Friday, 4 July 2025
Hard News Team

รถพุ่มพวงทหารมาแล้ว..!!! “บชร.3” นำผลผลิตทหารพันธ์ุดี ใส่รถกระบะแจกจ่ายช่วยเหลือปชช. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากโควิด-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในขณะนี้ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพบก กองทัพภาคที่ 3 และกองบัญชาการช่วยรบที่ 3 มีความห่วงใยตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชน

พล.ต.กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ ผู้บัญชาการ กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ นำผลผลิตที่ได้จากโครงการทหารพันธุ์ดี อาทิ ข้าวสาร ไข่ไก่ และพืชผักชนิดต่าง ๆ สิ่งของที่จำเป็นในการอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายแก่ประชาชน ที่ประสบความเดือดร้อนจากการขาดรายได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน

พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนสร้างการรับรู้แนะนำพี่น้องประชาชน ลงทะเบียนฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในแอพพลิเคชั่นหมอพร้อม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตามนโยบายของรัฐบาล

ทั้งนี้ทางหน่วยได้รับความร่วมมือจากหน่วยขึ้นตรง กองบัญชาการช่วยรบที่ 3 โดยจัดกำลังพลและยานพาหนะ หน่วยละ 1 คัน รวมทั้งสิ้น 6 คัน และผลผลิตที่ได้จากโครงการทหารพันธุ์ดีของหน่วย ร่วมกับสิ่งของอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ตามศักยภาพของหน่วย และได้รับการสนับสนุนข้าวสาร และหน้ากากอนามัยจากกองทัพภาคที่ 3 พื้นที่เป้าหมายในการแจกจ่าย ในชุมชนกัลยานมิตร หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 8 และหมู่ที่ 9 บ้านโคกมะตูม ชุมชนมหาจักรพรรดิ และชุมชนวัดหนองบัว ซึ่งเป็นพื้นที่ชุมชนรอบค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ

“บิ๊กบี้” สั่ง ระดมบุคลากรสายแพทย์ช่วย สธ.แก้ปัญหาโควิด พร้อม นำรถครัวสนาม, รถปันสุขส่งมอบอาหาร, ผลผลิตโครงการทหารพันธุ์ดีช่วยเหลือปชช. และช่วยกำจัดเชื้อในรร.รับเปิดเทอม

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.ต.หญิงพัชรินทร์ บุศยกุล ผู้ช่วยโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้กำชับหน่วยทหารดำรงการสนับสนุนภารกิจของ ศบค. ในสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะในส่วนของการรักษาพยาบาล ยังคงสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 5 แห่ง รองรับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสนามจำนวน 548 ราย ในพื้นที่ กทม., จ.นนทบุรี, จ.สงขลา และจ.กาญจนบุรี 

นอกจากนี้ ยังได้สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลค่ายกาวิละ และ โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เข้าช่วยสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ในการบริหารจัดการ ในพื้นที่มีการแพร่ระบาดแบบเฉพาะกลุ่ม (คลัสเตอร์) ที่โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางเชียงใหม่ รวมทั้งได้สนับสนุนกำลังพลช่วยสำนักอนามัย กทม. อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการตรวจและเก็บตัวอย่างหาเชื้อโควิด-19 เชิงรุก ใน 2 พื้นที่ เขตราชเทวี และเขตบางพลัด กทม.นอกจากนี้ กองทัพบกได้ส่งกำลังพลเหล่าแพทย์สนับสนุนกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขในการบริหารจัดการสายด่วน 1668, 1669 และ 1330  ตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. 64 

สำหรับการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ผู้บัญชาการทหารบก ได้เน้นย้ำกับหน่วยทหารในการเข้าไปช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 จำนวนมากแบบเฉพาะกลุ่ม (คลัสเตอร์) โดยที่ผ่านมากองทัพบกได้ระดมรถครัวสนามร่วมกับทุกภาคส่วนแจกจ่ายอาหารปรุงสุกในชุมชนเขตคลองเตย, เขตดุสิต และกระจายอีกหลายพื้นที่ใน กทม. เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน ตั้งแต่ 1 พ.ค. 64 เป็นต้นมา ได้ดำเนินการแจกจ่ายอาหารปรุงสุกไปแล้วจำนวน 165,660 กล่อง และยังคงจะดำเนินการต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย 

