Friday, 9 May 2025
ECONBIZ

'กอบศักดิ์' ชี้ 3 ปัจจัยเสี่ยงในโลกเศรษฐกิจ หากเหตุ 'รัสเซีย-ยูเครน-พันธมิตร' ปะทุ!!

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊กถึงปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจหากเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย - ยูเครน ว่า ...

ถึงเวลาที่เราต้องคิดเรื่อง Plan B ในกรณีของยูเครน !!!

ไม่มีใครอยากให้เกิดความขัดแย้ง ไม่อยากให้เกิดสงคราม อยากให้มีทางลงสวยๆ ที่ทุกคนตกลงยอมความกันได้ 

แต่จากสัญญาณต่างๆ ที่ออกมา ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา 

1.) การอพยพคนออกจากยูเครนของสถานทูตต่างๆ ซึ่งล่าสุด อิสราเอล ที่มีหน่วยข่าวกรองดีที่สุดประเทศหนึ่ง กำลังเร่งนำคนอิสราเอลออกยูเครนภายในวันอังคารที่จะถึงนี้ เช่นกัน 

2.) การเคลื่อนไหวของกองทัพและยุทโธปกรณ์ของรัสเซียรอบๆ ยูเครน

3. การประชุมล่าสุด 62 นาทีระหว่างประธานาธิบดี Biden และ Putin ก็ไม่ได้มี breakthrough ซึ่งส่งผลอะไรที่จับต้องได้ในเชิงการเปลี่ยนใจ แต่ได้เป็นโอกาสในการส่งสัญญาณเตือนตรงๆ ว่า US will react decisively and impose swift and severe costs if Russia invade Ukraine.  

ทั้งหมดหมายความว่า เราควรจะเตรียมคิดไว้เบื้องต้นว่า จะต้องปรับตัวอย่างไร หากสถานการณ์ที่ยูเครนลุกลามมากขึ้น

สิ่งที่จะตามมาในเชิงเศรษฐกิจ ที่เราต้องรับมือ เมื่อปัญหาเริ่มลุกลามขึ้น คือ

1.) ความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยง ทั้งในส่วนหุ้น และ สินทรัพย์ทางเลือก

2.) ราคาน้ำมันและราคา Commodities บางตัวที่จะเพิ่มขึ้น (น้ำมันอาจจะทะลุ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล) จากการที่รัสเซียเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกในน้ำมัน ก๊าซ ที่ยุโรปพึ่งพา และเป็นแหล่งผลิตสินค้า Commodities บางตัว เช่น พาลาเดี่ยม ที่จะมีนัยไปถึงการผลิต Chip ในตลาดโลก  

ทั้งหมดนี้ จะมีผลต่อเนื่องไปยังปัญหา Global supply disruption รวมทั้ง เพิ่มแรงกดดันต่อเงินเฟ้อและทิศทางนโยบายการเงินของประเทศต่างๆ 

3.) การไหลเวียนของ Fund Flows ในโลกไปยัง Safe Haven ต่างๆ ทั้งในส่วนของ ทองคำ พันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะ ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีความลึกมีสภาพคล่องที่ดี และจะส่งผลไปถึงค่าเงินดอลลาร์ต่อไป

INTERLINK ขอบคุณกลุ่มลูกค้าคนพิเศษ 

คุณสมบัติ - ดร.ชลิดา อนันตรัมพร ประธานกลุ่มบริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ และประธานมูลนิธิ อินเตอร์ลิ้งค์ให้ใจ ต้อนรับกลุ่มลูกค้าคนพิเศษในงาน "INTERLINK THANK YOU VIP 2022" เพื่อตอบแทนที่สนับสนุน เชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ LINK ด้วยดีเสมอมา ในบรรยากาศฟังดนตรีสบาย ๆ ริมชายหาด และพูดคุยเทรนด์เทคโนโลยียอดฮิต พร้อมมีกิจกรรมแจกของรางวัลมากมาย อีกทั้งได้นิมนต์พระมาให้ทุกท่านร่วมทำบุญใส่บาตรริมหาดหัวหิน ทั้งอิ่มบุญ อิ่มใจไปพร้อม ๆ กัน ณ โรงแรมเชอราตัน หัวหิน เมื่อ 12-13 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา

‘RJ44’ พันธุ์ข้าวขาวพื้นนุ่มจาก ‘โกมล จึงรุ่งเรืองกิจ’ ชนะเลิศประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์

‘นายโกมล จึงรุ่งเรืองกิจ’ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รวมใจพัฒนาความรู้ จำกัด ภายใต้มูลนิธิรวมใจพัฒนา และประธานกรรมการ บริษัท ซัมมิทฟุตแวร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่าย รองเท้ายี่ห้อ 'แอโร่ซอฟ' ซึ่งถือเป็นอีกผู้ใหญ่ใจดีของสังคมไทย และเป็นบุคคลที่มักเข้ามาช่วยเหลือเรื่องใหญ่ๆ ในสังคมไทยแบบไม่ออกหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้ได้บริจาคเงิน จำนวน 100 ล้านบาท พร้อมด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและตา (Face Shield) จำนวน 3,000 ชิ้น และเครื่องช่วยหายใจไฮโฟลว์ (Airvo 2) จำนวน 10 ชิ้น ให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลศิริราช เพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 และจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้ในการรักษา

