วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2543 จากนวนิยายเรื่อง ‘อมตะ’ ได้โพสต์ข้อความถึงเรื่อง “คุณธรรมกับกฎหมาย” ในเฟซบุ๊กส่วนตัวให้รู้สึกกังวล ถึงความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไทยที่เริ่มถูกความเมตตามาแทรกแซงกฎระเบียบ

ม็อบหรือการต่อสู้ครั้งนี้มีเป้าหมายอยู่ที่การ “ล้มเจ้า” อาวุธหลักที่พวกเขาใช้ คือ การใช้ถ้อยคำที่ต่ำช้าสามานย์ที่สุดเท่าที่จะนึกหรือคิดขึ้นได้ รวมทั้งพูดเรื่องเพศอย่างโจ่งแจ้ง พวกเขามีหลักคิดและเชื่อว่าถ้อยคำพวกนี้จะสามารถ “ทำลายชนชั้น” ได้ ดังที่ศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ใช้คำว่า “ทำลายช่วงชั้น” ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ “คนเท่ากัน”

…แต่ผลของวิธีนี้ ก็ทำให้ผิดกฎหมายมาตรา 112

แม้มาตรา 112 จะเป็นคดีอาญา แต่ก็มองเป็นคดีแพ่งได้ เพราะเป็นเรื่องการเมือง - เป็นความคิดเห็นทางการเมือง ดังนั้นจึงมีเรื่อง “ความเมตตา” เข้ามาประนีประนอม

ผลที่ตามมาก็คือ การเผชิญหน้ากันระหว่าง “คุณธรรม” (ความเมตตา) กับ “กฎหมาย”

ถ้ากฎหมายถูก “ยกไว้” หรือ “ชะลอไว้” ก็อาจจะส่งผลให้ผิดกฎหมายมาตราอื่นตามมา คือ เจ้าหน้ารัฐไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

กฎหมายก็คลายความศักดิ์สิทธิ์ เจ้าหน้าที่รัฐก็ขาดความเชื่อถือ เมื่อมีคนทำผิดกฎหมายมาตราอื่นๆ ก็จะอ้างถึงคดีในมาตรา 112 และอ้างถึงความเมตตาบ้าง

นายแพทย์วรงค์ เดชกิจวิกรม ขอลายชื่อสาธารณชนเพื่อคัดค้านการยกเลิกมาตรา 112 จึงเป็นเรื่องที่ขำขื่น เพราะปัจจุบันยังมีมาตรา 112 อยู่ ก็ยังคาราคาซังและกังขาว่าจะเอาอย่างไรแน่

ท่านนายกฯ ออกมาประกาศขึงขังว่าจะเอาจริงนั้น >> ยังไม่มีผลมากนัก

ทางออกของเรื่องนี้ในมุมของ วิมล จึงมีดังนี้

ทางออกที่ 1 ให้ดำเนินคดีไปตามปรกติเช่นเดียวกับคดีอื่นๆ ศาลตัดสินแล้วจึงผ่อนโทษหรืออภัยโทษ

ทางออกที่ 2 แก้ไขมาตรา 112 ให้เหมาะสมกับคุณธรรม

ทางออกที่ 3 ยกเลิกมาตรานี้ แล้วมีมาตราใหม่ขึ้นมา

ทางออกที่ 2 กับ 3 นั้นเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร

วิมล มองว่า หากความชัดเจนของกฎหมาย เช่น ม.112 ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ก็จะเป็นตัวอย่างให้กฎหมายอื่นๆ ไม่น่าเชื่อถือ ประเทศก็สูญเสียหลักการปกครอง (ทุกคนเท่าเทียมกันตามกฎหมาย) สังคมก็จะสับสนจนมั่ว คนก็ไม่เกรงกลัวกฎหมาย เห็นได้จากม็อบครั้งนี้ ส่วนคนที่เคารพกฎหมายก็ด่ารัฐบาล และสุดท้ายก็จะไม่สนใจอีกต่อไป


ที่มา: https://www.facebook.com/100002386922271/posts/3731544303601764/