Monday, 28 April 2025
CRIMES

ตร. เตือน เผลอ กดลิงก์คนร้ายอย่าตกใจ เงินไม่หาย ยังปลอดภัยถ้าไม่กรอกข้อมูลหรือรหัสผ่าน

วันที่ 26เม.ย.2565 พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า ตามที่ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้มีนโยบายให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องประชาชนรู้เท่าทันถึงอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการสืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

ด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจสอบพบว่าในสื่อสังคมออนไลน์ ได้มีการแชร์ข้อมูลในลักษณะเตือนภัยประชาชนอ้างว่า แค่เพียงกดลิงก์ที่มาพร้อมข้อความที่ได้รับจากคนร้ายจะทำให้ท่านถูกถอนเงินไปจนหมดบัญชีธนาคาร หรือถูกแฮกบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ได้ ส่งผลให้พี่น้องประชาชนเกิดความตื่นตระหนก และเกิดความหวาดกลัวในการใช้โทรศัพท์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะการกดลิงก์ดังกล่าว ยังไม่ทำให้ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลบัญชีธนาคารของท่าน ถูกส่งไปให้กับคนร้าย หรือเงินฝากในบัญชีธนาคารของท่านจะถูกถอนออกไปจนหมดบัญชีแต่อย่างใด แต่คนร้ายจะได้ข้อมูลดังกล่าวก็ต่อเมื่อหลังท่านกดลิงก์ที่ได้รับแล้วท่านหลงเชื่อกรอก

"รองฯรอย"นำหมายศาลเปิดปฏิบัติการลุยค้น 33 จุดใน 12 จังหวัด 14 แพลทฟอร์ม แก้ไขปัญหาขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา

พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร.และพล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. ร่วมกับ พ.ท.หนุน ศันสนาคม ผอ.สนง.สลากกินแบ่งรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้สั่งการให้ นำกำลังกว่า 500 นาย เข้าตรวจค้นตามหมายค้นศาลอาญา เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน บริษัทที่จัดทำหรือให้บริการแพลทฟอร์ม ขาย เสนอขาย สลากกินแบ่งรัฐบาลในระบบแพลทฟอร์มของตนเอง มีการแทรกแซงกลไกราคาจนทำให้ราคาสลากกินแบ่งรัฐบาลมีมูลค่าสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด พร้อมกัน  14 แพลทฟอร์ม  33 จุด 12 จังหวัดทั่วประเทศ 

มีรายงานว่ากำลังตำรวจได้นำหมายศาลเข้าตรวจค้นแล้วได้แก่
จุดที่ 1 หงษ์ทองสำนักงานใหญ่
จุดที่ 2 กรุงไทยลอตเตอรี่
จุดที่ 3 บ้านพักกรรมการกองสลากพัก
จุดที่ 4 ลอตเตอรี่ 80 สมุทรปราการ
จุดที่ 5 ท่าใหม่ จันทบุรี
จุดที่ 6 นาคาออนไลน์นครนายก
จุดที่ 7 และ 8 ฉะเชิงเทรา 2 จุด
จุดที่ 9 สลากแมน 999 ฯลฯ


พล.ต.อ.รอย กล่าวว่า ด้วยปรากฏสถานการณ์ปัจจุบัน มีผู้ขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาและมีส่วนหนึ่งที่มีการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านระบบแพลตฟอร์มของตนเองในลักษณะออนไลน์เป็นจำนวนมาก มีการแทรกแซงกลไกราคาจำหน่ายสลาก จนทำให้ราคาสลากกินแบ่งรัฐบาลสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด เกิดความเดือดร้อนกับประชาชนที่ต้องการซื้อสลากมาเป็นระยะเวลานาน 

‘ผบ.ตร.’ ไลฟ์เฟซบุ๊ก เปิดรายการ ‘ปั๊ดอยากเล่า น้องอยากแชร์’ เล่าที่มาโครงการ Smart Safety Zone 4.0 สร้างชุมชนปลอดภัย ลดความหวาดกลัวอาชญากรรม ปลุกตำรวจทั่วประเทศปรับตัว ฝากข้อคิด เรียนรู้ มุ่งมั่นทำสิ่งใหม่ในยุคเปลี่ยนผ่าน เพื่อสร้างสังคมที่ดี

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร. ) ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในรายการ "ปั๊ดอยากเล่า น้องอยากแชร์" รายการสดเผยแพร่ผ่านเพจเฟซบุ๊กแฟนเพจ Smart Safety Zone และ คลับเฮ้าส์ : ปั๊ดอยากเล่าน้องอยากแชร์ เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 22 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งรายการ "ปั๊ดอยากเล่า น้องอยากแชร์" เป็นรายการสด ที่ผบ.ตร.พูดคุยกับตำรวจและประชาชน เกี่ยวกับโครงการ Smart Safety Zone 4.0 โครงการที่นำเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย อาทิ กล้องวงจรปิด, ศูนย์ควบคุม CCOC, ระบบ AI และแอปพลิเคชัน ต่างๆ เป็นกลไกหลักในการดูแลความปลอดภัยของชุมชน จนได้รับรางวัลจากการประชุมสุดยอดตำรวจโลก World Police Summit 2022 เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

โดยรายการในตอนแรก พูดคุยในประเด็น ที่มาของโครงการ Smart Safety Zone 4.0 มี พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผบ.ตร. , ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ และ ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ร่วมรายงาน มีข้าราชการตำรวจและประชาชนที่สนใจ ร่วมรับฟัง
 
พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ กล่าวถึงที่มาของ Smart Safety Zone 4.0 ว่า การดูแลความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะภัยอันตรายบนพื้นที่สาธารณะ เป็นภารกิจแรกๆ ของตำรวจ การจะทำให้สำเร็จต้องอาศัยทรัพยากรทุกอย่าง ทั้งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภาคประชาชน ส่วนราชการอื่นๆ ระดมสรรพกำลังเพื่อภารกิจนี้ ซึ่งการวัดผลของโครงการคือการที่ประชาชนรู้สึกปลอดภัย ไม่หวาดกลัวอาชญากรรม
 
“จะมีสักซอยไหม ที่เดินกลางคืน คนไม่กลัวอะไร โดยเฉพาะสุภาพสตรี นี่คือเป้าหมายของโครงการนี้ ที่ต้องไปให้ถึง ตำรวจทั่วประเทศต้องเข้าใจว่าเรามีหลักชัยเดียวกัน ทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัย” ผบ.ตร. กล่าว
 
ผบ.ตร. ระบุว่า โครงการ Smart Safety Zone 4.0 เริ่มต้นจากการทำแซนด์บ็อกซ์ ในพื้นที่ทดลองก่อน เนื่องมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ และกำลังคน ดังนั้นจึงเริ่มทำในพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ ใส่เทคโนโลยีเข้าไป ใส่คนเข้าไป และที่สำคัญใส่ความร่วมมือเข้าไป ทั้งความร่วมมือจากส่วนราชการและประชาชน ใช้หลักการคอมมูนิตี้ โพลิซซิ่ง หรือตำรวจชุมชน ผสมผสานกับการสร้างเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ที่กำลังเป็นเทรนด์ของโลก หัวใจสำคัญคือการแสวงหาความร่วมมือ โดยช่วงเริ่มต้นได้รับความมือจากหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.ให้งบประมาณเริ่มต้น จากเดิมพื้นที่นำร่อง ตอนนี้ขยายไปหลายจุดทั่วประเทศ และจะทำต่อไป
 
ในตอนหนึ่ง ผบ.ตร.ตอบคำถามถึงการหลอกลวง ฉ้อโกงทางออนไลน์ ว่า หากถูกหลอกลวง ทางออนไลน์ ได้รับความเสียหาย ประชาชน สามารถแจ้งความออนไลน์ ได้ที่ www.Thaipoliceonline.com ซึ่งเปิดรับแจ้งความทางออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังแจ้งได้ที่สายด่วน 1441 ของกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)

พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ กล่าวว่า ถ้าคุณถูกหลอกออนไลน์ได้ คุณก็ต้องแจ้งความทางออนไลน์ได้เหมือนกัน รับประกัน 4 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ตอบกลับ และดำเนินการต่อหากพบว่าเป็นคดีเกี่ยวโยงต่อเนื่อง ตำรวจ บช.สอท.จะดำเนินการต่อ หากเป็นคดีเสียหายไม่มาก ไม่เกี่ยวโยงกันเป็นเครือข่าย ระดับสถานีตำรวจจะรับไปดำเนินการสืบสวนสอบสวน อย่างไรก็ตามการรับแจ้งความออนไลน์ยังเป็นเรื่องใหม่ ตำรวจยอมรับว่ายังมีจุดที่ต้องปรับปรุง แก้ไขตลอดเวลา โดยจะปรับปรุง พัฒนาอย่างเต็มที่จนลงตัว ตนให้กำลังใจทีมที่คิดทำระบบรับแจ้งความออนไลน์ ให้ทิศทางในการพัฒนา ขณะนี้ปรับแก้ตลอดเวลา

นอกจากนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังได้ทำความตกลง (MOU) กับสถาบันการเงิน 21 แห่ง มีความร่วมมือในการประสานงานอายัดบัญชีธนาคาร แต่ยังต้องปรับปรุงเพื่อให้การอายัดบัญชีทำได้รวดเร็วที่สุด ขณะเดียวกันมีความร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ในการระงับ ตรวจสอบ หมายเลขโทรศัพท์จากต่างประเทศที่โทรเข้ามาหลอกลวง ทั้งนี้หากมีเบอร์ไม่พึงประสงค์โทรเข้ามา ประชาชนสามารถแจ้งได้ที่หมายเลขสายด่วน 1200 ของกสทช. หรือ Call Center ของผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือต่างๆ

ผบ.ตร. กล่าวย้ำว่า สิ่งสำคัญที่ฝากพี่น้องประชาชนคือการมีไซเบอร์วัคซีน ที่จะป้องกันจากโรคนี้ สร้างการรับรู้ภัยอาชญากรรมประเภทนี้ ตนดีใจมากที่เห็นคลิป TikTok ต่างๆ ที่ประชาชนนำแผนประทุษกรรมของคนร้ายออกมาเตือนภัยให้คนอื่นเห็น คนอื่นๆจะได้ไม่ถูกหลอก แต่ก็ยังมีหลายคนที่ไม่ทราบ ยังเข้าไม่ถึงข้อมูลเตือนภัยเหล่านี้ ขอให้ช่วยกันกระจาย เผยแพร่เตือนภัยอาชญากรรมออนไลน์ รูปแบบการหลอกลวงให้เข้าถึงทุกครัวเรือนโดยเฉพาะเด็กๆและเยาวชน ขณะเดียวกันมีแนวคิดสังคยานากฎหมายให้สามารถเป็นเครื่องมือที่เท่าทันอาชญากรรมออนไลน์

พล.ต.อ.สุวัฒน์ฯ กล่าวในตอนหนึ่ง ฝากถึงเพื่อนข้าราชการตำรวจในยุคเปลี่ยนผ่าน เปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิมๆ ไปสู่การทำงานแบบใหม่ที่ไม่คุ้นชิน โดยเฉพาะคดีฉ้อโกงออนไลน์ต่างๆ ต้องเรียนรู้การไล่ตามจับคนร้ายจาก IP address จนบางทีรู้สึกเป็นภาระกดดัน

