Tuesday, 1 July 2025
ค้นหา พบ 49126 ที่เกี่ยวข้อง

ยกเลิกโปรดเกล้าฯ ตำแหน่ง ‘ศาสตราจารย์’ เปิดเอกสารด่วน!! ดันรัฐมนตรีแต่งตั้งแทน เชื่อคนไทยรับไม่ได้ ลดพระเกียรติสถาบัน - ทำลายเกียรติ ‘ศาสตราจารย์’

หลังจากมีเอกสารด่วนเกี่ยวกับการ ‘การรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ตามรูปแนบ) เรียนถึงอธิการบดี (ผ่านรองอธิการบดี และรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ) มหาวิทยาลัยมหิดล และทางอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ลงนามรับทราบ/ดำเนินการได้

เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 64 เป็นที่เรียบร้อน แต่เมื่อเอกสารฉบับดังกล่าวว่อนสู่โลกอินเตอร์เน็ต ก็ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึง 1 ในร่างเสนอ ที่ต้องการให้ ‘ยกเลิกการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ และให้รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งแทน’

เมื่อเอกสารดังกล่าวได้หลุดออกไปสู่โลกออนไลน์ ก็มีคำถามจากบุคคลในแวดวงสังคมที่เหมือนจะตั้งคำถามยิงตรงไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวโดยทันที

เริ่มตั้งแต่ ศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี ม.ศิลปากร และอดีตอาจารย์ประจำภาควิชา การพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Sayan Praicharnjit...

เรียน ศาสตราจารจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ

ขอให้ถอนร่าง พรบ. ฉบับนี้ออกจากการพิจารณาในทุกขั้นตอน และยกเลิกร่าง พรบ. ฉบับนี้ไปเลย ไม่ต้องแก้ไขหรือนำกลับเข้ามาพิจารณาอะไรอีก เพราะสาระสำคัญ เป็นการลดพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทำลายเกียรติของ ‘ศาสตราจารย์’

ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา และรองประธานบริหารศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอดีตรองอธิการบดี ฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ก็ได้โพสต์ลงเฟซบุ๊ก Tawadchai Suppadit ด้วยเช่นกันว่า...

มีคำสั่งด่วนเพื่อสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับการยกเลิกการโปรดเกล้าตำแหน่งศาสตราจารย์ มาให้รัฐมนตรี แต่งตั้งแทน

ขอแสดงความเห็นส่วนตัวในนามผู้ที่ได้รับตำแหน่ง ศาสตราจารย์ จากการโปรดเกล้าฯ ซึ่งไม่ได้มีผลได้ผลเสียจาก พรบ ฉบับนี้ แต่ต้องการบอกกับประชาคมว่า

1.) ตำแหน่งศาสตราจารย์ เป็นตำแหน่งที่เทียบเท่าราชการระดับ ซี 10 - 11 ซึ่งเป็นตำแหน่งของข้าราชการระดับสูง ในหน่วยงานราชการอื่น การขึ้นสู่ตำแหน่งระดับสูง ล้วนได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในระบบราชการโดยทั่วไป ที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

2.) ถือเป็นความภาคภูมิใจของตนเองและวงศ์ตระกูล เพราะคำว่า ศาสตราจารย์......ที่ใช้ในประเทศไทยมีมากมายหลายรูปแบบ มอบให้โดยเป็นเกียรติก็มี แต่ตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” เท่านั้น ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ และเป็นตำแหน่งที่เกิดจากการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการและการวิจัยของตนเองขึ้นมา

3.) ขั้นตอนการโปรดเกล้าฯ อาจจะมีการตรวจรายละเอียดมากขึ้นบ้าง แต่ก็ถือเป็นการตรวจสอบซ้ำว่าท่านเป็นผู้ทรงภูมิจริง ไม่มีการคัดลอกหรือทำผิดจริยธรรมทางวิชาการ ซึ่งเห็นว่าเป็นข้อดี

4.) พระเกียรติของพระเจ้าแผ่นดินในประเทศไทยมีค่าสูงยิ่ง ไม่เข้าใจคนที่เสนอว่ามีความคิดอย่างไร แต่ควรมาถามผู้ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ด้วยว่าเขารู้สึกอย่างไร

ก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะมีใครออกมาตอบคำถาม หรือจะมีใครออกมาบอกว่าเอกสารดังกล่าวเป็นของปลอมหรือไม่อย่างไร ก็คงต้องติดตามดูต่อกัน


ที่มา:

https://www.facebook.com/100001143013119/posts/3516528241728575/

https://www.facebook.com/100001143013119/posts/3516528241728575/

‘กาละแมร์’ โพสต์เฟซบุ๊กให้กำลังใจตัวเอง หลังตกเป็นประเด็นดราม่าเหตุโฆษณาอาหารเสริมของตัวเองเกินจริง ตัดพ้อ “ได้เรียนรู้ เติบโต ได้เข้าใจในกฏระเบียบ แม้จะพูดตามข้อเท็จจริง แต่ถ้าไม่ตรงกับกฎที่มีก็ไม่สามารถ”