ในส่วนของหน่วยทหารต่างจังหวัด ได้มีการแจกจ่ายอาหารเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นตลอดจนผลผลิตทางการเกษตรของหน่วยทหารในโครงการทหารพันธุ์ดี, โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ผ่าน “รถปันสุข” ส่งถึงที่พักอาศัยโดยเฉพาะพื้นที่มีการระบาด และประชาชนที่ไม่สามารถเดินทางมารับเองได้ เป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ควบคู่กับการรับซื้อผลผลิตและวัตถุดิบทางการเกษตรจากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบ ไม่มีตลาดรับซื้อเกิดความล่าช้าในการระบายผลผลิต และการขนส่ง 

นอกจากนี้ ผู้บัญชาการทหารบกยังห่วงใยผู้ประกอบการรายย่อยบริเวณพื้นที่รอบกองบัญชาการกองทัพบก และชุมชนใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จึงได้ช่วยอุดหนุนซื้ออาหารจากร้านค้ารายย่อย พร้อมนำไปมอบให้กับประชาชนที่พักอาศัยอยู่ชุมชนรอบพื้นที่ พร้อมมอบหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อน และกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน

นอกจากนี้ ผู้บัญชาการทหารบกยังได้กำชับหน่วยทหารดำรงการฉีดพ่นล้างฆ่าเชื้อในพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะโรงเรียน และสถานการศึกษา ซึ่งกำลังจะเปิดภาคเรียนในเดือน มิ.ย. 64 โดยตั้งแต่ ม.ค. 64 จนถึงปัจจุบัน กองทัพบกได้จัดชุดปฏิบัติการฉีดพ่นฆ่าเชื้อล้างสิ่งปนเปื้อน ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
 รวม 375 พื้นที่ 167 โรงเรียน หากหน่วยงานใดมีความประสงค์ขอรับการสนับสนุน สามารถประสานขอความช่วยเหลือได้ที่หน่วยทหารใกล้บ้าน

คนไทยก็หนีข้ามมา..!!!! กกล.บูรพา​ จับคนไทยลอบข้ามแดนไปทำงานบ่อน ในกรุงพนมเปญ

กองทัพภาคที่​ 1​ โดยกองกำลังบูรพา​ (​กกล.บูรพา)​ หน่วยเฉพาะกิจอรัญประเทศ (ฉก.อรัญประเทศ)​ กองร้อยทหารพรานที่​ 1204 เข้าทำการตรวจพบผู้ลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมายจำนวน 10 ราย​ (ช.4,ญ.6) ขณะทำการลาดตระเวนในพื้นที่ บ บริเวณ บ.ผ่านศึก ม.5 ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว 

ซึ่งจากการซักถามของเจ้าหน้าที่ทราบว่า กลุ่มคนดังกล่าวเป็นคนไทยต้องการไปทำงานบ่อนออนไลน์ในพื้นที่ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา​ จึงได้ควบคุมตัวเพื่อดำเนินการตามกฎหมายและมาตรการควบคุมโรคต่อไป

รัฐบาลเดินหน้าจัดระบบหลักประกันสุขภาพ ผู้ต้องขังที่มีปัญหาทางสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (25 พ.ค. 2564) ว่า ครม.อนุมัติหลักการนโยบายการจัดระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาทางสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ และให้จัดสรรงบเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการเข้าถึงบริการสุขภาพให้เทียบเท่ากับผู้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งนโยบายดังกล่าวเป็นการดูแลผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ ประมาณ 16,000 คน เช่น ผู้ต้องขังสัญชาติอื่น บุคคลที่ไม่มีเอกสารหลักฐานการยืนยันตัวตนใด ๆ  บุคคลต่างด้าว เป็นต้น ที่ผ่านมา ผู้ต้องขังกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยจนเกินศักยภาพการรักษาของสถานพยาบาลเรือนจำ จึงต้องส่งตัวไปรับการรักษานอกเรือนจำ ทำให้โรงพยาบาลในพื้นที่ต้องเป็นผู้รับภาระค่ารักษาพยาบาล โดยในปี 2563 มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจำนวน 13.71 ล้านบาท จากเรือนจำและทัณฑสถาน จำนวน 127 แห่ง

สำหรับการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ ที่ประชุม ครม. ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการใน 2 ระยะ คือ

1.) ระยะสั้น ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ตั้งงบประมาณเป็นการเฉพาะในเรื่องนี้ โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 13.71 ล้านบาท

2.) ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดูแลจัดระบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขัง และในกรณีที่มีกฎหมายที่เป็นอุปสรรคกับการดำเนินงาน ให้ สปสช. ไปศึกษาและดำเนินการแก้ไขให้สามารถดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

“วิษณุ” เผย กฤษฎีกาการันตี พ.ร.ก.กู้ 5 แสนล้านถูกต้องตามกฎหมาย ระบุ ศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ เหตุไม่ใช่มติครม. ชี้ เดินหน้าพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณ เพราะมีกรอบ 105 วันบังคับไว้ หากไม่เสร็จเท่ากับผ่านอัตโมนัติ เห็นด้วยมาตรการสว.

