Thursday, 28 March 2024
EV

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งสมอ. ออกมาตรฐาน ‘เรือไฟฟ้า’ ปีหน้า หลังออกมาตรฐาน EV ไปแล้วกว่า 90 มาตรฐาน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการ สมอ. เร่งออกมาตรฐาน EV อย่างเต็มที่ เพื่อขานรับนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ล่าสุด สั่ง สมอ. ไปดำเนินการจัดทำมาตรฐานเรือไฟฟ้าเพิ่มเติม หลังจากที่ได้มีการจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว กว่า 90 เรื่อง

นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กมอ. (บอร์ด สมอ.) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ที่ผ่านมาว่า บอร์ด สมอ. ขานรับนโยบาย EV ของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีมติเห็นชอบมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าออกมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด สั่ง สมอ. จัดทำมาตรฐานเรือไฟฟ้าในปีงบประมาณ 2565 ด้วย 

ด้านนายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวเพิ่มเติม ว่า มาตรฐานเรือไฟฟ้าฉบับนี้ จะครอบคลุมเรือสำหรับใช้รับ-ส่งผู้โดยสาร หรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางสัญจรในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมเป็นคณะทำงานจัดทำมาตรฐานเรือไฟฟ้าต่อไป 

‘สุริยะ’ เผยมติ ร่างมาตรฐาน ‘ตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า - EV’ ดัน สยย. เดินหน้าให้บริการทดสอบ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แถลงถึงผลการดำเนินงานของสำนักงานมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ว่าคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้มีมติเห็นชอบให้สมอ. นำร่างมาตรฐานรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า (มอก.3264-2564) และร่างมาตรฐานด้านยานยนต์อัจฉริยะอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ ไปประกาศใช้เป็นมาตรฐานแล้ว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประเทศไทยมุ่งสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน (EV) ที่สำคัญของโลกตามนโยบายของประเทศ

สถาบันยานยนต์ (สยย.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการของคณะผู้จัดทำร่างมาตรฐานรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า ได้ใช้มาตรฐาน EU 168/2013 อ้างอิงในการจัดทำ เพื่อให้รถตุ๊กตุ๊กตามมาตรฐานนี้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสากล และเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมการผลิตรถตุ๊กตุ๊กสันดาปภายใน สู่การผลิตรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้าตามนโยบายของประเทศ โดยมาตรฐานรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ากำหนดคุณสมบัติที่สำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้...

1.) ด้านลักษณะทั่วไป
>> ขนาด ต้องมีความยาวไม่เกิน 4,000 มิลลิเมตร ความกว้างไม่เกิน 2,000 มิลลิเมตร ความสูงไม่เกิน 2,000 มิลลิเมตร และความสูงภายในไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร
>> โครงสร้าง ต้องมั่นคงแข็งแรง ที่นั่งทุกที่นั่งต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัย
>> มวลรถเปล่า ต้องไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม
>> มอเตอร์ไฟฟ้า ต้องมีกำลังพิกัดมอเตอร์ไม่น้อยกว่า 4 กิโลวัตต์