“ผมอยากจะเรียนว่า ถ้าเราทำไป มีพลาดบ้าง ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่ถ้าเรามุ่งมั่น วันหนึ่งมันจะประสบความสำเร็จ และความยากจะกลายเป็นนิวนอร์มอลของเรา มันจะเป็นสิ่งที่เราทำได้ง่ายต่อไป เรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน หลายคนบ่นกับผมทำไมโครงการเยอะจังเลย แต่ทั้งหมดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ถ้าเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แสดงว่าสิ่งที่เราทำวนไปวนมาแล้วไม่เกิดประโยชน์มันจะลดลง เราเชื่อว่ามันจะทำให้เราทำงานอย่างชาญฉลาด คือทำงานจำนวนหนึ่ง แต่ได้ผลมากกว่าเดิม อยากให้ทุกคนตั้งใจ ผมจะเป็นกำลังใจให้”

ผบ.ตร. ย้ำด้วยว่า เรากำลังอยู่บนโลกใบนี้ โลกที่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นมา “ผมพยายามพูดหลายครั้ง สิ่งสำคัญในยุคนี้ คนที่อยู่รอดไม่ใช่คนที่แข็งแรงที่สุด หรือคนอ่อนแอไม่รอด แต่คนที่อยู่รอดไม่ใช่เพียงต้องแข็งแรง แต่คือคนที่ปรับตัวได้ดีที่สุด เราอยู่ในช่วงของการปรับตัว” ผบ.ตร.กล่าว

พล.ต.อ.สุวัฒน์ กล่าวฝากถึงประชาชนว่า ต้องเข้าใจและเรียนรู้สังคมใหม่ๆ เทคโนโลยี ความรู้ใหม่ๆและอาชญากรรมใหม่ๆ อาชญากรรมเป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมเราต้องเรียนรู้ ปรับตัวให้อยู่รอด ในส่วนของตำรวจนั้นมีความตั้งใจจริง หวังว่าสิ่งที่เราทำ ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพื่อสังคมที่ดีขึ้น

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับมือผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เปิดสายด่วนแจ้งเบอร์แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ เพื่อปิดกั้นการใช้งานและดำคดีตามกฏหมาย

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT: Police Cyber Taskforce เปิดเผยว่า ในปัจจุบัน อาชญากรรมทางออนไลน์ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะสูงขึ้น พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. จึงมีนโยบาย ให้ทำความร่วมมือกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หาแนวทางตัดการทำงานของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยทุกครั้งที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรหรือส่งข้อความเข้ามาให้ประชาชนแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวเข้าระบบเครือข่ายมือถือทั้ง 3 ค่าย เพื่อตรวจสอบพร้อมบล็อคเบอร์ดังกล่าว จากนั้นเบอร์โทรศัพท์จะถูกส่งต่อให้กับศูนย์ PCT เพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 72 ชม. เพียงเท่านี้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ก็จะใช้เบอร์โทรศัพท์นั้นหลอกลวงประชาชนไม่ได้และถูกดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ซึ่งช่องทางการแจ้งมีดังนี้
📞Ais 🟢 1185
📞True🔴 9777
📞Dtac🔵 1678

รอง ผบ.ตร.กล่าวต่อว่า จากสถิติคดีทางออนไลน์ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่เปิดศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ (1 มี.ค.65) ถึงปัจจุบัน พบว่า มีผู้เสียหายแจ้งความคดีออนไลน์แล้ว 15,557 ราย โดยอาชญากรรม 9 ลำดับ ที่ประชาชนถูกหลอกมากที่สุด ได้แก่ 1.ความผิดเกี่ยวกับการซื้อสินค้าที่ไม่ได้รับสินค้า 5,311 คดี 2.หลอกทำภารกิจ (เช่น ให้รีวิวสินค้า,กดไลท์ Tiktok, กดไลท์สินค้า) 1,884 คดี 3.หลอกให้กู้เงิน 1,573 คดี 4.ทำให้รักแล้วหลอกลงทุน (Hybrid scam) 1,296 คดี 5.Call center 1,206คดี 6.แชร์ลูกโซ่ 554 คดี 7.หลอกยืมเงิน 553 คดี 8.ซื้อสินค้าแต่ได้ไม่ตรงปก 227 คดี และ 9.หลอกลวงรูปแบบอื่นๆ อีก 1,889 คดี 

'รอง ผบ.ตร.' เปิดแถลงผลระดมกวาดล้างคดีออนไลน์ช่วงสงกรานต์ จับผู้กระทำผิด 6,933 ราย พร้อมเตือนภัยออนไลน์ 9 อันดับที่ถูกหลอกมากที่สุด

(21 เม.ย. 65) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ 
รอง ผบ.ตร. ผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) หรือ PCT: Police Cyber Taskforce , พล.ต.อ.ปรีชา เจริญสหายานนท์ ที่ปรึกษาพิเศษ ตร., พล.ต.อ.ชยพล ฉัตรชัยเดช ที่ปรึกษาพิเศษ ตร., พล.ต.ท.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้ช่วย ผบ.ตร./ รอง ผอ.ศปอส.ตร. แถลงผลการระดมกวาดล้างอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ถึง 6,933 ราย พร้อมเตือนภัยออนไลน์ 9 ลำดับที่ประชาชนถูกหลอกมากที่สุด 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ฯ เปิดเผยว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. ได้สั่งการให้ทุกหน่วยเร่งระดมกวาดล้างอาชญากรรมทุกประเภท โดยเฉพาะอาชญากรรมทางออนไลน์ ในช่วงสงกรานต์ ตั้งแต่ 8 - 17 เม.ย.65 เพราะเป็นช่วงที่พี่น้องประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยกันมากขึ้น เกรงว่าจะตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพได้ 