ขณะเดียวกัน ยังได้ดำเนินงานด้านงานวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ข้าว เพื่อแก้ปัญหา พร้อมยกระดับวงการข้าวไทยครบวงจร โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี เป็นที่ยอมรับของเกษตรกร โรงสีข้าว และสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สู่ความยั่งยืนด้านข้าวของประเทศไทย

โดยในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ภายใต้การจัดงานประกวดข้าวพันธุ์ใหม่เพื่อการพาณิชย์ ครั้งที่ 1 (2564) ที่จัดโดยสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คลัง เปิดมาตรการรัฐ 10 วัน กระตุ้นใช้จ่าย 2.3 หมื่นล้าน

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ ปี 2565 ประกอบด้วย โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 รวม 10 วัน ตั้งแต่ 1 - 10 ก.พ. 2565 มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวม 34.42 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายรวมทั้งหมด 23,032.55 ล้านบาท โดยสรุปผลการใช้จ่ายได้ คือ

1. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 11.32 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 2,248.45 ล้านบาท

2. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 8.7 แสนราย มียอดการใช้จ่ายรวม 171.80 ล้านบาท 

3. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 22.23 ล้านราย มียอดการใช้จ่ายรวม 20,612.3 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 10,433.8 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่าย 10,178.5 ล้านบาท และมียอดใช้จ่ายสะสมแบ่งตามประเภทตามร้านค้า ได้แก่ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 7,742.1 ล้านบาท ร้านธงฟ้า 3,967.5 ล้านบาท ร้าน OTOP 978.6 ล้านบาท ร้านค้าทั่วไป 7,535.8 ล้านบาท ร้านบริการ 357.7 ล้านบาท และกิจการขนส่งสาธารณะ 30.6 ล้านบาท 

'รมว.เฮ้ง' ชวนแรงงานนอกระบบฝึกอาชีพเสริม พร้อมรับเครื่องมือทำกิน แก้ปัญหาความยากจน ตามนโยบายลุงตู่

กระทรวงแรงงาน จัดกิจกรรม เพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ แก่ผู้ต้องการประกอบอาชีพอิสระและประชาชนทั่วไป จำนวน 2 พันคน แนะผู้สนใจติดต่อสำนักงานจัดหางานจังหวัดใกล้บ้าน 

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน มีกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพอิสระ แก่ผู้ที่มีเวลาว่าง ผู้ว่างงาน หรือผู้ที่ต้องการหารายได้เสริม ผ่านกิจกรรมเพิ่มอาชีพ เพิ่มรายได้ ที่มีการจัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยในปีงบประมาณ 2565 มีเป้าหมายทั้งปี 100 รุ่น รวมทั้งสิ้น 2,000 คน เพื่อเพิ่มโอกาสมีอาชีพ มีรายได้ มีงานทำในช่วงสถานการณ์โควิด -19  ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรจะได้รับวัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพเสริมหรือต่อยอดพัฒนารูปแบบของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่อไป

โดยอาชีพที่ได้รับความสนใจจากผู้อบรมได้แก่ การทำขนมไทย การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม การทำหมูสวรรค์ การทำจักสานตะกร้าพลาสติก การทำเบเกอรี่ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำปาท่องโก๋ เค้กหน้านิ่ม และชิฟฟ่อน ซึ่งผลการดำเนินการปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมามีผู้ฝึกอบรม จำนวน 2,408 คน สร้างรายได้ 10,113,640 บาท

“พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายก รัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ห่วงใยแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 แรงงานนอกระบบ ผู้ว่างงาน  และผู้ที่ต้องการหารายได้เสริมเพื่อนำไปใช้จ่ายในครัวเรือน ได้กำชับกระทรวงแรงงานดูแลแรงงานทั้งในระบบ และนอกระบบเท่าเทียม ทั่วถึง ให้มีทางเลือก มีโอกาสและช่องทางทำกิน  โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า กรมการจัดหางานมีภารกิจในการส่งเสริมและให้บริการแนะนำการประกอบอาชีพอิสระ รวมถึงการจัดสาธิตและฝึกปฏิบัติอาชีพอิสระ โดยมีการจัดวิทยากรให้ความรู้ด้านการประกอบการ อาทิ การบริหารจัดการ การทำบัญชีเบื้องต้น การตลาด การคิดต้นทุนการผลิต กำไรขาดทุน เป็นต้น

ธกส.เร่งแก้หนี้เกษตรกร สั่งพนง.ลงพื้นที่พบลูกค้าจัดชั้นหนี้

นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้พนักงานในพื้นที่ไปพบลูกค้าทุกราย โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 4.83 ล้านราย เพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพ ที่มาของรายได้มาประเมิน โดยวิเคราะห์ศักยภาพสมรรถนะและความสามารถในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการชำระหนี้ จากนั้นจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด โดยแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มตามศักยภาพ เช่น กลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูง กลุ่มศักยภาพปานกลาง และกลุ่มมีเหตุผิดปกติ 

