Sunday, 27 April 2025
ค้นหา พบ 47704 ที่เกี่ยวข้อง

‘รวมไทยสร้างชาติ’ ยันสอยร่วง!! ร่างกม. นิรโทษกรรม ฉบับพรรคส้ม ภาคประชาชน ลั่น!! อยากให้สมานฉันท์ ประเทศไทยเดินหน้า แต่ไม่ขอล้างผิดให้ ‘คดี112 - คดีทุจริต’

(7 เม.ย. 68) นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สส.ชุมพร และวิปรัฐบาลจากพรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะผู้เสนอร่างพรบ.นิรโทษกรรมฯ ที่ใช้ชื่อว่า ร่างพรบ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข พ.ศ. …. ที่จะมีการพิจารณาในที่ประชุมสภาฯ วันพุธที่ 9 เม.ย.นี้ต่อจากร่างพรบ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจรฯ เปิดเผยว่า มีคำยืนยันแล้วว่า สภาฯ จะพิจารณาร่างพรบ.นิรโทษกรรมฯ วันพุธที่ 9 เม.ย.นี้ต่อจากร่างพรบ.สถานบันเทิงครบวงจรฯ  ซึ่งร่างพรบ.นิรโทษกรรมที่เสนอเข้าสภาฯมา ที่เสนอมาสี่ร่างฉบับ จะมีเนื้อหาแตกต่างกัน แต่ในส่วนของร่างพรบ.นิรโทษกรรม ฯ ที่จะให้นิรโทษกรรมคดี 112 ด้วย ส.ส.รัฐบาลหลายคนไม่เห็นด้วย เราก็เข้าใจ น้องๆ นักศึกษาที่ถูกดำเนินคดี 112 แต่การจะให้ไปนิรโทษกรรม มันไกลเกินกว่าที่พวกเราจะตัดสินใจ

“ศาลรัฐธรรมนูญก็มีคำตัดสินเรื่องนี้มาแล้วสองครั้ง(คดีล้มล้างการปกครองฯ อดีตแกนนำม็อบสามนิ้ว กับคดียุบพรรคก้าวไกล) พวกเราส.ส.พรรครวมไทยสร้างชาติและส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลที่แสดงท่าทีเรื่องนี้เช่น ภูมิใจไทย ก็ทำให้เราไม่อยากไปแตะตรงนั้น รวมถึงของเพื่อไทยเอง เท่าที่ได้ฟัง ก็ไม่เห็นด้วยที่จะให้รวมคดี 112 เข้ามาด้วยเพราะเรื่องให้นิรโทษกรรมคดี 112 หากไปดูตอนที่นายชัยธวัช จากพรรคก้าวไกลยื่นร่างเข้าสภาฯ ตอนนั้นศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีการชี้เรื่อง 112 ในคดียุบพรรคก้าวไกลออกมา  เมื่อตอนนี้ศาลชี้ออกมาแล้ว ก็ต้องเคารพศาลรัฐธรรมนูญ”

เมื่อถามว่าในการโหวตวาระแรก หลังอภิปรายเสร็จสิ้นแล้ว การโหวตจะโหวตอย่างไร เพราะมีเสนอเข้าไปสี่ฉบับ จะโหวตเห็นชอบทีละฉบับหรือไม่ นายวิชัย กล่าวว่า คงต้องคุยกันในวิปรัฐบาลวันพุธนี้ก่อน แต่เท่าที่เคยคุยกัน พรรคร่วมรัฐบาล คงจะให้นำร่างพรบ.สร้างเสริมสังคมสันติสุขฯ ของพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นร่างหลักในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ที่จะตั้งขึ้น หลังผ่านวาระแรก อันนี้คือที่ได้รับแจ้งมา

