Sunday, 18 May 2025
NEWS FEED

‘บาส-ปอป้อ’ รวมพลัง ตบลูกขนไก่ เอาชนะ นักตบจีน 2-1 เกม เน้นความอดทน-แน่นอน สร้างความสะใจ ให้ชาวไทย

เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.67) การแข่งขันแบดมินตันรายการ โยเน็กซ์ เฟรนช์ โอเพ่น 2024 ทัวร์นาเมนต์ระดับเวิลด์ทัวร์ ซูเปอร์ 750 ชิงเงินรางวัลรวม 850,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 30,600,000 บาท ที่อาดิดาส อารีน่า ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นการแข่งขันในรอบก่อนรองชนะเลิศ

ประเภทคู่ผสม รอบก่อนรองชนะเลิศ 'บาส' เดชาพล พัววรานุเคราะห์ กับ 'ปอป้อ' ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย คู่มือวางอันดับ 6 ของรายการ คู่มืออันดับ 6 ของโลก พบกับ เจิ้ง ซีเว่ย กับ หวง หย่าเฉียง คู่มืออันดับ 1 ของโลกจากจีน 

เกมแรก คู่ เจิ้ง ซีเว่ย กับ หวง หย่าเฉียง เป็นฝ่ายที่คุมเกมและวางเกมได้เหนือกว่าเอาชนะไปได้ก่อน 21-15 จากนั้น เกมสอง บาส กับ ปอป้อ แก้เกมการเล่นและเปลี่ยนจังหวะเกมได้อย่างยอดเยี่ยม เอาชนะไปได้ที่ 21-16 เกมตัดสิน ทั้งสองฝั่งเปิดเกมแลกกันอย่างสุสีแต้มต่อแต้ม แล้วเป็นคู่บาส กับ ปอป้อ เอาชนะไปได้ในที่สุดที่ 26-24 ทำให้เอาชนะไปได้ 2-1 เกม 'บาส' เดชาพล กับ 'ปอป้อ' ทรัพย์สิรี ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศไปรอพบผู้ชนะหว่าง แช ยูจุง กับ โซว ซอนแจ คู่มือวางอันดับ 3 ของรายการ คู่มืออันดับ 3 ของโลกจากเกาหลีใต้ หรือ ทอม กีเซล กับ เดลฟิน แดร์รูร์ คู่มืออันดับ 13 ของโลกจากฝรั่งเศส 

ด้าน ประเภทชายเดี่ยว รอบก่อนรองชนะเลิศ 'วิว' กุลวุฒิ วิทิตศานต์ มือวางอันดับ 8 ของรายการ มืออันดับ 8 ของโลก พบกับ หวัง ซื่อเว่ย มืออันดับ 27 ของโลกจากไต้หวัน 

เกมแรก วิว กุลวุฒิ เป็นฝ่ายควบคุมเกมได้เหนียวแน่น ตลอดถึงแม้ช่วงปลายเกมแรกมีสะดุดบ้างแต่สามารถปิดเกมแรกไปได้ที่ 21-18 แล้วในเกมที่สอง วิว กุลวุฒิ มาโชว์พลังแกร่งและอาศัยความนิ่งที่แน่นอนกว่ามาปิดแมตช์เอาชนะไปอีกด้วยสกอร์ 21-16 ทำให้เอาชนะไปได้ 2-0 เกม วิว กุลวุฒิ ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศไปรอพบผู้ชนะระหว่าง ลัคย่าห์ เซ็น มืออันดับ 19 ของโลกจากอินเดีย หรือ โลว เคียงยิว มืออันดับ 12 ของโลกจากสิงคโปร์

สนามสอบเตรียมอุดมฯ คึกคัก มีนร.เข้าสอบทะลุหมื่น หลายบ้าน มาตั้งแต่เมื่อวาน เพื่อความหวัง เปิดเส้นทางสร้างอนาคต

อ่านหนังสือทั้งปี เพื่อวันนี้วันเดียว!! 

สนามสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2567 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี คึกคัก!! มีนักเรียนร่วมเข้าสอบกว่า 11,607 คน โดยบางครอบครัวได้เดินทางมาตั้งแต่เมื่อวานนี้ จากทั่วทุกสารทิศ เพื่อพาบุตรหลานมาเข้าสอบ หวังเปิดเส้นทางอนาคตให้ตัวเอง

เช่นเดียวกับคุณแม่ท่านหนึ่งที่เดินทางจากจังหวัดปัตตานี พาลูกมาสอบแข่งขันในสนามระดับประเทศ และได้ให้สัมภาษณ์กับเพจอีจันว่า "หลายครอบครัวมาตั้งแต่ตี 3 บางบ้านเดินทางมาตั้งแต่เมื่อวาน ทั้งขับรถ ขึ้นเครื่อง เหนือจรดใต้ เพื่อพาลูกมาสานฝันในวันนี้...วันนี้สอบไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ขอให้ลูกทำให้เต็มที่ แค่นี้แม่ก็ดีใจแล้ว"

ทั้งนี้ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มีแผนรับนักเรียนประจำปีการศึกษา 2567 รวมทั้งสิ้น 1,520 คน แบ่งเป็นกลุ่มโควตาจังหวัด 306 คน กลุ่มโควตาโอลิมปิกวิชาการ 35 คน ความสามารถพิเศษและมีเงื่อนไขพิเศษ 69 คน และสอบคัดเลือกทั่วไป 1,110 คน

ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนค่ะ

ผกก.ปทุมวัน ประชุมร่วม 2 สถาบันดัง เข้มมาตรการป้องกันดูแลความปลอดภัยในงาน MOL Supermark Football Festival U-15 รอบชิงแชมป์ประเทศไทย

