Sunday, 18 May 2025
ค้นหา พบ 48181 ที่เกี่ยวข้อง

ชลบุรี - กองเรือยุทธการ ร่วมทดสอบการปฏิบัติการของอากาศยานไร้คนขับ MARCUS ที่พัฒนาโดย สวพ.ทร. เตรียมนำมาใช้ในภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

พล.ร.อ.สิทธิพร มาศเกษม รองผู้บัญชาการทหารเรือ ชมการสาธิตการปฏิบัติการของอากาศยานไร้คนขับที่ดำเนินการพัฒนาโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ (สวพ.ทร.) ภายใต้ชื่อโครงการอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล กองทัพเรือ (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System:MARCUS) โดยมี พล.ร.อ.สุทธินันท์  สมานรักษ์ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ, พล.ร.ท.โกวิท  อินทร์พรหม ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 1, พล.ร.ต.อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ, พล.ร.ต.อาภา ชพานนท์ ผู้บัญชาการกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ตลอดจนผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองเรือยุทธการ ให้การต้อนรับ บน ร.ล.อ่างทอง ท่าเทียบเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

โดยกำหนดสถานการณ์สมมติเป็นการปฏิบัติของ ศรชล.ภาค 1 สั่งการให้ ร.ล.อ่างทอง ที่กำลังลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบ ค้นหา พิสูจน์ทราบ และจับกุมเรือต้องสงสัยว่าจะลักลอบนำเข้าสารอันตรายเพื่อใช้สร้างสถานการณ์ในพื้นที่สำคัญทางภาคตะวันออก ต่อมา ร.ล.อ่างทอง ได้ตรวจพบเรือ 1 ลำ มีพฤติกรรมต้องสงสัย จึงใช้ MARCUS เข้าพิสูจน์ทราบ ก่อนที่จะส่งชุดตรวจค้นเข้าปฏิบัติการต่อไป

จากวัตถุประสงค์ในการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ MARCUS ตามที่ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ในวงเงิน 10 ล้านบาท ที่ได้ทำการพัฒนาให้มีขีดความสามารถ

             -ขึ้น-ลงในพื้นที่จำกัด (ทางดิ่ง) ที่อากาศยานแบบปีกนิ่งทั่วไปไม่สามารถทำได้

             -พัฒนาระบบควบคุมและสั่งการทางยุทธวิธีทางอากาศ (Tactical-Based Aerial Command Control System:TBACCS) ให้สามารถสั่งการพ้นระยะสายตา หรือในบริเวณจุดอับสัญญาณของการสื่อสารได้

การสาธิตในครั้งนี้ได้นำกล้องตรวจการณ์ของ UAV นารายณ์ ติดตั้งเข้ากับระบบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าในทะเลอีกด้วย ซึ่งการปฏิบัติการในครั้งนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

คุณลักษณะของอากาศยานไร้คนขับ MARCUS ประกอบด้วย

             -ความกว้างปีก 3.4 เมตร

             -น้ำหนักขึ้นบิน 24 กิโลกรัม

             -ความเร็ว ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

             -ระยะเวลาปฏิบัติการบนอากาศ ประมาณ 1 ชั่วโมง

             -ระยะบินไกลสุด 15 กิโลเมตร และกำลังพัฒนาในรุ่นต่อไปให้สามารถบินได้ไกลสุด 40 กิโลเมตร

อากาศยานไร้คนขับ MARCUS ได้ผ่านการทดสอบทดลองจากหน่วยปฏิบัติงานทั้งทัพเรือภาค , ศรชล.เขต และหน่วยบิน ว่าสามารถสนับสนุนการปฏิบัติการตรวจสอบและถ่ายภาพเป้าหมายในทะเล ได้ตามวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ MARCUS มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องพัฒนาระยะเวลาในการปฏิบัติงานในอากาศให้ได้มากกว่า 1 ชั่วโมง  ซึ่งคณะวิจัยฯ กำลังดำเนินการปรับโครงสร้างลำตัว , เพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอรี่และอื่น ๆ เพื่อให้ MARCUS สามารถตอบสนองความต้องการทางยุทธวิธีได้อย่างสมบูรณ์แบบ และเป็นต้นแบบงานวิจัยที่จะสามารถนำเข้าสู่สายการผลิตให้แก่กองทัพเรือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หากจะเปรียบเทียบ MARCUS ที่กองทัพเรือวิจัยจนเป็นผลสำเร็จในครั้งนี้สามารถเทียบคุณสมบัติได้ใกล้เคียงกับอากาศยานไร้คนขับแบบ ORBITER-3B ที่กองทัพเรือจัดหาจากประเทศอิสราเอล โดยปล่อยยิงแบบ Launcher ในวงเงิน 50 ล้านบาท ต่อ 1 ชุด (อากาศยาน 1 เครื่อง และชุดควบคุม 1 ชุด) แต่ MARCUS จะใช้งบประมาณในการผลิตเพียงไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อชุด อีกทั้งยังสามารถขึ้นลงทางดิ่งที่จะสามารถตอบสนองการปฏิบัติการร่วมในทะเล ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

