ทั้งนี้ทางกระทรวงฯ ได้เตรียมเจ้าหน้าที่ ทีมวิศวกร ช่างชุมชน หรือหน่วยงานตรวจสภาพ เพื่อช่วยเหลือ ซ่อมแซม และให้คําแนะนําเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าให้กับประชาชนต่อไป 

“ผมและคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งลงพื้นที่เพื่อฟื้นฟู เยียวยา ให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ผู้ประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในวันนี้ขอมาให้กำลังใจกับพี่น้องประชาชนและผู้ประกอบการให้ทุกท่านผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้และกลับมาดำเนินชีวิตแบบปกติได้โดยเร็ว โดยหวังว่าโครงการ ‘อุตสาหกรรมรวมใจ’ ของกระทรวงฯ จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือ เยียวยา บรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ผ่านการฟื้นฟูระบบประปาภูเขา และพวกเราคนกระทรวงอุตฯ ขอยืนยันว่าจะเดินเคียงข้างพี่น้องประชาชนและผู้ประกอบการให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้” นายเอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top