Monday, 29 April 2024
LITE TEAM

นอกจากเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ที่คอยดูแลความปลอดภัยให้กับผู้คนในประเทศแล้ว ยังมีอีกหนึ่งบุคลากรที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นั่นคือ ‘อาสารักษาดินแดน’ ซึ่งวันนี้ ครบรอบ 67 ปี ของการก่อตั้งกองอาสารักษาดินแดน และถูกยกให้เป็น ‘วันอาสารักษาดินแดน’ อีกด้วย

หลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพเหล่าบุคลากรที่แต่งตัวเครื่องแบบคล้ายทหาร และเรียกกันจนติดปากว่า อส. ซึ่งที่มาของอาสารักษาดินแดนนี้ ต้องย้อนกลับไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้เป็นกองพลอาสาสมัครเพื่ออบรมข้าราชการและประชาชนให้รู้จักรักชาติ รู้จักหน้าที่ในการป้องกันรักษาประเทศชาติ

ต่อมา ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออก พรบ.กำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. 2481 และ พรบ.ให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศ พ.ศ. 2484 ทั้งนี้เพื่อฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการป้องกันประเทศในเวลาสงคราม ด้วยกฎต่างๆ เหล่านี้เอง จึงทำให้มีบุคลากรเข้ามารับการฝึกอบรม จนค่อยๆ พัฒนากลายเป็นกำลังสำรองที่มีความพรั่งพร้อมในการป้องกันประเทศ ตลอดจนช่วยเหลือทุกข์สุขของประชาชนไปอีกทาง

เวลาผ่านมาอีกราว 13 ปี ก็ได้มีการประกาศใช้ พรบ.กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ขึ้น ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 พร้อมทั้งกำหนดให้วันดังกล่าว เป็นวันอาสารักษาดินแดน ไปด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันมีการเปิดรับสมัครบุคคลทั้งชายและหญิง เพื่อเข้ารับการอบรมเป็นอาสารักษาดินแดน โดยในวันนี้มีเจ้าหน้าที่ อส.อยู่กว่า 26,531 คน ประจำอยู่ 971 กองร้อยทั่วประเทศ คอยทำหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยและอำนวยความสะดวกกับประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ถือเป็นกำลังสำรองที่มีความสำคัญและสร้างคุณประโยชน์กับประเทศชาติมาโดยตลอด


ที่มา: https://th.wikipedia.org/, https://hilight.kapook.com/view/97447, https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2568141

9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1895 126 ปี กำเนิด ‘วอลเล่ย์บอล’ หนึ่งในกีฬายอดฮิตของผู้คนทั่วโลก

หากจะไล่เรียง ‘กีฬามหาชน’ ที่คนไทยชื่นชอบ หนึ่งในนั้นต้องมี ‘กีฬาวอลเล่ย์บอล’ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่สร้างผลงานจนเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งครองใจแฟนๆ กีฬาชาวไทยมานับ 10 ปี ซึ่งวันนี้มีความสำคัญกับกีฬาชนิดนี้ เนื่องจากเป็นวันกำเนิด ‘กีฬาวอลเล่ย์บอล’ ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก

ย้อนเวลากลับไปกว่า 126 ปี กีฬาวอลเล่ย์บอลเกิดขึ้นโดยนายวิลเลี่ยม จี. มอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A (Young Men’s Christian Association) ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีความประสงค์อยากให้มีกีฬาในร่มไว้เล่นกันในช่วงฤดูหนาว

นายวิลเลี่ยมได้นำตาข่ายกลางสนามของกีฬาเทนนิส มาใช้เป็นส่วนประกอบในกีฬาชนิดใหม่ที่เขาคิดค้นขึ้น และประดิษฐ์ลูกบอลแบบใหม่ ให้มีขนาด 25 - 27 นิ้ว รวมทั้งกำหนดน้ำหนักไว้ที่ 8 - 12 ออนซ์ พร้อมตั้งกติกาให้มีผู้เล่นข้างละ 6 คน สามารถตีลูกบอลได้ข้างละ 3 ครั้ง เพื่อให้ข้ามไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทีแรกเขาตั้งชื่อให้มันว่า มินโทเนตต์ (Mintonette)

กระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1896 จึงถูกเปลี่ยนชื่อเป็น วอลเล่ย์บอล และกลายเป็นกีฬายอดฮิตในอเมริกาในช่วงเวลาไม่นานนัก ผ่านมาถึงปี ค.ศ. 1964 กีฬาวอลเล่ย์บอลก็ได้ถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาโอลิมปิคฤดูร้อน ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งครั้งนั้น ทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น และทีมวอลเล่ย์บอลชายแห่งสหภาพโซเวียต (ชื่อเดิมของรัสเซีย) ก็ได้ครองเหรียญทองโอลิมปิคเป็นหนแรก

ส่วนในประเทศไทยนั้น มีการตั้งสมาคมวอลเล่ย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น ในปี พ.ศ.2500 ก่อนที่จะกีฬาชนิดนี้ จะได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ และกลายเป็นกีฬาที่คนไทยให้ความสนใจทุกครั้งที่มีการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะทีมวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่นอกจากจะสร้างผลงานจนเป็นทีมในระดับหัวแถวของโลกแล้ว ครั้งหนึ่งยังเคยสร้างเหตุการณ์ ‘วอลเล่ย์บอลไทยฟีเวอร์’ มีผู้คนต่อแถวซื้อตั๋วเข้าชมการแข่งขันของพวกเธอยาวเป็นกิโลเมตรมาแล้ว

พีค of the week EP.5

สัปดาห์ก่อน ยุ่งชุลมุนกันไปทุกวงการ การเมืองต่างประเทศที่พม่าก็ระอุตั้งแต่เปิดต้นเดือนกุมภาพันธ์กันมาเลย ส่วนที่เมืองไทยบ้านเราก็ไม่เบา มีเหตุการณ์ปะทะกันหลายวง ทั้งวงม็อบปะทะเจ้าหน้าที่ วงการเมือง ‘หมอวรงค์ปะทะธนาธร’ หรือแม้แต่วงบันเทิง ‘อ. ปะทะ ณ.’ แถมท้ายด้วยประโยคเด็ดประจำสัปดาห์ ‘อาวุธคือทิชชู่’ พีคกันซะขนาดนี้ ตามไปดูเรื่องราวกันในอีพีนี้กันได้เลย Let’s go!!

.

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทำพิธีเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่ทำประโยชน์ให้พื้นที่เกษตรภาคกลางมากว่า 64 ปี

วันนี้เมื่อกว่า 64 ปีมาแล้ว เป็นวันสำคัญเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการทำพิธีเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย

กล่าวถึงเขื่อนเจ้าพระยา เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 โดยเป็นเขื่อนทดน้ำ ที่ไม่ใช่สำหรับกักเก็บน้ำ สร้างขวางแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่ยกระดับน้ำให้สูงขึ้น +16.50 เมตร จากระดับน้ำทะเล เพื่อส่งน้ำเข้าไปยังลำคลอง ในพื้นที่การเกษตร ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา

โดยที่มาของเขื่อนเจ้าพระยานี้ เกิดจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานแนวทางการบรรเทาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องน้ำให้กับพสกนิกร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อการอุปโภค บริโภค บรรเทาอุทกภัย และแก้ไขปัญหาน้ำทะเลหนุน จึงเป็นที่มาของการสร้างเขื่อนเจ้าพระยาแห่งนี้

ผ่านมากว่า 64 ปีแล้ว ในวันนี้ เขื่อนเจ้าพระยาก็ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในการทำประโยชน์ให้พื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่ได้รับประโยชน์จากเขื่อนแห่งนี้มาตลอดกว่า 7.5 ล้านไร่

วันนี้เป็นวันสำคัญ โดยเฉพาะในมุมเรื่องราววัฒนธรรมของชาติ เนื่องจากวันนี้ถูกยกกำหนดให้เป็น ‘วันมวยไทยแห่งชาติ’

