Tuesday, 8 July 2025
ค้นหา พบ 49269 ที่เกี่ยวข้อง

‘รังสิมันต์ โรม’ เปิดหลักฐาน อัด ‘สิระ’ บิดเบือนข้อเท็จจริง ให้ข้อมูลเท็จ ปมกล่าวหาตนบุกรุก ‘เกาะงำ’ ทำร้ายประชาชน เตรียมฟ้องกลับฐานหมิ่นประมาท ซัดหวังดิสเครดิตก้าวไกล ก่อนอภิปรายไม่วางใจหรือไม่

นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เเถลงข่าวต่อสื่อมวลชน พร้อมเปิดหลักฐานภาพถ่ายในการลงพื้นที่ จากกรณีที่นายสิระ เจนจาคะ ส.ส. กทม. พรรคพลังประชารัฐ และนายชัยยันต์ ผลสุวรรณ ส.ส. ปทุมธานี พรรคเพื่อไทย ได้ร่วมแถลงข่าวว่ามีประชาชนที่เกาะงำ จ.ภูเก็ต มาร้องเรียนว่าถูกผมข่มขู่ให้ออกจากพื้นที่นั้น

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตนได้ลงพื้นที่เกาะงำ 2 ครั้งด้วยกัน คือช่วงเดือนมกราคม 2562 และ เดือนกันยายน 2562 ตอนที่ลงพื้นที่ดังกล่าวครั้งแรก เป็นช่วงการหาเสียง ที่ได้รับแจ้งจากชาวบ้านพารา ซึ่งอยู่ฝั่งของเกาะภูเก็ต ว่าชาวบ้านไม่สามารถไปเยือนเกาะดังกล่าวได้ เพราะเมื่อเดินทางไปแล้ว มีการใช้อาวุธปืนยิงขึ้นฟ้า ข่มขู่ว่าจะทำร้าย ซึ่งชาวบ้านพารามีความกังวลว่า อาจจะมีกระบวนการให้นายทุนมายึดครองเกาะนี้เป็นเกาะส่วนตัว ตนจึงถือโอกาสนั้นลงพื้นที่ดังกล่าว พบว่าเป็นเกาะที่ยังมีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ไม่พบเห็นใครอยู่ในเกาะดังกล่าว

โดยหลังจากนั้นตนลงพื้นที่เกาะงำอีกครั้ง คือเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2562 ซึ่งชาวบ้านบ้านพารา ยืนยันกับผมว่าอีกครั้งว่ามีความพยายามเอาเกาะงำนี้เป็นเกาะส่วนตัวจริง จึงมาร้องยังผมเพื่อขอให้ช่วย ผมลงจึงลงพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งการลงครั้งนี้เป็นการลงร่วมกับทางป่าไม้ เหตุที่ลงพร้อมกับป่าไม้ เพราะตนทราบว่า ทางชาวบ้านน่าจะประสานลงพื้นที่กับทางป่าไม้มาอีกทางหนึ่ง จึงได้มีการลงพื้นที่ร่วมกัน เพราะมีชาวบ้านมาร้องเรียนว่ามีคนบุกรุกพื้นที่เกาะ มีอาวุธปืนยิงไล่คนที่เข้าใกล้ ตนจึงลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้เพื่อตรวจสอบเบื้องต้น จึงได้พบกับครอบครัวดังกล่าว ทางป่าไม้ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตป่าไม้จริง มีการปลูกบ้านอยู่อาศัย ทางป่าไม้จึงแจ้งกับทางครอบครัวดังกล่าวให้ออกจากพื้นที่ภายในเวลาที่กำหนด โดยไม่มีการข่มขู่แต่อย่างใด

