Thursday, 15 May 2025
ECONBIZ NEWS

‘เฉลิมชัย’ ปูพรมเกษตรกรรมยั่งยืน 1.7 ล้านไร่ เดินหน้าดันฟาร์มเกษตรอินทรีย์ทุกตำบล

“เฉลิมชัย” โชว์ผลงานเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) ปี 64 กว่า 1.7 ล้านไร่ เร่งเครื่องวางหมุดหมายฟาร์มเกษตรอินทรีย์ทุกตำบล ดึง “พอช.” ลุยชุมชนสีเขียวพร้อม ผนึก “ศธ.” ปั้นกรีนสกูล

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (18พ.ย.) ว่าดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบ ZOOM โดยมีนายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมหม่อนไหม, นายสถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน, นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ, นายปริญญา พรศิริชัยวัฒนา ประธานชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย, ตัวแทนหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ตัวแทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์), เครือข่ายของมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย, ตัวแทนภาคเกษตรกร ร่วมในการประชุม

นายอลงกรณ์กล่าวว่า จากความร่วมมือของทุกภาคีภาคส่วน ทำให้การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในปีนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากจากรายงานการดำเนินงานของหลายหน่วยงานสามารถขยายพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนประจำปีงบประมาณ 2564 ได้กว่า 1,766,269.15 ไร่ ทั้งในรูปแบบของเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์

นอกจากนี้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล (Tambom Sustainable Agriculture Development Project : TAP) ซึ่งมีเป้าหมาย 7,255 ตำบล ทั่วประเทศ โดยจะเน้นส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งในทุกตำบล และเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืนกินได้ อยู่ได้ และอยู่ดี ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน เพื่อชุมชน” ใน 21 แนวทางได้แก่ 

(1) 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ 
(2) 1 ตำบล 1 ร้านค้าเกษตรตำบล
(3) 1 ตำบล 1 แปลงเกษตรอินทรีย์ 
(4) 1 ตำบล 1 Product Champion 
(5) 1 ตำบล 1 วนเกษตร 
(6) 1 ตำบล 1 กลุ่ม Young Smart 
(7) 1 ตำบล 1 เกษตรธรรมชาติ 
(8) 1 ตำบล 1 แปลงสมุนไพร 
(9) 1 ตำบล 1 เกษตรผสมผสาน 
(10) 1 ตำบล 1 กลุ่มปศุสัตว์ 
(11) 1 ตำบล 1 เครือข่ายศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 
(12) 1 ตำบล 1 กลุ่มประมง 
(13) 1 ตำบล 1 องค์กรกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร 
(14) 1 ตำบล 1 ท่องเที่ยวเกษตร 
(15) 1 ตำบล 1 โครงการชลประทานชุมชน 
(16) 1 ตำบล 1 เครือข่าย ศพก. 
(17) 1 ตำบล 1 ธนาคารต้นไม้ (ผลิตและจำหน่ายต้นกล้า) 
(18) 1 ตำบล 1 วิสาหกิจชุมชน 
(19) 1 ตำบล 1 กลุ่มเครื่องจักรกลเกษตร 
(20) 1 ตำบล 1 ตลาดออนไลน์ 
(21) 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรพลังงาน 

ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของโครงการ ก่อนนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อการขับเคลื่อนต่อไป 

‘สุริยะ’ แนะปล่อยโคมลอยได้มาตรฐาน ลดความเสี่ยงเกิดเพลิงไหม้ - ไฟฟ้าลัดวงจร

กระทรวงอุตสาหกรรม ห่วงใยและเตือนประชาชนในช่วงเทศกาลลอยกระทง ปล่อยโคมลอย ที่ได้มาตรฐาน มผช. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และไฟฟ้าลัดวงจร

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การปล่อยโคมลอย ควรยึดถือปฏิบัติตามประกาศมาตรการป้องกันและการรักษาความปลอดภัยของส่วนราชการในพื้นที่อย่างเคร่งครัด โดยจะควบคุมการปล่อยโคมลอยในพื้นที่เฝ้าระวัง โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้สนามบิน เพื่อไม่ให้โคมลอยเข้าไปติดในเครื่องบิน หรือลอยเข้าไปตกตามชุมชน ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมห่วงใยชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ไม่อยากให้เกิดความเสียหายในเทศกาลแห่งความสุขนี้ 

