Sunday, 26 May 2024
TODAY SPECIAL

155 ปี รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้าง 'นครวัด' จำลองไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้คนไทยได้เห็นความมหัศจรรย์ของปราสาทหินแบบขอม ซึ่งใช้หินล้วนๆ เป็นวัสดุก่อสร้าง จึงมีพระราชดำริที่จะให้รื้อปราสาทหินที่มีอยู่เกลื่อนในเขตไทย ย้ายเข้ามาสร้างในกรุงเทพฯ สักแห่งสองแห่ง จึงมีรับสั่งให้ พระสุพรรณพิศาล กับ ขุนชาติวิชา ออกไปสำรวจหาที่เมืองนครธม นครวัด และเมืองพุทไธสมัน ว่ามีปราสาทไหนพอจะย้ายได้บ้าง ซึ่งขณะนั้นดินแดนเหล่านี้ยังเป็นพระราชอาณาจักรสยาม 

พระสุพรรณพิศาลกับขุนชาติวิชากลับมาทูลรายงานว่า ได้ไปสำรวจมาหลายตำบลแล้ว ส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นปราสาทใหญ่ๆ รื้อมาคงไม่ได้ แต่ที่เมืองเสียมราฐ มีปราสาทผไทตาพรหม อยู่ 2 หลัง สูงแค่ 6 วา เห็นว่าพอจะรื้อเข้ามาได้ จึงโปรดให้มีตราไปเกณฑ์คนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ เมืองพนมศก เป็นแรงงานให้พระพิศาลไปรื้อปราสาทผไทตาพรหมเข้ามา โดยแบ่งกำลังคนออกเป็น 4 ผลัดๆ ละ 500 คน

ต่อมาเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (นอง) ได้ส่งพระยาอานุภาพไตรภพ เจ้าเมืองเสียมราฐ เข้ามากราบทูลว่า ได้เกณฑ์คนให้พระสุพรรณพิศาลตามรับสั่งแล้ว แต่พอตั้งพิธีพลีกรรมบวงสรวงและลงมือรื้อปราสาทเมื่อวันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2403 ปรากฏว่ามีชาวเขมรประมาณ 300 คนออกมาจากป่า เข้ายิงฟันพวกรื้อปราสาท ฆ่าพระสุพรรณพิศาลกับพระวังและลูกชายของพระสุวรรณพิศาลตาย รวม 3 คน ทั้งยังไล่แทงฟันพระมหาดไทย พระยกกระบัตร และคนอื่นๆ บาดเจ็บอีกหลายคน แต่พวกที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาไม่ถูกทำร้าย จากนั้นก็หนีกลับเข้าป่าไป

หลังจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงทราบ จึงรับสั่งให้พระยาอภัยภูเบศร์ และพระยาอานุภาพไตรภพ รื้อปราสาทคนละหลังเข้ามาให้จงได้ พร้อมทั้งสืบหาผู้ร้ายรายนี้ให้ได้ด้วย 

15 ปี ผ่าตัดแฝดสยามรอด ‘คู่แรกของโลก’ ความสำเร็จครั้งใหญ่ของทีมแพทย์ไทย 

เมื่อ 15 ปีก่อน ได้เกิดข่าวใหญ่ที่นับเป็นความภาคภูมิใจคนไทยทั้งประเทศ อีกทั้งยังเป็นเสมือนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการแพทย์ไทย ที่สามารถ ‘ผ่าตัดแฝดสยาม’ ที่มีหัวใจและตับติดกับ แยกออกจากกันจนสำเร็จได้เป็นครั้งแรกของโลก!

เชื่อว่าข่าวใหญ่นี้คนไทยทั้งประเทศได้รับรู้ผ่านจอแก้ว หรือหน้าหนังสือพิมพ์ พร้อมๆ กันเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วการผ่าตัดนั้นได้เกิดขึ้นวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยฝีมือทีมแพทย์ไทยจากโรงพยาบาลศิริราช

ในการผ่าตัดครั้งนั้นแพทย์ศิริราช ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดแยกแฝดสยามหัวใจติดกัน ซึ่งทารกสองคนนั้นคือ “ด.ญ.ปานตะวัน-ด.ญ.ปานวาด ทิเย็นใจ” วัย 8 เดือน บุตรสาวของ น.ส.อุษา ทิเย็นใจ และนายถาวร วิบุลกุล

โดยเด็กแฝดปานวาดและปานตะวัน เกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ซึ่งได้ทำการผ่าคลอดเมื่ออายุครรภ์ได้ 36 สัปดาห์ น้ำหนักตัวแรกคลอดรวมกันประมาณ 3,570 กรัม แต่มีลักษณะพิเศษ คือ ลำตัวด้านหน้าติดกันตั้งแต่บริเวณทรวงอกลงมาถึงผนังหน้าท้อง