ทั้งนี้เพื่อทำการบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การปรับตารางกำหนดการชำระหนี้ใหม่ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามศักยภาพของลูกหนี้ การเติมสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูอาชีพ รวมถึงพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้สินเป็นภาระหนัก เนื่องจากรายได้ครัวเรือนลดลงหรือไม่ได้มีรายได้เพียงพอเพราะเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เป็นต้น เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเป็นรายกรณีต่อไป 

เบอร์หนึ่ง 2 ปีติด!! เปิดตัวแปร BMW ปั้นยอดแซง BENZ ในรอบ 20 ปี ‘ค่านิยม-รถใหม่-เซอร์วิสโดนใจ’ ดันขึ้นแท่นผู้นำ

...เรามักคุ้นเคยกับคำกล่าวที่มักเปรียบเทียบ 2 ค่ายรถยนต์หรูสัญชาติเยอรมนีกันบ่อยๆ แม้จะผ่านนานข้ามยุคข้ามสมัย
...เจ้าหนึ่งถูกนิยามถึงประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับความภูมิฐาน
...อีกเจ้าถูกนิยามถึงความสปอร์ต โฉบเฉี่ยวล้ำสมัย สมวัยคนรุ่นใหม่

เรากำลังพูดถึงนิยามของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ และ BMW ตามมุมมองความชื่นชอบของคนที่แตกต่างกัน

ในประเทศไทยการขับเคี่ยวของทั้ง 2 เจ้าเรียกว่าหาผู้เล่นใดขึ้นมาแทรก แต่ก็ต้องยอมรับว่าค่ายดาวสามแฉกยังไม่เคยเพลี่ยงพล้ำให้กับ BMW เลยตลอดร่วม 20 ปี

ทว่าหากดูตัวเลขในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผู้นำของตลาดรถหรูในไทยได้เปลี่ยนมือมาเป็น BMW โดยเฉพาะกับตัวเลขปีล่าสุด 2021 ที่ BMW เคลมตัวเลขยอดขายจากกรมขนส่งด้วยสัดส่วนยอดขายกว่า 45.5% โดยจุดเริ่มต้นของการช่วงชิงบัลลังก์ในครั้งนี้ต้องย้อนไปในปี 2020 ที่ยอดขายอย่างเป็นทางการจาก BMW นั้น อยู่ที่ 11,242 คัน ลดลง 4.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเป็นยอดขายที่ไม่รวมแบรนด์ในเครืออย่าง ‘มินิ’ ที่มียอดขาย 1,184 คัน ส่วนเมอร์เซเดส-เบนซ์ มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 10,613 คัน ลดลง 29.7%

จากตัวเลขนี้ ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเถลิงแชมป์ยอดขายตลาดรถยนต์หรูไทยของ BMW 

...แล้วเหตุใด BMW ถึงสามารถกระชากบัลลังก์จาก เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลงมาได้?

เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะต้องยอมรับว่าในยุคหลังคนรุ่นใหม่รวยเร็ว ความต้องการรถยนต์หรูมีไปถึงระดับซูเปอร์คาร์ แต่คนที่มีปัจจัยน้อยกว่าพรีเมียมคาร์ ก็จะเริ่มถูกเวทมาที่ค่ายพรรคนักปลุกใจคนรุ่นใหม่ อย่าง BMW

ไม่ใช่ว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยุคนี้แก่หรือเชย แต่ค่านิยมที่คุ้นเคยและยาวนาน บวกช่วงอายุของคนรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาตามกาลเวลา ผสานตัวแปรของ BMW ในการเติบโตช่วง 2 ปีมานี้ มีมาก!! จนยากที่เจ้าตลาดจะคุมอยู่

ทั้งนี้หากลองมาดูภาพรวมของปี 2021 ที่การันตีให้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย รักษาตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์พรีเมียมไทยได้อีกครั้งนั้น มาจากยอดขายรถยนต์รวมกันของบีเอ็มดับเบิลยูและมินิ ซึ่งครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 45.5% ในปี 2564 เพิ่มขึ้นจาก 44.6% ในปี 2563 

แถมปีนี้ทั้งปี ก็ยังเตรียมโฉมรถยนต์ทั้งบีเอ็มดับเบิลยู มินิ และมอเตอร์ไซค์บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด รวม 10 รุ่น อีกทั้งยังเน้นย้ำการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกในรูปแบบของ Gran Coupe ด้วยบีเอ็มดับเบิลยู i4 รุ่นใหม่ บีเอ็มดับเบิลยู i4 M50 ราคา 4,999,000 บาท และ บีเอ็มดับเบิลยู i4 eDrive40 M Sport ราคา 4,499,000 บาท รวมถึงทัพผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจทุกรุ่น อาทิ...