จึงให้ความสำคัญกับการคุ้มครองประชาชนให้ปลอดภัยจากการใช้สินค้า โดยกำหนดเป็นมาตรการสำคัญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เป็นอีกหนึ่งภารกิจสำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้ขานรับนโยบายรัฐบาล โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดำเนินการ พัฒนา และส่งเสริมศักยภาพของผู้ผลิตชุมชนมาตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน ให้สามารถผลิตสินค้าเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ผู้ผลิตชุมชนสามารถปฏิบัติตามได้ง่ายไม่ซับซ้อน ช่วยให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพ ปลอดภัย และได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้บริโภค 

นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน และประกาศใช้แล้วจำนวน 1,355 มาตรฐาน รวมทั้งให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนแก่ผู้ผลิตชุมชนแล้วจำนวน 18,270 ราย เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ นำไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนได้อย่างยั่งยืน “โคมลอย” เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น มีการผลิตโดยใช้    ภูมิปัญญาชาวบ้าน และนิยมปล่อยกันในช่วงเทศกาลลอยกระทง เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมทางภาคเหนือของไทย 

'นายกฯ' หารือ หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (AMCHAM) ตัวแทนภาคเอกชนขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญ ย้ำความพร้อมในการสนับสนุนร่วมมือนายกฯ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย 

ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ประธานหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย (American Chamber of Commerce in Thailand: AMCHAM) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและนักธุรกิจบริษัทสมาชิก เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้  
 
นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับ พร้อมขอบคุณ AMCHAM และภาคเอกชนสหรัฐฯ ที่เป็นพันธมิตรสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของไทยเสมอมา โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 นายกรัฐมนตรียืนยัน รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการหารือร่วมกับภาคเอกชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย นำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 ในรูปแบบ Next Normal และการส่งเสริมความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ทั่วถึง และยั่งยืน ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ การค้า และการลงทุน พร้อมขอให้ภาคเอกชนสหรัฐฯ ร่วมมือกับรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศไทยต่อไป 

นาย Gregory Wong ประธาน AMCHAM กล่าวว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมการหารือครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกและนับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ได้พบปะกับหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งมีตัวแทนสมาชิกที่ให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้กว่า 400 คน โอกาสนี้ ประธาน AMCHAM เน้นย้ำว่า ภาคเอกชนสหรัฐฯ เชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และพร้อมที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลก พร้อมทั้งชื่นชมรัฐบาลไทยที่ได้รับคะแนนดีเยี่ยมจากภาคธุรกิจสหรัฐฯ ในเรื่องของการเปิดกว้างและการปรับตัว การประชุมในวันนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเปิดรับและยินดีรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคธุรกิจ นอกจากนี้ ประธาน AMCHAM แสดงความประทับใจต่อแผนการดำเนินนโยบายของรัฐบาล และพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอย่างเต็มที่ในทุกประเด็น รวมถึงพร้อมสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพ APEC ของไทย โดยขอให้ไทยมอง AMCHAM เป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ซึ่งพร้อมสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพของไทยอย่างดีเยี่ยม
 
โอกาสนี้ ตัวแทนจากบริษัท 3 ประเภทหลัก ได้แก่ บริษัทข้ามชาติ บริษัทสัญชาติไทยขนาดใหญ่ และธุรกิจขนาดกลาง-ขนาดย่อม ได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ลดอุปสรรคในการลงทุน โดยภาคเอกชนสหรัฐฯ พร้อมให้การสนับสนุนและกระชับความร่วมมือกับรัฐบาลไทยเพื่อร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปด้วยกัน ทั้งนี้ตัวแทนจากบริษัทฯ ประทับใจนโยบายสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของรัฐบาลไทย 

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงแนวนโยบายของไทย โดยกล่าวถึงสถานการณ์โควิด - 19 ในประเทศว่ามีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากความสำเร็จในการเร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชาชน นอกจากนี้ ไทยยังเป็นฐานการผลิตวัคซีน AstraZeneca ซึ่งช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านวัคซีนให้แก่ไทยและภูมิภาค ซึ่งไทยพร้อมสานต่อความร่วมมือกับภาคเอกชนสหรัฐฯ ด้านการวิจัย พัฒนา ผลิต และกระจายวัคซีนที่มีคุณภาพและปลอดภัย ทั้งนี้ ไทยได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทาง และมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นก้าวแรกในการเปิดประเทศอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยให้มีความสมดุลระหว่างการป้องกันโรคกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามนโยบาย Smart Control and Living with COVID-19 รวมถึงมีการเยียวยาเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง  
 
