Thursday, 3 July 2025
Hard News Team

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารของรัฐบาล โดยระบุว่า “สื่อกับชาวบ้านต้องอย่างนี้ มีเพื่อนส่งต่อกันในไลน์ ผมเห็นว่าสื่อได้ ‘โดน’ เข้าใจง่ายดีครับ”

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารของรัฐบาล โดยระบุว่า “สื่อกับชาวบ้านต้องอย่างนี้ มีเพื่อนส่งต่อกันในไลน์ ผมเห็นว่าสื่อได้ ‘โดน’ เข้าใจง่ายดีครับ”

นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เปรียบเทียบให้เห็นอัตราการติดเชื้อรายวัน และอัตราการเสียชีวิตประเทศไทยน้อยกว่าประเทศอังกฤษเยอะ แม้ว่าประเทศอังกฤษจะได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้วในอัตราที่มากกว่า โดยระบุว่า...

นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Nitipat Bhandhumachinda’ เปรียบเทียบให้เห็นอัตราการติดเชื้อรายวัน และอัตราการเสียชีวิตประเทศไทยน้อยกว่าประเทศอังกฤษเยอะ แม้ว่าประเทศอังกฤษจะได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้วในอัตราที่มากกว่า โดยระบุว่า

เห็นคนด่ารัฐบาลมาก ๆ เรื่อง การดูแลบริหารจัดการวิกฤติโรคโควิด ก็เลยตื่นมานั่งค้นดูข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยเปรียบเทียบกับประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับประเทศไทย (67.61 ล้านคน และ 69.95 ล้านคน ตามลำดับ) และเป็นประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนมากเป็นอันดับที่สองของโลกคือ ได้วัคซีนเข็มแรกไปแล้ว 50.22% (โดยเริ่มการฉีดวัคซีนเข็มแรกในวันที่ 20 ธันวาคมปีที่แล้ว)

จากกราฟรูปที่ 1 ซึ่งเป็นข้อมูลจำนวนผู้ป่วยใหม่ในประเทศสหราชอาณาจักรและกราฟรูปที่ 3 ซึ่งแสดงจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันนั้น แม้จะเห็นได้ว่ามีแนวโน้มลดลง แต่ก็ยังมียอดผู้ป่วยและยอดผู้เสียชีวิตสูงกว่า ประเทศไทยหรือ กะลาแลนด์ในสายตาคนไทยบางคน อยู่ทุกวัน

แม้แต่วันที่เราระบาดสูงสุดคือมีจำนวนผู้ป่วยใหม่สองพันกว่าคนต่อวันนั้น ก็เท่า ๆ หรือน้อยกว่าวันที่เขาระบาดต่ำสุด ในช่วงเวลาเดียวกัน

และวันที่เราเสียชีวิตสูงสุดต่อวันคือวันละสิบยี่สิบกว่าคนนั้น ก็ยังมีจำนวนที่ต่ำกว่าหรือไล่เลี่ยกับ วันที่ประเทศของเขามียอดผู้เสียชีวิตต่ำสุดในรอบเดียวกัน

ส่วนช่วงที่เขาระบาดกันหนัก ๆ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งแม้จะเป็นช่วงที่เริ่มให้วัคซีนกันแล้วนั้น เขาป่วยกันเพิ่มวันละ สี่หมื่นถึงหกหมื่นคน เสียชีวิตกันวันละ พันกว่าคนทุกวัน

ถามว่าได้รับวัคซีนแล้วช่วยได้จริงไหม ก็ต้องตอบว่าหลังจากฉีดวัคซีนกันเป็นจำนวนมากแล้ว ก็สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ระดับหนึ่งจริง

แต่ก็ไม่ได้แปลว่า เราจะรอดตายแน่นอน เพราะทุกวัน แม้แต่ประเทศที่มีศักยภาพในการรับวัคซีนสูงเป็นที่สองของโลกและมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับเรานั้น ก็ยังมีคนเสียชีวิตจากโควิด ในจำนวนที่มากกว่าหรือใกล้เคียงกับเราอยู่ทุก ๆ วัน

ประเทศของเรานั้น แม้จะมีการฉีดวัคซีนช้ากว่าเขาประมาณสองเดือน และการกระจายวัคซีนยังไม่สามารถทำได้ในวงกว้างเท่าเขา

แต่หากใครจะด่าอย่างเกรี้ยวกราดว่า เป็นชาติที่เฮงซวยห่วยแตก มีรัฐบาลเส็งเคร็ง บริหารงานอย่างไรให้มีคนตายมากมายนั้น

