Wednesday, 21 May 2025
ค้นหา พบ 48222 ที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจน่าจับตามอง ‘Cybersecurity’ เทรนด์การลงทุน ที่ไม่ควรมองข้าม ความปลอดภัจากแฮกเกอร์ ที่หลายองค์กรให้ความสำคัญ

ระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ หรือ Cybersecurity นับเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญภายใต้การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งจัดอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S-curve ที่น่าจับตามองและจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจ โดยจะช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจต่าง ๆ

เติบโตต่อเนื่องบนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย และมีความคล่องตัว เนื่องจากในปัจจุบันภาคธุรกิจต่างเร่งลงทุนในเทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่อุปกรณ์ต่าง ๆ เชื่อมต่อบนอินเทอร์เน็ต (IOT) รวมถึงเทรนด์ของการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from anywhere) ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ มีการใช้บริการ Cloud computing มากขึ้น ซึ่งหนีไม่พ้นที่ความเสี่ยงในด้านไซเบอร์จะมีโอกาสเกิดได้ง่ายขึ้น ทั้งการรั่วไหลหรือการถูกโจมตีทางไซเบอร์ ผู้ประกอบการจึงหันมาให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในด้าน Cybersecurity มากขึ้น สะท้อนได้จากการที่บริษัทชั้นนำหลายแห่งทั่วโลกยอมจ่ายเงินลงทุนมากขึ้นสำหรับงบประมาณในด้านเครื่องมือ และซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากแฮกเกอร์ ทั้งนี้จากข้อมูลผลสำรวจของ Gartner พบว่า ผู้บริหารธุรกิจ 9 ใน 10 บริษัทในสหรัฐ เห็นว่า Cybersecurity เป็นหนึ่งในความเสี่ยงของภาคธุรกิจ (Business risk) ที่ต้องมีการบริหารจัดการ มากกว่าที่จะมองว่าเป็นเพียงประเด็นที่เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านไอทีแต่เพียงอย่างเดียว 

แนวโน้มในระยะข้างหน้า การลงทุนในด้าน Cybersecurity จะทวีความสำคัญ และแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากการโจมตีทาง ไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้นจากความก้าวหน้าของแฮกเกอร์ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้พัฒนาโซลูชันด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องปรับตัวพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนอกเหนือจากบริษัทชั้นนำด้านไอทีที่เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้าน Cybersecurity แล้ว กลุ่ม Startup ต่าง ๆ มีแนวโน้มให้ความสนใจในการพัฒนาโซลูชันด้าน Cybersecurity

ไทยแลนด์กระหึ่มโลก!! ‘เกาะหมาก’ คว้าอันดับ 2 รางวัลระดับโลก   ด้าน ‘การจัดการ-ฟื้นฟู’ จาก ‘ITB Berlin 2023’

อพท. เผย ‘เกาะหมาก’ จ.ตราด คว้ารางวัลระดับโลก “2023 GREEN DESTINATIONS STORY AWARDS” ด้านการจัดการและการฟื้นฟู โดยได้รางวัลอันดับ 2 รองจาก NORMANDIE ประเทศฝรั่งเศส

เพจ Dasta Thailand ขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ‘เกาะหมาก’ จ.ตราด คว้ารางวัลระดับโลก ‘2023 GREEN DESTINATIONS STORY AWARDS’ ในประเภท Governance, Reset and Recovery (ระบบการจัดการและการฟื้นฟู) โดยรางวัลในประเภทนี้มี 3 รางวัลได้แก่ อันดับ 1 คือ NORMANDIE จากประเทศฝรั่งเศส อันดับ 2 เกาะหมาก จากประเทศไทย และอันดับ 3 OGUNI TOWN จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้จัดได้คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการประกาศให้เป็นสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลก ในปี 2565 (2022 Green Destinations Top 100 Stories)

ทั้งนี้ นาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. และ นายนล สุวัจนานนท์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก จังหวัดตราด ได้เข้ารับรางวัลดังกล่าวที่จัดขึ้น ในงานมหกรรมส่งเสริมการขายทางการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ ‘ITB Berlin 2023’ ซึ่งเป็นงานมหกรรมส่งเสริมการขายทางการท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประเทศจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงและนำเสนอขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว รวมถึงการเจรจาธุรกิจทางการท่องเที่ยว

สำหรับเกาะหมาก เป็นเกาะขนาดกลางแห่งหมู่เกาะช้าง ทะเลตราด ตั้งอยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด บนเกาะมีอ่าวและหาดหลายแห่งที่น่าสนใจและเหมาะแก่การท่องเที่ยว เช่น “อ่าวนิด” เป็นที่ตั้งของชุมชนใหญ่ ‘อ่าวสวนใหญ่’ เป็นอ่าวโค้งยาวน่ายล ‘อ่าวโล่ง’ ที่รอบข้างร่มรื่นเขียวครึ้มไปด้วยสวนยางพารา ในหลาย ๆ หาดหลาย ๆ อ่าวจะมีการสร้างสะพานเทียบเรือ (ของที่พัก) ทอดยาว ถือเป็นจุดถ่ายรูปและเสน่ห์อันโดดเด่นของเกาะหมาก

