Wednesday, 14 May 2025
ค้นหา พบ 48075 ที่เกี่ยวข้อง

คลังเปิดผลมาตรการรัฐวันแรกคนใช้จ่าย 1,646 ล้าน

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการลดภาระค่าครองชีพและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบจากโควิด-19 ประกอบด้วย โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โครงการเพิ่มกำลังซื้อกลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ได้เปิดให้ประชาชนใช้จ่ายวันแรกเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2564 พบว่า การใช้จ่ายวันแรก มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวมกว่า 7.8 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายรวม ทั้งหมด 1,646 ล้านบาท

สำหรับสรุปผลการใช้จ่ายได้ ดังนี้  

1.) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 3.5 ล้านราย โดยมียอดการใช้จ่ายรวม 791.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 399.4 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 391.8 ล้านบาท

2.) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 3,428 ราย โดยเป็นยอดการใช้จ่ายรวม 9.1 ล้านบาท  

3.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 4.2 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 826.3 ล้านบาท

และ 4.) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิจำนวนกว่า 1 แสนราย มียอดการใช้จ่ายรวม 19.6 ล้านบาท 

“การใช้จ่ายในทุกโครงการ จะต้องเป็นการจ่ายเงินระหว่างประชาชนกับร้านค้าหรือผู้ให้บริการแบบพบหน้าเท่านั้น และจะต้องไม่มีกระบวนการใด ๆ รองรับการซื้อขายที่ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ หรือผ่านคนกลาง ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ที่เป็นการหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมแบบพบหน้าดังกล่าว เช่น การนำ QR Code ไปคัดลอกส่งต่อแก่บุคคลอื่นเพื่อสแกนจ่ายเงิน และการสแกนจ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะต้องระบุยอดเงินให้ตรงตามมูลค่าสินค้าหรือบริการนั้น เนื่องจากไม่สามารถทอนเงินหรือรับแลกสินค้าหรือบริการคืนเป็นเงินสดได้”

ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพร้อมคณะฯ เข้าพบ ผบ.ตร. เพื่อแนะนำตัว และหารือแนวทางในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

พล.ต.ต.ญาณพงศ์ โสมาภา ผู้บังคับการกองสารนิเทศ เปิดเผยว่า วันที่ 2 ก.ค. 2564  เวลา 10.00 น. ณ ห้องพรหมนอก ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้การต้อนรับนางสาวพรประไพ กาญจนรินทร์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมคณะ ซึ่งเป็นคณะกรรมการฯชุดใหม่ ที่เข้าพบเพื่อแนะนำตัว และร่วมหารือข้อราชการต่าง ๆ

ที่สืบเนื่องจากกรณีที่มีการร้องเรียนในการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชนคณะกรรมการฯ ได้กล่าวถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันบูรณาการความร่วมมือกัน ซึ่งการเข้าหารือในครั้งนี้เพื่อแสวงหาความร่วมมือจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการดูแลความสงบเรียบร้อยในสังคมที่เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยคณะกรรมการฯ เป็นผู้ประสานงานในเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วงใยในเรื่องของการชุมนุมและการแสดงออกทางสังคมการเมือง และรู้สึกเห็นใจตำรวจที่เป็นผู้รักษากฎหมายในการดูแลความสงบเรียบร้อย ท่ามกลางความเห็นต่างและความขัดแย้ง ที่อาจมีการกระทบกระทั่งกันในบางครั้ง ซึ่งก็อยากให้ทุกฝ่าย อยู่ภายใต้กฎหมายและปฏิบัติตามหลักสากลภายหลังการหารือร่วมกัน

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้กล่าวขอบคุณประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณะ ที่ให้เกียรติสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการเข้าพบครั้งนี้ ซึ่งได้แนวทางในการดำเนินงานด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนร่วมกันเป็นอย่างดี เพื่อประโยชน์ของประชาชนตามสิทธิแห่งรัฐธรรมนูญ สำนักงานตำรวจแห่งชาติยินดีให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการฯ และพร้อมสนับสนุนการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สำรวจ หนี้ครัวเรือนไทยพุ่ง 90.5% ต่อ จีดีพี สูงสุดรอบ 18 ปี

ข้อมูลเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนล่าสุดในไตรมาส 1/2564 สะท้อนสถานการณ์หนี้สินของประชาชนที่ยังคงมีอัตราการเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวม โดยยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยในไตรมาส 1/2564 ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90.5% ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18 ปีตามสถิติที่มีการเก็บรวบรวมของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับ 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563 