โดยตนขอยืนยันว่าตัวผมไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรเกี่ยวข้องกับที่ดินบนเกาะงำเลยแม้แต่น้อย และภายหลังจากที่ลงพื้นที่ครั้งนั้น ตนก็ยังไม่เคยได้ไปที่เกาะแห่งนั้นอีก ในการที่ลงพื้นที่นั้น เบื้องต้นมีการกล่าวว่าจะมีการเอาเกาะนี้เป็นเกาะส่วนตัวจากนายทุน สิ่งที่ผมทำคือการแก้ไขปัญหาความขัดเเย้งเพื่อไม่ให้เกิดความรุนเเรง อีกทั้งกรณีนี้ต่างจากเรื่องสิทธิชุมชนในพื้นที่ป่าหรือกลุ่มชาติพันธ์ที่อยู่อาศัยมาก่อนการประกาศเขตป่า

ส่วนประเด็นที่กล่าวหาว่ามีการคุกคามกักขังหน่วงเหนี่ยวเด็ก ตนขอยืนยันว่าไม่ได้มีการแตะเนื้อต้องตัวเด็กแม้แต่น้อย ตนเองคงไม่มีความสามารถทำแบบนั้น ณ เวลานั้นตนเป็น ส.ส. ได้เพียง 6 เดือน ที่สำคัญเป็น ส.ส. ฝ่ายค้าน จะเอาเด็กไปขังไว้สำนักงานป่าไม้ ข้าราชการที่ไหนเขาจะยอมให้ตนทำเช่นนั้น โดยตนมั่นใจว่าการลงพื้นที่ในครั้งนั้นในบ้านของชาวบ้านมีกล้องวงจรปิด หากมีหลักฐานที่ตนกระทำอย่างที่นายสิระ เเละนายชัยยันต์ กล่าวหาจริง ผมขอให้นำภาพหลักฐานมาชี้เเจง

นายรังสิมันต์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สุดท้ายนี้ ไม่ว่าการหยิบเรื่องดังกล่าวมาโจมตีผมในจังหวะเวลานี้จะเป็นไปด้วยมูลเหตุจูงใจอะไรก็ตาม ตนพร้อมที่จะยืนยันข้อเท็จจริงในทุกประเด็น ทุกกระบวนการ และหากว่านี่คือขบวนการใส่ร้ายป้ายสีตน นั้นเพราะว่ารัฐบาลกังวลใจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน เเละคิดว่ารัฐบาลจะอยู่ต่อไม่ได้ กรณีที่เกิดขึ้นเป็นการดิสเครดิตพรรคร่วมฝ่ายค้าน โดยเฉพาะพรรคก้าวไกล ผมผิดหวังจากใจจริงว่าคนที่ยืนข้างคุณสิระ คือคุณชัยยันต์ ผลสุวรรณ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ผู้ร่วมทำงานด้านอภิปรายไม่ไว้วางใจร่วมกับกัน โดยตนจะดำเนินคดีการทางกฎหมายกลับอย่างแน่นอน พร้อมมั่นใจว่าตนไม่มีประโยชน์ส่วนได้เสียกับคดีเกาะงำ และหวังให้ยุติขบวนการยึดครองเกาะของนายทุนเป็นพื้นที่ส่วนตัว

 

VietJet สายการบินราคาประหยัดของเวียดนาม เผยรายได้ปี 2020 มีกำไรหลังหักภาษีแล้ว 90 ล้านบาท โชว์ศักยภาพสายการบินเพียงไม่กี่แห่งบนโลกที่มีกำไร และไม่ต้องปรับลดพนักงานในช่วงวิกฤติโควิด-19

แม้ในปีที่ผ่านมา VietJet จะเปิดให้บริการเที่ยวบินได้เพียง 78,462 เที่ยว ซึ่งลดลงจากปี 2019 ที่ให้บริการ 139,000 เที่ยว แต่ VietJet ก็ยังทำกำไรได้ถึง 3 ล้านเหรียญสหรัฐหรือกว่า 90 ล้านบาท ขณะที่สายการบินอื่นๆ ตกอยู่ในภาวะขาดทุนหรือต้องปิดกิจการ

กุญแจสำคัญของ VietJet อยู่ตรงไหน?

