Sunday, 6 July 2025
Hard News Team

'กรณ์' นำทีมพรรคกล้า เดินหน้าเปิด 'ศูนย์กล้าดูแลแห่งที่ 3' ช่วยตัดวงจรระบาดในชุมชน ย้ำรัฐมีสต๊อกฟาวิพิราเวียร์เพียบ ขอรัฐเร่งปลดล็อกปัญหา การกระจายยาควรถึงผู้ติดเชื้อทุกคน ยกโมเดลจุดตรวจศูนย์ราชการ ตรวจเจอแจกยาทันที เสนอรัฐใช้ส่วนราชการเร่งกระจายแจกยาทุกบ

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นำทีมพรรคกล้า เดินหน้าร่วมมือกับชุมชนเปิด 'ศูนย์กล้าดูแล' แห่งที่ 3 ที่วัดพระไกรสีห์ (น้อย) เขตบางกะปิ เป็นศูนย์พักคอยให้กับพระ เณร บุคลากรในวัด และคนในชุมชน ที่ติดเชื้อโควิด-19 มาดูแลที่ศูนย์ รับการดูแลเบื้องต้นระหว่างรอเตียงรักษาพยาบาล ตัดวงจรการระบาดในชุมชน โดยศูนย์แห่งนี้มีเตียงรองรับทั้งหมด 12 เตียง และจะมีผู้ติดเชื้อเข้ามาที่ศูนย์ในคืนนี้ 2 คน

นายกรณ์ กล่าวว่า เรื่องที่สำคัญตอนนี้คือการเข้าถึงการรักษาพยาบาลโดยเร็ว พรรคกล้าเคยเสนอให้ปลดล็อกหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเข้าถึงยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งจำนวนยาไม่น่าจะมีปัญหา เพราะทราบว่าในสต๊อกมี 4 ล้านเม็ด และภายในสิ้นเดือนนี้จะมีถึง 20 ล้านเม็ด แต่ปัญหาที่เป็นคอขวดอยู่คือการแจกจ่ายยาให้ถึงมือผู้ป่วย ซึ่งจากประสบการณ์ของกลุ่มกล้าอาสา พรรคกล้า พบว่าผู้ป่วยใช้เวลารอยา 4 - 6 วัน ทั้งที่ทุก ๆ วันมีผลอย่างมากต่ออาการและความเสี่ยงต่อชีวิต

"ที่ผ่านมามีข่าวว่า ที่ศูนย์ราชการเริ่มแจกจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ทันที หลังจากการตรวจพบเชื้อด้วยวิธี Antigen Test แต่จำนวนศูนย์ที่มีความพร้อมแจกจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้ผู้ติดเชื้อได้ทันทีมีน้อยมาก ถ้าเทียบกับผู้ที่ติดเชื้อกักตัวอยู่ที่บ้านหรือที่อยู่ตามศูนย์พักคอย การเข้าถึงยาทั่วประเทศจึงเป็นไปอย่างล่าช้า จึงต้องปลดล็อกเงื่อนไขและอุปสรรคทั้งหมดให้ได้โดยเร็ว" นายกรณ์ กล่าว

หัวหน้าพรรคกล้า กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเร่งทำวันนี้คือการตรวจเชื้อเชิงรุก เพื่อนำไปสู่การแยกตัว โดยมีระบบรองรับ เช่น ศูนย์พักคอยชุมชนอย่างที่พรรคกล้าทำอยู่ตอนนี้ หรือการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) แต่ที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลโดยเร็ว ซึ่งพรรคกล้ากำลังจับมือกับกลุ่มแพทย์แผนไทย จัดชุดยาสมุนไพรให้เข้าถึงผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อและมีอาการระดับสีเขียวอยู่ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อสามารถรักษาตัวทันที แต่หากรัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถจัดยาฟาวิพิราเวียร์ให้กับทุกคนที่ตรวจพบเชื้อ ซึ่งแยกตัวอยู่ตามบ้านหรือศูนย์พักคอยได้ ยิ่งจะเป็นผลดี สามารถลดการพึ่งพาเตียงรักษาได้มากในอนาคต เพราะยาสามารถจำกัดอาการได้

หัวหน้าพรรคกล้า กล่าวด้วยว่า ในกรุงเทพมหานคร วันนี้อาสาสมัครของพรรคกล้าหลายเขต รับหน้าที่รับยาจากหน่วยงานราชการ วิ่งไปส่งตามบ้านผู้ที่กักตัวอยู่ ซึ่งพรรคกล้ายินดีช่วยเหลือและพร้อมอาสาในทุกแง่มุม ที่จะช่วยผู้ป่วยเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลได้โดยเร็ว แต่อดคิดไม่ได้ว่าหน่วยงานราชการที่มีกำลังพลจำนวนมากในหน่วยงานต่าง ๆ น่าจะทำหน้าที่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่านี้


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

โควิด-19 ระบาดหนัก เวียดนาม ประกาศเคอร์ฟิวนครโฮจิมินห์ จุดศูนย์กลางแพร่เชื้อห้ามประชาชนออกนอกบ้านเด็ดขาด ในขณะที่มาเลเซีย “สาหัส” ติดโควิดรายวันเกิน 1.7 หมื่น ยอดสะสมทะลุ 1 ล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อคืนวันอาทิตย์ 25 กรกฎาคม ที่โฮจิมินห์ซิตี ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในเวียดนาม ได้ออกประกาศการบังคับใช้เคอร์ฟิวทั่วเมือง ตั้งแต่วันจันทร์ 26 กรกฎาคม เป็นต้นไป

