เช็คก่อน...ชัวร์กว่า!! อย่าเพิ่งรีบหิ้ว iPhone 12 ออกนอกร้าน หากยังเช็คไม่ครบสูตร
เช็คก่อน...ชัวร์กว่า!! อย่าเพิ่งรีบหิ้ว iPhone 12 ออกนอกร้าน หากยังเช็คไม่ครบสูตร
เช็คก่อน...ชัวร์กว่า!! อย่าเพิ่งรีบหิ้ว iPhone 12 ออกนอกร้าน หากยังเช็คไม่ครบสูตร
กลายเป็นอีกคนที่น่าจับตามามองในช่วงนี้!! สำหรับ 'อริยะ พนมยงค์' อดีต Head ของ Google ประเทศไทย, อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท LINE ประเทศไทย
.
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท Transformational พ่วงบทบาทใหม่ในการเข้ามาเป็นผู้นำทัพ Digital Transformation ให้กับสยามพิวรรธน์ โดยจะเข้ามาปรับคอนเซ็ปต์ Digital Experience ให้แตกต่างและไม่เหมือนใคร ผ่านช่องทาง ‘ออมนิชาแนล’
หลังจากคุณ กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า ได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์รวมธุรกิจการค้าออนไลน์ในไทย ภายใต้นโยบาย ‘คนละครึ่ง’ และรวมถึงยอดขาย ‘11.11’ ที่ผ่านมา
ผลปรากฏที่เด่นชัดมาก ๆ คือ คนไทยค่อนข้างพร้อมกับการใช้จ่ายแบบสังคมไร้เงินสดพอสมควร
สังเกตุจากโครงการคนละครึ่งที่พอมีการเปิดให้ลงทะเบียนรอบ 2 ก็ลงกันสิทธิ์อย่างรวดเร็ว มียอดการใช้จ่ายผ่านแอพลิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ ไปแล้วถึง 13,764 ล้านบาท กระจายสู่ร้านหาบเร่แผงลอยได้กว่า 650,000 ร้าน
ที่น่าสนใจในุมมของคุณกรณ์ คือ ตอนนี้รัฐได้ทำให้คนกว่า 12 ล้านคนยอมรับและคุ้นเคยกับการใช้ Cashless (ไร้เงินสด) มากขึ้น และเช่นเดียวกันผู้ค้ากว่า 6.5 แสนรายก็เข้ามาอยู่ในระบบดิจิทัลไปเรียบร้อย (และลุงตู่ก็คงยิ้มแป้น)
แต่ก็มีคำถามตามมาว่า ทำไมประเทศไทย ไม่พัฒนาระบบ e-Commerce Platform ของตัวเองแบบเป็นจริงเป็นจังสักที
ทั้ง ๆ ที่ยอดการใช้จ่ายในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นทุกปี ตัวภาครัฐก็มีข้อมูล ‘Big Data’ มากมายมาตุนไว้ อุปสรรคคืออะไร? ทำไมเรายังไม่ไปถึงจุดนั้น?
ลองจินตนาการต่อไปว่าในอนาคต หากรัฐเปิดโอกาสให้คนไทยเสนอขายสินค้าโดยตรงกับผู้บริโภคตามฐานข้อมูลที่รัฐมี
รวมถึงรัฐคอยช่วยสนับสนุนด้วยโปรโมชั่นต่าง ๆ และบริการส่งของผ่านไปรษณีย์ไทย...นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของ e-Commerce Platform ของไทยที่เรารอคอยก็ได้
คำตอบหนึ่งที่ได้จากบทสรุปนี้คืออะไร
ปัญหาใหญ่ที่เด็กอมมือก็ยังรู้ คือ รัฐไทยยังทำงานกันแบบ ‘Silo’ หรือต่างคนต่างทำ อย่างกรณีโครงการ ‘คนละครึ่ง’ ตัวข้อมูลอยู่ที่กระทรวงการคลัง แต่ผู้ที่มีพันธกิจสร้าง e-Commerce Platform คือ กระทรวงดิจิทัล และกระทรวงพาณิชย์
ผลคือการทำงานแบบตัวใครตัวมัน และทำให้เกิดปัญหา ‘คอขวด’ เวลาต้องคิดโปรเจ็กต์ใหม่ ๆ ที่ล่าช้า
ว่าแต่ ‘Silo’ ที่คุณกรณ์พูดถึงนี้คืออะไร?
