Saturday, 4 May 2024
TODAY SPECIAL

29 กรกฎาคม ของทุกปี ‘วันภาษาไทยแห่งชาติ’ ถือเป็นวันที่ระลึกถึงภาษาประจำชาติ

วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันที่คนไทยควรตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์และวัฒนธรรมทางภาษาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ 

วันภาษาไทยแห่งชาติ มีขึ้นเพื่อรำลึกถึงความสำคัญของภาษาไทย ในราวปี พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ "ลายสือไทย" ขึ้นเป็นครั้งแรก ดัดแปลงมาจากอักษรมอญและเขมร มีพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เพื่อใช้แทนความหมายและเสียงต่างๆ ในภาษาไทย ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็น "อักษรไทย" ที่เราใช้กันในปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับวันภาษาไทยแห่งชาติ ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2542 โดยมีความเป็นมาจากเหตุการณ์เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) เสด็จพระราชดำเนินไปอภิปรายหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" ในการประชุมวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 พระองค์ท่านทรงแสดงความห่วงใยในภาษาไทย โดยทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

๒๘ กรกฎาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวิชราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์จักรี ภายหลังทรงมีพระราชดำรัสตอบรับคำกราบบังคมทูลเชิญของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2559

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 28 ก.ค. 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ได้รับพระราชทานพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ

ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐา 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2515 ขณะนั้นทรงเจริญพระชนมายุ 20 พรรษา นับเป็นกระบวนการสืบราชสันตติวงศ์ที่ชัดเจนตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ.2467

การศึกษา
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเริ่มการศึกษาที่โรงเรียนจิตรลดา แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท สหราชอาณาจักร

หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ ด้านการทหาร จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย

หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาได้เสด็จฯ นิวัติประเทศไทย ทรงศึกษาต่อสาขาวิชานิติศาสตร์รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ทรงผนวช
วันที่ 6 พ.ย. 2521 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราช วาสนมหาเถร วัดราชบพิธ เป็นพระราชอุปัธยาจารย์ ถวายพระสมณนามว่า วชิราลงฺกรโณ ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครบ 15 วัน ทรงลาผนวช

พระราชกรณียกิจ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์มาโดยตลอด เพื่อแบ่งเบาพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทั้งในการพระราชพิธีสำคัญ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรไทย และพระราชพิธีทางศาสนาต่างๆ

นอกจากนี้ได้โดยเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปแปรพระราชฐานประทับแรมตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยทรงติดตามความก้าวหน้าด้านการชลประทาน การสร้างเขื่อนต่างๆ และพระราชทานแนวพระราชดำริให้กรมชลประทานแก้ปัญหาตามที่ชาวบ้านกราบทูล ส่งให้ราษฎรมีน้ำใช้ในการเกษตรอย่างอุดมสมบูรณ์และช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยในฤดูฝน

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคล จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกณียกิจ เช่น เมื่อรัฐบาลได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่งทั่วประเทศ พระองค์ก็ได้ทรงพระอุตสาหะเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลทุกแห่งและทรงเยี่ยมโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย

ด้านการศึกษา ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสนับสนุนให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 แห่ง ทรงรับโรงเรียนไว้ในพระราชูปถัมภ์ พระราชทานวัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ และในด้านการอุดมศึกษา พระองค์ได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯ แทนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่างๆ

ทรงจัดตั้งโครงการทุนการศึกษาพระราชทานด้วยทรงมีพระราชปณิธานในการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนไทย และในปี 2553 มีพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารขึ้น โดยทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ซึ่งที่ผ่านมานักเรียนทุนพระราชทานทุกรุ่นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีอัตราสูงกว่าร้อยละ 97 โดยผู้ได้รับทุนพระราชทานไม่มีภาระผูกพันที่ต้องใช้ทุนคืน และเมื่อจบการศึกษา ทรงเปิดโอกาสให้สมัครเข้าถวายงานเป็นข้าราชบริพารในพระองค์ได้ตามความสมัครใจ

27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์

27 กรกฎาคม 2554 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 สิ้นพระชนม์ ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมพระชันษา 85 ปี

