Monday, 7 July 2025
NEWS

‘Aun Theeraphat’ โพสต์!! เล่าความประทับใจ ช่วยน้องให้เรียนหนังสือ เห็นรอยยิ้มแล้วมีความสุข

(6 ก.ค. 68) ‘Aun Theeraphat’ โพสต์ข้อความ ระบุว่า ...

มาตรวจ OPD ที่โรงพยาบาลเอกชนแถวบ้าน กำลังข้ามถนนหลังกลับจาก 7-11
"หมออออออ หมอจำหนูได้หรือเปล่า" เสียงดังไปถึงอีกฝั่งของถนนเลย
เราก็หันไปดู "ใครฟระ" นึกตั้งนาน นึกไม่ออก

น้องบอก "ที่หมอเจอหนูที่ร้านขายทุเรียนไง"

อ๋อออออ เมื่อ 2 ปีก่อน ไปซื้อทุเรียนที่ร้านหน้าปากซอย เดินขายของ ผ่านมาพอดี อยากกินทุเรียน ตอนนั้นซื้อให้น้องกิน แล้วก็ให้ตังค์ไปซื้อกระเป๋านักเรียน

วันนี้ดีใจนะที่ได้เจอกันอีก น้องโตขึ้นเยอะจำแทบไม่ได้

"แล้วมานั่งทำอะไรตากแดดตรงนี้เนี่ย" (ตอนบ่ายโมงตรง แดดจ้าเลย) 
น้องบอก "หนูเอาหมูมาขาย หาเงินค่าเรียน ต้องเรียนเอง แม่เขาก็ต้องเลี้ยงน้อง"

ผมบอก "ไม่เป็นไร เดี๋ยวเหมาหมดเลย เอาทั้งตะกร้านี่แหละ รอแป๊บนะ เดี๋ยวไปกดเงินให้ จะได้รีบกลับบ้านไปอ่านหนังสือ"

ให้เงินไปนิดหน่อยบอก "ไม่ต้องทอนนะ"

น้องน่ารักมากเลย น้องร้องไห้เลย บอก "ไม่เอา ๆ มันเยอะไป เปลี่ยนเป็นเอาพอดีกับค่าหมูนี่ได้มั็ย

ผมบอก "ไม่เป็นไร เอาไปเถอะ ไว้เรียนหนังสือ"

น้องยกมือไหว้ขอบคุณ มีการจะขนทั้งตะกร้ามาส่งในโรงพยาบาลอีกตะหาก

ซื้อเสร็จเอาไปแจกเจ้าหน้าที่กินต่อ ได้บุญสองต่อ

หนึ่งวัน เราทำให้หนึ่งคนรู้สึกเซอร์ไพร์ส แล้วเห็นรอยยิ้มของคนหนึ่งคน แค่นี้ชีวิตก็มีความหมายและมีความสุขอย่างมากแล้วนะ

รัฐบาล เชิญร่วมงาน!! มหกรรม Soft Power ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ SPLASH – Soft Power Forum 2025 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 8-11 ก.ค.

(6 ก.ค. 68) นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลบูรณาการความร่วมมือยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ตลาดโลกอย่างเป็นรูปธรรม จัดงาน Soft Power  ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “SPLASH – Soft Power Forum 2025” ระหว่างวันที่ 8-11 กรกฎาคม 2568 เวลา 10.00-20.00 น. Hall 1-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาและอนุกรรมการทุกสาขา โดยประสานพลังภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเครือข่ายนานาชาติ ร่วมจัดงานขึ้น

ฃรัฐบาลเชิญชวนประชาชนมาร่วมสัมผัสปรากฏการณ์ซอฟต์พาวเวอร์ไทยแบบครบวงจร ภายใต้แนวคิด “โอกาสประเทศไทยในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์” ซึ่งเปรียบเสมือน “สายน้ำแห่งโอกาส” ที่กำลังหล่อเลี้ยงทุนวัฒนธรรมไทยให้เติบโตสู่เศรษฐกิจใหม่อย่างยั่งยืน ผ่านการผนึกกำลังของ 14 อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ต่อยอดสู่ตลาดโลกอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งอีกหนึ่งหัวใจของงานอยู่ที่ Visionary Stage ซึ่งรวบรวม "ผู้รู้จริง" แนวหน้าจากไทยและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและแบ่งปันประสบการณ์สร้าง “มูลค่าทางวัฒนธรรม” ให้ทรงพลัง รวมถึง "ผู้นำ" ที่ร่วมขึ้นเวทีแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นอย่างคับคั่ง อาทิ ในวันที่ 8 ก.ค. 14.00-15.30 น. น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.วัฒนธรรม จะกล่าวเปิดงานในหัวข้อ “Thailand Rising: Tourism, Education and the New Soft Power Frontier” วันที่ 9 ก.ค. 13.00-14.00 น. ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถ่ายทอดวิสัยทัศน์ในหัวข้อ “Crafting the Future: From OTOP to ThaiWORKS and Beyond” วันที่ 10 ก.ค. 12.45-13.45 น. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ร่วมเสวนากับ “บัวขาว” บัญชาเมฆ และ “เทนนิส” พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ ในหัวข้อ “Rethinking Thai Sports in a Disruptive Era”

ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์ไทยอย่างรอบด้าน งานยังแบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 โซนหลัก ได้แก่ 1. Creative Culture Village - โชว์เคส 14 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ตั้งแต่อาหาร ภาพยนตร์ ดนตรี แฟชั่น จนถึงการท่องเที่ยว ในรูปแบบอินเทอร์แอ็กทีฟที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ 2. THACCA Pavilion - ศูนย์รวมองค์ความรู้ ยุทธศาสตร์ และเครื่องมือการสร้างแบรนด์ไทยด้วยซอฟต์พาวเวอร์ พร้อมคำแนะนำเชิงลึกสำหรับผู้ประกอบการ 3. Glo-Cal Networking - พื้นที่จับคู่ธุรกิจ เชื่อมโยงนักลงทุนกับผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติ สร้างเครือข่ายระดับโลก 4. Workshop & Masterclass - หลักสูตรอบรมภายใต้โครงการ “One Family One Soft Power (OFOS)” เปิดโอกาสให้เยาวชน นักศึกษา และผู้ประกอบการเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง 5. Experiential Zone - นิทรรศการเทคโนโลยี “Multisensory Mindfulness Experiences” กระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ถ่ายทอดประสบการณ์ซอฟต์พาวเวอร์ไทยแนวใหม่ และ 6. Visionary Stage - เวทีเสวนาระดับโลกที่รวมนักคิดและนักสร้างสรรค์ตัวจริง ก่อเกิดแรงบันดาลใจสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

“สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ฟรี เพียงลงทะเบียนล่วงหน้าที่ splash.thacca.go.th ซึ่งภายในงานจะได้รับความรู้ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยถึง 3 ท่าน พร้อมกับร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย ที่สามารถนำไปต่อยอดสร้างมูลค่า สร้างอาชีพ สร้างรายได้ จากซอฟต์พาวเวอร์ไทยแบบครบวงจร” นายจิรายุ กล่าวทิ้งท้าย

เผย!! หลุมฝังศพ ‘พระยามโนปกรณ์ นิติธาดา’ นายกฯ คนแรกของไทย หลังมีเรื่องขัดแย้ง ‘คณะราษฎร์’ ลี้ภัย!! ไปสิ้นลมหายใจ ในเกาะปีนัง

(6 ก.ค. 68) หลุมฝังศพที่สงบเงียบ เรียบง่ายของอดีตผู้ยิ่งใหญ่ พระยามโนปกรณ์ นิติธาดา อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย หลังลี้ภัยอยู่ปีนัง อันเกิดจากแนวคิดแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกับคณะราษฎร์

