Saturday, 14 September 2024
IMPACT

1 ปี GWM Thailand ความสำเร็จที่เกินกว่า 365 วันจะบรรยายได้หมด!!

ผ่านพ้นไปแล้วกับ VIRTUAL LIVE EVENT GWM BRAND DAY 2022 ‘FIRST YEAR TOGETHER’ งานครบรอบ 1 ปี GWM Thailand ความสำเร็จตลอด 1 ปีที่ผ่านมาของ ของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ประเทศไทย (Great Wall Motor: GWM) ซึ่งพร้อมเต็มที่กับย่างก้าวสู่การเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเศรษฐกิจไทยต่อในปี 2022

โดย GWM จะมีการวางขยายทั้งศูนย์บริการ สถานีชาร์จ พร้อมกิจกรรมต่างๆ เพื่อมอบประสบการณ์ใหม่ให้แก่ลูกค้าคนสำคัญทุกท่าน รวมไปถึงอุบไฮไลต์ที่เตรียมปล่อยในอีกไม่ช้ากับ รถยนต์ใหม่อีก ‘5 รุ่น’ จาก ‘3 แบรนด์’ ที่มาแน่ภายในปีนี้ รับรองว่ายิ่งใหญ่สมการรอคอย รอติดตามได้เลย

ส่วนเป้าหมายของในปี 2022 นี้ ทาง GWM ยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์การขับขี่ที่ยอดเยี่ยมภายใต้เสียงสะท้อนของผู้บริโภคชาวไทย เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และสังคมไทยตลอดไป 

รับข่าวสารสุด Exclusive ก่อนใคร สามารถกดติดตามเพจ GWM Thailand รับรองว่ามี Surprise ทั้งปีได้ที่...
Website: www.gwm.co.th
GWM Instagram: GWM Thailand 
GWM Twitter: GWM Thailand
GWM YouTube: GWM Thailand
GWM TikTok: GWM Thailand
GWM Line: GWM Thailand
GWM Application: https://bit.ly/3myOJbS
GWM Contact Centre: 02-668-8888

GWM ประกาศศักดา!! มุ่งสู่ผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าไทย พร้อมดันไทยฮับอาเซียน ในวาระครบรอบ 1 ปี

ต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2021 เป็นปีทองของค่ายรถยนต์อย่าง เกรท วอลล์ มอเตอร์ (Great Wall Motor) หรือ GWM ค่ายรถยนต์สัญชาติจีนที่เข้ามาถล่มตลาดไฮบริด และ SUV อีกทั้งยังปลุกกระแสตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในบ้านเรา จนหลายคนรู้จักกันมากขึ้น

365 วันที่ผ่านมา GWM สร้างปรากฏการณ์ที่ทำให้แบรนด์จีนกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่คนไทยยอมรับ ตั้งแต่การพุ่งเป้าสู่ตลาดรถยนต์ xEV หรือ รถที่มีการขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าล้วนที่เปิดตัวออกมาอย่าง ORA Good Cat ซึ่งกวาดยอดจองไปมากกว่า 10,000 คันในสัปดาห์แรก

ส่วน SUV อย่าง Haval H6 Hybrid ก็ครองตำแหน่งยอดขายสูงสุด 3 เดือนติดต่อกัน ขณะที่ All New HAVAL JOLION Hybrid SUV ก็เข้ามาสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับรถยนต์ SUV-B พร้อมยอดสั่งจองที่ยังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง 

โดยตลอดหนึ่งปีมานี้ GWM ได้ส่งมอบรถยนต์ทั้ง 3 รุ่นให้กับผู้บริโภคชาวไทยไปแล้วรวมทั้งสิ้นเกือบกว่า 4,000 คัน สร้างฐานแฟนคลับชาวไทยได้กว่า 500,000 คนที่ติดตามผ่านทางโซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook, TikTok และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ ของ GWM

ผู้สันทัดกรณีในวงการยานยนต์หลายท่านเชื่อว่า ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ค่ายรถยนต์สัญชาติจีนรายนี้ได้รับการตอบรับจากตลาดเมืองไทยนั้น มาจากการเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับคนไทย ในราคา เทคโนโลยี และประสบการณ์การขับขี่อัจฉริยะในรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ต่อไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคคนไทยแบบไม่กั๊ก 

ขณะเดียวกัน เมื่อช่องว่างตลาดเปิดสินค้าล็อตใหม่ ทาง GWM ก็ปล่อยทีเซอร์สินค้ารุ่นอื่นๆ เพื่อต่อยอดกระแสเรียกการติดตามได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น WEY SUV พรีเมียม หรือแม้แต่ Tank 500 SUV ไซส์ยักษ์ของ GWM