จากผลการระดมกวาดล้างของ ศปอส.ตร. และ ศปอส. บช.น.,ภ.1-9 สามารถจับกุมความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ทั้งสิ้น 6,933 ราย  แบ่งเป็น การพนันออนไลน์ 4,302 ราย แชร์ข่าวปลอมและความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 1,303 ราย คดีล่วงละเมิดเพศต่อเด็ก และสตรี ทางอินเตอร์เน็ต และค้ามนุษย์ 473 ราย คดีหลอกลวงจำหน่ายสินค้าออนไลน์ 461 ราย และคดีหลอกลงทุน 394 ราย โดยในคดีทั้งหมดนี้ สามารถจับกุมผู้ต้องหารับจ้างเปิดบัญชีม้า อีกจำนวน 216 คน 

พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า มีคดีที่น่าสนใจอยู่หลายคดี โดยเฉพาะคดีที่ ชุดปฏิบัติการที่ 1 PCT นำโดย พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.ภ.8, พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.สุรศักดิ์ สุรินทร์แก้ว ผกก.3 บก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชินวุฒิ ตั้งวงษ์เลิศ ผกก.สภ.ฉิมพลี และทีมงาน สืบสวนจนสามารถ "จับกุมแก็งหลอกลงทุน ในแอพพลิเคชั่น Digital Alliance กลุ่มคนร้ายชักชวนให้ร่วมลงทุนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยหาเหยื่อจากโซเชียลมีเดีย จากนั้นเมื่อหลงเชื่อก็จะหลอกให้ลงทุนบนแอปพลิเคชันฯ"

ที่น่าสังเกตุคือ กลุ่มคนร้ายมีการแบ่งหน้าที่กันทำ คือ...
กลุ่มที่ 1: ทำหน้าที่ชักชวนผู้เสียหายโดยหาเหยื่อจากแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ
กลุ่มที่ 2: ทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ส่วนตัวสร้างความสนิทสนมกับผู้เสียหาย  
กลุ่มที่ 3: ทำหน้าที่เทรดนำการลงทุน 
กลุ่มที่ 4: ทำหน้าที่เป็นเจ้าของบัญชีธนาคารที่ใช้กระทำความผิด 
กลุ่มที่ 5: ทำหน้าที่ฟอกเงินโดยเปลี่ยนเงินที่หลอกลวงมาได้ เป็นเงินสกุลดิจิทัล

จากคำให้การพบว่า ผู้เสียหายหลงเชื่อและร่วมลงทุนหลายครั้ง โดยช่วงแรกๆ คนร้ายจะจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้เสียหายจริง ทำให้มั่นใจและหลงเชื่อ ยอมเพิ่มเงินลงทุนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ 

คดีนี้มีผู้เสียหาย 6 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 3 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่าง  ติดตามตัวผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์อีกหลายราย มูลค่าความเสียหายคาดไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท

"เราสืบทราบว่าคนร้ายใช้กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นสถานที่ในการกระทำความผิด จึงขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิดจำนวน 32 ราย และได้ทำการจับกุมแล้ว 29 ราย ที่กรุงพนมเปญ โดยการประสานความร่วมมือกับตำรวจกัมพูชา จำนวน 2 ราย และที่ประเทศไทย อีก 27 ราย โดยทั้ง 29 รายนี้ แบ่งเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ จำนวน 2 ราย และคนทำหน้าที่เปิดบัญชีม้า อีก 27 ราย เพื่อใช้ในการรับโอนเงิน ส่งต่อไปบัญชีอื่นๆ ในเครือข่าย รอง ผบ.ตร. กล่าว" 

รอง ผบ.ตร. กล่าวอีกว่า ตั้งแต่เปิดศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ ตร. เมื่อวันที่ 1 มี.ค. เป็นต้นมา มียอดผู้เสียหายแจ้งความคดีออนไลน์แล้ว 14,436 เรื่อง แบ่งเป็นคดีที่รับแจ้งมากที่สุด 9 อันดับ ได้แก่...

อันดับ 1: ซื้อสินค้าแต่ไม่ได้รับสินค้า 4,847 เรื่อง 
อันดับ 2: หลอกให้ทำภารกิจ เช่น กดไลค์ในติ๊กต๊อก กดไลค์ ชอปปี้  1,673 เรื่อง
อันดับ 3: หลอกให้กู้เงิน 1,492 เรื่อง
อันดับ 4: หลอกให้รักแล้วหลอกให้ลงทุน 1,207 เรื่อง
อันดับ 5: Call center 1,155 เรื่อง
อันดับ 6: แชร์ลูกโซ่ 536 เรื่อง
อันดับ 7: หลอกยืมเงิน 524 เรื่อง
อันดับ 8: ซื้อสินค้าได้ไม่ตรงปก 208 เรื่อง
อันดับ 9: หลอกให้รักแล้วให้โอนเงิน 182 เรื่อง

"ผอ.ศพดส.ตร." จับมือ อธิบดีกรมสตรีฯ ร่วมกำหนด 6 มาตรการป้องกันความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

(21 เม.ย.65) ที่สำนักตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร.และ ผอ.ศพดส.ตร. เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. มอบหมายให้ เป็นผู้แทน ตร. ร่วมต้อนรับและประชุมหารือกับ นางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวพร้อมคณะ เกี่ยวกับการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง ต่อเด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัว 

โดยการประชุมหารือในครั้งนี้เป็นการบูรณาการเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวร่วมกันอีกทั้งมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการปฏิบัติระหว่าง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 

โดยมี พล.ต.ท.ปัญญา ปิ่นสุข ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร.และหน.ชป.TATIP, พล.ต.ต.ม.ล.สันธิกร วรวรรณ ผบก.ผอ.และผู้ช่วย หน.ฝอ.ศพดส.ตร.  พร้อมด้วย ผู้แทนจาก บช.น., สทส., รพ.ตร., กมค.,  รร.นรต., บก.ปคม. และเจ้าหน้าที่จาก กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เข้าร่วมประชุมมีประเด็นความร่วมมือหลักดังนี้...