อากาศยานไร้คนขับ MARUS จะถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของงานวิจัยที่เข้าสู่สายการผลิต ได้อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปี งบประมาณ 64 ที่มอบให้ว่า “ขับเคลื่อนงานวิจัยของกองทัพเรือให้สามารถนำไปสู่ภาคการผลิต และเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม”


ภาพ/ข่าว  สมนึก เชื้อสนุก

THE STUDY TIMES X DekThai Online เสาร์อาทิตย์นี้ พบกับ LIVE วิชา BMAT

???? THE STUDY TIMES X DekThai Online เสาร์อาทิตย์นี้

???? วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน และ วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2564

⏰ เวลา 2 ทุ่มตรง!

พบกับ LIVE วิชา BMAT

????วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน
วิชา BMAT: เรื่อง ติวฟรี BMAT เตรียมสอบแพทย์ สำหรับม.ปลาย

????วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน
วิชา BMAT: เรื่อง ติวฟรี BMAT Past Papers เตรียมสอบแพทย์ สำหรับม.ปลาย

โดย ครูจึ๋ง สมนึก สงวนตระกูล
นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น Monbusho
เกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง Computer Engineering Osaka University
#BMAT เรียนเตรียมสอบแพทย์ Critical Thinking, Problem Solving, Maths & Science

????  ช่องทางรับชม LIVE
Facebook และ YouTube: THE STUDY TIMES 

ดร.วรัชญ์ ชี้ ประเทศไทย มองการณ์ไกล ปิดดีลผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ได้ตั้งแต่แรก ไม่ต้องรอลุ้น ขณะที่ประเทศอย่างไต้หวันอยากผลิตบ้าง แต่ศักยภาพไม่พอ

ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่าเห็นข้อดีของไทยหรือยังครับ ที่ดีลกับแอสตราเซเนกาได้ตั้งแต่แรก และเป็นฐานการผลิตในประเทศไทยเราเอง

ไต้หวัน ที่รวยกว่าเรามาก และมีเทคโนโลยีสูงกว่าเรามาก จะขอแอสตราเป็นฐานการผลิต ยังไม่ได้เลยครับ ทาง AZ บอกว่าต้องผลิตอย่างน้อย 300 ล้านโดส ซึ่งไต้หวันบอกว่า "เป็นไปได้ยากและต้องใช้สายการผลิตอย่างเต็มกำลัง" ไต้หวันทำไม่ได้ แต่ไทยทำได้ครับ เพราะไทยมีบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ที่ ร.9 ทรงก่อตั้งขึ้น และทรงสานต่อโดย ร.10

และแม้ตอนแรกเราจะยังไม่พร้อม เพราะไม่เคยผลิตวัคซีนมาก่อน แต่รัฐบาลไทยก็อนุมัติเงิน 600 ล้านตั้งแต่ปีที่แล้ว ให้ปรับปรุงโรงงาน ซึ่ง SBS ก็จะคืนมาในรูปแบบของวัคซีน (สุดยอดมาก เท่ากับเราไม่ได้เสียอะไรเลย) 

และไทยสั่งซื้อของ AZ แค่ 61 ล้านโดสเท่านั้นเอง แต่ก็ต้องผลิตให้กับชาติอื่นๆ ในอาเซียนด้วย ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะเกิน 300 ล้านโดสมั้ย 

เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ได้ดีลกับ AZ ไว้ตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ก่อนที่วัคซีนจะผลิตสำเร็จ ถ้าเพิ่งมาเจรจาตอนนี้ ผมว่าเราไม่น่าจะได้ดีลนี้แล้วนะครับ 

และใครว่าเราเป็น OEM หรือแค่รับจ้างผลิต แล้วจะมีประโยชน์อะไร ท่านก็ลองดูแล้วกันครับว่า ประเทศอื่นๆ ที่รอเราอยู่ ทั้งฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รวมทั้งไต้หวัน โดน AZ เลื่อนหมดเลยอย่างไม่มีกำหนด แต่เราได้รอบแรกตรงเวลา ทันตามกำหนด และรอบที่สองแม้ว่าจะมีข่าวเลื่อน แต่ก็เลื่อนแค่ไม่กี่วัน ยังเป็นไปตามกำหนด Week 3 อยู่ 

แม้ว่าจะไม่มีใครสามารถพูดหรือเปิดเผยได้ว่าการเลื่อนของประเทศอื่นมีผลมาจากการมีโรงงานในประเทศไทยหรือไม่ แต่ผมคิดว่า common sense ก็น่าจะพอบอกได้ว่าเป็นปัจจัยหนึ่งด้วยหรือไม่ 

และนี่ก็คือสาเหตุที่ว่า ข้อมูลจำนวนวัคซีน หรือวันที่จะส่งมอบ นั้นเป็นความลับสุดยอดที่ไม่สามารถเปิดเผยก่อนหน้าได้ เพราะทุกประเทศที่รอจัดส่งรอบแรกแล้วถูกเลื่อนนั้น กำลังจ้องตาไม่กะพริบ! 