อีกทั้งเกาะหมากยังเป็นจุดเชื่อมโยงไปยังเกาะอื่น ๆ เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ดำน้ำดูประติมากรรมช้างใต้ทะเล ดำน้ำดูปะการังเกาะยักษ์ หมู่เกาะรังได้อีกด้วย

‘เพื่อไทย’ หวั่น!! กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งพิสดาร ชี้!! ไม่ควรแยกย่อยแขวง ป้องกัน ปชช. สับสน

(14 มี.ค.66) ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นำโดย นายวิชาญ มีนชัยอนันต์ ประธานภาค กทม. น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวานิช ส.ส.กทม. และนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. แถลงเสนอความเห็นต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประเด็นการแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่อาจไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.

โดย น.ส.ธีรรัตน์กล่าวว่า ในฐานะตัวแทน ส.ส.กทม. มีหลายพรรคการเมืองไม่เห็นด้วยกับการแบ่งเขตที่ กกต. อาจจะเลือกใช้ โดยเห็นว่าหลักของการแบ่งเขต ควรรวมเขตขนาดใหญ่ไว้ด้วยกัน ไม่ใช่การรวมแขวง เพราะจะทำให้ ส.ส.เขต กลายเป็น ส.ส.แขวง และจะทำให้เกิดความสับสน ทั้งสำหรับ ส.ส.ที่จะต้องดูแลพื้นที่ และประชาชนที่จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

ทั้งนี้หาก กกต. แบ่งแขวงหนึ่งไปรวมกับอีกเขตการปกครอง ที่ไม่ได้มีพื้นที่เชื่อมต่อกัน และประชาชนไม่คุ้นเคย ไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิ อาจเป็นช่องโหว่ให้เกิดการทุจริตเลือกตั้งได้ รวมถึงเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง เกิดความไม่คุ้นเคยกับประชาชนจากแขวงอื่นที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

“การแบ่งเขตควรคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง แต่ดูแล้วการแบ่งเขตของ กกต. เองดูจะเข้าทางกลุ่มผู้มีอำนาจเป็นหลักหรือไม่ อันนี้ท่านจะกลับหลังทัน คิดถึงประโยชน์ของประชาชนให้มากกว่าจะคิดถึงประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง” น.ส.ธีรรัตน์กล่าว

ด้าน นายวิชาญ ให้รายละเอียดการแบ่งเขตของ กกต. 4 แบบ ว่า กทม. 33 เขต เป็นที่จับจ้อง เนื่องจากเป็นชิ้นเค้กชิ้นหนึ่งที่หลายพรรคการเมืองอยากได้ เพราะเป็นเขตที่ติดต่อกัน และมีความหนาแน่นของคนเมือง

พรรค พท.เคยมีการแถลงข่าวและเตือนไปแล้วครั้งหนึ่ง ว่าการแบ่งเขตรอบแรกมีความผิดเพี้ยนและได้บอกให้คำนึงถึงกฎหมาย พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 29 ที่ต้องยึดโยงเรื่องเขตปกครองเป็นหลัก หมายความว่าต้องเอาอำเภอเป็นหลัก หากไม่สามารถแบ่งได้ ค่อยไปแบ่งตามแขวง นอกจากนี้ยังต้องยึดโยงตามการเดินทาง ให้ความสะดวกกับประชาชนให้ได้มากที่สุด และต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยวันนี้ยังไม่ทราบว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งจะออกมาเป็นรูปแบบไหน

“สิ่งสำคัญต้องไม่ทำให้ประชาชนสับสน ครั้งที่แล้วเราเตือน กกต. ว่าการแบ่งเขตที่ส่งรูปแบบมา รูปแบบที่ไม่เหมาะสม คือ 6-7 แต่พอภาคประชาชนท้วงไป กกต.ก็เปลี่ยนมามี 4 รูปแบบ 4 รูปแบบที่ว่า 1 และ 2 เป็นแบบที่เราท้วงไป ทั้งนี้ ตนตั้งข้อสังเกตว่า หากมองให้ลึก การประกาศต้องผ่านราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ รูปแบบ 1 และ 2 ขัดต่อ พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 27 ที่ต้องรวมอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ซึ่ง กทม. ก็คือ เขต และเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 มีการเอาเขตเป็นตัวตั้งมากกว่าเอาแขวงมาเป็นตัวตั้ง แต่รอบนี้ รูปแบบที่ 1 และ 2 กลับกำหนดตำบลหรือแขวงมาเป็นตัวตั้ง ย้ำว่าจัดแบบนี้วุ่นวายไปหมด ข้าราชการเองก็งง จึงมาบอกทางประชาชนและบอกทางพรรคการเมืองให้ช่วยดู”