ในด้านของช่องทางการจัดจำหน่ายและบริการก็เช่นกัน GWM รู้ดีว่าตลาดเมืองไทยใส่ใจเรื่องนี้มาก จึงมีการเพิ่มช่องทางจาก 50 แห่ง เป็น 80 แห่งในปี 2565 รวมถึงการเตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการเพิ่มจุดชาร์จ ให้เพียงพอกับการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า โดยจะเพิ่มจุดชาร์จ เป็นทั้งหมด 55 แห่ง ประกอบด้วยจุดชาร์จ ในผู้แทนจำหน่ายที่ลูกค้าสามารถมาใช้บริการได้ตลอดเวลา และ จุดชาร์จ ณ ที่หมาย เช่น โรงแรม ร้านอาหาร พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางชาร์จฉุกเฉิน สำหรับลูกค้าที่มีระยะทางมาไม่ถึงตู้ชาร์จด้วย

นี่คือ 1 ปีของ GWM ในประเทศไทยที่ มร. เอลเลียต จาง ประธาน เกรท วอลล์ มอเตอร์ ภูมิภาคอาเซียนและประเทศไทย กล่าวว่า ต้องออกมาขอบคุณลูกค้าชาวไทยด้วยตัวเอง หลังจากที่คนไทยให้ความไว้วางใจและความสนับสนุนที่มอบให้เกรท วอลล์ มอเตอร์ มาโดยตลอด รวมถึงพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ และทีมงานทุกคน สำหรับความเชื่อมั่นและความทุ่มเทอย่างเต็มที่เสมอมา จนทำให้ GWM ประเทศไทยเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งจนถึงวันนี้

ทั้งนี้ ย่างก้าวสู่ปีที่ 2 ของ GWM ด้าน นายณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ (ประเทศไทย) เผยว่า เกรท วอลล์ มอเตอร์ ประเทศไทย จะมุ่งเน้นไปสู่การเป็นผู้นำด้านรถยนต์พลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งสร้างสังคมยานยนต์ไฟฟ้าให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 4 ด้าน ได้แก่...

1.) ด้านผลิตภัณฑ์: ภายใต้ภารกิจ Mission 9 in 3 ที่ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ประกาศจะนำรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 9 รุ่นมาให้ผู้บริโภคชาวไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดภายใน 3 ปี โดยในปี 2565 นี้ GWM จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 5 รุ่น จาก 3 แบรนด์ โดยหนึ่งในนั้นได้แก่ All New HAVAL H6 Plug-in Hybrid SUV จากแบรนด์ HAVAL ที่เคยเผยโฉมครั้งแรกของโลกในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 38 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา และรถยนต์อีก 2 รุ่นที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% จากแบรนด์ ORA ตอบรับกับนโยบายการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจากทางภาครัฐอีกด้วย ส่วนอีก 2 รุ่นจะมีการเปิดเผยรายละเอียดให้ทราบต่อไป 

2.) ด้านช่องทางจำหน่าย: เกรท วอลล์ มอเตอร์ จะขยาย GWM Store ทั้งที่เป็น Direct Store และ Partner Store เพิ่มขึ้นอีก 50 แห่ง รวมเป็น 80 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญๆ ของประเทศ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและรองรับกับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เบอร์หนึ่ง 2 ปีติด!! เปิดตัวแปร BMW ปั้นยอดแซง BENZ ในรอบ 20 ปี ‘ค่านิยม-รถใหม่-เซอร์วิสโดนใจ’ ดันขึ้นแท่นผู้นำ

...เรามักคุ้นเคยกับคำกล่าวที่มักเปรียบเทียบ 2 ค่ายรถยนต์หรูสัญชาติเยอรมนีกันบ่อยๆ แม้จะผ่านนานข้ามยุคข้ามสมัย
...เจ้าหนึ่งถูกนิยามถึงประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับความภูมิฐาน
...อีกเจ้าถูกนิยามถึงความสปอร์ต โฉบเฉี่ยวล้ำสมัย สมวัยคนรุ่นใหม่

เรากำลังพูดถึงนิยามของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ และ BMW ตามมุมมองความชื่นชอบของคนที่แตกต่างกัน

ในประเทศไทยการขับเคี่ยวของทั้ง 2 เจ้าเรียกว่าหาผู้เล่นใดขึ้นมาแทรก แต่ก็ต้องยอมรับว่าค่ายดาวสามแฉกยังไม่เคยเพลี่ยงพล้ำให้กับ BMW เลยตลอดร่วม 20 ปี