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 9 มีนาคม 2567 พ.ต.อ.อาคม ชุมพรัตน์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน ร่วมประชุมหาแนวทางป้องกันเหตุทะเลาะวิวาทหลังการแข่งขันกีฬาและป้องกันเหตุจากบุคคลภายนอก (มือที่สาม) ในงาน MOL Supermark Football Festival U-15 รอบชิงแชมป์ประเทศไทย โดยมีตัวแทนอาจารย์และสมาคมผู้ปกครองจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย และโรงเรียนปทุมคงคา เข้าร่วมประชุมหารือ 

เนื่องจากการแข่งฟุตบอลในครั้งนี้ มีกองเชียร์จากทั้งสองสถาบันซึ่งมีทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ทั้งสองสถาบันเกรงว่าหลังจากการแข่งขันอาจเกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างกองเชียร์ จากการหารือในครั้งนี้ได้มีการพูดคุยวางแนวทางที่สำคัญ เช่น มีการประชาสัมพันธ์การรณรงค์การเชียร์อย่างสร้างสรรค์ การกำหนดเวลาการออกจากพื้นที่เมื่อเสร็จการแข่งขันของทั้งสองฝ่าย รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแข่งขัน MOL Supermark Football Festival U-15 รอบชิงแชมป์ประเทศไทย ณ สนามศุภชลาศัย สนามีฬาแห่งชาติ ในวันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม นี้ ลุลวงไปด้วยดี

ด้าน พ.ต.อ.อาคม ชุมพรัตน์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน เปิดเผยว่าที่ผ่านมาตำรวจได้วางหลายมาตรการในการป้องกันเหตุทะเลาะวิวาท ในครั้งนี้ได้มีการหารือร่วมกันจากตัวแทนทั้งสองสถาบัน โดยตำรวจจะวางกำลังประจำจุด รวมทั้งร่วมการบูรณาการกับทุกฝ่ายในการดูแลความเรียบร้อยก่อนแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน และหลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขัน นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมงานไม่ยั่วยุกันให้เกิดเหตุตามมา และเชียร์กีฬาอย่างสร้างสรรค์

‘ตาหลอย’ วัย 70 ปี ปลื้มสุดขีด วิ่งลงเล่นน้ำทะเล ที่เกาะช้าง เผย ประทับใจ หาดสวย-น้ำใส เกิดมาเพิ่งเคยเห็น

(9 มี.ค.67) เวลา 08.30 น. คุณตาหลอย ทาพิลา อายุ 70 ปี ชาว อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี เดินทางถึงเกาะช้าง จ.ตราด แล้ว โดยสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตราด เป็นเจ้าภาพในการดูแลการเดินทาง ที่พักและอาหารทั้งหมด โดยจุดแรก เจ้าหน้าที่พาตาหลอยมาเข้าที่พักเช็กอินโรงแรม มารีน่า แซน โรงแรมหรู 5 ดาว บ้านคลองสน จ.ตราด หลังจากนั้นพนักงานโรงแรมได้พานั่งรถกอล์ฟไปยังชายหาดทันที

เมื่อคุณตาหลอยลงจากรถกอล์ฟ ได้รีบเดินไปยังชายหาดด้วยท่าทางดีใจ วิ่งไปเล่นน้ำอย่างสมใจอยาก ได้เล่นน้ำตามความฝันที่ไม่เคยได้สัมผัสตั้งแต่เกิดมาจนอายุ 70 ปี ซึ่งคุณตาหลอยใช้เวลาเล่นน้ำประมาณ 15 นาทีเท่านั้น เพราะเกรงว่าจะมีอาการป่วย

คุณตาหลอยบอกความรู้สึกว่า วันนี้ได้เห็นเกาะช้าง ได้เห็นน้ำทะเล ได้เล่นน้ำทะเลอย่างที่ตั้งใจไว้ และเกินฝันที่คาดไว้ เพราะแรกตั้งเป้าหมายไว้ว่าแค่อยากจะขี่ซาเล้งมาให้เห็นแค่เกาะช้าง เห็นน้ำทะเลเท่านั้น แต่ไม่ได้ข้ามฝั่งไปเกาะช้าง แต่วันนี้ชาวตราดให้การต้อนรับและช่วยเหลืออย่างดี จนทำให้ได้มาเล่นน้ำทะเลเกาะช้างในวันนี้ ประทับใจน้ำทะเลสวยเหมือนมรกต น้ำทะเลใส ไม่มีขยะ วันนี้ต้องขอบคุณสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดตราด ที่ดูแลที่พัก อาหาร และขอบคุณท่าเรือเฟอร์รี่เกาะช้างที่ให้นั่งเรือข้ามฟากฟรี

อย่างไรก็ตาม สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวตราดจะพาคุณตาหลอยไปบ้านสลักคอก พายเรือมาด รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านแสงอรุณ และมื้อเย็นที่โรงแรมอัยยะปุระ

หนุ่มตั้งกระทู้ถาม ‘KFC’ กินแล้วต้องเก็บถาดเองหรือไม่ ชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์กันสนั่น ควรเก็บเอง เพราะเป็นมารยาท

เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.67) ผู้ใช้พันทิปรายหนึ่ง ได้ตั้งกระทู้ถามว่า “นั่งกิน KFC ในร้านต้องเก็บถาดอาหารเองไหมครับ” ระบุว่า “โดยปกติผมชอบทานไก่ KFC โดยปกติพนักงานจะเรียกคิวให้เราเดินไปเอาไก่เองใช่ไหมครับ แล้วทีนี้พอเราทานเสร็จเราก็ต้องเอาถาดไปเก็บเองใช่ไหมครับหรือทิ้งไว้ให้พนักงานมาเก็บ

