Sunday, 27 April 2025
ค้นหา พบ 47695 ที่เกี่ยวข้อง

‘พงศ์พรหม’ ชื่นชม!! ‘เอกนัฏ-อรรถวิชญ์-ฐิติภัสร์’ ในการสืบสวน อุตสาหกรรมก่อสร้าง เดินหน้าปราบ!! คอร์รัปชั่น แก้ปัญหาการผูกขาด รบกับอภิสิทธิ์ชนที่โกงชาติ เพื่อปชช.

(7 เม.ย. 68) นายพงศ์พรหม ยามะรัต นักธุรกิจด้านเทคโนโลยี และอดีตรองหัวหน้าพรรคกล้า ได้โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับ การสืบสวนความผิดปกติของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยได้ระบุว่า ...

การสืบสวนความผิดปกติของอุตสาหกรรมการก่อสร้างรอบนี้ ต้องยกเครดิตให้คุณเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ คุณโอ๋ และคุณเอ๋ (อรรถวิชญ์)
ผมรู้จักคุณเอ๋ส่วนตัว แต่อีก 2 ท่าน ผมไม่รู้จักอะไรส่วนตัวเลย และเลือกตั้งรอบที่ผ่านมาผมก็ไม่ได้เลือก รทสช.ด้วย

แต่วิกฤติรอบนี้ สร้าง “ตัวจริง” ให้แจ้งเกิดได้อย่างงดงามในฝั่ง “ขวาปฏิรูป”
ขอชื่นชมมากๆ แทนสังคมไทย

และฝากพรรคฝั่งขวา เช่นประชาธิปัตย์ พลังประชารัฐ ภูมิใจไทย (ปี 66 ผมไม่ได้เลือก 3 พรรคนี้เช่นกัน) ศึกษาการทำงานโดยเอาผลประโยชน์ประชาชนเป็นหลักของคน 3 คนนี้ไว้ 
พรรคฝั่งขวาจะโตได้ ต้องมีเป้าหมายเป็นการแก้ปัญหาให้ประชาชนเป็นตัวตั้ง เหมือนที่ในหลวงทุกรัชกาลท่านพูดไว้เสมอ

พรรคก้าวไกลเขาได้รับความนิยมสูงมาก ไม่ใช่เพราะประชาชนอยากล้มเจ้า
แต่พรรคก้าวไกลเขามี 1 อุดมการณ์ที่ผมก็ชื่นชม คือการรบกับการคอร์รัปชั่น รบการผูกขาด รบอภิสิทธิ์ชนที่โกงชาติอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

ไม่ใช่สักแต่พูดว่ารักเจ้าไปเรื่อย แต่ผูกตัวเองกับระบบสูบเลือด สูบเนื้อประเทศชาติจนเสียหายแบบพรรคฝ่ายขวาส่วนใหญ่
เราจึงเห็น 2 พรรคฝ่ายขวาที่คนเค้าไม่เอาแล้ว ทั้งที่ประชาชนเคยนิยม ได้แก่พรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ ที่รอวันล่มสลาย หากไม่เปลี่ยนวิธีคิดตัวเอง

หากคุณเอกนัฏ คุณโอ๋ คุณเอ๋ ยัง keep pace นี้ได้ ให้ยาวจนจบรัฐบาล
แถม “สลัด” สมาชิกพรรคฝั่ง “โกงยับ” ที่มาเป็นกาฝากในพรรคได้
อนาคตคนกลุ่มนี้จะสดใสมากในการเมืองไทยครับ

‘ทักษิณ’ ฮึ่ม!! หากพรรคร่วมรัฐบาล ไม่โหวต ร่างกม.กาสิโน จ่อ!! ไล่ออก พ้นครม. จับตาท่าที ‘ภท.-รทสช.’ โหวตพร้อมเพรียงหรือไม่ ‘พรรคประชาชาติ’ ลงมติอย่างไร