“เรื่องการโหวตร่างพรบ.นิรโทษกรรมทีละฉบับ อาจเป็นไปได้ การให้นิรโทษกรรมคดีการชุมนุมทางการเมือง เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยที่ผ่านมา มีความเห็นแตกต่างในเรื่องการแสดงออกทางการเมืองเป็นเวลายี่สิบกว่าปีแล้ว ประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่ต้องละลายเรื่องสีเสื้อ เพื่อกลับมาสร้างความปรองดองสมานฉันท์ เพื่อนำพาประเทศไทยให้เดินไปได้ และเรื่องนี้ก็เป็นนโยบายรัฐบาลในเรื่องการสร้างปรองดอง ผมคิดว่าส.ส.ทุกคน อยากให้ประเทศไทยเดินหน้าภายใต้ความปรองดองสมานฉันท์ เรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรม ส.ส.หลายคน ทั้งจากรัฐบาลและฝ่ายค้าน ที่ได้นั่งคุยกัน  ต่างก็เห็นด้วยกับการให้ออกกฎหมาย ในส่วนของพรรครวมไทยสร้างชาติที่ผมกับคณะ ยื่นเข้าไป มีเนื้อหาคือไม่ให้นิรโทษกรรมคดี 112 รวมถึงคดีทุจริต”

กลยุทธ์บ่อนเซาะอำนาจรัฐไทย ยังดำเนินต่อไป เปลี่ยนคนพูด แต่ไม่เปลี่ยนคนเขียนบท อ้าง!! กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ความเป็นจริง เต็มไปด้วย ถ้อยคำ ‘ปลุกใจเสือป่า’

(7 เม.ย. 68) ข้าพเจ้าเคยพูดไว้แล้วเรื่องนโยบายของพรรคเป็นธรรม—ไม่ว่าจะเป็นการเสนอถอนทหาร ยกเลิกกฎหมายพิเศษ หรือผลักดันให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ปกครองตนเอง ทั้งหมดล้วนเป็นกลยุทธ์บ่อนเซาะอำนาจรัฐไทยอย่างเป็นระบบ ภายใต้ฉากหน้าคำว่า "สิทธิมนุษยชน" และ "สันติภาพ"

ล่าสุด ขบวนการนี้ยังไม่หยุดพัก เมื่อมีการจัดงาน Green Melayu 2025 โดยอ้างว่าเป็น “กิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม” แต่ในความเป็นจริง เวทีนี้กลับเต็มไปด้วยถ้อยคำปลุกใจเสือป่าในนาม “ราชอาณาจักรปาตานี” พูดถึงอัตลักษณ์ มรดกแผ่นดิน และอำนาจที่ “ต้องทวงคืน”

ผู้ปราศรัยอย่าง มูฮัมหมัดอาราดี เด็งนิ และ ฮาซัน ยามาดีบุ แม้จะถูกมองว่าเป็น “หน้าใหม่” ในสายตาคนนอก แต่ความจริงแล้ว พวกเขาคือ “คนกันเอง” ในเครือข่ายเดียวกับ รอมฎอน ปันจอ และ กัณวีร์ สืบแสง ตัวละครชุดเดิมที่แค่เปลี่ยนเวที เปลี่ยนฉากหน้า

จะเป็นพรรคประชาชนที่ล่มไป หรือพรรคเป็นธรรมที่ยังวิ่งอยู่
จะเป็นเวทีสิทธิมนุษยชน หรือเวทีสิ่งแวดล้อม
จะเป็นงานวิชาการ หรือกิจกรรมวัฒนธรรม

ทั้งหมดล้วนเป็นมุกเก่าในบทใหม่
ทั้งหมดล้วนเป็นคนกันเองที่เปลี่ยนหน้ากากตามสถานการณ์

และเป้าหมายก็ยังไม่เปลี่ยน—ท้าทายอำนาจรัฐไทย และแยกดินแดนในทางอุดมการณ์โดยไม่ต้องใช้ปืนแม้แต่นัดเดียว

พวกเขาอาจเรียกมันว่า “กิจกรรมของคนรุ่นใหม่”

แต่ข้าพเจ้าเห็นชัดว่า มันคือยุทธศาสตร์เดิม ที่เปลี่ยนแค่คนพูด ไม่เคยเปลี่ยนคนเขียนบท

‘ดร.รัชดา’ โพสต์เฟซ!! ‘ทักษิณ’ เป็นพ่อที่ใจร้าย เห็นแก่ความสุขสบาย ของตัวเอง ชี้!! ทำลายคุณค่าของลูกสาว เพิ่มความเอือมระอา เกลียดชัง สุดท้ายจะเหลืออะไร

(7 เม.ย. 68) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชดา ธนาดิเรก อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้โพสต์ข้อความโดยมีใจความว่า …

