สถานการณ์โควิด - 19 ประเทศไทยและอาเซียน ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
สถานการณ์โควิด - 19 ประเทศไทยและอาเซียน ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564

สถานการณ์โควิด - 19 ประเทศไทยและอาเซียน ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยบรรยากาศการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทยในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ซึ่งเป็นวันหยุดยาวกรณีพิเศษ ระหว่างวันที่ 12-14 ก.พ. 2564 ว่า บรรยากาศโดยรวมของการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ค่อนข้างเงียบเหงา โดยจากการสำรวจพบว่า มีคนเดินทาง 2.35 แสนคน-ครั้ง สร้างรายได้หมุนเวียนแค่ 602.20 ล้านบาท โดยทั่วประเทศมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพียง 15% เท่านั้น
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ที่ไม่เพียงกระทบต่อความเชื่อมั่น และความปลอดภัย ทำให้ต้องงดหรือชะลอการเดินทางท่องเที่ยว แต่ยังฉุดให้เศรษฐกิจทุกภาคส่วนกลับมาซบเซาอีกครั้ง ส่งผลต่อรายได้ที่ลดลงและหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น เพราะประชาชนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่ายค่อนข้างมาก
ททท. ด้วยประเมินว่า หากสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายๆ พื้นที่มีแนวโน้มลดลง และภาครัฐมีมาตรการผ่อนคลายพื้นที่ ทำให้ 60 จังหวัดเมืองหลัก และเมืองรอง มีความพร้อมรองรับการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ในช่วงเทศกาลตรุษจีนประมาณ 65.38% แต่เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว กำลังซื้อของนักท่องเที่ยวมีจำกัด
ดังนั้นการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงน่าจะเป็นการเดินทางระยะใกล้ และเน้นกิจกรรมตามวิถีแห่งศรัทธาด้วยการไหว้พระ เทพเจ้า ขอพร และแก้ปีชงเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน โดยจากการวิเคราะห์การพูดคุยในสังคมออนไลน์ ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. – 6 ก.พ. 64 เกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ พบว่า จังหวัดที่โดดเด่นมีการพูดถึงค่อนข้างมากคือ นครนายก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวระยะใกล้ใช้เวลาเดินทางไม่นาน เหมาะกับการเดินทางแบบกลุ่มครอบครัว
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งมวลชน โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte’ โดยระบุว่า
ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม
เกณฑ์เดิม "ดีกว่า" เกณฑ์ใหม่
คาดว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะใช้เกณฑ์ใหม่ในการประมูลคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งใหม่แทนการประมูลเดิมที่ถูก รฟม.ยกเลิกไป แต่ผมมั่นใจว่าเกณฑ์ใหม่สู้เกณฑ์เดิมไม่ได้ เพราะอะไร?
รฟม.อ้างว่าเหตุที่ต้องใช้เกณฑ์ใหม่เพราะการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เนื่องจากจะต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ยังคงเปิดให้บริการ จะต้องตัดเสาเข็มสะพานลอยโดยไม่ปิดการจราจร และที่สำคัญ จะต้องก่อสร้างอุโมงค์ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ถือว่าเป็นการก่อสร้างที่ซับซ้อน มีความเสี่ยงสูง จะใช้เกณฑ์เดิมไม่ได้
เกณฑ์เดิมไม่ดีจริงหรือ?
ตามเกณฑ์เดิมเอกชนจะยื่นข้อเสนอ 4 ซอง ดังนี้
ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ
คณะกรรมการคัดเลือกจะประเมินข้อเสนอด้านคุณสมบัติว่ามีครบถ้วน ถูกต้องหรือไม่ จะให้ผ่านหรือไม่ผ่าน หากไม่ผ่านก็ไม่ต้องเปิดซองที่ 2 แต่หากผ่านก็ต้องเปิดซองที่ 2 เพื่อพิจารณาต่อไป
ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค
มีคะแนนเต็ม 100% แบ่งเป็น 5 หมวด ผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนในแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า 80% และจะต้องได้คะแนนรวมของทุกหมวดไม่น้อยกว่า 85% หากไม่ผ่านก็ไม่ต้องเปิดซองที่ 3 แต่หากผ่านก็ต้องเปิดซองที่ 3 เพื่อพิจารณาต่อไป
ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านผลตอบแทน
ผู้ยื่นข้อเสนอที่เสนอผลตอบแทนให้แก่ รฟม.มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล แล้วจึงเปิดซองที่ 4 ของผู้ชนะการประมูลต่อไป
ซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ รฟม.
