Tuesday, 30 April 2024
ซาอุดีอาระเบีย

'ซาอุดีอาระเบีย' ปักหมุด EEC ลงทุนในไทย ร่วม 3 แสนล้านบาท!!

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

สำหรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ราชอาณาจักร ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ ที่ห่างหายมานานกว่า 32 ปี ได้สำเร็จนั้น ส่งผลในทางบวกที่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศต่างรอคอย และชาวโลกก็เฝ้าติดตามเช่นกัน ในที่สุดความหวังที่มีมาอย่างยาวนานถึง 14 รัฐบาล ก็เกิดขึ้นจริงในปี 2565 มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) 

โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 25 ม.ค.65 และเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เสด็จเยือนไทย เมื่อวันที่ 18 พ.ย.65 

32 ปีที่รอคอย!! ไทยได้อะไรคืนมา หลังความสัมพันธ์ ซาอุดีอาระเบีย กลับมาหวานชื่น

#จดหมายเหตุลุงตู่ #8ปีที่เปลี่ยนไป #ยุบสภา

สัมพันธ์ไทย - ซาอุดีอาระเบีย แตกร้าวยาวนานกว่า 30 ปี 

ตลอด 3 ทศวรรษ ทุกรัฐบาลพยายามลบปมร้าว แต่...ไม่สำเร็จสักรัฐบาล

ส่งผลให้ไทยสูญเสียโอกาสอย่างมหาศาล โดยเฉพาะในด้านแรงงาน และการค้า - การลงทุน จากการที่ซาอุดีอาระเบียลดระดับความสัมพันธ์ ทั้งการลดระดับตัวแทนทางการทูตเป็นระดับอุปทูต, ห้ามชาวซาอุดีอาระเบียเดินทางมาไทย และเปิดรับคนไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย

‘บิ๊กตู่’ ปลื้ม!! ฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯ สำเร็จในรอบ 32 ปี ขึ้นแท่นคู่ค้ารายใหญ่ ขยายโอกาสทางเศรษฐกิจรอบด้าน

(22 มี.ค. 66) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีกับความสำเร็จหลังการฟื้นความสัมพันธ์ประเทศไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เปิดโอกาสความร่วมมือ เพิ่มตัวเลขการค้าระหว่างกัน โดยในปี 2565 มีมูลค่าการค้ารวม 323,113.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 37.64%

ทั้งนี้ ช่วงต้นปี 2565 รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเป็นผลสำเร็จ เปิดโอกาสความร่วมมือระหว่างกัน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว, ด้านแรงงาน, ด้านอาหาร รวมถึงความร่วมมือใน ด้านสุขภาพ, ด้านพลังงาน, ด้านการศึกษาและศาสนา, ด้านความมั่นคง, ด้านกีฬา และด้านการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ฝ่าย โดยภาคเอกชนไทยสนใจลงทุนธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าตกแต่งภายใน ส่วนซาอุดีอาระเบียสนใจลงทุนด้านพลังงานในพื้นที่ EEC ซึ่งซาอุดีอาระเบียพร้อมลงทุนสูงถึง 300,000 ล้านบาทใน EEC

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ขยายความร่วมมืออีกหลายฉบับ จับคู่เจรจาธุรกิจระหว่างภาครัฐซาอุดีอาระเบีย และภาคเอกชนไทย มากกว่า 500 คู่ ซึ่งคาดว่าจะเกิดมูลค่าการค้าใหม่ 3 หมื่นล้านบาท และสร้างการลงทุนระหว่างกันมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ภายในปี 2566

ในช่วงต้นปี 2566 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 1 ปีฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ตัวเลขการค้าของสองฝ่ายมีมูลค่ารวมกว่า 323,113.42 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขทางการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพราะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 37.64% ทำให้ซาอุดีอาระเบียกลายเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 17 ของไทยในตลาดโลก และอันดับที่ 2 ในภูมิภาคตะวันออกกลาง