บางคนถามว่า ทำไมไทยไม่เข้าโครงการ COVAX เหมือนประเทศอื่นในอาเซียน คำตอบมีคนตอบไปเยอะแล้ว แต่ผมก็อยากจะถามเหมือนกันว่า ทำไมไม่คิดว่า ไทยเราเป็นประเทศเดียวในอาเซียน ที่มองการณ์ไกลสามารถเจรจาให้ผู้ผลิตวัคซีนมาตั้งฐานผลิตได้ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการทดลองวัคซีน และก็โชคดีที่วัคซีนที่ผลิตออกมามีคุณภาพสูงด้วย และเราก็โชคดีที่มีโรงงานที่มีศักยภาพทำได้พอดี (ถ้าไม่ได้ตั้งมาก่อน ไม่มีทางทำได้แน่) ทำให้ตอนนี้ เราไม่ต้องรอการแบ่งจัดสรรจาก COVAX หรือรอการเจรจาซื้อที่ก็ควบคุมไม่ได้เหมือนหลายประเทศในอาเซียน

เรียกว่างานนี้ไทยแลนด์ "เก่งบวกเฮง" ครับ ???? (หรือใครจะเรียกว่า "มีบุญ" ก็ไม่ว่ากันครับ) 

 

ที่มา : https://tna.mcot.net/world-714339
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4674255965923339&id=100000169455098


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

‘หมอยง’ เปรียบเทียบผลข้างเคียงวัคซีน Sinovac กับ AstraZeneca ต่างกันชัดเจน แนะหากมีอาการไข้ปวดศีรษะ ให้กินยาพาราเซตามอลได้เลย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง โควิด-19 วัคซีน อาการข้างเคียง และ อาการไม่พึงประสงค์ โดยระบุว่า

ในช่วงต้นการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น Sinovac และในผู้สูงอายุ จะใช้ AstraZeneca

ปัญหาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น จะไม่ค่อยพบมาก ขณะนี้การใช้วัคซีนจะเป็น AstraZeneca เป็นหลักและจะต้องมีการใช้ต่อไปอีกเป็นจำนวนมาก Sinovac จะเป็นตัวเสริม

จากการศึกษาของศูนย์ ที่จริงได้ฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิด ในทุกอายุ ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป อยากจะบอกว่า วัคซีน Sinovac มีอาการข้างเคียง น้อยกว่า AstraZeneca โดยเฉพาะในเรื่องไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด เมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ ขนาดการศึกษานี้ผู้ป่วยฉีดวัคซีน AstraZeneca เราแจก พาราเซตามอลกลับบ้านด้วยซ้ำ

รูปข้างล่างแสดงให้เห็นเปรียบเทียบการศึกษาของศูนย์ เห็นความแตกต่างได้ชัดเจน

อาการที่เกิดขึ้นจากวัคซีน AstraZeneca จะพบว่าอายุน้อย มากกว่าผู้สูงอายุ และผู้หญิงจะมีอาการมากกว่าผู้ชาย ซึ่งเมื่อดูอาการข้างเคียงเปรียบเทียบกับวัคซีนที่ฉีดในต่างประเทศโดยเฉพาะวัคซีนในกลุ่ม mRNA แล้วไม่ต่างกันเลย

ส่วนวัคซีน Sinovac อาการข้างเคียงดังกล่าวน้อยกว่ามาก ดังแสดงในรูป

ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca ถ้ามีไข้หรือปวดศีรษะ ท้องเสียอาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นอาการที่พบได้หลังการฉีดวัคซีน ดังนั้น หลังฉีดเมื่อกลับไปถึงบ้านถ้ามีอาการดังกล่าว รับประทานยาพาราเซตามอลได้เลย ไม่ต้องรอให้ไข้ขึ้นสูง หรือปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และสามารถทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง อาการดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 1-2 วัน ก็จะหายเป็นปกติ

นอกจากว่ามีอาการมาก เช่น ไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หรือสูงมาก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และรับประทานยาแล้วไม่หาย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์

ถ้าทุกคนเข้าใจ จะได้ไม่เกิดวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนในกลุ่ม virus Vector หรือ mRNA วัคซีนจะมีอาการข้างเคียงได้มากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย ตามหลักฐานเชิงประจักษ์

 

ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/5817236151652287


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

หมาหรือหมี อลาสกัน มาลามิวท์ | คิดเพลิน Learn & Play Talk EP.33

คุณอยู่กับ Podcast face to face รายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ฟังง่ายได้สาระ  

พูดคุยประเด็นต่างๆ แบบเพลินๆ พบกันทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.00 น. 

ติดตามชมรายการ “คิดเพลิน Learn & Play Talk” ได้ทาง YouTube และ Facebook Fanpage ของ THE STATES TIMES 

อย่าลืม! กดไลก์ กดแชร์ กด Subscribe 

.

.

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top