หน่วยงานเทศบาลนครโฮจิมินห์ซิตีตัดสินใจประกาศเคอร์ฟิวช่วง 18.00-06.00 น. โดยสั่งห้ามประชาชนทั่วเมืองเดินทางออกนอกบ้านทุกกรณี ระงับกิจกรรมทุกประเภทระหว่างช่วงเคอร์ฟิว ยกเว้นกิจกรรมทางการแพทย์ฉุกเฉินหรือการประสานงานที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19

โฮจิมินห์บังคับใช้กฎการรักษาระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวดที่สุดของเวียดนามภายใต้คำสั่งข้อที่ 16 ของรัฐบาลตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. โดยสั่งให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน ห้ามรวมตัวกันเกิน 2 คน และระงับบริการขนส่งสาธารณะ

อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขของเวียดนามรายงานว่าโฮจิมินห์ซิตีมีผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสม 60,425 ราย นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดครั้งล่าสุดในเวียดนามช่วงปลายเดือนเมษายนจนถึง 19.00 น. ของวันอาทิตย์ 25 ก.ค.

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียระบุ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมในประเทศขณะนี้ทะลุ 1 ล้านคนแล้ว หลังจากวันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 17,045 คน ขณะที่จำนวนผู้เสียชีวิตสะสมใกล้แตะ 8,000 คน มีผู้กำลังป่วยอยู่กว่า 114,000 คน ในจำนวนนี้อาการหนัก 869 คน และตรวจหาเชื้อไปแล้วกว่า 16 ล้านคน ท่ามกลางการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้า ที่ทำให้รัฐบาลต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ กระนั้นก็ตามทางการมาเลเซียยังไม่มีแนวคิดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซิน ของมาเลเซีย กล่าวว่า การรณรงค์ฉีดวัคซีนให้แก่ผู้สูงวัยดูเหมือนกำลังได้ผล เพราะยอดผู้สูงวัยอาการหนักเริ่มลดลง ทำให้ทางการตัดสินใจเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ผู้ใหญ่ทุกคนในรัฐสลังงอร์และกรุงกัวลาลัมเปอร์

ขณะที่ อธิบดีกรมการแพทย์มาเลเซีย เรียกร้องให้ประชาชนเชื่อมั่นในวัคซีนและข้อมูลของรัฐบาล ต้องรับการฉีดวัคซีนและยึดมั่นตามขั้นตอนปฏิบัติมาตรฐานที่รัฐบาลประกาศ เพราะขณะนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปเป็นการแพร่ระบาดสำหรับผู้ไม่ฉีดวัคซีน ขอให้ทุกคนร่วมกันทำให้ทุกคนและสถานที่ทุกแห่งปลอดภัย

ด้านรัฐวิกตอเรีย ของออสเตรเลีย รายงานพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายใหม่ลดลง ทำให้เกิดความหวังว่า จะยุติมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ตามแผน

กระนั้นก็ตามในส่วนของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งอยู่ติดกัน เตรียมขยายระยะเวลาบังคับใช้คำสั่งให้ประชาชนอยู่แต่ภายในบ้าน เนื่องจากยอดคนป่วยไม่ลด


ที่มา : https://www.naewna.com/inter/590622


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

ที่ประชุมครม. เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ภาครัฐและเอกชน

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ภาครัฐและเอกชน ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ มีกรอบวงเงินรวม 3.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะใช้จ่ายจาก พ.ร.ก.เงินกู้ แบ่งออกเป็น

1.) มาตรการให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กรอบวงเงิน 23,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียนในระบบการศึกษาไทย ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2564 โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครอง 2,000 บาทต่อนักเรียน 1 คน พร้อมจัดสรรค่าใช้จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อช่วยจัดการเรียนรู้ และลดหรือตรึงค่าใช้จ่ายในโรงเรียนเอกชนให้เท่ากับปีการศึกษา 2563

2.) มาตรการการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิต/นักศึกษาชาวไทย ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

สำหรับแนวทางการดำเนินการ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะได้รับส่วนลดเป็นลักษณะร่วมจ่ายระหว่างรัฐและสถาบันอุดมศึกษาในอัตรา 6:4 โดยค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษาส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ลด 50% / 50,001-100,000 บาท ลด 30% และเกิน 100,000 บาท ลด 10% โดยส่วนลดสูงสุดรวมกันไม่เกิน 50% ส่วนสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษา รัฐสนับสนุนในอัตรา 5,000 บาท/คน นอกจากนี้ กระทรวงอว. ยังขอให้พิจารณาเพิ่มเติม ทั้งขยายเวลาผ่อนชำระ จัดหาอุปกรณ์/โปรแกรมสำหรับยืมเรียนออนไลน์ รวมทั้งลดค่าหอพักด้วย


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

'บิ๊กตู่' สั่ง ใช้ข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปราบ 'เฟกนิวส์' เด็ดขาด