โดยรัฐบาลให้ความสําคัญกับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืน และช่วยเสริมสร้างการดําเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG (Environmental, Social, and Governance) นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญการพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ของไทยในการยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่และเกิดผลเป็นรูปธรรม ที่เมืองกลาสโกว ตลอดจน ไทยส่งเสริมการพัฒนาและสนับสนุนการขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านนโยบายพลังงาน 4D1E และมุ่งพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (electric vehicles: EV) ผ่านนโยบาย 30@30 ซึ่งไทยพร้อมสนับสนุนการลงทุนจากภาคเอกชนสหรัฐฯ ทั้งในด้านการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน อุตสาหกรรม EV และชิ้นส่วนระบบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงยินดีร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างห่วงโซ่ อุปทานที่ยืดหยุ่น หลากหลาย และมั่นคงในภูมิภาค โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนในเขต EEC ซึ่งภาคเอกชนสามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของไทยเชื่อมโยงไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาคตามนโยบาย Thailand+1 
 
นอกจากนี้ รัฐบาลยังส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจในอนาคตและขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ตามกรอบ Digital Thailand และนโยบาย Thailand 4.0 โดยมีโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว เช่น การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม การส่งเสริม e-commerce การส่งเสริมการลงทุนด้านดิจิทัล การส่งเสริมธุรกิจ digital startup การบริหารการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ และการพัฒนากฎหมาย เพื่อรองรับการดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนสหรัฐฯ พิจารณาเพิ่มพูนการลงทุนและยกระดับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะในเขตนวัตกรรม EECd  
 
อย่างไรก็ดี รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเชิงรุกเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ โดยมีความคืบหน้าสำคัญ ดังนี้ 1. การทบทวนและปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน 2. การพัฒนาการให้บริการของภาครัฐโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 3. การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเข้าถึงและขยายช่องทางการตลาดทั้งในและนอกประเทศ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการขับเคลื่อนงานบริการของภาครัฐแก่ประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) 12 ประการ และมาตรการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ผ่านการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทยในลักษณะผู้พำนักระยะยาว 
 

'โฆษกรัฐบาล' เผย การขนส่งสินค้าท่าเรือกลับมาคึกคักยอดการส่งออกไทย 9 เดือนแรกขยายตัว 15.5 % เป็นไปตามข้อสั่งการ ”นายก”

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานของในรอบปีงบประมาณ 2564  (ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) มีเรือเทียบท่าที่ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือแหลมฉบัง รวม 13,840 เที่ยว เพิ่มขึ้น 1.9% สินค้าผ่านท่า 111.630 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6.9% และตู้สินค้าผ่านท่า 9.857 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 8.6% รวมรายได้ 15,613 ล้านบาท กำไรสุทธิ  6,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.99% ซึ่งการเติบโตของตู้สินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น มาจากการที่ไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้นต่อเนื่อง

อีกส่วนหนึ่งมาจากข้อสั่งการของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่สั่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าในภาคธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลทันที ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านโดยรัฐบาลมีการมาตรการต่างๆ  อาทิ กรมเจ้าท่าออกประกาศให้เรือที่มีความยาวมากกว่า 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตรเข้าเทียบท่า ปรับลดภาระตู้สินค้าเปล่าขาเข้าผ่านท่าเรือกรุงเทพ  ชดเชยค่ายกตู้ขนส่งสินค้าให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ท่าเรือแหลมฉบับ เป็นต้น ช่วยบรรเทาการขาดแคลนตู้สินค้า สนับสนุนให้ค่าระวางเรือขนส่งจากไทยลดลง ส่งผลให้บริการสินค้าและตู้สินค้าผ่านท่าสูงขึ้นด้วย

นายธนกร กล่าวว่า ที้งนี้ ผลการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกับปีที่ผ่านมา ดังนี้ 
1) ท่าเรือกรุงเทพ เรือเทียบท่า 4,170 เที่ยว เพิ่มขึ้น 9.1%  ตู้สินค้าผ่านท่า 1.438 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 0.2%
2) ท่าเรือแหลมฉบัง เรือเทียบท่า ลดลง 1.0%   ตู้สินค้าผ่านท่า 8.419 ล้าน ที.อี.ยู. เพิ่มขึ้น 10.2%
 3) ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน เรือเทียบท่า 2,231 เที่ยว ลดลง 10.5% ตู้สินค้าผ่านท่า 5,064 ที.อี.ยู. ลดลง 32.3%
4) ท่าเรือเชียงของ เรือเทียบท่า ลดลง 96.6% สินค้าผ่านท่า ลดลง 98.9%
 5) ท่าเรือระนอง เรือเทียบท่า เพิ่มขึ้น 15.9% ตู้สินค้าผ่านท่า เพิ่มขึ้น 53.0%
โดยในปีงบประมาณ 2565  นี้ ยังประมาณการตู้สินค้าผ่านท่าที่ท่าเรือกรุงเทพ 1.43 ล้าน ที.อี.ยู. และท่าเรือแหลมฉบัง 8.243 ล้าน ที.อี.ยู. ด้วย 

