Sunday, 18 May 2025
ค้นหา พบ 48181 ที่เกี่ยวข้อง

“ประวิตร” เร่ง "แก้น้ำท่วมเมืองพัทยา" ช่วยปชช.เดือดร้อน ชูการท่องเที่ยว-อีอีซี

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ประธานการประชุม คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ ครั้งที่ 3/2564 โดยขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องติดตามแผนงานโครงการฯที่ผ่านความเห็นชอบ นำไปสู่การปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาน้ำทุกมิติและบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเค็ม กักเก็บ สำรองน้ำบนดินใต้ดิน ไว้ใช้อย่างเพียงพอและทั่วถึง

ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำหลัก เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ระยะที่ 1โดยเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะรองรับน้ำฝนครอบคลุมพื้นที่ 15.39 ตร.กม. มีผู้ได้รับประโยชน์ 38,740 ครัวเรือน ลดความเสียหายทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 600 ล้านบาทปี สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

รับทราบความคืบหน้าโครงการขนาดใหญ่ ที่ผ่านคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ (กนช.) เพื่อเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี 4 โครงการ ได้แก่

1.) อ่างเก็บน้ำ แม่ตาช้าง จ.เชียงราย

2.) อ่างเก็บน้ำ คลองโพล้ จ.ระยอง

3.) อ่างเก็บน้ำ บ้านหนองกระทิง จ.ฉะเชิงเทรา และ

4.) สถานีสูบน้ำดิบ พร้อมระบบท่อส่งน้ำ เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จ.ปัตตานี และรับทราบผลการติดตามการขอใช้พื้นที่ป่า สำหรับการพัฒนาแหล่งน้ำ 26 โครงการ ให้กรมชลประทาน เร่งจัดทำรายงานสิ่งแวดล้อมให้เป็นฉบับสมบูรณ์ นอกจากนั้นรับทราบความก้าวหน้าโครงการแก้มลิงทุ่งหิน จ.สมุทรสงคราม พื้นที่ 2,623 ไร่ เพื่อใช้ชะลอน้ำหลาก ผลิตน้ำประปา และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับจังหวัด ต่อไป

พาณิชย์ทำดัชนีวัดค่าครองชีพ หวังประชาชนวางแผนใช้จ่าย

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (ผอ.สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจใหม่ 2 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มค่าบริการ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคบริการ เพื่อให้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพด้านบริการมากยิ่งขึ้น เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง ค่าการศึกษา เพื่อให้ประชาชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการใช้จ่ายและวางแผนดำเนินชีวิต รวมถึงให้หน่วยงานใช้ประกอบการกำหนดมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภาคบริการได้แม่นยำ มากยิ่งขึ้น

สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคกลุ่มค่าบริการ เป็นดัชนีราคาที่คัดเลือกรายการค่าบริการจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งมีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยมีทั้งสิ้น 87 รายการ จาก 430 รายการ จำนวน 14 หมวด โดยหมวดที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูงสุด 5 อันดับแรก คือ หมวดกิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสูงที่สุด  54.93% ตามด้วยหมวดข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 15.88% หมวดการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 6.94% หมวดกิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 6.55% และหมวดการศึกษา  4.22% 

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคบริการ เป็นเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่แสดงถึงความคิดเห็นของผู้ประกอบการภาคบริการที่มีต่อธุรกิจของตนเอง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญเป็นประจำทุกปี อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับยอดขาย รายรับ และสินค้าคงเหลือ รวมทั้งสอบถามความคิดเห็นต่อการดำเนินธุรกิจ

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/4 ตอน กล้าผลัก SMEs ไทย เรียนลัดด้วย ‘Social Enterprise - Innovative Startup’  และปลายทางความหวังประเทศ = การเลือกตั้ง

BizMAX THE TOPIC จับประเด็น เน้นความรู้ EP.2/4 ตอน กล้าผลัก SMEs ไทย เรียนลัดด้วย ‘Social Enterprise - Innovative Startup’ 
และปลายทางความหวังประเทศ = การเลือกตั้ง

รู้จัก ‘หมู-วรวุฒิ อุ่นใจ’ รองหัวหน้าพรรคกล้า ขุนพลเศรษฐกิจสาย
SMEs
ผู้กล้าทิ้งธุรกิจพันล้าน (B2S-OfficeMate) ทะยานสู่รั้วการเมือง
กับความตั้งใจที่จะขอนำประสบการณ์ที่มี ช่วยเหลือ SMEs ไทย
ให้ไปรอด!!