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ในที่ประชุมครม. วันนี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน หรือข่าวปลอม ซึ่งปัจจุบันแต่ละกระทรวงก็มีภารกิจคอยมอนิเตอร์ข่าวสารที่บิดเบือน หรือเฟกนิวส์ อยู่แล้ว โดยบางกระทรวงได้จัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหรือศูนย์การชี้แจงข่าวต่างๆ แล้ว โดยนายกฯ ขอให้ทุกกระทรวงได้ดำเนินการอย่างแข็งขัน เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างชัดเจน เพราะปัจจุบันเรื่องข่าวปลอมเป็นสิ่งที่รัฐบาลมีความกังวล 

"นอกจากนี้ จากข้อกำหนดฉบับที่ 27 ตามพระราชกำหนดฉุกเฉิน ที่ได้ประกาศใช้แล้ว ได้ระบุถึงการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน นายกฯ จึงได้ให้นำมาตรการนี้มาใช้ให้มีประสิทธิภาพและให้เกิดผลโดยเร็วที่สุด" นายอนุชา กล่าว 

รศ.พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิต้านทาน โพสต์ข้อความอธิบายการฉีดวัคซีนสลับไขว้ (ซิโนแวคเข็มแรก - แอสตราเซเนกาเข็มสอง)

รศ.พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิต้านทาน จาก ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊ก Prapaporn Pisitkun ระบุว่า...

การจะหยุดการระบาดของโควิดและให้ระบบสาธารณสุขไปต่อได้คนส่วนใหญ่จะต้องมีภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโควิด

สถานการณ์การติดเชื้อโควิดในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะยังระบาดกันต่อเนื่องอย่างที่ทุกคนได้เห็นข่าวตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและข่าวของโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่แทบจะไม่เหลือเตียงรับผู้ป่วยแล้ว

ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (ที่ปลอดภัย) มากกว่าการจะปล่อยให้แต่ละคนติดเชื้อแล้วสร้างภูมิคุ้มกันเอง (อันนี้ไม่ปลอดภัย)

ในสถานการณ์ปัจจุบันทุกภาคส่วนกำลังพยายามบริหารจัดการวัคซีนให้ผู้คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้และได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการฉีดวัคซีนแบบสลับไขว้ระหว่าง SV1/AZ2 (ซิโนแวคเข็มแรก - แอสตราเซเนกาเข็มสอง) โดยมีข้อมูลเบื้องต้นว่ากระตุ้นภูมิป้องกันโควิดได้ แต่ก็ยังมีผู้กังวลใจหลังไมค์มาถามหมอกันมากมายว่ามันจะได้ผลจริงไหม?

วันนี้หมอเลยจะมาเล่าเรื่องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการใช้วัคซีนแต่ละชนิดสลับกันว่าระบบภูมิคุ้มกันของเราจะตอบสนองต่อวัคซีนเหล่านี้อย่างไร มีข้อมูลบ้างไหมที่จะสนับสนุนว่าการทำแบบนี้น่าจะได้ผลหรือไม่?

Q1 : ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองต่อวัคซีนโควิดอย่างไร?

เมื่อร่างกายเจอเชื้อโรคครั้งแรกจากการฉีดวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันหลายตำแหน่งจะถูกกระตุ้น และเพื่อที่ร่างกายจะได้มีภูมิป้องกันต่อการติดเชื้อครั้งหน้าร่างกายจะสร้างเซลล์ที่มีความทรงจำ (Memory cell) หรือสร้างแอนติบอดีขึ้นมา โดยจะเริ่มมีการสร้างในปริมาณไม่มากในช่วงสัปดาห์ที่ 1-2 และถ้าไม่มีตัวกระตุ้นอีกระดับของภูมิคุ้มกันจะลดลง

เพราะฉะนั้นหมายความว่าถ้าเราได้วัคซีนเพียง 1 เข็ม ภูมิคุ้มกันจะขึ้นไม่สูงมาก แต่เมื่อเราทิ้งระยะห่างไปสักพักแล้วฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 2 จะเห็นได้ว่าระดับของแอนติบอดีจะขึ้นไปสูงมากขึ้น และจะมีผลป้องกันการติดเชื้อมากขึ้น ถึงแม้ว่าระดับภูมิคุ้มกันที่ขึ้นนั้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นจากการฉีดวัคซีนนี้จะสามารถลดอาการและความรุนแรงของการติดเชื้อได้

เนื่องจากการระบาดของเชื้อโควิดรอบนี้ทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและมีจำนวนมากเกินกว่าศักยภาพของระบบสาธารณสุขของไทยไปมาก การได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 2 เข็มจะสามารถผ่อนหนักเป็นเบาให้กับผู้ป่วยไม่ให้มีอาการรุนแรงจนต้องเข้าห้องไอซียู (ซึ่งไม่มีเตียงเหลือแล้ว) และทำให้บุคลากรการแพทย์มีกำลังเพียงพอที่จะให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

Q2 : ระบบภูมิคุ้มกันจะงงไหม ถ้าให้เข็มแรกเป็นชนิดหนึ่งแล้วเข็มสองเป็นอีกชนิดหนึ่ง ระบบภูมิคุ้มกันเราจะรู้ไหมว่าอันนี้เป็นเข็มสอง? (จะสูญเปล่าไหม)

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าระบบภูมิคุ้มกันของเราทุกคนมีความฉลาดกว่าที่เราคาดคิดไว้มาก ๆ

