Sunday, 27 April 2025
ค้นหา พบ 47704 ที่เกี่ยวข้อง

‘ศุภวุฒิ สายเชื้อ’ แนะ!! ‘ไทย’ ควรสงวนท่าทีเจรจากับ ‘สหรัฐฯ’ หาทางตั้งรับดีกว่า แล้วค่อยพาดบันได รอโอกาส ตอน ‘ทรัมป์’ ถอย

(7 เม.ย. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ...

ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐฯ แนะไทยสงวนท่าทีเจรจากับสหรัฐฯ หาทางตั้งรับดีกว่า แล้วค่อยพาดบันได รอโอกาส ตอนทรัมป์ถอย ยันมีกองทุน 3 พันล้านดูแลผู้ส่งออก

การรีบเร่งเจรจาเหมือนประเทศอื่นๆ ไม่ได้ผล เนื่องจากทรัมป์มีเป้าหมายชัดเจนที่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลกและลดการขาดดุลของสหรัฐฯ โดยไม่สนใจแนวทางเดิมๆ 

ทีมงานไทยจึงประเมินสถานการณ์และเสนอแนวทางเชิงรุก คือ แทนที่จะรีบลดภาษีหรือให้สิ่งตอบแทนทันที ควรมุ่งสร้างพันธมิตรกับภาคเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของทรัมป์ โดยเสนอซื้อ วัตถุดิบทางการเกษตรจากสหรัฐฯ มาแปรรูปเป็นอาหารส่งออกทั่วโลก ควบคู่ไปกับการเตรียม "บันได" หรือข้อเสนอผ่อนปรนอื่นๆ ไว้ แต่จะยื่นข้อเสนอเมื่อสหรัฐฯ ส่งสัญญาณพร้อมเจรจา หรือเมื่อนโยบายของทรัมป์เริ่มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เอง 

การเจรจาควรดำเนินการตามลำดับขั้น เริ่มจากระดับเจ้าหน้าที่ (USTR) ก่อน ถึงระดับรัฐมนตรี พร้อมกันนี้ ไทยมีมาตรการบรรเทาผลกระทบเฉพาะหน้าสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบด้วย

ศุภวุฒิ อธิบายว่าหลายประเทศที่รีบเจรจากับสหรัฐฯ ในยุคทรัมป์ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะทรัมป์ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการค้าโลกและลดการขาดดุลการค้าอย่างจริงจัง แม้แต่พันธมิตรใกล้ชิดอย่างอังกฤษ ก็ยังถูกขึ้นภาษี 

การตัดสินใจของทรัมป์มีความไม่แน่นอนสูง ทำให้การเจรจาในช่วงแรกเป็นไปได้ยาก 

ทีมยุทธศาสตร์ของไทย นำโดยปลัดกระทรวงพาณิชย์และมี ศุภวุฒิ และ พันศักดิ์ เป็นที่ปรึกษา ประเมินว่าทรัมป์มีเหตุผล 3 ประการในการขึ้นภาษี คือ 1) มองว่าการขาดดุลคือการถูกเอาเปรียบ 2) ต้องการหารายได้ชดเชยการลดภาษีคนรวย 3) ต้องการดึงการผลิตกลับสหรัฐฯ

ดังนั้น แทนที่จะรีบเจรจาและให้สิ่งตอบแทนโดยเปล่าประโยชน์ ไทยควรใช้ยุทธศาสตร์ "รอจังหวะ" และ "สร้างพันธมิตร" โดยเสนอตัวเป็นผู้ซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรรายใหญ่จากสหรัฐฯ (เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด) ซึ่งไทยผลิตไม่พออยู่แล้ว นำมาแปรรูปเป็นอาหารส่งออก แนวทางนี้จะช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเกษตรกรสหรัฐฯ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของทรัมป์และพรรครีพับลิกัน

พร้อมกันนี้ ไทยเตรียมมาตรการผ่อนปรนอื่นๆ เช่น การลดภาษีสินค้าบางรายการ หรือการร่วมลงทุน/นำเข้า LNG ไว้เป็น "บันได" ให้สหรัฐฯ ลง 

หากนโยบายภาษีเริ่มส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เอง (เช่น เงินเฟ้อ หุ้นตก) และสหรัฐฯ พร้อมจะเจรจามากขึ้น การเจรจาควรเริ่มจากระดับเจ้าหน้าที่ (USTR ผ่านกรอบ TIFA) ก่อนเพื่อกรุยทางในรายละเอียด แล้วค่อยให้ระดับรัฐมนตรีตัดสินใจในประเด็นที่ตกลงกันไม่ได้ 

