Monday, 29 April 2024
EV

ดีลแห่งปี!! WHA&BYD จุดเริ่มจากความเชื่อมั่นที่ไทยต้องเป็นศูนย์กลาง EV สู่ดีลขายที่ผืนใหญ่ เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถไฟฟ้าป้อนโลก

นับเป็นข่าวฮือฮาในช่วงสัปดาห์ เมื่อ WHA ปิดดีลขายที่ดินผืนใหญ่ 600 ไร่ให้ BYD ซึ่งเป็นย่างก้าวสำคัญที่จะดันไทยกลายเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ EV ได้อย่างจริงจัง จากการ BYD จะนำที่ดินผืนนี้มาตั้งเป็นโรงงานผลิตรถ EV รุกอาเซียน-ยุโรป

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) เปิดเผยว่า บริษัทลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดินครั้งใหญ่กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำ 'บีวายดี' (BYD) จำนวน 600 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมลำดับที่ 11 ของ WHA ตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

เธอกล่าวอีกด้วยว่า การซื้อขายที่ดินกับ บีวายดี ครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี ของ WHA เน้นให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการสนับสนุนโครงการอีอีซี และการดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curve Industry) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) บริษัท บีวายดี (ประเทศไทย) จำกัด จะสร้างโรงงานผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้าพวงมาลัยขวาที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปี 67 ด้วยกำลังการผลิตรถยนต์นั่งไฟฟ้าจำนวน 150,000 คัน/ปี เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนและยุโรป

บีวายดี ก่อตั้งในประเทศจีน โดยมีประสบการณ์ด้านการผลิตยานยนต์พลังงานใหม่มานานกว่า 20 ปี โดยเมื่อเดือน เม.ย.65 บริษัทได้หยุดผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในมาเน้นผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) แทน และเมื่อวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา บีวายดี แต่งตั้งบริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด ให้เป็นผู้แทนจำหน่าย BYD แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย และตั้งเป้ายอดขายปีแรกกว่า 10,000 คัน

ด้านนายหลิว เสวียเลี่ยง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด กล่าวว่า การเปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่ในต่างประเทศที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการขยายบริษัทของเราอย่างแท้จริง พร้อมเสริมว่า หลังจากที่ได้ทำการค้นหาและคัดเลือกอย่างละเอียด ประเทศไทยและนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 ได้กลายเป็นตัวเลือกที่สมบูรณ์แบบ เนื่องจากทำเลที่ตั้งและชื่อเสียงของบริษัทในฐานะผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมชั้นนำของภูมิภาค

“โครงการอีอีซีและนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 มีสิ่งที่เรามองหา ทั้งทำเลที่ตั้งอันโดดเด่น ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ระบบสาธารณูปโภคและบริการระดับเวิลด์คลาส รวมไปถึงการขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูง นอกจากนั้นแล้ว ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ยังมีบทบาทสำคัญในการขยายคลัสเตอร์ยานยนต์ในอีอีซีด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการลงทุนของบีวายดี และเราหวังว่าจะมีความสัมพันธ์ระยะยาวอันดีร่วมกับดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ต่อไปในอนาคต”ผู้บริหาร บีวายดี กล่าว

นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง 36 เป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ล่าสุดของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป ในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 1,281 ไร่ ตั้งอยู่ในทำเลยุทธศาสตร์ใกล้ทางหลวงหมายเลข 36 และ 3375 ในจังหวัดระยอง และห่างจากท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุดเพียง 25 กม. ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง 31 กม. และสนามบินอู่ตะเภา 23 กม.

ไทยเนื้อหอม!! เตรียมเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน หลังค่ายรถรุมขยายโรงงาน เงินสะพัดกว่า 4 หมื่นล้านบาท | Summary Reporter EP.11

ไทยเนื้อหอม!! เตรียมเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน หลังค่ายรถรุมขยายโรงงาน เงินสะพัดกว่า 4 หมื่นล้านบาท

เปิด 17 ตัวแปร เปลี่ยนไทยให้ยิ่งใหญ่ ก้าวสู่ศูนย์กลาง EV แห่งอาเซียน

ประเทศไทย 🇹🇭 จะสามารถเป็นศูนย์กลาง Hub ของ EV ได้อย่างแน่นอน เพราะว่า...

