Sunday, 5 May 2024
COLUMNIST

Helsinki Is The World's Most Honest City เมืองที่ได้ชื่อว่า ‘ผู้คนซื่อสัตย์ที่สุด (และน้อยที่สุด) ในโลก’

เมืองที่ได้ชื่อว่า ผู้คนซื่อสัตย์ที่สุด (และน้อยที่สุด) ในโลก’ : ทดสอบด้วยการทำกระเป๋าเงิน หล่น” โดยนิตยสาร Reader's Digest ซึ่งได้ทำการทดลองทางสังคมทั่วโลกเพื่อหาคำตอบ

นิตยสาร Reader's Digest ได้ทำการทดลองด้วยการทำกระเป๋าเงิน หล่น” ในเมืองต่างๆ ทั่วโลก โดยในกระเป๋าแต่ละใบจะใส่ ชื่อพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ รูปถ่ายครอบครัว คูปองและนามบัตร รวมถึงเงินจำนวน US $50 จากนั้นก็ได้ทำกระเป๋าเงิน 12 ใบ หล่น” ในแต่ละเมืองจาก 16 เมืองที่เลือกไว้ โดยทำหล่นไว้ใน สวนสาธารณะ ใกล้ห้างสรรพสินค้า และบนทางเท้า จากนั้นก็เฝ้าดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ซื่อสัตย์ที่สุด : Helsinki, Finland ได้รับกระเป๋าเงินคืน : 11 จาก 12 ใบ เริ่มจาก Lasse Luomakoski นักธุรกิจหนุ่ม วัย 27 ปี พบกระเป๋าเงินในตัวเมือง ชาวฟินแลนด์มีความซื่อสัตย์โดยธรรมชาติ” เขากล่าว เราเป็นชุมชนเล็กๆ ที่เงียบสงบ และมีความผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น การคอร์รัปชันของเราเล็กน้อยมาก และเราแทบจะไม่เคยติดไฟแดงด้วยซ้ำ” ในย่านชนชั้นแรงงานของ Kallio สามีภรรยาคู่หนึ่งในวัยหกสิบเศษกล่าวว่า แน่นอนว่าเราคืนกระเป๋าเงินไปแล้ว ความซื่อสัตย์คือความเชื่อมั่นที่อยู่ภายใน”

Mumbai, Indiaได้รับคืนกระเป๋าเงิน : 9 จาก 12 ใบ Rahul Rai บรรณาธิการวัย 27 ปีกล่าวว่า “ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของผมจะไม่ปล่อยให้ผมทำอะไรผิดพลาด กระเป๋าเงินเป็นเรื่องใหญ่ที่มีเอกสารสำคัญมากมาย [อยู่ในนั้น]”

Vaishali Mhaskar แม่ลูกสองคืนกระเป๋าเงินที่ทิ้งไว้ในที่ทำการไปรษณีย์ ฉันสอนลูกๆ ให้ซื่อสัตย์เหมือนที่พ่อแม่สอนฉัน” เธอกล่าว ต่อมาในวันนั้นผู้ใหญ่สามคนพบกระเป๋าเงิน และโทรตามหาทันที

Budapest, Hungary จำนวนกระเป๋าเงินที่ถูกส่งคืน : 8 จาก 12 ใบ Regina Györfi วัย 17 ปีโทรหาหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่อยู่ในกระเป๋าเงินใบหนึ่งทันทีที่พบในห้างสรรพสินค้า ฉันจำได้ว่าอยู่ในรถเมื่อพ่อของฉันสังเกตเห็นกระเป๋าเงินตกอยู่ข้างถนน” เธอกล่าว เมื่อเราไปถึงเจ้าของเขารู้สึกขอบคุณมาก : หากไม่มีเอกสารในกระเป๋าเงิน เขาจะต้องเลื่อนงานแต่งงานออกไป ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันเดียวกัน!” อย่างไรก็ตามผู้หญิงในวัยหกสิบต้น ๆ ของเธอคนหนึ่งเก็บกระเป๋าเงินใบหนึ่งที่ทำ หล่น” เธอเปิดกระเป๋าเงินจากนั้นก็เข้าไปในอาคารใกล้เคียง และไม่ได้ข่าวจากเธออีกเลย

Moscow, Russia จำนวนการส่งคืนกระเป๋าเงิน : 7 จาก 12 ใบ ใกล้สวนสัตว์ใจกลางเมือง Eduard Anitpin เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินยื่นกระเป๋าเงินที่หายไปให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผมเป็นเจ้าหน้าที่ และผมผูกพันกับจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่” เขากล่าว พ่อแม่ของผมเลี้ยงดูผมอย่างซื่อสัตย์และดีงาม” ต่อมาผู้ทำความดีอีกคนหนึ่งกล่าวว่า เชื่อมั่นว่า ผู้คนควรช่วยเหลือซึ่งกันและกันและถ้าสามารถทำให้ใครบางคนมีความสุขมากขึ้นได้ก็จะทำ”New York City, U.S.A.จำนวนกระเป๋าเงินที่ถูกส่งคืน : 8 จาก 12 Richard Hamilton พนักงานของรัฐวัย 36 ปี จาก Brooklyn พบกระเป๋าเงินใกล้ศาลากลางและนำกลับมาคืน ทุกคนบอกว่า ชาวนิวยอร์กไม่เป็นมิตร แต่พวกเขาก็เป็นคนดีจริงๆ” เขากล่าว “ผมคิดว่า คุณคงต้องประหลาดใจมากที่เห็นว่า จะมีชาวนิวยอร์กจะยอมคืน [กระเป๋าเงิน] ได้กี่คน” ไม่ใช่ชาวนิวยอร์กทุกคนที่ซื่อสัตย์ และเมื่อเฝ้าดูชายวัยยี่สิบคนหนึ่งเก็บและเอาเงินจากกระเป๋าเงินไปซื้อบุหรี่ที่ร้านสะดวกซื้อ อย่างไรก็ตามเด็กหนุ่ม อายุ 17 ปี หนึ่งในสองคนที่พบกระเป๋าเงินอธิบายถึงแรงจูงใจในการติดต่อกลับว่า ผมอ่านเอกสารทั้งหมด และเห็นรูปถ่ายของครอบครัว และคิดว่า แย่จัง เขามีลูกสองคน เราต้องคืนสิ่งนี้” คนในท้องถิ่นอีกคนบอกว่า มันง่ายมากที่จะถูกเหยียดหยาม แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเหตุการณ์ 9/11 สิ่งนั้นได้ปลูกฝังความเป็นเพื่อนให้กับทุกคน”

Amsterdam, the Netherlands จำนวนกระเป๋าเงินที่ถูกส่งคืน : 7 จาก 12 ใบ คนบางคนที่พบกระเป๋าเงินสนใจเงินยูโรข้างในมากกว่ารูปที่ใส่ไว้ แต่ Julius Maarleveld เห็นกระเป๋าเงินที่หล่น และเข้าไปในร้านเหล้าใกล้ๆ เมื่อตามเข้าไป จึงกระตุ้นให้ Maarleveld พูดขึ้นว่า คุณมาที่นี่เพื่อตามกระเป๋าเงินหรือไม่? ถ้าเป็นเช่นนั้น [เสมียน] ก็โทร...ภรรยาของผมทำกระเป๋าเงินหาย มันถูกพบและส่งคืน ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่วิเศษมิใช่หรือ” Angelique Monsieurs วัย 42 ปี สังเกตเห็นกระเป๋าเงินระหว่างทางเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ต และรอเพื่อส่งกระเป๋าเงินคืนเจ้าของอีกครั้ง

Berlin, Germany จำนวนกระเป๋าเงินที่ถูกส่งคืน : 6 จาก 12 Seyran Coban ครูฝึกสอนได้ไปที่กระเป๋าเงินในเวลาเดียวกันกับชายหนุ่มอีกคน แต่ปฏิเสธที่จะให้เก็บ ฉันไม่ไว้ใจเด็กคนนั้น ผู้คนมักปฏิบัติต่อฉันด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถ้าฉันทำเช่นเดียวกันนั่นคือสิ่งที่ฉันจะได้รับตอบแทน” เธอบอก Abel Ben Salem วัย 46 ปีกล่าวว่า เขาคืนกระเป๋าเงินเพราะ “ผมเห็นรูปถ่ายของแม่กับลูก สิ่งอื่นใดที่สำคัญภาพถ่ายเช่นนั้นหมายถึงบางสิ่งซึ่งสื่อถึงเจ้าของ” ชายคนหนึ่งในวัยสี่สิบต้นๆ รีบคว้ากระเป๋าเงินใส่กระเป๋าจากนั้นใช้เวลาสิบนาทีในการโทรศัพท์ โดยไม่มีเบอร์ที่อยู่ในกระเป๋าเงินเลย

Ljubljana, Slovenia จำนวนการส่งคืนกระเป๋าเงิน : 6 จาก 12 เราถาม Manca Smolej นักเรียนอายุ 21 ปีว่า เธอคิดจะเก็บเงินไว้หรือไม่ เมื่อพบกระเป๋าเงิน ไม่!” เธอตอบ...พ่อแม่ของฉันสอนฉันว่า ความซื่อสัตย์นั้นสำคัญแค่ไหน เมื่อฉันทำกระเป๋าหายทั้งใบ แต่ฉันได้ทุกอย่างกลับคืนมา ดังนั้นฉันรู้ว่ามันรู้สึกอย่างไร” ชายคนหนึ่งในวัยห้าสิบต้นๆ หยิบกระเป๋าเงินขึ้นมา แล้วเริ่มหมุนโทรศัพท์ แต่แล้วก็หยุด เก็บกระเป๋าเงินไว้ และขับรถหรูราคาแพงจากไป

London, England จำนวนการส่งคืนส่งคืนกระเป๋าเงิน : 5 จาก 12 Ursula Smist อายุ 35 ปีซึ่งมีพื้นเพมาจากโปแลนด์เก็บกระเป๋าเงินได้ และส่งมอบให้เจ้านายของเธอ ถ้าคุณหาเงินคุณไม่สามารถสรุปได้ว่า มันเป็นของคนจนหรือรวย” เจ้านายของเธอกล่าว มันอาจจะเป็นเงินก้อนสุดท้ายที่แม่ต้องเลี้ยงครอบครัว”

Warsaw, Poland จำนวนการส่งคืนกระเป๋าเงิน : 5 ใน 12 Marlena Kamínska นักเทคโนโลยีชีวภาพ วัย 28 ปี หยิบกระเป๋าเงินขึ้นมา และกระโดดขึ้นรถบัส สามชั่วโมงต่อมาเธอโทรตามหาเจ้าของ หลังจากคุยกับเพื่อนร่วมงาน “มีผู้แนะนำให้ฉันไม่ต้องกังวลกับการตามหาเจ้าของ” เธอกล่าว แต่ฉันคิดว่า อาจมีคนต้องการเงินจำนวนนั้นมาก” ส่วนกระเป๋าเงินอีกเจ็ดใบนั้นถูกหญิงหลายคนเก็บไปและไม่ได้เจอะเจอพวกเขาอีกเลย

