Tuesday, 14 May 2024
เชียงราย

เชียงราย - กอ.รมน.จังหวัด ช.ร. จัดการประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่อง " ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากและน้ำท่วมซ้ำซาก " ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ณ ห้องประชุม กอ.รมน.จังหวัด ช.ร. ศาลากลางจังหวัดเชียงราย

วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เวลา 0930 - 1200 น. พ.อ. กิตติพล ไพรหิรัญ รอง ผอ.รมน.จังหวัด ช.ร.(ท.)   เป็นประธานในการประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่อง " ปัญหาภัยแล้งซ้ำซากและน้ำท่วมซ้ำซาก " ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ณ ห้องประชุม กอ.รมน.จังหวัด ช.ร. ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 8 หน่วยงานได้แก่

มทบ.37,ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดเชียงราย,ปลัดจังหวัดเชียงราย (กลุ่มงานปกครองจังหวัดเชียงราย),ศูนย์ป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15,ป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดเชียงราย,โครงการชลประทานเชียงราย,นพค.35 , สนภ.3 นทพ. ,สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค1 เชียงราย     

      

ทั้งนี้เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นและนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในจังหวัดเชียงรายที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและภัยแล้ง ปัจจุบันประเทศไทย และจังหวัดเชียงราย เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบ ทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซากในบางพื้นที่

ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการบริหารในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และต้องมีการบริหารจัดการน้ำเพื่อเก็บกักตุนน้ำไว้ให้ประชาชน และเกษตรกรได้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ในปี 2564 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง 

พร้อมนำบทเรียนจากการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรคจากปีที่ผ่านมา มาประกอบการวางแผนบูรณาการและแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

เชียงราย - โรงพยาบาลเม็งรายฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนที่ลงทะเบียนกับหมอพร้อม ทั้งวัคซีน Sinovac และ Astrazeneca ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะฉีดให้ตามความเหมาะสมของผู้รับวัคซีน

เวลา 09.00 น. วันที่ 8 มิ.ย.64 ที่โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมือง จ.เชียงราย พล.ต.ศุภฤกษ์ สถาพรผล ผบ.มทบ.37 พร้อมคณะได้เดินทางมา เพื่อตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส โควิด - 19 ให้กับผู้ที่ลงทะเบียนนแอพพิเคชั่นหมอพร้อม ผู้ที่สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี และผู้ป่วยเรื้อรังที่รักษาอยู่ที่โรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช โดย พ.​อ.นพ.กิติพันธ์ เฮงสนั่นกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายฯ ให้การต้องรับ ซึ่งวันนี้มีประชาชนเดินทางเข้ามารับการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งวัคซีน sinovac และ astrazeneca ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะฉีดให้ตามความเหมาะสมของผู้รับวัคซีน

โดยที่โรงพยาบาลค่ายเม็งรายฯ เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการหมอพร้อม ที่ให้บริการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่ลงทะเบียนผ่านแอพพิเคชั่น โดยเปิดให้ฉีดวัคซีนในวัน อังคาร พฤหัส และวันศุกร์  โดยในวันนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้ารับวัคซีนจำนวน 130 ราย  โดยในจำนวนนี้มี พล.อ.แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช เข้ารับการฉีดวัคซีนในครั้งนี้ด้วย


ภาพ/ข่าว  ณัฐวัตร ลาพิงค์

เชียงราย – นักรบบนหลังม้า หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 3 นำม้าลาดตระเวนสกัดกั้นผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองพร้อมสิ่งผิดกฎหมายตามแนวชายแดน

เมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา ตามที่ พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก ได้มีนโยบายให้กำลังพล ที่ปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนเฝ้าตรวจ ตามแนวชายแดน ได้มีการผ่อนคลายจากการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว

ดังนั้น พลตรี นฤทธิ์ ถาวรวงษ์ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง จึงได้สั่งการให้ พันเอก สัมฤทธิ์ ฉัตรวัฒนาสกุล ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 3 นำม้า เพื่อใช้เป็นพาหนะเพิ่มระยะทางและระยะเวลา ในการปฏิบัติภารกิจการลาดตระเวน ตามแนวชายแดน แทนการเดินเท้า เพื่อให้กำลังพลลดความเหนื่อยล้า และได้ผ่อนคลาย จากการปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมงและ ให้มีการผลัดเปลี่ยนกำลังพล ในการสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมายตามแนวชายแดนพร้อม การสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงยาเสพติด และสิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ ในพื้นที่ตามแนวชายแดน ของ จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ยังได้สร้างความสัมพันธ์กับประชาชน ในพื้นที่ ด้วยการแจกหน้ากากอนามัย ให้กับประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด – 19)

ทั้งนี้ ในห้วงเดือน พฤษภาคม ถึงเดือน มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่3กองกำลังผาเมืองสามารถสกัดกั้นผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จำนวน 4 ครั้ง ผู้ต้องหา จำนวน 14 คน การผลักดัน จำนวน 7 ครั้ง ผู้ต้องหา จำนวน 16 คน และจะยังคงเพิ่มความเข้มข้น ในการปฏิบัติการสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มงวดต่อไป


ภาพ/ข่าว  สันติ วงศ์สุนันท์ / ผู้สื่อข่าวเชียงราย

เชียงราย - กอ.รมน.จังหวัด ช.ร. โครงการการสานเสวนาส่งเสริมการมีส่วนร่วม และปรึกษาหารือ กิจกรรมการเสริมสร้างเครือข่ายผู้นำชุมชนประชาธิปไตย ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงราย

เมื่อ 21 มิ.ย. 64 เวลา 08.30 น. กอ.รมน.จังหวัด ช.ร. โดย พ.อ.กิตติพล ไพรหิรัญ รอง ผอ.รมน.จังหวัด ช.ร. (ท.) เป็นประธานเปิดการอบรม โครงการการสานเสวนาส่งเสริมการมีส่วนร่วม และปรึกษาหารือ กิจกรรมการเสริมสร้างเครือข่ายผู้นำชุมชนประชาธิปไตย  พร้อมด้วยกำลังพล กอ.รมน.จังหวัด ช.ร.ร่วมกับ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย จำนวน 65 คน  ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย 

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้นำชุมชน มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้กับประชาชน รวมทั้งสื่อสารข้อมูลของภาครัฐให้กับประชาชนรับรู้ถึงการดำเนินงานและรับทราบข่าวสารของประชาชน โดยผ่านการมีส่วนร่วมและปรึกษาหารือในชุมชน และเพื่อรับทราบปัญหา และบูรณาการ การแก้ไขปัญหาร่วมกันของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาในแต่ละพื้นที่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นศักดิ์ สุริยะ ประธานคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดเชียงราย เป็นวิทยากร ทั้งนี้จัดให้มีมาตรการเฝ้าระวังป้องกันเชื้อไวรัสไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับผู้เข้ารับการอบรม

เชียงราย - ศบภ.มทบ.37 ซักซ้อมการตรวจความพร้อมกองร้อยช่วยเหลือประชาชน เพื่อเตรียมกำลัง และยุทโธปกรณ์ ให้พร้อมรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ในการช่วยเหลือประชาชน

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64, 1400 พล.ต. ศุภฤกษ์ สถาพรผล ผอ.ศบภ.มทบ.37 มอบหมายให้ พ.อ. วีรพงศ์ ไชยวัง หน.ฝยก.ศบภ.มทบ.37 นำกำลังพลดำเนินการซักซ้อมการตรวจความพร้อมกองร้อยช่วยเหลือประชาชน เพื่อเตรียมกำลัง และยุทโธปกรณ์ ให้พร้อมรองรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ในการช่วยเหลือประชาชน ให้ได้อย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ รวมถึงเกิดความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ณ สนามฝึก หน้า ร้อย.มทบ.37 ค่ายเม็งรายมหาราช อ.เมือง จว.เชียงราย มีกำลังพล พร้อมเครื่องมือพิเศษ เข้ารับการซักซ้อมการตรวจความพร้อมฯ จำนวน 118 นาย และยานพาหนะ จำนวน 15 คัน การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

