Monday, 12 May 2025
LITE TEAM

‘อุ๊ กรุงสยาม’ ยกพระเครื่องไทย อีกหนึ่ง Soft Power ต่างชาติตอบรับ สร้างมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

นายวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ หรือ ‘อุ๊ กรุงสยาม’ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านใหม่ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โพสต์เฟซบุ๊กกล่าวถึง ‘พระเครื่อง’ คือ Soft Power อีกอย่างของไทย ที่คนจีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฮ่องกง สนใจและคนไทยจำนวนมากทั่วประเทศ มีมูลค่าการตลาดหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

การสักยันต์ ฝรั่งชอบ แม้แต่แองเจลลิน่า โจลี่ ยังสักยันต์กับอาจารย์หนู

ฮ่องกง, จีน, มาเลย์, สิงคโปร์ มีศูนย์พระเครื่องไทยมานานหลายปีแล้ว

พระเกจิไทย รวมถึงฆราวาสที่ดูทรงแบบขลังๆ ไทย เดินสายไปทำมาหากินในต่างประเทศนำเงินเข้ามาปีละไม่น้อย

คนจีน มาไลฟ์สดขายพระผ่าน โซเชี่ยล ของจีน แล้วรับออเดอร์กันสดๆ รวมถึงพิธีปลุกเสกพระใหม่ ให้คนจีนได้ชมกันสดๆ พระใหม่วันนี้ ต้องทำโบรชัวร์ภาษาจีนกันแล้ว

คนจีน มาเปิดศูนย์พระเครื่องในไทยกันบนพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วานกันเป็นปี

‘ญี่ปุ่น’ พัฒนา 'ตะเกียบเสริมเค็ม' ตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพ ลดโซเดียมก็อร่อยได้

หลังจากพัฒนาจอทีวีรับรสไปแล้ว นักวิจัยชาวญี่ปุ่นคนนี้ยังได้คิดค้นตะเกียบเสริมรสเค็ม หวังช่วยคนลดโซเดียม

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ศาสตราจารย์โฮเมอิ มิยาชิตะ จากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนาตะเกียบไฟฟ้าที่ช่วยเสริมรสชาติเค็ม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคโซเดียมแต่อาหารยังคงมีรสเค็มอยู่

ซึ่งนับว่าตอบโจทย์ชาวญี่ปุ่นที่มักบริโภคอาหารรสเค็ม โดยเฉลี่ยแล้วผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นบริโภคเกลือประมาณ 10 กรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึง 2 เท่า

การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไปเป็นสาเหตุหนึ่งของความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้จึงจำเป็นต้องลดปริมาณเกลือที่เราบริโภคลง แต่การทำเช่นนั้นทำให้เราต้องทนกินอาหารที่ไม่อร่อย หรือรสชาติไม่ถูกปาก

States TOON EP.56

ตู้มมมม!!!

ติดตามการ์ตูนอัปเดตได้ทุกสัปดาห์…

👍 ติดตามการ์ตูนสนุกๆ เพิ่มเติมได้ที่ : https://thestatestimes.com/tag/statestoon

วันนี้เมื่อ 240 ปีก่อน ตรงกับ ‘วันสถาปนากรุงเทพมหานครฯ’

วันนี้เมื่อ 240 ปีก่อน ตรงกับ ‘วันสถาปนากรุงเทพมหานครฯ’ นับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรี มาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

และจัดให้ตั้งการพระราชพิธียกเสาหลักเมืองสำหรับพระนครขึ้นเพื่อเป็นหลักชัยอันสำคัญ พระฤกษ์ยกเสาหลักเมืองกระทำในวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 06.54 น. พระราชทานนามพระนครใหม่ว่า 

“กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถานอมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” 
 

20 เมษายน ของทุกปี ตรงกับ ‘วันภาษาจีน’ เพื่อเฉลิมฉลองประเด็นเรื่องพหุภาษาและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

หากพูดถึงภาษาในโลกใบนี้ที่มีมากมายหลายภาษา หนึ่งในภาษาที่มีความนิยมเป็นอย่างมาก และเรียกได้ว่าใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ‘ภาษาจีน’ ที่ผู้คนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองต่างก็ให้ความสนใจและเลือกที่จะเรียน ‘ภาษาจีน’ เป็นภาษาที่สอง หรือภาษาที่สาม ไม่แพ้ภาษาอื่น ๆ กันเลยทีเดียว