รัฐบาลลุงตู่ ผู้ฟื้นสัมพันธ์ ไทย-ซาอุฯ รอบ30 ปี

จากวิกฤติความสัมพันธ์ สู่ผลงานชิ้นโบแดง รัฐบาลลุงตู่ ผู้พื้นสัมพันธ์ ‘ไทย – ซาอุฯ’ รอบ 30 ปี
25 มกราคม 2565 การเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของ 'บิ๊กตู่' พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำเชิญของ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย นับเป็นการฟื้นความสัมพันธ์ประเทศไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียให้กลับมาอยู่ในระดับปกติอย่างสมบูรณ์อีกครั้ง ในรอบ 32 ปี 

ความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน แต่ผ่านการเตรียมการมานานกว่า 1 ปี ไม่นับรวมอุปสรรคจากสถานการณ์ระบาดของ โควิด-19 และช่วงก่อนหน้านั้นที่ พล.อ.ประยุทธ์ พยายามประสานเจรจากับทางซาอุดีอาระเบียด้วยตนเองในหลายโอกาส ตั้งแต่เวทีหารือ 3 ฝ่ายในช่วงการประชุมสุดยอดกรอบความร่วมมือเอเชีย (เอซีดี) ครั้งที่ 2 ในเดือนตุลาคม 2559 ที่กรุงเทพฯ  หรือในช่วงการประชุมผู้นำจี 20 ที่นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่นช่วงเดือนมิถุนายน 2562  ขณะที่ในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้ง 2 ฝ่าย ยังมีการพบหารือกันเป็นระยะเกี่ยวกับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน 

ย้อนรอยร้าวความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย มีจุดเริ่มจากการเกิดคดีฆาตกรรมนักการทูตซาอุดีอาระเบียถึง 4 คนในประเทศไทย เมื่อปี 2532-2533 ที่ทางการไทยไม่สามารถแจงผลการสอบสวนให้เป็นที่น่าพอใจไปยังซาอุดีอาระเบียได้  และในช่วงรอยต่อขณะนั้น ยังเกิดกรณีแรงงานไทย 'เกรียงไกร เตชะโม่ง' ขโมยชุดเครื่องเพชรจำนวนมากขณะเข้าไปทำงานในพระราชวังเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด แห่งซาอุดีอาระเบีย แต่การคลี่คลายคดีของตำรวจไทยกลับไม่เป็นไปในทางที่ดี ขณะที่การติดตามเครื่องเพชรเพื่อส่งคืนส่วนใหญ่ถูกระบุว่าเป็นของปลอม  

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ยังเกิดกรณี 'มูฮัมหมัด อัลลูไวรี่' นักธุรกิจและสมาชิกราชวงศ์ของตระกูลอัล-สะอูดหายตัวไป หลังถูกควบคุมตัวสอบสวนเหตุพัวพันคดีฆาตกรรมนักการทูต ซึ่งต่อมามีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยจำนวนหนึ่งในข้อหา 'อุ้มหาย' กรณีนี้กลายเป็นฟางเส้นสุดท้าย ทำให้ทางการซาอุดิอาระเบียไม่พอใจถึงขั้นลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูต ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับแรงงานไทย ห้ามประชาชนของซาอุดิอาระเบียเดินทางมาประเทศไทย และลดระดับความร่วมมือระดับสูงในทุกด้านลงมาอยู่ระดับต่ำสุด

ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยแทบทุกชุด ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหารอยร้าวของสองชาติ แต่ซาอุฯ ไม่เคยใจอ่อนให้ไทย จนกระทั่งมาบังเกิดผลสำเร็จ ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

การฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเป็นผลสำเร็จ เปิดโอกาสความร่วมมือระหว่างกัน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว ด้านแรงงาน ด้านอาหาร ด้านสุขภาพ ด้านพลังงาน ด้านการศึกษาและศาสนา ด้านความมั่นคง ด้านกีฬา และด้านการค้าและการลงทุน ทั้งภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ฝ่าย

‘บิ๊กตู่’ เผย!! จุดพลิกฟื้นความสัมพันธ์ ‘ไทย-ซาอุฯ’ สำเร็จในรอบ 32 ปี คุยกันแบบตรงไปตรงมาครั้งแรกกับ MBS ตั้งแต่ปี 62 ในงาน G20