ทั้งนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า วิกฤตโควิด-19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปีจะเพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พร้อม ๆ ตอกย้ำวังวนปัญหาหนี้สินของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ หรือมีรายได้ลดลงจนมีผลกระทบต่อความสามารถในการชำระคืนหนี้ และสำหรับแนวโน้มในปี 2564 นั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับทบทวนตัวเลขประมาณการหนี้ครัวเรือนไทยขึ้นมาอยู่ที่กรอบ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบเดิมคาดที่ 89-91% ต่อจีดีพี)

2 มิ.ย. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกรายงานผลการศึกษาเรื่องหนี้ครัวเรือนของไทย พบว่า ปัญหา หนี้สินในภาคครัวเรือนของไทยยังคงมีทิศทางขาขึ้นสวนทางภาพความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจที่ยังคงถูกกดดันจากผลกระทบของวิกฤตโควิด 19 โดยหนี้ครัวเรือนล่าสุดในไตรมาสที่ 1/2564 อยู่ที่ระดับ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 90.5% ต่อจีดีพี (สูงสุดในรอบ 18 ปี) ขยับขึ้นจาก 89.4% ต่อจีดีพี ในไตรมาสที่ 4/2563 ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (Quarter on Quarter: QoQ) หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1/2564 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท โดยหลัก ๆ เป็นผลมาจากการเร่งขึ้นของหนี้รายย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ หนี้บ้าน หนี้ประกอบอาชีพ และหนี้เพื่อใช้จ่ายชีวิตประจำวัน 

1.) หนี้บ้าน (ยอดคงค้างหนี้บ้านเพิ่ม 5.53 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ซึ่งสอดคล้องกับแคมเปญกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยแนวราบราคาประมาณ 1-3 ล้านบาท และ 3-5 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งผู้กู้หรือครัวเรือนยังคงเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ รายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง (ไม่ถูกกระทบมากนักจากสถานการณ์โควิด) ซึ่งทำให้ยังคงมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้

2.) หนี้เพื่อประกอบอาชีพ (ยอดคงค้างหนี้ประกอบอาชีพเพิ่ม 4.01 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน) โดยผู้กู้หรือครัวเรือนจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มเพื่อหนุนสภาพคล่อง และใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการประคับประคองกิจการในช่วงที่โควิด-19 ยืดเยื้อ ซึ่งมีผลกระทบต่อเนื่องต่อรายได้และยอดขาย

3.) หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป (ยอดคงค้างหนี้อุปโภคบริโภคทั่วไป เพิ่ม 3.35 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน) ซึ่งเป็นกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ฝืดเคือง รายได้ไม่สมดุลกับภาระค่าใช้จ่าย จนทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายในชีวิตประวัน
 
อย่างไรก็ดี วิกฤตโควิด-19 ระลอกสามของไทยที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นไตรมาส 2/2564 มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของประชาชนหลายกลุ่ม โดยผู้กู้รายย่อยมีรายได้ที่ฝืดเคือง และประเมินว่า ตนเองจะมีปัญหาความสามารถในการชำระคืนหนี้มากขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยทำการเปรียบเทียบผลสำรวจภาวะหนี้สินและการออมของประชาชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยจัดทำขึ้นในเดือนมี.ค. 2564 และเดือนมิ.ย. 2564 ที่เป็นช่วงก่อน-หลังโควิดรอบสาม) พบว่า สถานการณ์รายได้และหนี้สินของประชาชนรายย่อยถดถอยลงมากจากผลของโควิด 19 ระลอกที่สาม โดยในผลสำรวจเดือนมิ.ย. 2564 (หลังโควิดรอบสาม) ผู้ตอบแบบสอบถามที่ “มีรายได้ไม่ปกติ” มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 59.6% ของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด สูงกว่าสัดส่วน 56.2% ในผลสำรวจเดือนมี.ค. 2564 (ก่อนโควิดรอบสาม) และโดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ตอบแบบสอบถามในรอบเดือนมิ.ย. 2564 มี “จำนวนบัญชีสินเชื่อ” และ “สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ หรือ DSR” เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลสำรวจฯ เดือนมี.ค. 2564 โดย DSR จากผลสำรวจฯ เดือนมิ.ย. 2564 ขยับขึ้นมาที่ 46.9% เทียบกับ DSR ที่ 42.8% จากผลสำรวจฯ เดือนมี.ค. 2564  

โดยหากพิจารณาเฉพาะในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความเปราะบางทางการเงิน ซึ่งเป็นประชาชน-ครัวเรือนที่กำลังเผชิญแรงกดดัน 3 ด้านพร้อมกัน ทั้ง “ปัญหารายได้ลด-ค่าใช้จ่ายไม่ลด-DSR สูงเกินกว่า 50% ต่อรายได้ต่อเดือน” จะพบว่า สัดส่วนของกลุ่มเปราะบางในผลสำรวจเดือนมิ.ย. 2564 ขยับขึ้นมาที่ 22.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เทียบกับสัดส่วนประมาณ 10.8% ในผลสำรวจเดือนมี.ค. 2564 ภาพสะท้อนดังกล่าวตอกย้ำปัญหาหนี้สินของประชาชนที่มีสัญญาณน่ากังวลมากขึ้นในระดับครัวเรือน 

สำหรับมุมมองต่อสถานการณ์หนี้สินของตัวเองนั้น ผลสำรวจฯ พบว่า ลูกหนี้ห่วงปัญหาหนี้สินของตัวเองมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสอบถามในเดือนมิ.ย. ส่วนใหญ่ราว 79.5% ประเมินว่า ปัญหาหนี้ของตัวเองยังไม่น่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 โดยสัดส่วนของผู้ที่ “มองว่าปัญหาหนี้จะแย่ลง” เพิ่มขึ้นมาที่ 26.6% ของผู้ตอบแบบสำรวจในรอบมิ.ย. เทียบกับสัดส่วนเพียง 7.8% ในรอบมี.ค. ซึ่งโควิดระลอกสามมีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของครัวเรือนหลายส่วนให้อ่อนแอและเปราะบางมากขึ้น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ที่มีภาระหนี้อยู่ในปัจจุบันสนใจที่จะสมัครเข้ามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินมากขึ้น โดยผู้ที่สนใจมีสัดส่วนประมาณ 62.8% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ขณะที่ภาพสะท้อนจากมุมของประชาชน-ครัวเรือน บ่งชี้ว่า สินเชื่อที่ต้องการรับความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบัตรเครดิต+สินเชื่อส่วนบุคคล (45.3%) สินเชื่อเช่าซื้อ (25.3%) และสินเชื่อบ้าน (14.3%) ตามลำดับ

สำหรับแนวโน้มในปี 2564 วิกฤตโควิด-19 ที่ลากยาวเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 มีผลกระทบทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ขณะที่ประชาชน-ครัวเรือนหลายส่วนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสถานะรายได้จากการทำงานของตัวเอง ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนจากการค้นหาช่องทางเพื่อหารายได้เสริมใน Google Trends ที่กลับมาปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่โควิดระบาดรอบสาม ซึ่งเป็นภาพที่คล้ายกับการระบาดของโควิดในรอบแรก สำหรับข้อมูลลูกหนี้รายย่อยที่เข้ารับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์และนอนแบงก์นั้น ขยับขึ้นมาที่ 1.69 ล้านบัญชีในเดือนเม.ย. 2564 (จาก 1.68 ล้านบัญชีในเดือนมี.ค.) คิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12.4% ของลูกหนี้รายย่อย ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ผลกระทบที่หนักและชัดเจนมากขึ้นของโควิดรอบสาม อาจทำให้จำนวนบัญชีลูกหนี้รายย่อยเข้ามาตรการช่วยเหลือฯ มีโอกาสขยับขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเดือนมิ.ย. ถึงต้นไตรมาส 3/2564 นี้

ดังนั้น ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนในปี 2564 น่าจะเติบโตในระดับที่สูงกว่า หรือใกล้เคียงกับอัตรา 4.1%  ในปี 2563 ตอกย้ำภาพหนี้สินครัวเรือนที่โตกว่าทิศทางเศรษฐกิจ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับทบทวนสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2564 ขึ้นมาอยู่ในกรอบประมาณ 90-92% ต่อจีดีพี (กรอบคาดการณ์เดิมที่ 89-91% ต่อจีดีพี) 

ปัญหาหนี้ครัวเรือนโตสวนทิศทางเศรษฐกิจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับหลาย ๆ ประเทศ ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับประเทศไทย แต่อย่างไรก็ดีศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า แม้ไม่มีปัญหาโควิด-19 หนี้ครัวเรือนก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างลำดับต้นๆ ของไทยที่รอให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันวางแนวทางแก้ไข ซึ่งสำหรับในปีนี้ น่าจะเห็นการเดินหน้ามาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยหล่อเลี้ยงสภาพคล่อง ปรับโครงสร้างหนี้เพื่อประคองไม่ให้ลูกหนี้กลายเป็น NPLs และ/หรือทบทวนเพดานดอกเบี้ยผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย (เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ในช่วงที่โควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด) ตลอดจนการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ รวมไปถึงการวางแนวทางในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สินของภาคครัวเรือนอย่างจริงจังเมื่อวิกฤตโควิด-19 สิ้นสุดลง โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ และดูแลให้การก่อหนี้ของภาคประชาชน สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของตนเองมากขึ้น