การเดินทางไปสหรัฐฯของคณะทำงานจึงเป็นการไป "พบปะหารือ" สร้างแนวร่วม ไม่ใช่การ "เจรจา" ในทันที

‘Mr. S - Miss W’ นร.นอกที่จบจากตะวันตก ปั่นกระแส ทำลายความสัมพันธ์ ‘ไทย - จีน’ ใส่ร้าย!! สร้างวาทกรรม ‘จีนเทา’ ทั้งที่จริงนักลงทุนจีน 99% ดำเนินกิจการ อย่างโปร่งใส

(7 เม.ย. 68) มองให้ลึก ก่อนเหมารวม : เมื่อความเงียบกลายเป็นพลังบ่อนทำลาย

ช่วงนี้ในแวดวงความคิดเห็นและการเมืองระหว่างประเทศ เริ่มมีกระแสบางอย่างที่น่าสนใจและควรค่าแก่การจับตา

มีกระแสหนึ่งที่กำลังค่อย ๆ บ่อนทำลายความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนอย่างเงียบเชียบ มีทิศทางชัดเจน และใช้กลวิธีที่แนบเนียน

เบื้องหลังของกระแสดังกล่าว มีบุคคลกลุ่มเล็ก ๆ โดยเฉพาะสองคนที่รู้จักกันในวงในชื่อย่อว่า Mr. S และ Miss W สองนักเรียนนอกจากโลกตะวันตก ผู้ร่วมกันผลักดันวาทกรรมในเชิง “ป้ายสีจีน” ด้วยการหยิบยกข้อมูลบางด้าน และใช้เทคนิคทางภาษาเพื่อชี้นำสังคมให้เข้าใจผิด เหมารวมว่านักลงทุนจีนทั้งหมดเป็น “ทุนสีเทา”

หลายฝ่ายในวงการเริ่มตั้งข้อสังเกตว่า นี่อาจไม่ใช่แค่ความเห็นส่วนตัว แต่เป็นการ “ปั้นกระแส” อย่างมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน

สิ่งที่สังคมไทยควรตั้งสติและพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือ—เราไม่ควรเหมารวมบริษัทจีนทั้งหมดว่าเป็นกลุ่มทุนสีเทา

ในความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนจีนกว่า 99% ที่เข้ามาในประเทศไทย ล้วนเป็นบริษัทระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง โปร่งใส และสร้างงานให้กับคนไทยอย่างจริงจัง อาทิ :
 • GWM
 • Haier
 • Midea
 • Hisense
 • BYD
 • GAC AION
 • Longi
 • MG
 • ChangAn
 • CATL
 • SVOLT

บริษัทเหล่านี้ปฏิบัติตามกฎหมายไทย และมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ

แม้จะไม่มีใครกล้ายืนยันว่าเบื้องหลังของกระแสนี้คืออะไรแน่ แต่ในโลกของการทูต “ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ”

ทุกกระแสที่ถูกจุดขึ้น ล้วนมีที่มา

และทุกความเคลื่อนไหว ย่อมมี “ราคา” ที่ตามมาเสมอ

สมาคมนักรบนิรนาม 333 จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2568 พร้อมพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่นักรบผู้ล่วงลับ