(1.) สนับสนุนและช่วยเหลือให้เกิดมาตรการต่างๆ ในการดำเนินงานเพื่อยุติความรุนแรงในครอบครัว

(2.) สนับสนุนให้มีการประนีประนอม ช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ย และให้คำปรึกษาในการยอมความในการดำเนินคดีตามกฎหมายว่าด้วยความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว   

(3.) ร่วมมือดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กสตรี และบุคคลในครอบครัว

“หนุ่มเขมรขนเอง! จับกุมชายชาวกัมพูชาลักลอบขนคนหลบหนีเข้าไทย”

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด                     

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. มอบหมายให้ พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.มานัด ศรีวงษา ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.ไกลเขต บุรีรักษ์ รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.รัชธพงศ์ เตี้ยสุด รอง ผบก.ตม.3, พ.ต.อ.หฤษฎ์ เอกอุรุ รอง ผบก.ตม.3 และ พ.ต.อ.จิรพงศ์ รุจิรดำรงค์ชัย ผกก.สส.บก.ตม.3 ร่วมแถลงข่าวการจับกุมคดีดังนี้

กล่าวคือก่อนทำการจับกุมเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน กก.สส.บก.ตม.3 ได้ทำการสืบสวนทราบว่า ในเวลากลางคืนวันที่ 17 เม.ย. 65 ซึ่งเป็นห้วงเวลาหลังจากหยุดยาวสงกรานต์ และมีกลุ่มขบวนการลักลอบนำคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาเดิมทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต  โดยอาจจะใช้เส้นทางเลี่ยงการตรวจของด่านความมั่นคงในพื้นที่ จว.สระแก้ว จึงได้วางแผนและวิเคราะห์เส้นทางที่อาจใช้ในการกระทำความผิดเพื่อสกัดจับ จนต่อมาในเดียวกัน เวลา 22.30 น. ได้ตรวจพบรถยนต์กระบะต้องสงสัยขับออกจากซอยไม่ทราบชื่อ ถ.สุวรรณนุสรณ์ ด้วยความเร็วสูง จึงได้เข้าแสดงตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและขอทำการตรวจสอบ ผลการตรวจสอบพบว่ามีนายธาน อายุ 37 ปี สัญชาติ กัมพูชา เป็นผู้ขับรถ และมีบุคคลต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาอีก 5 คน โดยสารในรถมาด้วย ตรวจสอบแล้วไม่มีการเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างถูกต้อง จึงจับกุมตัวทั้งหมดและนำตัวส่งดำเนินคดีตามกฎหมาย 

การแจ้งข้อกล่าวหา นายธาน (คนขับ) แจ้งว่า   
1. ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ ซึ่งบุคคลต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตให้รอดพ้นจากการจับกุม
2. เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. ฝ่าฝืนคำสั่งจังหวัดสระแก้ว ที่ 1187/2565 ลง 1 เม.ย.2565 (ฉบับที่ 59)(ข้อ 9)
4. ร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ฝ่าฝืนสถานการณ์ฉุกเฉิน ชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ซึ่งไม่ถูกลักษณะและอาจจะเป็นเหตุให้โรคระบาดแพร่ออกไป

คนต่างด้าว 5 คน (ผู้โดยสาร) แจ้งว่า 

1. เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. ร่วมกันฝ่าฝืนคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ฝ่าฝืนสถานการณ์ฉุกเฉิน ชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ซึ่งไม่ถูกลักษณะและอาจจะเป็นเหตุให้โรคระบาดแพร่ออกไปสถานที่ วันเวลาเกิดเหตุ บริเวณปากซอยไม่ทราบซื่อ ถ.สุวรรณนุสรณ์(ขาเข้า) หมู่ 5 ต.หัวยโจด อ.วัฒนานคร จว.สระแก้ว เมื่อ 17 เม.ย. 65 เวลาประมาณ 22.30 น. 

 

จับกุมเครือข่ายขบวนการนำพาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. มอบหมายให้ พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ประพันธ์ศักดิ์ ประสานสุข ผบก.ตม.6, พ.ต.อ.ไพรัช พุกเจริญ รอง ผบก.ตม.6, พ.ต.อ.ยศเอก รักษาสุวรรณ รอง ผบก.ตม.6, พ.ต.อ.ภคยศ ทนงศักดิ์ผกก.สส.บก.ตม.6 และ พ.ต.อ.สมชาย จิตสงบ ผกก.ตม.จว.ระนอง ร่วมกันแถลงข่าว ดังนี้
 คดีจับกุมเครือข่ายขบวนการลักลอบนำพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนปราบปราม ตม.จว.ระนอง, สนธิกำลังร่วมกับ กก.สส.ภ.8,  กก.5 บก.ปคม., ส.ทท.2 กก.2 บก.ทท.3 และ เจ้าหน้าที่ทหาร ร้อย ร.2521 ฉก.ร.25