- บีเอ็มดับเบิลยู 430i Convertible M Sport ราคาโดยประมาณ 4,300,000 - 4,500,000 บาท
- บีเอ็มดับเบิลยู X6 xDrive40i M Sport (รุ่นประกอบในประเทศ) ราคา 5,499,000 บาท 
- บีเอ็มดับเบิลยู X7 xDrive40d M Sport (รุ่นประกอบในประเทศ) ราคาโดยประมาณ 6,100,000 - 6,300,000 บาท

- มอเตอร์ไซค์บีเอ็มดับเบิลยู R 1250 RT ราคา 1,310,000 บาท สำหรับสี Triple Black / สี Racing Blue Metallic และ 1,420,000 บาท สำหรับ Option 719 Mineral White Metallic
- มอเตอร์ไซค์ บีเอ็มดับเบิลยู S 1000 R ราคา789,000 บาท
- มอเตอร์ไซค์ บีเอ็มดับเบิลยู K 1600 B ราคาโดยประมาณ 1,600,000 - 1,800,000 บาท 

ด้านยอดสินเชื่อของ บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย ก็ทำลายสถิติด้วยยอดสินเชื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้นถึง 13% รวมมูลค่า 19,000 ล้านบาท พร้อมตัวเลขยอดสินเชื่อรวมในพอร์ททะยานสู่หลัก 52,000 ล้านบาท

ขณะที่ยอดการผลิตรถยนต์และสองล้อของ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย สูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 33,428 คัน แถมยังเปิดตัวโมเดลใหม่ 10 รุ่น ทั้งจากบีเอ็มดับเบิลยู มินิ และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด เพื่อนำเสนอทางเลือกที่ครอบคลุมให้แก่ลูกค้า รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่อีก 2 รุ่น

>> รถยนต์ไฟฟ้าเกมที่ต้องมองยาวๆ

แน่นอนว่าในระหว่างที่ข่าวคราวการวางแผนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ในไทยจะน่าสนใจ แต่เมื่อตลาดรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันว่องไว การแค่เลือกบางรุ่นที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าของ BMW เข้ามาลองชิมตลาดนี้ จึงน่าจะเพียงพอ ภายใต้การบริหารงานของ มร. อเล็กซานเดอร์ บารากา ประธานและซีอีโอ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ที่เชื่อในเรื่องของความยืดหยุ่นจากดีมานด์ไซส์ หรืออารมณ์อยากได้กันมากเดี๋ยวค่อยผลิตให้ตามความต้องการ ตามสไตล์ Limited Offer ที่ช่วงหลัง BMW ใช้ไม้นี้บ่อย จนทำให้รู้สึกว่าสินค้าของ BMW ช่างดูเอ็กซ์คลูซีฟเสียนี่กะไร

แต่ถึงกระนั้น หากดูจากยอดจดทะเบียนของ BMW และมินิในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า ก็ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในส่วนของรถยนต์พรีเมียมไฟฟ้าด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 32.9% ร่วมกับการขยาย ChargeNow ตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งคาดว่า BMW จะมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ทั้งหมดกว่า 600 หัวจ่าย ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2565 แถมเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าบีเอ็มดับเบิลยูและมินิสามารถใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน EVolt ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเพื่อใช้บริการสถานี ChargeNow ซึ่งนี่คือการปูพรมแบบเงียบๆ

>> ตัวแปรสลับเก้าอี้ผู้นำ
อย่างไรก็ตาม หากลองวิเคราะห์แบบเห็นภาพชัดๆ หน่อยนั้น จะพบตัวแปรสำคัญของ BMW ในช่วง 2 ปีที่ส่งผลให้เกมพลิกกลับมานำเมอร์เซเดส-เบนซ์ในรอบ 20 ปีได้นั้น มันมีเหตุและผลที่สมควรแก่จังหวะเวลาจริงๆ

เรื่องแรก คือ รถใหม่ สิ่งสำคัญที่สุดในการเพิ่มยอดขายหรือรักษายอดขายท่ามกลางวิกฤตของ BMW ในช่วงตั้งแต่ปี 2020 เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง ซีรีส์ 3 ที่เป็นรถรุ่นขายดีที่สุดมาโดยตลอดอยู่แล้ว เวียนมาบรรจบกับการเปิดตัวรุ่นประกอบในประเทศ เมื่อเดือนมีนาคม 2020 ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล และปลั๊กอินไฮบริด ทำให้มีราคาถูกลงกว่ารุ่นนำเข้าถึงกว่า 400,000 บาท โดยมีราคาที่ 2,519,000 บาท ในรุ่น 320d และ 2,769,000 บาท ในรุ่น 330e

เช่นเดียวกับรุ่น เอ็กซ์ 1 ที่มีการทำราคารุ่นเริ่มต้นให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 ล้านบาท พร้อมกับการไมเนอร์เชนจ์ปรับโฉมกระตุ้นความสดใหม่ รวมถึงการมีรถรุ่นอื่นๆ ทยอยออกมาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ใช่รุ่นที่โกยยอดขายเป็นกอบเป็นกำ แต่ส่งผลในแง่ของจิตวิทยาได้เป็นอย่างดี เหนืออื่นใดคือ การมีรถพร้อมส่งมอบ ลูกค้าไม่ต้องรอนาน จึงทำให้ BMW รักษาระดับการขายเอาไว้ได้โดยลดลงเพียง 4.3% 