“ถามว่า กกต.ได้อะไร ได้ความสนุกหรือไม่ กกต.แบ่งเพื่อที่จะให้ 10% แต่ไม่ได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน ความวุ่นวายการเสียจำนวนเงิน ประชาสัมพันธ์ เขายังไม่ได้คำนึงถึงเรื่องกฎหมายหากมีใครมายืนร้อง หลังเลือกตั้งประกาศผลไม่ได้ เป็นโมฆะ กกต.รับผิดชอบหรือไม่ ประเทศเรามีนักร้องเยอะมาก กทม. ทะเลาะกันแน่นอน” นายวิชาญกล่าว

‘พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์’ ถอดบทเรียนอวสาน Silicon Valley Bank  โอกาส ‘โดมิโนเอฟเฟกต์’ เป็นไปได้แค่ไหน?

จากกรณี สหรัฐอเมริกา สั่งปิดกิจการ Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับที่ 16 ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีสินทรัพย์ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 7 ล้านล้านบาท เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ลูกค้าเจ้าของบัญชีแห่ถอนเงิน จนทางการต้องสั่งปิดกิจการ และให้ Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้ประกันเงินฝากจากความล้มเหลวของธนาคาร มาเป็นผู้ดูแลสินทรัพย์ของ SVB โดยจะขายสินทรัพย์ของธนาคารเพื่อจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ธนาคาร จากกระแสข่าวดังกล่าวสร้างความตื่นตัวให้กับภาคเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารของไทย รวมถึงคำถามจากประชาชนผู้ฝากเงินกับธนาคารในประเทศไทยว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้หรือไม่ 

ทีมข่าว THE STATES TIMES ได้สัมภาษณ์ คุณพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อดีตรองปลัดกระทรวงการคลัง ถึงกรณีดังกล่าวว่าจะมีผลกระทบวงกว้างต่อโลกและประเทศไทยแค่ไหน โดยกล่าวว่า “SVB เริ่มมีฐานะการเงินเลวร้ายลง โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ปรับขึ้น SVB จึงพยายามที่จะเพิ่มทุนจดทะเบียน ประมาณ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อได้ แต่ก็ไม่สามารถเพิ่มทุนได้  ทำให้แผนการเพิ่มทุนจึงล้มไป ส่งผลให้หุ้น SVB ตกต่ำลงอย่างมาก ลดลง 60% ในครั้งแรก และลดลงอีก 70%” 

ส่วนสาเหตุที่ SVB ถูกปิดกิจการนั้น คุณพงษ์ภาณุ กล่าวว่า “SVB ทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของธุรกิจ Startup ในสหรัฐอเมริกา ย่าน Silicon Valley ซึ่งเป็นย่านธุรกิจไฮเทค โดย SVB ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจเหล่านี้ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ธนาคารทั่วไปจะไม่ปล่อย เพราะธุรกิจ Startup ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะมาวางเป็นหลักประกันเงินกู้ให้แบงก์ โดย Silicon Valley ในช่วงที่ผ่านมาก่อนดอกเบี้ยจะปรับขึ้น มีธุรกิจที่ขยายตัวเร็วมาก มีเงินฝากเพิ่มและปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เงินฝากเพิ่มขึ้นมากกว่าสินเชื่อ เพราะตอนนั้นสภาพคล่องในธุรกิจไฮเทค ค่อนข้างสูง เกิด Mix & Match ระหว่างเงินฝากกับสินเชื่อ สภาพคล่องที่มีมากเกินไปโดยนำไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ถึง 2 ใน 3 ของสินทรัพย์ที่แบงก์มีอยู่ ปล่อยเป็นสินเชื่อเพียง 1 ใน 3 ซึ่งเป็นสถานะของแบงก์ SVB ในช่วงก่อนที่จะเกิดวิกฤต

