Saturday, 10 May 2025
NEWS FEED

เพชรบูรณ์ - นพค.16 นำกำลังพลจิตอาสา มอบผ้าห่มกันหนาว - ข้าวสารบรรจุถุง และน้ำดื่มสะอาด รวมทั้ง ‘พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ’ ให้กับราษฎรและผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ติดภูเขา และมีอากาศหนาวเย็น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองบัญชาการกองทัพไทย (หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา) โดย นาวาอากาศเอก กรเอก ศรีสมบุญ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 16 สำนักงานพัฒนาภาค 1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พร้อมด้วยกำลังพลจิตอาสา เดินทางลงพื้นที่ เข้ามอบผ้าห่มกันหนาว กองบัญชาการกองทัพไทย ,ข้าวสารบรรจุถุง และน้ำดื่มสะอาด รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ให้กับราษฎรและผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ประสบภัยหนาว ต.นาซำ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดภูเขาและมีอากาศหนาวเย็น ทำให้ประชาชน ต่างก่อกองไฟพิงคลายหนาว สร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย

โดยได้ร่วมกับผู้นำชุมชนมอบเครื่องกันหนาวให้แก่ราษฎร จำนวน 100 ราย เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน, สร้างขวัญกำลังใจ ห่วงใย เคียงข้าง พร้อมช่วยเหลือประชาชนและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

 

สหรัฐฯ อนุมัติ 'ยาเม็ดต้านโควิด' ของไฟเซอร์ สำหรับกลุ่มเสี่ยงอายุ 12 ปีขึ้นไป ใช้รักษาที่บ้านได้

สหรัฐฯ อนุมัติยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดของไฟเซอร์ สำหรับบุคคลกลุ่มเสี่ยงอายุ 12 ปีขึ้นไป ทำให้ยาสูตรนี้เป็นยาต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ใช้รับประทานและใช้รักษาอาการที่บ้านได้สูตรแรก 

แพกซ์โลวิด (Paxlovid) ยาเม็ดต้านไวรัสของไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพเกือบ 90% ในการป้องกันคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูงจากการติดเชื้ออาการรุนแรงถึงขั้นเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต ตามข้อมูลการทดลองทางคลินิกของบริษัท ขณะที่ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเมื่อเร็วๆ นี้ บ่งชี้ว่ายาตัวนี้ยังคงประสิทธิภาพในการป้องกันตัวกลายพันธุ์โอมิครอนด้วยเช่นกัน

ไฟเซอร์ปรับเพิ่มประมาณการกำลังผลิตปี 2022 เป็น 120 ล้านคอร์สรักษา จากเดิม 80 ล้านคอร์ส และบอกว่าทางบริษัทพร้อมส่งมอบในสหรัฐฯ ในทันที โดยยาชุดนี้ของไฟเซอร์ประกอบด้วยยาสองตัว คือยาสูตรใหม่และยาสูตรเดิมคือริโทนาเวียร์ (ritonavir)

อเมช อดัลจา นักวิชาการอาวุโสของสถาบันความมั่นคงทางสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อปกินส์ ระบุว่า การอนุมัติยาแพกซ์โลวิดเป็นก้าวย่างสำคัญในการรับมือโรคโควิด-19 ได้ดีขึ้น "อย่างไรก็ตาม ยาสูตรนี้มี 2 ประเด็นสำคัญที่ยังค้างคาอยู่ นั่นก็คือมันอาจขาดแคลนในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และผู้ป่วยควรได้รับการรักษาทันทีที่ได้รับการวินิจฉัย ซึ่งมันเป็นเรื่องยาก เนื่องจากเรายังเผชิญความท้าทายในการตรวจหาเชื้อไวรัสอย่างทั่วถึงอยู่"

ไฟเซอร์ระบุว่า ทางบริษัทมีคอร์สรักษา 180,000 คอร์สที่พร้อมส่งมอบในปีนี้ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำสัญญาสั่งซื้อยานี้จำนวน 10 ล้านคอร์ส ในราคา 530 ดอลลาร์ต่อคอร์ส (ประมาณ 17,900บาท)