“วิษณุ” เผย กฤษฎีกาการันตี พ.ร.ก.กู้ 5 แสนล้านถูกต้องตามกฎหมาย ระบุ ศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ เหตุไม่ใช่มติครม. ชี้ เดินหน้าพิจารณาพ.ร.บ.งบประมาณ เพราะมีกรอบ 105 วันบังคับไว้ หากไม่เสร็จเท่ากับผ่านอัตโมนัติ เห็นด้วยมาตรการสว. จัดไมค์กลางให้คนอภิปรายเฉพาะ “เหน็บ” ชอบมีวอลเปเปอร์อยากออกทีวีมานั่งรับน้ำลาย “แนะ” อย่าพูดมาก “ขู่” อาจลมจับคาไมค์ได้

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง พร้อมด้วยคณะแกนนำกลุ่มสามัคคีประชนเพื่อประเทศไทย ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด ให้พิจารณาและมีคำสั่งเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 64 ที่เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ออกร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. ... วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท และมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 63 ที่มีมติเห็นชอบ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ.2563 หรือ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ว่า เรื่องดังกล่าวคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงแล้วว่าเรื่องนี้ได้ตรวจสอบตั้งแต่ต้นแล้ว และยังคิดไม่ออกว่าเกี่ยวข้องอะไรกับศาลปกครอง เพราะในรัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างชัดเจนว่าถ้าจะดำเนินการร้องต้องไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ พอรู้เหตุผลที่ผู้ร้องไปร้องต่อศาลปกครอง เพราะเขาไม่รู้ว่าจะมีการประกาศออกมาเมื่อไหร่ จึงได้ร้องให้มีการเพิกถอนมติของ ครม. แต่เรื่องมันเกินมติ ครม. ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การยื่นเรื่องต่อศาลปกครองนั้นไม่ได้ถือว่าผิด เพียงแต่เขาต้องการให้มีการเพิกถอน แต่เมื่อเป็นพ.ร.ก.แล้วศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ แต่ถ้าเป็นมติของ ครม. ศาลปกครองถึงจะมีอำนาจเพิกถอนได้ แต่ผู้ร้องคิดว่าเป็นมติ ครม. จึงไปร้องต่อศาลปกครอง 

ผู้สื่อข่าวถามว่า ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการร้องผิดศาลหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ผิดถ้าเขาต้องการให้เพิกถอน แต่เมื่อเป็น พ.ร.ก.แล้ว ศาลปกครองเพิกถอนไม่ได้ แต่ถ้าหากเป็นมติ ครม. ศาลปกครองสามารถเพิกถอนได้ เขาคงนึกว่าเป็นมติ ครม. ซึ่งไม่ใช่ เพราะในความเป็นจริงเป็น พ.ร.ก.ไปแล้ว 

“ทั้งนี้ เลขาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงว่ากระบวนการและขั้นตอนถูกต้องทุกอย่าง และที่สำคัญที่มีการร้องว่าไม่มีอำนาจนั้น มีอำนาจตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) วินัยการเงินการคลัง ซึ่งมีมาตราที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้อยู่ ซึ่งเรื่องนี้มีการเช็คและตรวจสอบตั้งแต่ พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทแล้วที่มีการบอกไว้ชัดเจนว่า มาตรา 53 สามารถกู้เงินได้โดยวิธีการนี้ ทุกอย่างจึงเข้าตามหลักเกณฑ์ทั้งหมด และทำตามขั้นตอนเช่นเดียวกับกรณีพ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาททุกอย่าง” นายวิษณุ กล่าว