โดยที่มาของวันนี้ สืบเนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงคุณค่าของศิลปะการต่อสู้อันเก่าแก่ของชาติไทย ซึ่งปัจจุบันได้รับการความเผยแพร่ต่อในระดับนานาชาติ กลายเป็นศาสตร์การต่อสู้และป้องกันตัวที่ทั่วโลกให้การยอมรับ จึงได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรมยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกหลายฝ่าย ผลักดันให้มีการสถาปนา ‘วันมวยไทย’ โดยเลือกเอาวันขึ้นเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) แห่งราชอาณาจักรอยุธยา คือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2245 เป็นวันมวยไทย

เหตุที่เลือกเอาวันเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าเสือ เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปะการต่อสู้ประเภทนี้ ครั้งหนึ่งขณะที่ยังดำรงตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ ทรงเคยชกต่อยกับพระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางฝรั่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว

สมเด็จพระเจ้าเสือยังทรงวางระบบการคัดเลือกชายฉกรรจ์มาฝึกมวยไทยในราชสำนัก โดยเป็นพระอาจารย์ด้วยพระองค์เอง และทรงคิดตำรับท่าแม่ไม้มวยไทยซึ่งเรียกว่ามวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ ตำราแม่ไม้มวยไทยที่เก่าแก่ที่สุด ต่อมายังได้ถูกบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกด้วย

มวยไทยถือเป็นศิลปะการต่อสู้และศาสตร์การป้องกันตัวของชนชาติไทยที่เป็นเอกลักษณ์ ควรค่าแก่การอนุรักษ์และเผยแพร่แก่คนรุ่นหลังให้ได้สืบต่อและรักษาเอาไว้ตราบนานเท่านาน

The Battle Quotes ประโยคปะทะเดือด ‘ธนาธร vs นพ.วิกรม’ กรณีมาตรา ม.112

#เพราะข่าวก็ร้อน #และประโยคก็เชือดเฉือน The States Times จึงขอเปิดพื้นที่คอนเท้นใหม่ ในชื่อว่า The Battle Quotes เราจะหยิบจับเอา ‘ประโยคเข้มๆ’ จากข่าวดัง ข่าวเด่น ที่มีประเด็นจากสองฝ่าย นำมาปะทะ เอ้ย! เรียกว่า นำมาให้อ่านกันชัดๆ ว่าใคร ฝ่ายไหน คิดเห็นอย่างไร?

ประเดิมเริ่มต้นด้วยประเด็นร้อนๆ กับกรณี ‘ไลฟ์สดวัคซีนพระราชทาน’ ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ที่กลายเป็นว่า เข้าข่ายผิดกฎหมาย มาตรา 112 พาดพิงสถาบันฯ ซึ่งงานนี้มีคู่มวย เอ้ย! คู่ปรับแรงคือ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี ที่ยกพลขึ้น สน.นางเลิ้ง แจ้งความเอาผิดนายธนาธร มาตรา 112 และ 116 ฐานก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้ร้าย และนำไปสู่การยั่วยุปลุกปั่น

สถานการณ์ล่าสุด เมื่อวาน (4 ก.พ.64) นายธนาธร เดินทางมาที่ศาลอาญา เพื่อเข้าฟังนัดไต่สวนคำร้องคัดค้านของคณะก้าวหน้า ที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลสั่งลบลิงค์ตามคำขอ กระทรวงดิจิตอลฯ (MDES) การเผยแพร่ภาพ-คลิปเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิดพาดพิงสถาบันฯ ผ่านเพจคณะก้าวหน้า โดยเจ้าตัวได้ตอบคำถามสื่อมวลชน ถึงเรื่องขอบเขตความผิดของ ม.112 ในประเทศไทย

นายธนาธร กล่าวว่า ใน ม.112 เป็นมาตราที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างแน่นอน เพราะสิทธิมนุษยชนนั้นคือการมีเสรีภาพทางการแสดงออก และม.112 มีโทษที่สูงเกินไปด้วย จึงเห็นว่าควรมีการแก้ไขกฎหมาย ม.112

เมื่อถามต่อว่าในวันนี้ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม จะเดินทางมาไปแจ้งความเกี่ยวกับกรณีนี้ นายธนาธร ก็ตอบกลับมาว่า เชิญครับ เพราะตนเองนั้นก็เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ใจ

ด้าน นพ.วิกรม เดชกิจวิกรม ซึ่งได้เดินทางไปที่สน. นางเลิ้ง เพื่อแจ้งความเอาผิดกับนายธนาธร เมื่อได้ทราบการตอบคำถามของนายธนาธร ก็ได้โพสต์ข้อความขึ้นเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีเนื้อหาว่า...