เพราะเวลาผมมานั่งทานทีไรชอบเห็นถาดอาหารพร้อมเศษกระดูกไก่บ้างแก้วน้ำบ้างในถาด ถ้วยกระดาษบ้างวางเต็มโต๊ะไปหมดเลย ผมเลยสงสัยว่าเราต้องเก็บเองหรือวางทิ้งไว้ให้พนักงานมาเก็บ เพราะเวลาผมทานเสร็จแล้วผมเอาไปเก็บตลอด ผมทำถูกไหมครับ”

ไม่เพียงเท่านั้น เขายังโพสต์ภาพของโต๊ะที่เต็มไปด้วยถาดอาหารที่กินเสร็จแล้วบนโต๊ะที่ว่างเปล่า เป็นภาพที่ไม่น่ามองสักเท่าไหร่

หลังจากตั้งกระทู้ออกไป ก็ทำเอาชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์กันสนั่น กลายเป็นข้อถกเถียงกันว่า สรุปแล้วต้องเก็บเองหรือให้พนักงานเก็บให้

หลายคนมองว่า ต้องเก็บถาดอาหารเอง ปกติตามร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดส่วนใหญ่ ให้บริการแบบบริการตัวเอง ทั้งการเสิร์ฟและการเก็บ

รวมถึงมักจะทำถาดอาหารเป็นกระดาษ ช้อนส้อมพลาสติก ใช้ครั้งเดียวแล้วเทลงถังขยะได้เลย ไม่ต้องรอให้พนักงานมาเก็บจานไปล้างข้างหลังดังนั้น เมื่อทานอาหารเสร็จ ลูกค้าควรเอาถาดไปเททิ้งตรงถังขยะตรงจุดที่เตรียมไว้

บางส่วนก็มองว่า หากว่ากันตามมารยาทก็ควรจะเก็บเอง โดยเฉพาะในต่างประเทศที่ทานฟาสต์ฟู้ดต้องเก็บเองทุกครั้ง ถ้าไม่เก็บอาจถึงขั้นถ่ายรูปประจาน

แม้ KFC จะเคยตอบคำถามนี้เมื่อ 10 ปีก่อน บอกว่า มีพนักงานคอยบริการตรงจุดนี้ให้ แต่ปัจจุบันรูปแบบการบริการได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างชัดเจน ดังนั้น แม้จะไม่มีการประกาศหรือออกกฎชัดเจน แต่ลูกค้าก็ควรเก็บถาดเอง

‘ดร.อานนท์’ เตือนต้องสอนให้เด็ก รู้จริงก่อนวิพากษ์ มิเช่นนั้นจะสับสนระหว่าง ข้อเท็จจริง-การเดามั่ว

(9 มี.ค.67) ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับระบบการศึกษาของไทย โดยได้ระบุว่า...

ผมว่าสังคมไทยกำลังเดินมาผิดทางมาก 

โดยเฉพาะการศึกษาที่เน้นให้แสดงความคิดเห็นกันมากเหลือเกิน แทนที่จะสอนให้แสวงหาความรู้ที่ถูกต้องแม่นยำ การแสดงความเห็นเป็นของดีแต่ต้องมีความรู้แม่นยำก่อน ผมจะแสดงความเห็นเรื่องใดก็ตาม ผมต้องศึกษาจนมีความรู้ในเรื่องนั้นอย่างทะลุปรุโปร่งก่อน จึงจะกล้าแสดงความเห็น 

ผมคิดว่าการแสดงความเห็นเรื่อยเจื้อยโดยปราศจากหลักฐานหรือการวิพากษ์ความเห็นนั้น 
เราจะต้องถามกันเลยว่า 
What do you mean? 
How do you know? 
Is it true? 
Can it be explained otherwise? 

คือผมสอนหนังสือผมก็ให้เด็กแสดงความเห็นนะครับ แต่ต้องมีความรู้ก่อน แล้วผมก็ใช้ dialectical method ไล่บี้ถามไปจนสุดทางว่าความเห็นเหล่านี้มีที่มาอย่างไร อะไรทำนองนี้ 

ปัญหาคือสังคมแข่งกันแสดงความเห็น แล้วเข้าใจว่าความเห็นคือความรู้ แล้วแยกไม่ออกระหว่าง Facts กับ Conjectures 

อืม บ่นยาวเป็น Epistemology กันทีเดียวครับ หงุดหงิดทาสทองมิวสิคครับ ผมว่าสังคมมันเพี้ยนครับ

'ดร. โสฬส' รองอธิการบดี มจธ. บางขุนเทียน ต้อนรับ กระทรวงศึกษาธิการเยี่ยมชม ห้องปฏิบัติการไฟฟ้ากำลังธนบุรี ศูนย์ทดสอบสถานศึกษาแห่งแรกในอาเซียน

นายปรีดา บุญศิลป์ ประธานอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ) กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน กล่าว ขอขอบคุณรศ. ดร. โสฬส สุวรรณยืน รองอธิการบดี มจธ. บางขุนเทียนและทีมงานทุกท่าน ที่ให้การต้อนรับทาง (อ.กรอ.อศ) เป็นอย่างดีและได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบขั้นสูงเป็นศูนย์ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อลดความสูญเสียด้านค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ให้กับผู้ประกอบการและยกระดับความสามารถด้านการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าไทย สอดคล้องกับนโยบายพัฒนาประเทศ Thailand 4.0 ของทางรัฐบาลที่มุ่งเน้นในการขับเคลื่อนประเทศด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม อีกด้วย 

