Thursday, 15 May 2025
ค้นหา พบ 48112 ที่เกี่ยวข้อง

‘พัดไม้ไผ่ไทย’ ดังไกลเข้าตาแบรนด์ระดับโลก หลัง ‘Shake Shack’ ฟาสต์ฟู้ดดังสั่งทำเป็นของชำร่วย

'พัดไม้ไผ่' หรือ 'พัดสานไม้ไผ่' ฝีมือคนไทยที่เราต่างคุ้นตาปังไม่เลิก ล่าสุดสะดุดตาแบรนดฟาสต์ฟู้ดชื่อดังระดับโลก มอบให้ประดิษฐ์ของชำร่วยให้

โดยเพจเฟสบุ๊ก 'สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย' (sacit) ได้โพสต์เนื้อหารายละเอียดใจความว่า "พัดสานไม้ไผ่ เป็นหัตถกรรมที่คนไทยคุ้นชินเห็นกันมาตั้งแต่เด็ก เป็นของใช้ที่ทุกคนต้องมีติดบ้าน ใช้สำหรับพัดเตาไฟ หรือพัดเพื่อคลายร้อน โดยวัสดุหลักที่ใช้เป็นพืชพื้นถิ่นตามธรรมชาติ คือ ไม้ไผ่"

"...แต่ปัจจุบันความนิยมใช้พัดสานลดน้อยลงตามกาลเวลา แต่สำหรับครูระยอง แก้วสิทธิ์ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2557 ของ sacit ยังคงมุ่งมั่นที่จะสืบสานทักษะเชิงช่างของคนไทยประเภทนี้ไว้ เสน่ห์ของงานพัดของครูนอกจากความละเอียดในการสานเส้นไม้ไผ่ทีละเส้นอย่างประณีตแล้ว ยังโดดเด่นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและการให้สีสันและลวดลายของพัดให้เป็นเส้นสาย ตัวอักษร ภาพนักษัตร 12 ราศี และ รูปร่างสิ่งของต่าง ๆ สื่อถึงความมีอิสระในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างไร้ขอบเขต โดยปราศจากกรอบหรือกฎเกณฑ์ทำให้กลายเป็นพัดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว"

"...ครูระยองยังได้รวมกลุ่มชาวบ้านในชุมชนบ้านแพรกมาทำหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่เป็นอาชีพ จนได้รับการยอมรับว่าพัดสานไม้ไผ่เป็นหัตถกรรมไทยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องให้เป็นเอกลักษณ์ของ อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา กลายเป็นสินค้าที่ใครผ่านไปเที่ยวต้องซื้อหากลับมาเป็นของที่ระลึกอยู่เสมอ ความช่างคิดประดิษฐ์ทำของครู และยังสะท้อนเรื่องราวผ่านลวดลายบนพัดตามจินตนาการ ทำให้ได้พัดเก๋ๆเท่ๆไม่เหมือนใคร จนไปเข้าตาแบรนด์ระดับโลกอย่าง Shake Shack ร้านเบอร์เกอร์ชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาซึ่งได้มาเปิดสาขาในไทย ปิ๊งไอเดียให้ครูรังสรรค์ลวดลายของพัดเป็นรูปเบอร์เกอร์สีเขียว อันเป็นสัญลักษณ์ของ Shake Shack ได้อย่างสวยงาม เพื่อมอบเป็นของที่ระลึกแก่ลูกค้า สร้างความประทับใจและสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาในงานหัตถกรรมจักสานของไทยอย่างแท้จริง"

วงการหนังไทยระอุ ร่วม #แบนสุพรรณหงส์  หลังประกาศกติกาใหม่ ส่อกีดกันหนังฟอร์มเล็ก

กำลังเป็นประเด็นร้อนเลยทีเดียว สำหรับดรามาเกี่ยวกับกติกาการคัดเลือกภาพยนตร์เข้าร่วมชิงรางวัลสุพรรณหงส์ ที่คนทำหนังหลายคนโวยว่าไม่ยุติธรรม

โดยสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติออกกติกาใหม่ว่า หนังที่จะเข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