ทว่าหากดูตัวเลขในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผู้นำของตลาดรถหรูในไทยได้เปลี่ยนมือมาเป็น BMW โดยเฉพาะกับตัวเลขปีล่าสุด 2021 ที่ BMW เคลมตัวเลขยอดขายจากกรมขนส่งด้วยสัดส่วนยอดขายกว่า 45.5% โดยจุดเริ่มต้นของการช่วงชิงบัลลังก์ในครั้งนี้ต้องย้อนไปในปี 2020 ที่ยอดขายอย่างเป็นทางการจาก BMW นั้น อยู่ที่ 11,242 คัน ลดลง 4.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยเป็นยอดขายที่ไม่รวมแบรนด์ในเครืออย่าง ‘มินิ’ ที่มียอดขาย 1,184 คัน ส่วนเมอร์เซเดส-เบนซ์ มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 10,613 คัน ลดลง 29.7%

จากตัวเลขนี้ ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเถลิงแชมป์ยอดขายตลาดรถยนต์หรูไทยของ BMW 

...แล้วเหตุใด BMW ถึงสามารถกระชากบัลลังก์จาก เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลงมาได้?

เรื่องนี้น่าสนใจ เพราะต้องยอมรับว่าในยุคหลังคนรุ่นใหม่รวยเร็ว ความต้องการรถยนต์หรูมีไปถึงระดับซูเปอร์คาร์ แต่คนที่มีปัจจัยน้อยกว่าพรีเมียมคาร์ ก็จะเริ่มถูกเวทมาที่ค่ายพรรคนักปลุกใจคนรุ่นใหม่ อย่าง BMW

ไม่ใช่ว่า เมอร์เซเดส-เบนซ์ ยุคนี้แก่หรือเชย แต่ค่านิยมที่คุ้นเคยและยาวนาน บวกช่วงอายุของคนรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาตามกาลเวลา ผสานตัวแปรของ BMW ในการเติบโตช่วง 2 ปีมานี้ มีมาก!! จนยากที่เจ้าตลาดจะคุมอยู่

ทั้งนี้หากลองมาดูภาพรวมของปี 2021 ที่การันตีให้ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย รักษาตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์พรีเมียมไทยได้อีกครั้งนั้น มาจากยอดขายรถยนต์รวมกันของบีเอ็มดับเบิลยูและมินิ ซึ่งครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 45.5% ในปี 2564 เพิ่มขึ้นจาก 44.6% ในปี 2563 

แถมปีนี้ทั้งปี ก็ยังเตรียมโฉมรถยนต์ทั้งบีเอ็มดับเบิลยู มินิ และมอเตอร์ไซค์บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด รวม 10 รุ่น อีกทั้งยังเน้นย้ำการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกในรูปแบบของ Gran Coupe ด้วยบีเอ็มดับเบิลยู i4 รุ่นใหม่ บีเอ็มดับเบิลยู i4 M50 ราคา 4,999,000 บาท และ บีเอ็มดับเบิลยู i4 eDrive40 M Sport ราคา 4,499,000 บาท รวมถึงทัพผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจทุกรุ่น อาทิ...

- บีเอ็มดับเบิลยู 430i Convertible M Sport ราคาโดยประมาณ 4,300,000 - 4,500,000 บาท
- บีเอ็มดับเบิลยู X6 xDrive40i M Sport (รุ่นประกอบในประเทศ) ราคา 5,499,000 บาท 
- บีเอ็มดับเบิลยู X7 xDrive40d M Sport (รุ่นประกอบในประเทศ) ราคาโดยประมาณ 6,100,000 - 6,300,000 บาท

- มอเตอร์ไซค์บีเอ็มดับเบิลยู R 1250 RT ราคา 1,310,000 บาท สำหรับสี Triple Black / สี Racing Blue Metallic และ 1,420,000 บาท สำหรับ Option 719 Mineral White Metallic
- มอเตอร์ไซค์ บีเอ็มดับเบิลยู S 1000 R ราคา789,000 บาท
- มอเตอร์ไซค์ บีเอ็มดับเบิลยู K 1600 B ราคาโดยประมาณ 1,600,000 - 1,800,000 บาท 

ด้านยอดสินเชื่อของ บีเอ็มดับเบิลยู ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ประเทศไทย ก็ทำลายสถิติด้วยยอดสินเชื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้นถึง 13% รวมมูลค่า 19,000 ล้านบาท พร้อมตัวเลขยอดสินเชื่อรวมในพอร์ททะยานสู่หลัก 52,000 ล้านบาท

ขณะที่ยอดการผลิตรถยนต์และสองล้อของ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศไทย สูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 33,428 คัน แถมยังเปิดตัวโมเดลใหม่ 10 รุ่น ทั้งจากบีเอ็มดับเบิลยู มินิ และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด เพื่อนำเสนอทางเลือกที่ครอบคลุมให้แก่ลูกค้า รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่อีก 2 รุ่น