เมื่อถามว่า จำเป็นต้องพิจารณาก่อนร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่จำเป็น เรื่องนี้สภาจะพิจารณาหลังร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ เพราะการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯนั้นต้องพิจารณาให้เสร็จภายในเวลา 105 วัน นับตั้งแต่วันที่ส่งร่างให้กับสภา ซึ่งรัฐบาลได้ส่งร่างให้กับสภาฯตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. แม้ขณะนั้นสภายังไม่ได้เปิดสมัยประชุมแต่จำนวนวันได้เริ่มนับแล้ว ดังนั้น ถ้ามีการประชุมในวันที่ 31 พ.ค.เท่ากับเราเสียเวลาไปแล้ว 15 วัน จาก 105 วัน ดังนั้น สภาจะเหลือวันพิจารณาน้อยลง เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรไปตัดหน้าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ อีก หรืออย่างที่ ส.ส. บางคนกลัวการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนขอให้เลื่อนการพิจารณาออกไปนั้น เวลาก็จะหายไป ซึ่งอาจทำให้พิจารณาได้ไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด 105 วัน โดยรัฐธรรมนูญในมาตรา 143 บัญญัติไว้ว่า ถ้าสภาพิจารณาไม่เสร็จภายใน 105 วันให้ถือว่าให้ความเห็นชอบและอนุมัติตามร่างทุกประการ แก้ไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาให้เสร็จ

นายวิษณุ กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ในสภา จะส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลื่อนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯหรือไม่ ว่าอย่าพึ่งพูด เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการแพร่ระบาดในสภา เท่าที่ทราบมีการแพร่ระบาดที่แคมป์คนงานต่าง ๆ โดยเฉพาะแคมป์คนงานที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า ส่วนเมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่มีข่าวว่าแม่บ้านสภาติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ตนไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้คงต้องให้ทางสภาเป็นผู้ประเมินสถานการณ์ แต่ทั้งนี้อย่าลืมว่าเรามีกฎหมายในเรื่องข้อกำหนด 105 วันบังคับอยู่ ทางที่ดีควรพิจารณาให้เสร็จโดยเร็ว โดยใช้วิธีลดความแออัดลง ใครที่ไม่พูดก็ไม่ต้องไปนั่งในห้องประชุม เข้าไปเฉพาะเวลาที่มีการนับองค์ประชุมอย่างนี้น่าจะสบายหน่อย 

“ถึงแม้เวลาพูดหรืออภิปราย ข้อกำหนดของสภาอาจจะมีการให้ผ่อนผันให้สามารถถอดหน้ากากได้หากประธานในที่ประชุมอนุญาต แต่ไม่ควรที่จะถอด ขนาดผมนั่งประชุมยังเกือบเป็นลมคาไมโครโฟน เพราะหายใจไม่ออก ดังนั้น เหลืออยู่คำเดียวคืออย่าพูดมาก อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบทางวุฒิสภาเตรียมเสนอให้ตั้งไมโครโฟนไว้ต่างหาก อย่าใช้ไมโครโฟนตรงที่นั่งประจำ ใครที่ต้องการพูดก็ให้ออกมาพูดที่ไมโครโฟน จะได้ไม่มีการแย่งกันพูด และหลังจากคนหนึ่งพูดเสร็จให้มีการฉีดแอลกอฮอล์และเปลี่ยนผ้าคลุมเป็นระยะ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ถือว่าใช้ได้ ผมเห็นด้วย แต่ถ้ายืนพูดอยู่ตรงที่นั่งนั้นถือว่าอันตราย เพราะมีบางคนแม้นั่งอยู่ที่อื่น แต่พอมีคนลุกขึ้นพูดก็ชอบมานั่งใกล้ ๆ เพื่อจะได้ออกทีวี อย่างนั้นรับน้ำลายไปเต็ม ๆ ” นายวิษณุ กล่าว

“ธนกร” โต้ “พิธา” ทำตัวเหมือนเด็กอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ขยันตั้งคำถามสร้างความสับสน จนผู้ตอบเบื่อ ยันวัคซีนแอสตราเซเนกายังนำเข้าตามกำหนดเดิมในเดือน มิ.ย. “วอน” ทุกฝ่ายเข้าใจ “บิ๊กตู่” ปรับแผนแก้ปัญหาตามสถานการณ์ 