ซึ่งบริเวณที่ติดกัน ขนาดกว่า 17 x 8 ซ.ม. โดยทีมแพทย์ได้ทำการตรวจเพื่อสำรวจจุดที่อวัยวะของแฝดเชื่อมต่อกัน ซึ่งพบว่า หัวใจห้องบนขวาของแฝดพี่ ปานตะวัน เชื่อมกับหัวใจห้องบนซ้ายของแฝดน้อง ปานวาด ทั้งยังมีเลือดจากปานตะวันไหลผ่านมายังปานวาดตลอดเวลา

ดังนั้นทีมแพทย์จึงต้องทำการตรวจเพิ่มเติม เพื่อมั่นใจว่าหัวใจของแฝดคู่นี้ ไม่ได้พึ่งพากันและกัน โดยแพทย์ได้ทำการสวนหัวใจด้วยสายสวนติดบัลลูนเพื่อปิดบริเวณรอยเชื่อมต่อของหัวใจ เสมือนเป็นการแยกหัวใจชั่วคราว ปรากฏว่าไม่เกิดผลเสียต่อทั้งคู่

เมื่อผลตรวจเป็นไปด้วยดี ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนการผ่าตัดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในขณะนั้นทารกอายุได้ 8 เดือน และมีน้ำหนักตัวรวมกัน 10.9 กิโลกรัม

โดยผศ.นพ.มงคล ได้กล่าวถึงความพิเศษของเคสนี้ ว่าจากการค้นรายงานทางการแพทย์ เด็กแฝดตัวติดกันจะมีโอกาสเสียชีวิตตั้งแต่แรกคลอดสูง แต่ก็มีโอกาสรอดชีวิตภายหลังคลอด

แต่ในกรณีแฝดที่มีหัวใจติดกัน พบว่าเคยมีการผ่าแยกแต่ ‘เสียชีวิต’ หรือ ‘รอดเพียงคนเดียว’ เท่านั้น ดังนั้นครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่สามารถผ่าแยกและรอดชีวิตทั้งคู่ 
 

วันนี้เมื่อปี 2531 ‘ไทย - ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ!! 

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด 

ทหารไทยได้รุกตอบโต้ยึดที่มั่นต่างๆ ที่ลาวครองไว้กลับมาได้เป็นส่วนมาก รวมทั้งได้ทำการโอบล้อมบริเวณตีนเนิน 1428 ไว้ได้ แต่ไม่สามารถบุกขึ้นไปถึงยอดเนินซึ่งทหารลาวใช้เป็นฐานต่อต้านได้ ซึ่งไทยต้องเสียเครื่องบินรบแบบเอฟ-5 หนึ่งลำ และโอวี-10 อีกหนึ่งลำพร้อมกับชีวิตทหารอีกนับร้อยนายในการศึกครั้งนี้

‘ไคลด์ ทอมบอ’ ค้นพบดาวพลูโต ซึ่งเป็นอดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะจักรวาล 

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 19 (ตั้งแต่ ค.ศ. 1801 หรือประมาณ พ.ศ. 2344) นักดาราศาสตร์สมัยนั้น เชื่อว่ามีบางสิ่งรบกวนวงโคจรของดาวยูเรนัส ดาวเคราะห์ดวงที่ 7 ในระบบสุริยะ ซึ่งในขณะนั้นเป็นดาวเคราะห์ดวงนอกสุดที่อยู่ในระบบสุริยะ จึงทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นอยู่ไกลถัดจากดาวยูเรนัสไปอีก และจากนั้นในปี ค.ศ. 1846 (พ.ศ. 2389) นักดาราศาสตร์ก็ค้นพบดาวเนปจูน ซึ่งต่อมากลายเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 8 ในระบบสุริยะ

อย่างไรก็ดี หลังจากการค้นพบดาวเนปจูนแล้ว ก็ไม่ทำให้คลายปริศนา เนื่องจากวงโคจรของดาวเนปจูนก็ยังมีความผิดปกติที่ไม่สามารถหาคำอธิบายได้เช่นกัน ทำให้เหล่านักดาราศาสตร์เชื่อว่า จะต้องมีดาวเคราะห์ดวงอื่นที่อยู่ไกลออกไปจากดาวเนปจูนอย่างแน่นอน ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าว นำมาซึ่งการค้นพบดาวพลูโต...และบุคคลสำคัญผู้ค้นพบดาวพลูโตก็คือ ไคลด์ ทอมบอ (Clyde Tombaugh)