>> รถยนต์ไฟฟ้าเกมที่ต้องมองยาวๆ

แน่นอนว่าในระหว่างที่ข่าวคราวการวางแผนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเต็มสูบของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ในไทยจะน่าสนใจ แต่เมื่อตลาดรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันว่องไว การแค่เลือกบางรุ่นที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าของ BMW เข้ามาลองชิมตลาดนี้ จึงน่าจะเพียงพอ ภายใต้การบริหารงานของ มร. อเล็กซานเดอร์ บารากา ประธานและซีอีโอ บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประเทศไทย ที่เชื่อในเรื่องของความยืดหยุ่นจากดีมานด์ไซส์ หรืออารมณ์อยากได้กันมากเดี๋ยวค่อยผลิตให้ตามความต้องการ ตามสไตล์ Limited Offer ที่ช่วงหลัง BMW ใช้ไม้นี้บ่อย จนทำให้รู้สึกว่าสินค้าของ BMW ช่างดูเอ็กซ์คลูซีฟเสียนี่กะไร

แต่ถึงกระนั้น หากดูจากยอดจดทะเบียนของ BMW และมินิในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า ก็ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในส่วนของรถยนต์พรีเมียมไฟฟ้าด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 32.9% ร่วมกับการขยาย ChargeNow ตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งคาดว่า BMW จะมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ทั้งหมดกว่า 600 หัวจ่าย ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2565 แถมเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าบีเอ็มดับเบิลยูและมินิสามารถใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน EVolt ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเพื่อใช้บริการสถานี ChargeNow ซึ่งนี่คือการปูพรมแบบเงียบๆ

>> ตัวแปรสลับเก้าอี้ผู้นำ
อย่างไรก็ตาม หากลองวิเคราะห์แบบเห็นภาพชัดๆ หน่อยนั้น จะพบตัวแปรสำคัญของ BMW ในช่วง 2 ปีที่ส่งผลให้เกมพลิกกลับมานำเมอร์เซเดส-เบนซ์ในรอบ 20 ปีได้นั้น มันมีเหตุและผลที่สมควรแก่จังหวะเวลาจริงๆ

เรื่องแรก คือ รถใหม่ สิ่งสำคัญที่สุดในการเพิ่มยอดขายหรือรักษายอดขายท่ามกลางวิกฤตของ BMW ในช่วงตั้งแต่ปี 2020 เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่อย่าง ซีรีส์ 3 ที่เป็นรถรุ่นขายดีที่สุดมาโดยตลอดอยู่แล้ว เวียนมาบรรจบกับการเปิดตัวรุ่นประกอบในประเทศ เมื่อเดือนมีนาคม 2020 ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล และปลั๊กอินไฮบริด ทำให้มีราคาถูกลงกว่ารุ่นนำเข้าถึงกว่า 400,000 บาท โดยมีราคาที่ 2,519,000 บาท ในรุ่น 320d และ 2,769,000 บาท ในรุ่น 330e

เช่นเดียวกับรุ่น เอ็กซ์ 1 ที่มีการทำราคารุ่นเริ่มต้นให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 ล้านบาท พร้อมกับการไมเนอร์เชนจ์ปรับโฉมกระตุ้นความสดใหม่ รวมถึงการมีรถรุ่นอื่นๆ ทยอยออกมาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ใช่รุ่นที่โกยยอดขายเป็นกอบเป็นกำ แต่ส่งผลในแง่ของจิตวิทยาได้เป็นอย่างดี เหนืออื่นใดคือ การมีรถพร้อมส่งมอบ ลูกค้าไม่ต้องรอนาน จึงทำให้ BMW รักษาระดับการขายเอาไว้ได้โดยลดลงเพียง 4.3% 

ในทางกลับกัน ปี 2020 เมอร์เซเดส-เบนซ์ ผิดแผนในหลายจุด โดยเฉพาะเรื่องของรถใหม่ ที่เป็นจังหวะของการเปลี่ยนโมเดลในการทำตลาดของตัวขายที่สำคัญอย่าง ซีแอลเอ (CLA) ที่มีการหยุดทำตลาดไปและมีรุ่น เอ-คลาส มาทำตลาดเป็นหลักแทนด้วยรุ่นนำเข้าตั้งแต่เมื่อปี 2019 โดยในปี 2020 นั้น เอ-คลาสจะมีรุ่นประกอบในประเทศออกจำหน่าย ซีแอลเอ จึงถูกถอดจากไลน์อัพการขายไปและไม่มีรถส่งมอบ

ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันกยศ. เตรียมเฮ! นายกฯ สั่งแก้กม. ช่วยลูกหนี้ ให้ไม่ถูกฟ้องคดี

