Monday, 29 April 2024
EV

ตอบคำถามอายุของรถ EV สั้นกว่ารถทั่วไปจริงหรือ?

ในยุคปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV (Electric Vehicle) นั้น ถือเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางทั่วโลก ตั้งแต่ในระดับของผู้คนทั่วไป แวดวงธุรกิจต่างๆ วงการวิชาการ ไปจนถึงระดับนโยบายภาครัฐ รวมถึงระหว่างประเทศด้วย นั่นเพราะการตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาเรื่องพลังงานที่มีอยู่จำกัด หรือที่เรียกว่า Non-Renewable Energy ซึ่งก็คือพลังงานน้ำมัน ที่วันหนึ่งจะหมดไปนั้น ทำให้ผู้คนหลากหลายฝ่ายทั่วโลกพยายามที่จะคิดหาทางออกจากปัญหาการขาดแคลนพลังงานที่จะมาถึงนี้

ความคิดในการผันตัวออกจากการพึ่งพาพลังงานน้ำมันไปสู่พลังงานที่สะอาดและยั่งยืนกว่า จึงนำไปสู่การพูดคุยถึงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เพื่อใช้ทดแทนรถยนต์ทั่วไปที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งท้ายที่สุด การพูดคุยในเรื่องนี้ได้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ จนทุกวันนี้เราสามารถเห็นรถ EV วิ่งอยู่บนท้องถนนได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้คนทั่วไปที่มีสถานะเป็นผู้บริโภค การเปลี่ยนมาใช้รถ EV นั้นถือว่ามีอุปสรรคอยู่พอสมควร นั่นเพราะความไม่แน่ใจในเรื่องความคุ้มค่าและอายุการใช้งาน ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากภาพจำที่เห็นว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปนั้นมีอายุสั้น โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องแบตเตอรี่ ที่ในกรณีของรถยนต์ทั่วไปนั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่อยู่ตลอด ๆ จึงอาจทำให้หลายคนมีความคิดว่ารถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV นั้นจะมีอายุการใช้งานที่สั้น เช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าปกติอื่น ๆ วันนี้ จึงอยากชวนมาเข้าใจถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้กัน

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจว่ารถยนต์หรือยานยนต์ไฟฟ้า (EV) นั้นถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงไม่กี่สิบปีให้หลังนี้ ในขณะที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงนั้น เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างยาวนานมากกว่าร้อยปี อีกทั้งยังมีการปรับปรุงพัฒนาขีดความสามารถต่างๆ ให้ดีขึ้นอยู่ตลอดๆ เรียกได้ว่าทุกวันนี้เครื่องยนต์สันดาปมีการพัฒนาจนเกือบจะสมบูรณ์แบบแล้ว ในขณะที่เทคโนโลยี EV นั้นยังคงอยู่ในช่วงแรกเริ่มเท่านั้น

อย่างไรก็ตามการพัฒนาขีดความสามารถของ EV นั้นก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดๆ จนปัจจุบันนั้นมีการทดลอง ทดสอบ และตรวจสอบ จนสามารถผลิตและนำรถยนต์และยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ได้จริง และเพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับรถยนต์ทั่วไป ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปและน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น รถ EV จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาองค์ประกอบต่างๆ ให้ทัดเทียมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่องของอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของ EV 

สถาบันทดลองพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ (National Renewable Energy Laboratory; NREL) ของกระทรวงพลังงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและสรุปเป็นข้อเสนอแนะถึงผู้ผลิต EV ว่า “เพื่อแข่งขันกับรถยนต์ธรรมดา รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (Electric-Driven Vehicles; EDVs) และแบตเตอรี่ของ [รถนั้น] จะต้องมีสมรรถนะใช้งานได้ 10 ถึง 15 ปี ในสภาพอากาศและในวัฏจักรการใช้ที่แตกต่างออกไป” [1]

โดยอีกหนึ่งมาตรฐานที่ทางผู้ผลิต EV ต้องยึดถือ โดยเฉพาะผู้ผลิตสัญชาติอเมริกา นั่นก็คือ การรับประกันแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นผลมาจากกฎหมายของรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ กำหนดให้แบตเตอรี่ของรถ EV จะต้องได้รับการรับประกันคุณภาพให้มีอายุการใช้งานอยู่ที่ 8-10 ปี หรือเทียบเท่าระยะทาง 100,000-150,000 ไมล์ (ประมาณ 160,000-240,000 กิโลเมตร) [2] ซึ่งแม้ประเทศอื่นอาจจะไม่ได้มีการออกกฎหมายเช่นเดียวกันนี้ แต่ผลของกฎหมายนี้ก็จะเป็นตัวกำหนดมาตรฐานของผู้ผลิตอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