โดย กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ความสำคัญกับการจัดการอาชีวศึกษาร่วมกับสถานประกอบการเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของการพัฒนาประเทศ โดยการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับสถานประกอบการ ซึ่ง อ.กรอ.อศ. เป็นภาคีเครือข่ายที่สำคัญในการจัดการอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะวิชาชีพ และอุปกรณ์ที่เป็น สื่อการเรียนการสอน เน้นรูปแบบการเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง (Learning by Doing) เพื่อสร้างสมรรถนะอาชีพและทักษะชีวิตให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษา มีความพร้อมเข้าสู่โลกอาชีพได้ทันต่อความต้องการกำลังคนของประเทศ หรือเป็นผู้ประกอบการได้ มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) และเกิดผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานอย่างแท้จริง

"ผมขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการสร้างพลังร่วมกันในการขับเคลื่อนและพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาให้เกิดผลสำเร็จในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศสู่ประเทศ ตอบสนองนโยบาย "เรียนดี มีความสุข" ต่อไป"

รศ. ดร. โสฬส สุวรรณยืน รองอธิการบดี มจธ. บางขุนเทียน ต้อนรับ ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ) กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน และได้แนะนำถึงที่มาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตบางขุนเทียน ว่าจุดเริ่มต้นนั้นต้องการสร้างมจธ.วิทยาเขตบางขุนเทียนเพื่อเป็นสวนอุตสาหกรรม จึงมีการจัดตั้งแยกออกมาจากตัวของวิทยาเขตบางมด 

ในปัจจุบันนี้นอกเหนือจากการที่ทางมจธ.วิทยาเขตบางขุนเทียนได้มีความร่วมมือกับบริษัท    เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ในส่วนของห้องปฏิบัติการไฟฟ้าธนบุรี ที่ใช้ทดสอบการทนการลัดวงจรของหม้อแปลงไฟฟ้าแล้วนั้น ทางวิทยาเขตเองยังมีศูนย์พัฒนามาตรฐานและทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ CES Solar Cells Testing Center (CSSC) ที่เป็นศูนย์ทดสอบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ได้มาตรฐานที่สุดในประเทศไทยด้วย ซึ่งถ้าทางตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ) กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน มีความสนใจที่จะเข้าเยี่ยมชมในอนาคตทางมหาวิทยาลัยก็มีความยินดี

ผศ. ดร. ศุภกิตติ์ โชติโก หัวหน้าภาคประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้กล่าวแนะนำถึงห้องปฏิบัติการไฟฟ้ากำลังธนบุรีห้องทดสอบการทนต่อการลัดวงจรของหม้อแปลงไฟฟ้าในระบบจำหน่ายที่ทำการทดสอบตามกระบวนการในมาตรฐาน IEC 60076-5 รวมถึงได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อใช้ทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้มีการจัดซื้อและกำหนดให้มีการทดสอบการทนต่อการลัดวงจร โดยห้องปฏิบัติการนี้เป็นห้องปฏิบัติการแห่งเดียวในประเทศไทยที่อยู่ในมหาวิทยาลัย โดยกระบวนการทดสอบนั้นสามารถทำได้โดยการลัดวงจรขดลวดทุติยภูมิของหม้อแปลงไฟฟ้าที่จะทำการทดสอบและป้อนแรงดันพิกัดจ่อรอไว้ที่ด้านขดลวดปฐมภูมิของหม้อแปลง หลังจากนั้นก็สับสวิตช์ในตำแหน่งที่แรงดันเป็นศูนย์(zero crossing) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทำให้เกิดกระแสลัดวงจรสูงสุด โดยกรณีที่เกิดการกระแสลัดวงจรไหลไหนหม้อแปลงนี้จะทำให้เกิดแรงทางกลขึ้น โดยแรงทางกลนี้มีการแปรผันตามค่าของ I2 ซึ่งในกรณีที่ทำการทดสอบหม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟสจะมีการทดสอบทั้งหมด 9 ครั้ง โดยเป็นการทดสอบแต่ละเฟส 3 ครั้ง และต้องควบคุมค่าต่างๆให้เป็นไปตามมาตรฐาน IEC 60076-5

‘ท่านอ้น’ โพสต์ภาพกินมื้อเช้า พร้อมเมนูเด็ด ‘ไข่มดแดง’ เผยได้ลิ้มลองเป็นครั้งแรกในชีวิต เพราะ เป็นคนที่เติบโตในต่างแดน

(9 มี.ค.67) หลังจากที่ 'ท่านอ้น วัชเรศร วิวัชรวงศ์' โอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เดินทางมายังประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา

ท่านอ้น ได้เดินทางพักผ่อนในหลายๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นการเดินเล่นสยามในรอบ 10 ปี เป็นต้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ท่านอ้น โพสต์ภาพและข้อความลงใน “Vacharaesorn Vivacharawongse” ระบุว่า

กลับบ้านมาคราวนี้ได้ลองชิมอาหารที่แปลกใหม่สำหรับคนที่โตเมืองนอกเหมือนผม ครั้งแรกในชีวิต (42 ปี) ที่ได้ลองชิมไข่มดแดง 🐜 ใช้ได้เลยเชียว #หนุ่มอีสาน

Red ant’s eggs in my omelette for breakfast

ย้อนทำเนียบ 279 'นักวิชาการ-ภาคประชาชน' ผู้ข้องใจในวิทยานิพนธ์ล้มเจ้า 'ณัฐพล ใจจริง'