 

ไฟเขียว! กรอบวงเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ปี 65 จำนวน 4,700 ล้านบาท

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดคัดเลือกสหกรณ์ที่ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ให้เข้าไปแนะนำ ส่งเสริมการดำเนินงาน เพื่อให้สหกรณ์ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าไปมีส่วนร่วมกับฝ่ายจัดการของสหกรณ์กับคณะกรรมการของสหกรณ์ ในการที่จะดูแลส่งเสริมให้ความรู้ทั้งด้านการบริหารจัดการ การบริหารสินเชื่อ การรวบรวมผลผลิต การแปรรูป รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก ส่งเสริมให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ให้มากขึ้นด้วย 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กรมฯได้จัดสรรเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้สหกรณ์นำไปเป็นทุนในการดำเนินธุรกิจ และช่วยเหลือด้านการประกอบอาชีพให้กับสมาชิก จุดประสงค์หลักของกองทุนคือการเสริมสร้างสหกรณ์ในประเทศไทยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ที่ผ่านมามีสหกรณ์หลายแห่งที่นำเงินกู้ กพส.ไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ สามารถพัฒนาธุรกิจสหกรณ์จนเติบโตก้าวหน้า สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงและทำให้สมาชิกสหกรณ์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งกองทุนพัฒนาสหกรณ์ หรือ กพส. เกิดจากพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 ใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ทุกประเภท ปัจจุบัน กพส. มีทุนดำเนินงานกว่า 6,400 ล้านบาท 

กพร. เปิดตัว ‘แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออน’ ต้นแบบครั้งแรกของไทย เล็งต่อยอดป้อนอุตฯ EV

กพร. เปิดตัวแบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออนต้นแบบครั้งแรกของไทย หนุนห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีส่งมอบแบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออนต้นแบบว่า กพร. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านวัตถุดิบเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ เนื่องจากเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักคือ อุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคต 

ด้วยปัจจุบันทั่วโลกหันมาให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนมาเป็นยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น และประเทศไทยก็ได้กำหนดนโยบาย 30@30 เพื่อก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก มีเป้าหมายในการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด (Zero Emission Vehicle : ZEV) อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 โดยอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ แบตเตอรี่ คิดเป็นต้นทุนหลักประมาณ 40% ของรถยนต์ไฟฟ้า และมีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของยานยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด 

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และปัญหาด้านวัตถุดิบที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกโดยใช้วัตถุดิบชนิดอื่น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า มีวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลหะลิเทียมและมีศักยภาพนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) และโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการทำขั้วไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์ได้ อีกทั้งในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ในต่างประเทศเริ่มมีการผลิตเซลล์ต้นแบบ ทำให้แบตเตอรี่ชนิดนี้มีศักยภาพที่จะถูกพัฒนามาเป็นแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าได้ 

‘บิ๊กตู่’ ยอมรับ ‘กองทุนน้ำมัน’ ติดลบ เตรียมกู้ 2 หมื่นล้าน ตรึงราคาดีเซลอีก 4 เดือน

“บิ๊กตู่” ยอมรับกองทุนน้ำมันติดลบ ครม. อนุมัติขอเงินกู้อีก 2 หมื่นล้าน คาดสำรองจ่ายได้อีก 4 เดือน “วอน” รถบรรทุกอย่ากดดัน เตรียมรถ “บขส.-รถทหาร” ขนสินค้าแทนรถบรรทุกประท้วงราคาดีเซลแพง

เมื่อเวลา 13.15 น. ที่โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กอล์ฟ แอนด์ สปา รีสอร์ท จังหวัดกระบี่  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรนอกสถานที่ ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา หลังกลุ่มสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ทำกิจกรรมคาร์ม็อบ เคลื่อนขบวนรถบรรทุกในถนน 4 สายหลัก และมาชุมนุมบริเวณหน้ากระทรวงพลังงาน ว่า ยืนยันแล้วว่าเราต้องรักษาให้ได้ในราคา 30 บาทต่อลิตรก่อน และถ้าราคาน้ำมันมีการปรับลดลงทุกอย่างก็จะดีขึ้น เพราะขนาดตรึงแค่ราคา 30 บาท ก็ใช้เงินอุดหนุนไปประมาณเดือนละ 3,000 ล้านบาทลงไป  

