Friday, 9 May 2025
TODAY SPECIAL

22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระราชหฤทัย นำประเทศไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1

วันนี้เมื่อกว่า 105 ปีมาแล้ว เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงตัดสินพระราชหฤทัย นำประเทศไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2457-2461 โดยเป็นความขัดแย้งระหว่าง ฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งมีประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย เป็นผู้นำ กับฝ่ายมหาอำนาจกลาง ซึ่งมีเยอรมนี และออสเตรีย-ฮังการี เป็นผู้นำในเหตุการณ์ครั้งนั้น ประเทศสยาม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ดำเนินนโยบายรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด

กระทั่งในปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และปราศจากมนุษยธรรม ส่งผลให้เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 พระองค์ทรงตัดสินพระราชหฤทัยประกาศสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง และเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร พร้อมทั้งส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบณ สมรภูมิทวีปยุโรป

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 โดยฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้สร้างถาวรวัตถุ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว 

เป็นที่มาของการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวงเวียน ที่เป็นอนุสรณ์สถานแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น โดยทำการสร้างบริเวณถนน 3 สาย (ปัจจุบันคือ ถนนไมตรีจิตต์ ถนนมิตรพันธ์ และถนนสันติภาพ) ซึ่งอยู่ในท้องที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย ต่อมาได้พระราชทานนามวงเวียนว่า ’22 กรกฎาคม’

ปัจจุบัน วงเวียน 22 กรกฎาคม กลายเป็นแหล่งการค้าของกรุงเทพมหานครชั้นใน ทั้งนี้ที่บริเวณวงเวียน ยังปรากฎป้ายหินที่จารึกเป็นภาษาไทยและภาษาจีน มีใจความว่า...

อนุสรณ์แห่งนี้เป็นวงเวียนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงนำประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ก่อนจะได้รับชัยชนะในเวลาต่อมา

‘ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก’ อวดลุคร่วมงานที่ปักกิ่ง รัศมีความสวยเปล่งประกาย ดึงสายตาคนทั้งงาน

อีกหนึ่งนางเอกซุปตาร์แถวหน้าเมืองไทยอย่าง ‘ใบเฟิร์น-พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์’ ที่มีผลงานมากมายหลากหลายด้าน มีแฟนคลับหลงรักและติดตามจำนวนมาก ด้วยความสวยมาพร้อมความเก่งทำให้เธอนั้น ได้ร่วมงาน ‘BOTTEGA VENETA WINTER 23 BEIJING SHOW’ ที่กรุงปักกิ่ง 

ล่าสุดวันที่ 21 ก.ค. 66 สาวใบเฟิร์นได้โพสต์ภาพตัวเองในวันได้ร่วมงาน แต่งชุดเดรสสีดำ แต่งหน้าทำผมจัดเต็ม สวยเป๊ะจนคนบันเทิงในหลาย ๆ ประเทศยังอึ้งในความสวย แฟนคลับทั้งในและต่างประเทศ ก็ต่างกดไลก์และคอมเมนต์ชมสนั่นไอจีเลยทีเดียว

‘เหลียงเฉาเหว่ย’ ปรากฏตัวในเพลงใหม่ของ ‘New Jeans’ พร้อมปฏิเสธรับค่าตัว เพราะอยากมอบให้เป็นของขวัญ

ในมิวสิควิดีโอ Cool With You ของ New Jeans ได้ปล่อยออกมา 2 เวอร์ชัน เมื่อวันที่ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเพลงนี้นับเป็น 1 ใน 3 เพลงที่อยู่ใน Get Up มินิอัลบั้มครั้งที่ 2 ของสาวๆ

ซึ่งมิวสิควิดีโอตัวนี้ได้นักแสดงสาว จองโฮยอน จากภาพยนตร์ Squid Game มารับบทเป็น เอรอส ที่เลือกความรักแทนที่จะเป็นเทพ

ส่วน เหลียงเฉาเหว่ย แม้จะปรากฏตัวแค่เพียงไม่นาน แต่สีหน้าและสายตาก็ทรงพลัง สมกับการเป็นนักแสดงแถวหน้าระดับตำนาน