ไล่เลย ให้มันรู้กันไป #ไม่เอาคาสิโน

ทักษิณเป็นพ่อที่ใจร้ายและเห็นแก่ความสุขสบายของตัวเองเป็นที่ตั้ง ชอบอวดอหังการ์ แต่ละวันมีแต่ทำลายคุณค่าลูกสาว ลำพังลูกจะประคองตัวเองก็จะไม่ไหวอยู่แล้ว ได้พ่อมาเสริมเพิ่มความเอือมระอาเกลียดชังอย่างไม่แผ่วเช่นนี้ สุดท้ายจะเหลืออะไร

‘โอเดสซา’ เป้าหมายสำคัญ!! ทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลต่อพลังอำนาจ คุมเมืองนี้ได้!! หมายถึง การปิดล้อมยูเครน จากทะเลโดยสมบูรณ์

(7 เม.ย. 68) เมืองโอเดสซา (Odesa) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของยูเครนริมฝั่งทะเลดำ เป็นหนึ่งในเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน เนื่องจากบทบาททั้งทางเศรษฐกิจ การทหาร และประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า หากโอเดสซาถูกยึดครองโดยรัสเซีย ความมั่นคงของยูเครนและโครงสร้างพลังงาน-การค้าของยุโรปจะถูกเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง

เราสามารถเห็นตลอดสงครามที่ผ่านมาโอเดสซาเป็นเป้าหมายสำคัญของการการโจมตีของฝั่งรัสเซียมาโดยตลอด เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่าโอเดสซามีความสำคัญ 5 ด้านด้วยกัน

1) โอเดสซาเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลและการค้าโลก
โอเดสซา (Odessa หรือ Odesa) ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลดำในตอนใต้ของยูเครน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก ทำเลของโอเดสซาเอื้อให้เมืองนี้ทำหน้าที่เป็น “ประตู” สำคัญของยูเครนในการเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นๆ ได้แก่ ยุโรปตอนใต้ (ผ่านช่องแคบบอสฟอรัส) ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ (ผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) รวมถึงเครือรัฐเอกราช (CIS) และตลาดยูเรเซียน ในแง่นี้ โอเดสซาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ และ จุดผ่านส่งออกสินค้าเกษตร พลังงาน และสินค้าอุตสาหกรรมของยูเครน โดยเฉพาะธัญพืช เช่น ข้าวโพดและข้าวสาลี ซึ่งยูเครนถือเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก

ท่าเรือโอเดสซา (Odesa Port) เป็นหนึ่งในท่าเรือเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของทะเลดำ โดยมีโครงสร้างพื้นฐานครบครันทั้งสำหรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ สินค้าเหลว สินค้าเทกอง และเรือโดยสารรองรับการขนส่งมากกว่า 40 ล้านตันต่อปี เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายรางและถนนที่เชื่อมต่อกับยุโรปตะวันออก มีเขตปลอดภาษีและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ เมื่อเทียบกับท่าเรืออื่น ๆ เช่น มิโคลาอีฟ(Mykolaiv) หรือ โครโนมอรสก์ Chornomorsk โอเดสซามีบทบาทสำคัญกว่าทั้งในแง่ของขนาด ความสามารถในการรองรับเรือขนาดใหญ่และการเป็นศูนย์ควบคุมด้านการค้า

โอเดสซาจึงเป็นท่าเรือใหญ่ที่สุดของยูเครนและมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ เป็นท่าเรือส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด และน้ำมันพืช ไปยังตลาดโลก โดยเฉพาะในแอฟริกาและตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีบทบาทสำคัญใน "ข้อตกลงธัญพืช" (Black Sea Grain Initiative) ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างยูเครน–ตุรกี–สหประชาชาติ–รัสเซีย เพื่อให้การส่งออกผ่านทะเลดำดำเนินต่อไปได้แม้ในช่วงสงคราม หากโอเดสซาถูกปิดล้อมหรือยึดโดยรัสเซียจะทำให้ระบบส่งออกของยูเครนล่มสลาย และตลาดอาหารโลกเกิดความปั่นป่วน แสดงให้เห็นว่าโอเดสซาไม่ได้มีความสำคัญเพียงสำหรับยูเครนหรือรัสเซียเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อ เสถียรภาพทางอาหารของโลกโดยตรงอีกด้วย