ก็อยากให้ลองเปรียบเทียบ ในทุก ๆ วันที่ประเทศอื่นเขาทุกข์ยากลำบากกับวิกฤติอย่างหนักมาตลอดทั้งปี พวกคุณคนเดียวกัน ยังสามารถออกไปประท้วง ออกไปสังสรรค์ ออกไปแหกปากร้องเพลงอวยพรงานแต่งงานกันได้ครื้นเครงนั้น

มันไม่ได้มาจากปาฏิหาริย์ อัศจรรย์ หรือ เทพเทวาใด ๆ ที่ช่วยให้ประเทศไทยรอดปลอดภัย มียอดผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตต่ำเตี้ยกว่าหลาย ๆ ประเทศมาได้จนถึงวันนี้

แต่มาจาก ความร่วมมือกันของคนไทย ศักยภาพและความทุ่มเทของแพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุก ๆ คน

และส่วนหนึ่งก็มาจากผลงานรัฐบาลไทย ที่คุณแหกปากด่าอยู่ได้ทุก ๆ วันนี่แหละครับ

ปล.ที่เลือกสหราชอาณาจักร เพราะเป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนเป็นเปอร์เซนต์แล้ว ได้มากเป็นอันดับที่สองของโลก และมีการฟื้นตัวจากวิกฤติโรคระบาดได้ดีกว่าชาติอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

ปล.2 หากเอาไทยไป เปรียบเทียบกับ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี หรือสเปนแล้ว ตัวเลขเขายิ่งหนักหนากว่าประเทศเราไปอีกมากมายครับ


เครดิตภาพ worldometer

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4196986613680120&id=100001064693827

เปิดประสบการณ์พยาบาลสาวไทย วิ่งหา Lab ตรวจโควิด ที่เมืองคุรุคาม ทางใต้เมืองหลวงนิวเดลี

วันนี้หาที่ตรวจโควิดซ้ำหายาก คนเยอะ ขับรถวนอยู่หลาย Lab คนยืนต่อคิวแน่นเหมือนจุดลงทะเบียนเราชนะ ถ้าใครไม่ติดก็ควรจะติด ณ จุด ๆ นี้ Lab นี้ เจ้าหน้าที่มีสามคน ใส่ชุดอวกาศ PPE นั่งอยู่ในห้องสามคน พัดลมหมุนวิ้ง ๆ บนเพดาน เอกสาร กล่องต่าง ๆ วางลวก ๆ พร้อมย้ายฐานเหมือนคลินิกทำแท้งเถื่อน แต่ก็ดูได้มาตรฐาน พอเข้ามานั่ง มนุษย์อวกาศท่านหนึ่ง เข้ามาพ่นสเปรย์ใส่ เรานึกว่ามือ เปล่า ใส่ทั้งตัวเหมือนเราเป็นสิ่งของ

ทางเข้าเงียบ แปะป้ายเหมือนออฟฟิศซอมบี้ร้างในหนัง

มาวันที่หนึ่งแห้ว วนหาแลบอื่นคนยั้วะเยี้ยไม่กล้าลงจากรถ ครั้งแรกที่ตรวจ ให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจที่หน้าห้องนอน ตอนนี้บริการนี้หายไป ผู้คนใช้ล้นหลาม ต้องทำนัดมาวันที่สอง

โควิด PCR ค่าตรวจแลบนี้ 1250 รูปี หรือประมาณ 600 บาทไทย

ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เผยตัวเลข ดัชนีเชื่อมั่นค้าปลีกลด 43% หลังแพร่ระบาดโควิด-19 ระบุ ผู้ประกอบการห่วงยอดขายหด40% หลังเห็นความไม่ชัดเจนฉีดวัคซีนของภาครัฐ

5 พฤษภาคม พ.ศ.2564 นายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ รองประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า การสำรวจความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกไทยเดือนเมษายนเป็นการสำรวจทางออนไลน์ระหว่างวันที่ 16-24 เมษายน พ.ศ.2564 มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามประกอบด้วยร้านค้าปลีกสินค้าทั่วประเทศซึ่งมีช่องทางจำหน่ายรวมกันกว่า 23,000 แห่งและร้านค้าปลีกบริการภัตตาคารร้านอาหารที่มีช่องทางบริการกว่า 6,000 แห่งนั้น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ค้าปลีกปรับลดลงกว่า 43% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมโดยดัชนีปรับลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยกลางที่ 50 อย่างชัดเจน ใกล้เคียงกับดัชนีความเชื่อมั่นเดือนเมษายน 2563 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ลดลง หลังจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามในเดือนเมษายน กระจายเป็นวงกว้างกว่าที่ผ่านมา ประกอบกับกำลังซื้อที่ฟื้นตัวช้าเป็นปัจจัยที่เพิ่มความกังวลให้แก่ผู้ประกอบการ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้า เปรียบเทียบระหว่างดัชนีในเดือนมกราคม 2564 และดัชนีในเดือนเมษายน 2564 จะพบว่าเดือนเมษายนลดต่ำกว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าในเดือนมกราคม 2564 สะท้อนถึงความไม่มั่นใจถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ด้วยข้อกังวลถึงความรุนแรงของการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ค่อนข้างสูง และความวิตกกังวลถึงความไม่ชัดเจนของแนวทางการฉีดวัคซีนที่ภาครัฐนำเสนอ

