Saturday, 17 May 2025
ค้นหา พบ 48168 ที่เกี่ยวข้อง

‘พีระพันธุ์’ ชื่นชม ‘ครูน้อย’ สร้างนวัตกรรมใหม่ด้านพลังงาน เล็งต่อยอดหอกลั่นน้ำมันประจำอำเภอ ลดต้นทุนเกษตรกร

เมื่อไม่นานมานี้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา ได้พบกับนายทวีชัย ไกรดวง หรือ ‘ครูน้อย’ ผู้มีความสามารถด้านนวัตกรรม สามารถผลิตสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชน ตรงกับนโยบายของตน ที่มุ่งหวังจะลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนโดยใช้พลังงานทดแทน เช่น โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ การประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมเองในประเทศเพื่อลดต้นทุน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานน้ำ 

โดยครูน้อยสามารถผลิตน้ำมันจากยางพาราและขยะพลาสติกจากอุปกรณ์ที่คิดค้นและผลิตขึ้นเองสามารถผลิตน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลชั่วโมงละ 40 ลิตร โดยครูน้อยได้สาธิตการนำน้ำมันที่ผลิตได้ไปใช้กับรถมอเตอร์ไซค์และเครื่องมือทางการเกษตรซึ่งสามารถใช้งานได้ตามปกติ ทำให้นายพีระพันธุ์สนใจผลงานของครูน้อยที่เป็นนวัตกรรมของคนไทยเป็นอย่างมาก

โดยเมื่อ 23 ก.พ. 67 นายพีระพันธุ์ได้เชิญครูน้อยมาหารือเพิ่มเติมที่บ้านพิบูลธรรม เพื่อหาทางต่อยอดนวัตกรรมการผลิตน้ำมันจากยางพาราและขยะพลาสติกของครูน้อย และขอให้ครูน้อยช่วยออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงแดด พลังงานลม และพลังงานน้ำ สำหรับใช้ในครัวเรือนและในการเกษตรโดยจะให้เป็นเครื่องต้นแบบของกระทรวงพลังงานที่จะผลิตขายให้ประชาชนและเกษตรกรในราคาถูก

ทั้งนี้ นายทวีชัย ไกรดวง หรือ ครูน้อย ได้นำเสนอแบบการสร้างหอกลั่นน้ำมันที่สามารถผลิตน้ำมันจากยางพาราและขยะพลาสติกได้ถึงชั่วโมงละ 500 ลิตร และอยากจะให้เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ประจำแต่ละอำเภอเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันให้แก่ประชาชนและเกษตรกร โดยนายพีระพันธุ์ได้ให้การสนับสนุนและมอบให้นายณอคุณ สิทธิพงษ์ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีพลังงานเป็นผู้สนับสนุนพัฒนาเรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์และคุณภาพน้ำมันให้ดียิ่งขึ้น 

และมอบให้นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีพลังงานเป็นผู้ประสานงานให้เกิดความคล่องตัวและความรวดเร็วในการดำเนินการ นอกจากนี้นายพีระพันธุ์ได้มอบให้ครูน้อยไปคิดประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอร์รี่ที่จะผลิตขึ้นเองในประเทศเพื่อทำให้ราคาระบบผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์มีราคาถูกลงอีกด้วย 

โดยนายพีระพันธุ์เห็นว่าคนไทยจำนวนมากที่มีความสามารถด้านนวัตกรรมแต่ขาดโอกาสและการสนับสนุน หากคนเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจังจะสามารถมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นฝีมือของคนไทยที่น่าภาคภูมิใจ และสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ทุกระดับไม่ว่าจะเป็นชาวนา เกษตรกร ชาวประมง หรือประชาชนทั่วไปให้มีทางเลือกในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

ทำไม? ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ทรงต้องการปราสาทขอม  ประวัติศาสตร์เรื่องอาณานิคม ที่คนรุ่นใหม่เล่าไม่ครบบริบท 