แต่หลังจากปิดการขายเอกสารสำหรับคัดเลือกเอกชน (RFP) แล้ว รฟม.ประกาศเปลี่ยนการใช้เกณฑ์ประเมินเป็นเกณฑ์ใหม่ โดยอ้างว่าเกณฑ์เดิมคัดเลือกผู้ชนะโดยการดูเฉพาะคะแนนผลตอบแทนเท่านั้น หากเอกชนรายใดรายหนึ่งเสนอผลตอบแทนให้ รฟม.ต่ำกว่าอีกรายเพียงเล็กน้อย
แต่เอกชนรายนั้นได้คะแนนด้านเทคนิคสูงกว่า จะทำให้ รฟม.เสียโอกาสในการได้เอกชนที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีเส้นทางใต้ดินผ่านศูนย์การค้าขนาดใหญ่ พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีความซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
แต่ผมไม่เห็นด้วย เนื่องจากเกณฑ์เดิมได้ให้ความสำคัญด้านเทคนิคไว้สูงสุดแล้ว เพราะให้คะแนนไว้เต็ม 100% พร้อมทั้งกำหนดคะแนนขั้นต่ำไว้ 85% นั่นหมายความว่าผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้ไม่น้อยกว่า 85% จึงจะสอบผ่าน และจะต้องได้คะแนนในหมวดย่อยอีก 5 หมวด หมวดละไม่น้อยกว่า 80% ผู้ยื่นข้อเสนอที่สอบผ่านถือว่ามีความสามารถด้านเทคนิคสูงมาก สามารถทำการก่อสร้างงานประเภทไหนก็ได้
การกำหนดคะแนนรวมด้านเทคนิคไว้ 85% ถือว่าสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจากหัวลำโพง-ท่าพระ มีเส้นทางผ่านเยาวราชซึ่งเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ และต้องลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ รฟม.กำหนดคะแนนด้านเทคนิคไว้เพียง 70% เท่านั้น แม้กำหนดคะแนนสอบผ่านด้านเทคนิคไว้เพียง 70% แต่ผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลก็สามารถทำการก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ด้วยเหตุนี้ ผมจึงฟันธงว่าเกณฑ์เดิมดีมากอยู่แล้ว รฟม.ไม่ควรยกเลิกแล้วเปลี่ยนไปใช้เกณฑ์ใหม่
เกณฑ์ใหม่ดีจริงหรือ?
เกณฑ์ใหม่พิจารณาซองที่ 1 (คุณสมบัติ) เช่นเดียวกับเกณฑ์เดิม แต่พิจารณาซองที่ 2 (ด้านเทคนิค) และซองที่ 3 (ด้านผลตอบแทน) พร้อมๆกัน โดยให้คะแนนรวมซองที่ 2 และซองที่ 3 เท่ากับ 100% แบ่งเป็นคะแนนซองที่ 2 (ด้านเทคนิค) 30% และคะแนนซองที่ 3 (ด้านผลตอบแทน) 70% สำหรับคะแนนด้านเทคนิคนั้น รฟม.ไม่ได้กำหนดคะแนนขั้นต่ำไว้
นั่นหมายความว่าผู้ยื่นข้อเสนอจะได้คะแนนด้านเทคนิคต่ำเพียงใดก็ถือว่าสอบผ่าน อีกทั้ง การให้คะแนนด้านเทคนิคไว้เพียง 30% เป็นการลดความสำคัญด้านเทคนิคลงมา ซึ่งขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของ รฟม.ที่ต้องการใช้เกณฑ์ใหม่ โดยอ้างว่าจะทำให้ได้ผู้ยื่นข้อเสนอที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูง เหมาะสมกับงานก่อสร้างที่มีความซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง
เกณฑ์ใหม่ที่ รฟม.ต้องใช้เป็นเกณฑ์ที่ รฟม.เคยใช้มาแล้วในอดีตนานกว่า 20 ปีแล้ว แต่ รฟม.คงเห็นว่าไม่เหมาะสมกับงานก่อสร้างที่ซับซ้อน จึงทำให้ รฟม.เลิกใช้เกณฑ์นี้หันมาใช้เกณฑ์เดิม (แยกซองเทคนิคออกจากซองผลตอบแทน) หรือเกณฑ์ที่ประกาศใช้ในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มครั้งแรก
สรุป
เกณฑ์ใหม่ที่ รฟม.ต้องการใช้ไม่เหมาะสมกับงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟาสายสีส้มที่มีเส้นทางส่วนใหญ่อยู่ใต้ดิน วิ่งผ่านใต้สะพานลอย (ต้องตัดเสาเข็มที่รองรับสะพานลอย) ใต้ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ใต้พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