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการต่อการเติบโตยอดขายสาขาเดิมเดือนเมษายน  เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม มีทิศทางที่ลดลงกว่า 40% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม สะท้อนให้เห็นว่ายอดขายสาขาเดิมเดือนเมษายนลดลงจากเดือนมีนาคมเกือบครึ่ง ซึ่งเป็นการลดลงทั้งยอดซื้อต่อบิลและความถี่ในการจับจ่าย

ทั้งนี้ จากประเด็นคำถามพิเศษประจำเดือนให้ผู้ประกอบการประเมินผลกระทบต่อยอดขายและกำลังซื้อและผลกระทบต่อการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ผลการสำรวจผู้ประกอบการที่บริหารร้านค้าปลีกกว่า 29,000 แห่ง พบว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคมีสัญญาณปรับตัวแย่กว่าเดือนมีนาคมมากกว่า 25% ผลจากผลการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่เดือนเมษายน และประเมินว่ายอดขายจะได้ผลกระทบมากกว่า 15-40% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม

นายฉัตรชัย กล่าวว่า ผู้ประกอบการยังมีความกังวลถึงการจ้างงานที่จะลดลงจากยอดขายที่หดหายไป มีข้อเสนอให้ภาครัฐควรมีมาตรการเยียวยาช่วยจ่ายค่าแรงพนักงาน 50% รวมถึงควรหาแหล่ง Soft Loan ที่เข้าถึงง่ายให้กับผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ โดยโควิดระลอกใหม่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างหนัก โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคการค้าปลีก ค้าส่ง ศูนย์การค้า ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว โควิดระลอกใหม่ เพียงแค่เขตการควบคุมพิเศษและเข้มงวดสีแดงเข้ม 6 จังหวัดจะกระทบถึง 22% ต่อ GPP รวมของประเทศ ซึ่งมีการจ้างงานภาคการค้าปลีก ค้าส่ง ศูนย์การค้า ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว กว่า 3.12 ล้านคน 

อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ ใคร่ขอตอกย้ำและกระตุ้นภาครัฐ ให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกศูนย์การค้าและร้านอาหาร ดังนี้  

(1.) สนับสนุนค่าจ้างพนักงาน ลดภาระค่าใช้จ่ายด้วยมาตรการภาษี เพื่อไม่ให้มีการลดพนักงานหรือเลิกจ้าง

(2.) สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์พิจารณาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่ผู้ประกอบการอย่างจริงจังและรวดเร็ว เพราะด้วยสภาพคล่องที่เหลืออยู่ของผู้ประกอบการค้าปลีกจะสามารถดำเนินธุรกิจได้เพียง 3-6 เดือน

(3.) ประกาศการจ้างงานแบบรายชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริการต่อผู้บริโภคที่มาเป็นช่วงเวลา โดยให้ใช้กับธุรกิจค้าปลีกและร้านอาหารเป็นการเฉพาะก่อน

(4.) เร่งรัดการฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว ครอบคลุมและทั่วถึง

กรมการขนส่งทางบก ย้ำ !!! มาตรการสาธารณสุข ผู้โดยสารต้องล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ พร้อมสวมหน้ากากอนามัยตลอดทางเดินทาง เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามข้อสั่งการ รมว.คมนาคม

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังไม่กลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระบบขนส่งสาธารณะอย่างเคร่งครัด

กรมการขนส่งทางบก ได้ยกระดับความเข้มข้นมาตรการสาธารณสุข D-M-H-T-T-A เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย มาตรการคัดกรอง entry และ exit scan ในรถโดยสารสาธารณะ สถานีขนส่งผู้โดยสาร และสำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจสอบการสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา 100% มาตรการเว้นระยะห่าง จัดเตรียมแอลกอฮอล์เจลสำหรับทำความสะอาดมือ เพิ่มความถี่ในการทำสะอาดพื้นที่สาธารณะตลอดทั้งวัน พร้อมจัดพิมพ์ QR Code ไทยชนะให้ผู้โดยสารเช็คอิน-เช็คเอาท์ทุกครั้งก่อนใช้บริการ โดยวันนี้ (4 พ.ค. พ.ศ.2564) สำนักงานขนส่งจังหวัด เช่น สกลนคร สระแก้ว สุโขทัย อุดรธานี แพร่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พระนครศรีอยุธยา เชียงราย อุบลราชธานี นครพนม พิษณุโลก พังงา น่าน นครปฐม กำแพงเพชร ลำพูน กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ มุกดาหาร อุตรดิตถ์ เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา เลย อุทัยธานี ชัยภูมิ สตูล แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ราชบุรี กาญจนบุรี ศรีสะเกษ จันทบุรี นครสวรรค์ ได้ดำเนินการตรวจสอบรถโดยสารสาธารณะทุกประเภททั้งที่สถานีขนส่งผู้โดยสารและจุดตรวจคัดกรองในพื้นที่รับผิดชอบ และประชาสัมพันธ์การปฏิบัติตามมาตรการ ของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด 