จากกรณีที่ กาละแมร์- พัชรศรี เบญจมาศ พิธีกรชื่อดัง ตกเป็นประเด็นดราม่าเกี่ยวกับการโฆษณาสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของตัวเองอย่างเกินจริง จนกลายเป็นเรื่องราวที่โลกออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

ต่อมา อย. ออกมายืนยันว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากไม่มีผลิตภัณฑ์อาหารตัวใดที่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือการทำงานของร่างกายได้ตามที่กล่าวอ้าง

จนกระทั่ง (25 ม.ค. 64) มีการแจ้งความดำเนินคดีกับ กาละแมร์- พัชรศรี เบญจมาศ ในความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14 (1) และ ฉ้อโกงประชาชน หลังโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเกินจริง

ล่าสุดเจ้าตัวได้ออกมาเคลื่อนไหว โพสต์ข้อความพร้อมรูปภาพให้กำลังใจตัวเองผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า

ขอบพระคุณทุกคำแนะนำจากทุกคน ผู้ใหญ่จากทุกหน่วยงานภาครัฐ ทำให้แมร์ได้พัฒนาทุกอย่างให้ถูกต้อง แมร์ได้เรียนรู้ เติบโต ได้เข้าใจในกฏระเบียบ แม้จะพูดตามข้อเท็จจริง แต่ถ้าไม่ตรงกับกฎที่มีก็ไม่สามารถ

แมร์อาจไม่ทราบทุกกฎทุกเรื่องต้องกราบขออภัยจากใจ

และแมร์ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่ส่งทั้งกำลังใจ รีวิวการกินมาอย่างทะลักทะล้น แมร์ซาบซึ้งไม่มีวันลืม สัญญาจะทำผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นไปอีกเรื่อยค่ะ

‘พุทธิพงษ์’ ขอบคุณประชาชน แจ้งโพสต์ผิดกฎหมายมาทางเพจ "อาสา จับตา ออนไลน์" เพียบ พร้อมเดินหน้าลุยส่งเรื่องให้ศาลและแจ้งความต่อปอท.แล้ว เร่งนำตัวคนทำผิดมาลงโทษถึงที่สุด

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) กล่าวขอบคุณประชาชนที่ให้ความร่วมมือ แจ้งเหตุกรณีพบการกระทำความผิดทางสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านช่องทางเพจ "อาสาจับตาออนไลน์" จำนวนมากและส่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

โดยกองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปท.) กระทรวงดิจิทัลฯ รายงานสถิติการรับแจ้งเหตุจากประชาชน ผ่านช่องทางเพจ "อาสา จับตา ออนไลน์" ระหว่างวันที่ 1-22 มกราคม 2564 รวมจำนวน 15,306 รายการ ตรวจสอบแล้วเข้าข้อกฎหมาย 2,111 รายการ (ยูอาร์แอล)ทั้งทางแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก,ยูทูบ,ทวิตเตอร์ และเว็บไซต์อื่น

ซึ่งล่าสุด เจ้าหน้าที่ได้ส่งเรื่องที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ขออำนาจศาลในการปิดกั้นหรือลบข้อความไปแล้ว 2,111 รายการ (ยูอาร์แอล) และเจ้าหน้าที่กองกฎหมาย กระทรวงดิจิทัลฯ ได้แจ้งความดำเนินคดีฐานความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ยื่นแจ้งความต่อตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แล้ว 254 รายการ(ยูอาร์แอล)

โดยหลังจากนี้ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ตำรวจปอท.ที่จะเร่งดำเนินการสืบสวนสอบสวน นำตัวผู้ที่กระทำความผิดทางสื่อสังคมออนไลน์มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างถึงที่สุดต่อไป

"ฝากเตือนไปยังผู้ใช้โซเชียลมีเดียและประชาชน ก่อนที่จะโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่งอย่างใด ขอให้ใช้วิจารณญาณและไตร่ตรองให้ดีก่อนโพสต์ เพราะหากกระทำผิด เจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งเข้ามาทางเพจ "อาสา จับตา ออนไลน์" ได้อย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่จะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย"

ครม. เคาะปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.–มี.ค. 64) โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 เหลือ 0.5% ของค่าจ้าง ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จากเดิมอัตรา 278 บาทต่อเดือน ให้เหลืออัตรา 38 บาทต่อเดือน