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้ารัชกาลที่ 6 กับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระมารดา ทรงพระประสูติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ณ พระที่นั่งเทพพิลาส ในหมู่พระมหามณเทียร ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จสวรรคตเพียงวันเดียว

โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรหนักด้วยโรคพระอันตะ มีพระอาการรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความกังวลของเหล่าพสกนิกร แต่ถึงแม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะประชวร ท่านทรงรอฟังข่าวพระประสูติการอย่างใกล้ชิด และเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เวลาประมาณบ่ายโมง พระนางเจ้าสุวัทนาฯ มีพระประสูติการเจ้าฟ้าหญิง ซึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทราบข่าว มีพระราชดำรัสว่า "ก็ดีเหมือนกัน" จากนั้นเมื่อเจ้าพระยารามราฆพได้นำสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์น้อยไปเฝ้าฯ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตร ทรงพยายามยกพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา แต่ก็ทรงอ่อนพระกำลังมากจนไม่สามารถจะทรงยกพระหัตถ์ได้ เจ้าพระยารามราฆพจึงเชิญพระหัตถ์ขึ้นสัมผัสพระราชธิดา เมื่อจะเชิญเสด็จพระราชกุมารีกลับ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงโบกพระหัตถ์แสดงพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรพระราชธิดาอีกครั้ง จึงเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมาเฝ้าฯ เป็นครั้งที่สอง และเป็นครั้งสุดท้ายแห่งพระชนมชีพจนกลางดึกคืนนั้นเองก็เสด็จสวรรคต

เมื่อทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา เริ่มทรงพระอักษร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2473 โดยพระอาจารย์จากโรงเรียนราชินี เช่น หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล อาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินีและโรงเรียนราชินีบน พร้อมด้วยครูพิศ ภูมิรัตน อาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินีเป็นผู้ถวายพระอักษร ณ พระตำหนักสวนหงส์ พระราชวังดุสิต จากนั้น ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชินี (หมายเลขประจำพระองค์ 1847) แล้วจึงทรงศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการกับท่านผู้หญิงศรีนาถ สุริยะ อาจารย์จากโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ณ ตำหนักสวนรื่นฤดี ถนนราชสีมา เมื่อสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ทรงเจริญพระชนมายุขึ้น มีพระอนามัยไม่สมบูรณ์นัก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้นำสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ไปประทับรักษาพระองค์ ณ ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2480 ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเสด็จไปประทับอยู่ก่อนแล้ว

ทั้งนี้ ทั้งสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา และพระชนนี ได้ทรงย้ายที่ประทับหลายแห่งตามลำดับ คือ ตำหนักแฟร์ฮิลล์ เมืองแคมเบอร์เลย์ มณฑลเซอร์เรย์, ตำหนักหลุยส์เครสเซนต์ เมืองไบรตัน มณฑลซัสเซค และตำหนักไดก์โรด (บ้านรื่นฤดี) เมืองไบรตัน มณฑลซัสเซค และประสบความยากลำบากอย่างหนัก เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในช่วงภาวะสงครามจึงทรงประหยัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงการทำงานบ้านเองเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างข้าหลวงชาวต่างประเทศ

ในขณะที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา ทรงประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษนั้น ได้ทรงศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส และเปียโนกับพระอาจารย์ชาวต่างประเทศ และได้เสด็จไปทรงศึกษาในโรงเรียนประจำสตรีชื่อโรงเรียนเซเครดฮาร์ต แคว้นเวลส์

อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่พระองค์ประทับ ณ ประเทศอังกฤษ พระองค์และพระชนนีมีพระกรุณาต่อชาวไทยในประเทศอังกฤษ โดยทรงโปรดให้เข้าเฝ้า และจัดประทานเลี้ยงให้อยู่เสมอ และพระราชทานพระกรุณาแก่กิจการต่าง ๆ ของชาวไทยอยู่เป็นประจำ ทรงร่วมงานของสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นสมาคมนักเรียนไทยในสหราชอาณาจักร เป็นประจำ