ในปีที่ผ่านมา รายได้เสริมของVietJet คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น การเพิ่มจำนวนเที่ยวบินขนส่งสินค้า ซึ่งอันที่จริงแล้ว VietJet ไม่มีเครื่องบินบรรทุกสินค้าเป็นของตัวเอง จึงต้องดัดแปลงเครื่องบินโดยสารเพื่อรองรับการขนส่งสินค้า โดยการถอดที่นั่งออกและยึดสินค้าด้วยตาข่าย

จากนั้นก็ได้ทำข้อตกลงร่วมกับบริษัทอื่นๆ ทำให้สามารถขยายเครือข่ายการขนส่งสินค้าไปยังยุโรปและสหรัฐฯ อาทิ บริษัทขนส่งสินค้ายูพีเอส โดยในปี 2020 VietJet เป็นสายการบินแห่งแรกของเวียดนามที่ได้รับอนุมัติให้ขนส่งสินค้าในห้องโดยสาร (CIPC) สามารถขนส่งสินค้าไปทั่วโลกได้กว่า 6 หมื่นตัน ทำให้รายได้จากการขนส่งสินค้าพุ่งขึ้น 75% ในไตรมาส 4/2020 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเติบโตขึ้นเพียง 16% และถือเป็นการทำธุรกิจขนส่งสินค้าที่ไปไกลได้ถึงทวีปอเมริกาและยุโรปครั้งแรก ทั้งที่เดิมเป็นแผนที่วางไว้ในอนาคต ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของสายการบินที่ส่งเสริมการขายสินค้าและบริการเพื่อชดเชยรายได้จากการจำหน่ายตั๋วโดยสารที่ลดลง

ไม่เพียงแต่การปรับธุรกิจเป็นเครื่องบินขนส่ง แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา VietJet ยังเปิดตัว VietJet Ground Services Center (VJGS) ณ ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (ฮานอย) ซึ่งมีส่วนช่วยในการจัดการต้นทุนสายการบินและช่วยปรับปรุงการรับรู้แบรนด์และคุณภาพการให้บริการของสายการบินดีขึ้น แถมยังเปิดตัวสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร อาทิ บัตรกำนัลพาวเวอร์พาส (Power Pass) และบัตรกำนัลพาวเวอร์พาสสำหรับชั้นโดยสารสกายบอส (Power Pass Skyboss)

ในส่วนของการลดค่าใช้จ่าย VietJet ก็ได้บริหารจัดสรรฝูงบินใหม่ ซึ่งทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ 10% ผ่านการเจรจาขอส่วนลด 20-25% จากผู้ผลิต พร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไปได้ 10% โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 ยังประสบความสำเร็จจากการประกันความเสี่ยงราคาเชื้อเพลิง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงได้ 25% เมื่อเทียบกับราคาตลาด

นอกจากนี้ ยังมีรายได้เพิ่มเติมจากการเปิดศูนย์บริการพิเศษภาคพื้นดินที่สนามบินนานาชาติโหน่ยบาย ในฮานอย รวมถึงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ค่อนข้างน้อย ทำให้ไม่มีมาตรการที่ขัดขวางการเดินทางโดยเครื่องบินภายในประเทศ และยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้วยการลดภาษี ขยายระยะเวลาการชำระภาษี ลดค่าธรรมเนียมการขึ้น-ลงเครื่องบินและค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตลอดจนได้รับการพิจารณาข้อเสนอความช่วยเหลือทางการเงินของรัฐบาลสำหรับสายการบินท้องถิ่น

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้สายการบิน VietJet ไม่จำเป็นต้องปรับลดพนักงานลง แถมยังทำให้เกิดกำไรสวนทางกับสายการบินอื่นๆ ในโลก