การตัดสินใจอนุมัติใช้รักษาในกรณีฉุกเฉินของสำนักงานอาหารและยาแห่งชาติสหรัฐฯ ในครั้งนี้ มีขึ้นในขณะที่อเมริกากำลังต่อสู้กับเคสผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นอย่างมาก โดยมีตัวกลายพันธุ์โอมิครอนเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ กระตุ้นให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต้องประกาศมาตรการใหม่ในการต่อสู้การระบาดระลอกใหม่ ซึ่งรวมถึงการจัดส่งชุดตรวจให้ประชาชน 500 ล้านครัวเรือนฟรีตั้งแต่เดือนมกราคม ส่งแพทย์และพยาบาล 1,000 คนของกองทัพไปช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลบางพื้นที่ที่มีผู้ป่วยโควิดจำนวนมาก จัดส่งสิ่งของจำเป็นให้รัฐที่มีการระบาดรุนแรง เพิ่มศูนย์ตรวจโควิดฟรีและศูนย์ฉีดวัคซีน

"ยาเม็ดนี้ช่วยเติมเต็มช่องว่างการรักษาที่ถูกเปิดแผลโดยตัวกลายพันธุ์โอมิครอน" วิลเลียม ชาฟฟ์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อชั้นนำแห่งโรงเรียนการแพทย์แวนเดอร์บิลต์กล่าว ที่ผ่านมาวิธีการรักษาโควิด-19 ที่ใช้ในวงกว้างที่สุดคือการรักษาด้วยโมโนโคลนอลแอนตีบอดี แต่มันพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพน้อยในการต่อสู้กับตัวกลายพันธุ์และมีอุปทานค่อนข้างจำกัด

ตัวกลายพันธุ์โอมิครอน ถูกพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้และฮ่องกงในเดือนพฤศจิกายน ก่อนแผ่ลามไปทั่วโลกและตอนนี้มันมีสัดส่วนคิดเป็น 70% ของเคสผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งหมดในสหรัฐฯ จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ (ซีดีซี) ในผลการศึกษาต่างๆพบว่าการเคยติดเชื้อมาแล้วและการฉีดวัคซีนช่วยป้องกันโอมิครอนได้เพียงบางส่วน แต่เข็มกระตุ้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน

4ส.12 “สถาบันพระปกเกล้า” ขึ้นดอย ศึกษาเครือข่าย “ฮักน่าน” ปลูกจิตสำนึกร่วมแก้ปัญหาเขาหัวโล้น-สู่ป่าต้นน้ำที่ยั่งยืน จาก “น้ำพางโมเดล” สู่ “น่านแซนด์บ๊อกซ์”

ระหว่างวันที่ 18-20 ธันวาคม นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นำคณาจารย์ และคณะนักศึกษาประกาศนียบัตรชั้นสูงเพื่อการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (4ส) รุ่นที่ 12 ดูงานในพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อศึกษา “วิกฤตจากเขาหัวโล้น..สู่ป่ายั่งยืน” 

วันแรก ที่ลานวัดอรัญญาวาส จัดเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ “ฮักเมืองน่าน” พลังจากศรัทธาและปัญญาท้องถิ่น โดยมี พระครูพิทักษ์นันทคุณ เจ้าอาวาสวัดอรัญญาวาส ซึ่งเป็นแกนนำที่ได้รวมกลุ่มเครือข่าย ในชื่อกลุ่ม “ฮักเมืองน่าน” เป็นกลุ่มองค์กรท้องถิ่นเมืองน่าน ที่สร้างกิจกรรมเพื่อการจัดการตนเองอย่างเข้มแข็งทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม โดยมีกลุ่มลูกหลานชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน ข้าราชการในท้องถิ่น และหน่วยงานราชการที่สนใจในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ หลังพบความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะสามสิบปีที่ผ่านมา พื้นที่ดงดอยที่เคยเป็นป่าและแหล่งอาหาร ไม้ใหญ่ไม้เล็กถูกโค่นลง ป่าถูกถางจนเตียน จึงเกิดความคิดอยากจะฟื้นฟูจิตสำนึกชาวบ้านและฟื้นฟูสภาพป่า เริ่มต้นจากการจัดพิธีบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำขึ้น ที่ป่าชุมชนบ้านกิ่วม่วง อำเภอสันติสุข เป็นครั้งแรกในจังหวัดน่าน 