1. ปัจจุบันโรงงานประกอบและผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมใหญ่ที่สุดในอาเซียนนั้น อยู่ที่ไทยเป็นของบริษัท EA 

2. บริษัท BYD, Mercedes Benz, BMW, MG, GWM, Volt ก็เลือกประเทศไทย เป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยตั้งให้ประเทศไทยเป็น Hub ผลิตรถ EV ในอาเซียน

3. BMW, Benz , Nissan, BYD, EVLOMO ก็ตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ EV ในประเทศไทย ตั้งให้เป็นฐานผลิตในภูมิภาค

4. Foxconn ร่วมมือกับ ปตท. ลงทุนประมาณ 72,000 ล้านบาท จัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ชื่อ HORIZON PLUS พร้อมศูนย์วิจัย R&D ดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลาง EV อาเซียน เซ็นสัญญากันไปเรียบร้อยแล้ว

5. ล่าสุด BYD ซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์ EV ยอดขายอันดับ 1 ของจีน ได้ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทสยามกลการของไทย ซื้อที่ดิน จำนวน 600 ไร่ เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BYD และโรงงานผลิตแบตเตอรี่ มูลค่าการลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาทเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวา เพื่อจำหน่ายในประเทศไทยและส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงออสเตรเลีย และ อังกฤษ ด้วยกำลังการผลิตเบื้องต้นที่ 150,000 คัน ต่อปี (ซึ่งไทย มีข้อตกลง FTA กับประเทศเหล่านี่)

6. บริษัท อีวี ไพรมัส จากจีน มีแผนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ฉะเชิงเทรา มูลค่าการลงทุนกว่า 400 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มขึ้นไลน์ผลิตได้ในช่วงปลายปี 2566 โดยจะผลิตเพื่อขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งใน และต่างประเทศ ตั้งเป้าการผลิตอยู่ที่ 4,000 คันต่อปี

7. 'บ้านปู เน็กซ์' ร่วมกับ 'เชิดชัยฯ' และ 'ดูราเพาเวอร์' ผู้ผลิตแบตสัญชาติสิงคโปร์ ร่วมกันตั้งโรงงานแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในประเทศไทยที่ โคราช ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ภายในปี 2569 บุกตลาดในเอเชียแปซิฟิก

8. บริษัท EVLOMO บริษัทชั้นนำด้านยานยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐอเมริกา กำลังสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาด 8 กิโลวัตต์ ซึ่งจะมีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน สร้างในพื้นที่ EEC ด้วยเงินลงทุน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังจับมือกับ OR ในการติดตั้งตู้ EV Super Charge 150kW อีกว่า 100 สถานีในประเทศไทย

8 บิ๊กคอมพานีปักหมุดไทยฐานผลิตรถ EV หอบทุนแสนล้าน ดันไทยฮับ EV อาเซียน

(17 ต.ค. 65) จากเพจเฟซบุ๊ก Vaccine ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของไทยที่กำลังจะกลายเป็น EV Hub ของโลก หลัง 8 บริษัทใหญ่ทั่วโลกร่วมลงทุนด้วยเงินกว่าแสนล้านบาท ไว้อย่างน่าสนใจว่า…

ประเทศไทยเนื้อหอม ยุครปภ.
8 บริษัทยักษ์ใหญ่ลงทุนโรงงานผลิตรถ EV

ประเทศไทยกำลังจะกลายเป็น EV Hub ของโลก...ในยุครปภ.
ด้วยเงินลงทุนกว่าแสนล้านจากบ.ยานยนต์ทั่วโลก
เพราะประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะเลิกจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในอย่างสิ้นเชิงภายในปี 2035 และสหประชาชาติก็เสนอร่างเลิกขายรถเครื่องยนต์สันดาปในปี 2040
ส่งผลให้รถ EV กลายเป็นหน้าใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นความต้องการของโลก

ด้วยความทันเกมส์ของรัฐบาลไทย ก็ประกาศเป้าหมาย ปี 2573 ไทยจะผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์จะมีการผลิตทั้งสิ้น 675,000 คัน หรือมีสัดส่วน 30% ของการผลิตทั้งหมด 

และคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ตั้งเป้าการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) พร้อมผลักดันไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกหรือศูนย์กลางของภูมิภาค (EV Hub)

วันนี้ 8 บริษัทยักษ์ใหญ่เลือกลงทุนในไทยเป็นฐานการผลิตรถ EV ลงทุนแล้ว 5 บริษัท คือ