เกณฑ์เดิมจะทำให้ รฟม.คัดเลือกได้เอกชนที่มีความสามารถด้านเทคนิคสูงเหมาะสมกับงานก่อสร้างโครงการนี้ และจะทำให้ รฟม.ได้รับผลตอบแทนสูงสุดที่ควรจะได้อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ รฟม.จึงควรพิจารณาใช้เกณฑ์เดิมในการเปิดประมูลครั้งใหม่
ที่มา : https://www.facebook.com/232025966942314/posts/2282528178558739/?sfnsn=mo&_rdc=1&_rdrhttp://https://www.facebook.com/232025966942314/posts/2282528178558739/?sfnsn=mo&_rdc=1&_rdr
สถานการณ์ในพม่าจะออกหัวออกก้อยยังไม่ชัดเจน แต่มิตรประเทศที่ดี คงได้แต่เอาใจช่วยให้ทุกอย่างจบลงด้วยดี และมิตรประเทศที่ดีต้องไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
แต่ฝ่ายบริหารใหม่ของสหรัฐฯ เริ่มทำตัวเป็น ‘ตำรวจโลก’ ทันที โดยโฆษกกระทรวงการต่างประเทศและสถานทูตสหรัฐในพม่า ประกาศชัดเจนว่าจะขอยืนเคียงข้างประชานชาวพม่า ซึ่งต่อต้านทหารพม่าที่ยึดอำนาจ ประกาศสนับสนุนการชุมนุมอย่างสันติ
สหรัฐฯ ใช้สองมาตรฐาน ทีคนอเมริกันชุมนุมคัดค้านการทารุณกรรมที่ตำรวจกระทำต่อคนผิวสีจนเสียชีวิต และตามด้วยสโลแกน Black life matter ที่ดังไปทั่วโลกและตามด้วยการคัดค้านผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนอเมริกันถืออาวุธเดินขบวนชุมนุม ทางการสหรัฐประกาศฉุกเฉิน ใช้กำลังทหารและรถหุ้มเกราะติดอาวุธป้องกันสถานที่ราชการ และใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุม
...แต่ไม่มีชาติใดไปสั่งให้รัฐบาลสหรัฐฯ รับฟังเสียงประชาชนเลย!!
สหรัฐฯ อาจจะอินกับบทตำรวจโลกมาก จนนางแมร์เคิล นายกเยอรมัน พูดเมื่อ 26 มกราคมที่ผ่านมาว่า การทูตของไบเดนคือ สงครามเย็นแห่งพันธมิตร และระบุด้วยว่า สหรัฐไม่มีสิทธิที่จะบีบบังคับประเทศอื่นๆ ให้ปฏิบัติตามในการรับใช้สหรัฐ
และนางแมร์เคิลยังเน้นว่า ประเทศอื่นๆ อย่าเข้าร่วมในการครองความเป็นเจ้า Hegemonic ของสหรัฐฯ
พม่ามีทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่ามากมาย ฝรั่งจ้องตาเป็นมัน ‘อยากได้’ แต่ผู้นำพม่าขายให้จีนไม่ใช่ฝรั่ง ถ้าจะได้ทรัพยากรที่สำคัญต้องเปลี่ยนผู้นำประเทศจากทหาร
หนทางเดียว คือ ให้พลเรือนอย่าง นางอองซาน เป็นผู้นำประเทศ ที่ต้องพึ่งฝรั่งอย่างเดียว ทหารก็ไม่เอา ชนกลุ่มน้อยก็ไม่ไว้ใจ ขี่ง่ายกว่าเยอะ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เสรีภาพ มันคือข้ออ้างในการเข้าแทรกแซง
จับตาบทบาท ‘ตำรวจโลก’ อย่ากระพริบตา
ที่มา: https://www.facebook.com/100005279737218/posts/1558571360995507/
‘วัคซีน’ กลายเป็นคำแห่งปี ที่ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่น่าจะเป็นคำที่ทุกประเทศในโลกต่างเฝ้ารอ เพราะอย่างที่ทราบกันดี โรคอุบัติใหม่ที่ชื่อ COVID-19 ยังลุกลามบานปลายไม่มีทีท่าว่าจะถึงตอนจบ หนทางหนึ่งในการยับยั้งมันลงได้ นั่นคือ การมีวัคซีนป้องกัน
วันนี้ เวลานี้ วัคซีน กลายเป็นของสำคัญ แต่หากย้อนเวลากลับไป การเริ่มต้นของวัคซีนนั้น ก็เกิดจากการพยายามป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์มาครั้งแล้วครั้งเล่า ในเมื่อยังเป็นของสำคัญ เราจึงต้องทำความเข้าใจ และเรียนรู้ที่มาของการผลิตตัวยาที่บรรจุอยู่ในเข็มเหล่านี้
The States Times Story อีพีนี้ จึงนำสาระน่ารู้ของ ‘วัคซีน’ พร้อมประเด็นร้อนๆ ที่หลายคนยังคงคาใจ กับกรณี ‘วัคซีนโควิดที่สั่งซื้อให้คนไทย’ รับฟังกันให้เคลียร์ ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน...
.