วัคซีนแต่ละชนิดหรือคนละเทคโนโลยีเป็นเพียงวิธีการที่แตกต่างกันในการที่จะส่งชิ้นส่วนของเชื้อโรคเข้าไปให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันให้รู้จัก (ดูจากโพสต์หมอก่อนหน้านี้) โดยจุดหมายปลายทางที่วัคซีนทุกชนิดจะจัดส่งข้อมูลของเชื้อโรคไปที่เซลล์ชนิดเดียวกันซึ่งก็คือ Antigen-presenting cells หรือ APC และเมื่อ APC รู้จักหน้าตาของเชื้อโรคก็จะไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันด่านหลังทั้ง B และ T เซลล์ เพื่อสร้างภูมิป้องกันโควิด

ดังนั้น ไม่ว่าครั้งแรก (Prime) กับครั้งที่สอง (Boost) จะเป็นวัคซีนคนละชนิดแต่การส่งชิ้นส่วนของเชื้อโรคไปที่เซลล์เดียวกัน เซลล์เม็ดเลือดขาวจะรับรู้ว่าเป็นการกระตุ้นครั้งที่ 1 และซ้ำครั้งที่ 2

ดังนั้น โดยหลักการทางภูมิคุ้มกันการฉีดวัคซีนที่ต่างชนิดกันจึงกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้

นอกเหนือจากนี้แล้ว การฉีดวัคซีนคนละชนิดอาจทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อตำแหน่งของเชื้อโรคที่แตกต่างกันซึ่งอาจส่งเสริมฤทธิ์ของการกระตุ้นภูมิให้ดีขึ้น (ในทางทฤษฏี)

Q3 : มีข้อมูลบ้างไหม (ในทางปฏิบัติ) ที่จะสนับสนุนว่าการฉีดวัคซีนแบบสลับนี้น่าจะได้ผลหรือไม่?

การต่อสู้กับ Pandemic COVID ครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายทราบกันดีว่าจะต้องมีการใช้วัคซีนหลายประเภทเพื่อจัดการกับเชื้อโควิดที่มีการกลายพันธุ์เหล่านี้ และจะมีการขาดแคลนวัคซีนเนื่องจากมีความต้องการอย่างมากทั่วโลก จึงมีผู้วิจัยทำการศึกษาการสลับวัคซีนชนิดต่าง ๆ แล้วดูผลของการสร้างแอนติบอดี และการตอบสนองของ T cells โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้วัคซีนทั้ง 4 ประเภทที่ทำขึ้นในประเทศจีนเพื่อ Proof of concept ว่าการฉีดวัคซีนไขว้แบบไหนจะมีการกระตุ้นภูมิได้ดีที่สุด โดยวัคซีนเข็มแรกและเข็มสองจะฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ และเจาะเลือดที่ 2 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2

โดยเราจะสนใจดูผลของการฉีดวัคซีนเชื้อตาย (Sinopharm) และ adenovirus vector (Cansino) ซึ่งเป็นสูตรวัคซีนที่ใกล้เคียงกับที่ประเทศไทยได้เริ่มฉีดกันแล้ว

สำหรับบุคคลทั่วไปอาจดูรูปกราฟแล้วงง ๆ หมอจะสรุปให้ฟังง่าย ๆ คือการฉีดวัคซีนสลับกันระหว่างเชื้อตายและ adenoviral vector สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี้ได้มากกว่าการฉีดวัคซีนเชื้อตายอย่างเดียว (2 เข็ม) หรือ adenoviral vector (1 เข็ม) โดยพบว่าไม่มีความแตกต่างกันของระดับ neutralizing antibody ระหว่างกลุ่มที่ฉีดเชื้อตายก่อนแล้วตามด้วย adenovirus vector เมื่อเปรียบเทียบกับ adenovirus vector ก่อนแล้วตามด้วยวัคซีนเชื้อตาย

แต่ถ้าวัดระดับแอนติบอดีต่อ Spike protein จะพบว่าการฉีดวัคซีนเชื้อตายแล้วตามด้วย adenovirus vector จะให้ระดับแอนติบอดีที่สูงกว่าการฉีดสลับกัน

อย่างไรก็ตามในการศึกษานี้ไม่ได้เปรียบเทียบระดับแอนติบอดีของการฉีดสลับระหว่างวัคซีนเชื้อตายกับ adenovirus vector เปรียบเทียบกับการฉีด adenovirus vector 2 เข็ม จึงทำให้ไม่ทราบว่าประสิทธิภาพของการฉีดจะเป็นอย่างไร ถ้าเปรียบเทียบกับการฉีด Adenovirus vector 2 เข็ม นอกจากนี้ชนิดของ Adenovirus ที่ใช้จาก Cansino ก็แตกต่างจาก AZ ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน

แต่ผลที่ได้จากการศึกษานี้บ่งชี้ว่าการฉีดแบบสลับนี้กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าการให้วัคซีนเชื้อตาย 2 เข็มอย่างชัดเจน (อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/22221751.2021.1902245)

Q4 : มีหลักฐานไหมว่าการฉีดวัคซีนสลับชนิดกันนั้นจะมีประสิทธิภาพดีในบุคคลที่ได้รับการฉีดวัคซีนแบบสลับชนิด?

ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการสลับการฉีดระหว่าง mRNA กับ adenovirus vector

ล่าสุดมีอาจารย์หลายท่านรีวิวแล้ว หมอแนะนำให้ติดตามอ่านเพจ อาจารย์มานพ ซึ่งรีวิวไว้หลายเปเปอร์

สำหรับการไขว้สูตรอย่างที่กำลังทำกันในเมืองไทยเกิดขึ้นเนื่องจากข้อจำกัดของวัคซีนที่มีให้ใช้ในขณะนี้

(หวังว่าข้อจำกัดนี้จะหมดไปในเร็ววัน) และคงต้องมีการเก็บข้อมูลของประเทศไทยเองว่าประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไรเพื่อนำมาปรับสูตรวัคซีนที่เหมาะสมกับสถานการณ์การระบาดและชนิดของเชื้อกลายพันธุ์ต่อไป

>> ข้อแนะนำ

ผู้เกี่ยวข้องควรเตรียมจัดหาวัคซีนให้หลากหลายชนิดและมากเพียงพอ เพราะว่ามีแนวโน้มที่จะต้องได้ใช้วัคซีนไขว้ชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกัน และมีความจำเป็นที่จะต้อง Boost ให้ผู้ที่ได้รับ Sinovac ไปแล้ว 2 เข็ม (ถึงแม้จะไม่ใช่บุคลากรการแพทย์)

>> Take home message

- การฉีดวัคซีนที่มีในปัจจุบันเพื่อลดความรุนแรงของโรคและลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด (อยากให้รีบไปฉีดกัน)

- การฉีดวัคซีน 1 เข็ม (Prime) มีประสิทธิภาพน้อยกว่าการฉีด 2 เข็ม (Prime + Boost) ดังนั้นควรต้องไปรับวัคซีนเข็มสองตามกำหนด

- วัคซีนทุกชนิดส่งข้อมูลลักษณะหน้าตาของเชื้อให้ที่เซลล์ชนิดเดียวกัน (APC) และสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันปลายทางได้เหมือนกัน (การฉีดวัคซีนไขว้ หรือ Heterologous Prime-Boost สามารถกระตุ้นภูมิได้)

- การฉีดวัคซีนแบบไขว้ระหว่างวัคซีนเชื้อตายกับ adenovirus vector สามารถกระตุ้นภูมิได้ดีกว่าการฉีดเชื้อตายสองเข็ม (ดังนั้นใครที่ได้ Sinovac มาแล้ว 1 เข็มควรดีใจที่จะได้ AZ เป็นเข็มที่สอง เพราะกระตุ้นภูมิได้ดีขึ้น)


ที่มา : https://siamrath.co.th/n/265689

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=4484985728187317&id=100000278023117


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กองทัพโต้ไม่เคยทอดทิ้งผู้ป่วยโควิดระหว่างทาง ยันผู้ป่วย​ทั้ง​ 3​ รายร้องขอพลขับขอลงรถเอง 

พล.ต.ธีรพงศ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา รองโฆษกกองทัพไทย กล่าวถึงกรณีที่ปรากฏข่าวทางสื่อมวลชน ว่าทหารทิ้งผู้ป่วยโควิด 19 เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 26 ก.ค.บริเวณหน้าวัดไผ่ สาทร กรุงเทพฯ โดยระบุว่ามีผู้สูงอายุซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ป่วย ซึ่งเมื่อมีการเผยแพร่ข่าวสารโดยปราศจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งทางผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทราบว่า เมื่อวันที่ 26 ก.ค.นายสราวุฒิ (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ป่วยโควิด 19 ได้เดินทางเข้ารักษาตัวภายหลังทราบว่าติดเชื้อโควิด 19  ที่โรงพยาบาลสนามบุษราคัม ต่อมาทราบว่ารายชื่อของผู้ป่วยยังไม่ปรากฏในระบบการเข้ารับการรักษา ดังนั้นแพทย์โรงพยาบาลสนามบุษราคัม จึงได้พูดคุยกับผู้ป่วย ถึงแนวทางการปฏิบัติตนในเบื้องต้นและแนะนำให้ผู้ป่วยกลับที่พักอาศัยก่อน และในวันรุ่งขึ้นให้กลับมาเข้าระบบการรักษาต่อไป ทั้งนี้ได้มีการประสานศูนย์สนับสนุนการเคลื่อนย้ายผู้ติดเชื้อโควิด 19 ศปม. ในการอำนวยความสะดวกนำส่งผู้ป่วยกลับที่พักอาศัย 

พล.ต.ธีรพงษ์ กล่าวต่อไปว่า โดยในระหว่างเดินทาง พลขับได้มีการโทรติดต่อกับผู้ป่วยเป็นระยะ โดยเมื่อถึงบริเวณหน้าวัดไผ่ ผู้ป่วยขอลงเจ้าหน้าที่จึงได้ส่งผู้ป่วย จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้เดินทางกลับมายังโรงพยาบาลสนามบุษราคัม เพื่อทำความสะอาดรถเตรียมความพร้อมในการรับ-ส่งผู้ป่วยรายใหม่ต่อไป กองทัพไทย ได้สอบถามถึงสาเหตุการนำเสนอข่าวในทางลบว่า มีรถทหารทิ้งผู้ป่วยโควิด ตัวผู้ป่วยเองได้ยืนยันว่า รถของเจ้าหน้าที่ที่นำส่งมิได้ทิ้งผู้ป่วยทั้ง 3 คน พร้อมทั้งยังแสดงความเสียใจที่ทำให้เกิดข่าวดังกล่าว อีกทั้งยังขอบคุณกองทัพและบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้ดูแล โดยในวันนี้ทั้ง 3 คน ได้รับการรักษา ที่โรงพยาบาลบุษราคัมเรียบร้อยแล้ว และขอยืนยันว่าข่าวสารที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้นั้น ไม่เป็นความจริงแต่ประการใด