มิวสิควิดีโอตัวนี้กำกับโดย ชินอูซอก และ มินฮีจิน ซีอีโอ จาก ADOR โดยได้เผยถึงสาเหตุที่เลือก เหลียงเฉาเหว่ยมาร่วมแสดงโดยระบุว่า

“แม้ว่าการปรากฏตัวของคาแรคเตอร์นี้จะมาแค่สั้น ๆ แต่เราก็อยากได้นักแสดงที่มีเสน่ห์และทรงพลัง หลังจากที่คิดอยู่นาน เราก็นึกถึง เหลียงเฉาเหว่ย”

งานนี้ยังได้เผยถึงความเป็นมืออาชีพของนักแสดงดัง ที่แม้จะปรากฏตัวแค่สั้นๆ แต่ก็เตรียมตัวมาอย่างดี พร้อมกับเสนอไอเดียเกี่ยวกับคาแรคเตอร์ของเขาด้วย

“แม้ว่าบทของเขาจะสั้นมาก แต่เขาก็ทำการบ้าน ศึกษาบทล่วงหน้า เตรียมตัวมาอย่างดี และหลงใหลไปกับหน้าที่ที่ได้รับ แถมยังแนะนำทรงผมให้เป็นผมสีขาวในมิวสิควีดีโอด้วย ในกองถ่ายเขาได้รักษาชื่อเสียงในฐานะนักแสดงระดับตำนานและได้รับคำชมอย่างมากมายจากทางทีมงาน”

ตามรายงานระบุว่า มินฮีจิน ที่รับหน้าที่ผลิตมิวสิควีดีโอ ต้องการจะแคสติง เหลียงเฉาเหว่ย จึงได้ส่งสคริปต์ไปยังทีมงานของเขา หลังจากที่เขาเห็นสคริปต์และได้อ่านเรื่องราวของมิวสิควิดีโอแล้ว ก็ยินดีที่จะนับงานแม้ว่าจะเป็นบทที่สั้นมากๆ แต่เขาก็ยินดีที่จะทำโดยไม่ขอรับค่าตัว

ซึ่งนักแสดงระดับตำนานได้เผยถึงสาเหตุที่ไม่รับค่าตอบแทนว่า “ผมได้มาเจอคนเก่งๆ และอยากจะให้ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ กับคนเกาหลีด้วยครับ”

งานนี้ทำเอาชาวเน็ตเกาหลีต่างอึ้งและประทับใจไปตาม ๆ กัน โดยเข้าไปชื่นชมเขาว่า “โคตรเจ๋ง”, “เขาเจ๋งสุดๆเลย”, “ตอนดูมิวสิควีดีโอคือเซอร์ไพรส์มาก”, “ฉันนั่งดู แล้วต้องเอามือปิดปากเพราะช็อกมาก”, “เหลือเชื่อ”, “มันบ้ามาก แถมไม่รับค่าตัวอีก”

21 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ‘นีล อาร์มสตรอง’ มนุษย์คนแรก เหยียบลงบนพื้นผิวดวงจันทร์

วันนี้ เมื่อ 54 ปีก่อน นีล อาร์มสตรอง เหยียบลงบนพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรกของโลก พร้อมคำกล่าวขณะที่ก้าวลงบนดวงจันทร์ว่า "นี่เป็นก้าวเล็กๆ ของชายคนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ"

เรือโท นีล ออลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) 5 สิงหาคม พ.ศ. 2473 — 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นนักบินอวกาศชาวอเมริกัน และเป็นมนุษย์ที่ได้ชื่อว่าเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลก

นีล อาร์มสตรอง เกิดที่เมืองวาปาโคเนตา รัฐโอไฮโอ ชื่นชอบเรื่องการขับเครื่องบินมาตั้งแต่ยังเด็กๆ เรียนการขับเครื่องบินครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 15 ปีแล้วได้รับใบอนุญาตนักบินเมื่อตอนอายุ 16 ปี และเป็นนักบินทดสอบให้กับองค์การนาซามาก่อน เขาได้รับคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศเมื่อปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) และปฏิบัติภารกิจหลายภารกิจในโครงการเจมินีและโครงการอะพอลโล และยังเคยเป็นนักบินในกองทัพสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจ 78 ครั้งในสงครามเกาหลี

พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เขาเป็นผู้บัญชาการของโครงการอะพอลโล 11 ซึ่งมีเป้าหมายนำยานไปจอดบนดวงจันทร์โดยสมาชิกในทีมคือ เอ็ดวิน อัลดริน และไมเคิล คอลลินส์

เขากล่าวประโยคนี้เมื่อเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์

That’s one small step for man, one giant leap for mankind. นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนนึง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ

วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555 อาร์มสตรองได้เสียชีวิตในซินซินนาติ รัฐโอไฮโอ ขณะอายุได้ 82 ปี เนื่องด้วยภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐได้กล่าวยกย่องอาร์มสตรองว่าเป็น 'บุรุษชาว'

อนึ่ง นีล อาร์มสตรอง เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทย และ หนึ่งในสถานที่มาเยือนนั้นคือที่ โรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ในต้นฤดูฝน พ.ศ. 2512 มีนักเรียนชื่อ อรนุช ภาชื่น และ พรเพ็ญ เพียรชอบ และเพื่อนรวม 6 คน ได้เขียนจดหมายเป็นภาษาอังกฤษส่งไปยังนีล อาร์มสตรอง ซึ่งแปลความเป็นภาษาไทยได้ว่า “เราต้องการรู้เรื่องราวเกี่ยวกับอะพอลโล 11 และคิดว่านักบินอวกาศจะเป็นผู้สามารถเล่าให้เราฟังได้มากที่สุดและดีที่สุด” ในที่สุดก็ประสบผลสำเร็จหลังการประสานงาน เมื่อสำนักงานข่าวสารอเมริกัน บรรจุโรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์ ไว้ในรายการเยือนประเทศไทยอีกจุดหนึ่งด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม ปี 2512 นีล อาร์มสตรอง กลับจากดวงจันทร์ไม่นาน ก็ได้มายืนถ่ายรูปกับครูและนักเรียน ณ โรงเรียนประจำจังหวัดในภาคอีสาน นามว่า “ร.ร.สิรินธร จ.สุรินทร์”

ในการเดินทางมายังประเทศไทยอย่างเป็นทางการนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น ตริตราภรณ์ช้างเผือก ให้แก่เขาด้วย

‘ตั๊กแตน ชลดา’ อวดลุคใหม่ สนามบินแทบร้อนฉ่า สวยเกือบจำไม่ได้!! แฟนคลับแห่อวยกันยกใหญ่

(20 ก.ค. 66) ที่ผ่านมาพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของ ‘ตั๊กแตน ชลดา’ (พบพร ภาคินทร์) กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมาก โดยล่าสุดตั๊กแตนได้มากับลุคสนามบินที่นอกจากจะผอมแล้ว ยังมากับชุดที่หลายคนคาดไม่ถึงด้วย 

โดยตั๊กแตนได้โพสต์รูปจากสนามบิน พร้อมแคปชันว่า “ทำงานกันต่อไป…” ซึ่งคราวนี้แฟน ๆ ได้เห็นภาพหุ่นปัจจุบันของตั๊กแตน ที่ผอมลงจากวันวานอย่างชัดเจน 

ซึ่งโพสต์ของตั๊กแตนก็มีแฟน ๆ เข้ามาพูดถึงลุคสวยกันอย่างพร้อมเพรียง และหลาย ๆ คนได้ส่งความรู้สึกผ่านอิโมจิหัวใจสีต่าง ๆ ในโพสต์ของตั๊กแตนกันด้วย 

สำหรับปี 2565 ที่ผ่านมา ตัวของ ‘ตั๊กแตน ชลดา’ มีผลงานเพลงออกมาถึง 16 ซิงเกิลในลิขสิทธิ์ตัวเอง ซึ่งพอเปิดปีใหม่ไม่กี่วันเธอก็ปล่อยเพลงดรามา ‘กอด’ ที่เพิ่งทะลุล้านวิวออกมาให้แฟน ๆ ได้ฟังด้วย รวมถึงเป็นที่พูดถึงจากการแสดงในละคร โปงลางฮักซอนออน