นอกจากนี้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พระองค์ยังทรงอุทิศพระองค์ช่วยเหลือกิจการสภากาชาดอังกฤษ ประทานแก่ทหารและผู้ประสบภัยสงครามด้วยการเสด็จไปทรงบำเพ็ญประโยชน์ ทั้งม้วนผ้าพันแผล จัดยา และเวชภัณฑ์ ทางสภากาชาดอังกฤษจึงได้ถวายเกียรติบัตรประกาศพระกรุณา และในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระชนมชีพหลังการสละราชสมบัติแล้ว พระองค์และพระชนนีได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอยู่เสมอ

26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ครบรอบ 73 ปี ‘ทักษิณ ชินวัตร’ นักธุรกิจ – อดีตนายกฯ และนักโทษหนีคดี

26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 หรือ วันนี้เมื่อ 73 ปีก่อน คือ วันเกิดของ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย

ทักษิณ ชินวัตร หรือที่มีชื่อแฝงอีกชื่อหนึ่งว่า โทนี่ วู้ดซั่ม เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2544–พ.ศ. 2549 พ้นจากตำแหน่งโดยการรัฐประหาร

ทักษิณ เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2492 ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรคนที่สอง ในจำนวน 10 คนของเลิศ และยินดี ชินวัตร ธิดาในเจ้าจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์ มีศักดิ์เป็นหลานทวดในเจ้าไชยสงครามสมพมิตร ณ เชียงใหม่ (ราชปนัดดาในพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 2) 

มีพี่น้อง 10 คน อาทิ เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และพายัพ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อีกทั้งยังเป็นพี่เขยของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านทางเยาวภาผู้เป็นน้องสาว 

พันตำรวจโท ทักษิณ สมรสกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หลังลาออกจากราชการตำรวจ ในปี พ.ศ. 2523 และมีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่ พานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค) พินทองทา ชินวัตร (เอม) และแพทองธาร ชินวัตร (อุ๊งอิ๊ง)

ทักษิณ เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย และได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกที่ต้องใช้ชีวิตนอกแผ่นดินเกิดระหว่างการหลบหนีคดีความอาญา

ทักษิณ สร้างตัวจากการเป็นนักธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทโทรคมนาคมและการสื่อสารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อนจะขายหุ้นให้กับกลุ่มเทมาเส็ก จากสิงคโปร์

ทักษิณ เดินทางสายการเมืองเต็มตัว โดยพลตรีจำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ชักนำ ในปี 2537 หลังจากลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น โดยได้โอนหุ้นในบริษัทของตนให้คุณหญิงพจมาน พานทองแท้ พินทองทา แพทองธาร และคนรับใช้ คนสนิทถือแทน

จากนั้นไม่นาน ก็เข้าดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัย รัฐบาลชวน หลีกภัย และในปีต่อมา เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรมแทนพลตรีจำลอง และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา ในปี พ.ศ. 2539 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ‘คองคอร์ด’ ของแอร์ฟรานซ์ เที่ยวบิน 4590 เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ตกใส่โรงแรม คร่า 113 ชีวิต

วันนี้ในอดีต 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ‘คองคอร์ด’ เครื่องบินเร็วเหนือเสียง เกิดอุบัติเหตุขณะกำลังบินขึ้น ไฟลุกไหม้เครื่องยนต์ และโหม่งโลก ทำให้ผู้เสียชีวิตถึง 113 คน
       
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2543  เกิดอุบัติเหตุกับสายการบินแอร์ฟรานซ์ เที่ยวบิน 4590  ซึ่งเดินทางจากปารีสไปนิวยอร์กด้วยเครื่องบิน ‘คองคอร์ด’ ขณะเครื่องบินกำลังบินขึ้น 