“...ผมมาแจ้งความดำเนินคดีแล้ว และอยากจะบอกนายธนาธรด้วยว่า ที่บอกว่าตนเองบริสุทธิ์ใจนั้น ขอให้พยายามทำการบ้านให้ดีนะ เพราะสิ่งที่คุณบริสุทธิ์ใจนั้น มันกลายเป็นบิดเบือนทั้งสิ้น ที่สำคัญเป็นการจงใจบิดเบือน ให้ร้ายสถาบันเบื้องสูงเสียด้วย ดูแล้วงานนี้ คุณน่าจะรอดยากครับ จำไว้ด้วยว่า ควรตรวจสอบข้อมูลให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะนำเสนออะไร

นายธนาธร กล่าวว่า ใน ม.112 เป็นมาตราที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างแน่นอน เพราะสิทธิมนุษยชนนั้นคือการมีเสรีภาพทางการแสดงออก

ผมอยากจะบอกนายธนาธรด้วยว่า เสรีภาพในการแสดงออกนั้น ต้องอยู่ในกรอบกฏหมาย ไม่ใช่อยากจะไปกล่าวให้ร้ายใครก็ได้ เพราะการไปกล่าวให้ร้ายคนอื่นเสียหาย เขาไม่เรียกเสรีภาพ เขาเรียกดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท เข้าใจไหมครับ”

ดูท่าว่า คู่ปะทะ เอ้ย! คูกรณีคู่นี้ จะได้แลกหมัดกันอีกหลายยก โปรดติดตามกันต่อไป ว่าใครจะน็อคใคร?!!

5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 กำเนิด ‘ถนนเจริญกรุง’ ถนนสายหลักที่สร้างให้ชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงสู่วิถีอันทันสมัย

ถ้าเป็นสายฮิปสเตอร์ ชื่อ ‘ถนนเจริญกรุง’ ในวันนี้ คือถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้า คาเฟ่ บูติกโฮเทลเก๋ๆ ที่ผุดขึ้นมาเรียงรายสองฝั่งถนน แต่หากสืบย้อนกลับไป ถนนที่มีความยาวกว่า 8,575 เมตร สายนี้ ได้ชื่อว่า เป็นถนนสายหลักแห่งแรกของประเทศไทย

ถนนเจริญกรุง ถูกดำริให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นด้วยเหตุที่มีชาวต่างชาติ ได้เข้ามาทำธุรกิจห้างร้าน รวมถึงที่ทำการกงสุลต่างๆ ก็ถูกก่อสร้างขึ้นในย่านนี้ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ได้ขอให้สร้างถนนสายสำหรับขี่ม้า หรือนั่งรถม้า พระองค์จึงทรงดำริให้มีการสร้างถนนที่มีมาตรฐานขึ้น แล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ. 2407

แรกเริ่มเดิมที ผู้คนเรียกถนนสายนี้ว่า ถนนใหม่ ส่วนฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road) และชาวจีนเรียกว่า ซินพะโล้ว แปลว่า ถนนตัดใหม่ เช่นกัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า ‘ถนนเจริญกรุง’ ซึ่งมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง

ถนนเจริญกรุงในยุคก่อน ได้ชื่อว่าเป็นถนนที่ใหญ่และยาวที่สุด โดยแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ถนนเจริญกรุงตอนใน ตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็ก) และถนนเจริญกรุงตอนใต้ ตั้งแต่สะพานเหล็กออกไปนอกกำแพงพระนคร ต่อเนื่องไปถึงตลาดน้อย บางรัก จรดดาวคะนอง (ในปัจจุบัน)

เมื่อมีถนนหลักใหม่และงดงาม จึงนำมาซึ่งวิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างอาคาร ห้างร้าน บ้านเรือน ไปตลอดแนวถนน ต่อมามีการติดไฟฟ้านำทางส่องสว่าง และด้วยความสวยงามของท้องถนน ผู้คนจึงรู้จักที่จะออกมาใช้ชีวิตในยามค่ำคืนกันมากขึ้น จนเป็นที่มาของถนนที่ได้ชื่อว่า เป็นถนนที่ไม่มีวันหลับใหล ตราบจนทุกวันนี้ ‘เจริญกรุง’ ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน แม้สองข้างทางจะเก่าแก่ไปตามกาลเวลา แต่จิตวิญญาณของถนนที่ได้ชื่อว่า เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย ก็ยังคงปรากฎอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