ในทางกลับกัน ปี 2020 เมอร์เซเดส-เบนซ์ ผิดแผนในหลายจุด โดยเฉพาะเรื่องของรถใหม่ ที่เป็นจังหวะของการเปลี่ยนโมเดลในการทำตลาดของตัวขายที่สำคัญอย่าง ซีแอลเอ (CLA) ที่มีการหยุดทำตลาดไปและมีรุ่น เอ-คลาส มาทำตลาดเป็นหลักแทนด้วยรุ่นนำเข้าตั้งแต่เมื่อปี 2019 โดยในปี 2020 นั้น เอ-คลาสจะมีรุ่นประกอบในประเทศออกจำหน่าย ซีแอลเอ จึงถูกถอดจากไลน์อัพการขายไปและไม่มีรถส่งมอบ

ระเบิดเวลาอนาคตไทย หากยังมองเวียดนาม 'ห่างชั้น-ด้อยพัฒนา' หลังเหงียนเริ่มกลืนตลาดออนไลน์ไทย โดยคนรุ่นใหม่

จากเพจเฟซบุ๊ก 'สมเกียรติ โอสถสภา' ได้โพสต์เรื่องราวของคนที่ได้สัมผัสกับนักกลุ่มธุรกิจเวียดนามรุ่นใหม่ที่กำลังมองไกล สร้างตัว สร้างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางสร้างตัวหนึ่งที่น่ากังวลต่ออนาคตของคนในบ้านเราอย่างมาก คือ การมาตักตวงโอกาสที่คนไทยส่วนใหญ่มองข้าม แต่พวกเขามองขาด ไว้ว่า... 

ใครรู้บ้างว่าค่าโฆษณาเฟซบุ๊กเวียดนาม แพงกว่าเมืองไทย 2-3 เท่า ธุรกิจขายของออนไลน์ในไทย คือ "Blue Ocean" สำหรับชาวเวียดและสินค้าจีนที่ขายออนไลน์จำนวนมากในไทย ขายโดยคนเวียดนามที่นั่งสั่งการอยู่ที่เวียดนาม

ช่วงที่ผ่านมา ดิฉันพอได้มีโอกาสติดตามความเคลื่อนไหวของนักธุรกิจรุ่นเยาว์กลุ่มหนึ่ง ที่รวมตัวกันขึ้นมาหลวมๆ เรียกตัวเองว่า CEO Club คุยกันตามร้านกาแฟวันเสาร์-อาทิตย์ เดือนละ 1-2 ครั้ง บางทีก็จัดสัมมนาย่อยๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเทคนิคการทำการตลาดออนไลน์ 

และ CEO Club กลุ่มนี้ก็ไปเชื่อมโยงกับเครือข่ายธุรกิจออนไลน์ขนาดใหญ่ขึ้น ที่มุ่งเน้นทำธุรกิจข้ามชาติ มากกว่าขายของในเวียดนาม โดยเริ่มต้นจากไทย ไปมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จากนั้นก็จะขยายไปตะวันออกกลางและภูมิภาคอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา

เท่าที่ได้เคยพูดจา เจอกันตัวเป็นๆ บ้างในงานสัมมนาต่างๆ คนกลุ่มนี้อยู่ในวัย 20-30 กลางๆ (ร้อยละ 90 อายุน้อยกว่าดิฉันทั้งนั้น)...หน้าตาซื่อๆ แต่งตัวธรรมดา ขี่มอเตอร์ไซค์ แบกเป้ กันตามปกติ ไม่มีอะไรผิดสังเกต นอกจาก พกโทรศัพท์มือถือ อย่างน้อย 2 เครื่อง และไปเจอกันเกือบทุกงานสัมมนา ซึ่งงานสัมมนาบางรอบรับเฉพาะบริษัทที่มีงบโฆษณาเฟซบุ๊กเกินเดือนละ 500,000 บาท หรือบางสัมมนารับเฉพาะบริษัทที่มีรายได้เกินเดือนละ 10 ล้านบาทเท่านั้น ...และก็ยังมีผู้เข้าร่วมสัมมนาเป็นร้อยคน !!! 

ในงานสัมมนานอกจากการฝึกอบรมทั่วไป มักจะมี CEO หน้าละอ่อน ขึ้นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จอยู่เรื่อยๆ

ที่ฟังแล้วทึ่งก็มี และที่สะอึกก็มาก โดยเฉพาะเมื่อเขาพูดกันถึงการทำธุรกิจขายออนไลน์ในไทย!!! 

ดิฉันจึงอยากสรุปความนำมาเล่าตามประสาชาวบ้าน ที่เก็บความลับไม่อยู่ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านชาวไทยบ้าง

📍แนวทางขายของออนไลน์ในไทยจากเวียดนาม... 