กองบัญชาการตำรวจนครบาลรายงานผลการจับกุม “191 รวบชาวต่างชาติค้ายาอีรายใหญ่ย่านบางขุนเทียน”

ตามนโยบายของรัฐบาลให้เจ้าหน้าที่ของภาครัฐปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายเนื่องจากการแพร่ระบาดของยาเสพติดซึ่งเป็นภัยคุกคามและอาชญากรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันได้สร้างผลกระทบต่อประชาชน และสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์  แจ้งยอดสุข ผบ.ตร., พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง ผบ.ตร. ได้มอบนโยบายให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เร่งรัดติดตามจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดอย่างจริงจัง

กองบัญชาการตำรวจนครบาล ภายใต้การอำนวยการ พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น., พล.ต.ต.สำราญ นวลมา รอง ผบช.น. เป็นผู้ควบคุมสั่งการ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล  โดย พล.ต.ต.สมบูรณ์ เทียนขาว ผบก.สปพ., พ.ต.อ.ประสงค์ อานมณี, พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ บัณฑิตย์, พ.ต.อ.วรวิทย์ ญาณจินดา, พ.ต.อ.ศุภวัช ปานแดง รอง ผบก.สปพ., พ.ต.อ.ปิยรัช สุภารัตน์ ผกก.สายตรวจ บก.สปพ., พ.ต.ท.อัครพล โทยะ, พ.ต.ท.วสันต์ ธวัชชัยวิรุตษ์, พ.ต.ท.คงศักดิ์ ศรีโหร, พ.ต.ท.สุทธิเดช โอฬาริ รอง ผกก.สายตรวจ บก.สปพ., พ.ต.ท.อัษฎาวุธ ขวัญเมือง สว.งานสายตรวจ 3 กก.สายตรวจ บก.สปพ.

ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติดังนี้ ร่วมกันจับกุมMr.Paschal Nwaeny  อายุ 38 ปี สัญชาติไนจีเรียสถานที่จับกุม บริเวณหน้าอาคาร 39 หมู่บ้านเอื้ออาทร 2 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร ต่อเนื่อง ห้องเลขที่ 11 ชั้น 2 อาคาร 39 หมู่บ้านเอื้ออาทร 2 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

พร้อมด้วยของกลาง

1. ยาเสพติดให้โทษประเภท1 (ยาอี) จำนวนประมาณ 7,140 เม็ด

2. โทรศัพท์มือถือ จำนวน 2 เครื่อง

3. รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นอัลติส ทีเทา ทะเบียน 7กถ - 625  กทม.

โดยแจ้งข้อกล่าวหา

“มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาอี) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย” พฤติการณ์การจับกุมก่อนการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สปพ. ชุดจับกุม ได้รับแจ้งจากสายลับว่ามีกลุ่มเครือข่ายยาเสพติดชาวต่างชาติรายใหญ่ ในพื้นที่บริเวณบางขุนเทียน ใช้รถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นอัลติส สีเทา ทะเบียน 7กถ - 625  กรุงเทพมหานคร ในการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้กับลูกค้า โดยเครือข่ายกลุ่มนี้ จะเช่าบ้านในหมู่บ้านเอื้ออาทร 2  แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ในการเก็บซุกซ่อนยาเสพติด

เพื่ออำพรางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้สืบสวนจนทราบว่าเครือข่ายกลุ่มนี้ใด้เช่าห้องเลขที่ 11 ชั้น 2 อาคาร 39 หมู่บ้านเอื้ออาทร 2 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นที่เก็บซุกซ่อนยาเสพติด จึงได้เฝ้าติดตามพฤติกรรม จนสามารถจับกุมผู้ต้องหาพร้อมของกลาง และนำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางทั้งหมดนำส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย และได้ทำการสืบสวนขยายผลถึงผู้ร่วมขบวนการลักลอบค้ายาเสพติด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

คำรณ ปราโมช ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและอดีตกรรมการผู้จัดการนิตยสารอิมเมจ โพสต์ข้อความสนับสนุนการเปิดภูเก็ตรับนักท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อ ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์