พระยามโนปกรณ์ไม่เห็นด้วย แต่ไม่โต้แย้ง เพียงแค่สงบนิ่ง แต่เป็นการสงบนิ่งในฐานะนายกรัฐมนตรี แต่อำนาจที่ร้ายแรงกว่า พระยามโนปกรณ์ก็ต้องหลบลี้หนีภัยไปอยู่ปีนังจนวาระสุดท้ายของชีวิต

หลุมฝังศพในกลางดงต้นไม้ในเกาะปีนัง ไม่มีคำประกาศสรรเสริญ วันฝังศพ ไม่มีบริวารแวดล้อม

นี่คือชีวิตในบั้นปลาย และสุดท้ายของ ‘อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของไทย’ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

‘กระทรวงวัฒนธรรมเขมร’ แถลงโต้!! ‘แพทองธาร’ ยัน!! กลุ่มปราสาทตาเมือน อยู่ในเขตอธิปไตยกัมพูชา

(5 ก.ค. 68) เว็บไซต์ข่าว Khmer Times อ้างคำแถลงจากกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปกรรมแห่งกัมพูชาวานนี้ (4 ก.ค.) ซึ่งระบุว่า กระทรวงฯ ขอปฏิเสธอย่างหนักแน่นต่อคำกล่าวอ้างของ น.ส. แพทองธาร ชินวัตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมของไทย เมื่อวันที่ 4 ก.ค. ที่ระบุว่ากลุ่มปราสาทตาเมือน อยู่ภายใต้อธิปไตยของประเทศไทย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505

กระทรวงวัฒนธรรมและศิลปกรรมแห่งกัมพูชาได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์เมื่อคืนวันศุกร์ (4) ว่า การที่ไทยอ้างกรรมสิทธิ์เหนือกลุ่มปราสาทตาเมือนเพียงฝ่ายเดียว โดยอาศัยแผนที่ที่ร่างขึ้นฝ่ายเดียวนั้น 'ไม่มีน้ำหนักทางกฎหมาย' หรือความชอบธรรมใดๆ และยังขัดแย้งกับเนื้อหาในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ปี 2543 ระหว่างทั้งสองฝ่าย ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเคารพและใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ปี ค.ศ. 1904 และสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ปี ค.ศ. 1907 ซึ่งยังคงมีผลบังคับใช้อยู่

กระทรวงฯ ยังยืนยันด้วยว่า จากสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยามในปี ค.ศ. 1904 และ 1907 รวมถึงแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในเขตอธิปไตยของราชอาณาจักรกัมพูชาโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้ กลุ่มปราสาทตาเมือนยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอุดรมีชัย และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกแห่งชาติกัมพูชาแล้ว

กระทรวงวัฒนธรรมและศิลปกรรมกัมพูชาเรียกร้องให้กระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทยเคารพหลักการสากล เพื่อรักษาศักดิ์ศรีและความเป็นมืออาชีพที่ถูกคาดหวังจากสถาบันทางวัฒนธรรมในทุก ๆ ประเทศ

“ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เราขอแจ้งให้ผู้ชมทั้งในประเทศและต่างประเทศทราบด้วยความเคารพ”

ท่าทีของฝ่ายกัมพูชามีขึ้นหลังจากที่ น.ส. แพทองธาร ชินวัตรนายกรัฐมนตรี และ รมว.วัฒนธรรม ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรมเมื่อวันศุกร์ (4) และมีการอ้างถึงมติ ครม.สมัยนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ที่เห็นชอบให้ส่งมอบโบราณวัตถุ 20 รายการแก่กัมพูชาตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ หลังจากกรมศิลปากรและคณะผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าวัตถุโบราณมีต้นกำเนิดในกัมพูชา และปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการจัดสรรงบประมาณของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในการจัดส่งคืน ซึ่งได้รับรายงานว่า งบประมาณในปีปัจจุบันไม่เพียงพอในการขนส่ง และไม่เป็นเรื่องเร่งด่วนในการของบกลาง จึงอาจจะทบทวนเรื่องนี้ ต้องส่งเรื่องเพื่อขอตั้งงบประมาณของกระทรวงและรายงานต่อครม.เพื่อทราบ ในการหาหน่วยงาน หรือที่มาของงบประมาณที่จะจัดสรรงบประมาณต่อไปในการส่งคืน

“ที่สำคัญเนื่องด้วยสถานการณ์ไทยกัมพูชา ทางกระทรวงวัฒนธรรม จึงมีความเห็นในการทบทวนเรื่องดังกล่าวตามความเหมาะสมต่อไป บทสรุปคือ ทบทวนก่อนแล้วค่อยว่ากันเรื่องตั้งงบ ที่เหลืออยู่ยังไม่ส่งคืนก่อน"

น.ส.แพทองธาร ยังกล่าวด้วยว่า ประเด็นเรื่องโบราณสถานในกลุ่มปราสาทตาเมือน กระทรวงวัฒนธรรมขอยืนยันว่ากลุ่มปราสาทตาเมือนเป็นโบราณสถานที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย และมีการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน พ.ศ. 2505 แล้ว ในส่วนพื้นที่พิพาทอื่นได้รับรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศว่า จะเร่งดำเนินการในการรักษาไว้ซึ่งดินแดนและอำนาจอธิปไตยของไทยเช่นกัน

POLITICS

‘สุริยะใส’ กระตุก!! มาตรฐานการเมือง ‘พรรคประชาชน’ กินข้าวข้ามพรรค ต้องซื่อตรงต่อทุกฝ่าย ไม่ย้อนแย้งกันเอง

(6 ก.ค. 68) ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า …

‘มาตรฐานทางการเมืองต้องซื่อตรงต่อทุกฝ่าย มิใช่เข้มงวดกับผู้อื่นแต่ผ่อนปรนต่อตนเอง’

กรณีการพบปะระหว่างสมาชิกพรรคประชาชนกับหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย แม้ในทางการเมือง การพูดคุยหรือพบปะระหว่างนักการเมืองต่างพรรคจะมิใช่เรื่องผิดปกติ หากถือเป็นวิถีในระบอบประชาธิปไตยที่การสื่อสารและการเจรจาคือกลไกสำคัญในการแสวงหาฉันทามติ แต่สิ่งที่ทำให้กรณีนี้กลับกลายเป็นประเด็นร้อนและก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนในสังคม ไม่ได้อยู่ที่การกระทำ หากแต่อยู่ที่บริบทของผู้กระทำและมาตรฐานที่พรรคการเมืองนั้นเคยประกาศยึดถือ

พรรคประชาชนเป็นพรรคที่ก่อตั้งขึ้นจากเจตจำนงที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับการเมืองไทย เป็นพรรคที่ยืนหยัดวิพากษ์การเมืองแบบเก่า ต่อต้านการเมืองใต้โต๊ะ ต่อต้านการต่อรองลับหลัง และประกาศความโปร่งใสเป็นหลักการสูงสุด แต่เมื่อสมาชิกของพรรคแสดงพฤติกรรมในลักษณะที่เคยถูกใช้เป็นข้อกล่าวหาโจมตีผู้อื่น

พรรคกลับไม่มีคำอธิบายที่เพียงพอหรือการแสดงความรับผิดชอบที่ชัดเจนต่อสาธารณะ สิ่งนี้จึงไม่ใช่เพียงการถูกตั้งคำถามจากสังคม แต่คือการที่พรรคกำลังทำลายทุนทางศีลธรรมที่ตนเองได้สร้างสะสมมาตลอด