Bucharest, Romania จำนวนการส่งคืนกระเป๋าเงิน : 4 จาก 12 Sonia Parvan นักเรียนอายุ 20 ปี กับ Cristina Topa พบกระเป๋าเงิน และตามหาเจ้าของทันที ฉันรู้ว่า การทำกระเป๋าเงินหายมันรู้สึกยังไง แม่ของฉันทำหายไปครั้งหนึ่งและไม่ได้คืน” เธอกล่าว เราเฝ้าดูหญิงสาวอีกคนหนึ่งหยิบกระเป๋าเงินของเราขึ้นมา แล้วถามคนที่เดินผ่านไปมาสองคนว่า เป็นของพวกเขาหรือไม่ จากนั้นเธอก็ค้นอย่างละเอียด และเก็บไว้ในกระเป๋าของเธอ และไม่ได้รับการติดต่อจากเธออีกเลย

Rio de Janeiro, Brazil จำนวนการส่งคืนกระเป๋าเงิน : 4 จาก 12 ใน ย่านการค้าหญิงอายุปลายๆ ยี่สิบส่งคืนกระเป๋าเงินโดยไม่มีเงิน แต่ Delma Monteiro Brandāo วัย 73 ปีส่งคืนให้ หลังพบกระป๋าเงิน ขณะไปรับหลานสาวที่โรงเรียน นี่ไม่ใช่ของฉัน!” เธอพูด ในช่วงวัยรุ่นฉันหยิบนิตยสารเล่มหนึ่งในห้างสรรพสินค้าโดยไม่จ่ายเงิน เมื่อแม่ของฉันรู้ เธอบอกฉันว่า พฤติกรรมนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”

Zurich, Switzerland จำนวนการส่งคืนกระเป๋าเงิน : 4 ใน 12 ใบ Jeanette Baum ครูสอนดนตรีวัย 38 ปี พบกระเป๋าเงิน และส่งอีเมลและข้อความถึงที่อยู่ในกระเป๋าหลังจากโทรติดต่อไม่ได้ ฉันรู้ว่าการสูญเสียอะไรบางอย่างไป” เธอกล่าว การ ‘ไม่รู้’ หลังจากนั้นแย่มาก นั่นคือเหตุผลที่ฉันต้องตอบสนองให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้” ในขณะเดียวกันคนขับรถรางในวัยห้าสิบต้นๆ ได้เก็บกระเป๋าเงินเอาไว้

Prague, Czech Republic จำนวนการได้รับกระเป๋าเงินคืน : 3 ใน 12 Petra Samcová เก็บกระเป๋าเงินได้ และไม่คิดว่าจะเก็บไว้ มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คุณควรทำ” เธอกล่าว แต่วัยรุ่นหนุ่มสาวสองคนที่เดินอยู่ย่านบ้านจัดสรรชานเมืองในเขตชานเมืองปรากกลับเก็บกระเป๋าเงินไว้ในกระเป๋าเป้อย่างอารมณ์ดี โดยคิดที่จะไม่ส่งคืน

Madrid, Spain จำนวนกระเป๋าเงินที่ถูกส่งคืน : 2 ใน 12 Beatriz Lopez นักเรียน อายุ 22 ปี พบกระเป๋าเงินในย่านหรูใจกลางเมืองกับเพื่อนของเธอ Lena Jansen อายุ 22 ปีเช่นกัน“ เราแค่อยากจะคืนให้เท่านั้น” Jansen กล่าวว่า ฉันไม่สามารถเก็บกระเป๋าเงินที่ไม่ใช่ของฉันได้”

ซื่อสัตย์น้อยที่สุด : Lisbon, Portugal มีกระเป๋าเงินที่ถูกส่งคืน : 1 ใน 12 คู่สามีภรรยาอายุหกสิบเศษเห็นกระเป๋าเงิน และโทรหาทันที ที่น่าสนใจคือ ทั้งสองไม่ได้มาจากลิสบอน แต่มาจาก Netherlands ส่วนกระเป๋าเงินที่เหลืออีกสิบเอ็ดใบไม่ได้รับการส่งคืนทั้งหมด

จากกระเป๋าเงินจำนวน 192 ใบที่ถูกตั้งใจทำ หล่น” 90 ใบถูกส่งคืน คิดเป็น 47 % เมื่อดูผลลัพธ์แล้ว พบว่าอายุไม่สามารถทำนายได้ว่าคนๆ นั้นจะซื่อสัตย์หรือไม่ กระเป๋าเงินซึ่งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งที่เก็บไว้หรือส่งคืน จะเป็นเพศชายหรือหญิง ก็ไม่สามารถคาดเดาได้ รวมถึงความมั่งคั่ง ก็ดูเหมือนจะไม่รับประกันความซื่อสัตย์

มีคนซื่อสัตย์และไม่ซื่อสัตย์อยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่ไม่สามารถเดาเมืองที่ดีที่สุดในโลกได้ แต่จากคำแนะนำ : ยังไงก็น่าจะไม่ใช่ นิวยอร์ก ลอนดอน หรือปารีส อย่างแน่นอน

ครั้งหนึ่งนิตยสาร Reader's Digest ก็ได้ทำการทดลองทางสังคมทั่วโลก เพื่อหาคำตอบถึงเมืองที่ผู้คนซื่อสัตย์ที่สุด โดยมี กรุงเทพมหานคร” เป็นหนึ่งใน 32 เมืองใหญ่ทั่วโลก ซึ่งถูกร่วมทดสอบ ด้วยการนำเอาโทรศัพท์มือถือ 30 เครื่อง ไปวางทิ้งไว้ตามสถานที่ชุมชนต่างๆ ในเมือง แล้วเฝ้าดูว่า มีคนเมืองไหนที่ซื่อสัตย์ นำโทรศัพท์คืนให้เจ้าของมากที่สุด

ผลการทดสอบที่ออกมาน่าเหลือเชื่อ ประเทศที่เคยมีผู้สำรวจว่า มีความซื่อสัตย์สุจริตติดอันดับต้นๆ ของโลก เพราะมีการทุจริตโกงกินน้อย อย่างเช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย ปรากฏว่า ความซื่อสัตย์ของคนในเมืองเหล่านี้ กลับแพ้คนไทยหลุดลุ่ย

ความซื่อสัตย์ของคนไทยอยู่ในอันดับที่ 14 ร่วมกับ บราซิล ฝรั่งเศส เยอรมนี โทรศัพท์มือถือที่วางทิ้งไว้ในศูนย์การค้า สวนสาธารณะ ย่านธุรกิจทั่วกรุงเทพฯ 30 เครื่อง มีผู้นำไปคืนมากถึง 21 เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 70 ซึ่งนิตยสาร Reader's Digest ได้ทำการสัมภาษณ์คนไทยผู้ซื่อสัตย์ที่นำโทรศัพท์มือถือคืนเจ้าของกว่าสิบคน ดังนี้

พนักงานขับรถไฟฟ้า BTS บอกว่า ผมทำงานที่รถไฟฟ้า BTS ทำให้เจอพลเมืองดีนำโทรศัพท์มือถือมาคืนเยอะมาก ผมไม่เคยทำมือถือหาย แต่ตระหนักดีว่า เจ้าของต้องเดือดร้อนแน่ เพราะเบอร์ติดต่อหายหมด

นักเรียน วัย 14 ปี อีกคนบอกว่า หนูเคยทำมือถือหายสองครั้ง ไม่ได้คืนทั้งสองครั้ง เสียใจ เสียความรู้สึก เดือดร้อนที่หมายเลขโทรศัพท์เพื่อนๆ หายหมด จึงอยากคืนให้เจ้าของ และไม่สนใจว่า โทรศัพท์จะราคาถูกหรือแพง

แต่สิงคโปร์ ประเทศที่ฝรั่งยกย่องว่า ทุจริตโกงกินน้อยที่สุดในภูมิภาคนี้ คนสิงคโปร์กลับซื่อสัตย์น้อยมากกว่ามาก โดยนำโทรศัพท์ที่เก็บได้คืนเจ้าของเพียงแค่ร้อยละ 53 เท่านั้น เรียกว่า สอบผ่านอย่างเฉียดฉิว

ส่วน คนฮ่องกง และ มาเลเซีย รั้งตำแหน่ง บ๊วย” ด้วยกันทั้งคู่ สอบตกเรื่องความซื่อสัตย์ นำโทรศัพท์ไปคืนต่ำที่สุดในภูมิภาค แค่ร้อยละ 43 เท่านั้นเอง และเมืองที่ประชาชนมีความซื่อสัตย์ที่สุดในโลก ตกเป็นของประเทศเกิดใหม่ กรุง Ljubljana, Slovenia โทรศัพท์มือถือที่ถูกทำ หล่น” ไว้ 30 เครื่อง ได้รับคืน 29 เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 97 หายไปแค่ 1 เครื่องเท่านั้นเอง ชาวเมืองทุกคนล้วนมีน้ำใจเอื้ออารี

อันดับ 2 เป็นชาวนคร Toronto, Canada ได้รับโทรศัพท์ คืน 28 เครื่อง จาก 30 เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 93 โดยเหตุผลที่ชาวโตรอนโตบอกคือ ถ้าเราพอจะช่วยใครสักคนได้ ทำไมจะไม่ช่วยเล่า” น้ำใจอย่างนี้ช่างน่านับถือจริงๆ

อันดับ 3 เป็นกรุงโซล ของเกาหลีใต้ ได้คะแนนสูงถึงร้อยละ 90 กรุง Stockholm Sweden แม้ความซื่อสัตย์จะมาเป็นอันดับที่ 4 แต่คำตอบของชาวสวีเดนน่าประทับใจเหลือเกิน การทำสิ่งที่ถูกต้อง เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตการทำงานประจำวัน”

อยากให้สังคมไทยคิดได้อย่างนี้ การทำสิ่งที่ถูกต้องให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน บ้านเราจะเป็นสวรรค์บนดินไปเลย สังคมไทยจะอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ไม่แตกแยกแบ่งฝ่ายเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

คอร์รัปชั่น...ไหมครับท่าน ตอนที่ 1

แต่เดิมสังคมไทยเรียกการคอร์รัปชันว่าการ “ฉ้อราษฎร์บังหลวง” ซึ่งสองคำนี้มีความหมายที่ต่างกันตามผู้เสียหาย กล่าวคือ คำว่า “ฉ้อราษฎร์” หมายถึง โกงประชาชน หรือ การที่เจ้าหน้าที่รัฐเรียกรับผลประโยชน์ในทางที่มิชอบจากราษฎร ส่วนคำว่าการ “บังหลวง” หมายถึง การที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบต่อหน้าที่อันทำให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของแผ่นดิน หรือแก่ผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยทำให้ตนเองหรือบุคคลอื่นได้รับประโยชน์โดยมิชอบ ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันว่า การฉ้อราษฎร์บังหลวง หรือ การคอร์รัปชั่น คือ การที่เจ้าพนักงานของรัฐกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด

คอลัมภ์ สรรสาระ ประชาธรรม เปิดคอลัมภ์ด้วยเรื่องใหญ่ที่เห็นว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ถ่วงความเจริญของประเทศ และองค์กรต่างๆ โดยวิเคราะห์ในมุมเศรษฐศาสตร์ และกรอบวิเคราะห์เชิงสังคม

การคอร์รัปชั่นมีความซับซ้อน ลุ่มลึก และมีพัฒนาการตามระยะเวลา เราอาจคุ้นหูกับการรีดไถ ส่งส่วย จนกระทั่งถึง คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ ในตอนแรกจะกล่าวถึงเพียงสาเหตุเดียว กล่าวคือ ทรัพย์แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติ ซึ่งรัฐหรือประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกัน ก็จะเปรียบได้กับการไม่มีเจ้าของ และจะก่อแรงจูงใจให้ผู้มีอำนาจกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ

ในทางเศรษฐศาสตร์จะพูดถึง “โศกนาฏกรรมของทรัพย์ส่วนรวม (The Tragedy of the Commons)” ซึ่งเป็นบทความที่โด่งดังเขียนโดย การ์เร็ต ฮาร์ดิน (Garett Hardin) ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Science ในปี ค.ศ. 1968 บทความ “The Tragedy of the Commons” โดยมีคำโปรยนำเนื้อหาสั้นๆ ว่า “ปัญหาของมนุษย์ปุถุชน ไม่มีทางออกหรือแก้ไขโดยใช้เทคนิค แต่ต้องทำการปลูกฝังศีลธรรมและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นพื้นฐาน”

เมื่อสาธารณสมบัติคือการเป็นเจ้าของร่วมกัน จะเปรียบได้กับการไม่มีเจ้าของที่แท้จริง การคอร์รัปชั่นก็เกิดขึ้นจากผู้มีอำนาจที่กระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ ยักยอกสาธารณสมบัติไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ทรัพย์ส่วนรวมอาจอยู่ในรูปที่ดินสาธารณะ ที่ดินราชพัสดุ คลองลำรางสาธารณะ คลื่นความถี่ หรือกรรมสิทธิ์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ที่เมื่อผู้มีอำนาจรัฐกระทำการดังกล่าว ก็ยากที่จะเอาผิดได้

ความยากที่จะเอาผิดนั้น ประกอบด้วย...