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลคุมเข้มอย่างเต็มที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ยืนยันในเรื่องของการกระจายสถานที่ฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ทั้งของรัฐ เอกชน และภาคธุรกิจ ที่เตรียมพื้นที่ไว้ ทุกพื้นที่จำเป็นต้องมีผู้ฉีดด้วย ซึ่งต้องเป็นแพทย์และบุคคลาการทางการแพทย์ พยาบาล ซึ่งบางแห่งมีมาก บางแห่งมีน้อย และบางแห่งก็ยังไม่มี ซึ่งจะจัดหาเพิ่มเติมให้เท่าที่จะทำได้ และจำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องของการแพร่ระบาดระลอกใหม่ด้วย บางพื้นที่อันตรายมาก ปานกลาง หรืออันตรายน้อย ฉะนั้นจำเป็นต้องมีการปรับเรื่องวัคซีน แต่ยืนยันว่า ทุกคนได้ฉีดแน่นอน นอกจากนั้นหากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง ก็อาจจะต้องมีการปรับแผนบ้างตามที่พล.อ.ประยุทธ์บอกไว้ โดยเฉพาะการฉีดวัคซีน แต่ทุกอย่างจะต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชาชน 50 ล้านคนภายในปี 64 นี้ จึงไม่อยากเห็นการบิดเบือนข้อมูลสร้างความสับสนให้ประชาชน

นายธนกร กล่าวว่า ส่วนกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ออกมาจี้รัฐบาลเรื่องปมวัคซีนแอสตร้าเซนเนกาจะมาตามนัดหรือไม่นั้น คิดว่าสมัยเด็กนายพิธาคงอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงตั้งคำถามตลอดจนบางครั้งผู้เกี่ยวข้องก็เบื่อที่จะตอบ เพราะคำถามมักจะมีคำตอบที่ชัดเจนอยู่แล้ว  ประชาชนเข้าใจดี แต่นายพิธาแกล้งไม่เข้าใจ ในส่วนของวัคซีนแอสตร้าเซนเนกานั้นยังเป็นไปตามกำหนดการเดิม ส่วนที่ได้มาก่อนหน้านี้ 117,500 โดส ฉีดเป็นเข็มแรกไปเกือบหมดแล้ว เพื่อปูพรมให้มากที่สุด ส่วนที่นายพิธาถาม ก็มีการส่งตามสัญญาคือเดือน มิ.ย. ซึ่งไม่เห็นว่าจะเข้าใจยากตรงไหน วันนี้คู่สัญญาเขายืนยันตามเดิม และวัคซีนก็ทยอยมา 

“ไม่อยากให้นายพิธาสร้างความสับสนให้กับประชาชน สงสารประเทศบ้าง หยุดพูดบ้างก็ได้ ไม่ตายหรอก อย่าซ้ำเติมประเทศเลย ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ไม่ใช่ขัดแข้งขัดขาลูกเดียว บ้านเมืองจะเดินหน้าไม่ได้ วันนี้เป็นเวลาที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกัน” นายธนกรกล่าว

ลุงป้อม ร่วมปลูกต้นไม้ เนื่องใน "วันวิสาขบูชา : วันต้นไม้ประจําปีของชาติ 2564" เชิญชวนคนไทยร่วมใจ ทั่วแผ่นดิน 1 คน 1 ต้นกล้า ปลูกเพิ่มผืนป่า เพื่อลูกหลานไทย

เมื่อ 26 พฤษภาคม 2564 พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษกประจำ รอง นรม. เปิดเผยว่า วันนี้เวลา 09.00 น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนรม. ได้ร่วมกิจกรรม เนื่องใน "วันต้นไม้ประจำปีของชาติ 2564"  โดยได้ทำการปลูก "ต้นสัก" จำนวน 1 ต้น บริเวณพื้นที่ มูลนิธิป่ารอยต่อ 5 จังหวัด สืบเนื่องจาก เมื่อ 31 ม.ค. 32 ครม.ได้มีมติกำหนดให้ วันวิสาขบูชาของทุกปี เป็น "วันต้นไม้ประจำปีของชาติ" โดยกรมป่าไม้ ได้จัดกิจกรรมและเชิญชวนให้คนไทยทุกคน ร่วมกันปลูกต้นไม้ อย่างน้อยคนละ 1 ต้น เป็นประจำทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันพุธที่ 26 พ.ค. 64 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเพิ่มผืนป่า และป้องกันไฟป่า รวมทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง และการเสื่อมสภาพของป่า โดยเฉพาะในพื้นที่เขาสูงชัน เพื่อเป็นการฟื้นฟูป่าต้นน้ำให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ ตามนโยบายของรัฐบาลในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ ที่กำหนดให้มีพื้นที่สีเขียว ร้อยละ 55 ของประเทศ ซึ่งในพื้นที่เป้าหมายที่วางไว้ มีจำนวน 2.68 ล้านไร่ ในระยะเวลา 8 ปี (2563-2570)