1. Foxconn + Horizon plus 🇹🇼🇹🇭 
มูลค่าการลงทุน 1.04 billion USD ที่จ.ชลบุรี

2. Ford 🇺🇲
มูลค่าการลงทุน 1.02 billion USD ที่จ.ระยอง

3. BYD 🇨🇳
มูลค่าการลงทุน 522 million USD ที่จ.ระยอง

EA เปิดตัว EV Mini Truck MT30 รถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกฝีมือไทย

คนไทยทำได้ EA เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้า 100% EV Mini Truck MT30 พร้อมจดทะเบียนเป็นรถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของไทย ภายใต้นวัตกรรมไทย ยกระดับการขนส่งเชิงพาณิชย์ ต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบ New S-Curve ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

(18 ต.ค. 65) นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ด้านการคมนาคม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น บริษัทได้ออกแบบและพัฒนา ‘EV Mini Truck MT30’ รถกระบะไฟฟ้าฝีมือคนไทย 100% สำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษในภาคขนส่ง 

ทั้งนี้ EV Mini Truck MT30 หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้ประกอบการที่สนใจการใช้งานรถไฟฟ้า ที่คำนึงถึงการลดต้นทุนค่าขนส่งและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวรถจะมาพร้อมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด (Li-Ion Battery) 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่ผลิตโดย อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ขับเคลื่อนได้ไกลกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที (30-80%) ด้วยเทคโนโลยี DC Fast Charge จาก EA Anywhere ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่กลุ่ม EA ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้การใช้งานยานยนต์เชิงพาณิชย์มีประสิทธิภาพสูงสุด

ล้ำหน้าไปอีกก้าว!! EA เปิดตัว EV Mini Truck MT30 รถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกฝีมือไทย

คนไทยทำได้ EA เปิดตัวรถกระบะไฟฟ้า 100% EV Mini Truck MT30 พร้อมจดทะเบียนเป็นรถกระบะไฟฟ้า 100% รุ่นแรกของไทย ภายใต้นวัตกรรมไทย ยกระดับการขนส่งเชิงพาณิชย์ ต่อยอดอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบบ New S-Curve ตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

นับเป็นก้าวสำคัญในการพลิกโฉมประวัติศาสตร์ด้านการคมนาคม ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศให้เข้าสู่สังคมปลอดคาร์บอนได้เร็วยิ่งขึ้น หลังจากกลุ่มบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ออกแบบและพัฒนา ‘EV Mini Truck MT30’ รถกระบะไฟฟ้าฝีมือคนไทย 100% สำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ ที่จะช่วยประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยลดมลพิษในภาคขนส่ง 

ทั้งนี้ EV Mini Truck MT30 หวังเจาะกลุ่มเป้าหมายอย่างผู้ประกอบการที่สนใจการใช้งานรถไฟฟ้า ที่คำนึงถึงการลดต้นทุนค่าขนส่งและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยตัวรถจะมาพร้อมแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนขนาด (Li-Ion Battery) 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่ผลิตโดย อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ขับเคลื่อนได้ไกลกว่า 200 กิโลเมตรต่อการชาร์จ ใช้เวลาชาร์จเพียง 15 นาที (30-80%) ด้วยเทคโนโลยี DC Fast Charge จาก EA Anywhere ซึ่งเป็นจุดสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีที่กลุ่ม EA ได้ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้การใช้งานยานยนต์เชิงพาณิชย์มีประสิทธิภาพสูงสุด 

'ทิพานัน' มั่น 'บิ๊กตู่' พาไทยฮับผลิตอีวีแห่งอาเซียนได้แน่ หลังผู้ผลิตสนร่วมมาตรการส่งเสริมลงทุนเพียบ

'ทิพานัน' โชว์ยอดใช้รถอีวีเติบโต 7 เดือนแรก ปี 65 กว่า 2 หมื่นคัน ชี้ 'พล.อ.ประยุทธ์' นำไทยเป็นฐานการผลิตรถอีวีใหญ่ในภูมิภาคได้แน่นอน หลังผู้ผลิตรถอีวีสนใจเข้าร่วมมาตรการส่งเสริมลงทุนเพียบ เกิดการจ้างงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจครั้งใหญ่