สำหรับเครือข่าย “ฮักเมืองน่าน” มีต้นกำเนิดที่วัด มีสมาชิกเป็นพระ เณร ครู หมอ ข้าราชการ นักพัฒนา ผู้นำชุมชน บุคคลทั่วไป แล้วขยายตัวไปทั่วทั้งจังหวัดน่าน เกิดความร่วมมือกันโดยเฉพาะเรื่องการรักษาป่า ก่อนจะมาเป็น “มูลนิธิฮักเมืองน่าน” ในภายหลัง มีอาสาสมัครเข้ามาร่วมทำงานอย่างต่อเนื่อง และได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ มาเยี่ยมชมกิจกรรม โดยมี “ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้” ที่พัฒนาทักษะการเกษตรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นศูนย์การทำงานของอาสาสมัครมูลนิธิฮักเมืองน่าน ที่สนับสนุนการเรียนรู้ของเครือข่ายครอบครัวชาวนา ที่เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว ผัก พื้นเมือง มีการผสมข้าวและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสม

วันที่สอง ศึกษาเรียนรู้ “น้ำพางโมเดล” บทพิสูจน์ความยั่งยืนจากมือประชาชน เป็นโครงการนำร่องเพิ่มสิทธิของเกษตรกร เป็นชุมชนที่มีการบริหารจัดการในการใช้พื้นที่สีเขียว การทำเกษตรเชิงนิเวศ การแก้ไขปัญหาเขาหัวโล้น จากเกษตรกรที่เคยปลูกข้าวโพด จนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ได้กลับมาร่วมใจดูแลป่าธรรมชาติที่หมดสภาพให้กลับมาเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์

“น้ำพางโมเดล” นำหลัก 4 ประการมาจัดการคือ  “มีกิน” เพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร “มีใช้” เพิ่มรายได้พัฒนาเศรษฐกิจที่มั้นคงในระยะยาว “มีสิ่งแวดล้อมที่ดี” เพิ่มพื้นที่สีเขียว และ ”มีกฏหมายและนโยบายที่เป็นธรรม” สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมภูมินิเวศและรูปแบบการผลิตที่ยั่งยืน

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มอบผ้าห่มกันหนาว ชุดยาและเวชภัณฑ์ แก่ราษฎรที่ประสบภัยหนาวในพื้นที่อำเภอน้ำหนาวและอำเภอวังโป่ง

เพชรบูรณ์​ - มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ มอบผ้าห่มกันหนาว ชุดยาและเวชภัณฑ์ แก่ราษฎรที่ประสบภัยหนาวในพื้นที่อำเภอน้ำหนาวและอำเภอวังโป่ง

ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับมอบหมาย จากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นตัวแทน มอบผ้าห่มกันหนาวและสิ่งของพระราชทานให้แก่ราษฎรที่ได้รับเดือดร้อนจากอากาศหนาวเย็นในพื้นที่อำเภอน้ำหนาว และอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์

ทั้งนี้​ จังหวัดเพชรบูรณ์ได้รับอิทธิพลจากสภาพอากาศหนาวเย็น บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ของทุกปี ทำให้มีอากาศหนาวเย็นในทุกอำเภอ นำมาซึ่งความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยหนาวเป็นประจำทุกปี

‘ศาลปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย’ ร่วมพิธีเปิดรับพิจารณาคดีปกครองของคณะศาลปกครอง ในศาลประชาชนสูงสุดแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อย่างเป็นทางการ