จากกรณีที่เมื่อวันที่ 5 มี.ค.67 ศาลอาญายกฟ้อง ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีนายณัฐพล ใจจริง ยื่นฟ้องหมิ่นประมาท เรื่องที่ ศ.ดร.ไชยันต์ ได้วิพากษ์วิจารณ์นายณัฐพล ว่าใช้ข้อมูลที่ไม่มีอยู่จริงมาอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ และพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์เพื่อสร้างกระแสความรู้สึกให้ผู้อ่านเกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์

คณะกรรมการสอบสวนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญและเป็นกลาง ขึ้นมาตรวจสอบวิทยานิพนธ์ดังกล่าวตั้งแต่เดือน มี.ค.64 โดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ส่งผลการสอบสวนให้ท่านประธานคณะกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว เรื่องดังกล่าวได้ถูกนำเข้าสู่สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสภาฯ ได้มีมติรับรองผลการสอบสวนวิทยานิพนธ์แล้ว

แต่จนแล้วจนรอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ยังไม่มีการประกาศผลการสอบสวนออกมาเพื่อเปิดเผยให้สังคม

หลายคนอาจจะคิดว่า เพราะเรื่องนี้เพิ่งมีการเรียกร้องกันหรือไม่? หรือมีเพียงแค่ผู้สันทัดกรณีด้านประวัติศาสตร์การเมืองเฉพาะกลุ่มออกมาตีแผ่ ดูเหมือนไม่ใช่ประเด็นสำคัญแต่อย่างไร? ทำให้อะไรๆ ก็ดูล่าช้าไปเสียหมด โดยเฉพาะจากทางฟากฝั่ง จุฬาฯ

ต้องบอกเลยว่า ไม่ใช่!!

เพราะอันที่จริงเรื่องนี้ ใช่ว่าจะไม่มีใครหรือภาคส่วนใดออกมาทักท้วง หากแต่เสียงทักท้วงนั้น ดูจะไม่ดังพอให้นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งใจและใส่ใจในการออกมาเผยผลสอบสวนนายณัฐพล ใจจริง เพื่อปกป้องเสรีภาพและมาตรฐานทางวิชาการอย่างจริงจัง จนเลยเถิดมาถึงศาลฯ ที่มีคำยกฟ้อง อ.ไชยันต์ ที่เซซัดให้สังคมในวันนี้ เริ่มรวมตัวกันกดดันทั้ง จุฬาฯ และ ณัฐพล แบบยกใหญ่ ว่าเจตนาแห่งการบิดเบือนที่สร้างความแปดเปื้อนไปสู่สถาบันฯ ผ่านวิทยานิพนธ์นี้ คืออะไรกันแน่?

...ว่าแล้ว THE STATES TIMES ก็ขอพาย้อนไปช่วงปี 2564 ซึ่งตอนนั้นมี 279 'นักวิชาการ-ภาคประชาชน' ออกมาร่วมคัดค้านในวิทยานิพนธ์ดังกล่าว ซึ่งหากพหากพิจารณารายชื่อแล้ว แต่ละท่านก็ล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางสังคมทั้งสิ้น โดยทั้งหมดได้ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึง จุฬาฯ ความว่า…

เรียน นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตของนายณัฐพล ใจจริง ปีการศึกษา 2552 เรื่อง ‘การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)’ โดยเริ่มต้นจากการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งได้ตรวจสอบการอ้างอิงในเล่มวิทยานิพนธ์ดังกล่าว จนร้องเรียนมายังบัณฑิตวิทยาลัย และนำไปสู่การออกคำสั่งระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ การดำเนินการเพื่อถอดถอนปริญญา การตั้งกรรมการสอบแบบปิดลับ การเคลื่อนไหวโจมตีของสมาคมและเครือข่ายต่างๆ อาทิ สถาบันทิศทางไทย กลุ่มจุฬาฯพิทักษ์ธรรม มาจนกระทั่งการฟ้องร้องคดีแพ่งของตัวแทนราชสกุลรังสิตต่อนายณัฐพลผู้เขียน รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันผู้ตีพิมพ์เผยแพร่

นักวิชาการ 239 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 25 คน และบุคคลในสาขาอาชีพอื่นอีก 15 คน ดังมีรายชื่อข้างท้ายจดหมายฉบับนี้รู้สึกกังวลใจอย่างยิ่งกับการดำเนินการตั้งแต่ต้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอเสนอข้อคิดเห็นประกอบการพิจารณาและตัดสินใจของผู้บริหารมหาวิทยาลัยและผู้มีอำนาจหน้าที่ในกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1. ความบริสุทธิ์ใจและจรรยาบรรณทางวิชาการของผู้เขียน - นับตั้งแต่ที่ศาสตราจารย์ไชยันต์ ไชยพร ได้ทำหนังสือถึงบัณฑิตวิทยาลัยแจ้งปัญหาความคลาดเคลื่อนของข้อเท็จจริงในวิทยานิพนธ์ในปี 2561 นายณัฐพล ผู้เขียนมิได้นิ่งนอนใจหรือบ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยง แต่ได้ตรวจสอบเอกสาร ทำหนังสือชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ และขอปรับแก้ข้อความที่ผิดพลาดดังกล่าวในทันที แต่ตามระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแก้ไขวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติแล้วจะกระทำมิได้ กระนั้นเมื่อสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันตีพิมพ์หนังสือ ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี ซึ่งนายณัฐพลเรียบเรียงปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ของตน นายณัฐพลก็ได้แก้ไขจุดผิดพลาดที่ศาสตราจารย์ไชยันต์ท้วงติงด้วย   