เมื่อประมาณสักหลายเดือนก่อน ผมได้ลองอ่านเรื่องประวัติศาสตร์อ่านสนุก ๆ ในโลก Social Media ซึ่งเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และปราสาทนครวัดจำลองในพื้นที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งปราสาทจำลององค์นี้ ซึ่งพระองค์มีพระราชบัญชาให้ขุนนางได้จำลองมาไว้ แต่ประเด็นที่น่าสนใจไม่ใช่เรื่องราวของการนำเอาปราสาทนครวัดมาจำลองไว้ แต่มันเกี่ยวกับเรื่องของการรื้อถอนปราสาทหินจากเขมรเพื่อนำมาไว้ในสยาม แต่ประวัติศาสตร์อ่านสนุกนั้นไม่บอกไว้ว่าทำไม ? ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ถึงต้องรื้อปราสาทหินมาไว้ในพระนคร นอกจากพระองค์ยังทรงต้องการที่จะให้ชาวพระนครได้ชมปราสาทหินเขมร ซึ่งมันคือ 'เรื่องปลายทาง'

จากการไม่อธิบายตรงนั้น ทำให้หลายต่อหลายคนที่ได้มาอ่านก็คิดไปกันเองโดยไม่เข้าใจว่าในหลวงรัชกาลที่ ๔ เพียงแค่ต้องการปราสาทหินมาไว้ในพระนครเพื่อแสดงความเป็นเจ้าเหนือหัวของกษัตริย์เมืองเขมรที่เป็นประเทศราช ซึ่งผมมองว่าไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก หากจะเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ สมควรจะเล่าบริบทให้ครบ

'เรื่องต้นทาง'

ในช่วงรัชกาลที่ ๔  สยามเริ่มเข้าสู่ความเชี่ยวกรากของนักล่าอาณานิคมโดยเฉพาะ 'นักล่าหน้าใหม่' ซึ่งมีความกระหายในการ 'ล่าเมืองขึ้น' ไม่ให้น้อยหน้าชาติในยุโรปที่ออกมาหาเมืองขึ้นก่อนหน้านั่นก็คือฝรั่งเศส ซึ่งกระโดดเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังอังกฤษ แต่ต้องการแสดงแสนยานุภาพให้โลกเห็นว่าตนเองก็ไม่ธรรมดา และการหาเมืองขึ้นเพื่อเชื่อมโยงตั้งแต่ทะเลจีนใต้ไปถึงประเทศจีนเป็นหมุดหมายสำคัญของฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น 

หลังจากผ่านพ้นช่วงการเมืองอันวุ่นวาย ฝรั่งเศสก็มีแนวความคิดที่จะออกสู่โลกอันกว้างใหญ่เพื่อหาเมืองขึ้น โดยสร้างชมรมนักสำรวจโดยสมอ้างมันคือชมรมการสำรวจอารยธรรมเพื่อความรู้ใหม่ของชาติ แต่เอาจริง ๆ ก็คือการสำรวจเพื่อประเมินทรัพยากรก่อนเข้ายึดครองนั่นเอง ซึ่งหนึ่งในการสำรวจครั้งนั้นก็มี ญวณ เขมร และลาว ซึ่งทุกประเทศล้วนเกี่ยวข้องกับสยาม ซึ่งเรื่องเล่านี้เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงทราบกันเป็นอย่างดีแล้ว 

ภายหลังจากภาพชุดแรกของนักธรรมชาติฝรั่งเศสชื่อ อองรี มูโอต์ ได้วาดและระบายสีภาพ 'อังกอร์วัด' และเมืองโบราณาอื่น ๆ กว่า ๘๐๐ ภาพ ในช่วงปี ค.ศ. ๑๘๕๙ ก่อนนำไปตีพิมพ์ในวารสารเที่ยวรอบโลก Le Tour Du Monde ในช่วง ค.ศ. ๑๘๖๓ ซึ่งขณะที่มูโอต์ได้พบอังกอร์วัด กองทัพฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองญวณภาคใต้ได้สำเร็จ จากญวณก็พุ่งเป้าไปยังกัมพูชาเพื่อต่อยอดแผนอันทะเยอทะยานในการมีอิทธิพลเหนือภูมิภาคนี้แต่เพียงผู้เดียว โดย นาวาตรีโบนาร์ด ข้าหลวงใหญ่แห่งโคชินไชน่า ได้เข้าไปในนครเสียมราฐอย่างเงียบ ๆ เพื่อศึกษาลู่ทางต่าง ๆ โดยเขาพบว่า 'นครวัด' อันรกร้างเหมาะจะเป็น 'สัญลักษณ์' ที่เหมาะสมที่สุดแห่งความชอบธรรมของจักรวรรดินิยมฝรั่งเศส เพราะว่าฝรั่งเศสกำลังจะพลิกฟื้นซากแห่งอารยธรรมโบราณให้แก่ประเทศที่ขาดการพัฒนา เพียงแต่อังกอร์วัดยังเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่ชื่อว่า 'สยาม'