2) โอเดสซาเป็นจุดเชื่อมสำคัญของ NATO และตะวันตก
โอเดสซาอยู่ใกล้พรมแดนมอลโดวาและอยู่ไม่ไกลจากกลุ่มประเทศ NATO ในยุโรปตะวันออก เช่น โรมาเนียและบัลแกเรีย ดังนั้นโอเดสซาจึงมีบทบาทเป็นแนวหน้าในการต้านการขยายอิทธิพลของรัสเซียทางทะเล การควบคุมโอเดสซาจะทำให้รัสเซียสามารถคุกคามน่านน้ำของ NATO ได้มากขึ้น และอาจกลายเป็นจุดตัดเส้นทางการขนส่งยุทโธปกรณ์และความช่วยเหลือจากตะวันตกผ่านทะเลดำ

3) การเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ "Land Bridge" สู่ทรานส์นิสเตรีย
ทรานส์นีสเตรีย (หรือ “ПМР” – Приднестровская Молдавская Республика) เป็นดินแดนที่ประกาศเอกราชจากมอลโดวาในช่วงหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย และยังคงมีทหารรัสเซียประจำการอยู่ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยไม่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทรานส์นิสเตรียมีประชากรเชื้อสายรัสเซียและยูเครนจำนวนมาก มีรัฐบาลเฉพาะกิจและนโยบายที่ใกล้ชิดกับเครมลิน มีกองกำลังรัสเซียจำนวน1,500 นายประจำการในนาม “กองกำลังรักษาสันติภาพ” ดังนั้น ทรานส์นีสเตรียจึงเป็น “ด่านหน้าของรัสเซีย” ในยุโรปตะวันออก และอาจกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการขยายอิทธิพลไปยังมอลโดวาและคาบสมุทรบอลข่าน

ในบริบทของสงครามรัสเซีย–ยูเครน แนวคิด “Land Bridge” หมายถึงการสร้างแนวต่อเนื่องของพื้นที่ควบคุมทางบกของรัสเซียจากดอนบาส ผ่านแคว้นเคอร์ซอน–ซาปอริซเซีย–ไครเมีย และลงมาทางโอเดสซา จนไปถึง ทรานส์นีสเตรีย (Transnistria) — ดินแดนที่รัสเซียให้การสนับสนุนอย่างไม่เป็นทางการในมอลโดวาตะวันออก หากรัสเซียสามารถควบคุมดินแดนนี้ได้ทั้งหมด จะทำให้เกิด “โค้งอิทธิพล” เชิงพื้นที่ที่เชื่อมรัสเซียกับดินแดนมอลโดวาตะวันออกโดยไม่ขาดตอน สามารถเสริมเส้นทางส่งกำลังทหาร/ข่าวกรอง/ทรัพยากร ระหว่างรัสเซีย–ไครเมีย–ทรานส์นีสเตรีย โดยไม่พึ่งทางอากาศหรือทะเลที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตี ซึ่งถือเป็นชัยชนะเชิงภูมิรัฐศาสตร์สำคัญ สามารถเชื่อมอิทธิพลทางทหารจากทะเลดำเข้าสู่ยุโรปตะวันออกตอนล่างและปิดกั้นทางออกทะเลของยูเครนอย่างสมบูรณ์ นี่จึงเป็นหนึ่งใน “Grand Strategy” ของรัสเซีย ที่ไม่ได้หยุดแค่ดอนบาสหรือไครเมีย แต่ครอบคลุมถึงการสร้าง “แนวต่อเนื่องแห่งอิทธิพล” บนแผ่นดินยุโรปตะวันออก

ซึ่งเห็นได้ชัดจากคำกล่าวของ พลโทรุสตัม มินเนคาเยฟ (Rustam Minnekayev) รองผู้บัญชาการกองทัพภาคกลางของรัสเซีย ที่กล่าวต่อสาธารณะในปี 2022 ว่า “เป้าหมายประการหนึ่งของปฏิบัติการทางทหารพิเศษคือการสร้างการควบคุมอย่างเต็มรูปแบบเหนือพื้นที่ทางใต้ของยูเครน ซึ่งจะช่วยให้มีทางออกอื่นสำหรับทรานส์นีสเตรีย” แสดงให้เห็นว่า "Land Bridge" ไม่ใช่แนวคิดสมมุติ แต่เป็น เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ที่อยู่ในการพิจารณาของกองทัพรัสเซีย