▪️ ต้องฉายในโรงภาพยนตร์ ฉายผ่านสตรีมมิ่งอย่างเดียวไม่ได้

▪️ ต้องฉายในโรงครบทั้ง 5 ภูมิภาค อย่างน้อยใน 5 จังหวัดใหญ่ คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช

▪️ ต้องมียอดผู้ชมไม่ต่ำกว่า 50,000 คน

ทั้งนี้ คนในวงการส่วนใหญ่มองว่าเกณฑ์การคัดเลือกนั้นเอื้อผลประโยชน์ให้กับค่ายใหญ่ ซึ่งมีภาพยนตร์ถึง 11เรื่องด้วยกันที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก หนึ่งในนั้นคือเรื่อง "เวลา" (Anatomy of Time) ที่เพิ่งคว้ารางวัล ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม "คมชัดลึกอวอร์ดครั้งที่19" และรางวัลจากต่างประเทศมาแล้ว

ศราวุธ แก้วน้ำเย็น ผู้กำกับศิลป์เรื่องดังกล่าวได้โพสต์ว่าภูมิใจมากที่ได้รางวัล คมชัดลึกอวอร์ด หลังจากที่ได้รางวัลจากหลายประเทศทั่วโลก แต่ถูกตัดสิทธิเอาชื่อออก ไม่ผ่านเกณฑ์การเข้าชิงรางวัลของเวทีใหญ่ "...หงส์มีหลักเกณฑ์ ใหม่ที่เพิ่งตั้งในปีนี้ว่า ว่าภาพยตร์ที่จะเข้าคัดเลือกต้องมีการเข้าฉายในโรงภาพยตร์ให้ครบ 5 ภูมิภาค ของประเทศไทย แต่ภาพยนตร์เรื่อง Anatomyoftime ไม่ได้ไปฉายให้ครบทุกภาคของประเทศก็เลยไม่ผ่านเกณฑ์การตัดสิน"

ด้านคุณชายอดัม หรือ ม.ร.ว.เฉลิมชาตรี ยุคล ได้แชร์โพสต์ดังกล่าวพร้อมเผยว่า ปีนี้ถามทางสมาคมสมาพันธ์ไปแล้วและได้คำตอบว่าไม่สามารถปรับเปลี่ยนกติกาได้ และจะพิจารณาใหม่ในปีหน้า ลั่น "ปีนี้ขอไม่ไปสุพรรณหงส์นะครับ"

ต่อมา หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์ ก็ได้โพสต์ #แบนสุพรรณหงส์ "เนื่องจากเกณฑ์การคัดเลือกหนังที่เข้ารอบไม่เป็นธรรม ผมจึงขอเรียกร้องให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทีมงานภาพยนตร์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง งดการมีส่วนร่วมกับงานสุพรรณหงส์ที่จัดโดยสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ เพื่อเป็นการแสดงออกว่าพวกเราไม่ยอมรับเกณฑ์การคัดเลือกหนังที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับหนังค่ายใหญ่ สมาพันธ์ควรมีหน้าที่ส่งเสริมและยกระดับหนังไทยให้มีพื้นที่ฉายอย่างทั่วถึง ไม่ใช่การเอาเกณฑ์การฉายมาตัดสิทธิ์หนังในการคัดเลือกรางวัลจนเหมือนเป็นการฆ่าอุตสาหกรรมหนังไทยด้วยกันเอง ปีที่แล้วเรียกร้องให้ทีมงานได้พูดตอนรับรางวัล นอกจากจะไม่ได้แล้วปีนี้ตัดสิทธิ์หนังที่ฉายไม่ครบทุกภาคเฉยเลย #ไม่ให้ค่างานที่ไม่เห็นคุณค่าคนทำงาน"

พัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษอย่างไรดี เมื่อไทยรั้งท้าย? | TIME TO KNOW EP.19

“พัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษอย่างไรดี เมื่อไทยรั้งท้าย? คลิปนี้ได้พูดคุยกับ พลเรือตรีหญิง ดร.พัชรา วัดอักษร อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ อดีตนายทหารจากกองทัพเรือไทย ที่เป็นผู้ริเริ่มหลักสูตรการสอนภาษาอังกฤษของศูนย์ภาษาฯ ของกองทัพเรือ ซึ่งจะมาพูดคุยกันถึงมุมมองการเรียนการสอนภาษาอังกฤษว่าควรพัฒนาไปทิศทางไหน เมื่อไทยยังถูกจัดอันดับด้านภาษาอังกฤษรั้งท้าย ติดตามได้ในคลิปนี้

วันนี้ได้รับเกียรติจาก พลเรือตรีหญิง ดร.พัชรา วัดอักษร
อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ

ดำเนินรายการโดย อ๊อดโต้ วสันต์ 
Content Manager THE STATES TIMES

‘อภิสิทธิ์’ ชี้เกณฑ์ใหม่สุพรรณหงส์ทำค่ายเล็กไม่ได้เกิด ดันนโยบาย ‘ก้าวไกล’ ทลายทุนผูกขาด หนุนอุตฯสร้างสรรค์

‘อภิสิทธิ์’ ชี้กติกาใหม่สุพรรณหงส์ กีดกันคนตัวเล็กไม่ให้แจ้งเกิด-ลดความหลากหลายภาพยนตร์ไทย เสนอนโยบาย ‘ก้าวไกล’ ทลายทุนผูกขาด-ตั้งกองทุนส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุดหนุนคนสร้างหนังทางเลือก-แก้กฎหมายเซนเซอร์

(30 มี.ค. 66) อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกลด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวถึงกรณีสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ออกกติกาใหม่ว่าภาพยนตร์ที่จะเข้าชิงรางวัลสุพรรณหงส์ต้องมีคุณสมบัติคือ (1) ต้องฉายในโรงภาพยนตร์ครบทั้ง 5 ภูมิภาค อย่างน้อย 5 จังหวัดใหญ่ ประกอบด้วย กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช ฉายผ่านสตรีมมิ่งอย่างเดียวไม่ได้ และ (2) ต้องมียอดผู้ชมไม่ต่ำกว่า 50,000 คน

อภิสิทธิ์ กล่าวว่า กติกาดังกล่าวเป็นการจำกัดคนที่เข้ามาแสดงความสามารถในวงการภาพยนตร์ไทย ทำให้ผู้สร้างหนังรายเล็กที่หลายคนทำภาพยนตร์เฉพาะทาง ขาดทรัพยากรและอำนาจต่อรอง แทบไม่มีโอกาสแจ้งเกิดผ่านเวทีประกาศรางวัลด้านภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

จึงเห็นว่าคนในวงการภาพยนตร์ที่ไม่เห็นด้วยกับกติกานี้ ควรรวมตัวกันพูดคุยหาทางออกร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์เเห่งชาติ ขณะเดียวกันสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์เเห่งชาติเอง ก็ควรมีบทบาทเป็นตัวแทนของคนในวงการภาพยนตร์ที่มีความหลากหลายให้มากกว่านี้ ไม่ใช่เป็นเพียงตัวแทนของนายทุนไม่กี่เจ้า โดยเฉพาะบางเจ้าที่เป็นทั้งผู้ผลิตและเจ้าของโรงฉาย ซึ่งถือเป็นการกินรวบทั้งกระดาน อย่าปล่อยให้เรื่องนี้กลายเป็นบรรทัดฐานของวงการภาพยนตร์ไทย

ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกลด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่กังวลว่าจะเป็นปัญหาระยะยาวจากเรื่องนี้ คือประเทศไทยจะไม่มีคนตัวเล็กที่ทำภาพยนตร์ดี ๆ ในแง่มุมต่าง ๆ ออกมา โดยเฉพาะภาพยนตร์เฉพาะทาง ที่ตนเชื่อว่ามีตลาดอยู่ในเมืองไทยและต่างประเทศ เช่น ภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ ‘เจ้ย’ ซึ่งเคยได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมปาล์มทองคํา จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์