(1) ข้อมูล เอกสารหลักฐาน ที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ยากมากๆ แม้ว่าจะมีการกำหนดให้เปิดเผยข้อมูล หรือมีกฎหมายข้อมูลข่าวสาร แต่การได้มาซึ่งข้อมูลก็เป็นต้นทุนที่สูงสำหรับผู้ที่จะเข้าถึงข้อมูล นอกจากนั้น หน่วยงานรัฐหลายแห่งซึ่งมีกฎหมายจัดตั้งและตราบทบัญญัติไว้ เช่น การเปิดเผยงบการเงิน แต่เมื่อหน่วยงานนั้นไม่ดำเนินการ ผู้กำกับดูแลไม่ดำเนินการ ก็ไม่มีการรับผิด (Accountability) หรือมีผู้ยืดอกรับผิดชอบแต่อย่างใด ซึ่งการไม่เปิดเผยงบการเงินนั้นเป็นต้นตอของปัญหาทั้งปวงที่มีรากฐานจากการทุจริตประพฤติมิชอบ

(2) ต้นทุนและผลประโยชน์ อย่าลืมว่า สาธารณประโยชน์นั้นทุกคนได้รับประโยชน์ กรณีเกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ ประโยชน์สาธารณะจะตกแก่พวกพ้องตน แต่ผู้รักษาประโยชน์ส่วนรวมในกรณีที่ผู้มีอำนาจกระทำผิดเสียเอง ต้นทุนการดำเนินการนั้นกลับตกอยู่ที่ผู้ร้องทั้งสิ้น หากใช้หลักต้นทุนและผลประโยชน์จะพบว่า ผู้รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมจะเป็นผู้เสียสละ และอาจได้รับภัยอันตราย

(3) มายาคติของหน่วยงานที่มีชื่อเสียง หลายต่อหลายครั้งผู้กำกับดูแลหน่วยงานที่มีประวัติศาสตร์แห่งความดีงามเลือกที่จะปกปิดความผิด และช่วยเหลือผู้กระทำทุจริตประพฤติมิชอบเสียเอง เพียงเพราะความพยายามในการรักษาชื่อเสียงของหน่วยงานไว้ และมองว่าหน่วยงานจะมีชื่อเสียหาย ความหลงผิดเช่นนี้ทำให้เกิดความยากที่จะเอาผิดต่อผู้กระทำผิด และยังมีส่วนสนับสนุนผู้กระทำผิดในทางอ้อม

นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และนักเขียนชาวอังกฤษ นามว่า จอห์น เอเมอริช เอดเวิร์ด ดัลเบิร์ก-แอกตัน บารอนแอกตันที่ 1 หรือที่มักเรียกกันว่า ลอร์ดแอกตัน (Lord Acton) ได้กล่าวถ้อยคำที่เป็นที่รู้จักและกล่าวขวัญกันว่า “Power tends to corrupt, and absolute power corrupts absolutely.” แปลว่า การมีอำนาจนำไปสู่การฉ้อฉล และอำนาจเบ็ดเสร็จจะทำให้ฉ้อฉลแน่แท้ ตอกย้ำว่า การคอร์รัปชั่นนั้นมักพัวพันกับการมีอำนาจและใช้อำนาจนั้นในทางที่ผิด อย่างไรก็ตาม ในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองนั้น หากสมมติว่า รัฐเป็นรัฐที่ดี (Benevolent Government) ก็มักจะสร้างประโยชน์สาธารณะหรือสวัสดิการสังคมที่สูงที่สุด ไม่ว่ารัฐนั้นจะเป็นการปกครองในรูปแบบใด

การแก้ปัญหาการคอร์รัปชั่นนั้น ในทางวิชาการดูจะสอดคล้องกันในเรื่อง พื้นฐานของผู้มีอำนาจ ซึ่งหากเป็นคนดี มีศีลธรรม มีความรู้ดีรู้ชั่ว ก็จะไม่กระทำการทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่สังคม ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ความยุ่งยากนั้นอยู่ที่พื้นฐานของแต่ละสังคมเช่นกัน ถ้าสังคมส่วนใหญ่ประกอบด้วยคนที่มีพื้นฐานศีลธรรมและความรู้ดีรู้ชั่ว การได้มาซึ่งคนดี รัฐที่ดี ก็จะไม่ยุ่งยากนัก แต่ในทางกลับกันหากสังคมส่วนใหญ่ประกอบด้วยคนไร้ศีลธรรมจำนวนมาก และคนมีศีลธรรมจำนวนน้อย สังคมนั้นก็มักจะโน้มเอียงไปในทางที่ผิด ดังเช่น บทกลอนของ ‘อภิชาติ ดำดี’ เรื่อง ‘โจรกับพระ’ ดังนี้

“โจร 9 เสียงกับพระ มี 1 เสียง ต่างพร้อมเพรียงชุมนุม ประชุมใหญ่ มีญัตติเร่งรัดตัดสินใจ คืนนี้ไปสวดมนต์หรือปล้นดี? ... เสียงข้างมากต้องมีธรรมนำชีวิต สุจริตเพื่อประโยชน์คนส่วนใหญ่ เสียงข้างมากไม่มีธรรมส่องนำใจ จะพาชาติบรรลัยในไม่ช้า…”

ศีลธรรมหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการขจัดปัญหาการคอร์รัปชั่นและการทุจริตประพฤติมิชอบ สอดคล้องกับพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ว่า “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

อย่างไรก็ตาม การออกแบบระบบการส่งเสริมคนดี และระบบควบคุมคนไม่ดีนั้น อาจใช้แนวทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้ได้ ตามแนวทางของนักเศรษฐศาสตร์หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างชุมชนที่มีการรับรู้ต่อประโยชน์สาธารณะ และไม่ทนต่อการทุจริตประพฤติมิชอบ ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป

ประชาธิปไตยที่แท้จริง คืออะไร?

สภาพอากาศของเมืองไทยเพิ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้แล้ว แต่ที่ร้อนระอุมานานข้ามปี ก็คงเป็นสภาพการทางการเมืองของไทย ความเห็นต่างทางเมืองในครั้งนี้ดูสร้างความร้าวลึกให้สังคมไทย เพราะไม่เพียงสถาบันทางการเมืองเท่านั้นที่ตกเป็นเป้าในการประท้วงในครั้งนี้ แต่เหมือนเป้าหมายของการใช้เสรีภาพนี้ทะลุเลยเถิดไปถึงสถาบันกษัตริย์ สะท้อนจากข้อเรียกร้องล่าสุดของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่มีการเปิดตัวกลุ่มใหม่ในนาม REDEM – ประชาชนสร้างตัว

โดย REDEM นี้ย่อมาจากคำว่า RESTART DEMOCRACY ซึ่งมีประโยคต่อท้ายตามมาติด ๆ ว่า “สร้างประชาธิปไตยให้เกิดใหม่อีกครั้งไปด้วยกัน”

ฟังแล้วก็สงสัยมีคำถามว่านี้ประชาธิปไตยของไทยเราตายไปแล้วหรือจึงต้องมีการเกิดใหม่ แล้วที่เลือกตั้งกันไปคืออะไรกัน…

กลับมาที่ข้อเลือกร้อง 3 ข้อที่กลุ่ม REDEM ระบุว่ากลุ่มตนขอประกาศข้อเรียกร้องที่มีฐานคิดแบบสังคมนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเปรียบเสมือนข้อตกลงร่วมกันหากต้องการต่อสู้ในการเคลื่อนไหวของมวลชนในชื่อ “REDEM” ซึ่งจะเป็นบันไดนำไปสู่ประชาธิปไตยที่ทุกคนมี 1 สิทธิ 1 เสียงที่แท้จริง ดังต่อไปนี้

1.) จำกัดอำนาจสถาบันฯ พอกันทีกับภาษีหลายหมื่นล้านบาทที่ประชาชนต้องจ่ายให้กับสถาบันฯ ทุกๆ ปีในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงต้องอดมื้อกินมื้อ พอกันทีกับอำนาจที่มากล้นจนไม่อาจตรวจสอบได้

2.) ปลดแอกประชาธิปไตยขับไล่ทหารออกจากการเมือง “ไม่ใช่แค่พลเอกประยุทธ์” เพราะนี่คือเครือข่ายนายพลขนาดใหญ่ที่รวมหัวกันเพื่อกัดกินประเทศนี้

3.) ลดความเหลื่อมล้ำด้วยรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า (ไม่ใช่สวัสดิการแบบชิงโชค) จัดสรรภาษีอย่างเป็นระบบ นำมาใช้กับการสร้างรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าตั้งแต่เกิดยันตาย เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

กลุ่ม REDEM ระบุว่านี่เป็น 3 ธงใหญ่ที่จะนำพาสังคมไทยไปสู่การเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงให้จงได้

อ่านแล้วก็เกิดคำถามในนามของประชาชน เราก็ย่อมมีสิทธิที่จะตั้งถามกับกลุ่ม REDEM ที่ได้ว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร?

อย่างข้อแรก หากจำกัดอำนาจสถาบันฯ ได้ ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่แท้จริงหรือ? และอำนาจที่ต้องการจำกัดนั้น คือ อำนาจเรื่องใด? มีวิธีการในการจำกัดอย่างไร?