เชียงราย - ข้าวแกง 10 บาท ช่วยเหลือประชาชนช่วงโควิด ด้าน ‘พระอาจารย์พบโชค’ นำไข่ไก่ 3,000 ฟองสนุบสนุน

เจ้าของร้นอาหารเชียงราย ทำข้าวราดแกง 10 บาท ขายช่วยเหลือชาวบ้านช่วงโควิด หลังก่อนหน้านี้ได้ทำผัดกะเพรา 9 บาทมาแล้ว ด้านพระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง ทราบข่าว นำไข่ไก่ 3,000 ฟองมาสนับสนุนด้วย

วันที่ 20 ก.ค.64 คุณธเนตร ติ๊บโท๊ะ หรือ "ต้นอ้อ" เจ้าของร้านอาหารฟอร์เก็ตมีน๊อต (forget me not) ตั้งอยู่เลขที่ 35/2 ม.22 ต.รอบเวียง อ.เมือง จ.เชียงราย ด้านเยื้องประตู 3 สนามกีฬาจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นร้านอาหารสไตล์ ล้านนาประยุค สไตล์ในสวน ได้ใช้พื้นที่หน้าร้านเปิด ขายข้าวราดแกง 10 บาท มีทั้งนั่งทานที่ร้านและซื้อกลับบ้าน ซึ่งข้าวราดแกงที่ขาย มีเมนูที่หลากหลายวันละ 3-4 อย่างทั้งผัดกระเพราไก่ ผัดเผ็ดถั่วหมู แกงเขียวหวานไก่ ผัดบวบใส่ไข่ โดยทุกเมนูจะปรุงสดใหม่ทุกวัน จากเชฟประจำร้าน เริ่มขายตั้งแต่เวลา 11.00 น. จนกว่าอาหารจะหมดโดยใช้พื้นที่หน้าร้านเช่นเดิม ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำเมนู ผัดกระเพราไก่ ราดข้าว ในราคากล่องละ 9 บาทมาก่อนแล้ว เพื่อช่วยเหลือทุกคนในภาวะเศรษฐกิจโควิด-19  โดยทางร้านบริการมีเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยแจกฟรี สำหรับผู้ที่ต้องการอีกด้วย

โดยการขายข้าวราดแกงในราคา 10 บาท ทำให้มีผู้สนใจเดินทางมาซื้อข้าวแกงจำนวนมาก เพราะถือว่ามีราคาที่ถูกและได้ข้าวราดแกงที่มีคุณภาพ อร่อยและปรุงสดทุกวัน เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดตัวลงทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนอยู่รอด ทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า "ข้าวแกง 10 บาท ทำให้หลายคนอยู่รอดได้ และถือว่าคนทำใจบุญอย่างมาก เพราะเชื่อว่าไม่ได้กำไรอย่างแน่นอน

คุณต้นอ้อ กล่าวว่า การที่มาขายข้าวแกง 10 บาท ก็เพราะจากการต่อยอดมาจากผัดกระเพรา 9 บาท ที่อยากให้ทุกคนได้อิ่มท้องในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แบบนี้ อะไรที่ช่วยสังคมได้ก็พร้อมช่วย เมื่อทำแล้วก็มีเพื่อนอีกหลายคน เห็นว่าดีต่อสังคม ใครพอจะมีเงินก็สมทบทุนมาให้ทำข้าวราดแกงในราคานี้ ซึ่งยอมรับว่า ไม่ได้กำไรจากการขายนี้เลย แต่ขอให้ได้ช่วยสังคมและอิ่มบุญ และพร้อมจะทำ เมื่อขายข้าวแกง 10 บาทก็พบว่า ทุกคนที่มาซื้อ ก็จะร่วมทำบุญให้กับสมาคมศิริกรณ์เชียงรายบรรเทาสาธารณภัย ที่ตั้งกล่องรับบริจาคเพื่อนำเงินไปซื้ออุปกรณ์และช่วยเจ้าหน้าที่รับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ในจังหวัดเชียงราย