2.) ด้านความปลอดภัย 
>> สมดุลการเข้าโค้ง (J-Turn) ต้องไม่ลื่นไถลออกนอกโค้ง เมื่อขับขี่เข้าโค้งที่รัศมีโค้ง 3 เมตร ด้วยความเร็วเข้าโค้งที่ (20+1) กิโลเมตร/ชั่วโมง 
>> ระบบเบรก (Brake Performance) ต้องมีระยะเบรกไม่เกิน 20.09 เมตร และไม่พลิกคว่ำหรือลื่นไถลออกนอกช่องทางที่กำหนด เมื่อขับขี่ด้วยความเร็ว 45 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้แรงเบรกที่เท้าไม่เกิน 500 นิวตัน 
>> การเบรกขณะจอดบนพื้นลาดเอียง (Parking Brake) ต้องหยุดนิ่งได้มากกว่า 60 วินาที โดยไม่ลื่นไถลลงบนพื้นลาดเอียงที่ 12% เมื่อใช้แรงดึงเบรกมือไม่เกิน 200 นิวตัน 
>> ความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC) ต้องมีเกณฑ์การปล่อยสัญญาณรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Radiated Emission) และภูมิคุ้มกันต่อการรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Immunity Radiation Fields) เป็นไปตามที่กำหนด
>> การป้องกันน้ำ ต้องมีค่าความต้านทานทางฉนวนไฟฟ้าของอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ระบบไฟฟ้ากระแสตรงมากกว่า 100 โอห์ม/โวล์ท หรือมีค่าความต้านทานทางฉนวนไฟฟ้าของอุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ระบบไฟฟ้ากระแสสลับหรือที่ใช้ระบบไฟฟ้าผสมระหว่างกระแสตรงและกระแสสลับ มากกว่า 500 โอห์ม/โวล์ท เมื่อนำรถตุ๊กตุ๊กไปวิ่งฟรีอยู่กับที่ในน้ำที่ระดับความสูงของน้ำ 30 เซนติเมตร ด้วยความเร็ว (20+1) กิโลเมตร/ชั่วโมง
>> มาตรวัดความเร็ว ต้องอ่านค่าความเร็วได้มากกว่าค่าความเร็วจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของค่าความเร็วจริง บวกกับ 4 กิโลเมตร/ระยะเวลา 1 ชั่วโมง

กพร. เปิดตัว ‘แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออน’ ต้นแบบครั้งแรกของไทย เล็งต่อยอดป้อนอุตฯ EV

กพร. เปิดตัวแบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออนต้นแบบครั้งแรกของไทย หนุนห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีส่งมอบแบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออนต้นแบบว่า กพร. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตวัตถุดิบเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมด้านวัตถุดิบเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ เนื่องจากเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลักคือ อุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่แห่งอนาคต 

ด้วยปัจจุบันทั่วโลกหันมาให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนมาเป็นยานยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น และประเทศไทยก็ได้กำหนดนโยบาย 30@30 เพื่อก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก มีเป้าหมายในการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด (Zero Emission Vehicle : ZEV) อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 โดยอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ แบตเตอรี่ คิดเป็นต้นทุนหลักประมาณ 40% ของรถยนต์ไฟฟ้า และมีผลต่อการพัฒนาสมรรถนะของยานยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด 

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และปัญหาด้านวัตถุดิบที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ทางเลือกโดยใช้วัตถุดิบชนิดอื่น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า มีวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโลหะลิเทียมและมีศักยภาพนำมาผลิตเป็นแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ โพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) และโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) โดยสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการทำขั้วไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์ได้ อีกทั้งในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ ในต่างประเทศเริ่มมีการผลิตเซลล์ต้นแบบ ทำให้แบตเตอรี่ชนิดนี้มีศักยภาพที่จะถูกพัฒนามาเป็นแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าได้ 

อนาคตสดใส!!  เกาะรั้ว 'มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43'​ กระแสยานยนต์ไฟฟ้าคึกคัก ขานรับนโยบายรัฐดันไทยสู่ฮับผลิต​ EV​ แห่งอาเซียน

'รมว.สุริยะ'​ พอใจภาพรวมงาน 'มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43'​ เผยรัฐบาลเตรียมมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า หลังพบยอดการใช้งานสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด

(27 มีนาคม 2565​)​ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสากรรม นำคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ซึ่งจัดขึ้นที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม-3 เมษายน 2565 โดยมีนายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงอุตสาหกรรม, ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม​ พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย นายชาญ ตุลยะเสถียร, นายโสภณ ตันประสิทธิกุล, ดร.สฤษฎเกียรติ แจ่มสมบูรณ์, นายชัชวัฏ สุวรรณโณ, นายกฤตณ์พัทธ์ กังสุวรรณ, นายธีระ บัวประดับกุล คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารบริษัทยานยนต์ชั้นนำ เข้าร่วม

งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ก้าวด้วยกัน ไปด้วยใจ ไปได้ไกล” หรือ “KEEP MOVING FORWARD TOGETHER” โดยบริษัทกรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานหลัก โดยมี 27 บริษัทรถยนต์ 8 บริษัทรถจักรยานยนต์ และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการด้านยานยนต์เข้าร่วมจัดแสดงบนพื้นที่กว่า 170,960 ตารางเมตร 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวชื่นชมคณะผู้จัดงานที่เตรียมพร้อมตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างดี และดีใจที่ประชาชนให้ความสนใจการจัดงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยานยนต์​ เพราะประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศหลักที่ผลิตรถยนต์ของโลก โดยในประเทศอาเซียน ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ซึ่งในปีนี้มีการประกอบรถยนต์ในประเทศไทยประมาณ 1,800,000 คัน ขณะที่การจัดงานในปีนี้ พบว่า มีบริษัทผู้ประกอบรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า โดยรัฐบาลตั้งเป้าภายใน 5 ปีจากนี้ จะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไม่น้อยกว่า 360,000 คัน โดยแบ่งเป็นใช้ในประเทศ 260,000 คัน และส่งออก 100,000 คัน 
 

รอทำไม? หากหยุดใช้รถน้ำมัน 10,000 คัน แล้วลดก๊าซเรือนกระจกได้ 220,454 ตันต่อปี

คำถามปลายเปิด ที่แทบไม่ต้องรอคำตอบปลายปิด ในยุคที่พลังงานน้ำมันแพง กอปรกับกระแสความแรงของการรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนโลก รวมถึงประเทศไทย!!

อย่างไรก็ตาม แม้กระแสพลังงานไฟฟ้าที่จะเข้ามาไหลเวียนในพาหนะยุคต่อจากนี้ จะพยายามเร่งสปีดเข้ามาใกล้ชิดกับชีวิตคน โดยเฉพาะคนไทยมากยิ่งแค่ไหน แต่ก็ต้องยอมรับว่าในแง่ของราคาและความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพ ยังคงอยู่ในระดับของการเฝ้าดูจากผู้บริโภคส่วนใหญ่เสียมาก 

กลับกันแนวคิดในการสนับสนุนยานพาหนะในหมวดขนส่งสาธารณะ หรือ ‘รถโดยสาร’ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ดูจะมีความเป็นไปได้และได้รับแรงหนุนกระแสลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ดีกว่า สอดคล้องกับรายงานของ Electric Vehicle Outlook ของ Bloomberg ที่คาดว่า ตลาด ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (e-Buses) จะถูกปรับเปลี่ยนให้อยู่ในสัดส่วนมากกว่า 67% ของรถโดยสารทั่วโลกภายในปี 2040

เหตุผลหลัก เพราะ ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่สามารถเข้าถึงคนได้เป็นจำนวนมาก ยิ่งถ้าพัฒนาระบบการขนส่งสาธารณะที่ดีควบคู่ได้ ก็จะช่วยให้คนลดการใช้รถส่วนตัว (น้ำมัน) ลดปัญหามลพิษ, ลดปัญหาโลกร้อน ตลอดจนลดปัญหาทางด้านการจราจร ก่อนทั้งโลกจะเปลี่ยนผ่านจากเครื่องสันดาปสู่ไฟฟ้าเต็มตัว 

และนี่แหละ คือ เหตุผลว่าทำไม ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ (รถบัส) อาจจะเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านยุคแห่งพลังงานและช่วยลดการปล่อยมลพิษของประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ถึงเป้าหมายได้เร็วยิ่งขึ้น

ว่าแต่!! พอหันกลับมาดู ประเทศไทย ซึ่งมีการจดทะเบียนรถโดยสารเพื่อการพาณิชย์ หรือ ‘รถโดยสาร’ ในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10,000 คันนั้น