‘เบลล่า’ เผยสถานะหัวใจ ยังไม่มีใครจับจอง บอก “ตอนนี้เปิดใจ แต่ยังไม่มีใครเข้ามา”


ใช้คำว่า ‘โสด’ มาได้สักพักใหญ่แล้ว สำหรับนางเอกสาว ‘เบลล่า-ราณี แคมเปน’ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีใครมาจับจองหัวใจของเธอบ้าง 

โดยก่อนหน้านี้ สาวเบล ก็ได้อัปเดตหัวใจว่าอยากทุ่มเทเวลาให้กับครอบครัว ตัวเอง และการทำงานก่อน ท่ามกลางกำลังใจมากมายจากครอบครัว คนสนิท คนรอบ และแฟนคลับของเธอที่คอยมาเติมเต็มความรักให้เสมอ

ล่าสุด (19 ก.ค.66) เบลล่า ออกมาอัปเดตหัวใจอีกครั้งในงานอีเวนต์แห่งหนึ่ง ว่าตอนนี้ไม่มีใครเข้ามาเลย เพราะก่อนหน้านี้ถ่ายละคร ทำงานเยอะไม่มีเวลาจริง ๆ แต่ตอนนี้ละครก็ปิดแล้ว ถามว่าพร้อมไหมก็อาจจะ ไม่มีใครมาแนะนำแล้วเพราะเว้นช่วงนานเกินไป เหมือนเขาขี้เกียจจะมาถามแล้ว

ตอนนี้ก็เปิดใจแต่ยังไม่มีใครเข้ามา คนที่จะเข้ามาต้องเป็นยังไงก็คงต้องให้เข้ามาก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยว่ากัน ยังไม่ได้คุยกับใครจริงจังก่อนหน้านี้ ปิดกองปุ๊บเหงาทันทีเลย เหตุผลหลักเลยก่อนหน้านี้เพราะไม่มีเวลา จังหวะเวลาที่ใช่
 

20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 คณะปฏิบัติการณ์ฝนหลวง บินทดลองทำฝนเทียมครั้งแรก

คณะปฏิบัติการณ์ฝนหลวง เริ่มบินปฏิบัติการทดลองฝนเทียมกับเมฆฝนบนท้องฟ้าเป็นครั้งแรก บริเวณท้องฟ้าเหนืออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา

ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวคิด “ทำให้เมฆรวมตัวกันตกลงมาเป็นฝน” เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินภาคอีสาน เมื่อปี 2498 

หลายปีต่อมา ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล ได้กลับมากราบบังคมทูลพร้อมกับความคิดเริ่มแรกและความเป็นไปได้ที่จะเริ่มต้นการค้นคว้าทดลอง การประดิษฐ์คิดค้น และการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองจริงบนท้องฟ้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งมี ดร.แสวง กุลทองคำ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และ ม.จ.จักรพันธุ์ เพ็ญศิริจักรพันธ์ อธิบดีกรมการข้าวในขณะนั้นรับใส่เกล้าฯ สนองพระราชประสงค์การปฏิบัติการทดลองจริงบนท้องฟ้าจึงเริ่มต้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ณ สนามบินหนองตะกู วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่องเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองเป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรกโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbon dioxide ) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง ในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และต่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลมพ้นไปจากสายตาไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผล โดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้ เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงประกอบพระราชพิธีหมั้น กับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร (พระอิสริยยศ ณ ขณะนั้น)

วันนี้เมื่อกว่า 74 ปีก่อน ถือเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติ โดยเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (พระอิสริยยศ ณ ขณะนั้น) ทรงประกอบพระราชพิธีหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร (พระอิสริยยศ ณ ขณะนั้น) ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

จุดเริ่มต้นของการสืบสานความผูกพันของทั้งสองพระองค์ เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2491 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จจากเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มายังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยการเสด็จครั้งนั้น มีหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ในฐานะเอกอัครราชทูต ให้การเฝ้ารับเสด็จฯ พร้อมด้วยครอบครัว