หากจะยกตัวอย่างผู้ผลิตที่ถือเป็นหนึ่งในผู้นำเจ้าสำคัญของเทคโนโลยี EV นั่นก็คือ เทสลามอเตอร์ส (Tesla Motors) ซึ่งในปีค.ศ. 2019 อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าแบตเตอรี่ของรถ Tesla Model 3 นั้นสามารถรองรับการใช้งานได้ถึง 300,000-500,000 ไมล์ (ประมาณ 482,000-804,000 กิโลเมตร) เลยทีเดียว [3] ซึ่งเมื่อคำนวณด้วยตัวเลขการใช้รถทั่วไปของชาวอเมริกันจากกระทรวงคมนาคมนั้นเท่ากับ 22-37 ปี [4] อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าตัวเลขที่ผู้ผลิตโฆษณาโดยมากแล้วจะต้องจะมีความเกินจริงอยู่ โดยตัวเลขจริงๆ นั้นจะอยู่ที่ 30-37 เปอร์เซ็นต์ [5] อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถ Tesla Model 3 จึงน่าจะอยู่ที่ราว 15-25 ปี

ตัวอย่างของเทสลานั้นถือเป็นกรณีที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ตามมาตรฐานของฝั่งผู้ผลิตที่ได้กล่าวไปนั้น เราอาจจะอุ่นใจได้ว่าโดยทั่วไปแล้ว รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV นั้นจะมีอายุใช้งานอย่างต่ำคือ 10 ปีโดยประมาณ ซึ่งแน่นอนว่าในความเป็นจริงตัวเลขก็อาจจะมีความแตกต่างไปจากนี้ได้ จากปัจจัยต่างๆ ของผู้ใช้เอง โดย 3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถ EV นั้นก็คือ ความร้อน พฤติกรรมการชาร์จ และพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้นั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน อย่างความร้อนก็อาจเกิดจากการใช้งานที่หนักเกินไป หรือการชาร์จที่ปล่อยให้แบตเตอรี่หมดบ่อยครั้ง (deep discharges) หรือรวมทั้งการเลี้ยงให้เต็มอยู่ตลอดเวลาเกินไป (Overcharging) [6] อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้นั้นสามารถเรียนรู้ให้ไม่เกิดผลเสียได้หากผู้ใช้ทำความเข้าใจและปรับพฤติกรรมให้ถูกต้อง

EQS 500 4MATIC AMG Premium เบนซ์ไฟฟ้า ประกอบในไทย เปิดราคาไว้ 7,900,000 บาท

เมอร์เซเดส-เบนซ์ EQS 500 4MATIC AMG Premium ยนตรกรรมพลังงานไฟฟ้า 100% รุ่นแรกที่ประกอบในโรงงานเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ที่ผสานทั้งเทคโนโลยี ดีไซน์ ฟังก์ชันการใช้งาน และการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนซึ่งเมอร์เซเดส-เบนซ์ได้เปิดไลน์การผลิตภายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการไปแล้ว

โดยรถยนต์คันนี้รังสรรค์ขึ้นด้วยแพลตฟอร์มของยานยนต์ไฟฟ้าใหม่ในทุกรายละเอียด ทั้งการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรม เรื่อยไปจนถึงดีไซน์ภายนอกและภายในที่สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นยานยนต์สำหรับโลกอนาคตจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ มาพร้อมขุมพลังไฟฟ้า 100% จากมอเตอร์ไฟฟ้าคู่พร้อมความจุของแบตเตอรี่ขนาด 108.4 kWh ให้กำลังสูงสุด 449 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุด 828 นิวตันเมตร ให้อัตราเร่งที่ยอดเยี่ยมจาก 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมงในเวลา 4.8 วินาที พร้อมทำความเร็วสูงสุดได้ 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง 

'สุริยะ' เอื้อ!! 'คนตัวเล็ก-เอสเอ็มอี-วิสาหกิจชุมชน' คลอด 'มอก.เอส' อนุมัติอู่รถแปลงเครื่องยนต์เป็นอีวี