'แอนดี้ หลิว' หรือ 'หลิวเต๋อหัว' ซูเปอร์สตาร์ชื่อดังชาวฮ่องกง ปฏิเสธที่จะแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวูด เนื่องจากสคริปต์ที่เขียนให้กับเขาทำให้คนจีนเสื่อมเสีย

(27 ก.ค. 64) สื่อต่างประเทศ Malaymail รายงานว่า 'แอนดี้ หลิว' หรือ 'หลิวเต๋อหัว' ซูเปอร์สตาร์ชื่อดังชาวฮ่องกง ปฏิเสธที่จะแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวูด เนื่องจากสคริปต์ที่เขียนให้กับเขาทำให้คนจีนเสื่อมเสีย

ผู้กำกับหว่อง จิง ผู้กำกับชื่อดังเปิดเผยว่า หลิว ปฏิเสธบทหลังจากอ่านบทภาพยนตร์โดยไม่ระบุชื่อ

“เขารู้สึกว่าบทบาทที่เขาต้องเล่นทำให้ชาวจีนเสื่อมทราม ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจปฏิเสธ” เว็บ hk01.com อ้างคำพูดของหว่อง

ก่อนหน้านี้ ในช่วงปี 1992 หลิวเคยถูกขอให้ออดิชั่นสำหรับแสดงในภาพยนตร์ฮอลลีวูด เรื่อง M. Butterfly (1993) หรือ มาดามบัตเตอร์ฟลาย แต่หลิวปฏิเสธเนื่องจากตัวละครที่เขาถูกขอให้เล่นนั้น "ต้องเลียนิ้วเท้าของชาวต่างชาติ”

นอกจากนี้เขายังเคยถูกขอให้ออดิชั่นเรื่อง Dragon : The Bruce Lee Story, Spiderman 3 และ Sandman

หลิวเต๋อหัว วัย 59 ปี เพิ่งฉลอง 40 ปีในวงการบันเทิง โดยเขาเป็นนักร้องฮ่องกงที่ได้รับรางวัลมากที่สุด รวมถึงนักแสดงชื่อดังที่ผ่านงานแสดงในภาพยนตร์ 140 เรื่อง ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ทิ้งความประทับใจไว้อย่างมาก คือ 'Lost and Love' ในปี 2015 ที่ 'หลิวเต๋อหัว' สวมบทเป็น 'เหลยเจ่อกวน' คุณพ่อหัวใจนักสู้ที่เริ่มออกเดินทางด้วยการขี่รถมอเตอร์ไซค์คู่ใจเพื่อหาตัวลูกชายวัย 2 ขวบที่หายตัวไปเป็นเวลานานถึง 15 ปี

แม้หนังเรื่องนี้ใช้ทุนสร้างไม่สูงมาก เพราะจุดมุ่งหมายในการสร้างหนังเรื่องนี้ของเขา ก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้คนได้เห็นถึงปัญหาการลักพาตัวเด็กในประเทศจีน แต่หนังดังกล่าวก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีบน 'บ็อกซ์ ออฟฟิศ' และสิ่งที่น่าปลื้มใจยิ่งกว่า คือ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา 'เหลยเจ่อกวน' ตัวจริงก็ได้มีโอกาสพบกับ 'ซินเจิ้น' ลูกชายที่เขาไม่ได้พบเจอหน้ามานานถึง 24 ปีเต็ม หลังจากที่ผลการตรวจดีเอ็นเอบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าทั้งคู่เป็นพ่อลูกกันจริง ๆ และเมื่อหลิวได้ทราบข่าว ก็ทำให้เขารู้สึกตื้นตันใจเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ China.org.cn พอร์ทัลของจีน ยังได้รายงานว่า หลิวเต๋อหัวไม่เคยสร้างบัญชีเครือข่ายโซเชียลบนแพลตฟอร์มใด ๆ มาก่อน เพิ่งจะเปิดบัญชีแรกบน 'โต่วอิน' (Douyin) เมื่อก่อนตรุษจีน เดือนกุมภาพันธ์ โดยในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง มีผู้ติดตามมากกว่า 24 ล้านคน และมีผู้ติดตามมากกว่า 50 ล้านคนในเวลาไม่ถึงสัปดาห์หลังจากเปิดบัญชี นับเป็นหนึ่งในบุคคลที่ผู้ติดตามมากที่สุดในโต่วอิน

สำหรับเรื่องดังกล่าว กำลังสะท้อนให้เห็นว่า แม้คำว่า 'ฮอลลีวูด' ชื่อเสียงหรือแม้แต่เงินทอง จะมีมูลค่าอย่างมากมายแค่ไหน แต่หากสิ่งตอบแทนเหล่านั้น มาพร้อมการกระทำในสิ่งที่เหยียดหยามศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิแห่งชาติพันธุ์ ก็ไม่อาจซื้อคนได้ทุกคนเสมอไป...