ในส่วนของการให้บริการที่สำนักงานขนส่งทุกแห่ง มีการปรับรูปแบบดำเนินการแบบ New Normal ตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด พร้อมขอความร่วมมือประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าในการติดต่อราชการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบก แจ้งงดการอบรมและทดสอบ ด้านใบอนุญาตขับรถและผู้ประจำรถ ณ สำนักงานขนส่งทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2564 เป็นต้นไป

โดยผู้ขอใบอนุญาตขับรถรายใหม่ให้รอจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ส่วนการต่ออายุใบอนุญาตขับรถสามารถนำผลการอบรมออนไลน์มาดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตขับรถได้ โดยจองคิวดำเนินการล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เท่านั้น เพื่อบริหารจัดการจำนวนผู้ใช้บริการภายในสำนักงาน  ตั้งจุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิประชาชน ก่อนเข้าอาคารสำนักงาน ที่นั่งพักคอยของประชาชนมีการเว้นระยะอย่างเหมาะสม ติดตั้ง Table Shield กั้นระหว่างผู้มาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ พร้อมแนะนำการให้บริการชำระภาษีรถประจำผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อลดการสัมผัสและไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานขนส่ง เช่น เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ หรือ แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax  ดาวน์โหลดฟรีทั้งระบบปฏิบัติการ iOS: https://apple.co/3iAx6Dd และแอนดรอยด์: https://bit.ly/2XXQLVT

โซเชียลเมียนมา ลือ หนึ่งในสาเหตุที่ทางกองทัพตัดสินใจทำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนนั้น เป็นเหตุผลที่ไม่ได้บอกออกมาตรง ๆ แต่มีแค่เสียงเมาท์กันในวงการว่า 'อเมริกาได้ขอเช่าเกาะโคโค เพื่อทำฐานทัพ'

เป็นอีกข่าวที่โผล่ขึ้นมาในสื่อโซเชียลของเมียนมา หลังจากมีเสียงลือมาว่า หนึ่งในสาเหตุที่ทางกองทัพตัดสินใจทำรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนนั้น เป็นเหตุผลที่ไม่ได้บอกออกมาตรง ๆ แต่มีแค่เสียงเมาท์กันในวงการว่า 'อเมริกาได้ขอเช่าเกาะโคโค เพื่อทำฐานทัพ' เช่นเดียวกันกับที่อเมริกาเคยใช้อู่ตะเภาเป็นที่มั่นในการทำสงครามอินโดจีนในครั้งอดีต

หมู่เกาะโคโค เป็นหมู่เกาะเล็ก ๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของเขตย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา หมู่เกาะตั้งอยู่ทางทิศใต้ของย่างกุ้งราว 414 กิโลเมตร โดยเกาะโคโคมี 5 เกาะ มีเกาะพรีแพริสของพม่าอยู่ทางเหนือของหมู่เกาะ และมีเกาะแลนด์ฟอลล์อยู่ทางทิศใต้

คำถามคือทำไมอเมริกาถึงสนใจหมู่เกาะโคโค?

เรื่องนี้คาดการณ์ได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้

1.) หมู่เกาะนี้มีสนามบินอยู่ ซึ่งน่าจะถูกสร้างไว้เมื่อนานมาแล้ว ดังนั้นในแง่งบประมาณในการปรับปรุงเพื่อนำมาใช้ย่อมประหยัดกว่าการเช่าพื้นที่เปล่ามาสร้าง

2.) หมู่เกาะโคโคอยู่ไม่ไกลจากหมู่เกาะนิโคบาร์ ที่มีกองทัพเรือของอินเดียอยู่ที่ Port Blair ซึ่งถือว่าเป็นจุดแนวกันชนระหว่างทะเลอันดามันกับมหาสมุทรอินเดีย

3.) ไม่มีฐานทัพสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรอินเดียกับฝั่งทะเลอันดามันเลย ในขณะที่ฝั่งตะวันออก มีฐานทัพสหรัฐฯ ในฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้แล้ว

แล้วเหตุใดเรื่องนี้ จึงถูกนำมาโยงกับเรื่องการรัฐประหาร แล้วทางกองทัพเมียนมามองเห็นอะไรกันแน่?