ที่มา: https://sites.google.com/site/ibkkgroup3/home/yan-ceriykrung

‘ชื่อหวานๆ ต้องโครงการลุงตู่’ รวมรายชื่อโครงการเยียวยา ช่วยเหลือประชาชน ของรัฐบาลลุงตู่นับตั้งแต่ปี 2560-2564 ตีความง่าย ประชาชนเข้าใจได้เลย

ถามว่า อะไรเอ่ย ‘ชื่อเยอะ โครงการแยะ’ อันนี้ก็ต้องยกให้ ‘โครงการของรัฐบาลลุงตู่’ นิเอง ลองย้อนๆ เช็กดู ตั้งแต่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีมา 2 สมัย 7 ปี ทำเป็นเล่นไป มีโครงการช่วยเหลือประชาชนออกมามากมาย ไม่ต้องนับย้อนไปไกลมากถึง 7 ปีหรอก เอาแค่ 3-4 ปีให้หลังมานี้ ลุงตู่แอนด์เดอะแก๊งค์ ผุดสารพัดโครงการ ไม่ว่าจะเป็นแนวแก้ปัญหา เยียวยา หรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทยอยมาเป็นชู๊ดดๆ

ช่วง 2 - 3 วันที่ผ่านมา ก็เพิ่งปล่อย ‘ม.33 เรารักกัน’ ลำพังแค่ได้ยินชื่อ ก็แอบหวานเห็นรอยยิ้มลุงตู่นำมากันเลยทีเดียว เราจึงลองสืบย้อนกลับไปดูบรรดารายชื่อโครงการมากมาย ก็พบว่า มีจุดเด่นคือ อ่านง่าย เข้าใจได้เลย และเป็นประโยคหวานๆซอฟท์ๆ อาทิ โครงการกำลังใจ, เราไปเที่ยวด้วยกัน (แนะนำว่า เวลาอ่านแต่ละชื่อ ขอให้นึกใบหน้าลุงตู่แย้มยิ้มไปด้วยนะจ๊ะ)

ข้อดีอีกประการที่หากสังเกตจะทำให้รู้ว่า บรรดาโครงการเหล่านี้ มีวิธีให้ผู้คนทุกระดับต้องเอาตัวเข้าไปสู่ ‘โลกดิจิตัล’ หรือพูดง่ายๆ คือ ต้องหัดลงทะเบียน เบิกจ่าย สั่งจอง ผ่านโลกออนไลน์ทั้งสิ้น แรก ๆ มีเสียงคัดค้านว่ายากต่อการเข้าถึง แต่ถึงวันนี้ คุณลุง คุณป้า คุณย่า คุณยาย มีสารพัดแอปฯ ของรัฐกันเรียบร้อย มันอาจจะยุ่งวุ่นวายกันบ้างในช่วงแรก แต่นี่คือกุศโลบายในการเดินหน้าเข้าสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ไปโดยไม่รู้ตัว

เล่ามาถึงตรงนี้ The States Times เลยไปรวบรวมบรรดาชื่อโครงการอ่านง่าย เข้าใจได้เลย ของรัฐบาลลุงตู่ มาให้ได้ดูกัน งานนี้ขออนุญาตย้อนถามคุณสักหน่อยว่า ชอบชื่อไหนกันบ้าง วานบอก...

4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ย้อนที่มา ‘ม็อบกู้ชาติ’ ของ สนธิ ลิ้มทองกุล สู่ ‘พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย’ การรวมมวลชนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เอ่ยคำว่า "ม็อบ" อาจเป็นคำหนึ่งที่อยู่คู่กับเมืองไทยมากว่า 15 ปีให้หลังมานี้ แต่หากจะย้อนเวลาไปหา "จุดแรกเริ่ม" ของม็อบในช่วงตลอด 15 ปีที่ผ่านมา มันเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 หรือวันนี้เมื่อ 15 ปีก่อนนี่เอง

สนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าของสื่อในเครือผู้จัดการ คือผู้นำมวลชนเมื่อ 15 ปีก่อน ให้ออกมารวมตัวกันเรียกร้อง "กดดันให้ ทักษิณ ชินวัตร" ในฐานะนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น ลาออก!