เจ้าหน้าที่หอบังคับการบิน ได้แจ้งนักบินว่า เห็นเพลิงไหม้ที่ด้านท้ายเครื่อง นักบินได้ตรวจสอบแล้วแจ้งว่า เกิดปัญหากับเครื่องยนต์หมายเลข 1  อีก 4 วินาทีต่อมานักบินได้แจ้งว่าเกิดปัญหากับเครื่องยนต์หมายเลข 2 ด้วย จากนั้น สัญญาณเตือนไฟไหม้ดังขึ้นในห้องนักบิน นักบินพยายามนำเครื่องไปร่อนลงที่สนามบินใกล้เคียงแต่เครื่องบินสูญเสียความเร็ว ดิ่งหัวลงสู่พื้นจนเกิดไฟลุกไหม้อย่างรุนแรง มีผู้เสียชีวิต 113 คน เป็นผู้โดยสาร 100 คน ลูกเรือ 9 คน และผู้ที่อยู่ในโรงแรมที่ 'คองคอร์ด' ตกใส่อีก 4 คน

จากผลการสอบสวนสรุปว่า สาเหตุการตก เกิดจากมีชิ้นส่วนโลหะที่หลุดออกมาจากเครื่องบินดีซี-10 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ ซึ่งบินขึ้นก่อนหน้านั้น 4 นาที กระแทกกับยางล้อด้านซ้ายของ 'คองคอร์ด' ขณะกำลังเร่งเครื่องเพื่อเทคออฟ ยางล้อเกิดระเบิดและมีชิ้นส่วนของยางกระเด็นไปกระแทกถังน้ำมันและสายไฟ และเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น

หน่วยงานความปลอดภัยทางการบินได้สั่งระงับ ‘คองคอร์ด’ ทุกเที่ยวบินเพื่อสอบสวนหาสาเหตุและแก้ไข

24 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ค้นพบ ‘มาชูปิกชู’ (Machu Picchu) ซากอารยธรรมโบราณของชาวอินคา

วันนี้เมื่อ 111 ปีก่อน ‘ไฮแรม บิงแฮม’ นักโบราณคดี จากมหาวิทยาลัยเยลในอเมริกา ค้นพบ ‘มาชูปิกชู’ (Machu Picchu) ซากอารยธรรมโบราณของชาวอินคา จากการเดินทางสำรวจเทือกเขาแอนดีส ในประเทศเปรู

มาชูปิกชู (Machu Picchu) หรือนิยมเรียกอีกชื่อว่า เมืองสาบสูญแห่งอินคา เป็นซากอารยธรรมโบราณของชาวอินคา ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงในประเทศเปรู ที่ความสูงประมาณ 2,430 เมตร อารยธรรมแห่งนี้ได้ถูกคนภายนอกลืมจนกระทั่งมีการค้นพบอีกครั้งโดยนักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยเยล ที่ชื่อ ไฮแรม บิงแฮม

23 กรกฎาคม พ.ศ.2528 เปิดการจราจร ‘สะพานพระนั่งเกล้า’ ครั้งแรก เชื่อมถ.รัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2528 เปิดการสัญจรข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยสะพานพระนั่งเกล้าเป็นครั้งแรก เชื่อมการเดินทางระหว่างพื้นที่ตำบลไทรม้ากับตำบลบางกระสอ เมืองนนทบุรีเข้าด้วยกัน

วันนี้เมื่อปี 1985 หรือ พ.ศ. 2528 ประเทศไทยได้เปิดให้มีการสัญจรโดยสะพานพระนั่งเกล้าเป็นครั้งแรก โดยมีการเริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 โดยบริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยเชื่อมการเดินทางระหว่างพื้นที่ตำบลไทรม้ากับตำบลบางกระสอเข้าด้วยกันตามแนวถนนรัตนาธิเบศร์ สะพานมีความยาว 545.10 เมตร โดยช่วงตัวสะพานยาว 329.10 เมตร และเชิงลาดสะพานทั้งสองฝั่ง 216 เมตร ความสูง 7.40 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีช่องทางจราจร 4 ช่องทาง

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติให้สูงส่งและเด่นชัดยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้เสนอขอขนานนามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า "สะพานพระนั่งเกล้า" โดยได้เสนอขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตผ่านทางกระทรวงมหาดไทยและคณะรัฐมนตรีขออัญเชิญพระนามมาเป็นชื่อสะพานเพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นเกียรติแก่ชาวไทยจังหวัดนนทบุรี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสะพานแห่งนี้ว่า "สะพานพระนั่งเกล้า" ตามหนังสือของกรมโยธาธิการ ที่ มท. 0903/2843 ลงวันที่  8 มีนาคม 2528 เมื่อมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในย่านนั้นจึงขอพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระนามของรัชกาลที่ 3 มาเป็นชื่อสะพาน