'เรื่องกลางทาง'

การที่ฝรั่งเศสเริ่มเข้ามาสนใจเขมรนั้น อยู่ในพระเนตรพระกรรณของในหลวงรัชกาลที่ ๔ มาตลอด พระองค์ทรงตระหนักถึงพิษภัยการคุกคามของฝรั่งเศสที่มีมากกว่าอังกฤษ แถมการทูตใด ๆ ก็ไม่สามารถระงับความอยากได้เขมรของฝรั่งเศสได้ เพราะฝรั่งเศสเดินเกมลุกอย่างหนักทั้งจากการเข้าเฝ้า 'สมเด็จพระนโรดมฯ พรหมบริรักษ์' เพื่อเสนอผลประโยชน์ที่เขมรจะได้รับหากแยกทางกับสยาม

การตอบโต้ฝรั่งเศสในครั้งนั้นของในหลวงรัชกาลที่ ๔ เพื่อตอบโต้การคุกคามของฝรั่งเศสในก็คือพระราชบัญชาให้ขุนนางไทยสำรวจปราสาทนครวัดอย่างถ้วนถี่ เพื่อรื้อถอนเข้ามายังสยาม แต่ในขณะที่สยามกำลังสำรวจนี้ ฝรั่งเศสได้ขนวัตถุโบราณออกจากเขมรไปอย่างต่อเนื่อง หลักฐานการขนสามารถดูได้จากหลักฐานของฝรั่งเศสเองซึ่งเยอะมาก ๆ 

แต่การตอบโต้แรกไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากปราสาทนครวัดนั้นใหญ่โตเกินไป แผนถัดไปจึงมีพระบรมราชโองการให้รื้อถอนปราสาทหินขนาดย่อม ๆ เข้ามาสัก ๒ หลัง โดยส่งกำลังพลถึง ๑,๐๐๐ คนเข้าไปโดยมุ่งไปที่ปราสาทพระขรรค์และปราสาทตาพรหม ซึ่งเรื่องเหล่านี้ถูกฝรั่งเศสเพ่งเล็งและรายงานไปยังข้าหลวงใหญ่ในโคชินไชน่าแทบจะทันที

ถ้าอ่านถึงตรงนี้หลายคนที่อ่านก็คงดรามากันแล้ว เหมือนจากเหตุต้นเรื่องที่ผมได้เล่ามา แต่พระบรมราโชบายนี้มีความลึกซึ้งกว่าที่เราจะมองเผิน ๆ ได้ เพราะเรามีปราสาทขอมในสยามที่ใกล้กรุงเทพฯ เยอะแยะ ทำไม ? ถึงต้องเอาปราสาทที่ไกลจากสยามออกถึงขนาดนั้น และไม่ใช่แค่พระองค์อยากนำปราสาทมาก่อไว้เพื่อเกียรติยศแต่อย่างใด

พระองค์ดำเนินพระราโชบายการรื้อถอนปราสาทหินเขมรเข้ามาเพื่อแสดงความเป็น 'เจ้าอธิราช' เหนือเขมรอย่างถูกต้องทั้งพฤตินัยและนิตินัย เพราะฝรั่งเศสในขณะนั้นเขามาลักกินขโมยกิน ทั้ง ๆ ที่ผู้สถาปนากษัตริย์เขมรคือพระมหากษัตริย์แห่งสยาม 

'เรื่องปลายทาง'

โครงการรื้อถอนปราสาทพระขรรค์และปราสาทตาพรหม ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากมีทหารป่าเขมรประมาณ ๓๐๐ คน เข้ามาโจมตีขุนนางสยามจนล้มตาย บาดเจ็บไปหลายคน แต่กระนั้นในหลวงรัชกาลที่ ๔ ยังคงมีพระราชบัญชาให้ดำเนินการต่อ 'เอาเข้ามาให้จงได้' เพราะเดิมครั้งนั้นคือการเสียบ้านเสียงเมืองในส่วนของเขมรซึ่งอยู่กับสยามมาอย่างยาวนานนับเนื่องมาถึง ๔ รัชกาล 