พร้อมกันนี้  พล.อ.ประวิตร ได้เชิญชวนคนไทย ทั่วประเทศ ร่วมกันปลูกต้นไม้ 1 คน 1 ต้นกล้า เพื่อเพิ่มผืนป่า ให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และส่งต่อให้กับลูกหลานคนไทย ในอนาคต สืบต่อไป 

ทั้งนี้ ทส.โดยกรมป่าไม้ ได้ จัดเตรียมกล้าไม้ จากหน่วยงานเพาะชำกล้าไม้สังกัด กรมป่าไม้ ทั่วประเทศ ไว้บริการให้กับประชาชนแล้ว สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.02-5614292-3 ต่อ 5551

“บิ๊กตู่” หารือ รมว.กห.ญี่ปุ่น กระชับความร่วมมือดำรงบทบาทที่เข้มแข็งรักษาผลประโยชน์ของภูมิภาคร่วมกัน “ยืนยัน” ไทยสนับสนุนการสร้างความปรองดองในเมียนมา

พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษก กห. เปิดเผยถึงการหารือระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะรมว.กลาโหม กับนายคิชิ โนบุโอะ (นาย KISHI Nobuo ) รมว.กลาโหมญี่ปุ่นว่า ว่า เมื่อเวลา 15.00 น. ทำเนียบรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้หารือกับรัฐมนตรีกลาโหมของญี่ปุ่นโดยมีพล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมช.กลาโหม และ ปลัดกระทรวงกลาโหมร่วมหารือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยทั้งสองฝ่าย ได้ย้ำความสัมพันธ์และการดำรงบทบาทที่ใกล้ชิดกันระหว่างกันทั้งระดับพหุพาคีและทวิภาคี โดยเฉพาะความร่วมมือทางทหาร ที่มีการแลกเปลี่ยนการฝึก การศึกษากันในระดับต่าง ๆ ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งข้อเสนอร่างความตกลงระหว่างกัน ด้านการมอบ โอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาร่วมกัน ต่อจากนั้นได้หารือถึงความร่วมมือกันถึงปัญหาความมั่นคงของ ภูมิภาค ทั้งแก้ปัญหาในเมียนมา ทะเลจีนใต้และคาบสมุทรเกาหลี และโรคระบาดของ COVID-19 

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวแสดงความยินดีกับ นาย KISHI Nobuo ที่เข้ารับตำแหน่ง รมว.กห.และขอบคุณญี่ปุ่นที่สนับสนุนอำนวยความสะดวกคนไทยเดินทางกลับจากญี่ปุ่นที่ผ่านมา ไทยยืนยันถึงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทางทะเล และสนับสนุนการดำรงบทบาทอย่างสร้างสรรค์ของทุกประเทศ เพื่อให้ทะเลจีนใต้เป็นทะเลแห่งสันติภาพ เปิดกว้างมีการพัฒนาที่ยังยืนและไม่มีข้อพิพาทระหว่างกัน  สำหรับสถานการณ์ในเมียนมา ไทยพร้อมสนับสนุนถ้อยแถลงอาเซียนในการเจรจา การปรองดองและกลับคืนสู่สภาวะปกติ ตามเจตจำนงและผลประโยชน์ของประชาชนในเมียนมา และยืนยันดูแลผู้หลบหนีภัยชาวเมียนมาตามหลักมนุษยธรรม พร้อมขอขอบคุณญี่ปุ่นที่มีบทบาทสร้างสรรค์ในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ผ่านมา และยืนยันความพร้อมในการเป็นที่ตั้งของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ที่ญี่ปุ่นสนับสนุน ทั้งนี้ กห.พร้อมให้ความร่วมมือทำงานกับ กห.ญี่ปุ่น กระชับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและดำรงบทบาทอย่างเข้มแข็งในการรักษาผลประโยชน์ของภูมิภาคร่วมกัน