ข้อเท็จจริงตามลำดับข้างต้นนี้ชี้ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ใจและความรับผิดชอบทางวิชาการของผู้เขียนที่จะแก้ไขความผิดพลาดทั้งในวิทยานิพนธ์และหนังสือที่ตีพิมพ์ในภายหลัง ฉะนั้น การตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล จึงเป็นการกระทำที่ไม่ได้สัดส่วนกับความผิดพลาดที่นายณัฐพลได้แก้ไขตามข้อท้วงติงแล้ว 

2. น้ำหนักของความผิด และผลกระทบต่อข้อเสนอของงานวิจัย - ในการให้สัมภาษณ์หลายกรรมหลายวาระของศาสตราจารย์ไชยันต์ รวมถึงในข้อเขียนของบุคคลต่าง ๆ และล่าสุดคือคำฟ้องของตัวแทนราชสกุลรังสิต ล้วนกล่าวไปในทางเดียวกันว่านายณัฐพลปั้นแต่งความเท็จในวิทยานิพนธ์ของตนว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร แทรกแซงการเมืองโดยเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี อันเป็นการหยิบยกความผิดพลาดเพียงประเด็นเดียวมาโจมตีและขยายผลเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ซ้ำร้ายยังเป็นความผิดพลาดที่นายณัฐพลได้ยอมรับและแก้ไขแล้วในหนังสือ ‘ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี’ แล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ในวิทยานิพนธ์  

ที่สำคัญไปกว่านั้นคือความผิดพลาดในการอ้างอิงและการตีความไม่ได้ผันแปรโดยตรงกับสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล อันที่จริงแล้วกระทั่งงานวิชาการจำนวนมากของนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับสากลก็พบข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนเช่นกัน เช่น งานของ Fernand Braudel และ Edward Said ทว่าตราบเท่าที่ข้อผิดพลาดเหล่านั้นไม่ได้กระทบต่อข้อเสนอหลักของงานวิชาการ งานเหล่านั้นก็ยังทรงพลังทางปัญญาอยู่จนถึงปัจจุบัน 

นอกจากนี้การประเมินสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของงานทางวิชาการไม่สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบความถูกต้องของการอ้างอิงเท่านั้น เพราะข้อความในวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลเป็นผลของการตีความหลักฐานและการใช้เหตุผล การพิจารณาว่าข้อความในวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลในกรณีนี้ผิดพลาดหรือไม่จึงไม่สามารถใช้วิธีการเทียบคำต่อคำในระหว่างวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพลและหลักฐานที่นายณัฐพลอ้างอิง สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นอย่างปราศจากข้อสงสัยว่าการประเมินสาระสำคัญหรือข้อเสนอหลักของงานทางวิชาการต้องการความรู้ความเข้าใจธรรมชาติของงานเขียนทางวิชาการ รวมถึงความเข้าใจที่ว่าความรู้ทางวิชาการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งที่เป็นผลมาจากแสวงหาและการสั่งสมความรู้ผ่านกระบวนการค้นคว้า พิสูจน์ตรวจสอบ ยืนยันและหักล้างข้อเท็จจริง และเป็นผลมาจากการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางวิชาการ   

การโยงเรื่องวิชาการกับการล้มล้างสถาบันและกล่าวหาว่านายณัฐพลว่ามีเจตนาบิดเบือนหลักฐาน จึงเป็นผลของอคติส่วนตัวและความแตกต่างของอุดมการณ์ทางการเมืองของผู้ตรวจสอบ ทั้ง ๆ ที่วิทยานิพนธ์และหนังสือของนายณัฐพลไม่ได้เสนอหรือแม้แต่ชี้นำให้มีการยกเลิกหรือล้มล้างสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด การโจมตีและโฆษณาขยายผลเช่นนี้จึงไม่เป็นธรรมต่อนายณัฐพลอย่างยิ่ง 

3. เสรีภาพทางวิชาการ - การดำเนินการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ผ่านมาหาได้ทำให้การค้นคว้าวิจัยทางวิชาการรัดกุมยิ่งขึ้นไม่ ในทางตรงกันข้ามสิ่งนี้สร้างบรรยากาศของความหวาดกลัวในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ โดยเฉพาะในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเมืองและสถาบันกษัตริย์ ซึ่งจะกระทบต่อการวิจัยด้านไทยศึกษาทั้งในและต่างประเทศ  

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยควรมีจุดยืนที่แน่วแน่และชัดเจนในการรักษาและส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการของสมาชิกประชาคมทางวิชาการในระดับอุดมศึกษาทั้งของอาจารย์และนิสิต อันได้แก่เสรีภาพในการเรียนการสอนและการอภิปรายถกเถียง เสรีภาพในการดำเนินการวิจัยและการเผยแพร่และการตีพิมพ์ผลการวิจัย เสรีภาพในการแสดงความเห็นอย่างอิสระเกี่ยวกับสถาบันหรือระบบที่ตนทำงานและศึกษาอยู่ และเสรีภาพจากการเซ็นเซอร์เชิงสถาบัน ไม่โอนอ่อนไปตามกระแสสังคมและแรงกดดันจากกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด  

ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2564 ของ Quacquarelli Symonds (QS) หรือ QS World University Rankings 2021 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ในอันดับที่ 208 แต่หากนำดัชนีเสรีภาพทางวิชาการ (Academic Freedom Index, AFi) ประจำปี 2564 ของไทยที่จัดทำโดย Global Public Policy Institute (GPPI) และ Scholars at Risk Network มาร่วมคำนวณด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยไทยโดยรวมจะมีคะแนนรวมลดลงอย่างแน่นอน 

