ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2568
การละกิเลสยากมาก
เพราะพากันไปมุ่งละกิเลสผู้อื่น
ไม่มุ่งละกิเลสตนเอง
กิเลสจึงท่วมบ้านท่วมเมืองอยู่ทุกวันนี้
จนบดบังแสงแห่งพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังมราช สกลมหาสังฆปริณายก

การละกิเลสยากมาก
เพราะพากันไปมุ่งละกิเลสผู้อื่น
ไม่มุ่งละกิเลสตนเอง
กิเลสจึงท่วมบ้านท่วมเมืองอยู่ทุกวันนี้
จนบดบังแสงแห่งพระพุทธศาสนา
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังมราช สกลมหาสังฆปริณายก
(17 พ.ค. 68) กลายเป็นกระแสไวรัลเลยทีเดียวหลังลิซ่า BLACKPINK หรือ ลลิษา มโนบาล ศิลปินตัวแม่ตัวมัมแห่งวงการเพลงได้ออกมาสปอยล์มิวสิกวิดีโอเพลง When I’m with you ที่มีการฟีเจอร์ริ่งกับศิลปินสาวสุดเซ็กซี่อย่าง ไทล่า (Tyla) ทั้งสองมอบความสุขให้กับแฟน ๆ ด้วยมิวสิควิดีโอที่ร้อนแรงไม่แพ้แดดประเทศไทย ซึ่งเข้ากับช่วงซัมเมอร์พอดี
ในวันที่ 16 พฤษภาคม เวลา 22.00 น. KST ลิซ่าได้ปล่อยมิวสิควิดีโอเพลง 'When I’m With You' ซึ่งเป็นเพลงที่ 9 จากอัลบั้มเดี่ยวที่ชื่อว่า Alter Ego แน่นอนว่า สาว ๆ ไม่ได้มาเล่น ๆ มาพร้อมท่าเต้นทุบสะโพกที่ซ่อนความเซ็กซี่เย้ายวน ด้านแฟชั่นจัดเต็มสุดจึ้งทั้งชุดคริสตัลระยิบระยับและรองเท้าส้นสูงแบบรัดข้อ “หน้าส่งชุด ชุดส่งหุ่น หุ่นส่งจักรวาล”
'When I’m With You' ถ่ายทอดการต่อสู้ภายในระหว่างความปรารถนาและการควบคุมตนเอง สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มข้นของความสัมพันธ์ที่ทำให้คน ๆ หนึ่งละทิ้งการยับยั้งชั่งใจและยอมจำนนต่อช่วงเวลานั้น ๆ อย่างเต็มที่ แถมยังมีนักแสดงรับเชิญอย่าง Mason Gooding, Sab zada, Leah Kateb, และ Miguel Harichi จาก Love Island USA
งานนี้ ทำเอาแฮชแท็ก #LISAxTYLA และ #LISAxWIWY พุ่งติดเทรนด์เอ็กซ์ เท่านั้น ไม่พอเพลง ยังติดอันดับเพลงมาแรง อันดับที่ 5 ในยูทูบอีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นเพลงในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนแรงเกินกว่าจะรับไหวจริง ๆ
นางสาวชุติพันธุ์ ลิมปะพันธุ์ นายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมด้วยนายสมชาย จรรยา อุปนายกฝ่ายโทรทัศน์และสื่อดิจิทัล และนางพรทิพย์ เอ็งสุวรรณ์ กรรมการฝ่ายประชาสัมัพันธ์ สวทท. ร่วมกิจกรรมในหลักสูตร The Media 6 พัฒนาศักยภาพการใช้สื่อสำหรับผู้บริหารระดับสูง เชื่อมโยงการสื่อสารไร้ขีดจำกัด สู่อนาคตที่ไม่สิ้นสุด โดยมี ดร.ธีรพล มั่นพิริยะกุล ผู้อำนวยการหลักสูตร ฯ วิทยากรพิเศษ และผู้เข้าสัมมนาจากหลากหลายอาชีพ ร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนานและมีสาระ ณ Gaysorn Urbon Resort ชั้น 19 วานนี้ (13 พ.ค.68)
'รมว.สุดาวรรณ' เผยไทยปลื้มหนัง 'ผีใช้ได้ค่ะ' (A Useful Ghost) ได้รับคัดเลือกเข้าประกวดในสาย Critics’ Week (Semaine de la Critique) ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เผยหนังเรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในขั้นตอน Post-production กรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมร่วมจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้แสดงศักยภาพ และขยายความร่วมมือด้านภาพยนตร์อย่างรอบด้าน
เมื่อวานนี้ (16 พ.ค.68) นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Thailand Creative Culture Agency : THACCA) เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยสู่เวทีระดับนานาชาติ โดยเข้าร่วม เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 78 (Cannes Film Festival 2025) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 24 พฤษภาคม 2568 ณ เมืองคานส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมีกิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ “A Sit-down Lunch Talk” การพบปะแบบกึ่งทางการระหว่างตัวแทนจากคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ กับผู้ทรงอิทธิพลในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับโลก เช่น ผู้บริหารเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ผู้อำนวยการองค์กรส่งเสริมภาพยนตร์ และผู้กำหนดนโยบายด้านวัฒนธรรมจากหลากหลายประเทศ ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ในระดับนานาชาติ อีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญคือ “Thai Pitching” ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยนำเสนอแนวคิดและโครงการภาพยนตร์ต่อกลุ่มนักลงทุน ผู้ร่วมผลิต และพันธมิตรเชิงกลยุทธ์จากต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2568 ณ Thailand Pavilion No.112 โดยมีการคัดเลือก 3 โปรเจกต์เด่น ได้แก่ “ผีเงือก” ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์บันเทิงคดี และ “ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต” กับ “ทางของแสง” ที่ได้รับทุนพัฒนาบทภาพยนตร์
นางสาวสุดาวรรณฯ กล่าวต่อว่า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมโยงเครือข่ายระดับโลก กระทรวงวัฒนธรรมยังสนับสนุนการเข้าร่วม “Producers Network – Spotlight Session” ซึ่งเปิดพื้นที่ให้โปรดิวเซอร์ไทยจำนวน 5 ราย ที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม Thai Pitch และผู้ได้รับทุนผลิต เข้าร่วมสร้างเครือข่ายกับโปรดิวเซอร์นานาชาติ โดยกิจกรรมนี้เป็นเวทีสำคัญในการเจรจาความร่วมมือ และขยายตลาดภาพยนตร์ไทยไปยังระดับสากล อีกหนึ่งกลไกสำคัญคือการสนับสนุน ผู้ได้รับทุนผลิตสื่อคุณภาพ ทั้งในหมวดภาพยนตร์ ซีรีส์ สารคดี และแอนิเมชัน รวม 8 โปรเจกต์ (โปรเจกต์ละ 2 คน) ให้เข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ของผู้สร้างสรรค์ไทย และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เล่นในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ระดับโลก และยังมีการจัดสัมมนา THACCA Launch in Cannes ณ เวที Panel ในตลาด Marché เพื่อเผยแพร่บทบาทของ THACCA ในการผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย พร้อมนำเสนอวิสัยทัศน์นโยบายด้าน Soft Power ของประเทศต่อผู้มีบทบาทในอุตสาหกรรมระดับนานาชาติ อันเป็นเวทีที่ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ประเทศไทยในฐานะแหล่งผลิตคอนเทนต์คุณภาพ ในช่วงท้ายของเทศกาลยังมีการจัด Thailand Reception ณ Thailand Pavilion เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้พบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงธุรกิจกับผู้ร่วมงานจากนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน ผู้ร่วมผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้แทนองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมทั่วโลก เป็นอีกหนึ่งเวทีสำคัญในการต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
“ในครั้งนี้นับเป็นข่าวดีของวงการภาพยนตร์ไทยที่สร้างความภาคภูมิใจ คือ ภาพยนตร์เรื่อง “ผีใช้ได้ค่ะ” (A Useful Ghost) กำกับโดย รัชฏ์ภูมิ บุญบัญชาโชค หรือ “อุ้ย” ได้รับคัดเลือกเข้าประกวดในสาย Critics’ Week (Semaine de la Critique) ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในรอบ 10 ปี ที่ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมสายการประกวดนี้ โดยผลงานจากบริษัท 185 ฟิล์มส์ จำกัด เรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในขั้นตอน Post-production จากกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ถือเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในการขยายตลาดสู่ระดับนานาชาติอย่างเป็นรูปธรรม และเป็นบทพิสูจน์ถึงพลังของ Soft Power ไทยที่สามารถสร้างโอกาส สร้างชื่อเสียง และสร้างความภาคภูมิใจบนเวทีโลก” นางสาวสุดาวรรณ กล่าว
ทั้งนี้ “A Useful Ghost” (ผีใช้ได้ค่ะ) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวเสียดสีสังคมที่กำกับโดย รัชภูมิ บุณยฤทธิ์โชค ได้รับการสนับสนุนในขั้นตอนการพัฒนาบทภาพยนตร์จาก สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และได้รับการสนับสนุน ในขั้นตอนหลังการผลิต (Post-production) จาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ สารคดี และแอนิเมชันไทย เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และซอฟต์พาวเวอร์