(5 เม.ย. 68) สมาคมนักรบนิรนาม 333 ได้จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี พร้อมพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่นักรบนิรนามผู้ล่วงลับ ณ สำนักงานรักษาความปลอดภัย องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (อผศ.) เลขที่ 27 ซอยรามอินทรา 25 เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาชิกของสมาคมเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ท่ามกลางบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความเคารพ รำลึก และสามัคคี การจัดงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พลเอก สายหยุด เกิดผล ที่ปรึกษาอาวุโสกิตติมศักดิ์ พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาสมาคมฯ และ พลเอก วิมล วงศ์วานิช ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ซึ่งให้การสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมมาอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมเริ่มต้นในเวลา 08.00 น. โดยเปิดให้สมาชิกลงทะเบียนเข้าร่วมงานและชำระเงิน จากนั้นเวลา 10.00 น. ได้มีการประกอบพิธีสงฆ์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่นักรบนิรนามผู้เสียสละ ซึ่งสร้างความสงบและความสำนึกในคุณค่าของผู้ที่เคยอุทิศตนเพื่อชาติ ต่อมาในเวลา 11.00 น. ได้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2568 โดยมีการรายงานผลการดำเนินงานของสมาคมในรอบปี 2567 รวมถึงการนำเสนอรายงานงบดุลและบัญชีรายรับ-รายจ่าย ตลอดจนการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี 2568 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอความคิดเห็น และหารือในประเด็นต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาสมาคมให้ก้าวหน้าต่อไป หลังเสร็จสิ้นภารกิจทางวิชาการในช่วงบ่าย สมาชิกทุกท่านได้ร่วมรับประทานอาหารกลางวันพร้อมกิจกรรมสังสรรค์ในบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง โดยมีการร้องเพลงคาราโอเกะ สร้างความสนุกสนานและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ สมาคมนักรบนิรนาม 333 ยังคงมุ่งมั่นในการสร้างความสามัคคีระหว่างสมาชิก พร้อมทั้งรำลึกถึงผู้ที่ได้เสียสละเพื่อประเทศชาติ อันเป็นหัวใจสำคัญของการดำรงอยู่ของสมาคมอย่างแท้จริง

ภาพ/ข่าว วะจะนะชัย วาจาพารวย / รายงาน

นบ.ยส.24 โชว์ผลงานสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญรอบ 6 เดือนปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด Seal Stop Safe ของรัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

(4 เม.ย. 68) เวลา 1000 น. พลโทบุญสิน  พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2/ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24) มอบหมายให้  พลตรีฉัฐชัย  มีชั้นช่วง  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่210/รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ผบ.มทบ.210/รอง ผบ.นบ.ยส.24 (2)) เป็นประธานการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญรอบ 6 เดือน (ต.ค.67 - มี.ค.68) และหารือ ประสานงาน/บูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีหน่วยงาน/ส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดนครพนม จำนวน 15 หน่วย และหน่วยงาน/ส่วนราชการนอกพื้นที่จังหวัดนครพนม ผ่านระบบประชุมทางไกล Video Conference (ผ่าน Zoom meeting) จำนวน 54 หน่วย ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7 จังหวัด 25 อำเภอชายแดนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมพระยอด กองบังคับการมณฑลทหารบกที่210 ค่ายพระยอดเมืองขวาง ตำบลกุรุคุ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ปัจจุบันสถานการณ์ยังคงมีการลักลอบลำเลียงยาเสพติด/เข้ามาในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ตอนในอย่างต่อเนื่อง จากการตรวจสอบเครือข่ายและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีการเชื่อมโยงกับบุคคลจาก สปป.ลาวและมีคนไทยในพื้นที่ชายแดนเป็นผู้ขนส่ง โดยได้รับค่าจ้างในราคาที่สูงซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญโดยพบว่าขบวนการลักลอบ ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ซึ่งพฤติการณ์ส่วนใหญ่จะนำยาเสพติดมาพักคอยในพื้นที่เมืองชายแดน ของ สปป.ลาว ก่อนจะใช้เรือลำเลียงมาตามแม่น้ำโขง บางพื้นที่จะนำยาเสพติดขึ้นไปพักคอยบนเกาะดอน ก่อนลักลอบนำเข้ามาในฝั่งไทยจะใช้วิธีการนำยาเสพติดที่อำพรางมาในรูปแบบต่างๆ (รูปปั้น สินค้าทางการเกษตร สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารเสริม) ไปกระจายตามพื้นที่ และให้กลุ่มลำเลียงมารับตามจุดที่นัดหมาย เพื่อขนย้ายด้วยยานพาหนะขนาดใหญ่หรือยานพาหนะส่วนบุคคลไปตามเส้นทางชนบทที่ยากต่อการตรวจสอบ ก่อนจะนำยาเสพติดมาพักคอยตามปั๊มน้ำมัน บ้านพัก หรือรีสอร์ทในพื้นที่อำเภอตอนในต่อไป