นักวิชาการที่ดีต่างรู้ดีว่าความผิดพลาดในงานวิชาการเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ และไม่ถือเป็นการละเมิดจริยธรรมทางวิชาการหากไม่ใช่ความผิดร้ายแรงอย่างเช่นการโจรกรรมหรือลักลอกงานวิชาการ (plagiarism) การสร้างข้อมูลหรือผลการทดลองที่ไม่มีอยู่จริง หรือการบิดเบือนแก้ไขผลการทดลองเพื่อสนับสนุนสมมุติฐานของงานวิจัย ด้วยเหตุนี้ ความผิดพลาดอื่นใดในการอ้างอิง การอ่านตีความหลักฐาน หรือการใช้เหตุผล จึงต้องไม่นำไปสู่ความผิดทางวินัยและอาญาใด ๆ การตรวจสอบความผิดพลาดดังกล่าวพึงกระทำด้วยมาตรการทางวิชาการ เช่น การวิพากษ์วิจารณ์และการโต้เถียงทักท้วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ควรละเมิดมาตรฐานและจรรยาบรรณนี้ เพราะนั่นจะนำความเสื่อมเสียมาสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสายตาประชาคมทางวิชาการไทยและสากล  

อาศัยเหตุอันได้แสดงมาโดยลำดับ พวกเราจึงขอเรียนมายังท่านเพื่อโปรดพิจารณายุติการสอบสวนกรณีวิทยานิพนธ์ของนายณัฐพล ใจจริง เพื่อธำรงเกียรติภูมิแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันอุดมศึกษาของประเทศ 

ขอแสดงความนับถือ

รายชื่อนักวิชาการ
1.  ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ  คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2.  ศ. (พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
3. ศ.ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
4. ศ.ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ Graduate school  Cornell University
5. ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ  อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์ 
8. ศ.บาหยัน  อิ่มสำราญ นักวิชาการอิสระ 
9. ศ.สรวิศ ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11. ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12. ศ. (เกียรติคุณ) ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13. รศ.ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. รศ. ดร.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15. รศ.ฉลอง สุนทราวณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16. รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล นักวิชาการ 
17. รศ.ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
18. รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักประวัติศาสตร์ 
19. รศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. รศ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21. รศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
22. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
23. รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
24. รศ.ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
25. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26. รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
27. รศ.ดร.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
28. รศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29. รศ.ดร.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
30. รศ.มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

31. รศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
32. รศ.ดร.วริตตา ศรีรัตนา ภาควิชาภาษาอังกฤษ 
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
33. รศ.ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ 
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
34. รศ.ดร.วิศรุต พึ่งสุนทร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
35. รศ.ดร.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
36. รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. รศ.ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
38. รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39. รศ.ดร. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

40. รศ.ดร.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
41. รศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42. รศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
43. รศ.อภิญญา เวชยชัย อดีตอาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
44. รศ.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว นิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
45. รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการ 
46. ผศ.ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
47. ผศ.กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
48. ผศ.กุสุมา กูใหญ่ วิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
49. ผศ.ดร.กนิษฐ์ ศิริจันทร์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
50. ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

51. ผศ.คงกฤช ไตรยวงค์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52. ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
53. ผศ.ดร.คารินา โชติรวี นักวิชาการ 
54. ผศ.ดร.คำแหง วิสุทธางกูร อดีตอาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
55. ผศ.ดร.ชาญณรงค์  บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
56. ผศ.ดร.ชาติชาย มุกสง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
57. ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
58. ผศ.ดร.ซัมซู สาอุ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
59. ผศ.ณัฐพล โสตถิรัตน์วิโรจน์ สำนักการศึกษาทั่วไป สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
60. ผศ.ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

61. ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
62. ผศ.ดร. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63. ผศ.ดร. วิลลา วิลัยทอง อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
64. ผศ.ดร.เดโชพล เหมนาไล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
65. ผศ.ดร.โดม ไกรปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
66. ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
67. ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
68. ผศ.ดร.ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
69. ผศ.ดร.ธนาวิ โชติประดิษฐ สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
70. ผศ.ดร. ธนเดช เวชสุรักษ์ University of Rhode Island

71. ผศ.ดร.ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
72. ผศ.ธนิต โตอดิเทพย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
73. ผศ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
74. ผศ.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
75. ผศ.นวัต เลิศแสวงกิจ ทัศนศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
76. ผศ.ดร.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
77. ผศ.นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
78. ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
79. ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
80. ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

81. ผศ.ดร. ประเสริฐ แรงกล้า คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
82. ผศ.ปิยชาติ สึงตี สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
83. ผศ.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
84. ผศ.ดร.พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
85. ผศ.ดร.พงษ์ธร วราศัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
86. ผศ.พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
87. ผศ.ดร.พนิดา อนันตนาคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
88. ผศ.ดร.พรใจ ลี่ทองอิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
89. ผศ.พัทธจิต ตั้งสินมั่นคง School of Social Sciences  Waseda University
90. ผศ.พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

91. ผศ.ดร.พินัย สิริเกียรติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
92. ผศ.พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
93. ผศ.พุฑฒจักร สิทธิ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 
94. ผศ.ดร.ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
95. ผศ.ดร.มาลินี  คุ้มสุภา การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
96. ผศ.มูนีเราะฮ์ ยีดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา
97. ผศ.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
98. ผศ.ยอดพล เทพสิทธา ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
99. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล การจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
100. ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  