(24 เม.ย. 66) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ได้ให้สัมภาษณ์ ‘สุทธิชัย หยุ่น’ ในรายการข่าวเจาะย่อโลก ทางช่องไทยพีบีเอส โดยช่วงหนึ่ง ‘บิ๊กตู่’ ได้พูดถึงประสบการณ์ที่ได้มีโอกาสพบกับเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด (MBS) มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2562 ในการประชุม G20 ที่นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวันนั้นทั้งสองได้มีโอกาสพูดคุยกันถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและซาอุดีอาระเบีย จนนำมาสู่การตัดสินใจครั้งสำคัญด้านความสัมพันธ์ของสองประเทศจวบจนปัจจุบันนี้

พล.อ.ประยุทธ์ ได้เล่าว่า “ตอนนั้นเราต่างคนต่างมอง ผมก็สงสัยว่าท่านเป็นใคร ท่านก็สงสัยว่าผมเป็นใคร จนกระทั่งได้มีการพูดคุยกันแนะนำตัวกันว่าผมมาจากประเทศไทย ส่วนท่านก็มาจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องขอบคุณทาง ‘บาห์เรน’ ที่ก่อนหน้านี้พยายามเชื่อมสัมพันธ์ให้เรากับซาอุฯ กลับมาคบกันให้ได้ด้วย”

แน่นอนว่า บทสนทนาในวันนั้น เป็นบทสนทนาของผู้มีอำนาจสูงสุดของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะเจ้าชายซาอุฯ ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจในประเทศทุกด้านอย่างชัดเจน และด้วยท่าทีที่ตรงไปตรงมาของทั้งคู่ การพูดคุยในวันนั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดการสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและซาอุดีอาระเบียขึ้นอีกครั้งในรอบ 32 ปี

“ท่านคุยกับผมวันนั้นเลยว่า เรากลับมาสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศกันอีกครั้งดีกว่า เรื่องเก่า ๆ เลิกหมด อะไรต้องแก้ไขก็แก้กันไปให้ได้ เพื่อให้ทุกอย่างเดินหน้าต่อไป จนทุกวันนี้เกิดการลงทุนจากทางซาอุฯ หลายแสนล้าน โดยเฉพาะเรื่องพลังงานทดแทน พลังหมุนเวียนต่าง ๆ สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศชาติได้อย่างมหาศาล” พลเอกประยุทธ์ กล่าวทิ้งท้าย

'ซาอุดีอาระเบีย' ปักหมุด EEC ลงทุนในไทย ร่วม 3 แสนล้านบาท!!

สำหรับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ราชอาณาจักร ‘ไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ ที่ห่างหายมานานกว่า 32 ปี ได้สำเร็จนั้น ส่งผลในทางบวกที่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศต่างรอคอย และชาวโลกก็เฝ้าติดตามเช่นกัน ในที่สุดความหวังที่มีมาอย่างยาวนานถึง 14 รัฐบาล ก็เกิดขึ้นจริงในปี 2565 มีการแลกเปลี่ยนการเยือนอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit) 

โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ 25 ม.ค.65 และเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เสด็จเยือนไทย เมื่อวันที่ 18 พ.ย.65 

2 เหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์นี้นำมาสู่การยกระดับความร่วมมือเบื้องต้นที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ด้านพลังงาน, ด้านการท่องเที่ยว และด้านการค้า-การลงทุน

อีกทั้งมีการจัดตั้ง ‘สภาความร่วมมือไทย-ซาอุดีอาระเบีย’ และการแต่งตั้ง ‘เอกอัครราชทูต’ ในเวลาต่อมา ถือเป็นการสิ้นสุด 3 ทศวรรษแห่งหมองมัว เพื่อเริ่มต้นศักราชใหม่แห่งความร่วมมือ สร้างสรรค์ และพัฒนาร่วมกัน