สืบย้อนกลับไป สนธิ ลิ้มทองกุล ดำเนินรายการ "เมืองไทยรายสัปดาห์" ที่ช่อง 9 อสมท. โดยวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความไม่ชอบมาพากลในการบริหารประเทศของ ทักษิณ ชินวัตร มาตลอด กระทั่งรายการถูกถอดออกจากผังของสถานี แต่เมืองไทยรายสัปดาห์ยังเดินหน้าต่อในรูปแบบของการสัญจรจัดรายการไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งกลายเป็นว่า มีผู้คนติดตามมากขึ้นเรื่อย ๆ

สถานการณ์เดินทางมาจนถึงเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เมื่อนายสนธิประกาศนัดชุมนุมใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า "กู้ชาติ" เพื่อกดดันทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยชนวนสำคัญมาจากการขายหุ้น 49.6% ของทักษิณในบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของทางการสิงคโปร์ ในราคา 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีความไม่โปร่งใส และเข้าข่ายหลีกเลี่ยงภาษี!

ในเวลาต่อมา จากกลุ่มกู้ชาติ ก็ได้กลายเป็นการจัดตั้ง "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" หรือที่ผู้คนเรียกติดปากว่า "ม็อบเสื้อเหลือง" ซึ่งการต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรฯ ในช่วงแรกสิ้นสุดลง ภายหลัง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำการรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่เมื่อพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2551 สนธิและแกนนำพันธมิตรฯ ก็ได้กลับมาชุมนุมอีกครั้ง

การชุมนุมของพันธมิตรฯ และสนธิ จบลงเมื่อ "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชนและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี ถือเป็นอันยุติ "ม็อบเสื้อเหลือง" ที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ปีลง


ที่มา: https://www.posttoday.com/politic/analysis/452915

 https://th.wikipedia.org

3 กุมภาพันธ์ ‘วันทหารผ่านศึก’ วันแห่งการรำลึกถึงทหารผู้กล้า ที่เสียสละปกป้องแผ่นดิน

ประเทศไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาจนถึงวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีเหล่าทหารหาญที่เป็นเสมือนแนวหน้า คอยปกป้องแผ่นดินยามเมื่อมีวิกฤติ และวันนี้ ก็ถือเป็นวันสำคัญของเหล่าทหารผู้เสียสละ เพราะถูกยกให้เป็น "วันทหารผ่านศึก"

ที่มาของวันสำคัญนี้ เกิดขึ้นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง พบว่าทหารที่ไปร่วมรบประสบกับอาการบาดเจ็บ บางคนถึงกับพิการ ส่งผลให้ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีพ รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาในการช่วยเหลือ

โดยใน พ.ศ. 2490 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ทหารที่กลับจากปฏิบัติการรบ และช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบ แต่ก็ยังเป็นหน่วยงานที่ไม่เป็นทางการ เวลาผ่านไปไม่นาน

จึงได้เสนอเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกขึ้น โดยผ่านการเห็นชอบจากรัฐบาล และได้มีการประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ด้วยเหตุนี้ จึงได้ยึดเอาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก ด้วยนั่นเอง

ในต่างประเทศนั้นมี ‘วันทหารผ่านศึก’ เช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันในการกำหนดวันที่ โดยเป็นวันที่เชิดชูเกียรติแก่เหล่าทหารหาญที่ปกป้องแผ่นดิน ซึ่งจะมี ‘ดอกป๊อปปี้สีแดง’ เป็นสัญลักษณ์ประจำวันสำคัญนี้ โดยในวันนี้ จะมีการรณรงค์ซื้อดอกป๊อปปี้เพื่อเป็นกำลังใจ รวมทั้งนำรายได้กลับไปช่วยครอบครัวเหล่าทหารผ่านศึกอีกด้วย


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top