(7 เม.ย. 68) มีรายงานข่าวแจ้งว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กำชับไปที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ให้โหวตรับหลักการในวาระแรก ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. … ที่จะเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวาระแรก วันที่ 9 เม.ย.นี้ ทั้งนี้ หากพบว่าพรรคร่วมรัฐบาลพรรคไหนแตกแถว จะพิจารณาให้ออกจากรัฐบาลทันที

อย่างไรก็ตาม  หลังจากนี้มีคำสั่งตรงไปที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งพรรคภูมิใจไทย(ภท.)พรรครวมใจสร้างชาติ (รทสช.)จะโหวตกันอย่างพร้อมเพรียงหรือไม่ และต้องจับตาว่า พรรคประชาชาติ (ปช.) ที่มี สส.จำนวน 9 คน โดยมี พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม และหัวหน้าพรรค เป็นชาวพุทธ เพียงคนเดียว ส่วน สส. อีก  8 คน เป็นชาวมุสลิม และมีฐานเสียงหลักอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม จะลงมติร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. … อย่างไร เพราะการพนันขัดต่อหลักศาสนา

โดยเมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา พ.ต.อ.ทวี ก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นวันที่เห็นชอบร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. … โดยระบุว่าติดภารกิจล่วงหน้า นอกจากนี้ พ.ต.อ.ทวี ยังไม่นำเรื่องกฎหมายดังกล่าวมาพูดคุยกับ สส.อีกทั้ง 8 คนแต่อย่างใด

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา นายซูการ์โนมะทา สส.ยะลา พรรคประชาชาติ ได้โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว ถึงการแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยของพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม และหัวหน้าพรรคประชาชาติ ต่อ ครม. และประธานวิปรัฐบาล พร้อมกับโพสต์หนังสือของพ.ต.อ.ทวี  หัวหน้าพรรคที่แจ้งต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับข้อสังเกต อาทิ ข้อกังวลเรื่องอาชญากรรม เพราะจะมีชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศจำนวนมาก , ผลกระทบต่อเด็ก และเยาวชน , อาจทำให้เกิดการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ , จะเกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่ จึงเห็นควรให้ไปศึกษาเพิ่มเติมว่าจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ

ขณะเดียว  ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา พ.ต.อ.ทวี ได้ทำหนังสือถึงนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) เรื่อง ความเห็นร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ.... โดยมีรายละเอียดว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้แจ้งมติของครม. เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา เรื่องเห็นชอบร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ.. .. ของกระทรวงการคลัง ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

กระทรวงยุติธรรม ขอเรียนว่า ได้ทำหนังสือเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณา ของครม.ในเรื่องนี้ไว้ ตามเอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย 2 ข้อ ซึ่งในข้อ 2 ได้ระบุไว้ว่า “การพัฒนาธุรกิจบันเทิงรูปแบบใหม่ให้เป็นสถานบันเทิงครบวงจร อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กหรือเยาวชน ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศในเรื่องนโยบายทางการศึกษาที่เคยมุ่งเน้นให้เยาวชน เป็นผู้ที่มีศีลธรรมอันดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการพนัน ยาเสพติด อบายมุข ตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติหลักการศาสนาอิสลามหรือศาสนาอื่น

ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาแล้ว เห็นควรให้ความสำคัญกับหลักการที่ต้องห้ามอย่างชัดเจนในด้านศาสนาและวัฒนธรรม จึงเห็นควรให้ร่างพ.ร.บ.มีบทบัญญัติที่คำนึงถึงหลักการดังกล่าวด้วย โดยอาจเพิ่มเติมในบทบัญญัติที่เกี่ยวกับขอบเขตพื้นที่การบังคับใช้กฎหมายหรือการเพิ่มข้อพิจารณาด้านศาสนา และวัฒนธรรม ของประชาชนในท้องที่ ที่จะกำหนดให้เป็นพื้นที่ในการอนุญาตภายใต้นโยบายสถานบันเทิงครบวงจร ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#2 สงครามเวียดนาม ที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วม