โดยในวันที่ 20 เมษายน ของทุกปีตรงกับวันสำคัญวันหนึ่ง คือ ‘วันภาษาจีน’ โดยวันภาษาจีนริเริ่มขึ้นโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ในปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมฉลองในประเด็นเรื่องพหุภาษาและความหลากหลายทางวัฒนธรรม 
 

วันนี้เมื่อ 56 ปีก่อน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเรือใบข้ามอ่าวไทย ด้วยลำพังพระองค์เอง จากพระราชวังไกลกังวล ไปยังหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

‘การแล่นใบ’ นับเป็นหนึ่งในพระอัจฉริยภาพอันเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงโปรดกีฬาเรือใบเป็นพิเศษ ทั้งยังทรงมีพระปรีชาสามารถในการต่อเรือใบและการทรงเรือใบเป็นอย่างยิ่ง

ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2509 ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในการทรงเรือใบของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช นอกจากที่เราจะได้ประจักษ์ผ่านการแข่งขันกีฬาเรือใบที่พระองค์ทรงเข้าร่วมหลายต่อหลายครั้งแล้ว 

ในวันนี้พระองค์ได้ทรงเรือใบประเภทโอเค ชื่อ "เวคา" เสด็จพระราชดำเนินจากพระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ข้ามอ่าวไทยไปยังหาดเตยงาม ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี รวมระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล หรือ 97 กิโลเมตร
 

แก่นแห่ง Soft Power ไม่ใช่แค่สร้าง 'ความนิยม-การเผยแพร่เสน่ห์วัฒนธรรม' แต่ 'ทั้งสอง' ต้องเป็นส่วนหนึ่งของ Soft Power

ดร.ฐณยศ โล่ห์พัฒนานนท์ นักวิจัยด้านอุตสาหกรรมบันเทิงระหว่างประเทศ วัฒนธรรม และความมั่นคงร่วมสมัย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกระแส Soft Power ในขณะนี้ไว้ ว่า...

ตั้งใจจะโพสต์เรื่องนี้นานแล้ว ไม่ใช่เพราะเกิดกระแสอะไรบางอย่างแล้วโพสต์ตามกระแสครับ

soft power ไม่ใช่การสร้างความนิยม

soft power ไม่ใช่การเผยแพร่เสน่ห์วัฒนธรรม

แต่ทั้งความนิยมกับเสน่ห์วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของ soft power ซึ่งหมายถึงอำนาจการโน้มน้าวแบบหนึ่ง soft power มุ่งการสร้างเครือข่ายเพื่อผลประโยชน์ขนาดใหญ่

จะเข้าใจคำนี้ ต้องย้อนกลับไปดูคำอธิบายของ Nye แต่ถ้าจะรู้เท่าทันคำนี้ ต้องคิดให้ไกลกว่า Nye แม้ Nye เสนอคำอธิบายก็จริง แต่ไม่ใช่คนที่หาวิธีสร้าง soft power ตรงกันข้าม soft power ปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติมานาน Nye เพียงเอ่ยมันในรูปทฤษฎีเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ (หมายถึงสหรัฐฯ) กระทั่งคำ soft power เองก็เป็น soft power อย่างหนึ่ง ด้วยทำให้สังคมโลกเข้าใจผิดว่า มันคืออำนาจแห่งความสร้างสรรค์ ทั้งที่จริงมันเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการเมืองโลก รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล เคยบอกว่า อย่าหลงทางกับคำว่า soft แต่ต้องสนใจคำว่า power เนื่องจากมันคือคำหลักเหมือนใน hard power ไม่ว่าจะ soft หรือ hard มันก็คือการทำให้อีกฝ่ายสมยอม

18 เมษายน พ.ศ. 2498 การจากไปของ ‘อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์’ สุดยอดอัจฉริยะของโลก

หากกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ ที่พลิกโฉมวงการวิทยาศาสตร์ และมีชื่อเสียงกระฉ่อนโลก ชื่อแรกที่หลายคนต่างนึกถึงก็คือ ‘อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์’ โดยในวันนี้เป็นวันสำคัญที่โลกต่างระลึกถึง ต่อการจากไปของอัจฉริยะคนสำคัญของโลกผู้นี้

‘อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์’ เป็นศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม กลศาสตร์สถิติ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจากการทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี

หลังจากที่ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี 2458 เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับนักวิทยาศาสตร์ ในปีต่อ ๆ มา ชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ไอน์สไตน์ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะความนิยมในตัวของเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอน์สไตน์ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ให้เป็นเครื่องหมายการค้า

17 เมษายน พ.ศ. 2557 ‘บิลลี่ พอละจี’ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวกะเหรี่ยง หายตัวไปอย่างไม่มีวันกลับ

‘บิลลี่ พอละจิ รักจงเจริญ’ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และเป็นหลานชายของ ‘ปู่คออี้’ ที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวกะเหรี่ยงในผืนป่าแก่งกระจาน จังหวัด เพชรบุรี เขาเติบโตขึ้นมาโดยเป็นที่ไว้วางใจของคนในหมู่บ้านในเรื่องการช่วยต่อสู้เพื่อสิทธิของชุมชน

โดยบิลลี่เป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ออกมาช่วยชาวบ้านในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพื่อเรียกร้องถึงสิทธิชุมชน โดยหลายกรณีคือความขัดแย้งที่ชาวกะเหรี่ยงต้องสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ในประเด็นที่อยู่อาศัย-การไล่รื้อที่อยู่ของชาวบ้าน ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้ชาวกะเหรี่ยงและรัฐนั้น มีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เสมอ ๆ

หนึ่งในกรณีสำคัญ คือ การที่เขาเตรียมจะฟ้องร้องเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐ ที่เข้ามารื้อที่อยู่อาศัยและทำให้ทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยงกว่า 20 ครอบครัวต้องเสียหายไปเมื่อปี 2554

โดยในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 บิลลี่ ได้หายตัวไป ซึ่งเช้าวันนั้นเองเขาเดินทางออกจากหมู่บ้านโป่งลึก-บางกลอย เพื่อไปตัวอำเภอแก่งกระจาน พยานที่พบเห็นบิลลี่เป็นครั้งสุดท้าย ระบุว่า เขาเห็นบิลลี่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานจับกุมตัวไป แต่ไม่รู้ว่าพาไปไหนต่อ

ในวันต่อมาผู้ใหญ่บ้านบางกลอยได้เข้าแจ้งความคนหายที่สถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้ตรวจสอบพบว่า เขาถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเอาไว้จริง แต่ก็ได้ปล่อยตัวไปแล้วตามปกติ ต่อมาพนักงานสอบสวนตรวจสอบพบว่านายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ยอมรับว่า ควบคุมตัวบิลลี่ไว้จริง โดยให้เหตุผลว่าบิลลี่มีน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครองจึงเรียกไปตักเตือนแต่ได้ปล่อยตัวไปแล้ว

หลังจากการหายตัวไปของบิลลี่ ทางครอบครัวก็ได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้กับเขา ทั้งไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี รวมถึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดเพชรบุรี ให้ไต่สวนกรณีควบคุมตัวบิลลี่ขัดกับหลักกฎหมาย (ในตอนนั้นครอบครัวเชื่อว่า บิลลี่ยังมีชีวิตอยู่แต่ถูกควบคุมตัวเอาไว้) อย่างไรก็ดี ศาลได้ยกคำร้องเรื่องการควบคุมตัวบิลลี่ไปในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

หลังจากนั้น การหายตัวไปของบิลลี่ก็ยังไม่ค่อยมีความคืบหน้าเท่าที่ควร แต่ทางครอบครัวก็ยังไม่ยอมแพ้ และพยายามเรียกร้องความยุติธรรมให้กับบิลลี่อยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ภรรยาของบิลลี่ มึนอ ที่เดินทางไปยื่นหนังสือต่อองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน รวมไปถึงองค์กรและสถานทูตต่างประเทศ

และในช่วงต้นปี 2561 เมื่อ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI ได้รับคดีการหายตัวไปของบิลลี่ไปเป็น ‘คดีพิเศษ’ ขณะที่องค์กรภาคประชาชน และภาคประชาสังคมก็ยังคงจับตาการสอบสวนคดีนี้อย่างต่อเนื่อง ทางด้านองค์กรด้านสิทธิเรียกการสูญหายไปของบิลลี่ว่าเป็น ‘การถูกบังคับให้สูญหาย’ (forced disappearance) ซึ่งมีนัยของการที่บุคคลหนึ่งถูกอุ้มหายไปจากสังคม ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมรูปแบบหนึ่งที่ร้ายแรง