1. เข้าหุ้นหรือหาตัวแทนจดทะเบียนบริษัทในไทย 
2. เช่าอาคารพาณิชย์เป็นคลังสินค้าและออฟฟิศ
3. จ้างพนักงานชาวไทยระดับเงินเดือนประมาณ 15000-20000 บาท เพื่อลดอัตราการลาออก หน้าที่หลักคือ ขายของออนไลน์ ตอบลูกค้า แพ็กของ ส่งของ ให้คำปรึกษาลูกค้า ฯลฯ
4. ส่งคนเวียดนามไปอบรมพนักงานไทย ที่ไทย
5. นำสินค้าเข้าจากจีน
6. ทำการตลาด โฆษณาต่างๆ ผ่านเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ ยูทูบ ติ๊กต๊อก ฯลฯ โดยตรงจากเวียดนาม
7. สื่อการตลาดต่างๆ เอาจากเวียดนามแล้วจ้างคนแปลหรือจ้างคนไทยทำ
8. สำหรับนักลงทุนใหม่ ช่วงเริ่มต้นยังไม่ต้องเอาสินค้าเข้าไป ทำโฆษณาไปก่อน มีออเดอร์แล้วค่อยส่งของ เพราะคนไทยรอออเดอร์ได้นาน ทำให้มีเวลา test ระบบได้ก่อนลงทุนจริง

📍การลงทุนและผลตอบแทน

- สินค้า (คุณภาพดี) สามารถขายได้ราคาสูงกว่าที่เวียดนามประมาณ 2-3 เท่า
- สามารถทำจำนวนออเดอร์ 2000-3000 ออเดอร์ต่อวัน ได้ภายใน 1 ปี (100 ออเดอร์ต่อวันภายใน 1-2 เดือน)
- ค่าโฆษณาร้อยละ 35
- ค่าสินค้าร้อยละ 20
- ค่าดำเนินการร้อยละ 10
- ค่าขนส่งร้อยละ 10
- เบ็ดเสร็จหากทำเป็น กำไรตั้งแต่เดือนแรก
- งบลงทุนขั้นต่ำ 4-5 ล้านบาท

📍ทำไมถึงเป็นประเทศไทย
- คนไทยชอบสินค้าตามกระแส ไฮเทค
- คนไทยชอบซื้อของ
- ยอดซื้อของต่อออเดอร์คนไทยสูงกว่าเวียดนาม
- ต้นทุนการตลาดถูกกว่าเวียดนามมาก
- คนไทยชอบของดีมีคุณภาพ
- คนไทยไม่รังเกียจของจีนเหมือนเวียดนาม
- คนไทยใจดี ซื่อสัตย์ ไว้ใจได้
- อัตราการคืนของต่ำมาก (3%) เวียดนาม 30%
- คนไทยรอของได้นาน 10-15 วันยังรอ (เวียดนามรอ 3-4 วันก็ยกเลิกออเดอร์แล้ว)
- การขนส่งมีประสิทธิภาพกว่าเวียดนาม
- กฎระเบียบในประเทศไทยไม่เข้มงวด

ศาลสั่งจำคุก 2 ปี เจ้าของเพจ 'ตาสว่าง' ปมบิดเบือนการเลี้ยงไก่ หมิ่นประมาทซีพี

10 ก.พ. 65 - สำนักยุทธศาสตร์ข้อมูลและการสื่อสาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ออกเอกสารข่าวระบุว่า ตามที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดย บมจ.ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสถิต โคกศรี สมาชิกเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อบัญชีผู้ใช้ว่า “ตาสว่าง” ในข้อหา “หมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา” ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 61 จากกรณีที่นายสถิต โคกศรี หมิ่นประมาทกล่าวใส่ร้ายบริษัทฯ กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน โดยการโฆษณาคลิปวิดีโอบันทึกภาพ บันทึกเสียง โดยบิดเบือนข้อมูลว่าซีพีได้ใช้อาหารและสารเคมีต้องห้ามตามกฎหมายในการเลี้ยงไก่อย่างไม่ถูกต้อง และเลี้ยงไก่โดยใช้ฮอร์โมนเข้าไปทำให้ไก่โตไวผิดปกติ และกล่าวหาว่าซีพีประกอบธุรกิจเกษตรพันธสัญญาอย่างไม่เป็นธรรม เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร โดยจากการสืบพยานของศาลอาญากรุงเทพใต้ พบว่าคำบิดเบือนของเพจตาสว่างไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งพบข้อเท็จจริงอีกว่า การใช้ฮอร์โมนในการเลี้ยงไก่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย และซีพีประกอบธุรกิจตามหลักกฎหมาย และตามหลักธรรมาภิบาลมาโดยตลอด รวมถึงได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรเป็นอย่างดี

ส.อ.ท. เผยความเชื่อมั่นอุตฯ เพิ่มต่อเนื่อง แต่ขอรัฐแก้ปัญหาค่าครองชีพ - ตรึงดีเซล 

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนม.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยอยู่ที่ระดับ 88.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.8 ในเดือนธ.ค. 64 โดยกลับมาอยู่ระดับใกล้เคียงก่อนวิกฤตโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกองค์ประกอบยกเว้นต้นทุนผู้ประกอบการ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่ขยายตัว 

ทั้งนี้ สะท้อนจากคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่รัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังดำเนินไปได้แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน แต่ไม่ได้ส่งผลรุนแรงในภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากมีการเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