มาตรฐานทางการเมืองมิใช่สิ่งที่เลือกใช้เฉพาะเวลาที่พูดถึงผู้อื่น และมิใช่สิ่งที่จะอ่อนลงเมื่อต้องหันกลับมาตรวจสอบตัวเอง พรรคการเมืองที่อ้างความใหม่และยืนยันความแตกต่างจากการเมืองเดิม ต้องมีความกล้าหาญที่จะซื่อตรงต่อมาตรฐานเดียวกัน ทั้งต่อบุคคลภายนอกและภายใน การนิ่งเงียบ การเบี่ยงเบน หรือการลดทอนความสำคัญของข้อครหาในครั้งนี้ ไม่เพียงทำลายความน่าเชื่อถือของพรรค แต่ยังตอกย้ำภาพการเมืองที่ไม่สามารถรักษาหลักการของตนเองได้เมื่อถึงเวลาสำคัญ

สุดท้ายแล้ว การเมืองจะไม่ถูกวิจารณ์เพียงเพราะสมาชิกพรรคไปกินข้าวหรือพูดคุยกับนักการเมืองต่างพรรค แต่จะถูกวิจารณ์เมื่อสิ่งที่เคยกล่าวหาผู้อื่น กลับถูกทำซ้ำโดยคนของตัวเองโดยไม่มีความซื่อตรงในการชี้แจง (ตอนที่คุณธนาธร ไปพบคุณทักษิณ ที่ฮ่องกง ก็อ้างว่าเจอโดยบังเอิญและอคุยกันเรื่องทั่วไป)

ความเข้มแข็งของมาตรฐานทางการเมืองมิใช่อยู่ที่ความเข้มงวดกับผู้อื่น แต่อยู่ที่ความสม่ำเสมอและความจริงใจกับตนเอง เพราะประชาธิปไตยที่ประชาชนคาดหวัง คือการเมืองที่คำพูดและการกระทำไม่ย้อนแย้งกันเอง…

'เทพชัย' ซัด!! ‘แพทองธาร-ทักษิณ-เศรษฐา’ ขึ้นเวทีฟอกขาว!! มหกรรมซอฟต์พาวเวอร์

(6 ก.ค. 68) นายเทพชัย หย่อง สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊ก ‘Thepchai Yong’ กล่าวถึง 3 นายกฯ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร , นายทักษิณ ชินวัตร และนายเศรษฐา ทวีสิน ที่จะขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ในงาน SPLASH มหกรรม Soft Power ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เพื่อผลักดันประเทศไทยให้เติบโตเข้าสู่เส้นทางเศรษฐกิจและรายได้ใหม่ที่ยังยืน

ระบุว่า “ไม่ต้องเกรงใจใครทั้งสิ้น รัฐบาลชูทักษิณ เศรษฐา อุ๊งอิ๊ง ในเวทีที่เรียกซะสวยหรูว่า SPLASH – Soft Power Forum 2025 ที่จะจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์สัปดาห์หน้า แต่ดูแล้วมันน่าจะเป็นเวที whitewash หรือ “ฟอกขาว” (ด้วยเงินภาษีประชน) ให้กับทั้งสามคนมากกว่า”

ทั้งนี้ งาน ‘SPLASH – Soft Power Forum 2025’ เป็นมหกรรม Soft Power ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ คณะกรรมการพัฒนาและอนุกรรมการทุกสาขา โดยประสานพลังภาครัฐ เอกชน ชุมชน และเครือข่ายนานาชาติ เพื่อยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ตลาดโลกอย่างเป็นรูปธรรม

‘นิด้าโพล’ เผย!! ผลสำรวจความคิดเห็นคนไทย มอง!! ‘ฮุนเซน’ เป็นบุคคลไม่น่าไว้วางใจ

(6 ก.ค. 68)  ศูนย์สำรวจความคิดเห็น ‘นิด้าโพล’ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง ‘ฮุน เซน’ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความรู้สึกของประชาชนต่อความเคลื่อนไหวของสมเด็จ ฮุน เซน ในกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.05 ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามความรู้สึกของประชาชนต่อความเคลื่อนไหวของสมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา ในกรณีปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 67.63 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง รองลงมา ร้อยละ 57.25 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน เป็นบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจ ร้อยละ 44.66 ระบุว่า คำพูดของสมเด็จ ฮุน เซน ไม่มีความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 40.53 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน กำลังยุให้คนไทยแตกแยกกัน ร้อยละ 25.34 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน ต้องการยึดครองดินแดนของไทย ร้อยละ 18.85 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน กำลังแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย ร้อยละ 14.12 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน กำลังเปิดเผยความลับเกี่ยวกับการเมืองไทย ร้อยละ 9.31 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศกัมพูชา ร้อยละ 3.36 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน ทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนชาวกัมพูชา ร้อยละ 1.30 ระบุว่า คำพูดของสมเด็จ ฮุน เซน มีความน่าเชื่อถือ และร้อยละ 0.53 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน ทำเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนต่อคำทำนายของสมเด็จ ฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา
ที่บอกว่าประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีภายในสามเดือนและรู้ด้วยว่าใครจะเป็นนายกฯ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 43.05 ระบุว่า ไม่น่าเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 34.12 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน ทำนายมั่ว ๆ ร้อยละ 33.97 ระบุว่า เป็นความพยายามยุให้คนไทยตีกัน ร้อยละ 30.31 ระบุว่า การเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีเป็นไปได้ แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ว่าใครจะได้เป็นนายกฯ ร้อยละ 25.34 ระบุว่า เป็นการวิเคราะห์ตามสถานการณ์ทางการเมืองไทย ร้อยละ 19.01 ระบุว่า เป็นการแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย ร้อยละ 14.66 ระบุว่า สมเด็จ ฮุน เซน พูดตามข่าวกรองที่ได้มา ร้อยละ 10.69 ระบุว่า เป็นการเตือนนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร และร้อยละ 7.25 ระบุว่า  น่าเชื่อ

ECONBIZ

‘ธนาคารออมสิน’ เห็นความสำคัญของฟันเฟือง เศรษฐกิจฐานราก เพิ่มโอกาสเข้าถึง!! แหล่งเงินทุน ‘คนตัวเล็ก’ สินเชื่อเพื่อคนสู้ชีวิต

(6 ก.ค. 68) ในสังคมไทยปัจจุบัน ผู้ประกอบอาชีพอิสระและผู้ประกอบการรายย่อย หรือที่เรามักเรียกว่า "คนตัวเล็ก" ยังคงเผชิญกับความท้าทายสำคัญในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดด้านหลักประกัน รายได้ที่ไม่สม่ำเสมอ หรือเอกสารทางการเงินที่ไม่เป็นระบบ สิ่งเหล่านี้บีบให้หลายคนต้องหันไปพึ่งพิงหนี้นอกระบบ ซึ่งมักตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงลิ่ว และวังวนของหนี้สินที่ยากจะหลุดพ้น

การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ยุติธรรมถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำ แต่ที่ผ่านมา โครงสร้างสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มักถูกออกแบบมาสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีหลักประกันหรือรายได้ประจำที่ชัดเจน ทำให้ "คนตัวเล็ก" ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากถูกมองข้าม

ปัญหานี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่สถาบันการเงินจะต้องปรับตัวเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่ม และส่งเสริมให้พวกเขาสามารถยืนหยัดได้อย่างมั่นคง

ธนาคารออมสินได้ริเริ่ม "สินเชื่อเพื่อคนตัวเล็ก" โดยมีเป้าหมายที่จะลดช่องว่างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระและผู้ค้ารายย่อย อาทิ ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง, แท็กซี่, พ่อค้าแม่ค้า หรือแม้กระทั่งผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน์ ด้วยเงื่อนไขที่ผ่อนคลายกว่าสินเชื่อทั่วไป เช่น วงเงินกู้สูงสุด 100,000 บาท, ระยะเวลาผ่อนชำระนาน สูงสุด 8 ปี (96 งวด), อัตราดอกเบี้ย 1.00% ต่อเดือน (Flat Rate) และที่สำคัญคือ ไม่ต้องใช้หลักประกัน ธนาคารออมสินในฐานะ "ธนาคารเพื่อสังคม" จึงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการเข้าถึงแหล่งทุนที่เท่าเทียม เพื่อให้ทุกคนในสังคมมีโอกาสในการเติบโต

แนวทางนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ธนาคารในประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับกลุ่ม "คนตัวเล็ก" มากขึ้น หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ จะช่วยให้ผู้ที่เคยติดกับดักหนี้นอกระบบมีทางออก และสามารถนำเงินทุนไปต่อยอดอาชีพ สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตได้จริง รวมถึงกระตุ้นการบริโภคในระบบเศรษฐกิจ การให้สินเชื่อแก่ "คนตัวเล็ก" ไม่ใช่แค่เรื่องของการช่วยเหลือบุคคล แต่เป็นการขับเคลื่อนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศอย่างเเท้จริง

'พงศ์กวิน' รมว.แรงงานใหม่ มอบ 5 นโยบาย ลั่น จะพยายามเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้ถึง 650 บาท

'พงศ์กวิน' รมว.แรงงานป้ายแดง เข้าทำงานวันแรก มอบ 5 นโยบาย ส่วนเรื่องเพิ่มค่าแรง ลั่นจะพยายามให้ถึง 650 บาท พร้อมเดินหน้าเพิ่มทักษะยกระดับสู่แรงงานมีฝีมือ

(4 ก.ค. 68) เมื่อเวลา 08.19 น. ที่กระทรวงแรงงาน นายพงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.แรงงานคนใหม่ เดินทางเข้ามาทำงานที่กระทรวงเป็นวันแรก เดินทางเข้าห้องทำงานบริเวณชั้น 6 โดยมีพระภิกษุสงฆ์ 2 รูปทำพิธีเพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนทำพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงแรงงาน ในเวลา 09.19 น. ประกอบด้วย พระพุทธสุทธิธรรมบพิตร พระพุทธชินราช ศาลพ่อปู่ชัยมงคล ศาลท้าวมหาพรหมเทวฤทธิ์ ศาลพ่อปู่ชินพรหมมา และสักการะพระพุทธรูปประจำห้องปฏิบัติราชการ

ต่อมาเวลา 10.30 น. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางมายังกระทรวงแรงงานเพื่อมอบกระเช้าดอกไม้ให้กำลังใจนายพงศ์กวิน พร้อมให้สัมภาษณ์สั้น ๆ ว่า มาให้กำลังใจ รมว.แรงงาน เนื่องจากตนเป็นรองนายกที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงานด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ได้มีการพูดคุยกันถึงแนวทางการขับเคลื่อนกระทรวงแรงงาน ซึ่งจะช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจรวมถึงการช่วยเหลือพี่น้องแรงงาน ให้มีสภาพการทำงานที่ดี มีค่าแรงที่ดี กระตุ้นเศรษฐกิจได้

ถามถึงนโยบายที่พรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้ ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ภายในปี 2570  นายสุริยะ กล่าวว่า ต้องมีการดูรายละเอียดและพิจารณาอีกครั้ง ร่วมกับผู้บริหารกระทรวงและภาคส่วนต่าง ๆ จากที่ได้มีการหาเสียงเพิ่มค่าแรง จะสามารถเพิ่มได้อย่างไร แค่ไหน เพิ่มแล้วต้องไม่กระทบกับผู้ประกอบการมากเกินไป ถ้าสามารถเพิ่มได้ก็จะทำให้แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะมีเงินมาจับจ่ายใช้สอยแล้วจะทำให้ผู้ประกอบการขายของได้ ธุรกิจก็เติบโต ต้องดูในภาพรวม ต้องดูข้อมูลให้ครบถ้วน

ฝึกอบรมทักษะAI ลดหย่อนภาษี
จากนั้นเวลา 11.00 น. นายพงศ์กวิน ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงานภายใต้แนวคิด กระทรวงแรงงาน เพื่อโอกาส แรงงานไทยว่า  ฝากนโยบาย 5 ข้อ

คือ 1. พัฒนาศักยภาพ AI เพื่อยกระดับแรงงานไทย ต้องเร่งพัฒนาหลักสูตรใช้งาน AI ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตและการบริการในปัจจุบันไปจนถึงอนาคตและต้องดำเนินการเชิงรุกให้แรงงานเข้าสู่กระบวนการพัฒนาฝีมือด้าน AI

ซึ่งหลักสูตรการอบรมที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานดำเนินการเองยังไม่เพียงพอต่อการยกระดับฝีมือแรงงานด้าน AI รวมถึงด้านอื่น ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการ แต่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานมีเครื่องมือสำคัญคือพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานพ.ศ. 2545 ที่ส่งเสริมให้ภาคเอกชนพัฒนาฝีมือแรงงานของตัวเอง โดยให้นำค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีได้ หากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานปรับปรุงแนวทางการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว เพื่อผลักดันให้เอกชนพัฒนาทักษะที่มือด้าน AI เพิ่มมากขึ้นน่าจะเป็นช่องทางทำให้ยกระดับแรงงานฝีมือด้าน AI ให้เกิดผลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นครับ

2. การคุ้มครองแรงงานอย่างเท่าเทียม ครอบคลุมแรงงานนอกระบบจำนวนกว่า 21 ล้านคน จึงขอให้มีการเร่งผลักดันกฎหมายแรงงานยุคใหม่ให้ครอบคลุมแรงงานนอกและขอให้มีการศึกษาวิจัยรูปแบบการทำงานในปัจจุบัน แนวโน้มความต้องการประกอบอาชีพและลักษณะงานที่คนรุ่นใหม่และเยาวชนที่เข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงหรือบัญญัติกฎหมายแรงงานเพิ่มเติมให้มีความทันสมัยรับรองแรงงานที่มีรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างเหมาะสม

ยกระดับ 1.8 ล้านคน รับค่าแรงเกิน 400 บาท 
3. “Learn to Earn” สนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนอายุ 15 – 18 ปี ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ทำงานได้ สามารถทำงานที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและสภาพจิตใจ และต้องไม่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อเยาวชน เรื่องนี้ไม่ได้หมายถึงเด็กเยาวชนที่มีฐานะยากจน จึงควรช่วยกันปรับเจตคติของสังคมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ทำไมเราต้องส่งเสริมการทำงานของคนรุ่นใหม่  

4. สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ด้วยการยกระดับรายได้ให้แก่แรงงานไทย  ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมประมาณ 24 ล้านคน แม้ในช่วงนี้ได้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำแล้วถึง 2 รอบ ทำให้แรงงานในพื้นที่และบางสาขาอาชีพได้รับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 400 บาทแต่ยังมีผู้ประกันตนอีก 2.3 ล้านคน ซึ่งเป็นแรงงานไทย 1.8 ล้านคนที่ได้รับค่าจ้างยังไม่ถึงวันละ 400 บาท สะท้อนให้เห็นว่าแรงงาน 90% มีรายได้เกินรายได้เกิน 400 บาทต่อวันแล้ว

สำหรับกลุ่มที่เหลือจำเป็นจะต้องเร่งยกระดับรายได้ของแรงงานกลุ่มนี้โดยด่วน ไม่ว่าจะเป็นการอัปสกิล รีสกิล เพื่อให้แรงงานกลุ่มนี้มีทักษะฝีมือแรงงาน ที่จะเข้าสู่ระบบค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน ทำให้ได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้นเกินกว่าวันละ 400 บาท