Silo มาจาก Siloed Organization หรือ Siloed Company มีความหมายตรงตัว คือ แผนกต่าง ๆ ในองค์กรเดียวกัน ไม่ยอมแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือองค์ความรู้ระหว่างกัน
โดยสัญญาณที่บ่งชี้ว่า Silo กำลังเข้ามาครอบงำการทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือรัฐบาลในตอนนี้ คือ...
1.) ภาครัฐไม่สามารถใช้เทคโนโลยีหรือช่องทางการสื่อสารเพื่อแบ่งแยกกำลังซื้อจริงของประชาชน กับกำลังซื้อแฝง ยกตัวอย่างเช่น ทีมการตลาดหรือทีมบริหารไม่คิดจะดูแลคนที่ซื้อของไปแล้ว ราวกับคนที่ยังไม่ได้ซื้อของ เพราะฝ่ายเซลล์กับฝ่ายการตลาดไม่คุยกัน สุดท้ายก็ทำลายประสบการณ์ของลูกค้า
2.) ความแปลกหน้าในองค์กร สัญญาณเตือนภัย คือ หากไม่รู้จักคนหรืองานจากนอกทีม ซึ่งไม่ได้หมายถึงให้ต้องรู้จักแบบละเอียด จะไม่มีวันเข้าใจปัญหาของแต่ละฝ่ายได้เลย ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นบริษัทเล็ก ๆ ก็ควรรู้จักชื่อของทุกคน แต่ถ้าเป็นองค์กรใหญ่อย่างน้อยก็ควรจะรู้ชื่อและช่องทางติดต่อระดับบริหารแต่ละแผนก เพื่อให้เกิดการทำงานแบบประสานมือได้ง่ายขึ้น
3.) ภาวะ ‘เรา’ กับ ‘เขา’ ระหว่างแผนก จะทำให้เกิดภาวะการแข่งขันเชิงเห็นแก่ตัว เพราะไม่มีการแชร์ข้อมูลและขาดความร่วมมือร่วมใจ เหตุกลัวว่าอีกทีมจะได้หน้า แต่สุดท้ายจะแพ้ฝ่าย
4.) พนักงานที่ถูกเพิกเฉย หรือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีม และถูกปฏิบัติไม่เหมือนคนอื่น อาจจะไม่มีความสุข รู้สึกไม่มีประโยชน์ และเสี่ยงต่อการแชร์หรือปั่นหัวสิ่งที่ไม่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ
5.) การทำงานซ้ำซ้อน เพราะไม่มีการสื่อสารกัน ไม่มีทางที่จะรู้ว่าสิ่งที่เราทำไป ได้ทำซ้ำกับคนอื่นหรือแผนกอื่นหรือไม่ ธุรกิจที่ขาดความร่วมมือจะมีคนและทีมงานที่ทำงานในโครงการที่คล้ายกัน ซึ่งนำไปสู่ความไร้ประสิทธิผลและสูญเสียประสิทธิภาพการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย
ฉะนั้นไม่ว่าจะรัฐหรือองค์กรไหนควรสร้าง Sharing is caring และ Knowledge is power ด้วยการร่างระบบการทำงานที่ทุกคน ‘ควรรู้ในสิ่งที่ควรรู้’ และต้อง ‘ไม่ต่างคนต่างรู้’ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งของการ Move on
การทำงานของรัฐในมุมของคุณกรณ์ จึงเหมือน Silo ที่หากปล่อยไปเรื่อย ๆ ไอ้สิ่งดี ๆ ที่จะคิดสร้างสรรค์หรือทำต่อในอนาคต (ซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มาก) จะยิ่งไกลฝั่งออกไปๆ เลยล่ะลุงตู่!!…
.
อ้างอิง: เฟซบุ๊ค กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij / ETDA Thailand
ประเทศไทยปิดดีล RCEP เรียบร้อย หลังการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ที่ยาวนานกว่า 8 ปี จบลงโดยมี 15 ชาติพันธมิตรเข้าร่วม หากนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 ก็เรียกว่าผ่านมาเนิ่นนานร่วม 8 ปี ของการเจรจา RCEP!!
RCEP คืออะไร?
RCEP มีชื่อย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เป้าหมายของการก่อตั้ง RECP ก็เหมือน ๆ กับการตั้ง EU ในยุโรปนั่นแหละ เพราะเป็นการรวมกลุ่มเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ การค้า และให้แก่ทุกประเทศที่เข้าร่วม
โดยอยู่ภายใต้ระบบการค้าเสรีที่ใช้กฎระเบียบเดียวกันของผู้มีส่วนใน RCEP (ภาคี) ที่มีทั้งหมด 15 ประเทศ แบ่งเป็รนชาติอาเซียน (รวมไทย) 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ การรวมตัว RCEP จะทำให้เกิดภาพอะไรขึ้น?