ทั้งนี้ หนึ่งในสมาชิกของครอบครัวที่ให้การเฝ้ารับเสด็จฯ ในครั้งนั้น มีหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งเป็นบุตรีของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล เข้าร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ด้วย จึงเป็นที่มาของการที่ทั้งสองพระองค์ทรงได้พบกันเป็นครั้งแรก

ต่อมา เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เข้าเฝ้าฯ เยี่ยมพระอาการ และถวายการพยาบาลอย่างใกล้ชิดเป็นประจำ จึงกลายเป็นความรักความเข้าพระราชหฤทัยซึ่งกันและกัน และสืบสานความผูกพันมากขึ้นเป็นลำดับ

ราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้มีรับสั่งให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคลไปเฝ้าที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 พระองค์จะเสด็จไปพบหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ที่โรงแรมที่พัก และทรงมีรับสั่งถึงเรื่องการหมั้น 

จากนั้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 จึงได้มีการประกอบพระราชพิธีหมั้นเป็นการภายใน ณ โรงแรมวินเซอร์ เมืองโลซานน์ อันเป็นที่พักของหม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัว โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงสวมพระธำมรงค์เป็นของหมั้นต่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ซึ่งพระธำมรงค์วงนี้ เป็นวงเดียวกับที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงมอบต่อสมเด็จพระบรมราชชนนี ในพระราชพิธีหมั้น เมื่อปี พ.ศ. 2462 

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ราชเลขานุการประจำพระองค์ ทำหนังสือแจ้งข่าวที่ทรงหมั้นมายังรัฐบาลไทย ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น รัฐบาลได้แจ้งประกาศข่าวอันเป็นมงคลนี้ให้พสกนิกรทราบ ยังความปลื้มปีติยินดีแก่เหล่าประชาชนชาวไทยถ้วนทั่วหน้ากัน

18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538  วันเสด็จสวรรคตสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 

18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ ‘สมเด็จย่า’ เสด็จสวรรคตที่โรงพยาบาลศิริราช รวมพระชนม์มายุ 95 พรรษา

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ‘สมเด็จย่า’ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ทรงเป็นบุตรคนที่ 3 ใน พระชนกชู และ พระชนนีคำ พระนามเดิมคือ สังวาลย์ ตะละภัฏ ในวัยประมาณ 7-8 ขวบ ครอบครัวได้นำพระองค์ไปฝาก คุณจันทร์ แสงชูโต ซึ่งเป็นพระพี่เลี้ยงในพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ ทรงเข้าเรียนมัธยมที่โรงเรียนสตรีวิทยา จากนั้นเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ซึ่งเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งเดียวในประเทศไทยในขณะนั้น

ทรงเป็นนักเรียนที่มีอายุน้อยที่สุดในรุ่นของพระองค์ซึ่งมีจำนวนเพียง 14 คน พระองค์ทรงเรียนได้ดีและทรงศึกษาสำเร็จภายในสามปี และทรงทำงานต่อที่โรงพยาบาลศิริราช ตามข้อผูกพันของการเป็นนักเรียนหลวง

ในปี พ.ศ. 2460 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงได้รับทุนให้ไปเรียนวิชาพยาบาลเพิ่มเติมที่สหรัฐอเมริกา ในระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงพบกับ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ (พระบรมราชชนก) ซึ่งได้ทรงถูกพระทัย และขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับ นางสาวสังวาลย์ 

จากนั้นได้ทรงจัดพิธีอภิเษกสมรส ที่วังสระปทุมเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2463 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการแพทย์ ทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์อาสาเดินทางไปรักษาผู้ป่วยในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศ ทรงตั้งมูลนิธิขาเทียมออกจัดทำขาเทียมให้ผู้พิการ

นอกจากนั้นยังมีโครงการพัฒนาด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมมากมายอาทิโคงการเกษตรหลวงดอยตุง จังหวัดเชียงราย ต่อมาได้มีการกำหนดให้วันที่ 21 ตุลาคมของทุกปีเป็น ‘วันพยาบาลแห่งชาติ’, ‘วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ’, ‘วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ’, ‘วันรักต้นไม้แห่งชาติ’ และ ‘วันอาสาสมัครไทย’

ยลความงาม 'โลหะปราสาท' วัดราชนัดดารามวรวิหาร หลังปรากฏในฉากของซีรีส์ดัง King The Land

(17 ก.ค. 66) เพจ 'โบราณนานมา' ได้โพสต์เนื้อหาตามรอยซีรีส์เกาหลี เรื่องดังอย่าง King The Land ที่นำแสดงโดย อี จุนโฮ และอิม ยุนอา ซึ่งตอนที่ 10 ของเรื่อง เป็นการมาเที่ยวประเทศไทย และสถานที่ที่จะนำเสนอวันนี้ คือ 'โลหะปราสาท' วัดราชนัดดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร มีรายละเอียดดังนี้...