และแม้ยังไม่ทันข้ามปี...ผลสัมฤทธิ์ในการผูกมิตร ฟื้นสัมพันธ์ของ ‘2 ราชอาณาจักร’ ก็เกิดขึ้น คือ ภาคเอกชนไทย-ซาอุดีอาระเบีย รับลูกการเจรจาการค้า-การลงทุนในอนาคตทันที แล้วข่าวดีก็ปิดไม่มิด เมื่อฝ่ายซาอุดีอาระเบียประกาศว่า ในปี 2566 ปีเดียวจะขยายการลงทุนขนานใหญ่ กว่า 300,000 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, อุตสาหกรรมเมดิคัลแคร์, อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐบาลนี้ ได้เตรียมความพร้อมไว้รอการลงทุนจากทั่วโลกแล้ว

‘ซาอุฯ’ หวังร่วมมือกับ ‘จีน’ ไม่ขอเป็นคู่แข่ง ลุยลงทุน 'ด้านการค้า-พลังงานหมุนเวียน'

📌 (12 มิ.ย. 66) เจ้าชายอับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานซาอุดีอาระเบีย เปิดเผยว่า ซาอุดีอาระเบียต้องการความร่วมมือกับจีนให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ในด้านการลงทุนทางการค้าและการไหลเวียนของพลังงาน แทนที่จะแข่งขันกับจีน โดยรับรู้ถึงความเป็นจริงในปัจจุบันว่าขณะนี้จีนกำลังนำอยู่ และจะยังคงเป็นผู้นำต่อไป จึงไม่จำเป็นต้องแข่งขันกับจีน โดยได้กล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นบีซี ระหว่างการประชุมธุรกิจอาหรับ-จีน เมื่อวันอาทิตย์ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา

เจ้าชายบิน ซัลมาน ได้กล่าวเสริมว่า การทำงานกับจีนนั้นมีคุณค่า เพราะจีนเป็นผู้นำในการหาโรงงานผู้ผลิตที่เหมาะสม โดยเฉพาะในด้านพลังงานหมุนเวียน และจะไม่กลับไปเล่นเกมที่มีฝ่ายใดเป็นผู้ได้หรือเสียอีก

เมื่อต่อข้อคำถาม ทำไมซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกโอเปกจึงได้มุ่งความสนใจไปที่จีน

เจ้าชายบิน ซัลมาน เชื่อว่าอุปสงค์ด้านน้ำมันของจีนยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นเรื่องสำคัญที่ซาอุดีอาระเบียจะต้องคว้าโอกาสนี้ไว้

ทั้งนี้ จีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก และซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ส่งออกน้ำมันให้จีนมากที่สุดในเดือนเมษายน แม้ว่าน้ำมันรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรจะราคาถูกกว่าก็ตาม

และในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัทซาอุดี อารามโค ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย ได้ประกาศข้อตกลงโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ 2 ฉบับ ซึ่งจะส่งออกน้ำมัน 690,000 บาร์เรลต่อวัน ให้กับบริษัทหร่งเซิง ปิโตรเคมิคอล (Rongsheng Petrochemical) และบริษัทเจ้อเจียง ปิโตรเคมิคอล (Zhejiang Petrochemical) โดยข้อตกลงดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2565 ที่ผ่านมา

นี่ไม่ได้หมายความว่าซาอุฯ จะไม่ร่วมมือกับประเทศอื่น ยังมีประเทศกลุ่มประเทศอื่นที่ซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ทางการค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐ และลาตินอเมริกา

อย่างไรก็ตาม การประชุมในกรุงริยาดนั้น จัดขึ้นท่ามกลางความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการทูตของจีนและซาอุดีอาระเบียที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกันจีนและซาอุดีอาระเบียมีความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับชาติตะวันตก
 

สอท. เผย ซาอุฯ เตรียมนำเข้าต้นไม้ 5 หมื่นล้านต้น ชี้!! เป็นโอกาสทองของไทยเพิ่มรายได้เข้าประเทศ

(15 มิ.ย. 66) นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย กับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยคณะภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคี และส่งเสริมการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ในการเร่งผลักดันการค้า การลงทุน โดยหนึ่งที่น่าสนคือ โครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้น ในกลุ่มประเทศอาหรับตามเป้าหมายของ Vision 2030 ของซาอุดีอาระเบีย