'รองโฆษกรัฐบาล' เผย สิทธิ์ทัวร์เที่ยวไทย เหลือกว่า 168,000 สิทธิ์ ชวน นทท.เที่ยว-บริษัททัวร์ ร่วมโครงการ ด้าน “นายกฯ”ย้ำ เข้มงวดมาตรการคุมโรค

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่รัฐบาล ขยายระยะเวลาโครงการทัวร์เที่ยวไทย ไปสิ้นสุด ในเดือนพ.ค.นี้ ขณะนี้ระบบเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนซื้อรายการนำเที่ยว บริษัทนำเที่ยวรายเดิมเริ่มส่งรายการนำเที่ยว และบริษัทนำเที่ยวรายใหม่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้แล้ว จึงขอเชิญชวนประชาชนที่สนใจ และผู้ประกอบการนำเที่ยวเข้าร่วมโครงการ  

โดยประชาชนสามารถดำเนินการขอรับสิทธิตามโครงการผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตังค์ และสามารถตรวจสอบแพ็คเกจท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการได้ที่เว็บไซต์ www.ทัวร์เที่ยวไทย.ไทย ที่แบ่งกลุ่มให้เลือก 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม silver เป็นแพ็คเกจทัวร์ราคาถูก กลุ่ม Gold แพ็คเกจทัวร์ราคาปานกลาง และกลุ่ม Platinum แพ็คเกจทัวร์ราคาสูง ขณะที่ผู้ประกอบการนำเที่ยวรายเดิม สามารถยื่นรายการนำเที่ยว ส่วนผู้ประกอบการรายใหม่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและศึกษารายละเอียดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ตามโครงการได้ที่เว็บไซต์ www.ทัวร์เที่ยวไทย.ไทย โดยข้อมูลถึงวันที่ 9 ก.พ.นี้ เหลือสิทธิตามโครงการกว่า 168,000 สิทธิ จากที่รัฐบาลให้สิทธิ 2 แสนสิทธิ  

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับสิทธิตามโครงการนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนส่วนลดค่าแพ็คเกจท่องเที่ยวในประเทศให้ประชาชนผู้ร่วมโครงการ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่เกิน 5,000 บาทต่อสิทธิ ให้ 1 สิทธิต่อคน รวมทั้งหมด 2 แสนสิทธิ โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุ 18 ปีขึ้นไป และไม่สามารถใช้แพ็คเกจท่องเที่ยวของโครงการทัวร์เที่ยวไทยในช่วงเวลาเดียวกับการเข้าพักโรงแรม ที่พักของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 ได้

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้กำชับว่าเนื่องจากขณะยังคงมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงขอให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)เข้มงวดในเรื่องของการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางท่องเที่ยวภายใต้โครงการฯ และกำกับให้ผู้ประกอบการนำเที่ยวดูแลนักท่องเที่ยวตามมาตรการป้องกันโรคโดยเคร่งครัด โดย

กนง.คงดอกเบี้ย 0.50% ประเมินเศรษฐกิจไทยฟื้น

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง การระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนคาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขในวงจำกัด ความเสี่ยงด้านต่ำต่อเศรษฐกิจโดยรวมจึงลดลง แต่ยังต้องติดตามการระบาดในระยะต่อไป อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งขึ้นในช่วงแรกของปี 2565 จากราคาพลังงานและอาหารสดบางประเภท และมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น 

ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนรายได้และกำลังซื้อที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามราคาพลังงานโลกและสัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง 

ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ โดยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับมาตรการทางการเงินการคลังที่เน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ตลาดแรงงาน รวมถึงรายได้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนฟื้นตัวได้อย่างเข้มแข็ง 

เปิดความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนม.ค.2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยอยู่ที่ระดับ 88.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.8 ในเดือนธ.ค. 2564 โดยกลับมาอยู่ระดับใกล้เคียงก่อนวิกฤตโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2563 ซึ่งค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกองค์ประกอบยกเว้นต้นทุนผู้ประกอบการ เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศที่ขยายตัว 

ทั้งนี้ สะท้อนจากคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่รัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังดำเนินไปได้แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน แต่ไม่ได้ส่งผลรุนแรงในภาคอุตสาหกรรมเรื่องจากมีการเร่งฉีดวัคซีนให้กับแรงงานในภาคอุตสาหกรรม

RS หอบ 877.6 ล้านบาท ปิดดีลกลุ่มยูนิลีเวอร์ ซื้อหน่วยธุรกิจขายตรง คาดแล้วเสร็จพ.ค. 65

บมจ.อาร์เอส (RS) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 64 มีมติอนุมัติให้บริษัท ย๊าค จำกัด (YAAK) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย รับโอนกิจการบางส่วนของบริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย เทรดดิ้ง จำกัด (UTT) โดยรับโอนหน่วยธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางภายใต้แบรนด์ Aviance แบรนด์ Beyonde และแบรนด์ I-Fresh ที่ดำเนินการภายใต้ชื่อทางการค้า “Unilever Life” หรือ “ULife” โดยเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 65 บริษัทได้บรรลุข้อตกลงและเข้าลงนามในสัญญาซื้อขายกิจการกับ UTT มูลค่า 877.6 ล้านบาท คาดว่าจะเข้าทำรายการแล้วเสร็จในเดือน พ.ค. 65