สรุปสถิติและการปฏิบัติที่สำคัญแต่ละมาตรการตั้งแต่ 1 ตุลาคม2567 ถึง ปัจจุบัน ดังนี้
1. มาตรการสกัดกั้น : มอบให้ กองกำลังป้องกันชายแดน เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีสถิติการซุ่มเฝ้าตรวจ 18,838 ครั้ง,ลาดตระเวนทางบก 16,351 ครั้ง,ลาดตระเวนทางน้ำ 169 ครั้ง,จัดตั้งจุดตรวจด่านตรวจ 4,656 ครั้งรายละเอียดตามจอภาพ/ เป็นผลทำให้สามารถสกัดกั้นยาเสพติดที่สำคัญในพื้นที่ ณ แนวชายแดนได้ แยกเป็นยาบ้า จำนวน 64,000,005 เม็ด, ไอซ์ น้ำหนัก 2,603 กก., เฮโรอีน น้ำหนัก 124 กก. 
2. มาตรการปราบปราม : มอบให้ ตำรวจภูธรภาค 3, ภาค 4 และตำรวจปราบปรามยาเสพติดเป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการปิดล้อมตรวจค้น 231 ครั้ง ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด จำนวน 73 คดี 
รวมผลการตรวจยึดจับกุมตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปราม ณ ปัจจุบัน มีการตรวจยึดจับกุม จำนวน 607 ครั้ง ผู้ต้องหา 848 ราย ของกลาง ยาบ้า 86,767,305 เม็ด,ไอซ์ 3,124.644 กิโลกรัม, เฮโรอีน 124 กก. เคตามีน 776.87 กิโลกรัม และอื่นๆ รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นมากถึง ห้าพันเก้าร้อยล้านบาทเศษ (5,936,581,800 บาท)
3. มาตรการป้องกัน : มอบให้ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก     โดยมีการปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ จำนวน 1,896 ครั้ง, ฝึกอบรมพัฒนา ชรบ. จำนวน 116 ครั้ง,การปฏิบัติงานของ ชรบ. จำนวน 872 ครั้ง, การจัดระเบียบสังคม จำนวน 748 ครั้ง,  การอบรมและการสร้างชุมชนเข้มแข็ง จำนวน 66 ครั้ง
4. มาตรการบำบัดรักษา : มอบให้ สาธารณสุขจังหวัด เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการดำเนินโครงการชุมชนล้อมรักษ์ (CBTx) จำนวน  2,852 ราย ดำเนินโครงการมินิธัญญารักษ์ จำนวน 1,421 ราย ดำเนินการรายงานในระบบข้อมูลการบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ จำนวน 8,073 ราย ควบคุมตัวบุคคลคลุ้มคลั่ง จำนวน 300 ราย 
5.มาตรการบูรณาการ : เน้นให้ทุกส่วนราชการ บูรณาการร่วมกันทั้งงานด้านการข่าว และแผนงานโครงการ ต่างๆ โดยมีการดำเนินการจัดการประชุมขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหายาเสพติด 245 ครั้ง ดำเนินการประชุมโต๊ะข่าวแลกเปลี่ยนข้อมูล 106 ครั้ง กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด 94 ครั้ง
6. มาตรการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน : มอบให้ ส่วนบังคับบัญชา, ส่วนอำนวยการ ของ นบ.ยส.24, ปปส.ภาค 3 และ ปปส.ภาค 4 เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการพบปะพัฒนาสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 32 ครั้ง ดำเนินการประชุมแลกเปลี่ยนข่าวสาร จำนวน 2 ครั้ง ประสานการจับกุม และส่งมอบผู้ต้องหาข้ามประเทศ จำนวน 1 ครั้ง
ซึ่งมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย ตั้งแต่ห้วงเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” ผนึกกำลัง 51 อำเภอชายแดน (1 ก.พ. – 31 ก.ค. 68) หน่วยมีผลการปฏิบัติตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปราม ณ แนวชายแดน โดยทำการซุ่มเฝ้าตรวจ 6,540 ครั้ง, ลาดตระเวนทางน้ำ? 64 ครั้ง, ลาดตระเวนทางบก 5,383 ครั้ง, จัดตั้งจุดตรวจด่านตรวจ 1,530 ครั้ง ทำการปิดล้อมตรวจค้น 47 ครั้ง ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สิน คดียาเสพติด จำนวน 28 คดี รวมผลการตรวจยึดจับกุมตั้งแต่ห้วงเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” (1 ก.พ. – 31 ก.ค. 68) มีการตรวจยึดจับกุมจำนวน 216 ครั้ง/ ผู้ต้องหา 272 ราย ของกลาง ยาบ้า 26,970,802 เม็ด,ไอซ์ 1,216.336 กิโลกรัม, และอื่นๆ

เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777​


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top