ได้รับแจ้งเบาะแสจากสายข่าวว่ามีขบวนการขนแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายจากพื้นที่ อ.กระบุรี จว.ระนอง ไปยัง จว.ชุมพร โดยใช้เส้นทางหลบเลี่ยงสายซอยหินช้าง ม.3 ต.มะมุ อ.กระบุรี จว.ระนอง แล้วนำพาเดินเท้าข้ามภูเขาเพื่อหลบเลี่ยงด่านตรวจศิลาสลักของเจ้าหน้าที่ทหารบนเส้นทางหลัก เพื่อไปส่งต่อยังพื้นที่ จว.ชุมพร จึงวางแผนให้กำลังพลซุ่มตามเส้นทางที่ได้รับแจ้งข่าว เวลาประมาณ 22.15 น. เจ้าหน้าที่พบรถยนต์กระบะ ทะเบียนจังหวัดระนอง ขับขี่ผ่านจุดที่เจ้าหน้าที่วางกำลังซุ่มดูไว้ พบนายเสนอ หรือนุ้ย เป็นผู้ขับขี่ จอดรถลงเดินสะพายปืนลูกซองยาว และใช้ไฟฉายสำรวจเส้นทางสำหรับใช้ขนแรงงานต่างด้าว ซึ่งภายหลังเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวมาซักถามให้การวกวน มีพิรุธน่าสงสัย 

ต่อมามีรถจักรยานยนต์ ทะเบียนจังหวัดระนอง ขับขี่นำทางรถยนต์กระบะสี่ประตู ทะเบียนจังหวัดชุมพร ขับขี่เข้ามา ลักษณะตรงตามที่สายรายงานเจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวขอตรวจสอบผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ แต่ได้อาศัยความมืดวิ่งหลบหนีไป (ทราบชื่อในภายหลังชื่อนายอนุรักษ์ หรือตาล) และจากการตรวจสอบในรถยนต์กระบะพบว่าผู้ขับขี่ชื่อ นายมนตรี หรือชาญ อายุ 40 ปี ที่อยู่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จว.ระนอง ภายในรถยนต์พบ นายจอจอทวย อายุ 18 ปี สัญชาติเมียนมา กับพวกรวม 12 คน (เป็นแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย) ซักถามนายมนตรียอมรับว่าได้รับการว่าจ้างจากนายจอโปนาย สัญชาติเมียนมา และเป็นผู้จัดหารถยนต์มาจอดไว้ที่ปั๊มน้ำมัน ปตท.สาขาสะพานปลา

โดยให้นำรถยนต์ไปรับแรงงานต่างด้าวที่บริเวณ ต.มะมุ อ.กระบุรี จว.ระนอง เมื่อไปถึงให้ติดต่อประสานงานกับนาย พัลลภ หรือ หนอน และนาย สิทธิพงษ์ หรือ กัปตัน ทั้งสองคนจะทำหน้าที่ดูต้นทางและรับต่างด้าวขึ้นจากเรือ และทำหน้าที่นำพาแรงงานต่างด้าวมาขึ้นรถยนต์ จากนั้นก็ขับขี่มุ่งหน้ามาที่ซอยหินช้าง ต.มะมุ อ.กระบุรี จว.ระนองโดยมีนาย อนุรักษณ์ ทำหน้าที่ขับรถ จยย. นำทาง เพื่อไปส่งให้คนมารับ พาเดินเท้าอ้อมจุดตรวจด่าน จปร. ไปยังพื้นที่ จว.ชุมพร

ต่อมาเวลาประมาณ 23.05 น. มีรถยนต์กระบะสีขาวทะเบียนกรุงเทพมหานคร ขับตามเข้ามา เจ้าหน้าที่จึงแสดงตัวขอตรวจสอบ พบนายจรัญ หรือไข่ อายุ 42 ปี ที่อยู่ ต.บางนอน อ.เมือง จว.ระนอง เป็นผู้ขับขี่ ภายในรถยนต์บรรทุก นายเมาเอเว อายุ 27 ปี สัญชาติเมียนมา กับพวกรวม 17 คน (เป็นแรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย) ซักถามยอมรับว่าได้รับการว่าจ้างจากนางนุสรา หรือเนย ให้มารับแรงงานต่างด้าวที่ริมแม่น้ำกระบุรีในพื้นที่ ต.มะมุ อ.กระบุรี จว.ระนอง ไปส่งที่ซอยหินช้าง ต.มะมุ อ.กระบุรี จว.ระนอง ได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 4,000 บาท/ครั้ง

และขณะที่เกิดเหตุ มีชาย 2 คนขับขี่รถจักรยานยนต์ทะเบียนจังหวัดระนองขับเข้ามา เจ้าหน้าที่แสดงตัวขอตรวจสอบ โดยทั้งสองคนได้ทิ้งรถจักรยานยนต์วิ่งหลบหนีไป จึงไล่ติดตามควบคุมตัวมาได้ 1 คน ชื่อ นายสิทธิพงษ์ หรือกัปตัน ให้การว่าชายที่นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มาด้วยและวิ่งหลบหนีไปชื่อ นายพัลลภ หรือหนอน