ในส่วนของกองทุนน้ำมันนั้นอยู่ในสภาพที่ติดลบแล้ว และวันเดียวกันนี้ ครม. ได้มีการอนุมัติ เงินกู้ไปเพื่อนำงบประมาณมาใช้จ่ายสำรองไว้ในช่วง 4 เดือนข้างหน้า ซึ่งถ้าราคาน้ำมันลดลงก็ไม่มีปัญหาทุกอย่างก็จะกลับคืนเข้าสู่สภาวะปกติ ราคาน้ำมันก็จะลดลงมาเอง 

ผู้สื่อข่าวถามว่าแต่มีความพยายามกดดันด้วยการนำรถบรรทุกเคลื่อนไหวบนถนนสายหลัก และมาชุมนุมที่บริเวณหน้ากระทรวงพลังงานจะแก้ปัญหาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เท่าที่ได้รับรายงานก็เป็นความเคลื่อนไหวของสมาคมรถบรรทุก ซึ่งในประเทศไทยก็มีหลายสมาคมยอมรับว่ามีคนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลก็ต้องดูแลทุกคนซึ่งรัฐบาลก็จำเป็นต้องดูให้ละเอียดถี่ถ้วน 

‘สุริยะ’ ยกทัพลงกระบี่ ชี้ช่องเพิ่มมูลค่า SMEs พร้อมฟังข้อเสนอกลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการในจังหวัดกระบี่ ร่วมหารือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ พร้อมสนับสนุนข้อเสนอของกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง, พังงา, ระนอง และสตูล) เร่งยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพด้านกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 พร้อมขยายช่องทางการตลาดออนไลน์ ตั้งเป้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการและร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 ณ จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เพื่อพบปะและรับฟังปัญหาข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการในพื้นที่ และนำไปขับเคลื่อนเศรษฐกิจในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง พังงา, ระนอง และสตูล) โดยจุดแรกได้เดินทางไปยังบริษัท วู้ดเวอร์ค จำกัด ประกอบกิจการแปรรูปไม้ยางพาราและไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ 13 ชนิด (ตามมติ ครม.) อาทิ ยูคาลิปตัส, กระถินณรงค์, กระถินเทพา, มะพร้าว, มะขาม, ไม้จามจุรี ฯลฯ  

โดยการอัดน้ำยาอบแห้ง เพื่อทำลังไม้ และไม้รองสินค้าเพื่อจำหน่าย มูลค่าการลงทุนกว่า 390 ล้านบาท กำลังการผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปกว่า 11 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี มูลค่าการส่งออกกว่า 200 ล้านบาท/ปี โดยเป็นการส่งออก 90% ใช้ในประเทศ 10% ส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศจีน

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรมในหลายด้าน เช่น โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายอุตสาหกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน โดยทางบริษัทได้ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมช่วยส่งเสริมและสนับสนุนในการยกระดับบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการมาตรการ Bubble and seal ด้วยการแยกพนักงานออกเป็นกลุ่มย่อยและไม่ให้ทำงานเข้ากลุ่มกัน รวมถึงจำกัดพื้นที่ หรือการเดินทางภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งโรงงานจะจัดเตรียมที่พักสำหรับพนักงาน ขณะที่พนักงานที่ติดเชื้อจะถูกแยกไปตามพื้นที่ที่จัดสรรตามระดับอาการป่วยเพื่อรับการรักษาต่อไป

‘ชัยวุฒิ’ ชี้ MOU ป้องโกง จุดเปลี่ยนซื้อขายออนไลน์ ยกระดับมาตรฐาน ทำลายล้างสินค้าไม่ตรงปก

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในการเป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์ว่า…

ตนมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์ระหว่างองค์กรผู้บริโภค หน่วยงานส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการตลาดออนไลน์ และหน่วยงานรัฐที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค

ในวันนี้ กระทรวงดิจิทัลและเศรษฐกิจเพื่อสังคม มีพันธกิจที่จะเสนอแผนและนโยบายระดับชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย โดยหนึ่งในหน่วยงานสังกัดของเรา คือ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. (Electronic Transactions Development Agency : ETDA) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ มีภารกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างเท่าทันกับสถานการณ์โลก โดย ETDA จะมีภารกิจหลัก 3 ด้าน คือ... 

