Tuesday, 8 July 2025
ค้นหา พบ 49283 ที่เกี่ยวข้อง

วันนี้เป็นวันสำคัญที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ เมื่อ ‘ประเทศสยาม’ (ชื่อเดิมประเทศไทย) ต้องเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ให้กับประเทศฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินเมืองจันทบุรี และต้องการให้ทหารฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากพื้นที่

วันนี้เป็นวันสำคัญที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ เมื่อ ‘ประเทศสยาม’ (ชื่อเดิมประเทศไทย) ต้องเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ให้กับประเทศฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญาสยาม - ฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินเมืองจันทบุรี และต้องการให้ทหารฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากพื้นดังกล่าว

โดยหากสืบย้อนกลับไป ตามหน้าบันทึกทางประวัติศาสตร์ การถูกคุกคามของนักล่าอาณานิคมจากตะวันตกนั้น เริ่มต้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มีทวีความรุนแรงมากขึ้น ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในเวลานั้น เป็นทั้งประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ที่แผ่อิทธิพลเข้ามา

การเสียดินแดนให้กับฝรั่งเศสเริ่มต้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2430 เมื่อฝรั่งเศสเข้าครอบครองดินแดนสิบสองจุไทย จากนั้นใน ปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสก็รุกคืบมาทางเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง จนเป็นที่มาของการปะทะกันของเรือรบไทยกับฝรั่งเศส นำไปสู่ความเสียหายและการถูกปิดอ่าว ทางการไทยไม่อยากให้เหตุการณ์ลุกลามบานปลาย จึงจำยอมต้องเสียดินแดนในส่วนดังกล่าวกว่า 140,000 ตารางกิโลเมตรไป พร้อมทำสนธิสัญญาต่อกัน

กระทั่งเวลาผ่านไป ฝรั่งเศสกลับไปยอมคืนพื้นที่เมืองจันทบุรี ที่ยึดเอาไว้เป็นประกันตามที่ตกลงกันในสัญญา โดยทำการยึดเอาไว้นานกว่า 10 ปี จนเมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2446 ฝรั่งเศสประกาศจะยอมถอนทหารออกไปจากจันทบุรี หากไทยยอมยกพื้นที่ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง และทางใต้ตรงข้ามเมืองปากเซ ให้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน

และแล้วในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446 ไทยก็ยอมยกพื้นที่ดังกล่าวให้กับฝรั่งเศส เพื่อรักษาเมืองจันทบุรี และยุติปัญหาสัญญากับทางฝรั่งเศสลง

แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ประเทศสยามจะถูกคุกคามจากนักล่าอาณานิคมตะวันตกอย่างหนัก แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ไทย ตลอดจนขุนนาง ข้าราชการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอีกมากมาย ก็ทำให้การสูญเสียในครั้งนั้น เป็นไปโดยน้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อยังคงรักษาอธิปไตยแห่งความเป็น ‘สยามประเทศ’ เอาไว้อย่างดีที่สุด


ที่มา: http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=4&chap=9&page=t4-9-infodetail03.html

กลุ่มราษฎรมาตามนัด จัดกิจกรรมตีหม้อต้านเผด็จการ ขณะที่ผู้ชุมนุมรายหนึ่งพ่นสีบนรั้วสกายวอล์ค จนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าควบคุมตัว

บรรยากาศบริเวณสกายวอล์ค แยกปทุมวัน ได้มีกลุ่มมวลชนทยอยมารวมตัวกัน หลัง น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง แกนนำกลุ่มธรรมศาสตร์ และการชุมนุม แนวร่วมราษฎร ได้ประกาศนัดชุมนุมในเวลา 15.00 น. เป็นต้นไป

ทั้งนี้ได้มีผู้ชุมนุมหญิงรายหนึ่งได้ พ่นสีสเปรย์บริเวณรั้วบนสกายวอล์ค ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลความสงบในพื้นที่ ได้เข้าควบคุมตัวผู้ชุมนุมรายนี้

ด้าน พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมขอให้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมจะมีการเจรจากันอยู่แล้ว ถ้าขัดกฎหมายก็ต้องดำเนินคดีเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ฝากประชาชนที่จะมาชุมนุม ขอให้ระลึกถึงความสงบเรียบร้อย

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จัดกำลัง 5 กองร้อยเพื่อดูแลการชุมนุมในครั้งนี้


ที่มา: https://www.posttoday.com/politic/news/645040

ป.ป.ช. แจงยิบ เหตุส่งศาลฎีกาวินิจฉัยถอดถอน ‘ปารีณา’ จากตำแหน่ง ส.ส. ผิดจริยธรรมร้ายแรง กรณีรุกป่ากว่า 700 ไร่ ชี้ประพฤติตัวไม่เหมาะเป็นตัวแทนประชาชน

นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษก ป.ป.ช. แถลงว่า ตามที่ คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการไต่สวน เพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงกับ น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ หลังจากยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อเข้ารับตำแหน่ง ส.ส.ปรากฎรายการที่ดิน 29 แปลง พื้นที่รวม 853-0-73 ไร่ ใน อ.จอมบึง จ.ราชบุรี

ทั้งนี้ พยานหลักฐานจากข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตป่าและเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2548 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 1069 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 โดยในปี 36 และปี 37 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ให้สำนักงานปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ให้ไปดำเนินการปฏิรูปที่ดิน ต่อมาปี 54 มี พ.ร.ฎ.กำหนดให้พื้นที่ อ.รางบัว อ.จอมบึง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน และ ส.ป.ก.ให้เกษตรกรยื่นคำร้องขอเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว

จากการไต่สวนปรากฏว่า น.ส.ปารีณา ร่วมกับนายทวี ไกรคุปต์ บิดา เข้ายึดถือ ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พื้นที่จำนวน 711-2-93 ไร่ โดยเบื้องต้นได้กระจายการถือครองที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยชื่อบุคคลอื่นมาถือครอง แต่ในปี 55 ได้มีการโอนกลับมาเป็นชื่อของน.ส.ปารีณา ทั้งหมด ต่อมา อบต.รางบัว ได้ยกเลิกการเก็บภาษีบำรุงท้องที่ดังกล่าว

เนื่องจากกรมการปกครองได้แจ้งให้ยกเลิกแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) เพราะเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือที่สาธารณประโยชน์ที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่ น.ส.ปารีณา ก็ยังคงยึดถือ ครอบครอง และใช้ประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว โดยไม่มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ และ ส.ป.ก.แต่อย่างใด

ในปี 55 - 62 น.ส.ปารีณา ได้ขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อ อบต.รางบัว และใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม “เขาสนฟาร์ม” และ “เขาสนฟาร์ม 2” บนที่ดินดังกล่าวต่อกรมปศุสัตว์ และในปี 61 ได้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ปารีณา ไกรคุปต์ จำกัด เพื่อประกอบกิจการดังกล่าว

ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พ.ค.62 น.ส.ปารีณา ได้เข้าปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. โดยยังคงยึดถือ ครอบครอง และทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐดังกล่าวโดยอ้างเอกสารแบบแสดงรายการที่ดินฯ (ภ.บ.ท.5) ทั้ง 29 แปลงที่ถูกยกเลิกไปแล้ว และมิได้รับอนุญาต

จนกระทั่งถูกตรวจสอบการครอบครองที่ดินจาก ส.ป.ก.และกรมป่าไม้ โดย ส.ป.ก.ได้แจ้งให้ น.ส.ปารีณา ส่งคืนที่ดินที่ครอบครอง และทำประโยชน์ดังกล่าวทั้งหมด อีกทั้งกรมป่าไม้ได้ร้องทุกข์ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ให้ดำเนินคดีอาญากับ น.ส.ปารีณา ในข้อหาบุกรุกที่ดินของรัฐ เป็นพื้นที่ 711-2-93 ไร่ และคำนวณค่าเสียหายเป็นตัวเงิน จำนวน 36,224,791 บาท

ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้พิจารณาสำนวนการไต่สวนแล้วเห็นว่า น.ส.ปารีณา เป็น ส.ส. ในฐานะผู้แทนของประชาชน ไม่ยึดถือระเบียบ หลักเกณฑ์ กฎหมาย และไม่ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

ซึ่งเป็นประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ หรือเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินที่มีเจตนารมณ์เพื่อต้องการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อน และลดความเหลื่อมล้ำในฐานะของบุคคลในทางเศรษฐกิจและสังคม

ดังนั้น จึงมีมติว่า น.ส.ปารีณา ยึดถือ ครอบครอง และใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐโดยมิชอบดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีเป็น ส.ส.กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันถือว่ามีลักษณะร้ายแรง

และก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่ง อันถือว่ามีลักษณะร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 ข้อ 11 ข้อ 17 ประกอบ ข้อ 27 วรรคสอง ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยต่อไป

‘วันแห่งความรัก’ อีกหนึ่งวันสำคัญที่คู่รักทุกคู่ เพื่อนฝูง พี่น้อง หรือคนในครอบครัว จะมอบความรัก ความปรารถนาดีให้แก่กัน โดยวันนี้มีที่มาตั้งแต่ ค.ศ. 496 หรือเมื่อ 1,525 ปีมาแล้ว