และ 5. การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยอย่างเร่งด่วน ไม่ให้เกิดปัญหาแย่งอาชีพคนไทย ปัญหาอาชญากรรม  

พยายามเพิ่มค่าแรงให้ถึง 650 บาท
ก่อนเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนซักถามถึงเรื่องนโยบายเรือธงของรัฐบาล เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ นายพงศ์กวิน กล่าวว่า  กระทรวงแรงงานได้มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน ด้วยการอัปสกิล รีสกิล โดยส่วนใหญ่ก็จะมีรายได้ที่สูงกว่า 400 บาทต่อวัน ซึ่งเหลือกลุ่มเป้าหมายตอนนี้ประมาณ 2.3 แสนคนที่จำเป็นที่จะต้องอัปสกิล รีสกิล เพื่อให้มีรายได้ที่สูงกว่า 400 บาทขึ้นไป ซึ่งเท่าที่ทราบข้อมูลมามีผู้ประกันตนราว 24 ล้านคน ในจำนวนนี้มีอยู่ 2.3 ล้านที่ได้รับต่ำกว่า 400 บาท  ขณะที่ค่าแรงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 618 บาทต่อวันต่อคน ถือว่าค่อนข้างสูง

“สิ่งที่จะทำคือยกระดับค่าแรงขึ้นไปอีก จะพยายามทำให้ได้ถึงประมาณ 650 บาทต่อวัน แต่ไม่ใช่การยกระดับด้วยอัตราการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะต้องพัฒนาฝีมือของแรงงาน ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมที่เขาจะได้รับนะครับ ถ้าเกิดสมมติว่าเขามีทักษะที่มากขึ้น รับประกันได้ว่าไม่มีนายจ้างคนไหนที่จะปฏิเสธเรื่องการให้ค่าแรงที่สูงขึ้น” นายพงศ์กวินกล่าว 

เมื่อถามกรณีแรงงานกัมพูชา  นายพงศ์กวิน กล่าวว่า ภาพที่เห็นรายงานเดินทางออกนอกประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องปกติ ส่วนใหญ่เป็น One Day Passport หรือไปเช้าเย็นกลับ ทำให้ดูเหมือนมีคนออกนอกประเทศไทย  แต่ตัวเลขแรงงานต่างด้าวที่กลับออกไปจริงมีประมาณ 20,000 คน จากจำนวนแรงงานกัมพูชาในประเทศไทยกว่า 500,000 คน เพราะฉะนั้นส่วนที่กลับไปถือว่าไม่มาก ก็ต้องมีการหาแรงงานสัญชาติอื่นเข้ามาทดแทน

การันตีตัวเองมีความสามารถเพียงพอ
เมื่อถามว่ารู้สึกกดดันหรือไม่ในฐานะรัฐมนตรีหน้าใหม่ อีกทั้งยังมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และนายธนาธรจึงรุ่งเรืองกิจ นายพงศ์กวิน กล่าวว่า ตนเคยบริหารงานในบริษัทของคุณพ่อ และบริหารบริษัทในตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว รวมถึง เป็นสส. ในสมัยปี 2562 อยู่ 4 ปี ได้เห็นและเรียนรู้งานทางด้านนิติบัญญัติ หลังจากนั้นก็ได้มาเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อยู่ 2 ปี  

“ผมมีความรู้ ทั้งทางด้านนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาว่าจะทำงานได้ไหม ผมสามารถการันตีตัวเองได้ว่า ผมมีความสามารถมากพอ" นายพงศ์กวินกล่าว

เมื่อถามถึงการสานต่อหรือรื้องานของรมว.แรงงานคนเก่าที่มาจากพรรคภูมิใจไทย(ภท.) หรือไม่อย่างไร นายพงศ์กวิน กล่าวว่า แต่ละพรรคการเมืองต่างก็มีนโยบายของตนเอง แต่นโยบายไหนที่ทำไว้ดีก็สานต่อแน่นอน ส่วนที่คิดว่าสามารถทำให้ดีขึ้น ก็พร้อมที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้น

‘กรณ์’ ชี้ ดีลสหรัฐฯ – เวียดนาม ไม่เป็นผลดีกับไทย ส่อเสียเปรียบด้านการแข่งขันแม้เก็บภาษีเท่ากันหรือใกล้เคียง

‘กรณ์ จาติกวณิช’ ไทยส่อเสียเปรียบด้านการแข่งขัน หากสหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้าไทย 20% เท่ากันหรือใกล้เคียงเวียดนาม 

(3 ก.ค. 68) นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก 'กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij' ระบุว่า ทรัมป์ตกลงดีลกับเวียดนาม มีผลอย่างไรกับไทย? 

เมื่อคืนมีการประกาศข้อตกลงระหว่างอเมริกาและเวียดนาม กำหนดภาษีนำเข้าสินค้าเวียดนาม 20% ภาษีนำเข้าสินค้าประเทศอื่นที่ผ่านเวียดนาม 40%

ส่วนภาษีนำเข้าสินค้าจากอเมริกา 0% และเปิดตลาดทุกประเภทสินค้า (ตามข่าว)
ถ้าของเราเป็นแบบนี้ จะมีสามคำถามสำคัญ

1. หากอัตราภาษีสูงแต่สูงเท่ากัน ในแง่การแข่งขันกับประเทศอื่น ถือว่าไม่ได้เปรียบ/เสียเปรียบหรือไม่?
2. ราคาสินค้าที่อเมริกาจะสูงขึ้น ทำให้ความต้องการสินค้าจากเราน้อยลงหรือไม่?
3. โดยสรุปจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยแค่ไหนอย่างไร?

ในความเห็นผม 

1. อัตราภาษีที่เท่ากัน ทำให้มีผลต่อการแข่งขันระหว่างประเทศต่างๆที่แข่งกันส่งสินค้าเข้าอเมริกาน้อยลง แต่ไม่ 100% ประเทศที่ราคาสินค้าแพงกว่าเป็นทุนเดิม หรือส่วนกำไรของผู้ผลิตน้อยกว่า จะเสียเปรียบมากกว่า ยกตัวอย่าง หาก margin บริษัทเวียดนาม 10% แต่ของไทย 5% เขาสามารถลดราคา 5% แล้วยังมีกำไร ในขณะที่เราทำไม่ได้ นอกจากนั้น แนวโน้มความเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลด้วย ยกตัวอย่าง ช่วง 3 ปีกว่าที่ผ่านมา เงินบาทเราเทียบกับสกุลเงินเวียดนามนั้นแข็งค่าขึ้น 20%+ เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์

2. สองเดือนที่ผ่านมา เรายังไม่เห็นผลจาก tariff ต่อราคาสินค้าในอเมริกา สาเหตุเพราะผู้นำเข้าได้มีการตุนสินค้าไว้เยอะก่อนเพิ่มภาษี และเพราะอัตราภาษีชั่วคราวตํ่าพอที่ผู้ส่งออกแบกรับได้โดยยังไม่ส่งต่อ แต่จากนี้ไปผลของภาษีต่อราคาสินค้าจะมากขึ้น ซึ่งจะกระทบกำลังซื้อผู้บริโภคอเมริกันแน่นอน

3. ผมเคยประเมินแต่แรกว่าหากอเมริกานำเข้าสินค้าจากเราลดลง 10% จะทำให้ GDP ลดลงประมาณ 1% และจะมีผลต่อรายได้ของผู้ส่งออกเราที่ margin ลดลง เป็นตัวฉุดเศรษฐกิจเพิ่มเติม นอกจากนั้นผลข้างเคียงที่เราเห็นแล้วคือการระบายสินค้าจากจีนมาที่ตลาดเรา นอกจากเพิ่มการนำเข้าให้ไทย (ฉุด GDP ลง) จะทำให้ผู้ประกอบการไทยเดือดร้อนอีกด้วย สุดท้ายคือผลกับการลงทุนประเภท FDI จะลดลง คือการลงทุนแนว re-shoring หรือ friend-shoring จะน้อยลง เพราะทรัมป์สกัดกั้นด้วยภาษี transhipment ที่สูงมาก

