Monday, 19 May 2025
ค้นหา พบ 48181 ที่เกี่ยวข้อง

‘บริษัทเถ้าแก่น้อยฯ’ ออกแถลงการณ์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ ‘ร้านอาหารชาบูเถ้าแก่น้อย’ หลังเกิดความเข้าใจผิด มีกระแสทัวร์ลง!! โยงการเสียชีวิตของ ‘แบงค์ เลสเตอร์’

(28 ธ.ค. 67) จากกรณีการเสียชีวิตของ นายธนาคาร คันธี อายุ 27 ปี หรือ ‘แบงค์ เลสเตอร์’ อินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งคาดว่าเกิดจากการดื่มสุราในปริมาณมาก

ต่อมาทางโลกโซเชียลฯ ได้มีการขุดภาพของ ‘เอ็ม เอกชาติ’ และกลุ่มเพื่อน แก๊งวันว่าง ๆ รวมถึง ยูแปดริ้ว กำลังกระทำการกลั่นแกล้ง แบงค์ เลสเตอร์ บริเวณหน้าร้านชาบูแห่งหนึ่ง สาขาใน จ.ชลบุรี จนกระทั่งทัวร์ลงเพจร้าน และเกิดกระแสแบนร้าน ขณะที่บางส่วนก็เข้าใจผิดว่าเกี่ยวข้องกับแบรนด์สาหร่ายเจ้าดัง

ล่าสุดทางด้าน เพจ ‘Taokaenoi Club’ ได้โพสต์แถลงการณ์ ระบุข้อความว่า … 

ประกาศ ตามที่เกิดความไม่เข้าใจในกลุ่มลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่าย ในเครื่องหมายการค้า ‘เถ้าแก่น้อย’ รวมถึงสินค้าหรือบริการอื่นของบริษัทในเครือ

บริษัทฯ ขอเรียนให้ทุกท่านทราบว่า บริษัทฯ มิได้เป็นเจ้าของ หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้นกับ ‘ร้านอาหารชาบูเถ้าแก่น้อย’ ที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้

เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนต่อสาธารณชนเพิ่มขึ้น บริษัทฯ ใคร่ขอความร่วมมือจากทุกท่าน งดเว้นการกล่าวหรือพาดพิงถึง บริษัทฯ และชื่อสินค้าเถ้าแก่น้อย ในประการที่อาจทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับข่าวดังกล่าว

ขอขอบพระคุณทุกท่านในความร่วมมือ

‘เจือ ราชสีห์’ แจ้งข่าวดีรับปีใหม่ เดินหน้า!! ‘โครงการสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา’ เพื่อเชื่อม ‘อ.เมืองสงขลา - อ.สิงหนคร’ คาด!! เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ ทางการท่องเที่ยว

(28 ธ.ค. 67) นายเจือ ราชสีห์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมประชุมคณะทำงานศึกษาความเหมาะสมในเบื้องต้นโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา เพื่อเชื่อมอำเภอเมืองสงขลากับอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยมีนายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในที่ประชุม 

สำหรับโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาฯ ดังกล่าว ได้ริเริ่มโครงการหลังจากที่นายเจือ ราชสีห์ ได้หารือในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี(ในขณะนั้น) ได้เดินทางลงพื้นที่ เพื่อสำรวจความเหมาะสมเบื้องต้นด้วยตัวเอง และจังหวัดสงขลาได้แต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงาน โดยได้มีการสอบถามความต้องการของประชาชน ประกอบกับนายเจือ ราชสีห์ ได้จัดส่งรายชื่อประชาชนชาวสงขลา ผู้ได้รับผลกระทบซึ่งเดิมนั้นต้องใช้บริการแพขนานยนต์ข้ามฟากที่ให้บริการโดย อบจ.สงขลา ที่บางครั้งประสบปัญหาความล่าช้า แพเสียกะทันหัน ทำให้ต้องรอคิวเป็นเวลานาน ส่งผลกระทบทั้งเรื่องของการเรียนและการทำงานและผู้สนับสนุนให้มีการก่อสร้างสะพานฯ จำนวนกว่า 4 หมื่นรายชื่อเพื่อเป็นเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา เพื่อแก้ปัญหาการสัญจร และหวังเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ทางการท่องเที่ยว