“หนังของเจ้ย ตลาดในเมืองไทยไม่ใช่ตลาดใหญ่มาก ไม่ได้เป็นที่รู้จักวงกว้าง แต่ในตลาดต่างประเทศกลับมีนายทุนอยากส่งเสริม แม้มีแง่มุมที่ดีว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่าฝีมือผู้กำกับชาวไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แต่อีกมุมหนึ่งก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย ว่าทำไมหนังแบบนี้ประเทศไทยไม่ส่งเสริม ไม่ได้รางวัล แต่กลับไปได้รางวัลจากประเทศอื่น ทั้งที่คนไทยเป็นผู้ผลิต เป็นเจ้าของเนื้อหา แต่ประเทศไทยและวงการภาพยนตร์ไทยไม่สามารถได้ประโยชน์จากงานของคนไทยอย่างเต็มร้อย” อภิสิทธิ์กล่าว

จับตา ‘โรคลึกลับอุบัติใหม่’ ระบาดใน “บุรุนดี” อาการเลือดกำเดาไหลไม่หยุด ดับแล้ว 3 ราย

จับตา ‘โรคลึกลับอุบัติใหม่’ ใน ‘สาธารณรัฐบุรุนดี’ มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 3 ราย อาการเด่นผนังหลอดเลือดถูกทำลายมีเลือดกำเดาไหล

(30 มี.ค. 66) เฟซบุ๊ก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี เปิดเผยรายงานข่าว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วแอฟริกากลางเตรียมความพร้อมสูงสุดเนื่องจากมีรายงานพบผู้เสียชีวิตหลายรายที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไข้เลือดออกลึกลับใน “สาธารณรัฐบุรุนดี” โดยก่อนหน้านี้พบการระบาดของไวรัสมาร์บวร์กในอิเควทอเรียลกินีและแทนซาเนียและเนื่องจากบุรุนดีมีพรมแดนติดกับแทนซาเนีย ซึ่งมีการยืนยันการระบาดของไวรัสมาร์บวร์กไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้ผู้เชี่ยวชาญคาดเดาว่าโรคติดเชื้อไข้เลือดออกลึกลับในบุรุนดีอาจมีสาเหตุมาจากการระบาดของไวรัสมาร์บวร์ก แต่สาธารณสุขของบุรุนดีออกมายืนยันว่าผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบทั้งไวรัสมาร์บวร์กและอีโบลาในสารคัดหลั่งจากผู้เสียชีวิต

ประเทศบุรุนดีซึ่งอยู่ทางด้านแอฟริกาตะวันตกได้พบการระบาดของ "โรคติดเชื้อลึกลับที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตแล้ว 3 รายภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง ซึ่งทั้งหมดมาจากชุมชนเดียวกัน ซึ่งตั้งแต่ปรากฏอาการและเสียชีวิตรวดเร็วกว่าไวรัสอีโบลาและมาร์บวร์กที่ผู้ติดเชื้ออาจเสียชีวิตได้ช่วง 2 วัน - 3 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยติดเชื้อโรคลึกลับจะมีอาการไข้นำ ตามมาด้วยการปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, อาเจียน อุจจาระเป็นเลือด และ มีเลือดกำเดาไหล (nosebleed disease)

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบุรุนดีและองค์การอนามัยโลกพยายามเข้าควบคุมโรคที่คาดว่าเกิดจากไวรัสในพื้นที่จังหวัด Baziro โดยยังไม่สามารถระบุชนิดของไวรัสหรือจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุได้ มีการกักตัวผู้ที่ได้อยู่ใกล้ชิดสัมผัสกับผู้เสียชีวิตแล้วหลายสิบคน

รัฐบาลและสาธารณสุขบุรุนดีขอความร่วมมือจากประชาชนให้ป้องกันตนเองด้วยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยครั้งและหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสัตว์ป่า หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อหรือผู้เสียชีวิตจากโรคลึกลับ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว แพทย์ถูกส่งไปยังบุรุนดีเพื่อสอบสวนโรค "เลือดกำเดาไหล" ลึกลับทางตอนใต้ของแทนซาเนีย ซึ่งคร่าชีวิตคนสามคน และต่อมาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 พบผู้ติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก 8 รายใน “แทนซาเนีย” และเสียชีวิต 5 ราย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top