ที่มา : https://mgronline.com/china/detail/9640000073296

https://www.malaymail.com/news/showbiz/2021/07/26/


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9

กองทัพเรือจัดตั้งศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 แบบ Call Center  ให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศ ทั้งบนบก และในทะเล  

พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้สั่งการให้จัดตั้งศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ แบบ Call Center ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศ ทั้งบนบก และในทะเล เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา

ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือมีหน้าที่ประสานและให้ความเหลือประชาชน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนผู้ป่วย COVID-19 ฉุกเฉิน และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุดโดยศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ  ได้จัดรถยนต์ในการสนับสนุนการเคลื่อนย้ายทางบกจำนวน 65 คัน และเรือสนับสนันการเคลื่อนย้ายในทะเลจำนวน 10 ลำ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ดังนี้

1.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือประจำพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีกรมการขนส่งทหารเรือเป็นหน่วยรับผิดชอบ หมายเลขโทรศัพท์ å02-475-5238 และ 02-475-5499 โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 4 คัน ได้แก่ รถบรรทุกขนาดใหญ่ 2 คัน และรถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก 2 คัน ทั้งนี้ดำเนินงานสนับสนุนกับหน่วยให้บริการประชาชนของกองทัพเรือ 8 จุด ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

2.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง มีฐานทัพเรือสัตหีบเป็นหน่วยรับผิดชอบ  หมายเลขโทรศัพท์ 038-438-474 และ 038-438-163 โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 4 คัน ได้แก่ รถยนต์โดยสารขนาดใหญ่ 2 คัน และรถตู้โดยสาร 2 คัน

3.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จ.จันทบุรี และ จ.ตราด มีกองกําลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราดเป็นหน่วยรับผิดชอบ   
•พื้นที่ จ.จันทบุรี หมายเลขโทรศัพท์ 039-312-172  และ 039-447-1440
•พื้นที่ จ.ตราด หมายเลขโทรศัพท์ 039-312-172
•พื้นที่ในทะเล หมู่เรือลาดตระเวนชายแดน/1 รับผิดชอบ หมายเลขโทรศัพท์ 039-518-519
โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 42 คัน เรือ 4 ลำ ได้แก่ มีรถโดยสารขนาดใหญ่ 14 คัน รถโดยสารขนาดเล็ก 18 คัน รถบรรทุก 10 คัน เรือหลวงตากใบ เรือ ต.113 เรือ ต.237 และเรือ ต.272

4.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จ.สงขลา มีทัพเรือภาคที่ 2 เป็นหน่วยรับผิดชอบ  หมายเลขโทรศัพท์ 074-325-804 – 5  โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 3 คัน ได้แก่ รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก 3 คัน

5.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือประจำพื้นที่ จ.ภูเก็ต และจ.พังงา มีทัพเรือภาคที่ 3 เป็นหน่วยรับผิดชอบ  
• พื้นที่จังหวัดภูเก็ต ที่หมายเลขโทรศัพท์ 076-391-598 
• พื้นที่จังหวัดพังงา ที่หมายเลขโทรศัพท์ 076- 453-354
โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 8 คัน เรือ 6 ลำ ได้แก่ รถบรรทุกขนาดใหญ่ 4 คัน เล็กบรรทุกเล็ก 4 คัน เรือหลวงชลบุรี เรือหลวงมันใน เรือหลวงแหลมสิงห์ เรือ ต.233 และเรือพยาบาล 2 ลำ 

6.ศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19  กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จ.นราธิวาส มีหน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน กองทัพเรือเป็นหน่วยรับผิดชอบ  หมายเลขโทรศัพท์ 073-565-3677  โดยจัดรถยนต์ให้ความช่วยเหลือในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจำนวน 4 คัน ได้แก่ รถยนต์โดยสารขนาดเล็ก 4 คัน

โดยศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จว.พังงา โดย ทัพเรือภาคที่ 3 ได้สนับสนุนรถบรรทุกขนาดใหญ่ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 20 ราย จากหมู่บ้านบางคลี ม.8 ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จว.พังงา ซึ่งเป็นพื้นที่คลัสเตอร์การระบาดใหม่ของ จ.พังงา ไปเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตะกั่วป่า จ.พังงา และศูนย์ให้บริการด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อ COVID-19 กองทัพเรือ ประจำพื้นที่ จว.จันทบุรี โดย กองกําลังป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด สนับสนุนรถยนต์โดยสารขนาดเล็กจำนวน 2 คัน ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่หายจากโควิด 19  จำนวน 8 ราย โดยเคลื่อนย้ายจากโรงพยาบาลสนามกองทัพเรือบ้านจันทเขลม ส่งที่บริษัทขนส่งจันทบุรีเพื่อให้เดินทางกลับภูมิลำเนา