ถ้าตั้งธงที่การจำกัดอำนาจของสถาบันฯ ชวนตั้งคำถามต่อว่า อย่างนั้นประเทศที่ยิ่งไม่มีสถาบันกษัตริย์เลยยิ่งจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่…

หันมองประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์แล้วต้องเอียงคอสงสัยอีกว่า จริงหรือที่ประชาธิปไตยจะเบ่งบานในประเทศที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์ หากจะอ้างว่าการจำกัดคือเพียงปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ก็น่าตั้งคำถามต่อว่าการปฎิรูปสถาบันหลักของชาติที่มีความเชื่อมโยง ผูกพันกับสังคมและคนไทยมากกว่า 700 ปี นับตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย กรุงอยุธยา ไล่มาถึงกรุงธนบุรี จนยุคกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน

เรื่องใหญ่เช่นนี้ ควรมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ตลอดจนวิธีการที่ละมุนละม่อมเป็นไปอย่างสันติวิธีและไร้ความรุนแรงที่สุดหรือไม่ มิควรใช้การหักหาญด้วยความหยาบคายก้าวร้าวรุนแรงใช่หรือไม่ และประเด็นสำคัญมากคือต้องเป็นความต้องการร่วมกันหรือมติร่วมกันของมหาชน (Consensus) ทั้งประเทศหรือไม่ ไม่ใช่เพียงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้วอ้างว่าตนคือตัวแทนของประชาชนทั้งหมดทั้งมวล เพราะท่ามกลางเสียงทัดทานและความเห็นต่างที่จากปรากฎเป็นรอยแยก คงพอพิสูจน์ได้ว่ามีคนไม่เห็นด้วยมากเหลือเกิน

ดังนั้นการที่กลุ่ม REDEM อ้างความต้องการของประชาชนนั้นมีชอบธรรมเพียงใด เป็นการกล่าวอ้างที่เกินจริงหรือไม่?

นอกจากนี้แล้วกลุ่ม REDEM ยังระบุความเชื่อโยงไปถึงภาษีและความอดมื้อกินมื้อของประชาชน โดยระบุจากข้อความที่ว่า…

“พอกันทีกับภาษีหลายหมื่นล้านบาทที่ประชาชนต้องจ่ายให้กับสถาบันฯ ทุกๆ ปีในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงต้องอดมื้อกินมื้อ…”

ประโยคนี้ชวนงงหนักเพราะราวกับว่าเพราะรัฐนำเงินไปใช้จ่ายให้กับสถาบันฯ แต่ละเลยประชาชนจนประชาชนต้องอดมื้อกินมื้อ แถมระบุว่าเป็นประชาชนส่วนใหญ่ด้วยนะที่ต้องอดมื้อกินมื้อ (และสงสัยว่าเอาข้อมูลมาจากไหนว่าประชาชนส่วนใหญ่อดมื้อกินมื้อด้วย) อย่างนี้ถือเป็นเหมารวมกล่าวโทษต่อสถาบันฯอย่างไม่เป็นธรรมเกินไปหรือไม่

ต่อมาในข้อที่ 2 ใจความอยู่ที่การขับไล่ทหารออกจากการเมือง ข้อนี้ต้องพิจารณาออกใช้ชัดเจน ว่าทหารในที่นี้คือ บุคคลที่เป็นปัจเจกชน หรือ ทหารที่เป็นสถาบันทหาร เพราะในโครงสร้างในการบริหารราชการแผ่นดิน เห็นด้วยว่าสถาบันทหารมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบตามภารกิจเพื่อการรักษาอธิปไตยของประเทศที่ แต่ไม่ควรข้ามเข้ามาในกลไกของวงอำนาจการบริหารประเทศทั้งในฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ

แต่หากทหารในที่นี้เป็นเพียงตัวบุคคลที่ต้องการเข้ามาเล่นการเมือง ก็ย่อมเป็นสิทธิของปัจเจกชนนั้น ๆ โดยหลักแห่งความเสมอภาคเสรีภาพนั้นเองว่า แม้จะเคยทำงานอาชีพใด ๆ หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด ก็สามารถเข้ามาในตำแหน่งทางการเมืองได้ เพราะโดยแนวคิดของระบบประชาธิปไตยย่อมไม่มีใครควรกีดกั้นก่อนจากการเข้ามาเป็นนักการเมืองด้วย

แม้จะเคยมีอาชีพอะไรมาก่อน ไม่ว่าจะรับข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน หรือ เกษตรกร ก็ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้ามาสู่ภาคการเมืองใช่หรือไม่ เพราะทหารคนหนึ่ง ก็คือ ประชาชนคนหนึ่งเช่นกัน และที่สำคัญหากเข้ามาตามกติกาของระบบประชาธิปไตยด้วยแล้ว ทุกฝ่ายต้องยิ่งต้องเคารพกติกาด้วยเช่นกัน

ข้อสุดท้ายที่กลุ่ม REDEM เรียกร้อง คือ การลดความเหลื่อมล้ำด้วยรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า จัดสรรภาษีอย่างเป็นระบบ นำมาใช้กับการสร้างรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าตั้งแต่เกิดยันตาย เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประเด็นนี้มีความเห็นด้วยอย่างยิ่งว่ารัฐต้องเร่งดำเนินการบริหารจัดการสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อมุ่งสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่การจัดสรรภาษีคือคำตอบสู่การสร้างรัฐสวัสดิการได้จริงหรือไม่

เพราะภาษีเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการบริหารงานทางการคลังของประเทศเท่านั้น และก่อนที่จะพูดถึงการจัดสรรภาษีอย่างเป็นธรรมนั้น ขอชวนมาดูรายได้ภาครัฐกันสักหน่อยว่าไม่ได้มาจากภาษีทางตรงจากประชาชนเพียงทางเดียว ที่เรามักได้ยินคำพูดที่ว่า ‘ภาษีกูๆ’ หรือภาษีประชาชนนั้น หมายถึงอะไร หากหมายถึงภาษีรายได้บุคคลธรรมดาที่ประชาชนต้องเสียให้แก่รัฐประจำทุกปี

โดยการจัดเก็บของกรมสรรพากรนั้น พบว่าข้อมูลล่าสุดจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ระบุว่าในช่วง ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมารัฐสามารถเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาอยู่ที่ 222,853 ล้านบาท จากยอดรวมรายได้ที่จัดเก็บได้ คือ 2,450,000 ล้านบาทจากการจัดเก็บภาษีทั้งหมดของกรมสรรพกร กรมศุลกากร และรายได้จากหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมธนารักษ์ เป็นต้น ซึ่งหากคิดเป็นสัดส่วนร้อยละจะพบว่ารายได้ของรัฐที่จัดเก็บได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือประชาชนทั่วๆไปนั้นคิดเป็นเพียง 9.1% จากจำนวนเงินรายได้ที่รัฐจัดเก็บได้ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นการกล่าวอ้างว่าใดๆ ในโลกล้วนมาจากเงินภาษีของตนนั้น อาจจะต้องคิดใหม่

นอกจากนี้ความจริงสำคัญคือการเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State) นั้นต้องใช้เงินเยอะมาก ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนั้นเก็บภาษีได้เกือบ 50% ของ GDP ขณะที่ไทยเก็บภาษีได้ไม่ถึง 20% ของ GDP แล้วเราจะมีรัฐสวัสดิการอย่างที่เหมือนเขาได้หรือไม่

และน่าตั้งคำถามว่าในการลดความเหลี่ยมล้ำในสังคมไทย เราจะจัดสรรภาษีเพียงอย่างเดียว หรือควรพิจารณากลไกอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น การปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ การสนับสนุนการออมของประชาชน การพัฒนาบริการทางการเงินให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างทั่วถึง เป็นต้น

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เพียงแค่การจัดสรรภาษีตามที่กลุ่ม REDEM ระบุคงไม่สามารถนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำด้วยการสร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าได้ เพราะยังมีองคาพยพอีกมากที่ต้องคำนึงถึงหรือไม่

ที่ตั้งคำถามทั้งหมดนี้มิใช่จะปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง หรือ ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาของประเทศชาติบ้านเมือง หรือสนับสนุนเผด็จการ หรือแม้แต่การกล่าวโทษกลุ่ม REDEM ผู้ประท้วงในทางกลับกันต้องขอบคุณที่การเคลื่อนไหวเรียกร้องในครั้งนี้ทำให้เกิดการตั้งคำถามหรือทบทวนความเป็นไปในบ้านเมืองนี้

หากแต่เพียงอยากให้พวกเราร่วมด้วยช่วยกันคิดและดึงสติกันด้วยเหตุผลอย่างรอบด้านมากขึ้น ชวนทุกคนช่วยกันคิดว่าแทนที่จะหาว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงคืออะไร เราควรตั้งคำถามใหม่ว่าเราสามารถมีประชาธิปไตยหรือมีการปกครองในแบบที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยได้เองหรือไม่? อย่างไร?

เพราะแท้จริงแล้วประชาธิปไตยก็เป็นเพียงเครื่องมือหรือทางเลือกหนึ่งที่นำประเทศไปสู่จุดหมาย คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดีมีสุขใช่หรือไม่ อย่ามัวแต่เพ่งที่เครื่องมือจนละเลยจุดหมายของการปกครอง…เพราะนิ้วที่ชี้ไปที่ดวงจันทร์หาใช่ดวงจันทร์ไม่


อ้างอิงที่มา:

เยาวชนปลดแอก เปิดตัว REDEM ช่องทางออกแบบการเคลื่อนไหว บันไดสู่ ปชต. (matichon.co.th)

ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 1/ (ตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561) จัดทำโดย ส่วนนโยบายรายได้ส้านักนโยบายการคลัง ส้านักงานเศรษฐกิจการคลัง

ก๊อป MV : ‘แรงบันดาลใจ’ หรือ ‘ลอกเลียนแบบ’

เมื่อวันก่อนผมไปจัดวงเสวนาในคลับเฮาส์ (Clubhouse) พูดคุยกับช่างภาพและผู้ผลิตคอนเทนต์เรื่องปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ และช่วงท้ายก็เปิดโอกาสให้คนฟังได้ขึ้นมาสอบถามกันได้แบบสดๆ

หนึ่งในคำถามที่น่าสนใจ คือ “การถ่ายมิวสิควิดีโอ หรือ MV แล้วมีฉากต่างๆ คล้ายกับ MV ของคนอื่น ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่”

ตอนที่ผมและผู้ร่วมวงเสวนาตอบคำถามนี้ไป ก็สงสัยว่าทำไมมีคนสนใจถามเรื่องการก๊อป MV หลายคน จนกระทั่งหลังจบวงเสวนาในคลับเฮาส์ เพื่อนผมคนหนึ่งได้ส่งข้อความมาบอกผมหลังไมค์ว่า เรื่องก๊อป MV นี้ กำลังเป็นประเด็นร้อนในโซเชียลมีเดียเลย น่าเอามาเขียนอธิบายแบบง่ายๆ ให้คนนอกคลับเฮาส์ได้เข้าใจกันได้ด้วย

ผมก็เลยหยิบเรื่องก๊อป MV กับกฎหมายลิขสิทธิ์มาเขียนเป็นประเดิมในคอลัมน์ของผมเสียเลย

ก่อนที่เราจะบอกว่า MV ที่ทำเลียนแบบนั้น ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ เราก็ต้องเข้าใจเสียก่อนว่างานอันมีลิขสิทธิ์นั้นหมายถึงงานแบบใดบ้าง และกฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง MV นั้นอย่างไร

โดยหลักการการสำคัญของงานที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ทั้งของไทยและสากลมี 2 ข้อที่เหมือนกัน คือ หนึ่ง งานนั้นจะต้องเป็นงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง (Originality) และ สอง งานนั้นจะต้องมีการแสดงออกซึ่งความคิด (Ex-pression of idea)

มาว่ากันที่หลักการแรกกันก่อน ที่บอกว่างานนั้นจะต้องเป็นงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง อธิบายแบบง่าย ๆ คือ งานนั้นจะต้องเกิดจากความคิดของตนเอง แต่ก็ไม่จำเป็นว่างานนั้นจะต้องเป็นสิ่งใหม่ หรือไม่เคยมีมาก่อนในโลก เพียงแต่ผู้สร้างสรรค์งานนั้นจะต้องทุ่มเทความรู้ความสามารถ ความชำนาญ ทักษะ สติปัญญาของผู้สร้างสรรค์ลงไปในงานดังกล่าวพอสมควรด้วย