ก็พลันให้เกิดคำถามว่า ถ้าเราเริ่มเปลี่ยน ‘รถโดยสาร’ ที่มีอยู่ให้กลายเป็น ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ ได้ จะช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้เพียงใด? (ปัจจุบันประเทศไทยมี ‘รถโดยสารไฟฟ้า’ จาก EA หรือ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์)

...220,454 ตันต่อปี คือ ผลลัพธ์จากการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG Emission Reduction) 

...233,333,333.33 ลิตรต่อปี คือ ตัวเลขการใช้น้ำมันดีเซลที่ลดลง ซึ่งเดิมปริมาณตัวเลขนี้ สามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 629,701.80 ตันต่อปีกันเลยทีเดียว (หมายเหตุ: คำนวณจากจำนวนรถ 10,000 คัน ระยะทางการวิ่งรถ 200 กิโลเมตรต่อวัน เป็นระยะเวลา 350 วันเท่ากัน)

Interstate Charging Station ‘สถานีชาร์จไฟฟ้าระหว่างเมือง’ อีกตัวแปร ‘สำคัญ’ ในการเลือกใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

ต้องยอมรับว่าในหลายๆ ประเทศการขนส่งหลักจะใช้ยานยนต์เป็นหลัก ซึ่งการที่จะช่วยให้มีการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาป ต้องคำนึงถึงเรื่องแบตเตอรี่ที่รอบรับการชาร์จได้รวดเร็ว 

ฉะนั้นนอกเหนือจากการมียานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบสนองผู้บริโภคแล้ว สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV Charger ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนผ่านการใช้งานไปสู่รถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น

สำหรับสถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือ EV Charging Station เปรียบเทียบได้กับสถานีปั๊มน้ำมัน แต่เปลี่ยนจากเติมน้ำมันเป็นเติมประจุพลังงานไฟฟ้าแทน ซึ่งการชาร์จพลังงานให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั่น จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีได้แก่...

1.) Normal Charge เป็นการชาร์จแบบปกติ เป็นการชาร์จด้วยไฟ AC โดยชาร์จผ่าน On Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งทำหน้าที่ในการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC โดยขนาดของ On Board Charger นั่นจะมีผลต่อระยะเวลาในการชาร์จไฟของแบตเตอรี่ ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันก็มีขนาดไม่เท่ากัน

และ 2.) Quick Charge ซึ่งเป็นการชาร์จโดยใช้ตู้ EV Charging Station (สถานีชาร์จรถไฟฟ้า) ที่จะทำการแปลงไฟ AC ไปเป็นไฟ DC แล้วจ่ายไฟ DC เข้าที่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าโดยตรง ไม่ผ่าน On Board Charger เหมือนกับ Normal Charge ซึ่งวิธีการชาร์จไฟฟ้า จะส่งผลให้ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จลงน้อยลง
 

เกาะ 986 พิกัด!! สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทย ผู้ให้บริการรายไหน? จัดเต็ม!!

ในวันที่ทิศทางยานยนต์ไฟฟ้าเริ่มชัดเจน และตลาดก็ตอบรับอย่างรวดเร็ว ค่ายรถยนต์น้องใหม่ รวมถึงค่ายเทคโนโลยีดังๆ หลายเจ้า เริ่มขอเข้ามาแทรกแซงทางโค้งเพื่อเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าของตนในประเทศไทยกันถ้วนหน้า จนสร้างความคึกคักท่ามกลางความคลื่นสึนามิย่อมๆ ของเศรษฐกิจไทย ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนของกำลังซื้อใหม่ๆ ได้อย่างน่าสนใจ

แต่ถึงกระนั้นกระแสการตื่นตัวเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่เกิดขึ้น กลับสวนทางกับภาพของการใช้งานจริง นั่นก็เพราะเรายังเห็นจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV วิ่งกันบนท้องถนนแบบจริงจัง น้อยมาก!! 