ปัจจุบันสินทรัพย์ของ VietJet มีมูลค่ารวม 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้บริการเที่ยวบินในปี 2020 ที่ 78,462 เที่ยวบิน มีชั่วโมงบินรวม 120,093 ชั่วโมง รองรับผู้โดยสารกว่า 15 ล้านคน อัตราความน่าเชื่อถือทางเทคนิคของ VietJet สูงถึง 99.64% ได้รับการจัดอันดับความปลอดภัยระดับ 7 ดาว เป็นระดับสูงสุดและได้รับการจัดอันดับจาก Airline ratings อยู่ใน 10 อันดับสายการบินโลว์คอสต์ที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุดในโลกประจำปี 2020 และตอนนี้ VietJet กลับมาให้บริการเส้นทางบินในประเทศเวียดนามแล้วกว่า 47 เส้นทาง


ที่มา:

https://www.posttoday.com/world/644433

https://brandinside.asia/vietjet-income-and-profit-in-2020/?fbclid=IwAR1SYc8XVnZMKVQIDX8jf56IPij-5sEYJ1egqdkAH9WKYTJWkOBA_y__R1E

นอกจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่คอยดูแลความปลอดภัยให้กับผู้คนในประเทศแล้ว ยังมีอีกหนึ่งบุคลากรที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นคือ ‘อาสารักษาดินแดน’ ซึ่งวันนี้ ครบรอบ 67 ปี ของการก่อตั้งกองอาสารักษาดินแดน และถูกยกให้เป็น ‘วันอาสารักษาดินแดน’ อีกด้วย

หลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพเหล่าบุคลากรที่แต่งตัวเครื่องแบบคล้ายทหาร และเรียกกันจนติดปากว่า อส. ซึ่งที่มาของอาสารักษาดินแดนนี้ ต้องย้อนกลับไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้เป็นกองพลอาสาสมัครเพื่ออบรมข้าราชการและประชาชนให้รู้จักรักชาติ รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ

ต่อมา ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออก พรบ.กำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. 2481 และ พรบ.ให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2484 ทั้งนี้เพื่อฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการป้องกันประเทศในเวลาสงคราม ด้วยกฎต่างๆ เหล่านี้เอง จึงทำให้มีบุคลากรเข้ามารับการฝึกอบรม จนค่อยๆ พัฒนากลายเป็นกำลังสำรองที่มีความพรั่งพร้อมในการป้องกันประเทศ ตลอดจนช่วยเหลือทุกข์สุขของประชาชนไปอีกทาง

เวลาผ่านมาอีกราว 13 ปี ก็ได้มีการประกาศใช้ พรบ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ขึ้น ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 พร้อมทั้งกำหนดให้วันดังกล่าว เป็นวันอาสารักษาดินแดน ไปด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันมีการเปิดรับสมัครบุคคลทั้งชายและหญิง เพื่อเข้ารับการอบรมเป็นอาสารักษาดินแดน โดยในวันนี้มีเจ้าหน้าที่ อส.อยู่กว่า 26,531 คน ประจำอยู่ 971 กองร้อยทั่วประเทศ คอยทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ถือเป็นกำลังสำรองที่มีความสำคัญและสร้างคุณประโยชน์กับประเทศชาติมาโดยตลอด


ที่มา: https://th.wikipedia.org/, https://hilight.kapook.com/view/97447, https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2568141

ทีมแฮคเกอร์เกาหลีเหนือสุดแสบ แอบเจาะข้อมูลขโมยทรัพย์สินออนไลน์ ระดมเงินให้ ‘รัฐบาลคิม’ สร้างขีปนาวุธนิวเคลียร์ 2 ปี ได้ไปกว่า 300 ล้านเหรียญ

สำนักข่าว CNN ได้อ้างอิงเอกสารลับจากองค์การสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ทีมแฮ็คเกอร์ของกองทัพเกาหลีเหนือได้เจาะข้อมูลดูดเงิน และทรัพย์สินในระบบออนไลน์รวมมูลค่าถึง 316.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 2019 - 2020 ที่ผ่านมา เชื่อว่าส่งไปให้รัฐบาลคิม จอง-อึน ใช้พัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์ในประเทศ