ทั้งนี้ นายคิชิ โนบุโอะ ย้ำข้อเรียกร้องของญี่ปุ่นต่อเมียนมาและสนับสนุนผลักดันแถลงการณ์อาเซียนในการแก้ปัญหาในเมียนมา โดยพร้อมสนับสนุนทำงานร่วมกับไทยในการแก้ปัญหา ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นมีความกังวลต่อสถานการณ์ในทะเลจีนใต้และคาบสมุทรเกาหลี ที่มีการปฏิบัติไม่สอดคล้องกับกฎหมายสากล โดยญี่ปุ่นแสดงความจำนงต่อการปฏิบัติความมั่นคงทางทะเลที่เสรีและเปิดเผยภายใต้กฎหมายสากล และยินดีทำงานร่วมกับไทยในฐานะผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียนกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมกันนี้ ญี่ปุ่นพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับไทยในการแก้ปัญหา COVID-19 ที่เกิดขึ้นโดยเชื่อว่าไทยสามารถควบคุมได้ในอนาคตอันใกล้ พร้อมกับขอบคุณไทยที่สนับสนุนการฝึกร่วมทางทหารที่ผ่านมา

สำนักข่าวเอเอ็นไอรายงานอ้างคำสัมภาษณ์ของแพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย ท่ามกลางรายงานข่าวว่าโรคใหม่นี้อันตรายกว่าเชื้อราสีดำ

คนไข้รายหนึ่งซึ่งกำลังฟื้นตัวจากโควิด-19 ถูกพบมีอาการต่าง ๆ ของ ‘เชื้อราสีเหลือง’ สำนักข่าวเอเอ็นไอรายงานอ้างคำสัมภาษณ์ของแพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย ท่ามกลางรายงานข่าวว่าโรคใหม่นี้อันตรายกว่าเชื้อราสีดำ

นายแพทย์บีพี เตียจี แพทย์ด้านโสต ศอ นาสิกวิทยาในเมืองกาเซียบัด รัฐอุตตรประเทศ ระบุว่า เคสเชื้อราสีเหลืองที่พบในชายวัย 45 ปี นับเป็นเคสแรกในคนไข้ที่กำลังฟื้นตัวจากโควิด-19 ที่รักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 นานนับเดือน อย่างไรก็ตามอาการของผู้ป่วยรายดังกล่าวทรุดลงในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ดังนั้นเขาจึงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจากการตรวจร่างกายพบ ‘เชื้อราสีเหลือง’

แพทย์รายนี้ กล่าวว่า ‘เชื้อราสีเหลือง’ อาจเป็นโรคร้ายแรงถึงตายที่มีต้นเหตุจากสภาพสุขอนามัยที่ย่ำแย่และความชื้น มันมีความอันตรายมากกว่าเชื้อราสีดำหรือเชื้อราสีขาวที่พบก่อนหน้านี้ เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยโรค เพราะจุดเริ่มต้นเกิดจากภายในร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายใน ผิดกับเชื้อราสีดำที่เริ่มต้นจากอาการพิการบนใบหน้าอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ง่าย

อาการต่าง ๆ ของเชื้อราสีเหลือง มีทั้งเซื่องซึม ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด และในเคสรุนแรง โรคนี้อาจทำให้อวัยวะทำงานผิดปกติ ทั้งนี้แพทย์บอกด้วยว่าคนไข้รายนี้เคยมีอาการของเชื้อราสีดำและเชื้อราสีขาว ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโควิด-19 เช่นกัน

การค้นพบล่าสุดนี้มีขึ้นในขณะที่เคสเชื้อราสีดำหรือมิวคอร์ไมโคซิส (mucormycosis) และเชื้อราสีชาว ถูกพบเพิ่มขึ้นในหมู่คนไข้โควิด-19 ในอินเดีย หลายรัฐประกาศให้มันเป็นโรคระบาด

เชื้อราทั้ง 2 ชนิด มีรายงานพบในคนไข้ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมาเป็นเวลานาน หรือผู้ป่วยที่ใช้ยาสเตียรอยด์ส่วนหนึ่งในการรักษาอาการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งเชื้อราสีดำและเชื้อราสีขาวส่งผลกระทบกับปลอดและอวัยวะสำคัญอื่น ๆ และสามารถก่ออันตรายร้ายแรง

อย่างไรก็ตาม เอ็นเค คุปตา หัวหน้าเจ้าหน้าที่แพทย์ของกาเซียบัด ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอ็นดีทีวีของอินเดียว่า ยังไม่ได้รับแจ้งเคสใด ๆ ของเชื้อราสีเหลือง

นอกจากนี้แล้วเอ็นดีทีวียังอ้างคำสัมภาษณ์ของนายแพทย์รันดีป กูเลเรีย อายุรแพทย์โรคระบบหายใจและผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออลอินเดียในนิว เดลี เตือนเช่นกันว่า การตั้งเชื่อการติดเชื้อราบนพื้นฐานของสีและพื้นที่ที่มันส่งผลกระทบ อาจนำมาซึ่งความเข้าใจผิด ๆ และก่อความสับสน