“โครงการนี้ มีแผนที่จะนำเข้าต้นไม้จากทั่วโลกเพื่อให้บรรลุตามนโยบายซาอุดีอาระเบียสีเขียว (The Saudi Green Initiative) เพื่อเปลี่ยนพื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวา โดยการปลูกต้นไม้ 10,000 ล้านต้น และร่วมสนับสนุนผลักดันโครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้นทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง”

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยได้ส่งต้นไม้ไปยังซาอุฯ แล้วกว่า 200,000 ต้น และถือว่ายังมีโอกาสให้ไทยส่งออกต้นไม้ไปยังซาอุฯ ได้อีกมาก ซึ่งซาอุดีฯ จะร่วมมือกับประเทศสมาชิก GCC และประเทศหุ้นส่วนอื่น ๆ ในการปลูกต้นไม้ในเอเชียตะวันตกเพิ่มอีก 4 หมื่นล้านต้น

นายกำแหง กล้าสุคนธ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 มิ.ย. 2566) มีผู้ขอนำไม้ยืนต้นมาจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแล้ว จำนวน 146,860 ต้น มูลค่ารวม 138,048,597.02 บาท ล่าสุด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จับมือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แสดงออกเชิงสัญลักษณ์… ตั้งมั่นรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการนำไม้ยืนต้นที่มีค่ามาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ และโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (LESS) ส่งเสริมเกษตรกรรังสรรค์ประเทศให้เป็นพื้นที่สีเขียว เพิ่มออกซิเจนและโอโซนช่วยให้อากาศสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

พร้อมผลักดันประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตคาร์บอนเครดิตระดับโลก โอกาสนี้ มอบวงเงินสินเชื่อให้เกษตรกร 5 ราย จากการนำไม้ยืนต้นมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ ยอดรวม 623,885 บาท และมอบประกาศเกียรติคุณแก่ธนาคารต้นไม้ 3 ชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการ LESS มั่นใจ!! โลกใบนี้จะสวยงามและน่าอยู่ หากเราร่วมแรงร่วมใจรักษาสิ่งแวดล้อม ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการปลูกไม้ยืนต้นที่มีค่า สร้างความมั่นคงให้ลูกหลาน อนาคตได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ยาวๆ พร้อมยึดเจตคติ… มีต้นไม้… มีป่าไม้… มีเรา… จรรโลงโลกให้น่าอยู่

มกุฎราชกุมารซาอุฯ ผุดแผนสร้าง ‘ศูนย์โลจิสติกส์’ กว่า 50 แห่ง หนุนความหลากหลายเศรษฐกิจท้องถิ่น-อีคอมเมิร์ซ

เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 66 สำนักข่าวซินหัว เผยว่า เจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน อัล ซาอุด มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย เปิดตัวแผนสร้างศูนย์โลจิสติกส์กว่า 50 แห่ง เพื่อเปลี่ยนประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ระดับโลก

สำนักข่าวซาอุดีอาระเบีย รายงานว่าแผนการดังกล่าวมีเป้าหมายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาคโลจิสติกส์ สร้างความหลากหลายของเศรษฐกิจท้องถิ่น และเสริมสร้างสถานะของซาอุดีอาระเบียในฐานะจุดหมายการลงทุนชั้นนำ

รายงานระบุว่าแผนการนี้ประกอบด้วยศูนย์ 59 แห่งบนพื้นที่รวมกว่า 100 ตารางกิโลเมตร โดยอยู่ในกรุงริยาด 12 แห่ง เมกกะ 12 แห่ง ภูมิภาคตะวันออก 17 แห่ง และส่วนอื่นๆ ของซาอุดีอาระเบียอีก 18 แห่ง

ศูนย์โลจิสติกส์ดังกล่าวซึ่งคาดว่าจะสร้างเสร็จภายในปี 2030 จะเปิดทางให้อุตสาหกรรมท้องถิ่น ส่งออกผลิตภัณฑ์ของซาอุดีอาระเบียได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และสนับสนุนอีคอมเมิร์ซ โดยเกื้อหนุนการเชื่อมต่ออย่างรวดเร็ว ระหว่างศูนย์โลจิสติกส์และศูนย์กระจายสินค้าทั่วซาอุดีอาระเบีย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top