ซึ่งในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562 มีข้อมูลใหม่ที่ถูกเปิดเผยออกมาว่าเจ้าหน้าที่ได้ค้นพบวัตถุบางอย่างในอุทยานแก่งกระจาน ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงไปถึงการหายตัวไปของบิลลี่ได้ ทางด้านหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน มานะ เพิ่มพูล บอกว่า อุทยานฯ ได้รับทราบถึงหลักฐานชิ้นใหม่นี้แล้ว ซึ่งข้อมูลที่พอจะให้ได้ก็คือ เป็นหลักฐานที่ค้นพบแถวๆ สะพานแขวน ซึ่งจุดแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของแก่งกระจาน

16 เมษายน ค.ศ. 2014 โศกนาฏกรรม ‘เรือเซวอล’ อับปาง

ในวันนี้เมื่อ 8 ปีก่อน ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สะเทือนใจคนทั้งโลก โดยเฉพาะชาวเกาหลีใต้ นั่นก็คือ โศกนาฏกรรม ‘เรือเซวอล’ อับปาง ที่คร่าชีวิตไปกว่า 304 ศพ โดยส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมของโรงเรียนดันวอน

โดยเหตุการณ์นี้ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2014 เรือเซวอลกำลังมุ่งหน้าจากเมืองอินชอนสู่เกาะเชจูตามตารางเวลาที่กำหนด โดยบนเรือส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมของโรงเรียนดันวอน ที่กำลังออกไปทัศนศึกษา

เมื่อรวมจำนวนผู้โดยสารและลูกเรือแล้ว เรือลำนี้บรรจุผู้โดยสารกว่า 476 ชีวิต ซึ่งเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของน้ำหนักผู้โดยสาร ที่เจ้าของเรืออ้างว่าเซวอลสามารถบรรทุกได้

ในวันเกิดเหตุ กัปตันอีจุนซอก วัย 69 ปี ผู้กุมชะตาชีวิตคนบนเรือเกือบ 500 คน กลับไม่ได้อยู่ในห้องควบคุมเรืออย่างที่ควรจะเป็น แต่กลับสั่งให้ลูกเรือเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่างแทน ซึ่งเมื่อเรือเข้าสู่ช่องแคบ ที่เต็มไปด้วยโขดหินและคลื่นแรงใต้ทะเล ลูกเรือที่ไม่มีประสบการณ์มากพอก็ตัดสินใจผิดพลาดได้หันหัวเรือกะทันหัน และกระปุกพวงมาลัยเรือที่ทำงานขัดข้อง จึงเป็นปัจจัยแรกที่ทำให้เซวอลศูนย์เสียการทรงตัว

นอกจากความหละหลวมในการทำหน้าที่ของเขาแล้ว เรือลำนี้ยังบรรทุกสินค้าที่ไม่สมดุลและเกินน้ำหนักมาตรฐาน คอนเทนเนอร์สินค้าที่จัดวางอย่างไม่รัดกุม รวมถึงน้ำอับเฉาที่มีน้อยกว่าที่ทางการกำหนด โดยเรือเซวอลนั้น แท้จริงแล้วเป็นเรือมือสองที่ซื้อต่อมาจากบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทชองแฮจินของเกาหลีใต้ ได้ซื้อมาเพื่อใช้งานต่อเมื่อปี 2012

หลังจากนั้น บริษัทชองแฮจินของเกาหลีใต้ ได้มีการปรับปรุงเรือและทำการต่อเติม เพื่อให้รองรับผู้โดยสารได้มากกว่าเดิม ซึ่งจุดนี้เองจึงกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ เพราะการต่อเติมเรือ ทำให้ศูนย์ถ่วงเรือมีปัญหา ยิ่งไปกว่านั้นทางบริษัทฯ ยังได้ยื่นขอบรรทุกสินค้าเกือบ 2,000 ตัน ซึ่งต่อมากรมทะเบียนเรือ ได้ปรับลดน้ำหนักบรรทุกสินค้าของเซวอลลงเหลือครึ่งหนึ่ง และกำหนดให้ต้องบรรทุกน้ำอับเฉาถึง 2,000 ตัน เพื่อให้เรือสามารถทรงตัวอยู่ได้


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top