(12 เม.ย. 68) ตลอดเดือนเมษายน 2568 พบกับเรื่องราวของมหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน 
ในโอกาสครบ 50 ปีแห่งการสิ้นสุดสงคราม วันที่ 30 เมษายน 2518

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#2 ‘สงครามเวียดนามที่สหรัฐอเมริกาเข้าร่วม’

“ข้อตกลงเจนีวา (1954)” ได้ยุติสงครามระหว่างขบวนการเรียกร้องเอกราชในเวียตนามซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนกับกองกำลังยึดครองอาณานิคมของฝรั่งเศสได้สำเร็จ แต่ “ข้อตกลงเจนีวา (1954)” ก็แบ่งเวียดนามออกเป็นสองฝ่ายอีกครั้ง เวียตมินห์ซึ่งนำโดย ‘โฮจิมินห์’ ควบคุมเวียตนามภาคเหนือ และฝรั่งเศสควบคุมภาคใต้ โดยจัดให้มีการเลือกตั้งในปี 1956 เพื่อจัดตั้งรัฐบาลสำหรับทั้งประเทศ ฝรั่งเศสส่งมอบอำนาจให้กับรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา นำโดย ‘โง ดินห์ เดียม’ ในภาคใต้ แต่ ‘เดียม’ ปฏิเสธที่จะจัดการเลือกตั้งจึงส่งผลให้เกิดสงครามอีกครั้งหนึ่ง ‘เดียม’ ซึ่งเป็นนับถือโรมันคาธอลิก ได้ออกกฎหมายเลือกปฏิบัติต่อชาวพุทธซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่มากมาย จึงทำให้เขาไม่เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนเวียดนามใต้ส่วนใหญ่

แม้ว่าในข้อตกลงจะระบุว่า “เส้นแบ่งเขตทางทหาร (เส้นขนานที่ 17)” เป็นเพียงการใช้ชั่วคราวและไม่ใช่ขอบเขตทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติสหรัฐอเมริกากลับยอมรับให้เวียดนามใต้เป็นประเทศอิสระ และให้การสนับสนุนทั้งทางการทหารและการเงิน แต่แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติของเวียดนามใต้ที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์ (‘เวียดกง (VC)’ หรือที่ทหารอเมริกันเรียกว่า ‘ชาลี’) ไม่ยอมรับการบริหารของ ‘เดียม’ ซึ่งพวกเขามองว่า ‘เดียม’ เป็นหุ่นเชิดของอเมริกัน ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพประชาชนเวียดนามเหนือ พวกเขาเริ่มการต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามให้เป็นหนึ่งภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนามและต่อต้านการเข้าทาแทรกแซงด้วยกำลังทหารของสหรัฐอเมริกา

ในระยะแรกของสงคราม สหรัฐอเมริกาเพียงแต่จัดส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และที่ปรึกษาทางการทหารจำนวนหนึ่งให้กับเวียดนามใต้เท่านั้น แต่หลังจาก “เหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย (Gulf of Tonkin incident)*” ในปี 1963 ลินดอน บี. จอห์นสัน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นได้ตัดสินใจส่ง “กองกำลังภาคพื้นดิน” จำนวนหลายพันนายไปประจำการในเวียตนามใต้ เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในเวียตนามใต้ และทำให้ในช่วงสงครามระหว่างปี 1963–1975 มีทหารสหรัฐจำนวนมากกว่า 2.7 ล้านนายถูกส่งไปผลัดเปลี่ยนในการปฏิบัติการรบในเวียตนามใต้ 
*เหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย เป็นเหตุการณ์ปะทะทางเรือในอ่าวตังเกี๋ย นอกชายฝั่งเวียตนามเหนือ ระหว่างวันที่ 2 ถึง 4 สิงหาคม 1964 เหตุการณ์นี้มีการรายงานต่อรัฐสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 1964 โดยระบุว่า เป็นปฏิบัติการโจมตีโดยเรือตอร์ปิโดของเวียดนามเหนือต่อเรือพิฆาตแมดด็อกซ์และเทิร์นเนอร์จอยของสหรัฐฯ 2 ครั้ง นำไปสู่การลง “มติอ่าวตังเกี๋ย” ซึ่งทำให้ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสันมีอำนาจจนสามารถเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของกองทัพสหรัฐในสงครามเวียตนามได้เป็นอย่างมาก