ซึ่งนายสิทธิพงษ์ กับนายพัลลภ เดินทางมาจากจุดที่แรงงานต่างด้าวหลบหนีขึ้นฝั่งบริเวณป่าจาก ต.มะมุ อ.กระบุรี จว.ระนอง โดยมีภาพถ่ายแรงงานต่างด้าวขณะขึ้นฝั่งในโทรศัพท์มือถือของ นายสิทธิพงษ์ มายืนยันกับเจ้าหน้าที่ และเมื่อจัดการให้แรงงานต่างด้าวขึ้นรถยนต์กระบะแล้ว นายพัลลภ ได้ใช้ให้ นายสิทธิพงษ์ ขับรถจักรยานยนต์มาส่งที่ นายเสนอ เพื่อจะร่วมกับ นายเสนอ ในการนำพาแรงงานต่างด้าวเดินเท้าหลบเลี่ยงจุดตรวจเจ้าหน้าที่ไปส่งยังพื้นที่ 
จว.ชุมพร ต่อไป จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ไปตรวจสอบบริเวณจุดที่แรงงานต่างด้าวขึ้นฝั่ง พบนายยีซออาว อายุ 26 ปี สัญชาติเมียนมา กับพวกรวม 13 คน แอบหลบซ่อนอยู่ จึงได้ควบคุมตัว ส่งพนักงานสอบสวน สภ.ปากจั่น ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป 

ค้นบริษัทหัวหมอ ปลอมใบรับรองการทำงานมากกว่า 60 บริษัท เพื่อนำไปขอวีซ่าสถานทูต...พบลูกค้าใช้บริการเพียบ!!!

ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม. ดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ หรือกลุ่มคนร้ายข้ามชาติที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ก่อเหตุกับคนไทยหรือชาวต่างชาติ โดยใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการกระทำความผิด

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. มอบหมายให้ พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ธนิต ไทยวัชรามาศ ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.สถิตย์ พรมอุทัย รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.รัฐโชติ โชติคุณ รอง ผบก.สส.สตม., พ.ต.อ.ชิตเดชา สองห้อง ผกก.1 บก.สส.สตม. และ พ.ต.อ.ชย พานะกิจ ผกก.(สอบสวน) กลุ่มงานสอบสวน บก.สส.สตม. ร่วมแถลงข่าว ดังนี้

เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.สตม. ได้รับแจ้งจากสายลับ (ขอปิดนาม) แจ้งว่า มีบริษัทรับทำเอกสารปลอมเพื่อขอวีซ่า ซึ่งเปิดรับทำวีซ่าเพื่อใช้ในการเดินทางไปประเทศ มีการปลอมเอกสารใบรับรองการทำงานของบริษัทต่าง ๆ จำนวนมาก เพื่อใช้นำไปยื่นขอวีซ่าที่สถานทูตต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ บก.สส.สตม. จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติหมายค้นบริษัทดังกล่าว

ต่อมาศาลแขวงดอนเมือง อนุมัติหมายค้น ให้เข้าตรวจค้นบริษัทดังกล่าว ในวันที่ 1 เมษายน 2565 เจ้าหน้าที่ บก.สส.สตม. จึงทำการเข้าตรวจค้นบริษัทดังกล่าวตามหมายค้น พบว่ามีคนไทยทำงานอยู่ในบริษัท 7 คน จากการตรวจค้น พบตราประทับของบริษัทต่าง ๆ จำนวน 42 อัน, คอมพิวเตอร์ จำนวน 5 เครื่อง, เอกสารสำหรับการยื่นขอวีซ่าไปยังสถานทูตต่าง ๆ มากกว่า 100 คน        

จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริษัทดังกล่าว ได้ประกาศหาลูกค้าที่ต้องการยื่นขอวีซ่าผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยคิดค่าธรรมเนียมในราคาที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ จากนั้นเมื่อมีลูกค้ามาใช้บริการ ก็จะช่วยลูกค้าจัดเตรียมเอกสารบางรายการที่ลูกค้าไม่มี สำหรับขอวีซ่า

ซึ่งพบว่าเอกสารบางส่วนที่บริษัทฯ จัดเตรียมให้ลูกค้าเป็นเอกสารใบรับรองการทำงานปลอมของบริษัทต่างๆ มากกว่า 60 บริษัท โดยใช้ คอมพิวเตอร์และตราประทับ ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.สตม. ตรวจพบสำหรับทำเอกสารปลอมขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้านำไปยื่นขอวีซ่ากับสถานทูตต่างๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.สส.สตม. จึงได้ทำการตรวจยึดสิ่งของไว้เป็นของกลาง และประสานงานไปยังบริษัทต่าง ๆ เพื่อทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับบริษัทฯ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป 

ทลายเครือข่ายยาเสพติด 'ต้อล เมืองชล' แก๊ง 'เหลือเชื่อ' ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ตรวจยึดทรัพย์สินมูลค่ารวมกว่า 72 ล้านบาท

ตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี , นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร., พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ รอง ผบ.ตร./ผอ.ศอ.ปส.ตร., พล.ต.ท.ธนา ชูวงศ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร./รอง ผอ.ศอ.ปส.ตร. และ นายวิชัย ไชยมงคล เลขา ป.ป.ส. กำหนดมาตรการการปราบปรามและทลายเครือข่ายยาเสพติดและยึดทรัพย์เครือข่ายกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดในพื้นที่ให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพสูงสุด 

ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.ภ.2, พล.ต.ต.อิทธิพร  โพธิ์ทอง รอง ผบช.ภ.2, พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.ภ.2, พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ กิจจาหาญ ผบก.ภ.จว.ชลบุรี และ นายปิยะศิริ วัฒนวรางกูร รอง เลขาธิการ ปปส. นำโดย พ.ต.อ.วราวุธ เจริญชนม์ รอง ผบก.สส.ภ.2, พ.ต.อ.กฤตยา เลาประสพวัฒนา รอง ผบก.สส.ภ.2 และ พ.ต.อ.สหัส ใจเย็น รอง ผบก.สส.ภ.2, เจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษ บก.สส.ภ.2 และ ตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี จำนวน 79 นาย พร้อมด้วย น.ส.พรทิพย์ แจ่มพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน ปปส.ภาค 2 และนายสุรเดช ละเต๊ะซัน ผู้อำนวยการฝ่ายอำนวยการบังคับใช้กฎหมาย สำนักงาน ปปส.ภาค 2 และเจ้าหน้าที่ชุด ปปส.ภ.2 จำนวน 16 นาย รวมจำนวนทั้งสิ้น 95 นาย เปิดปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้น เป้าหมายเครือข่ายยาเสพติดกลุ่มสิทธิชัย หรือต้อล มานะดี จำนวน 16 เป้าหมาย ในเขตพื้นที่ จังหวัดชลบุรี 13 เป้าหมาย, นครปฐม 1 เป้าหมาย และ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 1 เป้าหมาย