เหตุผลข้อแรก คือ ระยะทางจากหมู่เกาะโคโคถึงแผ่นดินใหญ่มีระยะทางเพียง 400 กว่ากิโลเมตร หากวันใดวันหนึ่งอเมริกาต้องการจะโจมตีเมียนมาแล้วละก็ สามารถยิงอาวุธพิสัยกลางสามารถถล่มเมืองย่างกุ้ง มัณฑะเลย์และเนปิดอว์ได้อย่างง่ายดาย รวมถึงหากต้องการล่วงล้ำอธิปไตยของเมียนมาด้วยแล้วละก็ การส่งฝูงบินรบจากหมู่เกาะโคโคถึงแผ่นดินใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที

ดังนั้นหากวันใดวันหนึ่งเกิดสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนขึ้นแล้วละก็ เมียนมาจะกลายเป็นสมรภูมิระหว่างทั้งสองประเทศแน่นอนในการยกพลขึ้นบกเข้าจีนจากทางใต้ ซึ่งหากไปถึงจุดนั้นจริง ๆ แล้ว ความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเมียนมาจะมหาศาล ทั้ง ๆ ที่เมียนมาไม่ได้เป็นคู่รบในสงครามครั้งนี้เลย

ความมั่นคงของชาติน่าจะเป็นเหตุผลหลักเหตุหนึ่งที่เป็นปัจจัยให้กังวล ซึ่งหากนางอองซาน ซูจี ให้เช่าหมู่เกาะโคโคจริง ก็ไม่ต่างกับการชักศึกเข้าบ้านและตอนนั้นต่อให้เมียนมามีแสงยานุภาพทางการทหารมากเพียงไหน ก็ไม่สามารถต้านทานแสงยานุภาพทางทหารของสหรัฐอเมริกาได้เลย

และนี่เป็นเรื่องที่แม้แต่คนเมียนมาผู้เรียกร้องประชาธิปไตยไม่เคยสนใจ เพราะคงมองว่าทุกสิ่งที่กล่าวมามันยังไม่เกิดขึ้น แต่หากเกิดขึ้นมันก็จะสายเกินแก้ไปเสียแล้ว


ที่มา: AYA IRRAWADEE

สำนักข่าว Bloomberg ซูฮกสิงคโปร์ มาแรงเบียดแซงนิวซีแลนด์ขึ้นแท่นประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาด Covid-19 ได้ดีที่สุดในโลก

สำนักข่าว Bloomberg ซูฮกสิงคโปร์ มาแรงเบียดแซงนิวซีแลนด์ขึ้นแท่นประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาด Covid-19 ได้ดีที่สุดในโลก ที่ตอนนี้ได้ฉีดวัคซีนให้กับประชากรไปแล้วประมาณ 1 ใน 5 และสามารถสกัดการแพร่ระบาดได้ดีเยี่ยมด้วยมาตรการเฝ้าระวัง และการกักกันโรคอย่างเข้มงวด 
.
นอกเหนือจากสิงคโปร์ ก็มี นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย อิสราเอล และไต้หวัน ตามติดมาอยู่หัวตารางของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาด Covid-19 ได้ดี ซึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้มีอยู่จุดหนึ่งที่ชี้วัดความสำเร็จนอกจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศที่ลดลงจนแทบเหลือศูนย์ ก็คือปริมาณการฉีดวัคซีน ที่สามารถไล่ทันอัตราการแพร่ระบาดได้ 

และนั่นคือจุดชี้ขาดในการสกัดการแพร่ระบาดได้ด้วยภูมิคุ้มกันหมู่ จากการเดินหน้าโปรแกรมวัคซีน 

แต่ทว่า ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ที่การแพร่ระบาดในหลายประเทศกลับมาทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น แม้ในประเทศที่มีการฉีดวัคซีนแล้วเป็นจำนวนมาก อย่างตุรกี ชิลี หรือ โปแลนด์ แต่ทำไมยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในระดับที่วางใจได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปริมาณของกลุ่มประชากรที่เข้ารับวัคซีนมีผลอย่างมากต่อการควบคุมโรคระบาด พูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งฉีดมาก ยิ่งดี ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือประเทศอิสราเอล ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วถึง 57.4% ของประชากร หรือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ฉีดไปแล้ว 47.4% ก็มีตัวเลขการควบคุมโรคระบาด Covid-19 ดีขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด

รวมถึงประเทศมหาอำนาจด้านวัคซีนอย่างสหรัฐฯ และ อังกฤษต่างเร่งฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดจนกลายเป็นแคมเปญระดับชาติ ที่ก็ทำให้ทั้งสองประเทศกลับมาควบคุมสถานการณ์ได้ หลังจากที่เคยตกอยู่ท่ามกลางพายุการระบาด Covid-19 อย่างน่ากลัวตลอดปี 2020 ที่ผ่านมา

แต่สำหรับหลายประเทศในยุโรปอย่างโปแลนด์ ตุรกี ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วหลายล้านโดส ก็ยังมีตัวเลขผู้ติดเชื้อในจำนวนที่น่าเป็นห่วง หรือชิลี ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วถึง 36.9% ของประชากร แต่ก็ยังพบการระบาดรอบ 2 ที่หนักยิ่งกว่ารอบแรกเมื่อปีที่แล้ว

แสดงว่า แค่ฉีดวัคซีนอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะพาโลกให้พ้นวิกฤติ Covid-19 ได้ในเร็ววัน อย่างที่หลายคนตั้งความหวังไว้อย่างนั้นหรือ? 

จากฝันร้ายเดือนเมษายนที่พบตัวเลขการระบาดกลับมาพุ่งแรงทั่วโลก โดยเฉพาะในอินเดีย และบ้านเรา จึงทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขมองว่า แค่เพียงการรอฉีดวัคซีนอย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ เพราะตอนนี้การตัวเลขการระบาดยังคงนำหน้าอัตราการฉีดวัคซีน 

รวมถึงการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรน่า ที่เป็นปัญหาในการสร้างภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีน ที่ยังทำให้สถานการณ์ Covid-19 ยังไว้ใจไม่ได้แม้จะได้รับวัคซีนครบตามจำนวนไปแล้วก็ตาม 

เพราะฉะนั้น ยังต้องรณรงค์เรื่องการฉีดวัคซีน ควบคู่ไปกับมาตรการด้านสาธารณสุขที่เข้มงวด สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกจากบ้าน การปิดพรมแดนชั่วคราวเพื่อสกัดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ไม่ให้เข้าประเทศ แม้แต่การพิจารณาเปิดเมืองก็ต้องทำอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง แม้ว่าจะฉีดวัคซีนไปบ้างแล้วก็ตาม 

เราไม่อาจหาสูตรสำเร็จตายตัวว่า ทำอย่างไรถึงจะช่วยให้พ้นวิกฤติ Covid-19 ได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ ได้ในตอนนี้ ในขณะที่วัคซีนยังคงขาดแคลนทั่วโลก ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่างก็มาดักจองวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงเอาไว้ให้กับคนในประเทศก่อน ความกังวลของผู้คนเรื่องผลข้างเคียงจากวัคซีน และหลายประเทศที่ระบบสาธารณสุขกำลังล่มสลาย

แต่วิกฤติครั้งนี้ ไม่สามารถรอดได้เพียงประเทศเดียว  องค์การอนามัยโลกออกมาย้ำเตือนเรื่องการกระจายวัคซีนสู่ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศยากจนที่เข้าไม่ถึงโควตาวัคซีน เพื่อช่วยกระจายภูมิคุ้มกันหมู่ให้ครอบคลุมไปทั่วโลก

และที่สำคัญที่สุดคือการ "ตั้งการ์ด" งดกิจกรรมนอกบ้าน ทำตามกฎระเบียบ มาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ลดอคติ  หันหน้าช่วยเหลือกัน สร้างความเข้าใจ และรณรงค์ให้ประชาชนเข้าถึงวัคซีนได้อย่างทั่วถึง จะช่วยให้เราฝ่าวิกฤติ Covid-19 ที่น่าจะอยู่กับโลกเราไปอีกสักระยะ ได้ในที่สุด


อ้างอิง

https://www.bloomberg.com/graphics/covid-resilience-ranking/

https://www.straitstimes.com/asia/the-best-and-worst-places-to-be-in-the-world-as-covid-19-variants-outrace-vaccinations

https://www.dailysabah.com/turkey/turkey-ranks-6th-globally-in-covid-19-vaccination-numbers/news

สาวไทยผู้สวนกระแสในเมียนมา!! The Icebreaker - Thaitown Supermarket ผู้เปิดทางสินค้า OTOP เจาะหัวใจคนพม่า

ถ้ายังจำกันได้ ผมเคยเขียนหลายครั้งว่า SMEs ไทย 90% ของอุปสรรคในการนำเสนอธุรกิจและสินค้ามาขายในพม่าคือการค้นหา Partner หรือ Distributor ที่ดีและจริงใจ ผมและอาจารย์จิได้คุยกันเรื่องนี้เยอะมาก เพื่อสรรหา Distributor ที่ดีเพื่อต่อ Jigsaw การค้าในพม่าให้สมบูรณ์ Distributor บางรายใหญ่เกินไปจนไม่สนใจสินค้า SMEs บางรายเล็กเกินไปจนไม่มีกำลังกระจายสินค้าให้ ส่วนผสมนี้เป็นสมการที่แก้ยากมาก โดยเฉพาะช่วงที่เหตุการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่นิ่ง