- ประชากรในประเทศสมาชิก RCEP จะครอบคลุมคนถึง 2.2 พันล้านคน หรือเกือบ 30% ของประชากรโลก
- คาดจะเกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 326 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นเกือบ 28% ของมูลค่าการค้าโลก
- และสร้างตัวเลข GDP รวมกันกว่า 26.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 817.7 ล้านล้านบาท) หรือ 30% ของ GDP โลก
.
จะเรียกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาครอบนี้ กลายเป็นเรื่องใหญ่ของโลกเลยก็ได้ เพราะ RCEP จะเหมือนกับ 1 ประเทศใหญ่ที่คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจได้ถึง 1 ใน 3 ของโลกกันเลยทีเดียว เมื่อทั่วโลกเห็นภาพแบบนี้ จะมีใครไม่อยากมาลงทุน พอมาลงทุน เม็ดเงินก็ไหลเวียนในระบบประเทศสมาชิก เกิดตลาดงานใหม่ โครงการใหม่ ๆ เกิดการสะพัดทางเม็ดเงินเศรษฐกิจแบบต่อเนื่อง สรุปประเทศรวย ประชาชนก็สบาย
ฉะนั้นทุกประเทศที่อยู่ในการเจรจา RCEP ต่างพยายามให้ข้อตกลงนี้ลุล่วง
แล้วก็เป็นข่าวดีมาก ๆ โดยเฉพาะกับไทย เพราะร่วมปิดดีลนี้ได้แล้ว!! โดยรัฐบาลไทยที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เข้าร่วมประชุม RCEP รอบนี้ และมี จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เป็นผู้ลงนาม RCEP กันทางออนไลน์ไปเป็นทีเรียบร้อย
จากนั้นคาดว่า เมื่อแต่ละประเทศให้สัตยาบัน ก็น่าจะเริ่มเปิดเสรี RCEP ทางการค้าและเงื่อนไขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ในช่วงครึ่งหลังปี พ.ศ.2564
ผลบวกที่ 15 ชาติ RCEP รอคอย?
- RCEP นั้นจะทำให้ประเทศสมาชิกสามารถซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างเสรี ‘ไร้กำแพงภาษี’ ใน 15 ประเทศ RCEP
- RCEP ในส่วนของอาเซียน อาจจะได้อานิสงค์จากประเทศจีน ที่ถือเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่ฟื้นตัวจากวิกฤต COVID-19 ได้สำเร็จ
- การลงนามในข้อตกลง RCEP จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนฟื้นตัวได้เร็วขึ้น โดยเชื่อมเศรษฐกิจอาเซียนเข้าสู่เศรษฐกิจโลกได้ง่ายยิ่งขึ้น
.
ทั้งนี้ RCEP ได้ถูกยกให้เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศสมาชิกประกอบไปด้วยอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ แต่อินเดียได้ถอนตัวออกไปก่อนหน้านี้ จึงเหลือแค่ 15 ประเทศ เพราะอินเดียกลัวปัญหาสินค้าราคาถูกจากจีนทะลักเข้าประเทศ
แม้จะขาดตลาดใหญ่อย่างอินเดีย แต่ก็เชื่อว่าประเทศสมาชิกใน RCEP ที่ว่ามาก็ยังสร้างระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้อยู่ดี
ความลุล่วงของ RCEP ในช่วงเวลานี้ จึงนับเป็นข่าวดีอย่างมากของเศรษฐกิจไทย!!
เพราะในจังหวะที่ทั่วโลกยังเจอปัญหาโควิด-19 แต่ไทยเราสามารถรับมือได้ จะเป็นแต้มต่อที่ผสมกับแรงหนุนใหม่ที่มี 15 ชาติ RCEP ผลักให้ฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้ไวกว่าเดิม...
ยังเฉียบเหมือนเดิม หลังจาก Alibaba รักษาฟอร์มยอดขายของวันเทศกาล 11.11.2020 ได้อย่างคงเส้นคงวา โดยปีนี้กวาดยอดขายตั้งแต่ช่วงนาฬิกาเริ่มหมุนไปถึง 1.71 ล้านล้านบาท มากกว่าปีก่อนที่ทำไว้ 1.16 ล้านล้านบาท