โดยรวม ๆ ข่าวจากเวียดนาม (ที่ยอมทรัมป์แล้วทุกอย่าง)ไม่สู้ดีกับไทย เวียดนามเขารู้ตัวมาก่อน มีการประกาศแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจมากมาย เช่นลดขนาดภาคราชการ ลดจำนวนกระทรวงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ หันมาเน้นเศรษฐกิจที่อิงกับการพึ่งพากลไกตลาดเสรีมากขึ้น และยกระดับการศึกษาต่อเนื่อง 
ส่วนของเรา…

LITE

6 กรกฎาคม พ.ศ.2428 ‘หลุยส์ ปาสเตอร์’ นักเคมีชาวฝรั่งเศส ทดสอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำเร็จ

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 หรือวันนี้ เมื่อ 140 ปีก่อน หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) นักเคมีชาวฝรั่งเศส ประสบความสำเร็จในการทดสอบวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) เป็นครั้งแรก โดยใช้รักษาให้กับเด็กชาย โจเซฟ เมสเตร์ (Joseph Meister) วัย 9 ขวบ 

ในสมัยนั้น โรคพิษสุนัขบ้าแม้ว่าจะไม่ใช่โรคระบาดที่ร้ายแรง แต่ก็สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คนมาก เพราะเมื่อผู้ใดที่ถูกสุนัขบ้ากัดแล้วต้องเสียชีวิตทุกราย สัตว์ที่ป่วยด้วยโรคนี้ก็จะต้องตายโดยไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกันได้เลย 

จากการค้นคว้าปาสเตอร์พบว่าเชื้อสุนัขบ้าอยู่ในน้ำลาย ดังนั้นเมื่อถูกน้ำลายของสุนัขที่มีเชื้อโรคอยู่ไม่ว่าจะถูกเลียหรือถูกกัด เชื้อโรคในน้ำลายก็จะซึมเข้าไปทางแผลสู่ร่างกายได้ 

ปาสเตอร์ได้นำเชื้อมาเพาะวัคซีน แล้วนำไปทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าได้ผลเป็นอย่างดี แต่เขาก็ยังไม่กล้านำมาทดลองกับคน จนกระทั่งวันหนึ่งเด็กชายเมสเตร์ถูกสุนัขบ้ากัด ไหน ๆ ก็จะต้องตายอยู่แล้ว พ่อแม่จึงได้นำบุตรชายมาให้ปาสเตอร์ทดลองรักษา ปรากฏว่าเด็กน้อยไม่ป่วยเป็นโรคสุนัขบ้า 

การค้นพบครั้งนี้ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้น จากนั้นในปี 2431 ปาสเตอร์ได้ก่อตั้ง 'สถาบันปาสเตอร์' (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้ขยายสถาบันปาสเตอร์ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในประเทศไทยใช้ชื่อว่า 'สถานเสาวภา' ก่อตั้งในปี 2455 โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสภากาชาดไทย

5 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ถนนบรอดเวย์ โดยมีประชาชนกว่า 7 แสนคน รับเสด็จ

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 1960 (พ.ศ. 2503) ประชาชนกว่า 7.5 แสนคน (จากการประเมินของเจ้าหน้าที่ตำรวจ) ได้มาเฝ้ารอรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งประทับรถยนต์พระที่นั่งเปิดประทุนมาพร้อมกับขบวนพาเหรด บนถนนโลเวอร์บรอดเวย์ (Lower Broadway) นครนิวยอร์ก โดยมีแถบกระดาษขนาดเล็กจำนวนมากโปรยปรายลงมาระหว่างการเคลื่อนขบวนเสด็จ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของการต้อนรับขบวนพาเหรดในนครนิวยอร์ก

ขบวนพาเหรดดังกล่าวกินเวลาประมาณ 20 นาที นำเสด็จจากถนนโลเวอร์บรอดเวย์ ไปถึงศาลาว่าการนครนิวยอร์ก เมื่อเวลาประมาณ 12.25 นาฬิกา

“มันอลังการมาก เราเคยเห็นการต้อนรับแบบนี้ในภาพยนตร์หลายเรื่อง และเราก็ตื่นเต้นมากที่ได้รับการต้อนรับแบบเดียวกัน” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตรัสกับ โรเบิร์ต แวกเนอร์ (Robert Wagner) ผู้ว่านครนิวยอร์กในขณะนั้น

ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวยังอยู่ในภาวะสงครามเย็น สื่อสหรัฐฯ จึงตั้งคำถามต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถึงภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งพระองค์ได้ทรงตอบว่า

“ประชาชนชาวไทยต้องการสันติภาพ สันติภาพอันมีเกียรติ…เราไม่เคยยั่วยุผู้ใด แต่เราพร้อมที่จะปกป้องตนเองจากการรุกรานจากภายนอก”

‘ลิซ่า’ ติดโผ 1 ใน 33 คนมีสไตล์แห่งปี 2025 จาก New York Times ในฐานะแฟชั่นไอคอนระดับโลก

(4 ก.ค.68) ลิซ่า ลลิษา มโนบาล หรือ 'ลิซ่า BLACKPINK' ศิลปินสาวไทยระดับโลก ติดอันดับ The Most Stylish People of 2025, So Far จาก The New York Times กลายเป็นหนึ่งในไม่กี่คนจากเอเชียที่ได้รับเลือกให้เป็นบุคคลผู้มีสไตล์โดดเด่นแห่งปี

ลิซ่าถูกยกย่องในฐานะแฟชั่นไอคอนที่สะกดสายตาผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะบนเวที บนจอ หรือบนพรมแดง ซึ่งนอกจากการติดโผบุคคลที่มีสไตล์ที่สุดในปีนี้แล้ว ลิซ่ายังถูกกล่าวถึงในพาร์ทของ 'ลาบูบู้' เทรนด์อาร์ตทอยขนนุ่มพาสเทลที่เหล่าคนดังระดับโลกนิยมสะสม สะท้อนรสนิยมแฟชั่นและอิทธิพลของลิซ่าในหลากหลายมิติ

จากทั้งหมด 33 รายชื่อที่ The New York Times คัดเลือก ลิซ่าคือหนึ่งในชื่อที่โดดเด่นที่สุดของปี 2025 จนถึงตอนนี้ พร้อมสร้างหมุดหมายใหม่ในฐานะตัวแทนเอเชียที่โลกต้องจับตา

PODCAST

ยลโฉมกระบวนพยุหยาตรา และเรือพระที่นั่งประจำรัชกาล (๒) | THE STATES TIMES Story EP.174

เมื่อ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ประชาชนคนไทยมีโอกาสได้ชมภาพการอัญเชิญเรือพระที่นั่งลงน้ำ เพื่อเตรียมการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗

เชื่อว่าทุก ๆ ท่านคงจะได้รู้จักเรือพระที่นั่งสำคัญอย่าง ‘เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์’ / ‘เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙’ / ‘เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช’ / ‘เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์’ กันมาบ้างแล้ว

และเมื่อตอนที่แล้วก็ได้เล่าประวัติเรือพระที่นั่งประจำรัชกาลที่ ๑-๕ ไปแล้ว วันนี้ THE STATES TIMES Story จะมาเล่าประวัติเรือพระที่นั่งรัชกาลที่ ๖ - ๑๐ ถ้าพร้อมแล้ว ไปฟังกันเลย

ยลโฉมกระบวนพยุหยาตรา และเรือพระที่นั่งประจำรัชกาล (๑) | THE STATES TIMES Story EP.173