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากแผนพลังงานแห่งชาติที่กำหนดกรอบให้ไทยมียานยนต์ไฟฟ้า หรือรถอีวี ที่ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด โดยตั้งเป้าให้ ปี 2030 ต้องมีการใช้รถอีวีเพิ่มมากกว่า 50% เพื่อให้ปี 2040 สามารถทดแทนยานยนต์ที่ใช้น้ำมันได้ 100% ในกลุ่มรถใหม่ ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถลดการใช้พลังงานน้ำมัน และส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการเกิดฝุ่น pm 2.5 ด้วย โดยรัฐบาลได้ออกมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมรถอีวีอย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นเงินอุดหนุนรถยนต์ และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาทต่อคัน ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8% เป็น 2% และรถกระบะเป็น 0% ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40% สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566 และยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์อีวี จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิตหรือประกอบอีวีในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ ส่งผลให้แนวโน้มการใช้รถอีวีของไทยเพิ่มสูงขึ้น

ดาวกระจาย!! ค่ายรถ EV จีน สะเทือนบัลลังก์ ‘ญี่ปุ่น-ตะวันตก’

ค่ายรถยนต์จีนกำลังบุกตลาดโลกต่อเนื่อง หวังต่อกรกับแบรนด์ดังจากค่ายรถยนต์ยุโรป รวมถึงกระโดดเข้ามากวาดตลาดที่กำลังเติบโตอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบบไม่หยุด

ในประเทศไทยเอง ก็เป็นหนึ่งในหมุดหมายของค่ายรถยนต์จีน และพร้อมเข้ามากระชากส่วนแบ่งออกจากอกค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ที่เดิมครองตำแหน่งเบอร์ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาดถึง 80% มาช้านาน 

โดยเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดจีนค่ายดังอย่าง BYD  ประกาศที่จะสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้าสาขาต่างประเทศแห่งแรกของบริษัทที่ไทย โดยเลือกที่ทำเลที่จังหวัดระยองในการสร้างโรงงาน เพื่อผลิตรถยนต์ป้อนตลาดในอาเซียน 

ด้าน Great Wall Motor ค่ายรถยนต์จากจีนอีกแห่ง ที่มาเปิดโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ในระยองเช่นกันก็เพิ่งบรรลุเป้าหมายผลิตรถยนต์คันที่ 1 หมื่นได้สำเร็จ ส่วน Hozon New Energy ค่ายรถยนต์จากเซี่ยงไฮ้ขอชิมลางด้วยการเปิดโชว์รูมแห่งแรกในไทยที่เซ็นทรัล พระราม 2

ไม่เพียงแต่ค่ายรถที่เข้ามาเปิดโชว์รูม หรือสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในไทยเท่านั้น!! 

ในตลาดเมืองไทยเอง ก็ยังมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนเข้ามาจำหน่ายด้วย โดยปัจจุบันมียอดเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิจารณาจากตัวเลขล่าสุดพบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2565 ไทยนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนแล้วถึง 59,375 คัน ยอดเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 176% และทำให้ประเทศไทยขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 ของตลาดส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน รองจากเบลเยียม และอังกฤษ

สาเหตุที่ตลาดรถยนต์ของไทยเป็นที่ดึงดูดใจของค่ายรถยนต์จากจีน สืบเนื่องจากที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และใหญ่เป็นอันดับ 10 ของโลกจนได้รับสมญาว่าเป็น ‘ดีทรอยต์แห่งเอเชีย’ 

นอกจากนี้ ไทยยังเป็นชาติแรกในภูมิภาคนี้ที่รัฐบาลอนุมัติเงินสนับสนุนสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในวงเงินตั้งแต่ 15,000 - 180,000 บาท รวมกับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแล้ว รวมมูลค่าสูงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท เพื่อกระตุ้นการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมากขึ้นทดแทนรถยนต์น้ำมัน 

ในภาคการผลิต รัฐบาลไทยยังให้ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีนจนถึงสิ้นปี 2023 แลกกับการที่บริษัทรถยนต์จีนจะมาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไปโดยมีเป้าหมายว่า 30% ของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศจะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้เพื่อให้ไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก และดึงดูดค่ายรถยนต์อื่นๆ นอกจากจีนเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

รวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า สอดคล้องกับกระแสการขับเคลื่อนสู่สังคมปลอดคาร์บอนที่เป็นวาระของโลก คาดการณ์ว่าไทยจะมีรถยนต์ไฟฟ้าถึง 2.7 ล้านคันภายในปี พ.ศ. 2583

'ก.อุตฯ' เดินหน้าขับเคลื่อน EV ชงมาตรฐานเข้ม 'แบตเตอรี่-สถานีชาร์จ' เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐาน

กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย EV เร่งรัด สมอ. ชงมาตรฐาน 'แบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า - รถยนต์ไฟฟ้า' และ 'สถานีชาร์จ' เป็นสินค้าควบคุมต้องได้มาตรฐาน พร้อมนำทีมลงพื้นที่พบผู้ผลิตและจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของไทย เพื่อศึกษาข้อมูลประกอบการทำมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง รองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย EV อย่างต่อเนื่อง โดยเร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นำมาตรฐานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ทั้งมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ รวมทั้งสถานีชาร์จ เสนอบอร์ดเพื่อขอความเห็นชอบในการบังคับใช้มาตรฐาน โดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค 

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้าและที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยประกาศใช้แล้วจำนวน 128 มาตรฐาน เช่น จักรยานยนต์ไฟฟ้า, รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า, ระบบการสื่อสารระหว่างรถยนต์ไฟฟ้ากับโครงข่ายไฟฟ้า  ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า, ระบบเบรกของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า, เซลล์และแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า, ชิ้นส่วนสำหรับดัดแปลงรถจักรยานยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า, ระบบจอดอัตโนมัติของรถยนต์, สมรรถนะของยานยนต์ไฟฟ้ามอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในรถยนต์ EV เป็นต้น  

ซึ่งในการกำหนดมาตรฐานดังกล่าว อ้างอิงมาจากข้อกำหนดและมาตรฐานระหว่างประเทศ ครอบคลุมทั้งด้านความปลอดภัย และด้านการใช้พลังงาน และทั้ง 128 มาตรฐานนั้นยังเป็นมาตรฐานภาคสมัครใจที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมให้ผู้ประกอบการยื่นขอการรับรอง แต่เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกระแสโลก ขณะเดียวกันแนวคิดการยกเลิกการใช้ยานยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์สันดาป รวมถึงกระแสการตื่นตัวต่อภาวะโลกร้อนที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงต้องมีการพิจารณาบังคับใช้มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นตามไปด้วย

ข้อควรรู้ ‘ขับขี่มือใหม่’ สายพลังงานสะอาด ‘ชาร์จ’ รถ EV ต้องทำแบบนี้ ‘ปลอดภัย-ไฟแรง’

ปัจจุบันระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้า EV ได้เริ่มไหลเวียนเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของผู้คนอย่างเรา ๆ ได้ใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ

แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักไม่น้อยไปกว่าเฟสของ ‘การใช้งาน’ ในผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาด เช่น ตัวรถยนต์ มอเตอร์ แบตเตอรี่ หรือแม้แต่ที่ชาร์จ ก็คือ เรื่องของมาตรฐานของห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ EV

ไม่นานมานี้ ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ก็สั่งเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย EV อย่างต่อเนื่อง โดยเร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) นำมาตรฐานแบตเตอรี่ไฟฟ้า ทั้งมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ รวมทั้งสถานีชาร์จ เสนอบอร์ดเพื่อขอความเห็นชอบในการบังคับใช้มาตรฐาน โดยกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

สาระสำคัญที่น่าสนใจในเฟสนี้ คงอยู่ที่เรื่องของพลังงานเสียมาก โดยเฉพาะในส่วนของสถานีชาร์จ หรือแม้แต่ที่ชาร์จตามบ้าน ซึ่งหากใช้อย่างไม่รู้เท่าทัน แทนที่รถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยปันเงินส่วนต่างที่แพงหูฉี่จากน้ำมันมาเข้ากระเป๋า อาจทำให้เราต้องควักเงินเพิ่มเพื่อไปดูแล อุปกรณ์เกี่ยวเนื่องต่อการใช้งานอีวีนั้น ๆ ก็เป็นได้

วันนี้ ผมเลยถือโอกาสแนะแนวทางการชาร์จแบตฯ รถยนต์ไฟฟ้าที่ควรรู้สำหรับทุกท่านที่เริ่มเข้าสู่สังคมพลังงานสะอาด 100% กันสักเล็กน้อยครับ 

สำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้น หลัก ๆ ก็จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 แบบ คือ…

>>การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge)
เป็นการชาร์จไฟฟ้าจากตัวเต้ารับโดยตรง และเต้ารับต้องติดตั้งใหม่เฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น โดยเป็นการใช้ไฟบ้านที่เป็นกระแสสลับ (AC) ใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12 ถึง 16 ชั่วโมง


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top