ด้านพระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง อ.เมือง จ.เชียงราย เมื่อทราบข่าวว่ามีข้าวแกง10 บาท ขายให้กับทุกคน เพื่อช่วยภาวะเศรษฐกิจ จึงได้ให้ลูกศิษย์ นำไข่ไก่จำนวน 3,000 ฟอง ผักสดนานาชนิด และเงินสดอีกจำนวนหนึ่ง มามอบให้กับทางร้าน  เพื่อเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเพื่อช่วยทุกคนด้วย

พระไพศาลประชาทร วิ. (หลวงพ่อพบโชค) เจ้าอาวาสวัดห้วยปลากั้ง กล่าวว่า สาเหตุที่นำสิ่งของมาช่วยทางร้านในการขายข้าวแกง 10 บาท เพราะทราบดีว่าการขายแบบนี้ ทางร้านไม่ได้กำไรอะไรเลย แต่เมื่ออยากที่จะทำบุญก็นำสิ่งของที่ได้รับมาจากญาติโยม ที่ทำบุญมาต่อบุญอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจะได้บุญมหาศาลสำหรับผู้ที่ร่วมทำบุญกับทางวัดห้วยปลากั้ง


ภาพ/ข่าว  ณัฐวัตร ลาพิงค์

เชียงราย – วอนเร่งรัดกระบวนให้สัญชาติผู้เฒ่า เสียชีวิตก่อนได้บัตรประชาชนแล้ว 2 “ครูแดง” เผยอยู่ไทยมานานกว่า 40 ปี สร้างคุณประโยชน์มากมาย ยุคโควิดยิ่งลำบากไม่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการรัฐ

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2564 นางเตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติ กรณีแปลงสัญชาติชนกลุ่มน้อย ผู้สูงอายุชาติพันธุ์อาข่า บ้านป่าคาสุขใจ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการของกรมการปกครองแล้ว จำนวน 15 ราย และได้ส่งรายชื่อไปยังคณะกรรมการของกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณา และเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ซึ่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พศ.2508 ระบุว่าเมื่อรัฐมนตรีเห็นสมควรอนุญาตให้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต 

นางเตือนใจกล่าวว่า ผู้เฒ่าไร้สัญชาติจำนวน 15 รายนี้ อยู่ในกลุ่มที่มีการยื่นคำร้องเป็นกรณีศึกษาชุดแรก จำนวน 23 ราย ซึ่งการพิจารณาเป็นไปตามหนังสือสั่งการที่ลงนามโดยปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายฉัตรชัย พรมเลิศ) เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่องการปรับปรุงแนวทางประกอบการพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่ชนกลุ่มน้อย โดยการแปลงสัญชาติตามมาตรา10 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 

“สำหรับความคืบหน้าในครั้งนี้ ถือว่ามาไกล นับตั้งแต่มีการขับเคลื่อนแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติ ซึ่งมีความละเอียดและขั้นตอนที่ซับซ้อน ใช้เวลายาวนาน ผู้เฒ่ากลุ่มนี้ มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 40 ปี กลมกลืนกับสังคมไทย และมีลูกหลานเป็นคนสัญชาติไทย ที่สำคัญคือเป็นกลุ่มที่ได้ทำคุณประโยชน์ ใช้ภูมิปัญญาในการรักษาป่าต้นน้ำ เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูและปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ 5,000 ไร่ ตั้งแต่ปี พศ.2538 จนเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามตั้งแต่ยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติที่สำนักทะเบียนอำเภอ  และส่งเข้าสู่คณะกรรมการระดับจังหวัด ในกลุ่มนี้มีผู้เฒ่าเสียชีวิตไปแล้ว  2 ราย และบางรายกำลังป่วยหนัก หากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ความสำคัญกับงานแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ตามที่อธิบดีกรมการปกครอง (นายธนาคม จงจิระ) กำหนดเป็น 1 ใน 10 เป้าหมายหลัก จะต้องมีการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบ พัฒนากลไก บุคคลากร และทรัพยากร ของสำนักทะเบียนจากระดับอำเภอ จังหวัด ถึงระดับกรม เพื่อให้คำมั่นทั้ง 7 ข้อในการแก้ปัญหาคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ที่ผู้แทนรัฐไทยได้แถลงในที่ประชุมผู้บริหารผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ณ นครเจนีวา ตามมติคณะรัฐมนตรี 1 ตุลาคม 2562 บรรลุเป้าหมายได้จริง โดยเฉพาะข้อ 5 การแก้ปัญหาผู้สูงอายุไร้รัฐไร้สัญชาติ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด” นางเตือนใจ กล่าว

ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ.กล่าวว่า สำหรับผู้เฒ่าไร้สัญชาติ การล่าช้าหมายถึงเวลาในชีวิตที่หมดไปทุกวัน เสียโอกาสในการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการ ยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 พบว่าผู้เฒ่าไร้สัญชาติไม่สามารถเข้าถึงการชดเชยเยียวยาใดๆ ทั้งๆ ที่ท่านเป็นบุพการีของคนสัญชาติไทย โดยข้อมูลของกรมการปกครองระบุว่ามีจำนวนผู้เฒ่าไร้สัญชาติมากถึง 77,000 กว่ารายทั่วประเทศ 

ทั้งนี้ หนังสือสั่งการของปลัดกระทรวงมหาดไทยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งว่า สำหรับผู้ขอแปลงสัญชาติที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป คุณสมบัติเรื่องการมีความประพฤติดี ให้ยกเว้นการตรวจสอบพฤติการณ์ทางการเมือง ฯลฯ โดยใช้การสอบพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือไม่น้อยกว่า 3 คน คุณสมบัติเรื่องการมีอาชีพเป็นหลักฐาน ให้พิจารณาจากอาชีพที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มอาชีพ หรืออาชีพส่วนบุคคล โดยให้นายอำเภอ หรือผู้อำนวยการเขตท้องที่ เป็นผู้ออกหนังสือรับรองการประกอบอาชีพ และยกเว้นเกณฑ์รายได้  คุณสมบัติเรื่องการมีความรู้ภาษาไทย ให้พิจารณาการใช้ภาษาไทยกลาง หรือภาษาถิ่นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในพื้นที่จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนา และว่าการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ขอให้กำชับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับเร่งรัดดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาด้านสัญชาติให้แก่บุคคลกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้ได้รับสิทธิที่พึงมีพึงได้ตามกฎหมายและนโยบายของรัฐและห้ามมิให้มีการแสวงหาหรือเรียกรับผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใด ๆ 

นายอาทู่ เบียงแลกู่ อายุ 72 ปี และนางพิซุง เบียงแลกู่ อายุ 73 ปีคู่สามีภรรยา กล่าวว่าพวกตนอยู่ประเทศไทยมา 45 ปี แต่ยังไม่มีบัตรประชาชน ที่อยากได้เพราะต้องการสิทธิในการรักษาพยาบาล เพราะหากไม่มีบัตรต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง “ไม่รู้หรอกว่าหากได้บัตรประชาชนแล้วจะได้สวัสดิการอะไรบ้าง ไม่รู้ด้วยว่าจะได้รับการรักษาพยาบาลฟรี เพราะไม่เคยป่วย แต่อยากได้บัตรประชาชนไทย เพราะเป็นความภูมิใจในชีวิตที่อยู่บนแผ่นดินไทยมายาวนาน และจะได้นอนตายตาหลับ” พ่อเฒ่าแม่เฒ่าไร้สัญชาติ กล่าว

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ มูลนิธิพชภ. ได้รับการร้องเรียนและติดตามปัญหาของชาวบ้านบนพื้นที่สูงโดยเฉพาะบนดอยแม่สลอง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ซึ่งพบว่ามีผู้เฒ่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ กำลังประสบความยากลำบากในชีวิตเนื่องจากไม่มีบัตรประชาชนแม้ว่าจะอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน 40-50 ปี บางส่วนเกิดในไทยแต่ขาดหลักฐานเอกสารยืนยัน บางส่วนไม่ได้เกิดในไทยแต่อยู่มานานจนกลมกลืนกับสังคมไทยแล้ว ทั้งนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พชภ.ได้พาผู้เฒ่าไร้สัญชาติเหล่านี้เดินทางมายื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย แต่พบว่ามีข้อติดขัดหลายประการ โดยเฉพาะกระบวนการที่ซับซ้อน ทำให้เรื่องการแปลงสัญชาติของผู้เฒ่ากลุ่มนี้ยืดเยื้อมานาน อย่างกรณีของบ้านป่าคาสุขใจ อ.แม่ฟ้าหลวง บนดอยแม่สลอง ซึ่งมีคนเฒ่าไร้สัญชาติ ยื่นคำร้องจำนวน 27 ราย ซึ่งมีอายุตั้งแต่อายุ 65-98 ปี แต่กระบวนการที่ล่าช้า ทำให้มีผู้เฒ่าเสียชีวิตไปแล้วในระหว่างรอจำนวน 3-4 ราย