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยกลายเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และเป็นที่ตั้งของฐานทัพอากาศที่สำคัญสำหรับปฏิบัติการทางอากาศของกองทัพสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม นอกจากไทยแล้ว ยังมี ฟิลิปปินส์ อดีตอาณานิคมของสหรัฐฯ ซึ่งได้รับเอกราชในปี 1946 เป็นที่ตั้งฐานทัพสำคัญสำหรับการทำสงครามของสหรัฐฯ เช่นกัน เช่นฐานทัพเรืออ่าวซูบิก และฐานทัพอากาศคลาร์ก สำหรับพันธมิตรระดับภูมิภาคอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกงซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ พื้นที่เหล่านี้ยังได้เลือกโดยกองทัพสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการให้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการพักผ่อนและฟื้นฟูของทหารอเมริกันที่เข้าร่วมรบในสงคราม ซึ่งส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวของประเทศเหล่านี้เติบโต (เว้นออสเตรเลีย) และส่งผลให้การท่องเที่ยวด้านอบายมุขและบริการทางเพศในพื้นที่ดังกล่าวเติบโตขึ้นเช่นกัน (โดยเฉพาะไทย)

ด้วยความหวาดกลัวคอมมิวนิสต์ของภูมิภาคนี้ จึงทำให้เกิด “องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สปอ.) หรือ Southeast Asia Treaty Organization (SEATO)” ตั้งขึ้นในปี 1954 เป็นองค์การความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงสงครามเย็น เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิทรูแมน (Truman Doctrine) ในการสร้างแนวร่วมเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ในระดับทวิภาคีและส่วนร่วมในสนธิสัญญาป้องกันระดับภูมิภาค (อ่าน “ตัวตนที่เลือนลาง!! หวนรำลึก SEATO องค์การ ‘เสือกระดาษ’ แห่งภูมิภาคอาเซียน”

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียดนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#3 สงครามกลางเมือง กับ ‘ทฤษฎีโดมิโน’

(13 เม.ย. 68) ตลอดเดือนเมษายน 2568 พบกับเรื่องราวของมหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน 
ในโอกาสครบ 50 ปีแห่งการสิ้นสุดสงคราม วันที่ 30 เมษายน 2518

มหากาพย์แห่งสงครามอินโดจีน EP#3 ‘สงคราม (ลับ) ในลาว’

สงครามกลางเมืองลาวเกิดขึ้นระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ลาวและรัฐบาลลาวหลวงตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 1959 ถึง 2 ธันวาคม 1975 ราชอาณาจักรลาวเป็นพื้นที่ปฏิบัติการลับในช่วงสงครามเวียดนาม โดยทั้งสองฝ่ายได้รับการสนับสนุนจากภายนอกอย่างหนักในสงครามตัวแทนระหว่างมหาอำนาจสงครามเย็นระดับโลก การสู้รบยังเกี่ยวข้องกับกองทัพเวียตนามเหนือ เวียตนามใต้ สหรัฐอเมริกา และไทย ทั้งโดยตรงและผ่านตัวแทนที่ไม่เปิดเผย สงครามนี้เป็นที่รู้จักในชื่อ “สงครามลับในลาว” ซึ่งรับผิดชอบปฏิบัติการโดย CIA