“พอปี 2022 โลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้ขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว เพื่อต่อต้านเงินเฟ้อที่เกิดในสหรัฐอเมริกาอย่างไม่มีทางเลือก เพราะต้องควบคุมเงินเฟ้อตามที่วางเป้าหมายไว้ เมื่อดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พันธบัตรที่ธนาคาร SVB ลงทุนไป ตอนเริ่มลงทุนรัฐบาลสหรัฐฯ ดอกเบี้ยต่ำ ราคาพันธบัตรแพง เมื่อดอกเบี้ยขึ้น ราคาพันธบัตรก็ลดลง แม้ว่าพันธบัตรรัฐบาลจะไม่มีความเสี่ยงทางด้านเครดิต แต่อย่างไรก็ตามมีความเสี่ยงทางด้านดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยขึ้นแรง ก็จะทำให้ราคาพันธบัตรลดลง พอ SVB เริ่มมีปัญหา จึงจำเป็นต้องขายพันธบัตรนี้ออกไป เพื่อนำเงินมาใช้จุนเจือสภาพคล่องของตัวเองโดยขายพันธบัตรราคาถูก ทำให้ SVB ขาดทุนจำนวนมาก ถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จึงพยายามเพิ่มทุนโดยเสนอ FDIC ปรากฏว่าเพิ่มทุนไม่สำเร็จ จึงเป็นที่มาของการปิดกิจการ ไม่สามารถชำระคืนเงินผู้ฝากได้ โดยสรุปแล้ว SVB ประสบปัญหาขาดทุนจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย”

เมื่อถามถึงความกังวลในระดับโลกว่ามีโอกาสเกิดโดมิโนหรือวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่หรือไม่? คุณพงษ์ภาณุ กล่าวว่า “ไม่น่าจะมีโอกาสสูงนัก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส SVB เป็นแบงก์ที่ปล่อยสินเชื่อน้อย ลงทุนตราสารการเงินค่อนข้างเยอะ แบงก์โดยทั่วไป ถ้าดูงบดุลแบงก์ ทางด้านหนี้สินแบงก์มีเงินฝากจากประชาชนเข้ามา แล้วนำเงินฝากไปปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ ไปปล่อยลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่ง SVB ปล่อยสินเชื่อน้อย ลงทุนเยอะ แต่แบงก์อื่นๆในสหรัฐอเมริกาจะปล่อยสินเชื่อมากกว่าลงทุน เพราะฉะนั้นสินเชื่อสามารถปรับดอกเบี้ยให้ขึ้นได้ ถ้าเกิดลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็น FIXED INCOME ดอกเบี้ยไม่ขึ้น แต่ถ้าเป็นพันธบัตรระยะยาว ดอกเบี้ยคงที่ เพราะฉะนั้นราคาจึงต้องปรับตัวลดลง แบงก์ส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เป็นแบงก์ที่ปล่อยสินเชื่อ สามารถมีความยืดหยุ่นได้มากกว่า SVB เป็นสิ่งที่คิดว่าไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ลุกลามไปยังแบงก์อื่นๆ อาจจะจำกัดอยู่แค่แบงก์ SVB” 

เมื่อถามว่า ประเทศไทยควรถอดบทเรียนจากกรณีข้างต้นเพื่อรับมือได้อย่างไร? คุณพงษ์ภาณุ กล่าวว่า “ประเทศไทยหนีไม่พ้นกับการที่ดอกเบี้ยปรับขึ้น จากที่เป็นดอกเบี้ยขาขึ้น ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนประมาณ 90% ของ GDP หนี้ของประชาชน หนี้ของครัวเรือนสูง ดอกเบี้ยขึ้นเมื่อไหร่ หนี้เหล่านี้ก็พร้อมที่จะเป็นหนี้เสียได้ทุกเมื่อ ในขณะที่หนี้รัฐบาล ซึ่งอยู่ในรูปของพันธบัตรรัฐบาล ก็มีอยู่มากพอสมควร ปัจจุบัน 60% ของ GDP โดยหนี้ส่วนใหญ่ถูกถือโดยสถาบันการเงิน เมื่อดอกเบี้ยขึ้น สถาบันการเงินจะต้องปรับราคาของพันธบัตรเหล่านี้ แม้จะไม่มีความเสี่ยงกับเครดิตเหล่านี้ แต่มีความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ยอยู่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องใช้เป็นบทเรียน คือ การปรับดอกเบี้ยขึ้นมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่ในภาคธุรกิจจริงเท่านั้น แต่สถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลจำนวนมาก จะต้องบริหารจัดการความเสี่ยงนี้อย่างเต็มที่ 

เมืองในฝัน ของนักผังเมือง ? | TIME TO LISTENING EP.11

 

ความใฝ่ฝันของนักผังเมืองมาทำการเมืองของ ‘คุง ณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์’ ที่ให้นิยามว่าเมืองที่ดีต้องทำให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แล้วคนอยากออกไปใช้ชีวิต ติดตามแนวความคิดและไอเดียดีๆ ว่าผังเมืองในกรุงเทพฯ ต้องพัฒนาอย่างไรต่อไป ได้ในคลิปนี้…

.

ดำเนินรายการโดย ไอยรา อัลราวีย์

Content Manager

.

แขกรับเชิญ คุณณัฐพงศ์ เปรมพูลสวัสดิ์

ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เขตประเวศ-สะพานสูง พรรคก้าวไกล


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top