(13 ธ.ค.65) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และที่เกี่ยวข้องออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ออกประกาศมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หรือวิสาหกิจชุมชนที่ต้องการเครื่องหมายการันตีสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค จำนวน 2 มาตรฐาน

ได้แก่ 1. การบริการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าและ 2. การบริการดัดแปลงรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า หลังผู้บริโภคให้ความสนใจเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันผู้บริโภคบางส่วนเลือกที่จะนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอยู่ไปดัดแปลงให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อรถไฟฟ้าคันใหม่ จึงนับว่าเป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่อยู่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ หรือ อู่ซ่อมรถต่าง ๆ จำนวนหลายร้อยรายในประเทศ จะได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพการให้บริการจนสามารถสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจดัดแปลงรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าได้

เติมอากาศ (ดี) ให้เพื่อนบ้าน EA 'เซ็น MOA - ร่วมมือ' รัฐบาลแห่ง สปป.ลาว 'ยกระดับ-พัฒนา EV' ช่วยลาวเดินหน้าสู่สังคมไร้มลพิษ

EA ร่วมมือรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว เซ็น MOA เพิ่มขีดความสามารถพลังงานสะอาด และพัฒนาระบบขนส่ง EV เชิงพาณิชย์ครบวงจร ยกระดับ สปป.ลาว สู่สังคมไร้มลพิษ

เมื่อไม่นานมานี้ (10 มี.ค.66) ได้มีการจัดงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Agreement) ว่าด้วย ความร่วมมือเพื่อการลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องร่วมกับรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว โดยกระทรวงการเงิน (กระทรวงการคลัง) แห่ง สปป.ลาว จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านพลังงานสะอาด โครงสร้างสายส่ง และพัฒนาระบบขนส่ง EV เชิงพาณิชย์ของ สปป.ลาว อย่างครบวงจร เพื่อยกระดับสู่สังคมไร้มลพิษ ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ท่านสะเหลิมไซ กมมะสิด รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ของ สปป. ลาว เป็นประธานในพิธี โดยมี ดร. ภูทนูเพชร ไซสมบัตร รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน (กระทรวงการคลัง) และนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)  ร่วมในพิธีลงนาม ณ โรงแรม ลาว พลาซ่า นครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว 

ดร. ภูทนูเพชร ไซสมบัตร รองรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน (กระทรวงการคลัง) สปป. ลาว ได้กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นขีดหมายสำคัญระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถทางด้านพลังงานและระบบขนส่งด้วยยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของ สปป.ลาว ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) เปิดเผยว่า บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน มีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และสิทธิบัตรที่หลากหลายในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ธุรกิจน้ำมันชีวภาพ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเชิงการพาณิชย์แบบครบวงจรทั้งทางบกและทางน้ำ ธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมถึงธุรกิจแบตเตอรี่และระบบกักเก็บพลังงานที่ทันสมัย โดยพัฒนานวัตกรรม Ultra Fast Charge Technology ที่สามารถอัดประจุไฟฟ้ายานยนต์ทุกชนิด 80% ในระยะเวลาเพียง 15-20 นาที บริษัทฯ มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว จะประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้ สปป.ลาว ก้าวสู่สังคมไร้มลพิษในอนาคตอันใกล้”

‘อ.ต่อตระกูล’ ลุ้น!! ทางเลือกใหม่แบตเตอรี่เพื่อรถอีวี หลังหลายสถาบันคิดค้นแบตฯ นอกเหนือจากลิเธียม

(25 มี.ค.66) ‘อ.ต่อตระกูล’ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงงานวิจัยด้านแบตเตอรี่โดยคนไทย ว่า…

วิจัยไทย หลากหลายสถาบันร่วมกันวิจัยค้นหาแบตเตอรี่สำหรับรถไฟฟ้า นอกเหนือจากแบตเตอรี่ลิเธียม มีดังนี้...