"เชียงราย" ขนมาก็จับ "กองกำลังผาเมือง เฉพาะกิจกรมทหารม้าที่3 สกัดจับตรวจยึดยาบ้า5ล้านเม็ดชายแดนเชียงราย

พลตรี นฤทธิ์ ถาวรวงษ์ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมืองและผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกองกำลังผาเมืองได้สั่งการให้หน่วยในความรับผิดชอบของกองกำลังผาเมืองปฏิบัติตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัดโดยต่อเนื่อง

โดยในห้วงที่ผ่านมาได้มีการบูรณาการด้านการข่าวระหว่างหน่วยงานป้องกันชายแดนและปราบปามยาเสพติดภาค 5 และตำรวจภูธรจังหวัดเชียงรายพบว่ากลุ่มขบวนการค้ายาเสพติด มีความพยายามที่จะลักลอบลำเลียงยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทยในพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวงและอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อลำเลียงไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศต่อไป

พันเอก สุทธิ์เขตต์ ศรีนิลทิน ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ ๓ ได้สั่งการให้เปิดยุทธการนำกำลังป้องกันชายแดนในพื้นที่รับผิดชอบ ตรึงกำลังตลอดแนวชายแดน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบลำเลียงยาเสพติดได้และสั่งการให้ทำการลาดตระเวนเฝ้าตรวจและทำการตั้งจุดตรวจและจุดสกัดทั้งพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ตอนในอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 02.00นาฬิกา กอง

บังคับการควบคุมป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่ 4 จัดกำลังพล จำนวน 1 ชุดปฏิบัติการ ทำการตั้งจุดตรวจและจุดสกัด บริเวณ บ้านห้วยหาน หมู่ 9 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ได้ตรวจพบรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้ารุ่นรีโว่สีบรอนหมายเลขทะเบียน ยต 8567 เชียงใหม่ขับผ่านมาบริเวณจุดตรวจ

จึงได้ขอทำการตรวจค้นแต่รถยนต์คันดังกล่าวได้ขับหลบหนีเจ้าหน้าที่จึงได้ทำการติดตามจนเมื่อเวลา02.20นาฬกา สามารถจับกุมได้ ณ บริเวณ บ้านสันติพัฒนา ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ทราบชื่อ คือ นาย โชคอนันต์  สวาทชาติอายุ 25 ปี อยู่บ้านเลขที่ 150 หมู่ 6 ตำบลสันสลี อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เป็นผู้ขับขี่
 

สถาบันพระปกเกล้า จับมือภาคีเครือข่ายจังหวัดเชียงราย ร่วมขับเคลื่อน “ญาญอ ผ้าทอแห่งวัฒนธรรม” ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ มุ่งสร้างรายได้สู่ชุมชน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ห้องประชุมแสนหวี อาคารหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า เป็นผู้แทนเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ร่วมพิธีลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงความร่วมมือ (LOI) การขับเคลื่อนโครงการ “ญาญอ ผ้าทอแห่งวัฒนธรรม” ร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย สำนักงานเกษตรอำเภอแม่สรวย สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่สรวย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี ซึ่งเป็นโครงการของนักศึกษาหลักสูตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ 11 กลุ่มไก่ฟ้า สถาบันพระปกเกล้า เพื่อช่วยเหลือและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้แก่ชาวบ้านกลุ่มปกาเกอะญอ บ้านทุ่งพร้าวกะเหรียง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย


ดร.ถวิลวดี กล่าวว่า สถาบันพระปกเกล้าจัดเป็นหลักสูตรนี้ เพื่อต้องการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีจิตวิญญาณของประชาธิปไตย มีความห่วงหาอาทร ให้กับประชาชนทั่วไป มีความเคารพในความเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล โดยมีอุดมการณ์ของการให้การศึกษาหลักสูตร คือ ทำให้นักศึกษาติดดิน และเข้าใจในเรื่องของสิทธิมนุษยชน และช่วยกันทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศโดยเฉพาะเรื่องของความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศในตอนนี้ 

ทั้งนี้คนรุ่นใหม่คงจะทำประสบความสำเร็จ หากปราศจากการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งกลุ่มสตรีชุมชนบ้านทุ่งพร้าว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เกษตรอำเภอแม่สรวย วัฒนธรรมจังหวัด ซึ่งมองว่าเราได้รับความร่วมมือที่ดีที่ทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในครั้งนี้ ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นวันนี้เชื่อว่าเกิดจากความใส่ใจของนักศึกษา และทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเราเอาใจทำ และใช้ใจทำ มันถึงได้เกิดมาเป็นวันนี้ และได้เห็นความสำเร็จ

ด้าน ผศ.ดร.มิ่งขวัญ สมพฤกษ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย กล่าวว่า สิ่งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือของฝ่ายต่างๆ เพราะอย่างที่เราทราบดี ปัญหาความเหลื่อมล้ำความยากจนของประชาชนในท้องถิ่นยังคงมีอยู่มาก และหากเราได้ความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยที่เราสามารถให้ความช่วยเหลือในจุดนี้ได้ ในอนาคตจะเป็นสิ่งที่ดี ที่จะสามารถช่วยเหลือให้ชาวบ้านทั้งหมดในหลายชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ประยุกต์ใช้สิ่งที่มีในหมู่บ้านของเขาให้เกิดประโยชน์ สร้างมูลค่า และสามารถแก้ปัญหาความยากจนให้กับเขาได้

"เชียงราย" ไม่รอด! จับอีกแล้วยาบ้าล้านเศษชายแดนซุกซ่อนบริษัทขนส่ง

ตามนโยบายในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลโดย พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ณรงค์พันธ์  จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบกผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก พลโท อภิเชษฐ์  ซื่อสัตย์ แม่ทัพภาคที่ ๓ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยา เสพติดกองทัพภาคที่ ๓ และ พลโท บุญยืน อินกว่าง แม่ทัพน้อยที่ 3 ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการบริหารการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือ ได้มอบนโยบายสั่งการให้หน่วยกำลังป้องกันชายแดน สกัดกั้นยาเสพติดให้ได้ตั้งแต่พื้นที่แนวชายแดนนั้น 

พลตรี นฤทธิ์  ถาวรวงษ์ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมืองผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกองกำลังผาเมืองได้สั่งการให้หน่วยในความรับผิดชอบของกองกำลังผาเมืองปฏิบัติตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัดโดยต่อเนื่อง

โดยในห้วงที่ผ่านมาได้มีการบูรณาการด้านการข่าวระหว่างหน่วยงานป้องกันชายแดนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 5 และตำรวจ ภูธรจังหวัดเชียงราย พบว่ากลุ่มขบวนการค้ายาเสพติดมีความพยายามที่จะลักลอบลำเลียงยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายังประเทศไทยในพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวงอำเภอแม่สายและอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เพื่อลำเลียงไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศต่อไป

เมื่อวันที่16 มีนาคม2565ที่ผ่านมา พันเอก สุทธิ์เขตต์  ศรีนิลทิน ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ ๓ ได้สั่งการให้กองร้อยทหารม้าที่ 1 กองบังคับการควบคุมที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารม้าที่ 3 ร่วมกับ กองบังคับการควบคุมป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกองบัญชาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดที่ 3 ตำรวจและฝ่ายปกครองในพื้นที่เข้าทำการตรวจสอบร้านประกอบการรับ – ส่ง พัสดุสินค้าสถานประกอบกิจการของบริษัทเอกชนในพื้นที่ ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยเครื่องเอกซเรย์แบบมือถือ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top