ไฟเขียวทำระบบดิจิทัล ไอดี ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. รับทราบแนวทางการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (ดิชิทัล ไอดี) ด้วยการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าทางดิจิทัล หรือ เอฟวีเอส ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอ พร้อมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยเร่งพัฒนาระบบนี้ไปให้บริการกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยให้กระทรวงดิจิทัลฯ เป็นที่ปรึกษาแนะนำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบนี้ มีความมั่นคงปลอดภัย มีความน่าเชื่อถือ สอดคล้องตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งนี้ยังมอบหมายให้สำนักงบประมาณให้การสนับสนุนงบประมาณกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและจัดทำระบบเอฟวีเอส โดยครอบคลุมการพัฒนาและติดตั้งซอฟแวร์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(เอไอ) การจัดหาอุปกรณ์และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสำหรับการให้บริการและการทดสอบประสิทธิภาพและความมั่นคงปลอดภัยของระบบ และพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน และข้อตกลงการให้บริการของระบบ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นสำหรับการบริหารงานและการให้บริการ และให้กระทรวงมหาดไทย หรือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  รายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ในส่วนของการพัฒนาระบบดิจิทัล ไอดี ให้ครม.ทราบเป็นระยะ

สำหรับการพัฒนาและจัดให้มีระบบเอฟวีเอส เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาระบบ ดิจิทัล ไอดี ของประเทศ ในส่วนของการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางสนับสนุนบริการภาครัฐ สำหรับประชาชนและธุรกิจในการเข้าถึงบริการภาครัฐในรูปแบบของการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จโดยระบบดิจิทัล ไอดี ซึ่งรวมถึงระบบเอฟวีเอส จะสามารถนำมาทดแทนกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางกายภาพ โดยผู้ใช้บริการไม่ต้องเดินทางไปพิสูจน์ตัวตนยังที่ทำการหรือสาขาของหน่วยงานที่ต้องการทำธุรกรรมทุกครั้งได้

ส่วนระบบเอฟวีเอสที่กระทรวงมหาดไทยจะพัฒนาขึ้น  เป็นระบบที่จะใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ของผู้รับบริการระบบหนึ่ง โดยมีกลไกการทำงานที่ใช้เทคโนโลยีในการระบุตัวบุคคลด้วยการเปรียบเทียบภาพใบหน้าที่ผู้รับบริการถ่ายส่งเข้าระบบกับฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ โดยใช้เอไอ ที่มีความแม่นยำตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และแจ้งผลในรูปแบบร้อยละของความถูกต้องของภาพถ่ายกับฐานข้อมูลภาพใบหน้า

บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตวัคซีนใบยา ป้องกันโควิด-19 เผย เปิดรับอาสาสมัครทดสอบวัคซีน สิงหาคมนี้

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ CEO และ Co-founder บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด เผยว่า “วัคซีนใบยา” ป้องกันโควิด-19 ผลิตจากใบพืช เป็นผลงานสตาร์ทอัพแห่งจุฬาฯ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด (ภายใต้ CU Enterprise) โดยสองนักวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ และรองศาสตราจารย์ ดร.วรัญญู พูลเจริญ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬา

วัคซีนใบยา เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด subunit vaccine ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมในต่างประเทศมานาน เช่น แคนาดา และเกาหลีใต้ โดยผลิตจากหลายแหล่ง เช่น พืช แมลง ฯลฯ วัคซีนใบยา ใช้ใบยาสูบสายพันธุ์ดั้งเดิมจากออสเตรเลียทำหน้าที่เสมือนโรงงานผลิตชิ้นส่วนของไวรัสซึ่งเป็นไวรัสที่ไม่ก่อให้เกิดโรคเมื่อฉีดวัคซีนใบยาเข้าไปในร่างกาย วัคซีนจะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเรา หากติดเชื้อโควิด-19 ก็จะป้องกันได้

ภายหลังได้รับวัคซีนต้นแบบตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการทดสอบวัคซีนใบยากับสัตว์ทดลอง เช่น หนูขาวและลิง ซึ่งพบว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในสัตว์ทดลองได้ผลสูง หลังจากนั้น จึงเริ่มสร้างโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนที่อาคารจุฬาพัฒน์ 14 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2564 โรงงานเนื้อที่ 1,200 ตร.ม. มีกำลังการผลิตวัคซีนเดือนละ 1-5 ล้านโดส

“สิงหาคม 2564 เราจะเปิดรับอาสาสมัครเพื่อทดสอบวัคซีนกลุ่มแรกจำนวน 50 คน อายุ 18-60 ปีโดยอาสาสมัครต้องมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน การทดสอบวัคซีนจะเริ่มในเดือนกันยายนอาสาสมัครจะได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนสองเข็ม เว้นระยะเวลาห่างกัน 3 สัปดาห์ เมื่อทดสอบกับอาสาสมัครกลุ่มแรกเสร็จเราก็จะทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครกลุ่มอายุ 60-75 ปี ต่อไป” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรากล่าว และ คาดว่าวัคซีนใบยาจะพร้อมฉีดให้คนไทยช่วงกลางปี 2565 ในราคาต้นทุนโดสละ 300-500 บาท

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยยังได้พัฒนาวัคซีนใบยารุ่นที่ 2 เพื่อรับมือการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะพร้อมทดสอบกับอาสาสมัครปลายปี 2564 โดยจะปรับปรุงศักยภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีขึ้นด้วย


ที่มา : https://www.naewna.com/local/590517


โปรเด็ด! ถึง 31 ก.ค. นี้ Ford Ranger, MG ZS, Mazda 2 และ Nissan อัลเมร่า ทักไลน์ @THESHOPSTIMES

คลิก????https://lin.ee/vfTXud9


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top