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ประธานศาลปกครองสูงสุด พร้อมด้วย รองประธานศาลปกครองสูงสุด ได้แก่ นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์ , นายสุเมธ รอยกุลเจริญ , นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ และนายสุชาติ มงคลเลิศลพ (ประธานอนุกรรมการบริหารศาลปกครองดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานศาลปกครองและศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป.ลาว) ได้เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีแถลงข่าวการเปิดรับพิจารณาคดีปกครองของคณะศาลปกครองในศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป.ลาว อย่างเป็นทางการ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีการถ่ายทอดสัญญาณภาพ และเสียงจากนครหลวงเวียงจันทน์ มายังห้องสัมมนา 1 ชั้น 11 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ

​โอกาสนี้ นายนพดล เฮงเจริญ อดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด และอดีตประธานคณะกรรมการกำกับและดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการฯ นายสมชาย เอมโอช ประธานแผนกคดีบริหารราชการแผ่นดินในศาลปกครองสูงสุด , นายประสาท พงษ์สุวรรณ์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด , นายอนุชา ฮุนสวัสดิกุล รองอธิบดีศาลปกครองเชียงใหม่ และผู้บริหารสำนักงานศาลปกครอง เข้าร่วมในพิธีดังกล่าวด้วย

​ภายหลังเสร็จสิ้นพิธีแถลงข่าวแล้ว นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ประธานศาลปกครองสูงสุด ได้ให้สัมภาษณ์  ต่อสื่อมวลชน โดยได้กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีกับศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป.ลาว ที่ได้จัดตั้งคณะศาลปกครองในศาลประชาชนสูงสุดแห่ง สปป.ลาว เป็นผลสำเร็จ

 

‘อัษฎางค์’ ไขข้องใจ ‘พี่ตูน’ วิ่งเพื่อใคร ชี้! วิ่งการกุศลมีทั่วโลก แม้แต่ในปท. ร่ำรวย

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค” ระบุว่า นักวิ่งการกุศลโง่ หรือคนโง่มองไม่เห็นความดีของนักวิ่ง?

คำถามของกลุ่มคนที่โลกทัศน์แคบ วิสัยทัศน์สั้น ทัศนคติต่ำเตี้ย มักจะมีคำพูดและคำถามประมาณว่า…
วิ่ง…เพื่อเด็กยากไร้…หน้าที่ใคร !
วิ่งให้ตายก็แก้ปัญหาโครงสร้างของประเทศไม่ได้ !
คนวิ่งได้หน้าอยู่คนเดียว !
ผมจะพามาเบิกเนตรกันหน่อย กับการวิ่งการกุศลระดับโลก ที่ถูกจุดประกายมาจากนักวิ่งเพียงคนเดียวจนกลายเป็นวิ่งกันทั่วเมือง วิ่งกันทั้งประเทศและทั้งโลก มานานเกือบครึ่งศตวรรษ

……………………………………………………………………

City2Surf 
งานวิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของซิดนีย์
วิ่งด้วยแรงบันดาลใจจากอเมริกาสู่ออสเตรเลีย
City2Surf คืองานวิ่งการกุศลประจำปีของซิดนีย์ ซึ่งจัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ที่สองของเดือนสิงหาคม เป็นงานวิ่งการกุศลที่จัดขึ้นมาต่อเนื่องยาวนานถึง 50 ปีเต็ม โดยปัจจุบันมีผู้ร่วมวิ่งนับแสนคน จากจุดเริ่มต้นที่มีผู้เข้าร่วมเพียง 1500 คน

City2Surf เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1971 เป็นงานวิ่งที่ริเริ่มโดยเจ้าหน้าที่ของหนังสือพิมพ์เดอะซันซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงาน Bay to Breakers ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา
การแข่งขันวิ่งการกุศลจะเริ่มจากในตัวเมืองซิดนีย์และไปสิ้นสุดที่หาดบอนได 
จุดเด่นที่ทำให้งานวิ่ง City2Surf ประสบความสำเร็จจนเป็น ”งานวิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ก็คือ…
เป็นการจัดงานวิ่งเพื่อการกุศล โดยการเชิญชวนให้ผู้เข้าแข่งขันร่วมหาเงินบริจาคด้วยการเป็นตัวแทนขององค์กรการกุศลต่างๆ

……………………………………………………………………

เพื่อเด็กยากไร้…หน้าที่ใคร !
วิ่งให้ตายก็แก้ปัญหาโครงสร้างของประเทศไม่ได้ !
คนวิ่งได้หน้าอยู่คนเดียว !
ทำไมออสเตรเลียจัดงานวิ่งเพื่อระดมทุนให้องค์กรการกุศลมาต่อเนื่องถึง 50 ปีแล้ว
ออสเตรเลียยากจน? ประเทศมีปัญหาโครงสร้าง?
ประชาชนควรจะคิดว่า…เป็นหน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่หน้าที่ที่จะต้องมานักวิ่งหาเงินช่วยสังคม?
หรือ ?