แต่ในท้ายที่สุดเหล่าขุนนาง เสนาบดีได้เข้าชื่อทำเรื่องทูลเกล้าฯ ขอพระราชทาน 'ระงับ' เพราะเหลือกำลังที่จะรื้อ หรือถ้ารื้อมาแล้วการประกอบขึ้นใหม่ถ้าทำแล้วไม่เหมือน ไม่สมบูรณ์ ก็จะเป็นการเสื่อมเสียพระเกียรติยศไปเสียอีก ทำให้เวลาต่อมาจึงได้ทรงมีพระราชบัญชาให้สร้างปราสาทนครวัดจำลอง ย่อส่วนลงมาไว้เป็นที่ระลึกภายในพื้นที่ของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังที่เราได้เห็นกันอยู่ถึงวันนี้

นอกเหนือการนำปราสาทหินเขมรเข้าในพระนคร ในหลวงรัชกาลที่ ๔ ยังคงมีสัญญาลับที่ทำกับเขมรในปี ค.ศ. ๑๘๖๓ เพื่อยังคงดำเนินการักษาอธิราชของสยามที่มีต่อเขมรไว้ แต่ฝรั่งเศสก็ขัดขวางไว้เช่นเคย โดยใช้เรือปืนมาข่มขู่สยามถึงปากน้ำเจ้าพระยาจนเราต้องยอม ส่วนทางเขมรฝรั่งเศสก็ส่งตัวแทนเข้าสู่ราชสำนักเขมรและเสนอผลประโยชน์เพื่อให้เขมรเลิกเป็นประเทศราชของสยาม และเป็นมาเป็นรัฐอารักขาของฝรั่งเศส 

สุดท้ายเขมรก็ตกลงเพราะประโยชน์ที่ได้มันค่อนข้างจะคุ้มค่ามาก ๆ ในช่วงเวลานั้น ทำให้การลักกิน ขโมยกินของฝรั่งเศสเป็นเรื่องถูกต้องทั้งทางพฤตินัยและนิตินัย สัญญาลับที่เราทำกับเขมรก็เป็นโมฆะไปโดยปริยาย แล้วฝรั่งเศสก็เดินหน้ายึดพื้นที่ไปเรื่อย ๆ จนพื้นที่ญวณ เขมร และลาวเป็นพื้นที่ในอารักขาของฝรั่งเศสไปทั้งหมด 

สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงดำเนินพระราโชบายและที่ทรงได้มีพระราชบัญชา เป็นการมองการณ์ไกล เพื่อแสดงความเป็นเจ้าอธิราชให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการรุกรานของฝรั่งเศสที่จะเกิดขึ้น เพราะหากฝรั่งเศสได้เขมร พื้นทื่อื่น ๆ ที่ติดกับเขมรย่อมต้องเสียตามไปอีกเป็นแน่แท้ แล้วการณ์ทุกอย่างก็เป็นอย่างที่พระองค์คาดไว้ จากนโยบายเรือปืนของฝรั่งเศส ที่เราได้ผลกระทบมาอย่างต่อเนื่องในอีกถึง ๒ รัชกาล

'จีน' ยกระดับ 184 โรงเรียน พัฒนาครั้งใหญ่ 'ฐานการศึกษา AI' บ่มเพาะความรู้ทางดิจิทัลแก่ 'ครู-เด็ก' รอบด้าน หนุนยุค AI เฟื่อง

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการของจีน ประกาศรายชื่อโรงเรียนประถมและมัธยมจำนวน 184 แห่ง ซึ่งถูกคัดเลือกเป็นฐานการศึกษาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยเป้าหมายส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาปัญญาประดิษฐ์ให้ดียิ่งขึ้น

รายงานระบุว่าโรงเรียนประถมและมัธยมควรปรับใช้หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีทั่วไป และหลักสูตรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ พร้อมกับเสริมสร้างทรัพยากรการศึกษาและการเรียนการสอน และจัดการฝึกอบรมและแนะแนวครู เพื่อเกื้อหนุนการศึกษาปัญญาประดิษฐ์

กระทรวงฯ จะเสริมสร้างแนวปฏิบัติของฐานการศึกษาที่กำหนดข้างต้น สนับสนุนการมีบทบาทนำเป็นตัวอย่างในการพัฒนาหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ในโรงเรียน การบูรณาการรายวิชา การปฏิรูปวิธีการสอน ร่วมสร้างและแบ่งปันทรัพยากรการศึกษาทางดิจิทัล บ่มเพาะความรู้ทางดิจิทัลของครู และส่งเสริมการพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน

'พล.ต.ท.ไตรรงค์' นำทีม 'พฐ.' ไขปมชาวไต้หวันถูกยิง-ทิ้งศพย่านสุวรรณภูมิ มั่นใจ!! 'ข้อมูลวัตถุพยาน-สถานที่เกิดเหตุ' พาโยงถึงผู้ก่อเหตุได้

'พิสูจน์หลักฐาน' (พฐ.) อาวุธนำวิถีของพนักงานสอบสวน!!