วันที่ 9 สิงหาคม 1960 รอ.กองแล วีระสาน รองผู้บัญชาการกองกำลังพลร่มที่ 2 ได้ทำการรัฐประหารในราชอาณาจักรลาว รอ.กองแล ผู้ซึ่งแทบจะไม่มีใครรู้จักแม้แต่ในลาวเอง และล้มรัฐบาลฝ่ายขวาของเจ้าสมสนิท ทำให้เจ้าสุวันพูมาได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง นอกจากนั้น รัฐประหารที่เขาทำให้เกิดการเจรจาที่นำไปสู่ “ข้อตกลงเจนีวาว่าด้วยลาว” ในเดือนกรกฎาคม 1963 รัฐประหารครั้งนั้นทำให้สหรัฐฯและชาติอื่น ๆ ต้องประหลาดใจ และนำไปสู่ความขัดแย้งในการแย่งชิงอำนาจในลาว นอกจากนั้นแล้วการรัฐประหารในครั้งนั้นยังทำให้เกิดความกลัวอย่างต่อเนื่องตามแนวคิดทางการเมืองอเมริกันที่ว่า ประเทศใดก็ตามที่กลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วจะแพร่ขยายไปสู่ประเทศอื่น ๆ จนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามไปด้วยตาม “ทฤษฎีโดมิโน”

ดังนั้นประธานาธิบดี Eisenhower และประธานาธิบดี Kennedy ในเวลาต่อมา จึงได้ตัดสินใจเริ่มปฏิบัติการลับในลาว เริ่มต้นจากการฝึกอบรมและติดอาวุธสมาชิกกองกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์จำนวนไม่มาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง และจากนั้นก็กลายเป็นการปฏิบัติการครั้งใหญ่ที่ดำเนินต่อไปเป็นเวลาหลายปี ก่อนที่สหรัฐฯจะเริ่มทิ้งระเบิด และโจมตีเส้นทางโฮจิมินห์ สงครามในลาวและเวียตนามไม่ได้แยกจากกันโดยสิ้นเชิง มีการทับซ้อนกันในบางส่วน แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นปฏิบัติการที่แยกออกจากกัน สงครามในลาวทำให้ CIA กลายเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในวอชิงตันและกลายเป็นหน่วยงานปฏิบัติการทางทหาร แม้ว่าลาวจะถือว่ามีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ แต่ก็เป็นเพียงประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไกลมาก นักข่าวส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงฐานของกองกำลังลาวม้งและกองกำลังของลาวหน่วยอื่น ๆ ได้ เมื่อไม่ปรากฏเป็นข่าว สภาคองเกรสจึงเต็มใจที่จะดำเนินการตามสงครามไปจนถึงปลายทศวรรษที่ 60 และต้นทศวรรษที่ 70 โดยไม่ตั้งกระทู้ถามจนมากเกินไป และประชาชนชาวอเมริกันก็ไม่ค่อยจะรู้อะไรเกี่ยวกับลาวมากนัก และในที่สุดก็มีสถานการณ์ที่ทำให้ CIA กำลังมีอิทธิพลมากขึ้นและเห็นว่าลาวเป็นตั๋วสำหรับอิทธิพลนี้ในกระบวนการนโยบายต่างประเทศ 