1.) กำกับดูแลธุรกิจบริการดิจิทัลเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสังคมดิจิทัล 

2.) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 

และ 3.) ร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อผลักดันการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างบูรณาการและเชื่อมโยง

‘กรณ์’ จี้!! ครม.สัญจร ช่วยด่วน 'ท่องเที่ยว' ภูเก็ต ยก 3 ข้อควรทำ ก่อนภาคธุรกิจหมดลมหายใจ

‘กรณ์’ กร้าว!! ขอเป็นกระบอกเสียงคนภูเก็ต ยก 3 ข้อเรียกร้อง จี้!! ครม.สัญจร เร่งแก้ปัญหาตอบโจทย์ 'เศรษฐกิจท่องเที่ยว' ไม่ปล่อย ‘เฮือกสุดท้าย’ ผู้ประกอบการภูเก็ตสูญเปล่า 

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า กล่าวว่า ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า…

ตนได้ใช้ชีวิตในภูเก็ต สิ่งที่น่าดีใจคือนักท่องเที่ยวเยอะขึ้น ป่าตองเริ่มคึกคัก และจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการชาวภูเก็ตหลายกลุ่มและหลายวงสนทนา เราเห็นตรงกันว่าภูเก็ต คือ เมืองแห่งศักยภาพของประเทศไทยที่จะเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกได้สบาย ๆ ซึ่งหมายความว่าคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของคนภูเก็ต รวมถึงรายได้เข้าประเทศโดยรวม ดีกว่านี้ได้อีกมาก 

เวลานี้หลายปัญหาของภูเก็ตรอการแก้ไข และส่วนใหญ่อุปสรรคมาจากระบบราชการที่ช้าและไม่ยืดหยุ่นตามบริบทที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ 

นายกรณ์ กล่าวว่า ภูเก็ตน่าจะเป็นเมืองที่รวบรวมจำนวนคนที่รอบรู้และเข้าใจอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไว้มากที่สุดในโลก และไม่มีใครหวังดีต่ออนาคตคนภูเก็ตมากเท่าคนภูเก็ต ดังนั้นเมื่อคนที่รู้ บวกกับคนที่ใส่ใจเป็นคนภูเก็ต แล้วทำไมการกำหนดยุทธศาสตร์และการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับภูเก็ตยังอยู่ที่อำนาจส่วนกลางที่กรุงเทพ 

ดังนั้นเมื่ออำนาจยังรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพ การประชุม ครม. สัญจร วันที่ 15-16 พฤศจิกายน จึงยังมีความสำคัญต่ออนาคตภูเก็ต มีหลายเรื่องที่ตนขอเป็นกระบอกเสียงแทนคนภูเก็ตไปถึงรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้มีการทบทวนและรีบตัดสินใจ เพื่อช่วยให้ “เฮือกสุดท้าย” ของผู้ประกอบการในภูเก็ตไม่สูญเปล่า 

โดยหัวหน้าพรรคกล้า ได้ยก 3 ข้อเรียกร้องที่ฝากไปถึงรัฐบาล ได้แก่…

1.) ปัญหาใบอนุญาตโรงแรม ที่กำลังทำให้ธุรกิจที่พักขนาดเล็กหมดแรงและกำลังจะตายไป ตอนนี้ในเว็บไซต์การจองโรงแรมมีโรงแรมในภูเก็ตเปิดขายห้องพักมากกว่า 1 หมื่นแห่ง แต่ที่มีใบอนุญาตถูกต้องนั้นไม่ถึง 800 แห่ง ทั้ง ๆ ที่โรงแรมขนาดเล็ก คือ ท่อลำเลียงทำให้เม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวกระจายเงินออกไปในวงกว้าง เพราะนักท่องเที่ยวที่พักในโรงแรมเล็ก ๆ คือ กลุ่มที่ออกมาขึ้นรถโดยสาร เรียกแท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก กินข้าวตามร้านอาหาร ซื้อทัวร์ ใช้บริการนวดและสปา หลายธุรกิจจะมีโอกาสสร้างรายได้และไปต่อ รัฐบาลควรเร่งออกมาตรการให้โรงแรมขนาดเล็กสามารถเปิดได้อย่างถูกกฎหมาย เพื่อทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมที่เป็นหัวใจของการสร้างรายได้จากท่องเที่ยว มีโอกาสการสร้างรายได้ และให้โอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนในการฟื้นฟูธุรกิจอีกด้วย


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top