นับเป็นอีกหนึ่งข่าวดีรับปีใหม่ สำหรับลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายกยศ. ปี 2560 ให้มีความทันสมัย เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องรูปแบบชำระหนี้และช่วยเหลือเรื่องการดำเนินคดีกับลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลปี 2563 เงินกู้ กยศ. มีหนี้เสีย (NPL) สูงถึง 62% สูงที่สุดในช่วง 25 ปี ปัจจัยที่ทำให้ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้เป็นจำนวนมาก มาจากรูปแบบการชำระเงินคืนไม่สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้คืน นั่นเพราะบางช่วงเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด-19

ดังนั้น กยศ. จึงได้ทำการปรับรูปแบบการชำระหนี้ เพื่อลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้และกลายเป็นหนี้เสีย เพิ่มแผนการรับชำระหนี้ให้หลากหลาย ทำให้ผู้กู้สามารถเลือกแผนการชำระคืนให้เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง

ซึ่งกฎหมายฉบับที่จะได้รับการแก้ไข จะทำให้กองทุนฯ สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างดำเนินคดี หรือศาลมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว หรืออยู่ในระหว่างการบังคับคดี ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 1.1 ล้านราย ให้สามารถเข้าร่วมการแก้ไขหนี้ แปลงหนี้ เพื่อกลับมาผ่อนชำระได้อีกครั้ง

โดยสาระของการปรับปรุงกฎหมายฉบับใหม่นี้ประกอบด้วย

1.) ลูกหนี้สามารถเลือกผ่อนชำระเป็นรายเดือน หรือรายไตรมาสได้ โดยไม่ต้องเก็บเงินก้อนใหญ่ไปรอชำระงวดเดียว ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกหนี้วางแผนผ่อนชำระได้ง่ายขึ้น

2.) จัดลำดับการตัดชำระเงิน โดยเรียงจาก เงินต้น ดอกเบี้ย และเงินเพิ่ม ทำให้ยอดหนี้หมดเร็วขึ้น

3.) ผู้กู้สามารถกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน (มีผู้ค้ำประกันเฉพาะกรณีที่จำเป็น) ซึ่งจะช่วยตัดปัญหาเรื่องผู้กู้เบี้ยวหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องมารับหนี้แทน และช่วยทำให้ผู้กู้รายใหม่ ไม่ต้องลำบากเรื่องการหาผู้ค้ำประกัน

4.) ชะลอการฟ้องร้องและบังคับคดี หรือการชะลอการขายทอดตลาด สำหรับลูกหนี้ที่ติดคดีใกล้ขาดอายุความ ซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับนี้ จะช่วยเหลือลูกหนี้และผู้ค้ำประกันที่มีปัญหาชำระหนี้ 'หลายล้านคน' ให้ไม่ต้องถูกฟ้องร้อง

ขณะเดียวกันยังได้เปิดให้ผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระหนี้ที่ยังไม่ถูกฟ้องคดี จำนวนกว่า 1.7 ล้านคน ให้เข้ามาแจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้วแบบสมัครใจ ผ่านแอปพลิเคชัน กยศ. Connect หรือผ่านเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้กู้ยืมช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

นโยบายไม่ขายฝัน!! ‘ประกันรายได้’ ชุบชีวิตเกษตรกร 7.8 ล้านราย นโยบาย ปชป.ยุคใหม่ เน้นทำได้จริง

อย่างที่รับทราบกันดีว่า ประเทศไทย คือ ประเทศเกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก ขณะที่อาชีพเกษตรกร คือ อาชีพหลักของคนไทยมาช้านาน เป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับคนไทยและอีกหลายล้านคนบนโลกได้มีอาหารดีๆ 

แต่ทว่า อาชีพเกษตรกร กลับเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงด้านรายได้เพื่อยังชีพและเลี้ยงครอบครัว นั่นเพราะการทำเกษตรมักจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่า ผลผลิตที่ออกมานั้น จะมีราคาที่คุ้มกับที่ลงทุนไปหรือไม่ เนื่องจากมีตัวแปรจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง 

ที่ผ่านมา พรรคการเมืองส่วนใหญ่ มักจะกำหนดนโยบายด้านราคาสินค้าเกษตรเป็นตัวชูโรง เพราะทราบดีว่า เกษตรกรเป็นฐานเสียงสำคัญ บางนโยบายสามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่นโยบายอีกจำนวนมากเป็นเพียงการขายฝัน สุดท้ายก็ทำไม่ได้ตามที่รับปากชาวบ้าน

แต่หนึ่งในนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลชุดนี้ ที่อาจกล่าวได้ว่า โดนใจเกษตรกรไทยเต็มๆ คงหนีไม่พ้น ‘นโยบายประกันรายได้เกษตรกร’ นั่นเอง