การเคลื่อนไหวของกลุ่มนักรบไซเบอร์ของเกาหลีเหนือ ถูกจับตามานานแล้วทั้งทีมสืบสวนพิเศษของสหประชาชาติ (UN) และ หน่วยข่าวกรองด้านความมั่นคงของสหรัฐ และ เกาหลีใต้ ที่เชื่อได้ว่าเกาหลีเหนือกลับมาพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์อีกครั้ง แต่ไม่อาจยืนยันได้ว่ากำลังพัฒนาขีปนาวุธในพิสัยยิงไกลระดับใด และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว

และสอดคล้องกับถ้อยแถลงของคิม จอง-อึน ที่เคยประกาศว่า เกาหลีเหนือจะรื้อฟื้นโครงการพัฒนาขีปนาวุธขึ้นมาใหม่ เพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามของสหรัฐอเมริกา แม้ในสมัยของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ จะมีความพยายามที่จะดึงเกาหลีเหนือสู่โต๊ะเจรจาในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ แต่ทว่าไม่สามารถตกลงกันได้เนื่องจาก ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการยุติการคว่ำบาตรต่อเกาหลีเหนือ แม้ว่ารัฐบาลคิม จอง-อึน จะเผยแพร่ภาพการทำลายฐานทดสอบนิวเคลียร์ให้โลกเห็นแล้วก็ตาม

และท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดไวรัส Covid -19 ทั่วโลก ที่บีบให้เกาหลีเหนือตัดสินใจปิดพรมแดน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ Covid-19 เข้ามาในประเทศ นั่นหมายถึงการระงับการส่งออกถ่านหินไปยังประเทศจีน ที่เป็นคู่ค้าสำคัญ และเป็นรายได้หลักเพียงไม่กี่อย่างของเกาหลีเหนือ

และยังถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติ ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าทุนสำรองในประเทศของเกาหลีเหนืออาจแทบไม่เหลือแล้ว และอาจเลวร้ายถึงขั้นเศรษฐกิจล่มสลายในไม่ช้า ดังนั้นการหารายได้เสริมจากหน่วยรบไซเบอร์ จึงกลายเป็นช่องทางการเงินเพียงอย่างเดียว ที่จะทำให้เกาหลีเหนือเข้าถึงเงินตราต่างประเทศได้

ซึ่งข้อมูลที่ทางฝ่ายสืบสวนของสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับอาจมีเพียงแค่ส่วนเดียว เพราะเป็นที่รู้กันนานแล้วว่า เกาหลีเหนือมีหน่วยงานด้านการทหารที่ฝึกนักรบไซเบอร์โดยเฉพาะที่เรียกว่า Bureau 121 ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับกลุ่มแฮ็คเกอร์ในต่างประเทศ ที่เคยโจมตีเว็บไซต์ของกระทรวงรวมประเทศของเกาหลีใต้ เพื่อเจาะฐานข้อมูลชาวเกาหลีเหนือแปรพักตร์ การปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานราชการในสหรัฐอเมริกามาแล้ว

ตอนนี้หลายฝ่ายกำลังจับตามองท่าทีของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐคนล่าสุด ว่าจะมีนโยบายต่อเกาหลีเหนืออย่างไร ส่วนทางเกาหลีเหนือยังไม่ได้ออกมาตอบโต้รายงานข่าวเรื่องการจารกรรมทรัพย์สินโดยทีมแฮ็คเกอร์ของเกาหลีเหนือในครั้งนี้


