พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา พร้อมคณะติดตามความคืบหน้าสถานการณ์ไฟไหม้ป่าเขาแหลม
พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท 1)พร้อมคณะติดตามความคืบหน้าสถานการณ์ไฟไหม้ป่าเขาแหลม

พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท 1)พร้อมคณะติดตามความคืบหน้าสถานการณ์ไฟไหม้ป่าเขาแหลม
(30 มี.ค. 66) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้าและผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ลุยหาเสียงเวทีปราศรัยย่อยทั่วจังหวัดร้อยเอ็ด ขอโอกาสเลือกพรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล นำพาความเจริญก้าวหน้าสู่สังคมไทย ไปสร้างประเทศไทยที่เป็นประชาธิปไตย
โดยในระหว่างการหาเสียง นายธนาธรได้ยกบทเรียนจากไต้หวัน ว่าเมื่อ 45 ปีก่อน รายได้คนไทยกับคนไต้หวันใกล้เคียงกัน แต่ผ่านมา 45 ปี คนไต้หวันรวยกว่าคนไทย 5 เท่า อะไรทำให้เป็นเช่นนั้น หากเรียนรู้จากไต้หวันหรือญี่ปุ่น จะเห็นคำตอบว่าเทคโนโลยีคือคำตอบ
“ลูกหลานคนอีสานที่ไปทำงานที่ระยอง ทั้งหมดเป็นบริษัทต่างชาติ แต่ไม่มีเทคโนโลยีของคนไทยเลย เมื่อไม่มีเทคโนโลยีของตัวเองก็แข่งขันไม่ได้ ดังนั้น เราต้องลงทุนในเทคโนโลยี อุตสาหกรรม เพื่อสร้างงาน สร้างสินค้า และเอาส่วนแบ่งจากตลาดโลกมาให้คนไทย” นายธนาธร กล่าว
นายธนาธร เสนอบทเรียนจากเทศบาลตำบลอาจสามารถ ในฐานะความสำเร็จในการสร้างน้ำประปาดื่มได้ เพื่อย้ำว่า คณะก้าวหน้าไม่ได้ทำได้แค่น้ำประปาที่ใสสะอาด แต่เป็นน้ำประปาดื่มได้ ทั้งหมด วัดค่าเป็นวิทยาศาสตร์ และการจะควบคุมคุณภาพของน้ำประปาได้ ต้องมีเซนเซอร์และสมาร์ทมิเตอร์ ไม่จำเป็นต้องมีคนจดค่ามิเตอร์ แต่ส่งข้อมูลประมวลผลด้วยระบบดิจิทัล เพื่อให้สามารถสร้างอุตสาหกรรมน้ำประปาสะอาดขึ้นมาได้ ให้คนไทยกว่า 66 ล้านคน ไม่ว่าจะเกิดที่จังหวัดไหน มีสิทธิใช้น้ำประปาสะอาดเท่าเทียมกัน หากสร้างอุตสาหกรรมน้ำประปาดื่มได้ จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 1 แสนล้านบาท
นายธนาธร กล่าวอีกว่า พรรคก้าวไกลยังมีนโยบายสร้างอุตสาหกรรมรถเมล์ไฟฟ้า ที่คิดค้นด้วยวิศวกรคนไทย เพื่อทำให้ขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกของการเดินทางของคนไทยมากขึ้น ลดปัญหารถติด ค่าใช้จ่าย ฝุ่นควัน ฯลฯ ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย หากใช้รถเมล์ไฟฟ้าเชื่อมโยงสถานที่ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ทำให้เดินทางเข้าถึงสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และช่วยสร้างงานที่มีคุณภาพให้ลูกหลาน กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
นายธนาธร ทิ้งท้ายด้วยการขอโอกาสจากประชาชนให้พรรคก้าวไกลเป็นรัฐบาล โดยกล่าวว่า หากพรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เชื่อว่าจะนำความก้าวหน้ามาให้สังคมไทย และสิ่งเหล่านี้เป็นภารกิจที่จะส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ในการสร้างสังคมที่ดีกว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ เป็นเวลาของความทะเยอทะยาน ที่ต้องกล้าคิด กล้าทำ เพราะหากทำแบบเดิม ก็ได้เช่นเดิม
ภายในห้องประชุม Suanluang Ballroom 1-3 โรงแรมโนโวเทล บางนา กรุงเทพ อบจ.สมุทรปราการ ได้จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้ประกอบการขนส่ง และบุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนธุรกิจข้อกำหนดขอบเขตและร่างสัญญาว่าจ้างเอกชนให้บริการเดินรถโดยสาร ประจำทางไฟฟ้าของจังหวัดสมุทรปราการ โดยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเดินทาง สะดวก รวดเร็ว อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
โดยมี นางสาวนันทิดา แก้วบัวสาย นายก อบจ.สมุทรปราการ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม พร้อมด้วย ดร.พิริยะ โตสกุลวงศ์ รองประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ นายสรากร บรรจงจิตต์ ผู้อำนวยการกองผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวรายงานการประชุม โดยมี นายศรัณย์ บุญญะศิริ ผู้จัดการโครงการฯ พร้อมทั้งนำเสนอการให้บริการเดินรถรถโดยสารประจำทางไฟฟ้าเส้นทางสถานีเคหะสมุทรปราการ (สถานีเคหะฯ) ไปถึงสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ / ตลาดคลองด่าน