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 นักร้องหนุ่ม ‘บิ๊ก ดีทูบี’ ประสบอุบัติเหตุรถยนต์พลิกคว่ำตกคูน้ำ

วันนี้ เมื่อ 19 ปีก่อน นักร้องหนุ่มขวัญใจวัยรุ่น ‘บิ๊ก ดีทูบี’ หรือ อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ หนึ่งในบอยแบนด์ชื่อดัง ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ตกคูน้ำข้างทาง

บิ๊ก ดีทูบี หรือ อภิเชษฐ์ กิตติกรเจริญ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เป็นบุตรชายคนเดียวของคุณอุดมกับคุณยุพา กิตติกรเจริญ บิ๊กเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการประกวดร้องเพลงในโครงการพานาโซนิค สตาร์ ชาเลนจ์ ในปี พ.ศ. 2543 โดยใช้เพลง "งมเข็มในทะเล" ของโดม–ปกรณ์ ลัมในการประกวด เริ่มมีผลงานโฆษณา SWENSEN, PEPSI และถ่ายแบบลงนิตยสารวัยรุ่นอย่าง “เธอกับฉัน” ก่อนจะมาเป็นหนึ่งในสมาชิกวง "ดีทูบี (D2B)" ในปี พ.ศ. 2544

ขณะที่ดีทูบีกำลังโด่งดังถึงขีดสุด หลังจากได้รับรางวัลศิลปินยอดนิยมจากเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส ประจำปี พ.ศ. 2546 ที่ประเทศสิงคโปร์ มาได้ไม่นาน ก็เกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น ในช่วงเวลา 01.15 น. ของคืนวันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เมื่อบิ๊กได้ขับรถยนต์กลับบ้านหลังจากแสดงคอนเสิร์ตเสร็จ แต่กลับประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำตกลงไปในคูน้ำที่ถนนศรีนครินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ 

21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต สิริพระชนมายุได้ 57 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรคพิษไข้ ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา 8 วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริพระชนมายุได้ 57 พรรษา และครองราชย์สมบัติได้ 15 ปี

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถในหลายด้านทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ทรงร่วมนิพนธ์วรรณคดีหลายเรื่อง เช่น อุณรุท รามเกียรติ์ อิเหนา และดาหลัง โปรดทรงดนตรีคือซอสามสาย ชื่อซอสายฟ้าฟาด (1) พระองค์ได้มีพระราชโองการกำหนดวันพิธีวิสาขบูชา ซึ่งหายไปเมื่อคราวสิ้นอยุธยา กลับมาเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง(2)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) เมื่อ พ.ศ. 2352 และทรงอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด
จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่ พระยาตรัง และนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น

20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 คณะปฏิบัติการฝนหลวง บินทดลองทำฝนเทียมครั้งแรก บริเวณท้องฟ้าเหนืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

วันนี้ เมื่อ 53 ปีก่อน คณะปฏิบัติการฝนหลวง เริ่มบินปฏิบัติการทดลองฝนเทียมกับเมฆฝนบนท้องฟ้าเป็นครั้งแรก บริเวณท้องฟ้าเหนืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา 

ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวคิด “ทำให้เมฆรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝน” เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินภาคอีสาน เมื่อปี 2498 

หลายปีต่อมา ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้กลับมากราบบังคมทูลพร้อมกับความคิดเริ่มแรกและความเป็นไปได้ที่จะเริ่มต้นการค้นคว้าทดลอง การประดิษฐ์คิดค้น และการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองจริงบนท้องฟ้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมี ดร.แสวง กุลทองคำ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ ม.จ.จักรพันธุ์ เพ็ญศิริจักรพันธ์ อธิบดีกรมการข้าวในขณะนั้นรับใส่เกล้าฯ สนองพระราชประสงค์การปฏิบัติการทดลองจริงบนท้องฟ้าจึงเริ่มต้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ณ สนามบินหนองตะกู วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่องเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top