ประวัติศาสตร์ของ ‘วันวาเลนไทน์’ เริ่มมาตั้งแต่ยุคจักรวรรดิโรมัน โดยมีเรื่องเล่ากันว่า เคยมีนักบุญนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือ วาเลนตินัส เป็นนักบุญที่คอยจัดพิธีแต่งงานให้กับคู่รักมากมาย แต่กลับกลายเป็นความผิดรุนแรง เนื่องจากในยุคนั้นทางการมีคำสั่งห้ามบุรุษเพศแต่งงาน เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พวกเขาไม่ยอมออกไปร่วมรบกับกองทัพ

จากความผิดนี้เอง ทำให้วาเลนไทน์ต้องถูกจองจำ แต่แล้วเขาก็เกิดไปตกหลุมรัก จูเลีย ลูกสาวของผู้คุมขังเข้า ความรักของทั้งคู่งอกงามผ่านลูกกรงขัง แต่แล้วเมื่อเวลาผ่านไป จากความผิดของวาเลนไทน์ ทำให้เขาได้รับโทษถึงขั้นประหารชีวิต คืนก่อนหน้านั้นเอง เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย ลงท้ายว่า ‘From Valentine’ เป็นสัญลักษณ์ของความรักอันชั่วนิรันดร์ ซึ่งภายหลังการเสียชีวิต ศพของเขาได้ถูกนำไปเก็บเอาไว้ในโบสถ์ ณ กรุงโรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270

ด้วยความรัก ความเมตตา และความกล้าหาญ เวลาผ่านมานับร้อยปี เรื่องเล่าของนักบุญคนนี้ ทำให้มีคนยกให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ระลึกถึงความยิ่งใหญ่ของความรัก โดยตั้งชื่อวันนี้ว่า วันวาเลนไทน์

แม้จะเป็นวันสากลที่ผู้คนทั่วโลกต่างรู้จัก แต่กิจกรรมในวันวาเลนไทน์ของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปในเชิงสัญลักษณ์ บางที่มอบดอกไม้แสดงความรัก บางแห่งมอบช็อคโกแลตบอกความในใจ และอีกมากมาย แต่โดยรวมแล้ว วันนี้ถือเป็นวันที่ทุกคนมอบความรัก ความปรารถนาดีให้แก่กัน ไม่เฉพาะแค่คู่รัก แต่ยังหมายรวมถึงคนโสด พี่น้อง พ่อแม่ และสมาชิกในครอบครัวด้วยนั่นเอง


ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%8C

คนไม่มีสมาร์ทโฟนเตรียมเฮ!!! กระทรวงการคลัง เปิดลงทะเบียนร่วมโครงการ ‘เราชนะ’ 15 - 25 ก.พ.นี้ ที่สาขาธนาคารกรุงไทย หรือจุดบริการเคลื่อนที่รับลงทะเบียนของธนาคาร

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายละเอียดการเปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเราชนะ สำหรับประชาชนกลุ่มที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ว่า ประชาชนกลุ่มนี้ สามารถลงทะเบียนได้ระหว่างวันที่ 15 - 25 ก.พ.นี้ ที่สาขาธนาคารกรุงไทย หรือจุดบริการเคลื่อนที่รับลงทะเบียนต่าง ๆ ของธนาคาร

สำหรับประชาชนในกลุ่มนี้ เบื้องต้นต้องนำบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ไปใช้ประกอบการลงทะเบียนขอรับสิทธิ์โครงการฯ โดยต้องพิสูจน์และยืนยันตัวตนโดยการเสียบบัตรประจำตัวประชาชน ผ่านเครื่องรูดบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (EDC) พร้อมกำหนดรหัส (PIN Code) ได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทย หรือจุดบริการที่ธนาคารกรุงไทยกำหนด หากผ่านการคัดกรองคุณสมบัติและได้รับอนุมัติวงเงินสิทธิ์จะได้รับวงเงินสิทธิ์สนับสนุนเป็นราย

ส่วนกลุ่มประชาชนที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ทางเว็บไซต์เราชนะ แล้วพบว่า “ไม่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ” สามารถยื่นขอทบทวนสิทธิ์ผ่านทางเว็บไซต์เราชนะ ได้ โดยผู้ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติเรื่องเงินได้พึงประเมิน

และต้องการให้ตรวจสอบข้อมูลเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2563 ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2563 ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ แต่ต้องไม่เกินวันที่ 8 มี.ค. 2564 สำหรับผู้ที่ได้ยื่นขอทบทวนสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 8 - 9 ก.พ. 2564 จะต้องยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 17 ก.พ. 2564

ที่ผ่านมากระทรวงการคลังพบว่ามีประชาชนหรือร้านค้าที่ใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์ผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการประสานขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการติดตาม ตรวจสอบ

และดำเนินการทางกฎหมายในประเด็นดังกล่าวแล้ว หากตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิดเงื่อนไขจริง จะระงับการใช้แอปฯ “ถุงเงิน” ของร้านค้า และระงับการจ่ายเงินให้กับร้านค้าทันที รวมถึงระงับการใช้แอปฯ เป๋าตัง และจะดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top