ตัวอย่างเช่น เราเห็นภาพถ่ายที่จุดชมวิวแห่งหนึ่งสวยมาก เราก็อาจจะได้แรงบันดาลใจให้ไปถ่ายภาพนั้นออกมาเหมือนกัน แม้ว่าเราจะไม่ได้ถ่ายภาพจุดชมวิวนั้นเป็นคนแรก แต่เราก็ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการลงมือลงแรงไปที่จุดชมวิวนั้น และกดชัตเตอร์ถ่ายรูปออกมา แบบนี้เราก็ได้รับความคุ้มครองในส่วนของภาพที่เราถ่าย แม้ว่าภาพนั้นจะคล้ายกับภาพจุดชมวิวที่คนอื่นถ่ายก่อนหน้านี้

แต่ถ้าเราเห็นรูปจุดชมวิวของคนอื่นสวย แล้วเราสแกนภาพของเขามาเข้าในคอมพิวเตอร์ของเราเอง แบบนี้จะไม่ถือว่าภาพที่เราสแกนนั้นเป็นลิขสิทธิ์ของเรานะครับ เพราะเป็นการที่เราไปทำซ้ำหรือก๊อปปี้ของคนอื่นมา ไม่ได้เป็นการสร้างสรรค์แต่อย่างใด

ส่วนหลักการที่สองที่บอกว่างานนั้นจะต้องมีการแสดงออกซึ่งความคิด หรือ Expression of idea ขอให้สังเกตให้ดี ๆ ว่าหลักการนี้คุ้มครองเรื่องการแสดงออกซึ่งความคิด แต่ไม่ได้คุ้มครอง ความคิด หรือ idea นะครับ

แปลว่าสิ่งที่เราแค่คิด แต่ไม่ได้แสดงให้มันออกมาเป็นผลงาน ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์

เช่น เราคิดว่าจะแต่งเพลงขึ้นมาสักเพลงหนึ่งซึ่งใหม่มาก เป็นความรักระหว่างคนและหุ่นยนต์ ต่อมาเราไปเล่าไอเดียนี้ให้คนอื่นฟัง ปรากฏว่าคนที่ฟังไปนั้นเอาไอเดียของเราไปแต่งเพลงออกมาในแบบที่เราคิด แบบนี้ก็ไม่ถือว่าเขาละเมิดลิขสิทธิ์ของเราแต่อย่างใด เพราะสิ่งที่เราคิด หรือ ไอเดียของเรานั้นยังไม่ถูกแสดงออกมาเราจึงไม่มีลิขสิทธิ์ในไอเดียดังกล่าว

แต่ถ้าเราแต่งเพลงความรักระหว่างคนและหุ่นยนต์ออกมาแล้ว ปรากฏว่ามีคนมาเอาเนื้อร้องของเราไปดัดแปลง แบบนี้ก็จะถือว่าคนที่เอาเพลงของเราไปดัดแปลงนั้นละเมิดลิขสิทธิ์ของเรา เพราะได้ลงมือสร้างสรรค์เพลงนั้นออกมาจากความคิดของเราแล้ว

พอเข้าใจหลักการของงานที่จะถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์แล้วใช่ไหมครับว่ากฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองงานสร้างสรรค์แบบใด

คำถามถัดมา คือ หากงานสร้างสรรค์นั้น เกิดไปเหมือนหรือคล้ายกับงานของคนอื่นละ แบบนี้จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของเขาหรือไม่ ในเรื่องนี้ก็มักจะมีความเห็นเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายหนึ่งอาจจะบอกว่าเป็นการก๊อปปี้งานผิดลิขสิทธิ์แน่ ๆ แต่อีกฝ่ายก็อาจจะบอกว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ที่ไหน เขาแต่ได้แรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานแค่นั้นเอง

การที่จะตอบคำถามข้อนี้ได้ ผมอยากให้ย้อนไปอ่านหลักการคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดที่ผมอธิบายไปแล้วซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายลิขสิทธิ์บ้านเราที่บัญญัติไว้ว่า

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

แปลว่ากฎหมายไม่ได้สนใจว่าความคิดที่เรานำมาสร้างสรรค์นั้นจะมาจากไหน ผู้ที่สร้างสรรค์อาจใช้ความคิดของคนอื่นมาจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์งานของตนเอง หรือใช้งานสร้างสรรค์ของคนอื่นมาเป็นแรงบันดาลใจให้ตนเองก็ได้ ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักสากลที่ใช้ในกฎหมายลิขสิทธิ์ทั่วโลก ไม่ใช่แต่เพียงประเทศไทยเท่านั้น

ทีนี้ ถ้าเราจะพิจารณาถึงกรณีที่ถกเถียงกันในโซเชียลมีเดียว่า MV นั้นเป็นการลอกเลียกแบบหรือได้แรงบันดาลใจ

เราจะใช้อารมณ์หรือกระแสสังคมเป็นตัวตัดสินไม่ได้ เราจะต้องใช้หลักการตามกฎหมายลิขสิทธิ์ที่ผมอธิบายไว้แล้วมาปรับเข้ากับเหตุการณ์นี้ โดยพิจารณาว่าสิ่งที่ MV ที่ถูกกล่าวหาว่าก๊อปนั้น เป็นการทำซ้ำหรือดัดงานสร้างสรรค์ของผู้อื่นหรือไม่ เช่น เขาเอาเนื้อร้อง ทำนอง หรือเนื้อเรื่องใน MV ต้นฉบับมาเกือบทั้งหมด ซึ่งแบบนี้ MV ที่ก๊อปมาก็จะถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้ที่สร้างสรรค์ MV ต้นฉบับแน่นอน

แต่ถ้าการก๊อปนั้นเป็นเพียงแต่การเอาความคิด หรือ idea การถ่าย MV บางช่วงบางตอนมาจาก MV ต้นฉบับ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้เขาก็อาจจะโต้แย้งได้ว่า MV ของเขาไม่ได้ลอกเลียนแบบนะ เขาเพียงแต่ได้แรงบันดาลใจมาจากไอเดียของ MV ต้นฉบับ ซึ่งทำให้เราก็อาจจะไม่สามารถเอาผิดเขาฐานละเมิดลิขสิทธิ์ได้

ในส่วนของเคสที่เป็นประเด็นนี้ ถ้าเราอยากจะรู้ว่าใครถูก ใครผิดก็คงต้องรอให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายนำเรื่องขึ้นสู่ศาล เพราะแต่ละคดีมันมีข้อเท็จจริงและรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ผมเพียงแต่ฟังข้อเท็จจริงจากที่มีคนมาถามใน Clubhouse เท่านั้นคงไม่สามารถฟันธงให้ได้

สุดท้ายนี้ ในฐานะนักกฎหมายผมก็อยากฝากไว้ว่า แม้บางเรื่องที่เราทำไปนั้นอาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ เพราะอาจส่งผลต่อชื่อเสียงหรือภาพลักษณ์ได้ การสื่อสารที่ดีและจริงใจ จะช่วยรับมือกับสถานการณ์นี้ได้ดีกว่าการตอบแบบแข็งกร้าว และในส่วนของกองเชียร์เอง ก็ต้องระมัดระวังการพูดจาหรือแสดงความเห็นไม่ให้เกินเลย เพราะมิเช่นนั้นแล้วเราอาจจะกลายเป็นผู้ต้องหาในคดีหมิ่นประมาทเสียเอง

***พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง

ทำดี ย่อมได้รับผลดีตอบแทน...จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2435 ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ระหว่าง นักศึกษาวัย 18 ปี HERBERT HOOVER ประธานาธิบดีคนที่ 31 แห่งสหรัฐอเมริกา และ Ignacy Jan Paderewski นักเปียโนชื่อดัง และนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 แห่งสาธารณรัฐโปแลนด์

มนุษย์ธรรมดาส่วนใหญ่คิดเพียงว่า “ถ้าเราช่วยพวกเขาแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับเรา” แต่มนุษย์ซึ่งมีน้ำใจยิ่งใหญ่กลับคิดเพียงว่า “ถ้าเราไม่ช่วยพวกเขาแล้ว อะไรจะเกิดขึ้นกับพวกเขา”

นักศึกษาวัยเพียง 18 ปี ซึ่งต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียน เขาเป็นเด็กกำพร้า และไม่รู้ว่าจะหาเงินด้วยวิธีไหน แต่แล้วก็บังเกิดความคิดบรรเจิด เขาและเพื่อนจึงตัดสินใจที่จะจัดคอนเสิร์ตเดี่ยวเปียโนของ Ignacy Jan Paderewski นักเปียโนผู้มีชื่อเสียง ณ ขณะนั้น ในมหาวิทยาลัยเพื่อหาเงินมาเป็นทุนการศึกษา

พวกเขาจึงได้ติดต่อ Ignacy J. Paderewski นักเปียโนชื่อดังคนดังกล่าว ซึ่งผู้จัดการของ Paderewski เรียกค่าตัวสำหรับการแสดงเปียโนเป็นเงิน 2,000 ดอลลาร์ เมื่อตกลงกันได้แล้วสองหนุ่มก็เริ่มทำงานเพื่อให้คอนเสิร์ตเปียโนครั้งนี้ประสบความสำเร็จ แต่น่าเสียดายเมื่อวันสำคัญมาถึงพวกเขาขายตั๋วทั้งหมดได้เงินเพียง $ 1600 เท่านั้น ภายหลังการแสดงสองหนุ่มไปพบกับ Paderewski ด้วยความผิดหวัง และอธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ Paderewski โดยพวกเขามอบเงินสดทั้งหมด $ 1,600 กับเช็คมูลค่า $ 400 ให้กับ Paderewski และสัญญาว่าจะ เอาเงินเข้าบัญชีเพื่อเคลียร์เช็คฉบับนั้นให้เร็วที่สุด

“ไม่” Paderewski กล่าว “เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมไม่สามารถยอมรับได้” เขาได้ฉีกเช็คฉบับดังกล่าว และคืนเงินสด $ 1600 และบอกกับสองหนุ่มว่า “นี่คือ เงิน $ 1,600 กรุณาหักค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แล้วเก็บเงินที่คุณต้องการสำหรับเป็นค่าเล่าเรียน และมอบส่วนที่เหลือให้กับผม” สองหนุ่มต่างประหลาดใจ และขอบคุณ Paderewski อย่างมากมาย แม้ว่า จะเป็นการแสดงน้ำใจเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า Paderewski เป็นมนุษย์ผู้มีน้ำใจที่ยิ่งใหญ่

ทำไมเขาต้องช่วยคนสองคนซึ่งเขาไม่รู้ด้วยซ้ำ? เราทุกคนต้องเจอสถานการณ์เช่นนี้ในชีวิต และพวกเราส่วนใหญ่จะคิดเพียงว่า “ถ้าเราช่วยพวกเขา แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับเรา” ขณะคนซึ่งมีน้ำใจที่ยิ่งใหญ่กลับคิดว่า “ถ้าเราไม่ช่วยพวกเขา และอะไรจะเกิดขึ้นกับพวกเขาเล่า” พวกเขาจึงไม่ได้ทำด้วยหวังสิ่งตอบแทน พวกเขาทำเพราะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ