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบการปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนก.พ. – มี.ค. 2564 โดยลดอัตราเงินสมทบฝ่ายผู้ประกันตนมาตรา 33 เหลือ 0.5% ของค่าจ้างผู้ประกันตน จากเดิม 3% ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือ 75 บาทต่อเดือน สำหรับฝ่ายนายจ้างให้คงอัตราเดิมโดยส่งเงินสมทบ 3% ของค่าจ้างผู้ประกันตน รัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิม 2.75% ของค่าจ้างผู้ประกันตน

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จากเดิมอัตรา 278 บาทต่อเดือนให้เหลืออัตรา 38 บาทต่อเดือน ซึ่งจะทำให้นายจ้าง 486,192 ราย ผู้ประกันตนมาตรา 33 จำนวน 11,164,387 คน และผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 1,832,500 คน ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย โดยนำเงินสมทบที่ลดลงไปใช้จ่ายเสริมสภาพคล่อง เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง มีนาคม 2564 จำนวน 23,119 ล้านบาท ลดปัญหาทางการเงินของนายจ้างและผู้ประกันตน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ประกันตนดีขึ้น

นายอนุชา กล่าวว่า การลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนในครั้งนี้ ส่งผลให้กองทุนประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบได้ลดลงจำนวน 7,166 ล้านบาท และหากรวมกับการลดอัตราเงินสมทบครั้งที่หนึ่งตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2563 ครั้งที่สองตั้งแต่เดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน 2563 และการลดอัตราเงินสมทบปัจจุบันตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2564 เงินสมทบทั้งหมดรวมกัน 9 เดือนจะลดลงประมาณ 68,669 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีผู้ประกันตน ม.33 ได้รับผลกระทบหนัก ทางพรรคก้าวไกล ก็เตรียมเชือด ‘รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน’ กลางเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจ ฐานละเลยแรงงานอยู่

โดยนายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการเเรงงาน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วย วรรณวิภา ไม้สน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในฐานะปีกเเรงงาน พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีเครือข่ายสิทธิแรงงานเพื่อประชาชนและผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่อยู่ในระบบของประกันสังคม รวมตัวกันไปเรียกร้องความเป็นธรรมจากรัฐบาล ให้เยียวยาผู้ใช้เเรงงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ อย่างถ้วนหน้า เสมอภาคและเท่าเทียมกันบริเวณ หน้าทำเนียบรัฐบาล ในวันนี้ ( 26 มค. 64 )

นายสุเทพ กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นคือการเรียกร้องของผู้ประกันตน มาตรา 33 ในระบบประกันสังคมที่ถูกตัดออกจากการเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยามาตั้งเเต่การระบาดของโควิดในรอบแรก เนื่องจากรัฐบาลอ้างว่า ในส่วนของผู้ประกันตนมาตรา 33 ให้ไปใช้เงินสะสมในส่วนของประกันสังคม ซึ่งสำนักงานประกันสังคม มีระเบียบเเละเงื่อนไขในการรับเงินเยียวยาหรือเงินกรณีที่เกิดวิกฤติโควิดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ข้อเรียกร้องของผู้ประกันตน

ได้ระบุไว้ว่า การเยียวยาในรอบเเรกที่รัฐให้เงินเยียวยาเดือนละ 3,500 บาท ระยะเวลา 2 เดือน คือ 7,000 บาทนั้น รัฐเยียวยาไปทั้งหมดเพียง 31 ล้านคน แต่ยังมีการตกหล่นเเละได้อย่างไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะพี่น้องผู้ใช้เเรงงานในระบบประกันสังคมในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ซึ่งเป็นลูกจ้างในธุรกิจหน่วยงานทุกภาคส่วนที่มีมากถึง 11 ล้านคน รวมไปถึงเเรงงานข้ามชาติที่เข้าระบบประกันสังคมประมาณ 1.5 ล้านคน ยังไม่ได้รับการเยียวยาเลย

ในฐานะที่ตนเป็นประธานกรรมาธิการการเเรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ขณะนี้ทางคณะกรรมาธิการได้ส่งเรื่องร้องเรียนกรณีดังกล่าวไปยังศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( ศบค. ) เพื่อให้มีการพิจารณาให้ผู้ใช้แรงงานในระบบประกันสังคม 11 ล้านคน ได้รับการเยียวยาด้วย และเรื่องนี้จะเข้าสู่การหารือเป็นวาระเร่งด่วนของคณะกรรมาธิการการเเรงงานในวันที่ 27 ม.ค. ในส่วนของปีกเเรงงานของพรรคก้าวไกล ขณะนี้ได้จัดประชุมเครือข่ายเเรงงานในทุกภาคส่วน เพื่อรับฟังปัญหาและนำปัญหาเหล่านี้เข้าสู่การแก้ไข รวมถึงจะนำไปใช้เป็นประเด็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นในกลางเดือนกุมพาพันธ์

“ขอฝากไปยังนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเเรงงาน จากการที่เคยหารือไปหลายครั้งให้นำเรื่องมาตรการเยียวยาแรงงานในระบบให้เท่าเทียมกับประชาชนทั่วไปเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายสุชาติ อ้างว่า การดำเนินการในส่วนของตนเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้เเรงงานอยู่เเล้ว เช่น เรื่องของการลดเงินสมทบประกันสังคมหรือเงื่อนไขการได้รับชดเชยในกรณีว่างงาน

เเต่นั่นไม่ใช่เหตุผลที่ผู้ใช้แรงานในระบบ 11 ล้านคน จะต้องตกหล่นจากการรับการเยียวยาเหมือนประชาชนคนอื่นๆ เพราะในข้อเท็จจริงยังมีผู้ประกันตนในระบบมีรายได้ลดลงมากแต่ก็ต้องทำเพื่อรักษางานไว้ จึงอยากให้นายสุชาติ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สะท้อนปัญหาดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด เป็นรูปธรรมเเละเยียวยาประชาชนได้อย่างทั่วถึง”

ขณะที่ วรรณวิภา กล่าวว่า กลุ่มผู้ประกันตน มาตรา 33 เป็นกลุ่มเดียวที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรอบเเรกของภาครัฐ ซึ่งการบริหารของรัฐรอบแรกต่อกรณีนี้ทำให้เงินประกันสังคมไหลออกอย่างมหาศาล ซึ่งเงินเหล่านี้เป็นเงินสะสมของลูกจ้างเเละนายจ้างเพื่อไว้ใช้กรณีฉุกเฉิน 7 อย่าง ตามประกาศเเละระเบียบของประกันสังคม

อาทิ รักษาพยาบาล ชราภาพ คลอดบุตร และว่างงาน แต่ตอนนี้ได้ถูกนำเงินส่วนนี้ออกมาใช้เพื่อเยียวยาแทนรัฐบาล เเละในปัจจุบันผู้ประกันตนในส่วนนี้ลดน้อยลง ทำให้เงินในกองทุนลดลง สวนทางกับความต้องการของคนที่ใช้เงินจากกองทุนนี้มากขึ้น ซึ่งการบริหารเช่นนี้ไม่เป็นผลดีกับกองทุนประกันสังคมในอนาคต เมื่อมีการเยียวยารอบ 2 คนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้รับการประกาศเยียวยาจากภาครัฐอีก นวันนี้จึงมีที่ผู้ประกันตนออกมาเรียกร้องสิทธิของเขา

“ทำไมรัฐไม่เยียวยา ตกหล่น และเป็นเหตุให้ต้องนำเงินของเขาที่สะสมไว้ในอนาคตมาใช้ ทั้งที่รัฐควรจะต้องเยียวยาอย่างทั่วหน้า เเละให้เงินเยียวยาเป็นเงินสดเหมือนรอบแรก แรงงานในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ควรจะต้องได้รับการดูแลเหมือนประชาชนทุกคนที่ได้รับสิทธิดังกล่าว รวมไปถึงสิทธิต่างๆที่จะได้รับจากรัฐในการเยียวยาอย่างถ้วนหน้า เเละเท่าเทียม” วรรณวิภา กล่าว

กทม. ออกข้อปฏิบัติเรื่องความปลอดภัย หากโรงเรียนในสังกัด จะกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยแก่เด็กนักเรียน และผู้ปกครองทุกคน

หลังจากหยุดยาวมากว่า 1 เดือนเต็ม เนื่องจากสถานการณ์โควิด -19 ระบาดระลอกใหม่ ล่าสุด กทม. ได้หารือเตรียมมาตรการในการปฏิบัติ หากว่าโรงเรียนในสังกัดจะกลับมาเปิดอีกครั้ง

โดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เข้ารับฟังการหารือจากสำนักการศึกษาและพัฒนาสังคม ที่รายงานความพร้อมในการเปิดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน เบื้องต้นยังเน้นย้ำเรื่องผู้ปกครองและบุคคลที่จะเข้ามาในโรงเรียน ต้องผ่านการคัดกรองอย่างเข้มงวด มีการสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง การล้างมือ และการทำความสะอาด

ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีโรงเรียนในสังกัดทั้งสิ้น 437 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานครอีก 292 ศูนย์ ในพื้นที่ 45 สำนักงานเขต โดยในวันที่ 27 มกราคมนี้ โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมดจะจัดกิจกรรม Big Cleaning พร้อมกัน เพื่อเตรียมความพร้อม หากจะมีการประกาศเปิดการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง

ส่วนเมื่อเปิดเรียนแล้ว นักเรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียน จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง The States Times รวบรวมมาให้ได้ทราบกันดังนี้


ข้อมูลจาก: เพจกรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top