ภายในที่ประชุมได้มีการเสวนาในหัวข้อ บริการรถโดยสารประจำทางไฟฟ้าเพื่อตอบสนองการขยายตัวทางเศรษฐกิจในฝั่งตะวันออกของจังหวัดสมุทรปราการ โดยการเสวนานั้น ประกอบด้วย นายทิวัตถ์ บ่มไล่ หัวหน้ากลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการ ดร.ภัทรพล พรหมมัญ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี วิทยาเขตสมุทรปราการ ดร.พิริยะ โตสกุลวงศ์ รองประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนผู้แทนจากกรมทางหลวง และนายศรัณย์ บุญญะศิริ ผู้จัดการโครงการฯ พร้อมทั้งตอบประเด็นข้อซักถามและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
ทั้งนี้ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้มอบให้ บริษัท เอเอ็มพี คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษา โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทำแผนธุรกิจข้อกำหนดขอบเขตและร่างสัญญาว่าจ้างเอกชนให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางไฟฟ้าของจังหวัดสมุทรปราการ บัดนี้ การศึกษาได้ดำเนินการมาในระยะเวลาหนึ่ง
(30 มี.ค.66) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 275/2566 เรื่อง การเลื่อนกําหนดเวลาปลดทหารกองประจําการที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ด้วยกระทรวงกลาโหมมีเหตุจำเป็นเลื่อนกำหนดปลดทหารกองประจำการ เพื่อพัฒนาการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจําการไปสู่ระบบทหารกองประจําการอาสาสมัคร โดยให้ทหารกองประจําการที่รับราชการครบกําหนดเวลาปลด รับราชการในกองประจําการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2479 และความในมาตรา 24 วรรค 5 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 จึงกำหนดการปฏิบัติในการเลื่อนกำหนดเวลาปลดประจำการ ดังนี้
- ยกเลิกคำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 1388/2555 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2555 เรื่อง การเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการที่สมัครใจรับราชการในกองประจำการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์
- ให้เลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ คราวละ 1 ปี เว้นแต่มีกรณีจำเป็นที่ไม่สามารถส่งทหารกองประจำการเข้ารับราชการได้ตามวงรอบปกติ ให้เลื่อนกำหนดเวลาปลดเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ให้ตรงตามวงรอบการปลดได้ แต่ต้องมีเวลารับราชการในกองประจำการในการเลื่อนกำหนดเวลาปลดทหารกองประจำการเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ให้ทหารกองประจำการที่รับราชการด้วยความขยันหมั่นเพียร มีความประพฤติดี และมีอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ.ที่จะเลื่อนปลดนั้น สมัครขอรับราชการในกองประจำการต่อเพื่อทดแทนการเรียกเกณฑ์ได้
(30 มี.ค.66) ที่อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (ปลัด กทม.) เปิดเผยถึงกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อผู้ว่าฯ กทม.เพื่อขอให้ตรวจสอบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กรณีการการสร้างสะพานข้ามคลองพระโขนง หรือสะพานแสนสำราญ บนพื้นที่โครงการ T77 บริเวณซอยสุขุมวิท 77 เพื่อออกสู่ถนนปรีดีพนมยงค์ 2 เขตวัฒนา ภายหลังมีการสร้างเสร็จแล้วปรากฏว่า มีการตั้งตู้เก็บค่าผ่านทาง ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ว่า ทาง กทม.มีการสืบหาข้อเท็จจริง โดยทำหนังสือสอบถามไปยัง สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทาง สผ.ตอบกลับมาว่า EIA ดังกล่าว ไม่ได้ระบุให้มีการจัดเก็บค่าผ่านสะพานและถนนภาวะจำยอมแต่อย่างใด และกำหนดมาตรการจัดทำป้าย เพื่อแสดงให้บุคคลภายนอกพื้นที่โครงการได้ทราบว่าถนนภาวะจำยอมดังกล่าว มีสภาพใช้ประโยชน์เป็นถนนสาธารณะเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้สัญจรได้