ทอมบอ ได้ส่งภาพวาดของดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี ไปให้กับทางหอดูดาวโลเวลล์ ในเมืองแฟลกสแตฟฟ์ รัฐแอริโซนา เพื่อขอคำแนะนำ แต่แล้วเขากลับได้รับข้อเสนอให้เข้าทำงาน หลังจากนั้นเขาจึงไปทำงานเป็นนักสังเกตการณ์อยู่ที่นั่น เรื่อยมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929-1945 (พ.ศ. 2472-2488) โดยขณะที่ ทอมบอ ทำงานอยู่ที่หอดูดาวโลเวลล์นั้น ชื่อของเขาก็ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ ในฐานะผู้ค้นพบ "ดาวพลูโต" เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) โดยการค้นพบครั้งสำคัญนี้ เขาบังเอิญค้นพบมันโดยบังเอิญขณะสำรวจท้องฟ้า ซึ่งต่อมาพลูโตก็กลายเป็น "ดาวเคราะห์" อันดับที่ 9 ของระบบสุริยะ จากนั้น ทอมบอก็ได้รับรางวัลทุนการศึกษา เข้าเรียนด้านดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคนซัส ก่อนจะจบการศึกษาอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ. 2482)

วันนี้เมื่อปี 2498 วันประหารชีวิต ‘ชิต - บุศย์ - เฉลียว’ 3 ผู้ต้องหาจำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้

แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย

ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมศริน จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น 

‘วันสมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ วันสำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 

สมเด็จพระนารายณ์ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ในอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยทรงขึ้นครองราชย์เมื่อแรม 2 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2199 ในขณะที่มีพระชนมายุ 25 พรรษา ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมีพระราชกรณียกิจที่ส่งเสริมให้กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรือง ทั้งด้านการค้าขาย ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งกว่าในรัชสมัยอื่นๆ ทรงปรับปรุงกรมพระคลังสินค้า โปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ

ต่อมาเมื่อเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ผู้เป็นชาวกรีกได้ช่วยปรับปรุงงานของกรมพระคลังสินค้าอีก ทำให้การค้าขายกับต่างประเทศเจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีพ่อค้าชาวฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า “ในชมพูทวีปไม่มีเมืองใดที่จะแลกเปลี่ยนสินค้ามากเท่ากับในสยาม สินค้าขายได้ดีมากในสยามและการซื้อขายใช้เงินสด” 

15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 อนุสรณ์เตือนใจ ‘ไทยมุง’ หลังเกิดเหตุ ‘รถขนแก๊ประเบิด’

ในช่วงเย็นของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ขบวนรถบรรทุก “แก๊ปไฟฟ้า” ประกอบด้วยรถสิบล้อ 1 คัน รถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ 1 คัน มีรถตำรวจทางหลวงนำหน้า เดินทางจากภูเก็ตมุ่งหน้าไปสระบุรีโดยผ่านกรุงเทพฯ

การเดินทางดำเนินไปตามปกติ จนกระทั่งมาถึงบริเวณสามแยกตลาดทุ่งมะพร้าว หน้าสถานีอนามัยทุ่งมะพร้าว จังหวัดพังงา ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นโศกนาฏกรรมที่คนไทยจะต้องจดจำไปอีกนาน เพราะเมื่อถึงบริเวณทางโค้ง รถบรรทุกสิบล้อเกิดเสียหลักพลิกคว่ำ แก็ปไฟฟ้านับล้านแท่งซึ่งบรรจุในลังไม้ตกกระจายเกลื่อนเต็มถนนและสองข้างทาง

ชาวบ้านทุ่งมะพร้าวจำนวนกว่า 10 คน ที่เห็นเหตุการณ์ได้กรูเข้ามาเก็บแก็ปไฟฟ้า โดยไม่ยอมฟังคำห้ามปรามของตำรวจว่า ‘อาจเกิดระเบิด’ และได้กลายเป็นเหตุการณ์ชุลมุนในที่สุด

ซึ่งในระหว่างนั้นเอง ก็ยังมีรถที่สัญจรไปมา ต้องมาจอดติดรอให้ยกรถที่พลิกคว่ำขวางถนนออก ซึ่งมีทั้งรถบขส. บรรจุผู้โดยสารเต็มคันรถ รถสองแถว 4-5 คันและจักรยานยนต์อีกกว่า 50 คัน

ซึ่งเหตุการณ์ชุลมุนผ่านกว่าชั่วโมง ตำรวจยังคงควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ มีไทยมุงจำนวนหนึ่งนำเหล็กมางัดตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุแก๊ปไฟฟ้า ทันใดนั้นเองก็เกิดเสียงระเบิด สนั่นหวั่นไหวไปทั่วบริเวณ เปลวเพลิงลุกพรึ่บสลับกับเสียงระเบิดของแก๊ปไฟฟ้าที่ตกเกลื่อนกลาด