“โดยทั่วไป รูปแบบของเชื้อราที่เราพบเห็นส่วนใหญ่คือมิวคอร์ไมโคซิส แคนดิดา(Candida) และแอสเปอร์จิลโลซิส (Aspergillosis) โดยมิวคอร์ไมโคซิสถูกพบมากกว่าในเคสผู้ติดเชื้อโควิดที่ใช้ยาสเตียรอยด์และเป็นโรคเบาหวาน พวกมันถูกพบในจมูก ไซนัสและบางทีอาจเข้าสู่สมอง”

เชื้อราแคนดิดา ซึ่งเกี่ยวข้องกับเชื้อราสีขาว พบในคนไข้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นจุดต่างสีขาวในช่องปากและบางทีอาจแพร่กระจายสู่เลือด ส่วนที่พบเห็นโดยทั่วไปน้อยที่สุดคือเชื้อราแอสเปอร์จิลโลซิส ซึ่งส่งผลกระทบกับปอดและบางทีอาจก่ออาการแพ้ อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุและอาการต่างๆของเชื้อราสีเหลือง

 

ที่มา : รัสเซียทูเดย์

https://mgronline.com/around/detail/9640000050629


แหล่งรวม "บทความและคอนเทนต์แปลกใหม่!!!" แบบไร้ Toxic ติดตามได้ที่ THE STATES TIMES Blockdit

LINK : https://www.blockdit.com/pages/60583e7ff90e240c3e7f1c32

นายกฯ สั่ง แรงงาน จับมือ กทม.ปูพรม ตรวจโควิดเชิงรุกในแคมป์ก่อสร้าง

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย นายกรัฐมนตรีห่วงใยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแคมป์คนงาน สั่งการให้กระทรวงแรงงาน ร่วมกับกรุงเทพมหานคร ลุยตรวจโควิด-19 เชิงรุกแก่แรงงานในแคมป์ก่อสร้างทั่วกรุง คาดเริ่มดำเนินการตรวจได้ในสัปดาห์หน้า

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมหารือเรื่องแผนการตรวจโควิด-19 ในแคมป์คนงานก่อสร้าง โดยมีนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ร้อยตำรวจเอกพงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร นางป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยนายสุชาติ กล่าวว่า กรณีการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลัสเตอร์ในแคมป์ก่อสร้าง ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และท่านรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งท่านกำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ในขณะนี้ ซึ่งจากการตรวจสอบจำนวนแรงงานในแคมป์คนงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 129,542 คน จากแคมป์ จำนวน 841 แห่ง ซึ่งเป็นคนไทย จำนวน 53,550 คน ต่างด้าว จำนวน 75,992 คน โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเร่งด่วนที่สุด ที่พบการระบาดกลุ่มก้อนใหม่ (Cluster) และและเป็นกลุ่มที่มี Cluster เฝ้าระวัง ตาม ศบค.กำหนด (ณ วันที่ 23 พ.ค. 64)

กลุ่มที่ 1 เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสูง เขตหนองจอก รวมจำนวน 8,805 คน จำนวน 83 แห่ง กลุ่มที่ 2 เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง เขตปทุมวัน เขตบางพลัด เขตบางคอแหลม รวมจำนวน 23,326 คน จำนวน 97 แห่ง และกลุ่มเร่งด่วน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเขตเหนือ กรุงเทพมหานครกลาง กรุงเทพมหานครเขตใต้ กรุงเทพมหานครเขตตะวันออก กรุงเทพมหานครเขตธนบุรีเหนือ กรุงเทพมหานครเขตธนบุรีใต้ รวมจำนวน 97,411 คน จำนวน 661 แห่ง

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงาน จะมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม บูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุข เพื่อกำหนดมาตรการและรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจเชิงรุกรวมทั้งกำหนดจุดตรวจในแคมป์คนงานก่อสร้าง ซึ่งปัจจุบันมีสถานพยาบาลพร้อมให้ความร่วมมือจำนวน 11 แห่ง 31 ทีม และเตรียมพร้อมสถานพยาบาลในเครือข่ายประกันสังคม เพื่อตรวจคัดกรองและดูแลรักษา โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการตรวจได้ภายในสัปดาห์หน้า


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top