……………………………………………………………………

ขอยกตัวอย่างอีกสักราย
จากดินแดนฝั่งขั้วโลกใต้ขึ้นไปขั้วโลกเหนือ 
จากอเมริกามาออสเตรเลีย…แล้วขึ้นกลับไปแคนาดา
กับเรื่องราวของนักวิ่งชื่อ “เทร์รี ฟอกซ์”
เมื่อตอนที่ เทร์รี ฟอกซ์ มีอายุ 19 ปี เขาล้มป่วยเป็นมะเร็งกระดูกจนต้องตัดขาออกข้างหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2523 ฟอกซ์ได้สวมขาเทียมและเริ่มทำกิจกรรมรณรงค์วิ่งข้ามประเทศแคนาดา เพื่อระดมทุนและกระตุ้นสังคมต่อการวิจัยการรักษามะเร็ง 

เทร์รี ฟอกซ์ วิ่งไปพร้อมกับขาเทียมหนึ่งข้าง เป็นระยะทางถึง 5,373 กิโลเมตร (3,339 ไมล์) และสิ้นสุดลงในเวลา 143 วัน 
เมื่อมะเร็งกระจายไปถึงปอด ฟอกซ์มีอาการทรุดหนักและเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ด้วยวัย 23 ปี

การวิ่งรณรงค์ของฟอกซ์ได้รับการขนานนามว่า "มาราธอนแห่งความหวัง" (Marathon of Hope) ส่งผลให้เขาได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Companion of the Order of Canada 
ภายหลังการเสียชีวิต ได้มีผู้จัดกิจกรรม “การวิ่งเทร์รี ฟอกซ์” หรือ “Terry Fox Run” เป็นประจำทุกปี จนถึงปัจจุบัน

‘นายกตู่’ ให้กำลังใจ "อภัยภูเบศร" สร้างประโยชน์ให้ประเทศชาติ - ประชาชน พร้อมดัน!! "บัวบกพันธุ์ศาลายา" เป็นพืชเศรษฐกิจ

วันที่ 22 ธันวาคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่  18 จากนั้นได้เดินชมงาน บูทจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐเอกชน และภาคประชาชน ที่มาร่วมจัดนิทรรศการกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ยกกิจกรรมให้ความรู้ สมุนไพรป้องกันโควิด-19 และกัญชา กระท่อม ผลิตภัณฑ์กัญชา ที่นำมาพัฒนาใช้กับการให้บริการสปา

โดยระหว่างการเยี่ยมชมบูท อภัยภูเบศร ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิ รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้นำชมและอธิบายถึงความคืบหน้าในสิ่งที่อภัยภูเบศรได้ดำเนินการพัฒนาสมุนไพรชนิดต่าง ๆ รวมถึง การปลดล็อก กระท่อม กัญชา มาสู่การพัฒนายาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ซึ่งล่าสุดมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลในการพัฒนาบัวบกศาลายา 1 ที่มีน้ำหนักและสารสำคัญสูงกว่าสายพันธุ์ปกติถึง 5 เท่า และผ่านการจดทะเบียนรับรองสายพันธุ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 2 ปี ทำให้ทางมูลนิธิไม่สามารถนำสายพันธุ์ดังกล่าวมาแจกจ่ายให้เกษตรกรปลูกได้

มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 34 ล้านบาท ลงพื้นที่ 4 ภาค รวม 43 จังหวัด มอบไออุ่นพร้อมถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยหนาว มอบแท็งก์/ถังบรรจุน้ำในพื้นที่ประสบภัยแล้ง และมอบศาลาที่พักผู้โดยสารเพื่อผู้ใช้รถใช้ถนน