4) ความหมายเชิงประวัติศาสตร์และสัญลักษณ์
โอเดสซาเป็นเมืองที่มีความสำคัญในสมัยจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียต มีประชากรรัสเซียจำนวนมากในอดีต แม้ว่ายูเครนจะเป็นรัฐอธิปไตยตั้งแต่ปี 1991 แต่โอเดสซายังคงมีประชากรจำนวนมากที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นหลัก และมีประวัติของการสนับสนุนแนวคิดนิยมรัสเซียในบางช่วงเวลา หลังการปฏิวัติยูโรไมดานในปี 2014 และการผนวกไครเมียโดยรัสเซีย มีความตึงเครียดในโอเดสซาระหว่างกลุ่มสนับสนุนยูเครนกับกลุ่มนิยมรัสเซีย เช่นเหตุการณ์ไฟไหม้อาคารสหภาพแรงงานในเดือนพฤษภาคม 2014 ที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 40 ราย เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่รัสเซียใช้เพื่อชี้ถึงการ “ปราบปรามชาวรัสเซีย” ในยูเครน

นอกจากนี้เป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม การค้า และการทหารที่เคยเป็นของจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ศตวรรษที่ 18  โอเดสซาก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1794 โดยคำสั่งของจักรพรรดินีแคเธอรีนมหาราชา หลังจากรัสเซียได้ดินแดนจากอาณาจักรออตโตมันผ่านสงคราม ในช่วงศตวรรษที่ 19 เมืองนี้กลายเป็นท่าเรือสำคัญและเมืองพหุวัฒนธรรมภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย มีบทบาทโดดเด่นในระบบเศรษฐกิจของจักรวรรดิและในเวลาต่อมาของสหภาพโซเวียต โดยมีประชากรพูดภาษารัสเซียจำนวนมาก สถาปัตยกรรม วรรณกรรม และชีวิตทางวัฒนธรรมของโอเดสซาสะท้อนอัตลักษณ์รัสเซียอย่างลึกซึ้ง โอเดสซายังเป็นบ้านของนักเขียนชื่อดัง เช่น อิสฮัก บาเบล (Isaac Babel) ซึ่งสะท้อนภาพเมืองในฐานะศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของรัสเซียทางตอนใต้

ดังนั้นโอเดสซาจึงเป็นเป้าหมายสำคัญใน “นโยบายรวมชาติชาวรัสเซีย” (русский мир) หรือ “Russian World” ของเครมลินซึ่งเป็นแนวคิดเชิงภูมิรัฐศาสตร์-วัฒนธรรมที่กลายมาเป็นรากฐานสำคัญของนโยบายต่างประเทศของรัสเซียภายใต้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 2000 เป็นต้นมา แนวคิดนี้เสนอว่ารัสเซียมีหน้าที่และสิทธิในการปกป้อง “โลกของชาวรัสเซีย” ซึ่งหมายถึงประชาชนเชื้อสายรัสเซีย ชาวสลาฟอีสเทิร์น-ออร์โธดอกซ์ และผู้ใช้ภาษารัสเซียในประเทศอื่น ๆ ของอดีตสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะในยูเครน เบลารุส คาซัคสถาน และประเทศในคอเคซัสและบอลติก ภายใต้นโยบาย (русский мир) โอเดสซาไม่ได้ถูกมองเพียงในมิติภูมิรัฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นการ “กู้คืน” เมืองประวัติศาสตร์ที่ถูก “แยก” ออกจากโลกของรัสเซียโดยความผิดพลาดของประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะในมุมมองของผู้นำรัสเซียซึ่งเชื่อว่าการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเป็น “โศกนาฏกรรม” ทางภูมิรัฐศาสตร์ ในปี 2021 ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินได้เขียนบทความชื่อว่า “On the Historical Unity of Russians and Ukrainians” ซึ่งกล่าวถึงยูเครนว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “โลกเดียวกัน” กับรัสเซีย เมืองอย่างโอเดสซาจึงถูกตีความว่าเป็น “เมืองรัสเซียโดยธรรมชาติ” ที่ควรกลับคืนสู่โลกของรัสเซีย