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ประชาชนคนไทยมีโอกาสได้ชมภาพการอัญเชิญเรือพระที่นั่งลงน้ำ เพื่อเตรียมการจัดกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ที่กำหนดการจัดให้มีขึ้นในวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ 

เชื่อว่าทุก ๆ ท่านคงจะได้รู้จักเรือพระที่นั่งสำคัญอย่าง ‘เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์’ / ‘เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙’ / ‘เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช’ / ‘เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์’ กันมาบ้างแล้ว 

แล้วทราบหรือไม่ว่าเรือพระที่นั่งลำใดสร้างขึ้นในรัชกาลใด และเป็นลำที่เท่าไหร่ และเรือพระที่นั่งลำใดที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว

วันนี้ THE STATES TIMES Story มีคำตอบ พร้อมแล้วก็ไปฟังกันเลย…

เปิดประวัติ ๑๐ พระแก้วแห่งสยามประเทศ บารมีคู่บ้าน สิริมงคลคู่เมือง (๒) | THE STATES TIMES Story EP.172

ประเทศสยาม หรือประเทศไทยของเรา มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองหลายองค์ ซึ่งนับเป็นบารมีและเป็นสิริมงคลแก่แผ่นดินอย่างยิ่ง

ครั้งที่แล้ว ได้กล่าวถึง พระแก้วดอนเต้า พระนาคสวาดิเรือนแก้ว พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรตนากร นวุติวัสสานุสรณ์มงคล และพระเสตังคมณี

THE STATES TIMES Story EP. นี้ จะมาเล่าเรื่องราวของพระแก้ว อีก 5 องค์ ได้แก่ พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย พระแก้วน้ำค้าง พระพุทธบุษยรัตน์น้อย พระพุทธสุวรรณโกสัยมัยมณี และพระพุทธเทววิลาส ถ้าพร้อมแล้วไปฟังกัน…

VIDEO

ป้าหมาย ‘ท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพ’ ผ่านมุมมอง ‘วีระศักดิ์ โควสุรัตน์’ | CONTRIBUTOR EP.30

เมืองไทยมีดี มีจุดขายที่งดงามในภาคการท่องเที่ยว แต่จะพอใจเพียงเท่านี้ พอใจเพียงจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ลูกเดียว อาจจะไม่ยั่งยืน

มิติใหม่ของการท่องเที่ยวไทย ต้องปรับประยุกต์ เพื่อสร้างการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ
กระตุ้นให้เกิดความหลากหลายในแต่ละเขตแดน เมือง จังหวัด ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง

แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องร้อยห่วงโซ่ของ ‘ความยิ้มแย้ม-ความยืดหยุ่น-ไม่หย่อนยาน’ 
รวมถึงปรับแนวทางสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวใต้วิธีคิดที่ทันโลก

เพราะนี่คือวาระสำคัญของอนาคตการท่องเที่ยวไทยในวันข้างหน้า 
ในวันที่ ‘หินก้อนใหญ่’ ยังกดทับ ‘หญ้าสีเขียว’ ในบางพื้นที่อยู่

ปลดล็อกร่างทอง ‘ท่องเที่ยวไทยเชิงคุณภาพ’ ไปด้วยกันกับ Contributor EP นี้ กับผู้ที่เข้าใจระบบนิเวศการท่องเที่ยวยั่งยืนแบบถ่องแท้ได้จาก... คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ถึงเวลาสร้าง ‘ไทย’ ให้เติบใหญ่ในยุคดิจิทัล l รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก

ความ ‘เท่า’ ที่ยากจะ ‘เทียม’ หากระบบการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับที่และทิศทางไทยยังคงหลงอยู่กับนโยบาย

ประชานิยมที่คอยกระตุกกระตุ้นเศรษฐกิจได้เพียงแค่ครั้งคราว

กลับกันประเทศไทย ในวันที่เริ่มตั้งตัว ต้องหาทางตั้งทรงแบบยกแผงต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะผลักดันอนาคตชาติเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในทุกภาคส่วนระบบการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา และอื่นๆ ให้เกิดรากอันแข็งแกร่ง เพื่อเป็นฐานรองรับให้ ‘คนในชาติ’ กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ

Contributor EP นี้ ขอกระตุกมุมคิดคนไทยให้ร่วมมองความเจริญแห่งอนาคตที่ถูกทิศผ่านมุมคิดของ... 
รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ที่ขอเป็นตัวแทนพูดดังๆ ถึงทุกภาคส่วน ว่า…

ถึงเวลาแล้วที่ ‘ประเทศไทย’ ต้องปฏิรูป!!

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ | CONTRIBUTOR EP.28

ค่านิยม ‘ท้าทาย’ กฎหมายของคนในยุคนี้ ยุคที่ใคร ‘แหก’ กฎได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งยกย่องกันแบบผิดๆ ว่า 'เจ๋ง' และดูเก่งในสายตากลุ่มก้อนความคิดเดียวกัน ... เริ่มลุกลาม!!

แต่เมื่อ 'กฎหมาย' คือ กฎที่คนส่วนใหญ่ ทำตาม!!

ผู้ใด 'ท้าทาย' ก็ต้องพร้อมรับผิดชอบในทุกการกระทำ

และนี่คือเรื่องราวของอีกหนึ่งผู้บังคับใช้กฎหมาย ที่อยากฝากบอกถึง 'นักแหกกฎ' ให้ปลดความคิดสุดระห่ำออกไปจากระบบคิด และจงเชื่อเถอะว่าชีวิตของพวกคุณจะไม่มีวันถูกหล่อเลี้ยงได้อย่างยั่งยืนผ่านคำยกย่องผิดๆ

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี 

ผู้พิทักษ์ ‘สันติ’ ราษฎร์

Y WORLD

ซักด่วน !!! ใช้ผ้าขนหนูเกิน 3 วัน เหมือนเช็ดตัวด้วยโถส้วม !!! | Y WORLD EP.75

Y WORLD ตอนนี้ แค่หัวข้อก็อึ้งกันแล้วค่ะ แค่ไม่ได้ซักผ้าขนหนู 3 วัน ก็สกปรกขนาดนี้เลยหรอ ? ส่งผลอย่างไรบ้าง และควรแก้ยังไง คลิปนี้มีคำตอบค่ะ 

‘Roman Charity’ ภาพวาดที่ไม่ได้ลามก แต่คือความกตัญญู | Y WORLD EP.74

Y WORLD ตอนนี้พาคุณไปชมภาพวาดหญิงสาวกำลังป้อน ‘นม’ ของตัวเองให้ชายชรา ที่บอกเลยว่า 'เห็นครั้งแรก ก็คิดดีไม่ได้จริงๆ' แต่แท้จริงแล้ว ภาพนี้ไม่ได้เป็นสื่อลามกอนาจาร แต่คือการแสดงความกตัญญู เรื่องราวจะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามชมกันได้เลยค่ะ

ปลิดชีพ "ชาย" ขู่ฆ่า "โจ ไบเดน" แม้ไม่มี112 | Y WORLD EP.73

Y WORLD ตอนนี้จะพาคุณไปฟังเรื่องราวการ "ปกป้องผู้นำ" ของตนขั้นสุดแบบสหรัฐอเมริกา ในกรณีที่ FBI ปลิดชีพ 'ชาย’ ขู่ฆ่า 'โจ ไบเดน' แม้สหรัฐอเมริกาจะไม่มีกฎหมายมาตรา 112 แบบประเทศไทย แต่ก็ต้องยอมรับว่า หากใครมาหมิ่นหรือคิดร้ายผู้นำในประเทศของเขา โดนดีทันที เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ไปรับชมกันเลย