แน่นอนว่าตัวแปรสำคัญของเรื่องนี้ ยังอยู่ที่ความล่าช้าในการส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าให้แก่ผู้บริโภค, ทางเลือกที่ยังมีจำกัด, ราคาที่ยังไม่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ส่วนมาก, ศูนย์บริการที่สามารถดูแลเมื่อเกิดปัญหาที่ยังไม่ครอบคลุม และ ‘อีกตัวแปรสำคัญ’ ที่น่าจะมีผลต่อความเบาบางของรถยนต์ไฟฟ้าบนท้องถนนมากเกือบที่สุด คือ ความกังวลของผู้ใช้รถว่าแบตเตอรี่ของตนอาจหมดลง แล้วหาสถานีชาร์จได้ลำบากนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทุกภาคส่วนของประเทศไทยที่อยู่ในระบบนิเวศนี้ ต่างรับรู้ปัญหาดี จึงได้มีการร่วมผลักดันสร้างสถานีชาร์จขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่คิดแค่อยากจะตั้งก็ตั้งขึ้นมาได้ เพราะการจัดตั้งสถานีชาร์จในแต่ละที่ ต้องมีการคำนึงถึงความพร้อมของกระแสไฟฟ้าของพื้นที่นั้นๆ อยู่ด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าวันนี้สถานีชาร์จในบ้านเรา ก็ผุดตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกันบ้างพอสมควรแล้ว

ว่าแต่...ในวันนี้ประเทศไทยมีสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศมากน้อยแค่ไหน?

จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่า สถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565) มีจำนวน 986 สถานีทั่วประเทศ มีหัวชาร์จรวมมากกว่า 2,200 หัวชาร์จ กระจายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ / นนทบุรี / ปทุมธานี / ภาคกลาง / ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ / ภาคเหนือ และ ภาคใต้ โดยมีจำนวนผู้ให้บริการที่ติดตั้งจุดชาร์จแล้ว ดังนี้...

>> EA ANYWHERE แบรนด์ภายใต้บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ผลิตภัณฑ์ด้านสถานีประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 459 สถานี จำนวน 1,900 หัวชาร์จ
>> บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 120 สถานี
>> บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 108 สถานี
>> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 73 สถานี
>> สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี
>> บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 51 สถานี

'บิ๊กตู่' เร่งจัดหารถเมล์ EV ให้บริการประชาชน ชี้!! พร้อมสนับสนุนการปรับโฉมรถตุ๊กตุ๊กไทย

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพรถโดยสารสาธารณะในการให้บริการประชาชน โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรี นายกฯ มีข้อสั่งการติดตามให้มีการใช้รถเมล์ไฟฟ้า EV ซึ่งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าภายในปีนี้ คาดหมายให้มีรถเมล์ไฟฟ้าออกมาให้บริการประชาชน ประมาณ 1,000 คัน 

ล่าสุดกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนให้เกิดกระแสการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยได้อนุมัติให้ ขสมก. ดำเนินโครงการจ้างเหมาบริการรถโดยสารปรับอากาศที่ใช้พลังงานสะอาด (รถไฟฟ้า) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเดินรถและลดมลภาวะเป็นพิษในเขตเมือง จำนวน 224 คัน เพื่อให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด  

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการจัดหาจ้างเหมาบริการรถเมล์ไฟฟ้าเร่งด่วน มารองรับกรณีที่รถเมล์ ขสมก. ไม่เพียงพอต่อการบริการประชาชนในปัจจุบัน รวมถึงรถที่นำมาใช้เพื่อรองรับการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน หรือ เอเปก ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งปัจจุบันรถเมล์ ขสมก. มีวิ่งให้บริการอยู่ 2,885 คัน ใน 107 เส้นทาง วิ่งให้บริการอยู่ 17,000 เที่ยวต่อวัน และได้มีการปรับประสิทธิภาพให้วิ่งเพิ่มได้ถึง 19,000 เที่ยวต่อวันโดยการเพิ่มรอบความถี่