คำรณ ปราโมช ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งและอดีตกรรมการผู้จัดการนิตยสารอิมเมจ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ส่วนตัวสนับสนุนการเปิดภูเก็ตรับนักท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อ ภูเก็ต แซนด์บ๊อกซ์ โดยระบุว่า สื่อต่างประเทศต่าง ๆ อาทิ (นิตยสาร Travel + Leisure) เริ่มลงข่าวเกี่ยวกับการเปิดเกาะภูเก็ต ตามที่รัฐบาลตั้งชื่อ Phuket sandbox กันแล้ว น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี

ด้วยความที่ไปเรียนประเทศอังกฤษตอนเด็ก ๆ ตั้งแต่สิบเอ็ด สิบสองขวบ ในช่วงปี 1974 เมื่อเรียนภาษาอังกฤษ คำว่า Sandbox สำหรับเราจะมีความเข้าใจเสมอว่า มันคือกล่อง หรือการนำไม้มากั้นพื้นที่ ใส่ทราย เป็นพื้นที่ ๆ ปลอดภัย สำหรับเด็ก ๆ เล่นกันอย่างมีความสุข

ต่อมาไม่กี่ปีมานี่ คำศัพท์ที่ถูกพูดถึงอย่างมากในแวดวง Fintech คือ Regulatory Sandbox เป็นพื้นที่ทดสอบภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่ บริษัท ผู้ประกอบการ หรือนักลงทุนสามารถมาทดสอบผลิตภัณฑ์และบริการของตนได้โดยได้รับการยกเว้นกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับบางอย่าง เพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็วหรือการเกิดขึ้นของนวัตกรรมใหม่ ๆ

แนวคิดดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ ในปี 2015 เมื่อ FCA หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของอังกฤษ ส่งเสริมการแข่งขันและการปรับปรุงพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ จนกลายเป็นต้นแบบให้มีการนำแนวคิดนี้ไปต่อยอดใช้เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมต่าง ๆ ในหลายประเทศทั่วโลก และปัจจุบันคำ ๆ นี้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายแวดวง รวมไปถึงใช้แทนโครงการพื้นที่นำร่องต่าง ๆ

สำหรับแฟน ๆ ซีรีส์เกาหลี คิดว่าหลาย ๆ คนที่เคยดู เรื่อง Start-Up คงจะคิดถึงช่วงที่ ประธานยุน ตอบคำถามถึงที่มาของการตั้งชื่อ ‘แซนด์บ็อกซ์’ (Sandbox) ในตอนต้นเรื่องซีรีส์ Start-Up ซึ่งประธานยุนได้รับแรงบันดาลใจนี้มาจากเรื่องราวที่ ซอชองมยอง (รับบทโดย คิมจูฮอน) พ่อของซอดัลมี (รับบทโดย ซูจี) เคยเล่าเรื่องที่ลูกสาวให้ฟัง ว่าครั้งหนึ่งลูกสาวของเขาเล่นชิงช้าในสนามเด็กเล่นแล้วล้มลงมาบาดเจ็บ แล้วจะให้เลิกเล่น แต่ลูกกลับบอกว่าให้ปูพื้นทรายที่ใต้ชิงช้าแทน

เมื่อรัฐบาลเลือกที่จะใช้คำว่า Phuket sandbox เราก็ชอบที่ใช้คำนี้ น่ารักและมีความหมายก็ดี ส่วนตัวแล้วก็นึกภาพ หากจะอยู่ในพื้นที่แค่เกาะภูเก็ตที่มี ชายหาดขาวสะอาด ทะเลสีคราม แสงแดดและอากาศ ทีดี ของกินอร่อยๆ ฃื้อของจับจ่ายได้สนุกสนาน และมีความปลอดภัย แค่นี้ก็มีความสุข และอดไม่ได้ที่จะคิดถึงสมัยเด็ก ๆ เลยเอามาฝากอีกสองรูปสุดท้าย

ที่เอ่ยมาก็เพราะ เดาไว้ไม่ผิด คณะชังถ่วงชาติก็เริ่ม ดราม่า ด้วยวิธีการเดิม ๆ เช่นเคย ที่ตลกร้ายก็ไปเปรียบเทียบกับ ปราสาททรายว่า ลมพัด น้ำเซาะก็ไม่เหลืออะไรเลย ทั้ง ๆ ที่ มันคนละคำ คนละความหมายระหว่าง sandcastle กับ sandbox

นี่หากมีคนรู้จักมาเปรียบเทียบระหว่างสองความหมายนี้ จะเอาตีนถีบกะโหลกแรง ๆ ซักสามที เผื่อสมองจะเข้าที่ เลิกสมองกลวงซักที

 

ที่มา : https://www.facebook.com/1012077191/posts/10221368969146335/


โปรเด็ด! ถึง 15 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top