5) สถานการณ์ทางทหารและการโจมตี
ตั้งแต่เริ่มสงครามในปี 2022 โอเดสซาเป็นเป้าหมายของขีปนาวุธจากรัสเซียซ้ำแล้วซ้ำเล่า โครงสร้างพื้นฐานพลังงานและท่าเรือถูกโจมตีหลายครั้งมีความพยายามในการใช้โดรนโจมตีท่าเรือและโกดังธัญพืชอย่างต่อเนื่องเป็นจุดที่ยูเครนพยายามตั้งระบบป้องกันทางอากาศอย่างเข้มข้น 

โดยเหตุการณ์การโจมตีที่สำคัญมีดังนี้

6 มีนาคม 2024: ขีปนาวุธของรัสเซียระเบิดใกล้กับสถานที่ที่ประธานาธิบดียูเครน โวโลดีมีร์ เซเลนสกี และนายกรัฐมนตรีกรีซ คีเรียกอส มิตโซตากิส กำลังประชุมกันในโอเดสซา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน

17 พฤศจิกายน 2024: รัสเซียเปิดฉากการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2024 โดยยิงขีปนาวุธประมาณ 120 ลูกและโดรน 90 ลำ ไปยังเมืองต่าง ๆ ทั่วยูเครน รวมถึงโอเดสซา การโจมตีครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คนในโอเดสซา และตัดการจ่ายน้ำและไฟฟ้าในเมือง 

18 พฤศจิกายน 2024: ขีปนาวุธของรัสเซียโจมตีโอเดสซา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน และบาดเจ็บ 44 คน โดยผู้เสียชีวิตรวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ 7 นาย เจ้าหน้าที่การแพทย์ 1 คน และพลเรือน 2 คน 

31 มกราคม 2025: รัสเซียยิงขีปนาวุธใส่ศูนย์กลางประวัติศาสตร์ของโอเดสซา ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลกของยูเนสโก ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 7 คน และสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่ออาคารประวัติศาสตร์ 

11 มีนาคม 2025: การโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซียทำให้เรือบรรทุกสินค้าธัญพืชในท่าเรือโอเดสซาได้รับความเสียหาย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน 

21 มีนาคม 2025: รัสเซียเปิดฉากการโจมตีด้วยโดรนครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งต่อโอเดสซา ทำให้เกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่และมีผู้บาดเจ็บ 3 คน
การโจมตีต่อเมืองนี้สะท้อนถึงความพยายามของรัสเซียในการควบคุมเส้นทางการค้าและตัดยูเครนออกจากการเข้าถึงทางทะเล

สรุป โอเดสซาไม่ได้เป็นเพียงเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจของยูเครนเท่านั้น แต่คือ "จุดยุทธศาสตร์" ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลต่อโครงสร้างพลังอำนาจในทะเลดำและยูเรเซีย เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อทั้ง การทหาร เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง ในสงครามรัสเซีย–ยูเครน การควบคุมเมืองนี้จะทำให้รัสเซียได้เปรียบเชิงโครงสร้างทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ การยึดครองโอเดสซาอาจหมายถึงการปิดล้อมยูเครนจากทะเลโดยสมบูรณ์ และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในสมดุลอำนาจระหว่างรัสเซียกับตะวันตก ขณะที่สำหรับยูเครน การรักษาโอเดสซาไว้ได้ คือการคงไว้ซึ่งเส้นทางสู่ทะเลดำและความอยู่รอดในระดับชาติ

การที่ชาติหนึ่ง จะหวังให้อีกชาติหนึ่ง มาคอยเป็นพี่เลี้ยง หรือคุ้มครอง ไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้อง เราต้องพึ่งตนเอง

(7 เม.ย. 68) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชดา ธนาดิเรก อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก โดยมีใจความว่า …

ทักทายจากฟิลิปปินส์ค่ะ มาร่วมงานเสวนา “South China Sea disputes under Trump 2.0: Finding a common ground among claimant states.”

ในวงเสวนาพูดกันเยอะว่าการที่ชาติหนึ่งจะหวังให้อีกชาติหนึ่งมาคอยเป็นพี่เลี้ยงหรือคุ้มครองไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้อง เราต้องพึ่งตนเองและสร้างพันธมิตรในการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศโดยที่ไม่ต้องรบกัน…อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งในเรื่องพื้นที่ทางทะเลก็ควรจำกัดวงไว้ ไม่ยกระดับเป็นความขัดแย้งอื่นเพราะมันจะมีผลต่อเศรษฐกิจและความเสียหายอื่นได้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top