สำหรับนโยบายประกันรายได้เกษตรกร ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นนโยบายหลักของพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่เมื่อครั้งรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา และภายหลังได้เข้าร่วมรัฐบาล ทางจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก็ได้ผลักดันนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อนำไปเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล โดยเริ่มจากการประกันรายได้ของพืช 5 ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพด 

‘กรณ์’ ค้านเก็บภาษีเทรดคริปโตฯ จนกว่า ‘สรรพากร’ จะทำความเข้าใจตอบได้ชัดเจน

กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้ประกาศถึงวิธีการคำนวณภาษีคริปโตฯ โดยคิดกำไรที่เกิดขึ้นจากการขายรายธุรกรรม (transactions) โดยไม่สามารถนำรายการที่ขาดทุนมาหักลบได้ 

โดยคำนวณจากเงินได้ (กำไร) แล้วหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ตามที่กฎหมายกำหนด และไม่จบเพียงแค่นั้น แต่ยังต้องนำเงินได้ (กำไร) มารวมกับเงินได้อื่นๆ พร้อมยื่นภาษีประจำปี ซึ่งแน่นอนว่ามีเสียงสะท้อนออกมาในด้านลบ ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ประกอบการ exchange หรือบรรดานักเทรดคริปโตฯ

เขากล่าวว่า ก่อนที่จะวิเคราะห์ประเด็นเรื่องภาษีกำไร อีกเรื่องที่นักลงทุนคริปโตควรจะต้องมีคำถามกับทางสรรพากร แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงคือประเด็นเกี่ยวกับการเก็บภาษี VAT เพราะสรรพากรเก็บ VAT เสมือนคริปโตเป็นสินค้า

เพราะฉะนั้น 'จะเกิดการจ่าย VAT สองเด้ง' หากเรารับชำระการขายสินค้าเป็นคริปโต เพราะนอกจากเสีย VAT ตอนขายสินค้าแล้ว เรายังต้องเสีย VAT จากการขายคริปโตเป็นบาทอีกด้วย

ทั้งนี้ แม้แต่ผู้ลงทุน หากขายคริปโตเกิน 1.8 ล้านบาท ก็ต้องจด VAT และเสีย VAT โดยไม่สามารถเขียนใบเสร็จได้ เพราะเราขายคริปโตใน exchange เราไม่รู้ผู้ซื้อ นี่คือสาเหตุที่หลายประเทศได้แก้กฎหมายเพื่อปลดล็อกคริปโตออกจากระบบ VAT

อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า ดังนั้นทางกรมสรรพากรควรจะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้นำเสนอและศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมกับประเทศต่อไป โดยอาจจะดูตัวอย่างในต่างประเทศที่มีการออกข้อกำหนดลักษณะนี้มาแล้วก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง capital gains tax, VAT/GST สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลเช่น

1.) VAT/GST - สิงคโปร์ ออสเตรเลีย หรือบางประเทศใน EU กำหนดให้การขาย crypto currency, การใช้ crypto currency ในการซื้อสินค้าและบริการ, การจ่ายเงินเป็น crypto currency จะไม่ต้องเสีย VAT ในต่างประเทศมีการยอมรับให้ใช้ crypto currency โดยไม่เสีย VAT แต่ประเทศไทยเรื่องนี้ยังต้องมีการพูดคุยเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น มิเช่นนั้นอาจจะสร้างผลกระทบให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อขายสินค้าโดยใช้ crypto currency ก็เป็นได้

เงินสำรองไทยแกร่งต่อเนื่อง!! ขยับขึ้นที่ 12 ของโลก สะท้อนฐานะทางการเงินประเทศแข็งแกร่ง

ในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 นับเป็นช่วงเวลาที่ฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย อ่อนแอลงอย่างมาก เนื่องจากต้องรับมือกระแสเก็งกำไรค่าเงินบาท ในช่วงก่อนเกิดวิกฤต จนทำให้เหลือเงินสำรองฯ เพียง 2 หมื่นกว่าล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

อย่างไรก็ดี หลังจากได้รับบทเรียนจากวิกฤตในครั้งนั้น ฐานะเงินสำรองฯ ของประเทศไทยก็เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาถึง 10 เท่า จากปี 2540

และเมื่อมองย้อนกลับไป 5 ปี หลังสุด พบว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ปี 2559 อยู่ที่ 6,155,783 ล้านบาท, ปี 2560 อยู่ที่ 6,615,482 ล้านบาท, ปี 2561 อยู่ที่ 6,666,266 ล้านบาท, ปี 2562 อยู่ที่ 6,756,943 ล้านบาท, ปี 2563 อยู่ที่ 7,747,644 ล้านบาท และ ณ สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 8,212,110 ล้านบาท