ตามสั่งการของ พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร.(สส) ให้เร่งรัดการสืบสวนสอบสวนและการตรวจพิสูจน์หลักฐาน กรณีมีผู้พบศพที่เพิงพักไม่มีเลขที่ ท้าย ถ.สุวรรณภูมิสาย 4 ต.หนองปรือ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ท้องที่ สภ.สุวรรณภูมิ ภ.จว.สมุทรปราการ ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นนาย ชิ โหมว เชียง (Mr. SHIH MOU CHIANG) ชายชาวไต้หวันถูกยิงเสียชีวิตในพื้นที่ย่านลาดปลาเค้า ท้องที่ สน.โคกคราม และนำศพไปทิ้งที่ ถ.สุวรรณภูมิสาย 4 ตามที่สื่อมวลชนได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 26 ก.พ.67 เวลา 11.30 น.ที่ผ่านมา พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานหลักฐานตำรวจ (ผบช.สพฐ.ตร.) ได้เดินทางไปที่พิสูจน์หลักฐาน จ.สมุทรปราการ เพื่อร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ และสรุปผลการตรวจสถานที่เกิดเหตุและตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในคดี รวมถึงการวางแผนบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างพิสูจน์หลักฐานและงานสืบสวนสอบสวน 

โดยพล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สพฐ. ตร.กล่าวว่า “ในคดีนี้เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานทั้งในส่วนของพิสูจน์หลักฐานจังหวัดสมุทรปราการ และกลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1 รวมถึงกลุ่มงานสถานที่เกิดเหตุ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง ได้บูรณาการร่วมกันในการตรวจสถานที่เกิดเหตุ การตรวจเก็บวัตถุพยานรวมถึงการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ซึ่งในในการเดินทางมาประชุมสรุปในวันนี้ในส่วนของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจถือว่ามีความคืบหน้าไปมาก สามารถส่งข้อมูลให้กับทีมสืบสวนสอบสวนไปดำเนินการต่อได้ ในส่วนที่เหลือคือ การตรวจสอบวัตถุพยานซึ่งต้องใช้เทคนิคในห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันลักษณะการกระทำความผิดและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดอีกครั้งหนึ่ง” 

หลังจากนั้นเวลา 14.00 น. พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สพฐ. ตร.พร้อมด้วย พ.ต.อ.ศุภชัยไตรสมบูรณ์ นวท.(สบ 5) ศพฐ.1, พ.ต.อ.พรณรงค์ เจริญวัฒนวิญญู นวท.(สบ 4) พฐ.จว. สมุทรปราการ, พ.ต.อ.หญิงศิริประภา รัตตัญญู นวท.(สบ 4) กลุ่มงานตรวจสถานที่เกิดเหตุ พฐก.และเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน และ พ.ต.อ.ประภาส มั่งคั่ง รอง ผบก.ภ.จว.สมุทรปราการ, พ.ต.ท.คเชนทร์ บุญทวี รอง ผกก.สส.สภ.โคกคราม และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวนสอบสวนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันตรวจสอบและตรวจสถานที่เกิดเหตุเพิ่มเติมที่บ้านเช่าของผู้เสียชีวิต และที่บ้านเช่าหลังที่ใช้ก่อเหตุ ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านหรูย่านลาดปลาเค้า ท้องที่ สน.โคกคราม 

โดยเบื้องต้นตรวจพบพยานหลักฐานสำคัญเป็นปลอกกระสุนปืนจำนวน 2 ปลอก ซึ่งเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานจะได้นำไปตรวจสอบในระบบฐานข้อมูลอาวุธปืน (ABIS และ IBIS) เพื่อพิสูจน์ทราบว่าใช้ยิงมาจากอาวุธปืนประเภท ชนิด ขนาดใด รวมทั้งเพื่อตรวจพิสูจน์ว่ากระสุนปืนดังกล่าวใช้ยิงมาจากอาวุธปืนที่เคยมีประวัติการก่อเหตุมาก่อนหรือไม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการขยายผลสืบสวนสอบสวนต่อไป