ดำเนินรายการโดย หยก THE STATES TIMES

.

.

Click on Clear THE TOPIC EP.2/4 จับประเด็น เน้นความรู้ ตอน ปัญหาที่ดิน คือ รากฐานของความเหลื่อมล้ำ

Click on Clear THE TOPIC EP.2/4 จับประเด็น เน้นความรู้ ตอน ปัญหาที่ดิน คือ รากฐานของความเหลื่อมล้ำ

ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินในมือคนมีอันจะกิน ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสเข้าถึงที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การกระจายอำนาจและวางแผนแก้ไขปัญหาที่ดินอย่างจริงจังเท่านั้น จึงจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งปัญหาที่ดิน คือ รากเหง้าของปัญหาความเหลื่อมล้ำ

พบกับ มานพ คีรีภูวดล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล 

ดำเนินรายการโดย ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา Host & Content Creator THE STATES TIMES

.

.

“ซินโครตรอน” แสงที่ไขปริศนา...คดีฆาตกรรมน้องชมพู่

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คดีการฆาตกรรมน้องชมพู่ เด็ก 3 ขวบ ในหมู่บ้านกกกอก ต.กกตูม อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร ที่หายตัวออกไปจากบ้าน เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563 และหลังจากใช้เวลาตามหา 3 วัน ก็พบว่าเป็นศพเปลือย อยู่ในป่าบนภูเขาเหล็กไฟ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2563 ซึ่งอยู่ห่างจากตัวบ้านที่น้องอาศัยอยู่เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร กลับเป็นข่าวดังอีกครั้ง หลังจากตำรวจใช้เวลาในการรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีจำนวนมาก เป็นระยะเวลากว่า 1 ปี เต็ม 

จากระยะเวลาที่ยาวนาน ฝ่ายตำรวจกับอัยการคงต้องทำงานหนักในเรื่องการส่งฟ้องศาล เพราะทุกความเชื่อมโยงต้องไม่ให้เกิดความน่าสงสัยในพยานหลักฐาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวจำเลยในคดีอาญา เป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้ ตามคำกล่าวที่คนเรียนกฎหมายมักจะได้ยินบ่อย ๆ คือ “ปล่อยคนผิดไป 10 คน ดีกว่าจับผู้บริสุทธิ์มา 1 คน” และมีพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ตำรวจค่อนข้างจะมั่นใจ เนื่องจากเป็นพยานหลักฐานที่ใช้นิติวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ นั่นก็คือการใช้แสง “ซินโครตอน” ในการพิสูจน์ลักษณะความสอดคล้องกันของพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ ที่เชื่อมโยงกับพยานหลักฐานที่พบในผู้ต้องสงสัย ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จะเป็นหลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุด เนื่องจากเป็นหลักฐานที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกับพยานบุคคล ที่อาจะเปลี่ยนแปลงคำให้การได้ตลอดเวลา 

สำหรับวันนี้ จะพาทุกท่านมาดูกันว่า แสงซินโครตรอน คืออะไร และทำไมจึงใช้เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์ตัวผู้กระทำความผิดได้ครับ 

แสงซินโครตอนคือแสงชนิดหนึ่ง ทั้งนี้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะได้พบเห็นแสงต่าง ๆ มากกมาย เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ แสงจากดวงจันทร์ หรือแม้กระทั่งแสงจากหิงห้อย เป็นต้น แต่แสงซินโครตรอนที่จะพูดถึงนี้เป็นแสงที่มีลักษณะพิเศษกว่าแสงชนิดอื่น คือมีความเข้ม หรือความสว่างสูงกว่าแสงอื่นเป็นอย่างมาก โดยจะมีความเข้มของแสงมากกว่าแสงจากดวงอาทิตย์เป็นล้านเท่าเลยทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของแสงจะเป็นลำกรวยขนาดเล็กทำให้มีความเข้มสูง นอกจากนี้แล้ว เนื่องจากแสงซินโครตรอนถูกปลดปล่อยออกมาจากอิเล็กตรอนอิสระ ค่าความยาวคลื่นของแสงจึงครอบคลุมช่วงความยาวคลื่นกว้างตั้งแต่ย่านอินฟราเรดจนถึงรังสีเอกซ์ ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย 