ต่อมา Paderewski ได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 3 ของสาธารณรัฐโปแลนด์ เขาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ แต่น่าเสียดายที่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นโปแลนด์ก็ถูกทำลายจนเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง ภายหลังสงครามฯจึงมีผู้คนมากกว่า 1.5 ล้านคนที่อดอยากขาดแคลน โปแลนด์ขณะนั้นซึ่งไม่มีเงินและอาหารเพียงพอที่จะเลี้ยงดูผู้คนชาวโปแลนด์ที่อดยอยากหิวโหยเหล่านั้น นายกรัฐมนตรี Paderewski ไม่รู้ว่าจะขอความช่วยเหลือจากที่ไหน เขาจึงได้ติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและการบรรเทาทุกข์แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผู้บริหารคือ HERBERT HOOVER และในเวลาต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯคนที่ 31 HOOVER รีบตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือ และจัดส่งเรือบรรทุกเมล็ดพันธุ์พืชและอาหารจำนวนมากไปเลี้ยงดูชาวโปแลนด์ที่กำลังอดอยากและหิวโหยอย่างรวดเร็ว และสามารถพลิกสถานการณ์ภัยพิบัติได้ในเวลาอันสั้น

หายนะจากความอดอยากขาดแคลนของโปแลนด์จึงผ่านพ้นไป และนายกรัฐมนตรี Paderewski รู้สึกโล่งใจและตัดสินใจที่จะเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปพบกับ HOOVER เพื่อขอบคุณเป็นการส่วนตัว เมื่อพบกันแล้ว นายกรัฐมนตรี Paderewski ก็เริ่มขอบคุณสำหรับความเมตตาอันสูงส่ง แต่ Hoover ก็รีบแทรกขึ้นมาอย่างรวดเร็วว่า “ท่านไม่จำเป็นต้องขอบคุณผมเลย ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านอาจจำเรื่องนี้ไม่ได้ แต่เมื่อหลายปีก่อนท่านได้ช่วยนักศึกษาสองคนให้สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนในขณะที่เรียนในมหาวิทยาลัยได้ และผมเป็นหนึ่งในสองคนนั้น”

…ทำดี ย่อมได้รับผลดีตอบแทน...

เงินกู้เงินออนไลน์ มาแรง!! จับกระแส P2P Lending สินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคล ทางเลือกใหม่ ‘ผู้ประกอบการ - นักลงทุน’ ในโลกการเงินยุคดิจิทัล

ความก้าวหน้าของธุรกิจ FinTech ในประเทศไทย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในธุรกรรมสินเชื่อ ที่จากเดิมผู้ประกอบการจะต้องไปยื่นขอกู้ยืมสินเชื่อจากธนาคาร ก็สามารถจัดหาเงินจากนักลงทุนหรือผู้ให้กู้ยืมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีแพลตฟอร์มทางการเงินทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการจับคู่ (Matchmaker) ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือ P2P Lending (peer-to-peer lending) เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นด้วยดอกเบี้ยต่ำลง สะดวกรวดเร็วในการอนุมัติรายการ ลดต้นทุนในการดำเนินการ และในขณะเดียวกันนักลงทุนรายย่อยที่มีเงินน้อยก็สามารถเลือกลงทุนและรับผลตอบแทนในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประกอบธุรกิจและเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (Peer-to-Peer Lending Platform) ที่ถูกบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุให้ผู้กู้ P2P Lending ต้องเป็นบุคคลธรรมดา ที่มีวัตถุประสงค์ในการกู้เพื่ออุปโภคบริโภค สามารถยื่นขอกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน 1.5 - 5 เท่าของรายได้ หรือเพื่อประกอบธุรกิจ ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท

ส่วนผู้ให้กู้อาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ในส่วนของผู้ลงทุนรายย่อย ลงทุนได้ไม่เกินรายละ 500,000 บาทต่อปี หรือผู้ลงทุนสถาบันสามารถลงทุนได้ไม่จำกัดจำนวนเงิน มีเพดานดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี บวกด้วยค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แพลตฟอร์ม (ถ้ามี)

ทั้งนี้ตั้งแต่กลางปี 2563 เป็นต้นมา ธปท. อนุญาตให้มีการทดสอบระบบสินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคลในวงจำกัดภายใต้ Regulatory Sandbox ขึ้นใน 3 บริษัทผู้ให้บริการ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทสามารถบริหารความเสี่ยงและดูแลผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม จากนั้นจึงจะสามารถยื่นขอใบอนุญาตจากกระทรวงการคลังเพื่อประกอบธุรกิจในวงกว้างต่อไป

โดย 3 บริษัทผู้ให้บริการดังกล่าว ประกอบด้วย บริษัท ดีพสปาร์คส์ เพียร์ เลนดิ้ง จำกัด (https://www.deepsparkspeerlending.ai/) ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน LoanDD บริษัท เนสท์ติฟลาย จำกัด (https://www.nestifly.com) ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน Share Loan by NestiFly และบริษัท เพียร์ พาวเวอร์ แพลตฟอร์ม จํากัด (https://www.peerpower.co.th) ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชัน Peerpower

จากความสำเร็จของฟินเทคสตาร์ทอัพในธุรกิจ P2P lending ทั่วโลก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และอีกหลายๆ ประเทศในยุโรป รวมทั้งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ในปี 2564 นี้ จะเกิดกระแส P2P lending ในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ SMEs ที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ และในกลุ่มนักลงทุนรายย่อย

แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของสินเชื่อ P2P lending ที่ผู้กู้ยังคงต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของตน และผู้ให้กู้จะต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงสืบเนื่องจากการลงทุนที่จะไม่ได้รับการชำระหนี้จากผู้กู้ที่ผิดนัดชำระ และไม่สามารถยกเลิกหรือเรียกคืนเงินได้ก่อนสัญญาครบกำหนดนั้น อาจเป็นเป็นข้อจำกัดของการขยายตัวของ P2P lending ได้ในคราวเดียวกัน


ที่มา: เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th)

ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สู่ การพัฒนาบัณฑิตในยุค Disruptive

กลไกการขับเคลื่อนประเทศไทยมุ่งสู่ Thailand 4.0 ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นยุทธศาสตร์ชาติระยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และแผนการศึกษาแห่งชาติ (2560 - 2579) ต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน

เนื่องจากการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำพาประเทศไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยมีเป้าหมายของคุณลักษณะของคนไทย 4.0 ต้องเป็นคนไทยที่มีความรู้ มีทักษะและความสามารถสูง มีจิตสาธารณะรับผิดชอบต่อสังคม เป็นคนไทยที่เท่าทันดิจิทัล และเป็นคนไทยที่มีความเป็นสากล

ซึ่งการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรม การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม การพัฒนาและรักษากลุ่มผู้มีความสามารถสูง ที่เน้นเรื่องของคุณภาพการศึกษา และการศึกษาทุกช่วงวัย สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศที่เป็นรูปธรรม อันประกอบด้วย การสร้างพลเมืองเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน การปฏิรูปการจัดทำหลักสูตร การปฏิรูปอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา การปฏิรูปกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนรู้ การปฏิรูปการวิจัย การกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา อันเป็นการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม

ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเข้มแข็งของสังคม ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหาร จากปัญหาในการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา รวมถึงการกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาทุนมนุษย์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ควบคู่ไปกับการเชื่อมโยงกับประชาคมโลก ตามแนวคิด “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตบัณฑิต โดยจะต้องมีการพัฒนาหลักสูตรที่มีความทันสมัย มีการบูรณาการการเรียนการสอนที่หลากหลายศาสตร์

รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ยุคโลกาภิวัฒน์ และยุคเศรษฐกิจดิจิทัล อันจะนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 ที่จะสามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความพร้อมในหลากหลายด้านเพื่อการประกอบอาชีพยุคใหม่ การสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ ตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ซึ่งประกอบด้วย การปฏิรูปการจัดทำหลักสูตร การปฏิรูปอาจารย์ การปฏิรูปกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนรู้ การปฏิรูปการวิจัย การส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และการกระจายโอกาสทางการศึกษา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหลักสูตรหนึ่ง ที่มีความยึดหยุ่นต่อการจัดการศึกษา นอกจากจะเป็นหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ซึ่งผู้เรียนต้องเรียนครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตรแล้ว ยังได้มีการออกแบบการเรียนการสอนเป็นแบบชุดวิชา (module) ซึ่งเป็นการเรียนระยะสั้นใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา (4 เดือน) ในแต่ละชุดวิชามีลักษณะเป็นวิชาชีพที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง เทียบเท่ากับ 20 หน่วยกิต ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรในชุดวิชาที่เลือกเรียน และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพหรือเริ่มต้นธุรกิจใหม่ (start-up) ได้

เนื่องจากการเรียนการสอนในแต่ละชุดวิชาเน้นการปฏิบัติจริงในพื้นที่และการปฏิบัติร่วมกับสถานประกอบการการ (work integrated learning) รวมถึงการนำระบบเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ หลักสูตรในระดับประกาศนียบัตรนี้เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างคนไทย 4.0 ซึ่งจะนำไปสู่การ Re-skill & Up-skill และการสร้าง New Skill ใหม่ ให้กับผู้เรียนได้ อันจะเป็นอาชีพได้ ซึ่งจะนำเสนอการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาคน ในรูปแบบ Non Degree สู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต ต่อไป


ที่มา : https://sis.ku.ac.th/

'ตัดหนี้​ -​ ต่ออนาคต'​ 'ตารางชีวิต'​ เรื่องใหญ่ที่ต้องเริ่มคิดในยุคโควิด

รู้สึกอับจนหนทางในช่วงวิกฤติโควิด-19 ไหม?

ถ้าใครไม่เคย​ อาจเฉย​ๆ!!

แต่คนที่กำลังประสบอยู่​ นี่มันอาจเป็นอีกช่วงเลวร้ายของชีวิต

คนไม่น้อยต้องตกงาน หางานใหม่ก็ยาก แถมยังมีภาระข้างหลังตามมาอีกเพียบ ไหนจะหนี้บ้าน หนี้รถ และอีกสารพัดหนี้​ เรียกว่างานไม่มี เงินไม่มา​ รอเวลาพาหมดตัว​ เครียดวุ้ย!!

…แล้ววิธีแก้ความอับจนต่อปัญหาแบบไหนที่เหมาะสุดในตอนนี้?

ถ้าคุณเป็นคนที่เข้าใจเรื่องการเงิน หรือโชคดีได้เรียนรู้เรื่องการเงินในระดับหนึ่งจะรับรู้ได้เลยว่าวิกฤติโควิด-19 มันรุนแรงกว่าวิกฤติปี 40 อย่างมาก เพราะมันเป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติ หรือวิกฤติสุขภาพที่ไปทับซ้อนกับวิกฤติของการเงิน

ความยากของมันเป็นเรื่องของ ‘ความไม่ชัดเจน’ อย่างปี 40 เรารู้ว่าธุรกิจใหญ่ๆ ล้ม เศรษฐีลำบาก แต่คนทั่วไปยังออกไปทำมาหากินได้

กลับกันตอนนี้ โควิด-19 มันทำให้คนกลาง-ล่างขยับตัวยาก​ หลายคนต้องหยุดทุกเรื่อง เศรษฐกิจของฐานนี้ชะงัก​ โดยที่ไม่รู้ว่าเหตุการณ์นี้จะจบลงเมื่อไรด้วย!!