โดยข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนต.ค. 64 ระบุว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศรวม (gross reserves) อยู่ที่ 246,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 8.21 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับมั่นคง โดยคิดเป็นประมาณ 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 

จากตัวเลขดังกล่าว ส่งผลให้ปัจจุบัน ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศ ขยับขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 12 ของโลก จากจำนวน 195 ประเทศ

ขณะที่ 3 อันดับแรกประกอบด้วย จีน มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 3,398,927 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือนพ.ย. 64), ญี่ปุ่น มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1,405,754 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือนพ.ย. 64) และสวิตเซอร์แลนด์ มีทุนสำรองระหว่างประเทศ 1,086,197 ล้านเหรียญสหรัฐ (ตัวเลข ณ เดือนต.ค. 64)

‘กรมสรรพากร’ รับนโยบาย ‘บิ๊กตู่’ คาดเกณฑ์เก็บภาษีคริปโตเสร็จเดือนนี้

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรเตรียมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  เพื่อกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์การคิดภาษีจากกำไรการขายหรือการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโทเคอร์เรนซี ให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนม.ค.นี้ หลังจากนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กรมสรรพากรเร่งสร้างความชัดเจน เกี่ยวกับแนวคิดคำนวณภาษีจากกำไร การขายหรือการลงทุนคริปโทเคอร์เรนซี ให้แก่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป  

ทั้งนี้ กรมสรรพากร ได้หารือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น  ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อนำมาจัดทำแนวทางการปฏิบัติในการเก็บภาษีจากสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เกิดความเหมาะสมกับรูปแบบการลงทุนและบริบทในปัจจุบัน โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดกับประชาชน และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องจากการถือครองหรือได้รับผลประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัล

‘ก.อุตฯ’ เปิดโรงงานผลิตแบตฯ ใหญ่สุดในอาเซียน เตรียมดันไทยสู่สังคมพลังงานสะอาดยั่งยืน

ไม่นานมานี้ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธี เปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุด ในภูมิภาคอาเซียน โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.กระทรวงแรงงาน, นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, นายกวิน ทังสุพานิช เลขานุการรัฐมนตรีพลังงาน, รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา, นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ฉะเชิงเทรา พร้อมผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมในพิธี

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทพลังงานบริสุทธิ์จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้นำนวัตกรรมด้านพลังงานหมุนเวียน-พลังงานไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้า กล่าวว่า โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงาน จะเป็นหัวใจสำคัญของการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีเสถียรภาพเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยได้ออกแบบให้โรงงานแห่งนี้ใช้ระบบที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการผลิตได้ง่ายขึ้น เพื่อตอบโจทย์เทคโนโลยีในอนาคต อีกทั้งโรงงานยังเน้นแนวคิดที่ใช้พลังงานในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต มุ่งเน้นการรีไซเคิลในกระบวนการผลิตให้มากที่สุด โดยได้รับความร่วมมือจาก บริษัท อมิตา เทคโนโลยี อิงค์ (ไต้หวัน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนในไต้หวันมากว่า 20 ปี

ทั้งนี้ กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ได้เข้าร่วมทุน ถ่ายทอดประสบการณ์และเทคโนโลยีในการสร้างโรงงานจนเป็นผลสำเร็จ ผ่านบริษัทย่อยภายใต้ ชื่อ บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่มากขึ้นในระดับ World Class เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ชนิด Pouch Cell ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และวัสดุที่มีความปลอดภัยสูงในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ให้สามารถจุพลังงานได้สูง มีน้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่มีส่วนประกอบของสารที่เป็นอันตราย เช่น กรดหรือตะกั่ว และใช้เทคนิคพิเศษในการผลิตเซลล์ เมื่อหมดอายุการใช้งาน นำไปรีไซเคิล ด้วยการคัดแยกแผ่นขั้วบวกและขั้วลบได้ง่าย เพราะเป็นแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้แบตเตอรี่ของอมิตายังออกแบบให้เข้ากันกับเทคโนโลยีแบบ Ultra-Fast Charge ที่รองรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ภายในเวลาเพียง 15 นาที พร้อมรองรับการชาร์จได้สูงถึง 3,000 รอบ ที่จะเป็นจุดเด่นสำหรับรองรับการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญในการใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด”