จากปัจจัยความต้องการต่าง ๆ ขสมก. จึงได้เตรียมดำเนินการโครงการจ้างเหมาบริการรถไฟฟ้าจำนวน 224 คัน มาเสริมการบริการ โดยเป็นการดำเนินการระยะสั้นไม่เกิน 2 ปี ในช่วงทดแทนที่แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ จะสามารถรับมอบรถเข้ามาวิ่งให้บริการในลอตแรกเดือน พ.ย. จำนวน 90 คัน 

เน้นประโยชน์คนในชาติ EA ประกาศความร่วมมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ‘EVAT – EGAT – MEA – PEA และพันธมิตร’ สร้างเครือข่ายสถานีชาร์จ EV ใช้ได้ทุกค่าย - ได้มาตรฐาน - ราคาเป็นธรรม

EA ประกาศความความร่วมมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ‘EVAT - EGAT - MEA - PEA และพันธมิตร’ สร้างเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า แบบไร้พรมแดน ใช้ได้ทุกค่าย - ได้มาตรฐาน - ราคาเป็นธรรม รองรับตลาด EV บูม

เมื่อ 27 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ได้เปิดเผยว่า บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ EA ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าภายใต้ชื่อ ‘EAnywhere’ ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง ‘ความร่วมมือเพื่อการเชื่อมต่อการใช้งานร่วมกันของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) ระหว่าง สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ’

โดยประกอบไปด้วย สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) - การไฟฟ้านครหลวง (MEA) - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) - บริษัท อรุณ พลัส จำกัด - บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จํากัด (มหาชน) - บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จํากัด - บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จํากัด - บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จำกัด - บริษัท โชเซ่น เอ็นเนอร์จี้ จํากัด - บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด - บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด - บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 

รถโดยสารไฟฟ้ายกระดับคุณภาพชีวิต เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม EA ร่วม ‘ไทยสมายล์บัส’ สร้างเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ เชื่อมต่อทุกการเดินทาง ด้วยรถโดยสารไฟฟ้า

ถือเป็นอีกผลิตผลแห่งเครือข่ายขนส่งไร้มลพิษ จากกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA ที่ปัจจุบันค่อยๆ เข้ามาช่วยเปลี่ยนระบบขนส่งสาธารณะภายในบ้านเรา เพื่อสังคมน่าอยู่ให้กับประเทศ ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาฝุ่น pm 2.5 ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น 

ไม่นานมานี้ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ให้บริการ รถโดยสารพลังงานไฟฟ้า ได้เปิดการให้บริการรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า (EV) สาย 2-38 (สาย 8 เดิม) ภายใต้แนวคิด ‘We Come To Change Fast 8 To Feel Good เรามาเพื่อเปลี่ยนความรู้สึกให้ดีขึ้น’ โดยมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน พร้อมด้วย นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด, นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน), นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) และนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เน็ก พ้อยท์ จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ณ อู่บึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า ปัจจุบัน EA ได้มีการร่วมมือกับ ไทยสมายล์บัส โดยนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม EA อย่างรถโดยสารไฟฟ้าที่ผลิตโดยคนไทยและได้นำเทคโนโลยี Fast Charge ที่เรียกว่า Ultra Fast Charge ซึ่งสามารถชาร์จรถขนาดใหญ่แบบนี้ได้ในเวลาเพียง 15-20 นาทีเข้ามาให้บริการ

นอกจากนี้ EA ยังร่วมมือกับบริษัทครอบครัวขนส่ง ซึ่งเดินเรืออยู่ในคลองแสนแสบ โดยเข้าไปช่วยเปลี่ยนให้เป็นเรือไฟฟ้าทั้งหมด และมีการทำหัวรถจักรไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ เป็นต้น

“สิ่งเหล่านี้ เป็นโครงข่ายของคมนาคมที่ทาง EA อยากช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ในราคาที่ไม่แพง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ช่วยประหยัดพลังงานจากรูปแบบเดิมๆ ในทางอ้อมก็ทำให้ต้นทุนการขนส่งถูกลง ลดภาระของประชาชนทั่วไปได้ตามลำดับ”


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top