เมื่อมันไม่มีความชัดเจนอะไรเลย 'ทางรอด'​ ของคนทั่วไปแบบหาเช้ากินค่ำ​ มันเลยแคบลง​ แคบลง​ และแคบลง

แต่เอาจริงๆ​ ทุกปัญหาล้วนมีไว้ให้แก้​ อยู่ที่มองออกว่าควรแก้ด้วยวิธีหรือเหตุผลใดแค่นั้น??

ผมเคยคุยกับพี่หนุ่ม ‘จักรพงษ์ เมษพันธุ์’ แห่ง The Money Coach ซึ่งพี่เขาเป็นโค้ชการเงินสายอินดี้ที่เอาหลักชีวิตมาแชร์​ และในช่วงโควิด-19 ระบาดแรงๆ​ พี่เขาก็แนะนำทางรอดในช่วงวิกฤติไว้ได้น่าสนใจมาก

เขาบอกให้คนที่กำลังลำบาก​ เงินหดหาย​ หนี้กระจาย​ ลอง​ 'กางตารางชีวิต'​ ออกมาก่อน และเริ่มต้นที่วางแผนจัดการเงินของตัวเองใหม่​ สัก 6​ เดือนต่อจากนี้​ (จะมากกว่านี้ก็ยิ่งดี)​

เฮ้ย!! ฟังดูแปลก​ๆ​ ทำไมไม่สอนวิธีให้หาเงินเพิ่มหว่า??

ที่เป็นแบบนั้น​ เพราะคนที่เจอวิกฤติ​ มักจะคิดไม่ออกว่า​ จะหาเงินเพิ่มยังไง​ มันจะมืดแปดด้าน​ แล้วยิ่งสถานการณ์แบบนี้ด้วยยิ่งโคตรยากเข้าไปใหญ่

ฉะนั้นต้องดึงสติให้กลับมามอง​ 'ความจริง'​ แทนว่า​ ในวันที่เงินเริ่มร่อยหรอ​ เราต้องใช้ชีวิตต่อแบบไหนในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้…เราต้องมีค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละวันยังไงบ้างจากเงินที่เหลืออยู่​ อันนี้แหละโคตรสำคัญ!!

ยกตัวอย่าง หากเรามีค่ากินอยู่ที่วันละ 200 บาท เดือนนึงก็ต้องเก็บไว้เฉพาะค่ากิน 6,000 บาท ทำแบบนี้ไปยาวๆ​ ใน​ 6​ เดือนข้างหน้า

โดยส่วนตัวแล้ว​ พี่หนุ่มอยากให้เน้นที่ค่ากินอยู่ไว้ก่อน เพราะประสบการณ์ปี 40 บอกเขาว่า ถ้าท้องมันว่าง มันจะทำอะไรต่อไม่ได้ (เรื่องนี้จริง)​

ทีนี้ก็อาจจะมีบางคนมองว่า 'ค่ากินอยู่'​ มันพอจัดการไหว​ แต่ถ้ามีหนี้ติดตัว จะทำยังไง?

สั้นๆ​ เลยครับ​ 'ตัด'​ มันไปเลย!!

สถานการณ์แบบนี้​ สิ่งที่ไม่จำเป็นในชีวิต ต้องตัดออกให้หมด​ เช่น ถ้ามีรถต้องผ่อน​ ขายได้ขาย​ เพราะมันคือภาระ!! กลับมาใช้วิธีเดินทางสาธารณะบ้าง​ อย่าได้อาย!!

ถ้าบ้านของคุณพอจะมีมูลค่า​มหาศาลระดับหนึ่ง การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเก็บไว้ในมือตอนนี้​ ทำมันซะ!! แล้วหาที่อยู่ใหม่ที่อาจจะไม่ดูดีเหมือนเก่า​ แต่เราอยู่กันได้​ ก็ลองซะหน่อย!!

ส่วนบางคนอยู่บ้านเช่า​ นาทีนี้ถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ก็ไปยกมือไหว้เจ้าของบ้าน แล้วบอกไปตรงๆ เลยว่าเดือนนี้ไม่มีจริงๆ

ถ้าติดหนี้บ้าน หนี้รถ ก็เดินตรงเข้าไปสาขาธนาคารแล้วบอกว่า​ ขอให้ช่วยผ่อนผันหน่อย จะหยุดส่งต้น ส่งดอก กี่เดือนก็ว่าไป หรือจะลดวงเงินผ่อน ลดดอกเบี้ยก็เจรจาเลย

นาทีนี้ทำได้ เชื่อสิ!! แต่ถ้าไม่พูด ก็ต้องทำตามระเบียบ และถ้าทำไม่ได้ แบบนี้แหละจะเสียเครดิต

ถ้าเป็นการออมเงินฝากที่ส่งอยู่ประจำ หรือ ซื้อหุ้นไว้เดือนละเท่าไร ตอนนี้ตัดได้ตัดก่อน เพราะเชื่อเถอะว่าโอกาสเดือดร้อนในอนาคตข้างหน้ามีสูง​ เอาเงินมาใช้เพื่อวันนี้ก่อน

หรืออย่างประกันเนี่ยะ คลาสสิคเลย เพราะบางคนกลัวขาดประกัน แต่จริงๆ แล้วตอนนี้หลายๆ บริษัทเขาให้เราไปเจรจาเพื่อผ่อนปรนได้หมด เช่น ถ้าใครถึงงวดที่จะต้องจ่ายแล้วไม่มีเงินจ่าย ก็ไปบอกเขา เขาให้เลื่อนไป 120 วันหรือ 90 วัน โดยความคุ้มครองยังเหมือนเดิม

ทั้งหมดทั้งมวล มันคือการ​ 'ตัด​เพื่อต่ออนาคต'​ ที่โฟกัสกลับมาสู่ปัจจัยพื้นฐานของการมีชีวิต อันนี้สำคัญจริงๆ​ นะ

แต่ก็อย่างที่บอก​ การที่เราจะรู้ว่าควรทำอะไรกับชีวิตต่อจากนี้​ได้นั้น​ มันต้องกางตารางชีวิตออกมาก่อน แล้วคุณจะรู้ว่าอนาคตต่อจากนี้​ ต้องใช้เงินหรือหาเงินไว้เท่าไร ซึ่งมันอาจจะดึงมาจากเงินเดือน เงินเก็บ เงินจากการขายสินทรัพย์​ หรือคนที่ตกงาน ก็ดึงจากเงินค่าชดเชยตกงานของบริษัท เงินชดเชยจากประกันสังคม หรือเงินเยียวยาจากภาครัฐก็ได้ทั้งนั้น

นาทีนี้ ใครที่กำลัง ‘อับจนหนทาง’ ต้องหายใจลึกๆ มีสติเข้าไว้ แล้วไปหาสมุดหรือกระดาษมากาง จากนั้นมาลองไล่จดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้าติดฝาบ้านไว้เลย อย่าใช้สมองจำ เพราะสมองคนเราในยามเจอวิกฤติชีวิต มันจะจำไม่ได้ทุกเรื่อง

ใครจะเชื่อหรือไม่ อันนี้ก็ตามแต่วิจารณญาณ แต่ส่วนตัวผมอยากให้ลองทำ เพราะต้องขอบอกไว้ก่อนเลยว่าภาวะโรคระบาดเนี่ยถ้าเทียบความรุนแรง ก็เป็นรองเพียงแค่สงครามเท่านั้นเองนะขอรับ…

และนั่นก็จะทำให้เราไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติแบบเก่าก่อนอีกนานพอดู...

ภาวะโลกร้อนกับการบุกเบิกเส้นทางเดินเรือสายใหม่ของจีน

พูดถึงมหาสมุทรอาร์กติกหลายท่านอาจไม่คุ้นว่าอยู่แถวไหน แต่หากบอกว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของหมีขาวและเต็มไปด้วยน้ำแข็งก็น่าจะพอคุ้นกันบ้าง

มหาสมุทรแห่งนี้ถูกจัดอันดับให้เป็นมหาสมุทรที่เล็กที่สุดและอยู่เหนือสุดของโลก ด้วยความหนาวเย็นจึงทำให้บางส่วนเป็นน้ำแข็งตลอดปี และเป็นน้ำแข็งเกือบทั้งหมดในช่วงหน้าหนาว นอกจากนั้นยังเชื่อมทวีปเอเชียกับยุโรปด้วยเส้นทาง Northern Sea Route

Northern Sea Route คือ เส้นทางเดินเรือที่เริ่มจากรัสเซียฝั่งตะวันออกที่อยู่ในเอเชีย แล้วมุ่งหน้าขึ้นเหนือเข้าสู่มหาสมุทรอาร์กติก เลาะริมชายฝั่งของรัสเซียจนถึงฝั่งตะวันตกที่อยู่ในทวีปยุโรป เส้นทางเดินเรือนี้ถูกค้นพบตั้งแต่ปี 1872 แต่เพราะทะเลเป็นน้ำแข็ง จึงแล่นเรือได้เฉพาะในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมเท่านั้น เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อน และต้องใช้เรือตัดน้ำแข็งแล่นนำทาง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการเดินเรือในเส้นทางนี้สูงและไม่สะดวกเมื่อเทียบกับเส้นทางอื่น

แต่จากภาวะโลกร้อนในปัจจุบันส่งผลให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น จนในปี 2017 เรือบรรทุกแก๊สของรัสเซียสามารถเดินเรือผ่านเส้นทางนี้ได้โดยไม่ต้องมีเรือตัดนำแข็งนำขบวน

จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้จีนเห็นโอกาสในการขยายเส้นทางในการขนส่งสินค้าใหม่จึงประกาศในปี 2018 ว่าจะบุกเบิกเส้นทางสายไหมขั้วโลก (Polar silk road) เพราะหากใช้เส้นทางเดินเรือนี้จะประหยัดระยะเวลาเดินทางจากจีนไปยังท่าเรือรอตเตอร์ดาม ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เป็นแหล่งกระจายสินค้าที่สำคัญของยุโรปได้ถึง 30 - 40%

นอกเหนือจากเส้นทางการค้าใหม่แล้วจีนยังเข้าถึงแหล่งพลังงานที่สำคัญนั้นก็คือแก๊สธรรมชาติ โดยมีการถือหุ้นโครงการ Yamal ในประเทศรัสเซีย ผ่านทาง China National Petroleum Corp. (CNPC) จำนวน 20% และกองทุน China’s Silk Road อีก 9.9% ซึ่งบริเวณที่ตั้งของโครงการ Yamal นั้น คาดการณ์ว่ามีแก๊สธรรมชาติอยู่ถึง 15% ของทั้งโลก และจีนเองก็เป็นลูกค้ารายใหญ่ การพัฒนาเส้นทางเดินเรือนี้จึงส่งผลต่อต้นทุนการนำเข้าแก๊สของจีน เมื่อต้นทุนการนำเข้าแก๊สถูกลงก็ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าภายในประเทศ

นอกจากนั้นจีนยังส่งเสริมทางด้านการวิจัยและเทคโนโลยี โดยสถาบันอวกาศและเทคโนโลยีของจีนร่วมมือกับมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นได้ส่งดาวเทียมสำรวจขึ้นไปบริเวณนี้เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงสภาพของน้ำแข็งและส่งข้อมูลกลับมาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเดินเรือ

จากเรื่องนี้เราเห็นได้อย่างชัดเจนถึงการวางเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานว่าจะใช้ในการขนอะไร และจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศอย่างไร รวมถึงยังส่งเสริมทางด้านการวิจัยเพื่อนำผลที่ได้มาใช้ในภาคธุรกิจ แล้วคงต้องถามกลับว่าโครงการก่อสร้างพื้นฐานหลายโครงการในไทยมีแผนการที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติชัดเจนแบบนี้หรือไม่

‘ความกตัญญู’ เป็นคุณธรรมข้อที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวจีน เป็นหลักปฏิบัติที่มีบทบาทสำคัญในการ ‘สร้างคนจีน’ และ ‘สร้างชาติจีน’ จนกลายเป็นชาติที่กำลังจะก้าวเข้าสู่บทบาทการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกยุคใหม่อย่างไร ?....