ระหว่างวันที่ 16 พฤศจิกายน – 26 ธันวาคม 2564 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง โดย นายวิเชียร เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ มอบหมายให้นายอรัณย์ โตทวด ผู้จัดการมูลนิธิฯ จัดทีมสังคมสงเคราะห์ นำโดย นายพินัย ศรีพนาสณฑ์ ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ลงพื้นที่แจกจ่ายผ้าห่มพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบ “ภัยหนาว” ในถิ่นทุรกันดาร ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ประกอบด้วย จ.อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน พะเยา เชียงราย เชียงใหม่  ลพบุรี เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มหาสารคาม ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครพนม บึงกาฬ สกลนคร นครนายก กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคิรีขันธ์ ชุมพร รวม 43 จังหวัด

รวมผ้าห่มพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 46,900 ชุด คิดเป็นมูลค่ากว่า 27 ล้านบาท พร้อมทั้งจัดหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชนออกบริการประชาชนฟรีทั้งในด้านการตรวจรักษา แจกจ่ายยา และคัดกรองเบาหวานเบื้องต้นในพื้นที่จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี และนครพนม

นอกจากนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ยังได้มอบแท็งก์บรรจุน้ำขนาด 20,000 ลิตร และถังบรรจุน้ำไฟเบอร์ (สำเร็จรูป) ขนาด 2,000-5,000 ลิตร  เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนที่ขาดแคลนน้ำในการบริโภคในช่วง “ภัยแล้ง” ในพื้นที่ภาคเหนือ – อีสาน รวมจำนวน 100 ถัง รวมมูลค่ากว่า 2.6 ล้านบาท รวมทั้งมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ยังมอบศาลาที่พักผู้โดยสารเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน เพื่อหลบแดดหลบฝนในพื้นที่ภาคเหนือ-อีสานรวม 34 หลัง คิดเป็นมูลค่ากว่า 4.2 ล้านบาท เพื่อให้การลงพื้นที่บรรเทาทุกข์สาธารณภัยในถิ่นทุรกันดารเป็นไปอย่างทันท่วงทีต่อการรับมือสถานการณ์ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐเป็นประธานในพิธี  พร้อมด้วยมูลนิธิฯ / สมาคมจีนประจำจังหวัดต่างๆ เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี 

โดยในวันนี้ (วันพุธที่ 22 ธันวาคม 64) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริพร กระจ่างหล้า หัวหน้าแผนกสังคมสงเคราะห์ นำทีมสังคมสงเคราะห์ ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี (ต่อเนื่อง) มอบผ้าห่มพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 500 ชุด แก่ผู้ประสบภัยหนาว ณ บริเวณวัดโพธิ์เมืองวนาราม อ.เขมราฐ พร้อมกันนี้ นางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้นำทีมแพทย์อาสาและเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ให้บริการ ตรวจรักษาโรคทั่วไป แจกจ่ายยา แจกแว่นสายตา และ คัดกรองเบาหวานเบื้องต้น โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐเป็นประธานในพิธี  พร้อมด้วยมูลนิธิการกุศลสามัคคีสว่างบูชาธรรมสถาน จ.อุบลราชราชธานี เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี และในวันเดียวกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร ณ บริเวณหน้าโรงพยาบาลกุดข้าวปุ้น อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี และได้เดินทางไปยังจ.อำนาจเจริญ เพื่อมอบถังบรรจุน้ำเพื่อการบริโภค ขนาด 3,000 ลิตร  จำนวน 3 ถัง พร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 500 ชุด ณ บริเวณหมู่ 1 ต.สร้างนกทา อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐเป็นประธานในพิธี  พร้อมด้วยมูลนิธิจีตี่เกาะอำนาจเจริญ  เป็นผู้ประสานงานและร่วมในพิธี 
 

'หมอยง' ห่วง ‘โอมิครอน’ แพร่หนักในไทย แนะรัฐเร่งตัดสินใจ หวั่นกระทบปากท้องปชช.