101. ผศ.ดร.ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
102. ผศ.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
103. ผศ.วราภรณ์ เรืองศรี สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
104. ผศ.วิทยา อาภรณ์ สาขาวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
105. ผศ.ดร.วิทัศน์ ฝักเจริญผล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
106. ผศ.ดร.วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
107. ผศ.วิระพงศ์ จันทร์สนาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
108. ผศ.วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล การพัฒนาชุมชน / มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
109. ผศ.วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
110. ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

111. ผศ.ดร.ศรันย์  สมันตรัฐ ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
112. ผศ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
113. ผศ.ศุภวิทย์ ถาวรบุตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
114. ผศ.ดร.สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115. ผศ.ดร.สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
116. ผศ.สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
117. ผศ.สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
118. ผศ.สุรพศ ทวีศักดิ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
119. ผศ.สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
120. ผศ.สุวิมล รุ่งเจริญ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

121. ผศ.ดร.เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
122. ผศ.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
123. ผศ.หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
124. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
125. ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
126. ผศ.อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
127. ผศ.อัครยา สังขจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
128. ผศ.ดร.อัมพร หมาดเด็น สาขาวิชาศึกษาทั่วไป สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
129. ผศ.อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ สาขาวิชาทัศนศิลป์และมีเดียอาร์ต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
130. ผศ.อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

131. ผศ.ดร.อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
132. ผศ.ดร.เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
133. Assistant Professor Connie Carter Social sciences California University
134. Assistant Professor Penchan Phoborisut Communication 
 California State University-Fullerton
135. อาจารย์ ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
136. อาจารย์กริช ภูญียามา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. อาจารย์กรวิทย์ ออกผล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา
138. อาจารย์ ดร.กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
139. อาจารย์ ดร.กัลยา เจริญยิ่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
140. อาจารย์กิติมา ขุนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

141. อาจารย์ ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
142. อาจารย์ ดร.จักรพันธ์ แสงทอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
143. อาจารย์คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
144. อาจารย์คมลักษณ์ ไชยยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
145. อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
146. อาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 
147. อาจารย์จิรธร สกุลวัฒนะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
148. อาจารย์จิรายุทธ์ สีม่วง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 
149. อาจารย์จีรพล เกตุจุมพล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
150. อาจารย์ชัชวาล บุญปัน อดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

151. อาจารย์ชนกนันท์ ปิ่นตบแต่ง เทคโนโลยีภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 
152. อาจารย์ ดร. ชัยพงษ์ สำเนียง ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
153. อาจารย์ฑภิพร สุพร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
154. อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี คณะศิลปศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนครพนม
155. อาจารย์ ดร.ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
156. อาจารย์ณัฐพล พินทุโยธิน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
157. อาจารย์ ดร.ณัฐรุจ วงศ์ทางสวัสดิ์ สาขาการเมืองการปกครอง ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
158. อาจารย์ณิชภัทร์ กิจเจริญ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
159. อาจารย์ ดร.ณีรนุช แมลงภู่ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
160. อาจารย์ ดร.ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ นักวิชาการ New York University-Abu Dhabi                                                                                
161. อาจารย์ ดร.ตฤณ ไอยะรา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
162. อาจารย์ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
163. อาจารย์ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
164. อาจารย์ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
165. อาจารย์ทวีป มหาสิงห์ รัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
166. อาจารย์ธนพงศ์ จิตต์สง่า ภาควิชาประวัติศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
167. อาจารย์ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
168. อาจารย์ธนสักก์ เจนมานะ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
169. อาจารย์ธนรัตน์ มังคุด สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
170. อาจารย์ ดร.ธนาพล ลิ่มอภิชาต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรมรางฯ-สถาบันวิจัย-สทร. เปิดรับสมัครกว่า 35 ตำแหน่ง เพื่อจัดเต็ม ให้บริการประชาชน-ระบบการขนส่งโลจิสติกส์

เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.67) เพจโครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ ประกาศกรมการขนส่งทางราง เรื่องการ รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ (วุฒิปริญญาโท) และตำแหน่งวิศวกรโยธาปฏิบัติการ (วุฒิปริญญาโท) รวมทั้งเรื่องการ รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป โดยได้ระบุว่า ...

ตอนนี้ล่าสุดได้เปิดรับสมัครรวมกว่า 35 ตำแหน่งได้แก่ กรมการขนส่งทางราง 6 ตำแหน่ง

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง 29 ตำแหน่ง ได้แก่ 
1. นักวิเคราะห์วิชาการเชี่ยวชาญ ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา
2. นักวิเคราะห์วิชาการเชี่ยวชาญ จำนวน 5 อัตรา
3. นักวิเคราะห์อาวุโส จำนวน 9 อัตรา
4. นักวิจัยวิชาการเชี่ยวชาญ จำนวน 2 อัตรา 
5. นักวิจัยวิชาการอาวุโส จำนวน 2 อัตรา
6. นักวิเคราะห์สารสนเทศวิชาการเชี่ยวชาญ จำนวน 1 อัตรา
7. นักวิเคราะห์สารสนเทศวิชาการอาวุโส จำนวน 1 อัตรา
8. นิติกรวิชาชีพอาวุโส จำนวน 2 อัตรา
9. นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการอาวุโส จำนวน 4 อัตรา
10. นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการอาวุโส จำนวน 1 อัตรา
11. นักทรัพยากรบุคคลวิชาชีพอาวุโส จำนวน 1 อัตรา

ซึ่งแบ่งการสมัครเป็น 3 รอบ 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top