โครงการฝึกอบรมทางทหารขนาดเล็กในลาวได้ถูกพัฒนาจนเป็นโครงการการฝึกอบรมทางทหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และในที่สุดก็เป็นกลายการปฏิบัติการเต็มรูปแบบ โดยในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1960 เจ้าหน้าที่ CIA ได้สั่งการกองกำลังหรือปฏิบัติการเพื่อสั่งการกองกำลังซึ่งปฏิบัติการในพื้นที่ลาว ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การฝึกเท่านั้น CIA และสถานทูตสหรัฐฯได้เพิ่มการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่เพื่อสนับสนุนปฏิบัติการ และในที่สุดโครงการฝึกอบรมก็มีจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นกองกำลังที่มีกำลังพลหลายหมื่นนาย และอาจมากกว่า 100,000 นายเสียด้วยซ้ำ สิ่งที่มีคือ กลายเป็นว่า CIA และสถานทูตสหรัฐฯทำสงครามกันเป็นภารกิจหลัก ภารกิจของพวกเขาเปลี่ยนไปจากไม่เพียงแต่ทำการรวบรวมข่าวกรอง  แต่เป็นการดูแลและจัดการความขัดแย้งขนาดใหญ่ด้วย แม้จะมีการปฏิรูป CIA ในช่วงทศวรรษที่ 1970 แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นไม่เคยหายไป กลับกลายเป็นยิ่งเพิ่มความเด่นชัดมาก

โดยที่ปฏิบัติการทหารในลาวมีความสอดคล้องกับสงครามของสหรัฐฯในเวียดนาม และการทิ้งระเบิดกัมพูชาอย่างลับ ๆ ด้วยสงครามในภูมิภาคนี้มีความสัมพันธ์กันและเป้าหมายโดยรวมก็มีการแบ่งปันกันในวงกว้าง แต่ CIA และเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำลาวพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้แน่ใจว่าผู้บัญชาการทหารของสหรัฐฯที่รับผิดชอบปฏิบัติการทางทหารซึ่งบริหารจัดการสงครามในเวียตนามจะไม่สามารถปฏิบัติการในลาวได้ เพราะตัวเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำลาว Bill Sullivan และ CIA ก้าวไปในเรื่องของสงครามในลาวจนไกลมากแล้ว และที่ปรึกษาทางทหารของสหรัฐฯ ที่ได้รับมอบหมายให้ประจำการในกรุงเทพฯ ไม่สามารถให้คำแนะนำที่สำคัญได้เลย เพราะเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำลาว และ CIA กันกองทัพสหรัฐฯ ออกไปจากสงครามในลาวอย่างสุดกำลัง

เมื่อสงครามเวียตนามในภาพรวมขยายตัวขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในลาวเริ่มที่จะสะท้อนให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายโดยรวมของสหรัฐฯ สิ่งที่เริ่มต้นจากการที่สหรัฐฯช่วยชาวลาวในท้องถิ่นต่อสู้กับกองกำลังคอมมิวนิสต์ในที่สุดก็เปลี่ยนไป และโดยที่ที่สุดแล้วจุดมุ่งหมายของสหรัฐฯและจุดมุ่งหมายของชาวลาวในท้องถิ่นก็แตกต่างกันอย่างมากมาย และเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก เพราะชาวอเมริกันไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกันกับชาวลาวที่พวกเขาให้ความช่วยเหลือ เดิมทีนักรบต่อต้านคอมมิวนิสต์ชาวลาวต้องการให้ทหารอเมริกันต่อสู้เคียงข้างพวกเขา และช่วยรักษาดินแดนของพวกเขาไว้ แต่ในช่วงปลายทศวรรษ 1960 สหรัฐฯ และผู้บัญชาการทหารลาวได้ส่งกองกำลังของลาวเข้าสู่การสู้รบเต็มแบบขนาดใหญ่ แทนที่จะเป็นการรบแบบกองโจร การรบขนาดใหญ่กับกองทัพเวียดนามเหนือซึ่งเป็นกองทัพที่แข็งแกร่งและประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 20 ทำให้ทหารลาวจึงถูกสังหารมากมาย และเหตุผลที่สหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงนโยบายนี้เป็นเพราะเห็นว่าสงครามในลาวเป็นโอกาสที่จะสังหารทหารเวียตนามเหนือได้มากขึ้น และทำให้สถานการณ์สงครามของสหรัฐฯ ในเวียตนามใต้ดีขึ้น จึงกลายเป็นเหตุให้ราชอาณาจักรลาวต้องพบจุดจบในที่สุด แม้ว่า สหรัฐฯและลาวซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่มีประชากรน้อยกว่าพลเมืองของนครลอสแองเจลิส และมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแบบที่เรียบง่ายมากในปัจจุบัน แต่ในทศวรรษที่ 1960 สหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจว่า ประเทศเดียวกันนี้ซึ่งขณะนั้นมีประชากรน้อยกว่าปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของชาติ ประมาณกันว่า เมื่อ 5-60 ปีก่อน CIA ใช้งบประมาณกว่าเดือนละยี่สิบล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 400 ล้านบาทในขณะนั้น) ซึ่งคำนวณด้วยราคาทองคำจะอยู่ที่เดือนละกว่าสี่หมื่นล้านบาทในปัจจุบันสำหรับการทำสงครามในลาว