22 ธันวาคม 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ระบุว่า...

โควิด-19 โอมิครอน ความยากในการตัดสินใจของผู้บริหาร

การระบาดของ covid-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะต้องเกิดในประเทศไทยอย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว

ถ้าเป็นไปได้เราอยากให้ช้าที่สุดเพื่อรอระบบสาธารณสุขในการให้วัคซีนเข็ม 3 กระตุ้นให้ได้มากที่สุดก่อน การได้รับวัคซีน 2 เข็มไม่เพียงพอในการที่จะรับมือ โอมิครอน

โอมิครอน จะเข้ามาได้เร็วจากผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ Test to go โดยไม่มีการกักตัว เป็นไปได้ยากที่จะป้องกันการหลุดรอดของโอมิครอนเข้ามาระบาดในประเทศไทย ผู้เดินทางเข้ามาอาจอยู่ในระยะฟักตัว หรือสัมผัสระหว่างการเดินทาง

ฟังให้เคลียร์!! ปมดราม่าดูถูกคนลาว 'รถไฟลาว-จีน' ที่แท้เทียบ ‘ค่าบริการยุคนี้’ ทำคนทั่วไปเข้าถึงยาก

อย่าฟังความข้างเดียว 'ฟังชัดๆ ถนอมจัดให้' ปมดราม่า 'รถไฟลาว-จีน' คนลาวจะไม่มีปัญญาได้นั่งเพราะราคาตั๋วรถไฟแพง ที่แท้เทียบเคียงรถไฟใต้ดิน-บนดินของไทยที่ค่าโดยสารแพง คนไทยไม่สามารถขึ้นรถไฟฟ้าได้ทุกคน 

ดูคลิปเต็มได้ที่ >> https://www.youtube.com/watch?v=y_qFePulPDY&feature=youtu.be

(22 ธ.ค. 64) หลังจากกรณีที่สื่อรัฐบาล สปป.ลาว ออกมาตำหนิถึงการนำเสนอข่าวของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) กรมประชาสัมพันธ์ รายการ ‘ฟังชัดๆ ถนอมจัดให้’ จัดโดย ‘นายถนอม อ่อนเกตุพล’ ที่กล่าวถึงการเปิดให้บริการเดินรถไฟลาว-จีน ทำนองว่าคนลาวจะไม่มีปัญญาได้ขี่ เพราะคนลาวมีเงินเดือนน้อย แต่ราคาตั๋วรถไฟแพง จนทำให้นายถนอม ต้องออกมากล่าวขอโทษชาวลาวไปแล้วนั้น

ล่าสุดนายถนอม ได้โพสต์คลิปรายการดังกล่าว ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 64 พร้อมระบุว่า “ทั้งสื่อไทย สื่อลาว ว่าผมดูหมิ่นคนลาว โปรดฟังชัดๆ ถ้าหมิ่นเขาแล้วทำประเทศเสียหาย ผมยินดีขอโทษ! เพราะไม่มีใครที่ไม่ผิด ขอว่า อย่าฟังความข้างเดียว”

สำหรับ รายการ ‘ฟังชัดๆ ถนอมจัดให้’ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายถนอม กล่าวถึง ขบวนรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวรอบปฐมฤกษ์ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมา 1,035 กม. กรุงเวียงจันทน์ถึงมณฑลยูนนาน ที่เมืองคุนหมิง ประเทศจีน อัตราค่าโดยสารจากเวียงจันทน์ - บ่อเต็น 680 - 1,510 บาท

นายถนอม กล่าวว่า...ยินดีกับพี่น้องลาวด้วยที่มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงวิ่งบริการในประเทศทั้งขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร นี่คือสิ่งที่คนไทยรู้สึกว่าทำไมเรายังเปิดไม่ได้ ประเทศไทยเพิ่งสร้างได้ 3.5 กม. กรุงเทพ-โคราช 3.5 กม. แล้วเมื่อไหร่จะแล้วเสร็จ และจากโคราชระยะที่ 2 ไปถึงหนองคาย อีก 356 กม. แล้วเมื่อไหร่จะเสร็จ


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top