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 29 เม.ย.63 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายวีรยุทธ หรือวัต ประชุมสาย พร้อมของกลาง ไอซ์ จำนวน 10.6 กก., ยาบ้า จำนวน 51,800 เม็ด, คีตามีน จำนวน 1 กก. ในข้อหา “มียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 2 ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย” บริเวณบ้านเลขที่ 60/31 ม.10 ต.บ้านบึง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นำส่ง พงส.สภ.หนองขาม จว.ชลบุรี ดำเนินคดีตามกฎหมาย ตำรวจภูธรภาค 2 ได้มีคำสั่งที่ 177/2563 ลง 12 มิ.ย.64 แต่งตั้งเจ้าพนักงานสืบสวนสอบสวนเครือข่ายยาเสพติดของ นายวีรยุทธ หรือวัต ประชุมสาย และสามารถขยายผลออกหมายจับนายภาณุพงศ์ หรือตุ๊ อุ่นประดิษฐ์ กับพวกรวม 4 นาย ผู้ร่วมขบวนการ ในข้อหา “สมคบฯ และ สนับสนุนตาม พรบ.มาตรการฯ, ครอบครองยาบ้า ไอซ์ เพื่อจำหน่ายและมีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 (เคตามีน) ไว้เพื่อจำหน่าย”

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ต.ค.64 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตรวจค้นยึดทรัพย์เครือข่าย “แก็งค์เหลือเชื่อ” ได้เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเงินกว่า 15 ล้านบาท ระหว่างการสืบสวนจับกุม

เมื่อวันที่ 14 ก.ย.64 ชุดยาเสพติด ศอ.ปส.ภ.2 และ บก.สส.ภ.2 จับกุมนายณัฐพงษ์ หรือเบียร์ พร้อมด้วยยาบ้า จำนวน 1,815 เม็ด , ไอซ์ จำนวน 57 กรัม นำส่ง พงส.สภ.บางปะกง จว.ฉะเชิงเทรา

เมื่อวันที่ 21 ก.ย.64 ชุด ยาเสพติด ศอ.ปส.ภ.2 และ บก.สส.ภ.2 จับกุม นายเชาวลิต หรือก้อ พร้อมด้วย ของกลาง คีตามีน จำนวนประมาณ 10.5 กรัม, นำส่ง พงส.สภ.บางปะกง จว.ฉะเชิงเทรา

เมื่อวันที่ 27 ก.ย.64 จนท.ตร.สภ.เมืองชลบุรี จับกุมนายศุภวิชญ์ หรือไกด์ กัวหา พร้อมด้วยของกลาง, ยาบ้าจำนวน 787,000 เม็ด, ยาไอซ์ จำนวน 1 กก., ยาคีตามีน จำนวน 7 กก. และอาวุธปืนสงคราม อาการ์ (AK) นำส่ง พงส.สภ.เมืองชลบุรี

พล.ต.ต.อิทธิพร โพธิ์ทอง รอง ผบช.ภ.2/ผอ.ศอ.ปส.ภ.2 สั่งการให้สืบสวน ขยายผลจับกุม และสืบทรัพย์ เครือข่ายผู้มีส่วนรู้เห็นและเกี่ยวข้องทั้งหมด จนมีพยานหลักฐานและความเชื่อมโยงบ่งชี้อันน่าเชื่อว่า “แก็งค์เหลือเชื่อ” เป็นเครือข่ายยาเสพติดที่เชื่อมโยงกันในหลายพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยมี นายสิทธิชัย หรือต้อล มานะดี เป็นหัวหน้าระดับสั่งการ ซึ่งมีนายเกริกชัย รักวงษ์วาน, นายชาญเมธา นกหงส์, น.ส.ปัทมา ตรียานนท์, น.ส.วรินธร ศรีวิลัย กับพวก อีกจำนวน 8 คน ทำหน้าที่ด้านการเงิน และมีการใช้บัญชีม้าในการรับโอนเงินค่ายาเสพติด อีกจำนวนมากซึ่งศาลจังหวัดชลบุรี และศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้อนุมัติออกหมายจับนายสิทธิชัย หรือต้อลฯ ในข้อหา “สมคบ, สนับสนุนหรือช่วยเหลือความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด, สมคบสนับสนุนฟอกเงิน” ส่วนบุคคลอื่นในเครือข่ายล้วนแล้วแต่มีหมายจับข้อหา "สมคบ ป.ยาเสพติด พ.ศ.2564 และสมคบ ตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน พ.ศ.2542" รวมทั้งสิ้น 26 คน จำนวน 31 หมายจับ จากการสืบทรัพย์ฯ เบื้องต้น พบว่ามีทรัพย์สินมูลค่าประมาณกว่า 80 ล้านบาท จึงได้ขออนุมัติขอหมายค้นต่อศาลเพื่อตรวจค้นและจับกุมเป้าหมายบุคคลเพื่อดำเนินการจับกุมและตรวจยึดทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top