ทั้งนี้ กิจการ ULife เป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งของ UTT ที่ดำเนินกิจการขายตรงและตลาดแบบตรงสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางภายโดยจัดจำหน่ายผ่านช่องทางทั้งออนไลน์ (เช่น Official Website Lazada และ Shopee) ออฟไลน์ (เช่น ร้านค้าประเภท Direct Shop และ Authorised Shop และผู้แทนจำหน่ายอิสระ (Business Partners))

RS เล็งเห็นว่าการเข้าซื้อกิจการ ULife สอดคล้องกับกลยุทธ์ “Lifestyle Wellbeing Solution” ซึ่งมีเป้าหมายคือการเป็นคำตอบในเรื่องสุขภาพให้กับผู้บริโภค เนื่องจากเป็นการเพิ่มศักยภาพและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของบริษัทฯ

ทั้งนี้ในปัจจุบัน ธุรกิจคอมเมิร์ซ มุ่งเสนอขายสินค้าที่เสริมสร้างการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ลูกค้า ผ่านแพลตฟอร์มและช่องทางการขายต่างๆ ทั้งนี้การเข้าซื้อกิจการ ULife ซึ่งมีจุดแข็งในการประกอบธุรกิจขายตรงชั้นนำ ด้วยจำนวนสมาชิกภายใต้เครือข่ายธุรกิจกว่า 150,000 ราย ร้านค้าหลายสาขารวมถึงช่องทางออนไลน์ต่างๆ และมีผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางที่โดดเด่นภายใต้แบรนด์ Aviance แบรนด์ Beyonde และแบรนด์ I-Fresh ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภค จะทำให้บริษัทฯ มีสินค้าและช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้แล้วยังช่วยทำให้เข้าถึงลูกค้าในวงกว้างมากขึ้นด้วย

'พาณิชย์' ยัน! ภาพรวมราคาสินค้ายังทรงตัว

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังประชุมคณะทำงานกำกับติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าว่า ภาพรวมราคาสินค้าส่วนใหญ่ทรงตัวเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะเนื้อหมู ปรับลดลงชัดเจน ราคาหมูเนื้อแดง เฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่กิโลกรัมละ 175 บาท และในห้างต่างๆ เหลือเพียงกิโลกรัมละ 164-170 บาท จากสัปดาห์ที่แล้วเฉลี่ยถึงกิโลกรัมละ 187 บาท เพราะผู้บริโภคเปลี่ยนไปบริโภคเนื้อไก่แทน ขณะที่เนื้อไก่ ยังอยู่ในการกำกับดูแล ราคาน่องติดสะโพก มาห้างเฉลี่ยกิโลกรัมละ 65 บาท ส่วนในตลาดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70-75 บาท

ส่วนราคาผักแตกต่างกันไปแต่ละจังหวัด เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกเฉพาะพื้นที่ ทำให้บางพื้นที่ต้องมีต้นทุนขนส่ง แต่คาดว่าจะไม่ปรับสูงขึ้นไปกว่านี้แล้ว เช่นเดียวกับราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เริ่มเห็นมีการปรับลดลงเล็กน้อย ในห้างค้าปลีก เหลือขวดละ 61-62 บาท ร้านสะดวกซื้อ ขวดละ 64-65 บาท โดยราคาน่าจะทรงตัวไปอีกประมาณ 2 สัปดาห์ จากสตอกเก่า ก่อนจะทยอยปรับลดลง เพราะผลปาล์มเริ่มออกสู่ตลาด จะมีการเก็บเกี่ยวมากขึ้นในเดือนมีนาคม ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มน่าจะลดลงชัดเจนในเดือนมีนาคมนี้ รวมไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ราคายังทรงตัว โดยภาคใต้จะสูงกว่าภาคอื่นเล็กน้อยจากการขนส่งที่ไกลกว่า

นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์มีชุดสายตรวจเฉพาะกิจในส่วนกลาง และมีทีมพาณิชย์จังหวัดออกตรวจสอบทั่วประเทศ เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า และกำกับดูแลให้ปิดป้ายแสดงราคาให้ชัดเจน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคตัดสินใจก่อนซื้อ ส่วนความคืบหน้าการตรวจสอบห้องเย็นสินค้าปศุสัตว์ ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หรือ กกร. ที่ให้ห้องเย็นรายใหญ่ ที่มีสตอกเกิน 5,000 กิโลกรัม ให้แจ้งปริมาณ และราคาจำหน่ายทุกสัปดาห์นั้น กระทรวงพาณิชย์ ได้ตรวจสอบห้องเย็นทั้งหมด ไม่เฉพาะรายใหญ่เท่านั้นตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น จำนวนทั้งหมด 616 ราย พบปริมาณเนื้อหมูในสตอก รวมกันกว่า 19 ล้าน 5 แสนกิโลกรัม 


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top