เมื่อ 3 ปีที่แล้วมีบริษัทสัญชาติไทย บริหารงานโดยสาวไทยใจแกร่ง มาทำธุรกิจออนไลน์ นำเข้าสินค้า SMEs จากเชียงใหม่มาขายที่พม่า ผมมองอยู่ห่าง ๆ แบบติดกระแสว่าจะเป็นยังไง นางเป็น “แกะดำ” อีกตัวที่อ้าแขนให้สินค้าไทยเข้ามาขายที่พม่าด้วยความท้าทาย นางบอก SMEs ไทยต้องมีที่ยืน “ลูกค้าสั่งสินค้าไทยออนไลน์แค่ 20 บาท นางก็ส่งให้ฟรี” อย่างน้อยนางก็ทำให้สินค้าไทยเราได้เข้าปากคนพม่าแล้ว ครั้งต่อไปถ้าลูกค้าซื้อซ้ำ ก็เป็นเพราะคุณภาพสินค้าล้วน ๆ และตอนนี้ผมก็เห็นจริงตามนั้น หลาย ๆ สินค้าไทยได้เข้าไปอยู่ในใจลูกค้าพม่าเรียบร้อยแล้ว จนห้างดัง ๆ ในพม่ามีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เป็นวันที่นางได้เปิดห้างสรรพสินค้าใช้ชื่อ “Thaitown Supermarket” แนวคิดเรียบง่ายมากครับ ห้างที่ขายสินค้า SMEs และ OTOPs ไทย สินค้าไทยที่นางนำเข้ามาตลอด 3 ปีนับได้ เกือบ 2,000 รายการ ผมเฝ้ามองและพูดคุยกับนางมาตลอด ผมรู้ทันทีว่านางคือ Jigsaw ตัวสุดท้ายที่เติมเต็ม Supply Chain ให้สมบูรณ์ นางคือ Icebreaker ของวงการค้าขายต่างประเทศ และผมคนนึงที่ติดสินค้า SMEs ไทยที่นางเอามาขายมากครับ รสชาติและคุณภาพดี ที่สำคัญราคาจับต้องได้จริง ผมและอาจารย์จิยินดีที่จะเป็นสะพานให้ SMEs ไทยเราได้สยายปีกและมีที่ยืนในต่างประเทศครับ

AEC ภาคปฎิบัติ เป็นเพจแรกและเพจเดียวที่จะพาคุณไปขายของโดยไม่เสียตังค์


ที่มา: อ.จิรวัฒน์​ เดชาเสถียร

ผู้บุกเบิกการตลาด อินโดจีน พม่า อาเซียนให้บริษัทยักษ์ใหญ่ ตั้งแต่ยุคที่อาเซียนยังไม่ได้รวมตัวกัน เอาประสบการณ์ตรงมาเล่าแบ่งปัน ในวันที่โควิด-19 ล็อคประตูเพื่อนบ้าน เรายิ่งต้องทำงานหนักมากขึ้น

เกษตรทันสมัย!! 'ก.เกษตรฯ'​ ปั้นสินค้าเกษตรทันสมัย​ ยกระดับภาคส่งออก ภายใต้​ '5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย'​ ฝ่าวิกฤติโควิด19

'กระทรวงเกษตรฯ'​ ร่วม​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ เพิ่มศักยภาพใหม่การส่งออกสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีจุลินทรีย์และสมาร์ทแพ็กกิ้งยืดอายุผลไม้และสินค้าเกษตร​ ด้าน​ 'อลงกรณ์'​ ชี้!! ตั้งเป้าต้นปีหน้าเริ่มใช้นวัตกรรมใหม่ ผนึก 'พาณิชย์'​ บุกตลาดจีน, รัสเซีย, ตะวันออกกลาง, เอเซียกลางและยุโรป โดยรถไฟสาย 'อีต้าอีลู่'​ (เส้นทางสายไหม)

นายอลงกรณ์ พลบุตรที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์​ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตร​ 4.0  และประธานคณะกรรมการบริหาร​ AIC (Agritech and Innovation Center) เปิดเผยว่า

ตนและคณะจะประชุมกับศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทีมวิจัยในวันพรุ่งนี้​ (5 พ.ค.)  13.00 น. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องความร่วมมือด้านเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นศูนย์​ AIC ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล​ โดยเฉพาะ​ 3​ โครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการวิจัยและพัฒนาได้แก่...

1.​ โครงการพัฒนาวัคซีนโควิดจากพืชโดยจะเริ่มผลิตวัคซีนโควิดได้ปลายปีนี้ 
2.​ โครงการพัฒนาการยืดอายุผลไม้ด้วยเทคโนโลยีจุลินทรีย์
3.​ โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ยืดอายุและความสดของผัก ผลไม้และสินค้าเกษตร
4.​ โครงการเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมด้านอื่นๆ​ เช่นโคนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นต้น

นายอลงกรณ์​ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโครงการพัฒนาการยืดอายุผลไม้ด้วยเทคโนโลยีจุลินทรีย์และโครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์​ (Smart Packing) ยืดอายุและความสดของผัก ผลไม้และสินค้าเกษตร​นั้น จะมีการนำนวัตกรรมใหม่นี้​ มาใช้กับแผนโลจิสติกส์เกษตรทางเลือกใหม่ในยุคโควิด​ เช่น​ การขนส่งระบบรางจากไทยผ่านจีนไปทุกมณฑลของจีน เกาหลี ภูมิภาคเอเชียกลางภูมิภาคตะวันออกกลาง รัสเซีย สแกนดิเนเวีย ยุโรปและอังกฤษภายใต้ขบวนรถไฟอีต้าอีลู่​ (เส้นทางสายไหม) บนความร่วมมือระหว่างไทย-จีน-ลาว-เวียดนามเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

“มาตรการปัองกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ของแต่ละประเทศทำให้ต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นทั้งทางบกทางต้ำและและใช้เวลานานขึ้นในการข้ามแดนตั้งแต่ปี 2563 จนถึงวันนี้ ทาง​ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ จึงสั่งการให้เร่งแก้ไขปัญหาและวางแนวทางโลจิสติกส์ทางเลือกใหม่ๆ​ ภายใต้​ '5 ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย'​ และประกอบกับเส้นทางรถไฟสายจีน-ลาวจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคมนี้นั้น​ เราจึงต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการขนส่งสินค้าทางรางด้วยเส้นทางนี้ โดยใช้โลจิสติกส์ฮับที่อุดรธานีและหนองคาย ตั้งเป้าเริ่มคิดออฟต้นปีหน้า อีกเส้นทางคือการขนส่งระบบรางผ่านด่านผิงเสียงบริเวณพรมแดนเวียดนามกับเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วงของจีน 

"เราหวังว่า​ ถ้าสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ยืดอายุผลไม้สด เช่น ทุเรียน, มะม่วง, มังคุด, ลำไย, เงาะ, ลองกอง, ขนุน, ผัก, สมุนไพร เป็นต้น จะทำให้มีทางเลือกในการขนส่งที่ถูกลงมีเวลาแน่นอนจากต้นทางถึงปลายทางและใช้เวลาน้อยลง แต่มีช่วงเวลาขายยาวขึ้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าปลีกที่เป็นลูกค้าของไทยทั้งขายแบบออนไลน์และออฟไลน์​ และนี่คือการสร้างศักยภาพใหม่ในการส่งออกของเรา”

ดับฝันฝากเงินสหกรณ์ได้ดอกเบี้ยบาน รัฐกำหนด 1 ก.ค.นี้ ได้ไม่เกิน 4%

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ออกประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินรับฝากของสหกรณ์ กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากทุกประเภทของสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ทุกประเภทให้ไม่เกิน 4% ต่อปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2564 เป็นต้นไป เว้นแต่กรณีการรับฝากเงินประเภทประจำที่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยแน่นอนแล้วให้สามารถจ่ายอัตราดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดสำหรับบัญชีที่ได้เปิดไว้ก่อนมีประกาศฉบับนี้

สำหรับเหตุผลของการออกประกาศครั้งนี้ กรมฯ ประเมินว่า จะช่วยลดต้นทุนทางการเงินของสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์นอกภาคเกษตรบางแห่งที่กำหนดไว้สูงถึง 5-7% ทำให้สหกรณ์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง เพื่อช่วยเหลือสมาชิกได้มากขึ้น โดยเฉพาะในยุคสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อการช่วยลดรายจ่ายของสมาชิกลงได้ 

ขณะเดียวกันการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 4% ต่อปี ยังไม่ส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของสมาชิกที่จะได้รับ เนื่องจากอัตราดังกล่าวยังสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินอื่น เช่น ธนาคารพาณิชย์ที่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยไม่ถึง 0.50 บาท ซึ่งที่ผ่านมา กรมฯ เคยมีการออกประกาศนายทะเบียนสหกรณ์ในเรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยในลักษณะนี้มาแล้ว เช่น ในปี 2543 กำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 7% และในปี 60 สำหรับสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน กำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ไม่เกิน 4.5%\


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top