ล่าสุด ในที่ประชุม นายวีรเดช ชีวาพัฒนานุวงศ์ วิศวกรใหญ่ด้านสำรวจและออกแบบ คณะทำงานฯตัวแทนกรมทางหลวงชนบท ได้นำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นและจะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ Feasibility Study ในความเหมาะสมด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยกรมทางหลวงชนบทจะเสนอโครงการขอรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2569 จำนวน 9 ล้านบาท

‘กบฏบวรเดช’ ประวัติศาสตร์ที่ต้องมองให้รอบด้าน!! หลังมีนักวิชาการ สร้างความเชื่อที่ผิด ทำลายข้อเท็จจริง

‘กบฏบวรเดช’ ประวัติศาสตร์ที่ต้องมองรอบด้าน

ในวงสนทนาทางวิชาการบางท่าน...ก็ มีผู้พยายามแสดงความเห็นว่า "...การพ่ายแพ้ของกบฏบวรเดชในปี 2476 คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ประชาธิปไตยในประเทศไทยตั้งมั่นอย่างมั่นคง.."

นี่คือแนวคิดที่ข้าพเจ้าขอทักท้วง ....
เพราะการมองว่าฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้นเป็น "ผู้พิทักษ์ประชาธิปไตย" และฝ่ายบวรเดชเป็น 'ผู้ทำลาย' เป็นการลดทอนความซับซ้อนของบริบทและข้อเท็จจริงในช่วงเวลานั้น

เพื่อให้เข้าใจบริบทของเหตุการณ์นี้อย่างถ่องแท้ เรา จำเป็นต้องย้อนกลับไปพิจารณาภาพรวมของการได้มาซึ่งประชาธิปไตยในสังคมไทย และความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงเวลานั้น

การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 นำโดยกลุ่มคณะผู้ก่อการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งรวมถึงบุคคลสำคัญเช่น พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิอัคเนย์ และ พระประศาสน์พิทยายุทธ ...อีกทั้งยังต้องนับรวมไปถึงพระองค์เจ้าบวรเดชอีกด้วย นะครับ!!!

บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่มีแนวคิดอยากเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่ระบบรัฐธรรมนูญที่คล้ายคลึงกับประเทศอังกฤษ ซึ่งมีการถ่วงดุลอำนาจระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชน อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้กลับถูกสั่นคลอนเมื่อแนวคิดของของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม(อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ )ซึ่งนำเสนอระบบที่ใกล้เคียงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงเดียวกัน ช่วงชิงการนำในวันปฏิวัติ เกิดเป็นประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 นั่นเอง

ความขัดแย้งเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 7 ทรงทักท้วงแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของอาจารย์ปรีดีและแสดงความกังวลในเอกสาร ‘สมุดปกเหลือง’ ทรงเห็นว่าระบบที่กำลังจะเกิดขึ้นอาจไม่เหมาะสมกับประเทศไทยที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยและสิทธิหน้าที่ของพลเมือง ข้อทักท้วงเหล่านี้กลับสร้างความตึงเครียดระหว่างกลุ่มผู้นำของคณะราษฎร และแบ่งแยกมุมมองระหว่างทหารและประชาชน จะเห็นได้ว่าคณะราษฎรใน ณ ที่นี้ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่มีแนวความคิดแบบอังกฤษ กับอีกกลุ่มนึงมีแนวความคิดแบบที่นำลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาประยุกต์ใช้

ในตอนที่เหตุการณ์การก่อกบฏของพระองค์เจ้าบวรเดชเกิดขึ้นนั้น...
คณะบวรเดชเกิดขึ้นจากกลุ่มผู้นำทหารที่ไม่พอใจกับแนวทางการบริหารของคณะราษฎร นำโดยพระองค์เจ้าบวรเดชและพระยาศรีสิทธิสงคราม ซึ่งมองว่ารัฐบาลในขณะนั้นเริ่มละเลยหลักการที่ควรจะสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้ประสานงานแห่งชาติ แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายคณะราษฎรและฝ่ายคณะบวรเดช ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ในนามของพระเจ้าแผ่นดินเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวของตน

การสู้รบที่เกิดขึ้นกลายเป็นสงครามกลางเมืองในท้ายที่สุดส่งผลให้ฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้ชนะ แต่ความสูญเสียในครั้งนี้มิได้จำกัดอยู่เพียงในแง่ชีวิตและทรัพย์สิน แต่ยังส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ความขัดแย้งภายในและการต่อสู้ที่อ้างประชาธิปไตยกลับกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้สังคมไทยล้าหลังในเรื่องนี้

ฝ่ายที่ชนะใช้เงื่อนไขที่ชนะกดดันรัชกาลที่ 7 ให้พระองค์ทรงรับผิดชอบกับการกระทำของฝ่ายกบฏโดยอ้างว่าพวกเขาได้รับการสนับสนุน จากสถาบันฯ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายบวรเดชก็ล้วนเป็นคนสนิทของรัชกาลที่ 7 ทั้งนั้น กลับไม่มีใครฟังพระองค์เลย...

‘บทเรียนจากอดีต’

เหตุการณ์กบฏบวรเดชไม่ได้เป็นเพียงความขัดแย้งทางการเมือง แต่ยังสะท้อนถึงรากเหง้าของปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เร่งรัดเกินไป โดยขาดการเตรียมพร้อมและความเข้าใจร่วมกันในสังคม ความพยายามของทั้งฝ่ายคณะราษฎรและฝ่ายบวรเดชล้วนมีเป้าหมายเพื่อปกป้องชาติในแนวทางที่แตกต่าง แต่การเดินทางสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงกลับถูกบิดเบือนด้วยความขัดแย้งและการแย่งชิงอำนาจ

บทเรียนสำคัญจากเหตุการณ์นี้คือ ประชาธิปไตยไม่สามารถตั้งมั่นได้ด้วยชัยชนะทางการทหารหรือการใช้ความรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้าม แต่ต้องเกิดจากความร่วมมือและการสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งในหมู่ประชาชน การละเลยเสียงของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เช่น รัชกาลที่ 7 ซึ่งทรงพยายามเตือนถึงความเสี่ยงของความแตกแยกในสังคม กลายเป็นสัญญาณเตือนถึงความล้มเหลวของการบริหารในเวลานั้น

การมองเหตุการณ์กบฏบวรเดชในมิติเดียวว่าเป็น ‘ชัยชนะของประชาธิปไตย’ อาจทำให้เราพลาดโอกาสที่จะเข้าใจความซับซ้อนของปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ยังคงส่งผลกระทบต่อการเมืองไทยจนถึงปัจจุบัน อดีตไม่ได้มีไว้เพื่อโต้แย้งหรือกล่าวโทษ แต่มีไว้เพื่อเรียนรู้และหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในอนาคต หากเราต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง เราต้องฟังและเข้าใจเสียงของทุกฝ่ายในสังคม เพื่อสร้างอนาคตที่สมดุลและยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม แถลง!! ผลการหารือกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร เผย!! พูดคุยประเด็นสำคัญในภูมิภาค เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การสร้างสันติภาพในภาคใต้

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม เปิดใจเชื่อ ความเจนจัดของอดีตผู้นำไทย ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีเครือข่ายกว้างขวางไปทั่วภูมิภาคจะเป็นประโยชน์ต่อ 'มาเลเซีย' ที่กำลังจะนั่งในตำแหน่งประธานอาเซียนแบบหมุนเวียนคนใหม่ในปี 2025

และเสริมว่า ผู้นำทั้งสองพบกันในวันพฤหัสบดี (26) โดยบลูมเบิร์กกล่าวว่า ประเด็นการหารือประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญของภูมิภาค รวมไปถึงการเสริมสร้างสันติภาพในภาคใต้ของไทยและต่อวิกฤตพม่า

“เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่มีใครเทียบเคียงของคุณทักษิณไปทั่วทั้งภูมิภาคพร้อมไปด้วยความเชี่ยวชาญที่พิเศษที่โดดเด่นของเขานั้นเป็นเสมือนการสัญญาต่อโอกาสที่มีคุณค่ามหาศาลสำหรับทั้งมาเลเซียและอาเซียน เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายด้วยความเชื่อมั่นและความสามารถที่มากขึ้น” 

อันวาร์ซึ่งเรียกอดีตนายกฯ ไทยว่า ‘เพื่อนรัก’ ดูเหมือนว่าเขาจะไม่มีความรู้สึกวิตกต่อปัญหาทางกฎหมายและการเมืองในไทยที่รุมล้อมอดีตผู้นำไทยที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองนาน 15 ปีจากการโดนทำรัฐประหาร ซึ่งมีประวัติทำความผิดคอร์รัปชันและสามารถรอมชอมกับทหารได้ ก่อนได้รับพระราชทานอภัยโทษในเวลาต่อมา

และหลังจากที่นายกฯ อันวาแต่งตั้งทักษิณเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนในฐานะหนึ่งในที่ปรึกษาส่วนตัวในการนั่งทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนครั้งแรกกลับพบกับเสียงวิจารณ์จากทั้งในไทยและในมาเลเซีย และรวมไปสื่อนอกเช่น รอยเตอร์

มีการหยิบยกการเปรียบเทียบให้เห็นเหมือนเมื่อครั้งการได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียและความสัมพันธ์กับฮุนเซน ย้อนให้นึกถึงครั้งที่ ทักษิณ ได้รับการแต่งตั้งจากฮุนเซน ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของรัฐบาลกัมพูชา แต่หลังจากนั้นไม่นานทักษิณประกาศลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างของฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากกัมพูชามีข้อพิพาททางทะเลกับไทยในเรื่องเกาะกูด

ขณะที่ฝ่ายค้านมาเลเซียเองออกมาถามอาเซียนจะได้ประโยชน์จริงหรือและจะเสริมภาพลักษณ์ของอันวาร์ได้อย่างไร ซัดตั้งคนที่ถูกพิพากษาจำคุกฐานใช้อำนาจโดยมิชอบ ทำไมไม่ตั้งนักการทูตหรือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ด้าน ‘ดร.มหาเธร์’ งง ทำไมเลือกทักษิณ ทั้งที่มีคนอื่นมากมาย

ซึ่งการพบกันระหว่าง 2 ผู้นำมาเลเซีย-ไทยนี้เป็นที่จับตาเป็นวงกว้างโดยเฉพาะจากโลกตะวันตก เกิดขึ้นหลังสื่อ TASS ของรัสเซียรายงานวันพุธ (25) เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยได้ตอบรับการเป็นประเทศหุ้นส่วนของกลุ่ม BRICS (BRICS partner country) ซึ่งเป็นก้าวที่จะนำไปสู่การเป็นสมาชิกเต็มตัวในอนาคต

กลายเป็นคำถามให้ผู้เชี่ยวชาญว่า กลุ่มอาเซียน 10 ชาติซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1967 นี้จะยังคงวางตัวเป็นกลางอย่างไรในเมื่อ 3 ชาติจากทั้งหมดได้แก่ มาเลเซีย ซึ่งกำลังจะเป็นประธานอาเซียน รวมไทย ที่มีอดีตนายกฯ นั่งเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของประธานอาเซียน และอินโดนีเซียนั้นกำลังจะเป็นหุ้นส่วนกับรัสเซีย-จีนผ่านกลุ่ม BRICS

สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า นักวิเคราะห์ต่างชี้ว่า ในฐานะเป็นประธานอาเซียน อันวาร์และมาเลเซียจะผงาดบนเวทีโลกในฐานะชาติมหาอำนาจตัวกลาง (middle power) โดยในการจำกัดความที่หมายถึงประเทศที่ยังไม่มีอิทธิพลโดดเด่นในฐานะชาติมหาอำนาจโลก เช่น สหรัฐฯ จีน รัสเซีย แต่ถูกพิจารณาว่ามีอิทธิพลในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การทูตของนายกฯ อันวาร์รวมถึงการไปเยือนอเมริกาใต้เพื่อประชุมเอเปกและการประชุม G-20 สะท้อนถึงการสร้างที่ยืนของมาเลเซียและเขาบนเวทีโลกและแผนสำหรับการนำอาเซียนในปี 2025

เรดิโอฟรีเอเชียชี้ว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย มักจะย้ำเสมอในการให้สำคัญต่ออาเซียนและกลไกของอาเซียนต่อเป้าหมายในการทำให้มีความเหมาะสมมากขึ้นสำหรับความพยายามอย่างเคลื่อนไหวภายในโลกขั้วใต้ (Global South) ซึ่งโลกขั้วใต้นี้ปักกิ่งได้ประกาศแสดงความเป็นผู้นำ

และเป็นเสมือนสิ่งสำคัญสำหรับผู้นำแดนเสือเหลืองที่ต้องทำให้มั่นใจว่า กลุ่มอาเซียนจะไม่เพียงแต่เป็นกลาง แต่ต้องถูกมองให้เป็นเช่นนั้นด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Matthijs van den Broek แสดงความเห็น

และเสริมว่า ในขณะที่ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาข่มขู่ว่าจะตั้งกำแพงภาษีสูงลิ่วต่อประเทศใดๆ ที่เขาเชื่อว่ากำลังเป็นศัตรูกับดอลลาร์สหรัฐ หลังกลุ่ม BRICS วางแผนจะตั้งสกุลเงินใหม่ของตัวเอง

ทั้งจีนและสหรัฐฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการซื้อขายต่างชาติระดับต้นและเป็นพันธมิตรทางการลงทุน ดังนั้นแล้ว มาเลเซียในฐานะประธานต้องเพิ่มความสามารถทางการทูตของตัวเองเพื่อไม่ให้มีการทำให้รู้สึกทอดทิ้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

‘โนวัค ยอโควิช’ เดินทางมาเยือนภูเก็ต ‘ภราดร’ ต้อนรับ!! เพื่อนรักอย่างอบอุ่น

เมื่อวานนี้ (27 ธ.ค. 67) นักเทนนิส มือวางอันดับ 7 ของโลกชาวเซอร์เบีย เดินทางมาที่ ภูเก็ต ประเทศไทย พร้อมกับทีม เพื่อพักผ่อนในช่วงปิดฤดูกาล และฝึกซ้อมเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันในปี 2025 

ล่าสุด ‘ซุปเปอร์บอล’ ภราดร ศรีชาพันธุ์ อดีตนักเทนนิสมืออันดับ 9 ของโลก ได้โพสต์ภาพขณะโทรไปหา โนวัค ยอโควิช พร้อมข้อความว่า “ยินดีต้อนรับ โนวัค ยอโควิช และทีมสู่ ภูเก็ต ประเทศไทย ช่วงปิดฤดูกาลและการเตรียมตัวสำหรับปี 2025 ที่กำลังจะมาถึง

“หวังว่าคุณจะเพลิดเพลินกับเวลาที่อยู่ในประเทศไทย พร้อมกับการฝึกซ้อมที่ยอดเยี่ยมและการต้อนรับที่อบอุ่นที่นี่ โชคดีนะเพื่อน”

สำหรับ โนวัค ยอโควิช อดีตมือ 1 ของโลก เตรียมเริ่มต้นฤดูกาลแข่งขันใหม่ในปลายปี 2024 ด้วยการลงแข่งขันประเภทคู่กับ นิค คีร์เกียกอส ในศึกเทนนิสเอทีพี 250 รายการ บริสเบน อินเตอร์เนชั่นแนล ที่เมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2024 - 5 มกราคม 2025 ก่อนลงแข่งขันในรายการแกรนด์สแลมแรกของปีอย่าง ออสเตรเลียน โอเพ่น 2025 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-26 มกราคม 2025 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top