อ้างอิง

https://edition.cnn.com/2021/02/08/asia/north-korea-united-nations-report-intl-hnk/index.html

https://www.cnbc.com/2019/09/13/treasury-department-sanctions-north-korean-hackers-over-cyberattacks-of-critical-infrastructure.html

https://en.wikipedia.org/wiki/Bureau_121

วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2543 จากนวนิยายเรื่อง ‘อมตะ’ ได้โพสต์ข้อความถึงเรื่อง “คุณธรรมกับกฎหมาย” ในเฟซบุ๊กส่วนตัวให้รู้สึกกังวล ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไทยที่เริ่มถูกความเมตตามาแทรกแซงกฎระเบียบ

ม็อบหรือการต่อสู้ครั้งนี้มีเป้าหมายอยู่ที่การ “ล้มเจ้า” อาวุธหลักที่พวกเขาใช้ คือ การใช้ถ้อยคำที่ต่ำช้าสามานย์ที่สุดเท่าที่จะนึกหรือคิดขึ้นได้ รวมทั้งพูดเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง พวกเขามีหลักคิดและเชื่อว่าถ้อยคำพวกนี้จะสามารถ “ทำลายชนชั้น” ได้ ดังที่ศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใช้คำว่า “ทำลายช่วงชั้น” ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ “คนเท่ากัน”

…แต่ผลของวิธีนี้ ก็ทำให้ผิดกฎหมายมาตรา 112

แม้มาตรา 112 จะเป็นคดีอาญา แต่ก็มองเป็นคดีแพ่งได้ เพราะเป็นเรื่องการเมือง - เป็นความคิดเห็นทางการเมือง ดังนั้นจึงมีเรื่อง “ความเมตตา” เข้ามาประนีประนอม

ผลที่ตามมาก็คือ การเผชิญหน้ากันระหว่าง “คุณธรรม” (ความเมตตา) กับ “กฎหมาย”

ถ้ากฎหมายถูก “ยกไว้” หรือ “ชะลอไว้” ก็อาจจะส่งผลให้ผิดกฎหมายมาตราอื่นตามมา คือ เจ้าหน้ารัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

กฎหมายก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ เจ้าหน้าที่รัฐก็ขาดความเชื่อถือ เมื่อมีคนทำผิดกฎหมายมาตราอื่นๆ ก็จะอ้างถึงคดีในมาตรา 112 และอ้างถึงความเมตตาบ้าง

นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ขอลายชื่อสาธารณชนเพื่อคัดค้านการยกเลิกมาตรา 112 จึงเป็นเรื่องที่ขำขื่น เพราะปัจจุบันยังมีมาตรา 112 อยู่ ก็ยังคาราคาซังและกังขาว่าจะเอาอย่างไรแน่

ท่านนายกฯ ออกมาประกาศขึงขังว่าจะเอาจริงนั้น >> ยังไม่มีผลมากนัก

ทางออกของเรื่องนี้ในมุมของ วิมล จึงมีดังนี้

ทางออกที่ 1 ให้ดำเนินคดีไปตามปรกติเช่นเดียวกับคดีอื่นๆ ศาลตัดสินแล้วจึงผ่อนโทษหรืออภัยโทษ

ทางออกที่ 2 แก้ไขมาตรา 112 ให้เหมาะสมกับคุณธรรม

ทางออกที่ 3 ยกเลิกมาตรานี้ แล้วมีมาตราใหม่ขึ้นมา

ทางออกที่ 2 กับ 3 นั้นเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร

วิมล มองว่า หากความชัดเจนของกฎหมาย เช่น ม.112 ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ก็จะเป็นตัวอย่างให้กฎหมายอื่นๆ ไม่น่าเชื่อถือ ประเทศก็สูญเสียหลักการปกครอง (ทุกคนเท่าเทียมกันตามกฎหมาย) สังคมก็จะสับสนจนมั่ว คนก็ไม่เกรงกลัวกฎหมาย เห็นได้จากม็อบครั้งนี้ ส่วนคนที่เคารพกฎหมายก็ด่ารัฐบาล และสุดท้ายก็จะไม่สนใจอีกต่อไป


ที่มา: https://www.facebook.com/100002386922271/posts/3731544303601764/


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top