โดยรัศมีระเบิดกินพื้นที่ถึง 1 กม. บ้านเรือนโดยรอบ อาคารตึกปะทะกับแรงระเบิดจนพังยับเยิน อีกทั้งแรงระเบิดยังทำให้ถนนเป็นหลุมยักษ์ลึกถึง 4 เมตร ส่งผลให้การสัญจรถูกตัดขาด ซึ่งนอกจากบ้านเรือนที่เสียหายแล้ว แรงระเบิดยังทำให้ไทยมุงตายทันที 60 ศพ ด้วยอนุภาคของระเบิดที่ปะทะเข้าอย่างจังกับร่าง

แม้แต่รถบขส.ที่จอดติดอยู่พังยับ ผู้โดยสารตายคารถจำนวนมาก ไทยมุงที่เพลินกับการเก็บแก๊ปไฟฟ้าถูกแรงระเบิดไฟลุกท่วมตัวล้มตายอยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ บางคนไฟลุกท่วมตัววิ่งหนีแต่ยังถือแก๊ปอยู่ในมือจึงเกิดระเบิดเป็นลูกโซ่ มือขาดแขนขาดล้มลงเสียชีวิต

14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535  ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานนาม ‘สถาบันราชภัฏ’

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ นี้ เป็นวันราชภัฏ เมื่อปี 2535 ในสมัยที่ ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศได้ขยายขอบเขตการจัดการศึกษา ซึ่งแต่เดิมมีลักษณะเป็นวิทยาลัยวิชาชีพเฉพาะทางให้สามารถจัดการศึกษาให้กว้างขวางขึ้น 

กรมการฝึกหัดครูกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ สรภ.) จึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานนาม วิทยาลัยครูใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยครูทุกแห่งว่า “สถาบันราชภัฏ”

ต่อมาในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2538 ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม “ราชภัฏ” และตราประจำมหาวิทยาลัย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณและเกียรติยศสูงสุดแก่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วพระราชอาณาจักร โดยนาม “ราชภัฏ หมายความว่า เป็นคนของพระราชา”

ต้นกำเนิดภาพยนตร์ โดยสองพี่น้อง ‘AUGUSTE & LOUISE LUMIERE’ ประดิษฐ์ ‘เครื่องฉายภาพยนตร์’ เครื่องแรกของโลก

พี่น้องตระกูลลูมิแอร์ "ออกุส" และ "หลุยส์" ชาวฝรั่งเศส (Auguste Lumiere-Louis Lumiere) ได้ออกแบบกล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe) ที่เป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ได้ วันนั้นนับเป็นครั้งแรกที่ทั้งคู่ทดลองนำภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกได้จากกล้องซิเนมาโตกราฟ มาฉายเป็นหนังทดลองลงบนจอภาพขนาดใหญ่ได้สำเร็จ และทำให้ความหมายของคำว่าภาพยนตร์สมบูรณ์

โดย กล้อง "ซิเนมาโตกราฟ" (Cinematographe) ถูกดัดแปลงมาจากกล้อง "คีเนโตกราฟ" (Kinetograph) ที่ใช้ฟิล์มแผ่นพลาสติกเซลลูลอยด์ และเครื่องฉายภาพ "คีเนโตสโคป" (Kinetoscope) ที่เป็นตู้รับชมภาพยนตร์ด้วยวิธีการส่องดูทีละคน ในลักษณะการถ้ำมอง 

12 กุมภาพันธ์ “วันดาร์วิน” เพื่อระลึกถึง ‘ชาร์ลส์ ดาร์วิน’ ผู้ปฏิวัติความคิดเรื่องจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิต จากความเชื่อเรื่องพระเจ้าเป็นผู้สร้าง สู่ทฤษฎีการวิวัฒนาการสมัยใหม่

วันดาร์วินสากล (International Darwin Day) ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) นักธรรมชาติวิทยา ชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับจุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต และนำเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ รวมไปถึงหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

ผลงานหนังสือที่ตีพิมพ์ของชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นผลงานที่มีประโยชน์อย่างมาก ทั้งทางชีววิทยา และมานุษยวิทยา โดยเฉพาะทฤษฎีวิวัฒนาการ ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในวงการชีววิทยา สำหรับผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขาก็คือ On the Origin of Species (กำเนิดสรรพชีวิต) ซึ่งได้รวมทฤษฎีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต และอธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต เปลี่ยนมุมมองความคิดเรื่องจุดกำเนิดสิ่งมีชีวิต จากพระเจ้าเป็นผู้สร้าง มาสู่ทฤษฎีการวิวัฒนาการ


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top