สำหรับแหล่งกำเนิดของแสงซินโครตรอนนั้น เกิดจากการกระตุ้นหรือเร่งให้อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง คือความเร็ว 1,080,000,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และบังคับให้เลี้ยวโค้งด้วยความเร็วนั้น ในระหว่างที่เลี้ยวโค้งนั้นจะทำให้เกิดลำแสงที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยขนาดเล็ก หลุดออกมาในระหว่างโค้ง เปรียบเทียบได้กับการที่เวลามีอะไรวิ่งมาด้วยความเร็วสูง เมื่อเลี้ยวโค้งจะทำให้มีสิ่งของหลุดออกมาได้ในระหว่างที่เลี้ยวโค้ง เนื่องจากเกิดแรงเหวี่ยงขณะเลี้ยวโค้ง ซึ่งเครื่องที่ใช้กระตุ้นหรือเร่งให้อิเล็กตรอนมีความเร็วสูงนี้ เรียกว่าเครื่องซินโครตรอน จึงเรียกแสงที่เกิดจากกรณีนี้ว่าแสงซินโครตรอน นั่นเอง 

เนื่องจากลักษณะสมบัติของแสงซินโครตรอนที่มีความเข้มสูง และมีความยาวคลื่นกว้าง ทำให้สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่าง ได้แก่การศึกษาองค์ประกอบของธาตุที่มีอยู่ในวัสดุ หรือการวิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุต่าง ๆ โดย อาศัยหลักการ ทำให้แสงซินโครตรอนวิ่งผ่านเข้าไปกระตุ้นอะตอม ที่อยู่ภายในวัสดุที่จะวิเคราะห์ ทั้งนี้เนื่องจากแสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง เมื่อแสงวิ่งผ่านวัสดุหรือสิ่งกีดขวาง จะทำให้เกิดการสะท้อน การหักเห การเลี้ยวเบน หรือเกิดการกระเจิง และการดูดกลืนคลื่นแสงของวัสดุที่แสงวิ่งผ่าน

นอกจากนั้นการที่เรายิงแสงความเข้มสูงไปกระทบกับวัสดุก็ทำให้มีอิเล็กตรอนหลุดออกมาได้ เป็นไปตามทฤษฎีทางฟิสิกส์ของแสง ส่งผลให้มีการปลดปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา ซึ่งสมบัติเหล่านี้จะเป็นลักษณะเฉพาะของวัสดุ หรือสสารแต่ละชนิดที่มีพฤติกรรมต่อสมบัติของแสง และเมื่อนำลักษณะเหล่านี้มาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือจะทำให้ทราบลักษณะโครงสร้าง หรือองค์ประกอบของวัสดุ แต่ละชนิดได้ 

ทั้งนี้ในการใช้แสงซินโครตรอนมาช่วยวิเคราะห์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ อาศัยหลักการดังกล่าวข้างต้นของแสงซินโครตรอน มาตรวจสอบพยานหลักฐานที่พบในที่เกิดเหตุ และพยานหลักฐานที่พบในตัวผู้ต้องสงสัย ว่ามีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ โดยในกรณีคดีการเสียชีวิตของน้องชมพู่นั้น เป็นการพิสูจน์พยานหลักฐานคือเส้นผมของน้องชมพู่ที่พบว่าถูกหั่นในที่เกิดเหตุ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเส้นผมที่พบในรถของผู้ต้องสงสัย ทั้งนี้พบว่าเป็นเส้นผมที่มีองค์ประกอบที่เหมือนกัน แสดงว่าเป็นเส้นผมของคนคนเดียวกัน นอกจากนั้นยังวิเคราะห์ได้ว่าลักษณะโครงสร้างของเส้นผมที่พบในทั้งสองจุด มีโครงสร้างที่เหมือนกันย่อมแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นเส้นผมของคนเดียวกัน ที่มาจากจุดที่เกิดเหตุเดียวกันอีกด้วย ทำให้ตำรวจมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนอีกชิ้นหนึ่ง ที่ทำให้ศาลอนุมัติออกหมายจับผู้ต้องสงสัยได้นั่นเอง 

โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อศึกษา และวิจัย รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน คือสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ครับ


โปรเด็ด! เทหมดตัว มาสด้า 2 และ นิสสันอัลเมร่า ทักเลย! ตอบไว! แอดเลย @TheShopsTimes 
คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top