- กราฟีนแบตเตอรี่ โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- แบตเตอรี่สังกะสีไอออน โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- แบตเตอรี่โซเดียมไอออน โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น                    
- แบตเตอรี่โพแทสเซียม ไอออน โดยสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) 

สำหรับแบตเตอรี่สังกะสีไอออน จะเป็นแบตเตอรี่ทางเลือกชนิดแรกของไทย ที่จะมีผลิตในโรงงานต้นแบบฯ ผลิตแบบจำนวนมาก ๆ ตั้งอยู่ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EECi จังหวัดระยอง ในปี 2566 นี้


ที่มา: https://www.facebook.com/1483692496/posts/pfbid02GW2gxUVzTvXvFNbKSAFEe92wH8VvNHFTLxEAmU8zsMgcc92aqpWJqTC2x4vwrxhkl/?mibextid=Nif5oz

ฝีมือ รปภ.คนเดิม!! รู้หรือไม่? ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคมถึงร้อยละ 39.47

ภายหลังจาก ‘บิ๊กตู่’ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เดินหน้าผลักดันมาตรการเชิงรุก เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตและใช้ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง 

ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ถือเป็นพัฒนาการสำคัญของไทยในเชิงของเศรษฐกิจใหม่ด้านยานยนต์ ขณะเดียวกันก็ช่วยพาประเทศเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำในอนาคตอีกด้วย

‘อ.ต่อตระกูล’ แง้ม!! รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ของ BYD จะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออนแทนลิเทียมเป็นครั้งแรก

(7 เม.ย. 66) ‘อ.ต่อตระกูล’ รศ.ดร.ต่อตระกูล ยมนาค อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า...

ข่าวดี ๆ วันศุกร์

BYD ประกาศโฉมหน้ารถ EV ขนาดเล็ก ชื่อ ‘ซีกัล’ (Seagull) ราคาคาดการณ์ 3-4 แสนบาท ประกาศเปิดตัวที่จีนวันที่ 18 เมษายน นี้

ทว่าไฮไลต์อยู่ที่ จะเป็นรถไฟฟ้า คันแรก ที่จะใช้แบตเตอรี่โซเดียมไอออน แทนแบตเตอรี่ลิเทียม

‘ไทย’ ขึ้นแท่นประเทศที่มียอดขาย EV อันดับ 1 แห่งอาเซียน หลังโครงสร้างประเทศปรับ รับแรงขับเคลื่อนอุตฯ EV เต็มรูปแบบ

เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 66 ช่อง YouTube ‘Kim Propperty’ ได้เปิดเผยถึง ตลาดรถยนต์ EV ในประเทศไทย ที่ตอนนี้ต้องยอมรับว่าก้าวหน้าเกินประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการเข้ามาลงทุนของแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าหลากสัญชาติ รวมถึงความต้องการซื้อที่มากจนมีตัวเลขที่น่าสนใจจะมาแชร์...

ทว่าก่อนอื่น ต้องฉายภาพให้เห็นถึงตัวแปรที่ทำให้ EV กับประเทศไทยเดินเคียงคู่กันไปได้อย่างไร้รอยต่อ โดยต้องยอมรับว่า โครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทยนั้นค่อนข้างดีมาก ตั้งแต่ไฟฟ้าเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่แม้จะมีแบรนด์เป็นของตนเองอย่างเวียดนาม (Vinfast) แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน หรือโครงสร้างที่เอื้อต่อการผลิต การขนส่งยังไม่ดีพอ 

ขณะเดียวกัน แม้จำนวนประชากรเวียดนามจะมีจำนวนมาก แต่กำลังซื้อก็ไม่สูง หรือยังไม่ได้มีกำลังทรัพย์มากพอ พอ Vinfast ขายในประเทศตัวเองไม่ได้ ก็เลือกไปตีตลาดที่ประเทศอเมริกาแทน แต่ก็ต้องเจอตออย่าง Tesla ส่งผลให้ยอดขายไม่ปัง แถมลูกค้ายังบอกว่าสินค้าไม่ตรงปกอีก เรียกว่าสารพัดปัญหากันเลยทีเดียว 

นี่คือภาพในเชิงของโครงสร้างพื้นฐานที่มีผลต่อการขยายตัวของตลาด EV ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย

ถัดมาคำถามที่น่าสนใจ คือ ในวันที่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของประเทศอเมริกากับจีนซัดกันนัวขนาดนี้ จนแม้แต่ประเทศเวียดนามก็ยังเอาแบรนด์ตัวเองเข้าไปแทรกยากเหมือนกัน แล้วแบรนด์รถยนต์ในประเทศนั้น ๆ เขาจะไปไหน แล้วที่ไหนที่พวกเขาควรไป...