หมายเหตุ ผู้เขียนใช้คำว่า “เวียตนาม” ตัว ‘ต’ สะกด เพราะเอกสารสมัยก่อนใช้เช่นนี้ ต่อมาภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็น “เวียดนาม” สะกดด้วยตัว ‘ด’

‘วิโรจน์’ แฉ!! ส่วยสติกเกอร์ตัว T ขนสินค้าจากลาว ไม่ต้องมี ‘พาสปอร์ตรถ’ ชาวเน็ต สวนกลับ!! สติกเกอร์อันนี้ ถูกกฎหมาย ได้คู่กับสมุดประจำรถผ่านแดน

(7 เม.ย. 68) นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร รองหัวหน้าพรรคประชาชน ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า …

ถ้าจ่ายค่าบริการ 1,000 บาท ก็จะได้สติกเกอร์ตัว T มาติดหน้ารถ ทีนี้ก็จะเอารถบรรทุกไปขนสินค้าจากประเทศลาวมายังประเทศไทยได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีพาสปอร์ตรถ นี่จริงหรือครับ

ปรากฎว่า ชาวเน็ตสวนกลับทันที สติกเกอร์ตัว T นั้นมันถูกกฎหมาย โดยมีหลายคนได้แสดงความคิดเห็นกันมากมาย ยกตัวอย่างเช่น … 

สติกเกอร์ ตัว T จะติดหรือไม่ติดไม่สำคัญเท่า ตัวเล่มพาสปอร์ต ที่ระบุข้อมูลของรถคันนั้นๆครับ พาสปอร์ตรถก็เหมือนพาสปอร์ตคน ต้องมีการสแตมป์ประทับตรา ขาเข้า ขาออก ส่วนรถที่ไม่มีมันมีวิธีการ แต่ไม่ได้เกี่ยวว่าต้องแปะสติกเกอร์

ตัว T จากขนส่งนะท่าน รถข้ามด่านมีทุกคัน กรมขนส่งให้มา

สติกเกอร์ถูกกฎหมายแต่เอามาปั่นให้คนด่าได้ สุดยอดครับทั้งคนปั่นและคนเชื่อ

มันเป็นสติกเกอร์ผ่านแดนนี่ครับ

เป็นเหมือนพาสปอร์ตรถครับ สำหรับการขนสินค้ายากครับ ศุลกากรที่สะพานเขาคอยจับตาอย่างใกล้ชิดครับ ปรับหนักมาก

สติ๊กเกอร์อันนี้จะได้คู่กับสมุดประจำรถผ่านแดนครับ ปกติรถบรรทุกป้ายสาธารณะจะเป็นสีเขียว

ไปศึกษามาเยอะๆ

ท่านไม่รู้หรือแกล้งครับ

ตัวนี้ติดปกตินะครับ สำหรับรถขับออกต่างประเทศ

ถ้าขับรถไปลาวคือต้องติดค่ะ แต่ต้องใช้พาสปอร์ตรถตอนข้ามแดนอยู่ดี อันนี้สำหรับรถส่วนบุคคลทั่วไปนะคะ เพิ่งขับรถไปลาวมาค่ะ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top