A Useful Ghost ได้รับเลือกให้ประกวดในสาย Critics' Week (Semaine de la Critique) ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ปี 2025 (ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้เข้าฉายในสาย Critics' Week ซึ่งมุ่งเน้นผลงานของผู้กำกับหน้าใหม่) ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการร่วมผลิตระหว่างประเทศไทย, สิงคโปร์, ฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์กร รวมทั้งได้รับทุนจาก Infocom Media Development Authority (IMDA) ของสิงคโปร์ และรางวัล Open Doors Award จากเทศกาลภาพยนตร์โลการ์โน A Useful Ghost ได้รับรางวัล Runner-up จากการประกวด SEAPITCH 2020 (Bangkok ASEAN Film Festival 2020 จัดโดยกองภาพยนตร์และวีดิทัศน์ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข จัดประชุมยกระดับบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ สถานพยาบาล 241 แห่งทั่วไทย พร้อมเดินหน้าพัฒนาร่างกฎหมายอุ้มบุญ ฉบับ 2 พัฒนาแนวทางการขอรับบริการเพื่อให้รองรับกลุ่มสมรสเท่าเทียม
เมื่อวันที่ (14 พ.ค.68) ณ อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จากข้อกําหนดของกฎหมายสู่การปฏิบัติ (IVF/IUI) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์” โดยมีบุคลากรของสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 241 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมทั้งออนไซต์ และออนไลน์
ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ ให้สัมภาษณ์ภายหลังพิธีเปิดฯว่า ปัจจุบัน พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2559 ได้มีผลบังคับใช้มากว่า 9 ปี โดยสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ กว่า 7,500 ล้านบาท มีอัตราความสำเร็จในการให้บริการตั้งครรภ์ เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 52 มีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) กว่า 20,000 รอบการรักษา และมีการผสมเทียม (IUI) กว่า 12,000 รอบการรักษา ซึ่งถือเป็นหลักฐานของความก้าวหน้า และความสำเร็จของการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของไทยที่ไม่เป็นรองชาติใดๆ ดังนั้น เพื่อการยกระดับบริการ เพิ่มศักยภาพในการให้บริการทั้งคนไทยเละต่างชาติ การคุ้มครองผู้บริโภค จวบจนดึงดูดผู้รับบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ฯ จากต่างชาติเข้าสู่ประเทศ จึงเป็นที่มาของการจัดการประชุมในครั้งนี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้สถานพยาบาลที่ให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ทั้งในกลุ่มสถานพยาบาลรายเดิมและกลุ่มสถานพยาบาลที่ให้บริการ IUI รายใหม่ทั่วประเทศ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินการให้บริการตามที่กฎหมายกำหนด และสามารถดำเนินการตามระบบฐานข้อมูลในรูปโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ICMART) ซึ่งจะนำไปสู่การได้มาของข้อมูลภาพรวมของประเทศและนำไปวิเคราะห์ข้อมูล กำหนดนโยบายการให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ฯ ของประเทศ
ทันตแพทย์อาคมฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า และนอกจากการพัฒนาบุคลากรแล้ว การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญ โดย กรม สบส. จึงได้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนากฎหมาย (ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ....โดยมีประเด็นในการปรับแก้กฎหมายแม่บท อาทิ การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯ การกำหนดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการเฉพาะ การขอรับบริการเพื่อให้รองรับกลุ่มสมรสเท่าเทียม การเพิ่มกลุ่มผู้รับบริการตั้งครรภ์แทนในกลุ่มชาวต่างชาติ และการส่งออกซึ่งอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อนของผู้เป็นเจ้าของเซลล์สืบพันธุ์ เป็นต้น โดยอยู่ในระหว่างเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการต่อไป