1.) ประเทศที่มี อุปสงค์ (Demand) หรือ ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าและบริการ
2.) ประเทศที่มีโครงสร้างไฟฟ้าที่ครบครันและครอบคลุม 

>> เริ่มเอะใจกันแล้วใช่ไหม!! ก็ประเทศไทยนั่นแหละ

...และไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ จากข้อมูลล่าสุดประเทศไทยของเรา เป็นประเทศที่มียอดขาย EV เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน แบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ ที่ต่างตบเท้าเข้ามาในประเทศไทยโดยเฉพาะแบรนด์จีน ถึงกับเปรยคำหวานว่า “ไม่มีแบรนด์ไหนในประเทศจีนที่ไม่อยากมาในประเทศไทยหรอก”

หลายคนอาจจะมองว่า นี่เป็นความบังเอิญหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ความบังเอิญ เนื่องจากยอดขายในประเทศไทย ซึ่งเป็นอันดับ 1 ทิ้งห่างอันดับ 2 และ 3 อย่าง ประเทศอินโดนีเซีย กับประเทศสิงคโปร์ แบบไม่เห็นฝุ่นนั้น หากให้มองจากสัดส่วนของยอดขายในเอเชียประมาณ 60% นั้น แทบจะมาจากประเทศไทยกันเลยทีเดียว

โดยตัวแปรสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ที่ทำให้ภาพเหล่านั้นเกิกขึ้น คือ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ประเทศไทยสามารถผลักดันปัจจัยที่เอื้อต่อการเป็นผู้นำเทคโนโลยีด้าน EV อย่างมากและต่อเนื่อง ทำให้มีแบรนด์ดัง ๆ อย่าง BYD, Ford และอีกหลายเจ้า พร้อมเข้ามาหนุนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของพวกเขา ตัวอย่างเช่น BYD ที่เข้ามาซื้อที่ดินจาก WHA ไปกว่า 600 ไร่ เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถ EV แห่งใหม่ของอาเซียน ในประเทศไทย

รวมถึงดีลสุดมหัศจรรย์ ที่ทำให้หลายคนต้องอึ้ง อย่างการที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย สนใจลงทุนในประเทศไทย และทุ่มงบมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท มาเลือกใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถ EV 

>> ข่าวดีที่ว่ามาดี มาจาก...

1.) ประเทศไทยสามารถดึงแบรนด์ดังๆ ให้เข้ามาผลิตที่ประเทศไทยได้จากโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐทุ่มลงทุน
2.) ในฟากฝั่งของผู้บริโภค รัฐบาลไทยได้ทำการออกนโยบายต่าง ๆ นานา เพื่อสนับสนุนให้คนเป็นเจ้าของรถยนต์ EV ได้ เช่น ลดหย่อนภาษีได้
3.) ความต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า EV ของคนไทยมีความสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งมีแรงสนับสนุนจากภาครัฐยิ่งทำให้คนอยากได้ EV มากยิ่งขึ้น

เหล่านี้ ส่งผลทำให้ราคารถยนต์ EV ในประเทศไทย เริ่มมีราคาที่ถูกลง เราเริ่มเห็นรถ Tesla ในราคาล้านกว่าบาทเท่านั้น จากแต่ก่อนนำเข้ามาเริ่มหลัก 3 ล้านบาท 

นั่นจึงไม่ใช่เรื่องยากเลยที่ฝั่งแบรนด์ผู้ผลิตต่าง ๆ จะขอเข้ามามีส่วนเสนอขายสินค้าและบริการ ภายใต้แผนพัฒนาไทยที่จะขอเป็น HUB EV ในย่านนี้ ย่านที่พร้อมไปด้วยโครงสร้างพื้นฐาน, การเดินทาง, การคมนาคม, กำลังซื้อ รวมถึงพลังงานไฟฟ้า ที่มีความยอดเยี่ยมอยู่แล้ว ต่อให้ค่าแรงในประเทศไม่ถูกเหมือนที่อื่นก็ตาม เพราะหลายผู้ผลิตมองว่า ประเทศไทยของเราใจดี ใจกว้างเหลือเกิน ค้าขายในบ้านเราได้ ภาษีก็ไม่ค่อยเสีย แถมผู้บริโภคในประเทศไทยก็ยังชอบซื้ออีกด้วย (เราเป็นนักซื้อที่ยอดเยี่ยม) 


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top