‘ความกตัญญู’ เป็นคุณธรรมข้อที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวจีน เป็นหลักปฏิบัติที่มีบทบาทสำคัญในการ ‘สร้างคนจีน’ และ ‘สร้างชาติจีน’ จนกลายเป็นชาติที่กำลังจะก้าวเข้าสู่บทบาทการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกยุคใหม่อย่างไร ?....

การสร้างชาติ (Nation Building) หรือการสร้างรัฐ (State Building) คือกระบวนการสถาปนากฎระเบียบการปกครองโดยมีศูนย์กลางอำนาจ อันได้แก่รัฐบาลกลางซึ่งเป็นหน่วยการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอาณาเขตของรัฐชาติ มีอำนาจในการปกครองอาณาเขตและดูแลความเรียบร้อยของประชากรภายใต้กฎเกณฑ์ที่บัญญัติขึ้นโดยผู้มีอำนาจ รวมถึงสร้างระบบจัดเก็บภาษี และดำเนินนโยบายในการบริหารประเทศ

แต่การสร้างชาติที่ผมจะนำมาเล่าในบทความนี้ไม่ใช่การสร้างชาติในเชิงหลักการแบบรัฐศาสตร์จ๋า ๆ หรอกครับ แต่จะพูดถึงการสร้างชาติในที่แง่ของ ‘การสร้างคนในชาติ’ หรือการสร้างมาตรฐานให้กับ ‘ประชากร’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่องค์ประกอบหลักของรัฐชาติ (ประชากร ดินแดน รัฐบาล อำนาจอธิปไตย) เพื่อให้ประชากรในชาติมีความแข็งแกร่ง มีศักยภาพในการทำงานหนัก รวมถึงทำให้เกิดความรักใคร่สามัคคีกันระหว่างคนในชาติ ด้วยวัฒนธรรมประเพณีอันเป็นทั้งวิถีปฏิบัติและอัตลักษณ์ที่บ่งลักษณะและตัวตนของแต่ละชาติ

สำหรับวัฒนธรรมและระบบจารีตของประเทศจีนในปัจจุบันนั้น หลักๆ แล้วจะยึดตามแนวคิดปรัชญาขงจื๊อที่ว่าด้วย ‘ทฤษฎีการปกครองประเทศให้มีความสงบสุข ทุกคนในชาติเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน’ โดยเนื้อหาสำคัญของปรัชญาขงจื๊อที่ชาวจีนยึดถือในปัจจุบันคือเรื่องคุณธรรมเช่น ความเมตตากรุณา ความกตัญญู ขนบจารีตประเพณี ความยุติธรรม และความซื่อสัตย์ ฯลฯ

โดยคุณธรรมข้อที่ชาวจีนให้ความสำคัญที่สุดคือ ‘ความกตัญญู’ ดังภาษิตจีนที่ว่า

“百善孝为先 - ไป๋ ซ่าน หลี่ เหวย เซียน”

“อันร้อยพันคุณธรรมทั้งปวง ความกตัญญูคืออันดับแรก”

เพราะความกตัญญูคือคุณธรรมที่เป็นรากฐานค้ำจุนประเทศ หากขุนนางกตัญญูต่อจักรพรรดิที่กตัญญูต่อแผ่นดิน เช่นเดียวกับทหารที่จงรักภักดีต่อแม่ทัพ ประหนึ่งบุตรที่กตัญญูต่อบิดามารดา ประเทศชาติย่อมเปี่ยมไปด้วยความสงบสุข สันติ และมั่นคง ซึ่งก็จะวนมาสอดคล้องกับแนวคิดขงจื๊อที่ว่า “ทุกคนในชาติเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน”

หากเข้าใจตรงกันตามนี้ก็คงจะไม่แปลกใจหรอกครับ ที่คนจีนแผ่นดินใหญ่ก็ดี จีนโพ้นทะเลก็ดี จะให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันเป็นตระกูล การใช้แซ่ (สกุล) นำหน้าชื่อเสมอ รวมถึงเผากระดาษหรือทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษทุกครั้งที่ถึงวันตรุษจีน สารทจีน และเทศกาลเชงเม้ง

ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณธรรมความกตัญญูในจีนเคยถูกด้อยค่าลงในยุค ‘ปฏิวัติวัฒนธรรม’ ในช่วงปีค.ศ.1966 - 1976 ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ช่วงเวลาสิบปีที่สายสัมพันธ์ในครอบครัวชาวจีนเกิดความร้าวฉานมากที่สุด ด้วยแนวคิดปฏิวัติแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ – เหมาอิสต์ ที่เป็นกระแสแนวคิดใหม่ว่าด้วยสังคมอุดมคติที่มนุษย์ทุกคนต้องมีฐานะเท่าเทียมกัน เยาวชนถูกส่งเสริมให้ตั้งคำถาม จับผิด ตัดสิน และลงโทษบุพการี หากบุพการียังคงยึดถือจารีตเก่าที่โบราณคร่ำครึในสายตาของลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นบรรยากาศที่ไร้ซึ่งความรัก ปราศจากซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างคนในครอบครัว

เมื่อยุคปฏิวัติผ่านพ้นไป คณะผู้บริหารชุดใหม่ขึ้นมาปกครองประเทศ เกิดการปฏิรูปเปิดประเทศ ภาครัฐดำเนินนโยบายค้าขายกับต่างประเทศเพื่อเพิ่มอัตราการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ และลดความเข้มงวดในการยึดหลักการสังคมนิยมซ้ายสุดโต่ง พร้อมทั้งนำศีลธรรมและจารีตเก่าบางประการกลับมาเป็นหลักปฏิบัติและเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชากรในช่วงเวลานั้น

ความกตัญญูถูกชุบชีวิตกลับขึ้นมาอีกครั้งผ่านการ Propaganda ด้วยคำโปรยผ่านสื่อ ไม่ว่าจะทางวิทยุก็ดี โทรทัศน์ก็ดี หรือแม้กระทั่งการนำคุณธรรมกตัญญูไปสร้างเป็นคอนเซปภาพยนตร์ เนื่องจากภาครัฐได้เล็งเห็นความสำคัญของคุณธรรมความกตัญญูว่าเป็น “แรงจูงใจ” ให้คนในชาติยึดถือคุณธรรมข้ออื่น ๆ กล่าวคือ เมื่อเรามีจิตคิดกตัญญู เราจะขยันหมั่นเพียรทำงานหนักเพื่อหาเงินเลี้ยงดูและตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ จะไม่กระทำการทุจริตใด ๆ ที่จะเป็นการบ่อนทำลายชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล กลับกัน เราจะอ่อนน้อมถ่อมตน ซื่อสัตย์สุจริต เพื่อแสดงให้ผู้อื่นรู้ว่าพ่อแม่ของเราอบรมบ่มเพาะเรามาเป็นอย่างดี สำหรับเยาวชนก็จะตั้งใจเรียน ตั้งใจสอบ เข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อทำให้พ่อแม่ภาคภูมิใจ

ซึ่งหากมองในมุมนักปกครอง ถ้าคนส่วนใหญ่ในชาติตั้งใจทำมาหากิน ตั้งใจเรียน ตั้งใจค้าขาย และตั้งใจบริหารกิจการ มันจะไม่ได้แค่หาเงินตอบแทนคุณหรือทำให้พ่อแม่ภาคภูมิใจ แต่มันยังจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและผลผลิตมวลรวมให้กับประเทศอีกด้วย ข้อนี้สิครับ ประโยชน์ที่แท้จริงของความกตัญญู ฮ่าฮ่า....

พอจะมองออกบ้างแล้วใช่ไหมครับ ว่าคุณธรรมความกตัญญูมีส่วนในการสร้างคน และสร้างชาติจีนขึ้นมาอย่างไร

จนเมื่อเดือนมกราคมปี ค.ศ.2013 คุณธรรมความกตัญญูในจีนได้ถูกยกระดับขึ้นไปอีกขั้น โดยสภาประชาชนได้ประกาศใช้ ‘กฎหมายกตัญญู’ (李道法 - หลี่เต้าฝ่า) ว่าด้วยข้อบังคับสำหรับสมาชิกครอบครัวที่อาศัยอยู่ห่างจากบ้านเกิดที่มีผู้สูงอายุ ต้องเดินทางกลับบ้านมาเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ บริษัทและองค์กรต่างๆ ก็ต้องยินยอมให้พนักงานลางานกลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่

ซึ่งข้อกฎหมายมิได้มีการกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจนว่าต้องกลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่ปีละกี่หน ไม่กำหนดแม้กระทั่งโทษทางอาญาหากผู้ใดฝ่าฝืน แต่การวินิจฉัยทั้งหมดให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ซึ่งเคยเกิดกรณีที่คุณแม่วัยชราท่านหนึ่งได้ฟ้องร้องลูก ๆ ของตนเองด้วยข้อหาทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ยอมกลับบ้านมาดูแลอยู่เป็นเวลาหลายปี คดีความสิ้นสุดลงด้วยคำพิพากษาให้ลูกๆ จ่ายค่าบำรุงรักษา และกลับบ้านมาดูแลคุณแม่วัยชราทุก ๆ 2 เดือน ลองคิดดูสิครับ ว่ามันจะน่าอับอายแค่ไหน ถ้าเพื่อนร่วมงานของเรารู้ว่าเราถูกแม่ตัวเองฟ้องร้องในข้อหา ‘ทอดทิ้งมารดาให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว’

หากมองเผิน ๆ อาจรู้สึกว่า ‘กฎหมายกตัญญู’ ช่างเป็นกฎหมายที่พิลึกพิลั่น แต่จริงๆ กฎหมายข้อนี้เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของรัฐบาลจีนในการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ ทั้งในมิติสุขภาพจิต มิติเศรษฐกิจ และมิติสังคม ที่หลังจากประกาศใช้ก็เกิดกระแสการกลับบ้านไปหาพ่อแม่ในเทศกาลวันหยุด ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นไม่นานภาครัฐยังเพิ่งให้รางวัลและส่งเสริมให้คนทำงานล่วงเวลาในวันหยุด เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัด แต่ทุกวันนี้เมื่อถึงช่วงเวลาก่อนจะเข้าสู่วันหยุดยาว สิ่งแรกที่เข้ามาในหัวชาวจีนคือการวางแผนเดินทางกลับบ้านไปหาครอบครัว

ทั้งหมดที่ว่ามานี้คือเรื่องราวประวัติศาสตร์ของ “ความกตัญญู” อันมีส่วนไม่มากก็น้อยในการสร้างชาติจีนให้เกิดความสันติสุข มั่นคง และก้าวหน้า เป็นจารีตข้อสำคัญที่สุดที่ชาวจีนยังคงยึดถือมาจวบจนปัจจุบัน

ในวันที่จีนกำลังขยายฐานเศรษฐกิจ การค้าขาย และการเมืองจนกำลังจะขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจในโลกยุคใหม่ คนจีนยังคงกตัญญู


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top