Gigafactory ฐานผลิตแบตฯ ใหญ่สุดในอาเซียน ภายใต้อภิมหาโปรเจกต์ล่าสุดของ EA

“วันนี้ประเทศไทยของเรา กำลังจะมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใหญ่กว่าโรงงานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา ถึง 1.4 เท่า ด้วยเงินลงทุนที่ถูกกว่า ก็ทำให้เราสามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ในราคาที่ถูกกว่า นั่นหมายความว่าเราก็จะส่งออกแบตเตอรี่นี้ออกไปต่างประเทศได้ ถ้าคนไทยทำได้จริง ๆ ทำไมคนไทยจะเป็นผู้ชนะบ้างไม่ได้”

นี่คือคำกล่าวของ ‘สมโภชน์ อาหุนัย’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ผู้บุกเบิกและพัฒนาการนำ ‘พลังงานสะอาด’ หรือ ‘พลังงานทดแทน’ มาใช้ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยพัฒนาแบรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทย MINE Mobility ด้วยสโลแกน MISSION NO EMISSION ซึ่งไม่ได้มีแค่รถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ในปี 2564 นี้ แบรนด์ MINE ได้เปิดตัว MINE Smart Ferry เรือโดยสารไฟฟ้า สายแรกแห่งลำน้ำเจ้าพระยา ที่เป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทย 100%

...และวันนี้ เขากำลังจะพาประเทศไทยเข้าไปสู่โอกาสใหม่แห่งอนาคต ภายใต้ Gigafactory โรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน!!

>> อนาคตประเทศไทย ภายใต้โรงงานผลิตแบตฯ สุดยิ่งใหญ่แห่งอาเซียน

12-12-2021 หรือวันที่ 12 เดือน 12 ที่ผ่านมา ได้กลายเป็นอีกหนึ่งวันที่ประเทศไทยต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อ EA ประกาศตอบสนอง New S-Curve ของประเทศไทย ด้วยการเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนและระบบกักเก็บพลังงานแบบครบวงจร ทันสมัย มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้ ‘อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย)’ ซึ่งจะตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ (Bluetech City) กิจการของ EA ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา 

สมโภชน์ เล่าให้ฟังถึงเหตุผลของการตั้งโรงงานแห่งนี้ว่า...

โลกเราทุกวันนี้ ร้อนจนกระทั่งไม่รู้ว่ามนุษยชาติจะอยู่บนโลกนี้ได้หรือไม่ แต่บางคนก็ยังพูดว่าตอนนี้ น้ำมันถูก มีความจำเป็นอะไรที่เราต้องไปซื้อพลังงานทดแทนมาใช้ 

ฉะนั้นผมว่า วันนี้ไม่ใช่เรื่องของอะไรถูก อะไรแพง แต่มันจะเป็นเรื่องที่บอกว่า มนุษย์เราจะอยู่ต่อไปบนโลกนี้ได้อย่างไร

ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ถูกลงเรื่อย ๆ ถูกจนกระทั่งสามารถผลิตออกมาได้ถูกกว่าการใช้น้ำมัน การใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งถ่านหินเสียอีก

แต่ปัญหามันมีอยู่ข้อเดียว คือ พลังงานทดแทน เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เวลาไม่มีแดด โซลาร์เซลล์ ก็ไม่ผลิตกระแสไฟฟ้า เวลาไม่มีลม กังหันลม ก็ไม่ผลิตกระแสไฟฟ้าเช่นกัน

แต่มนุษย์เรา ต้องการไฟฟ้าในเวลาที่เราต้องการ เมื่อกลับถึงบ้าน รู้สึกร้อน ใคร ๆ ก็อยากเปิดแอร์ เวลากลางคืน ทุกคนก็อยากมีไฟฟ้าใช้ แบตเตอรี่ก็จะทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าเวลาที่เราไม่ได้ใช้ และจะจ่ายกระแสไฟฟ้าออกมาเวลาที่เราต้องการ ถ้าเราสามารถทำขั้นตอนนี้ได้ถูกลง นั่นคือ เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งถ่านหิน

แน่นอนว่า บางคนบอกอาจจะบอกว่า แบตเตอรี่ ราคายังแพงอยู่ ไว้เดี๋ยวเวลาพลังงานชนิดนี้ถูก ค่อยไปผลิตเอามาใช้ก็ได้ รอก่อน แต่ผมมองว่าความคิดแบบนี้ทำให้เราเป็นผู้ตามเรื่อยไป และประเทศไทย ถ้ายังคิดแบบนี้ เราก็ยังต้องเป็นผู้ซื้อตลอดไป

ยิ่งไปกว่านั้น หากเราต้องการจะหลุดพ้นจาก Middle Income Trap เราไม่มีทางเลือกหรอกครับที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเราเองขึ้นมาให้ได้ เราต้องมีแรงของตัวเอง เพื่อเพิ่ม Value added หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ เพื่อให้ประชาชน พี่น้องชาวไทย มีรายได้ที่ดีขึ้น ทำให้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศหายไปได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top