'โลหะปราสาท' เป็นโลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ตั้งอยู่ในพื้นที่วัดราชนัดดารามวรวิหาร และอยู่ในบริเวณลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร ยอดปราสาทประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

และสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ 'โลหะปราสาท' องค์นี้คือ การก่อสร้างและการบูรณะ

นับตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา ยังไม่เคยก่อสร้างให้แล้วเสร็จบริบูรณ์เลย ได้ก่อสร้างไว้แต่เพียงโครงก่ออิฐสลับศิลาแลง และยังปล่อยทิ้งให้ปรักหักพังตลอดมา จนถึงการบูรณะครั้งเมื่อปี 2506

ก่อนหน้าบูรณะครั้งใหญ่นี้ก็มีการบูรณะ 'โลหะปราสาท' มาเนือง ๆ แต่การบูรณะครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี 2506 สภาพโลหะปราสาท ณ เวลานั้น ชำรุดทรุดโทรมมาก ถูกทิ้งให้ปรักหักพังเรื่อยมาเป็นเวลานาน โดยการบูรณะได้รื้อตัวปราสาทเดิมออกทั้งหมด ทำตัวปราสาทเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยพยายามรักษาแบบแผนดั้งเดิมของโลหะปราสาทในสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้ให้มากที่สุด บูรณะโดยกรมโยธาเทศบาล การบูรณะครั้งนี้ใช้งบประมาณ 6 ล้านบาท บูรณะแล้วเสร็จในปี 2515 ใช้เวลาบูรณะทั้งสิ้น 9 ปี

เราเรียกว่า 'โลหะปราสาท' ก็จริง แต่ตอนนั้นทั้งปราสาทมีแต่ปูนไม่มีโลหะเลย จึงเกิดการบูรณะครั้งต่อมาในปี 2537 โดยจะบูรณะยอดมณฑปทั้ง 37 ยอด ให้เป็นโลหะและทองแดงรมดำ โดยรมดำเพื่อป้องกันการเกิดสนิม การบูรณะครั้งนี้ใช้งบประมาณ 155 ล้านบาท บูรณะแล้วเสร็จในปี 2550 ใช้เวลาบูรณะทั้งสิ้น 11 ปี ครั้งนี้ที่บูรณะนานกว่าครั้งไหน สาเหตุมาจากช่วงที่บูรณะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 จึงทำให้เกิดความล่าช้าในการบูรณะ

ต่อมาเกิดการบูรณะครั้งล่าสุดในปี 2555 กรมศิลปากร ต้องการปิดทองยอดมณฑปทั้ง 37 ยอด เพราะเดิมรัชกาลที่ 3 มีพระราชดำริให้สร้างโลหะปราสาทหลังนี้ให้มียอดสีทอง ดูได้จากจิตรกรรมโลหะปราสาท ที่ฝาผนังวิหารพระพุทธไสยาส วัดโพธิ์ จิตรกรรมโลหะปราสาทนี้ เป็นประจักษ์พยานสำคัญอันหนึ่ง ที่สะท้อนถึงพระราชดำริที่จะปิด หรือหุ้มยอดโลหะปราสาทด้วยทอง อันเป็นโลหะที่มีค่าสูงที่สุดในหมู่โลหะทั้งปวง แต่เมื่อสิ้นรัชกาลจึงไม่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ โดยการปิดทองยอดมณฑปทั้ง 37 ยอดที่โลหะปราสาท บูรณะแล้วเสร็จในปี 2561 ใช้เวลาบูรณะทั้งสิ้น 6 ปี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top