“ในคดีนี้มีสถานที่ที่เกี่ยวข้องหลายแห่งรวมทั้งพยานหลักฐานมีจำนวนมาก เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานจึงต้องใช้ความรอบคอบและทำงานให้รวดเร็วภายใต้มาตรฐานระบบงานทั้งในส่วนของมาตรฐานการตรวจสถานที่เกิดเหตุและมาตรฐานการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานในห้อง แล็ป ซึ่งในส่วนนี้ก็จะสามารถเป็นที่มั่นใจได้ว่าวัตถุพยานหลักฐานที่ทำการตรวจพิสูจน์ทั้งหมดนั้นสามารถยืนยันและเชื่อมโยงกันได้ทั้งในส่วนของผู้เสียชีวิต ผู้ก่อเหตุ และสถานที่เกิดเหตุ รวมทั้งที่อื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุโดยพิสูจน์หลักฐานจะได้ประสานกับทีมสืบสวนสอบสวนในการนำผลการตรวจพิสูจน์ไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการสืบสวนสอบสวนและการดำเนินคดีในภายหลังเมื่อสามารถจับกุมผู้ก่อเหตุได้” พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช. สพฐ.ตร.กล่าว

 

ไทย สหรัฐ เปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ 2024

วันนี้ 27 ก.พ.67 พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดนาย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค (Robert F. Godec) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และ พลโทชาเวียร์ บรันสัน (Xavier T. Brunson) แม่ทัพน้อยที่ 1 กองทัพบกสหรัฐอมริกา เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึก คอบร้าโกลด์ 2024 ณ สนามบินอู่ตะเภา กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ จังหวัดระยอง โดยมี เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตอินโดนีเชียประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย อัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และอัครราชทูตมาเลเชียประจำประเทศไทยเข้าร่วมพิธีฯ

การฝึกคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารขนาดใหญ่และมีประวัติยาวนานที่สุดการฝึกหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโดแปซิฟิกร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี การฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ 2024ในปีนี้ นับเป็นครั้งที่ 43โดยมีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก จำนวน ๗ ประเทศ ประกอบด้วย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นสาธารณรัฐเกาหลี และมาเลเชีย ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในโครงการช่วยเหลือประชาชน จำนวน 2 ประเทศได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย 

ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกเพิ่มเติมในการฝึกการควบคุมและบังคับบัญชาคือ ออสเตรเลีย สำหรับกลุ่มประเทศที่หมุนเวียนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ประเทศในโครงการเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติ หรือ MPAT (Multinational Planning Augmentation Team) จำนวน 10ประเทศ ประกอบด้วยบังกลาเทศ แคนาดา ฝรั่งเศส มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ฟิลิปปีนส์ พีจิ สหราชอาณาจักร และ บรูไนและประเทศที่เข้าร่วมในโครงการสังเกตการณ์ฝึก (Combined Observer Liaison Team) : COLT) จำนวน 10 ประเทศได้แก่ ก้มพูชา ลาว บราชิล ปากีสถาน เวียดนาม เยอรมนี สวีเดน สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) คูเวต และศรีลังกา รวมทั้งสิ้น 30ประเทศ ผู้เข้าร่วมการฝึกฯ จำนวน 9590 นาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ทางทหารที่ดี ระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกฯ และเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการอำนวยการยุทธ์ร่วมและผสม โดยการประยุกต์ใช้กำลังรบในสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อฝึกการใช้ระเบียบปฏิบัติประจำกองกำลังผสมนานาชาติ โดยกำหนดการฝึกหลัก ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง8 มีนาคม 2567

การฝึกร่วมผสม คอบร้าโกลด์ 2024 นอกจากจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกในส่วนของกองทัพไทย และกองทัพมิตรประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการความชำนาญ และเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งเพิ่มพูนประสบการณ์ให้กับกำลังพลของกองทัพไทย และกองทัพมิตรประเทศในการปฏิบัติการร่วมและผสมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการงานด้านการบรรเทาสาธารณภัยในภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างทหารไทย และทหารมิตรประเทศกับประชาชนในพื้นที่การฝึกฯ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในสายตามิตรประเทศและประชาคมโลกต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top