SPECIAL

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2568

รางวัลแห่งการกระทำความดี
คือ ความดีที่ได้กระทำเป็นคุณสมบัติแห่งบุคคล
ผู้กระทำความดีนั้นเสมอไป
บุคคลผู้ประพฤติดีย่อมได้รับรางวัล
เป็นเกียรติยศประจำตนอยู่ทุกขณะ
ที่ได้คิดดี พูดดี และทำดี

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2568

ต้องรู้จักปล่อยวางบ้าง
คนไหน ปล่อยวางเยอะ
คนนั้น ก็จะมีสุขเยอะ
ของสิ่งใดถ้าใช่ของเรา
อยู่ที่ไหนก็ใช่ของเรา
แต่ถ้าไม่ใช่ของเรา
ให้อยู่กับมือเราก็ยังไปเป็นของคนอื่น

ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต

ธรรมะประจำวันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2568

ม้าศึกต้องฝึกอยู่เสมอ
ขุนศึกขี้คร้านเท่ากับ
เอาหัวไปให้ศัตรูตัดเล่นเท่านั้นเอง
เราไม่รู้ว่าจะเกิดสงครามเวลาใด
ความตายมาถึงเมื่อไรเราไม่รู้
มารู้ก็ตอนแย่แล้ว

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

INFO & TOON

Forbes จัดอันดับทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 68

Forbes จัดอันดับทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 68 ‘เฉลิม อยู่วิทยา’ รักษาแชมป์ผู้มั่งคั่งที่สุดในไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ขณะที่ ‘สารัชถ์ รัตนาวะดี’ ขยับขึ้นเป็นอันดับ 3 เป็นครั้งแรก หลังกลุ่ม GULF ควบรวม INTUCH

(3 ก.ค. 68) นิตยสาร Forbes เผยการจัดอันดับทำเนียบ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2568 พบว่า เศรษฐกิจของไทยเติบโตช้ากว่าที่คาดไว้ ท่ามกลางความตึงเครียดด้านการค้าและความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะช่วยชดเชยการร่วงลง 14% ของดัชนีตลาดหุ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่การเพิ่มขึ้นอย่างมากของความมั่งคั่งของสามอันดับแรก ช่วยผลักดันให้มูลค่าทรัพย์สินรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 11 เป็น 170,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดยรวมแล้ว มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่อยู่ในลิสต์เพิ่มขึ้น โดยผู้ที่มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากที่สุดในแง่ตัวเงินคือครอบครัวกระทิงแดง (Red Bull) ที่นำโดย นายเฉลิม อยู่วิทยา ซึ่งครองอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่สอง ทรัพย์สินของพวกเขาพุ่งขึ้นแตะสถิติใหม่ที่ 4.45 หมื่นล้านเหรียญ เนื่องจากรายได้ประจำปีของยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มชูกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 1.12 หมื่นล้านยูโร (1.29 หมื่นล้านเหรียญ) ในปี 2024 จากยอดขายเกือบ 1.3 หมื่นล้านกระป๋องทั่วโลก

พี่น้องเจียรวนนท์ แห่งกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังคงรักษาอันดับเศรษฐีอันดับสองของประเทศไว้ได้ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 23% เป็น 3.57 หมื่นล้านเหรียญ กลุ่มนี้เดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลต่อเนื่อง ล่าสุดจับมือกับ BlackRock ลงทุน 1 พันล้านเหรียญ เพื่อสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ และบริษัทย่อยด้านฟินเทค Ascend Money ก็เพิ่งได้รับอนุมัติให้จัดตั้ง Virtual Bank

นายสารัชถ์ รัตนาวะดี มหาเศรษฐีด้านพลังงานและโทรคมนาคม ขยับขึ้นสองอันดับ มาครองอันดับสามเป็นครั้งแรกด้วยทรัพย์สิน 1.2 หมื่นล้านเหรียญ หลังจากควบรวมกิจการระหว่าง Gulf Energy Development กับ Intouch Holdings และนำบริษัทที่ควบรวมแล้วเข้าจดทะเบียนในชื่อ Gulf Development เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ด้าน นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อน้ำเมา มูลค่าทรัพย์สินแทบไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ 1.05 หมื่นล้านเหรียญ ส่งผลให้ตกมาอยู่อันดับสี่ โดยเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เขาได้โอนหุ้นบางส่วนให้ลูกทั้งห้าคน แต่ในฐานะผู้ก่อตั้งกลุ่ม ทรัพย์สินยังคงถูกนับรวมในชื่อของเขา

สำหรับตระกูล จิราธิวัฒน์ ซึ่งอยู่ในธุรกิจค้าปลีก มูลค่าทรัพย์สินลดลง 13% เหลือ 8.6 พันล้านเหรียญ ท่ามกลางบรรยากาศการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ซบเซา โดยเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว กลุ่มได้พันธมิตรใหม่ คือ กองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดีอาระเบีย (PIF) ที่เข้าซื้อหุ้น 40% ในร้านค้าปลีกหรู Selfridges จาก Signa Holdings ของออสเตรีย (ซึ่งกลุ่ม Central ยังคงถือหุ้น 60%)

ในปีนี้มีมหาเศรษฐีทั้งหมด 19 ราย ที่มูลค่าทรัพย์สินลดลง โดย ประยุทธ มหากิจศิริ เจ้าพ่อกาแฟ มูลค่าทรัพย์สินลดลงอย่างเห็นได้ชัดหลังจากบริษัทร่วมทุนระหว่าง PM Group กับเนสท์เล่ สิ้นสุดลง

นอกจากนี้มหาเศรษฐี 2 ท่าน ที่เสียชีวิตหลังการจัดอันดับครั้งก่อน ได้แก่ นายวานิช ไชยวรรณ ประธานกิตติมศักดิ์ของไทยประกันชีวิต และ นายพงษ์ศักดิ์ วิทยากร ผู้ร่วมก่อตั้งโรงพยาบาล Bangkok Dusit Medical Services ซึ่งต่อมาได้ขยายธุรกิจดูแลสุขภาพภายใต้ Principal Capital โดยทรัพย์สินของทั้งสองตระกูลถูกจัดอันดับภายใต้ชื่อครอบครัว ไชยวรรณ และ วิทยากร

แม้เกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินขั้นต่ำเพื่อเข้าลิสต์จะลดลงเหลือ 420 ล้านเหรียญ จาก 550 ล้านเหรียญในปีที่แล้ว แต่ก็มีเศรษฐี 4 รายที่หลุดจากการจัดอันดับ โดยผู้ที่หายไปอย่างน่าจับตาคือ นายสมโภชน์ อาหุนัย เจ้าพลังงานหมุนเวียน หลังจากบริษัท Energy Absolute เผชิญปัญหาทางการเงิน

สำหรับ 10 อันดับแรก มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2568 มีดังต่อไปนี้
1. นายเฉลิม อยู่วิทยา และครอบครัว ทรัพย์สิน 4.45 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 1.44 ล้านล้านบาท
2. นายพี่น้องเจียรวนนท์ ทรัพย์สิน 3.57 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 1.16 ล้านล้านบาท
3. นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ทรัพย์สิน 1.2 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 3.90 แสนล้านบาท
4. นายเจริญ สิริวัฒนภักดี และครอบครัว ทรัพย์สิน 1.05 หมื่นล้านเหรียญ หรือ 3.41 แสนล้านบาท
5. ครอบครัวจิราธิวัฒน์ ทรัพย์สิน 8.6 พันล้านเหรียญ หรือ 2.79 แสนล้านบาท
6. ครอบครัวไชยวรรณ ทรัพย์สิน 4.2 พันล้านเหรียญ หรือ 1.36 แสนล้านบาท
7. นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา และครอบครัว ทรัพย์สิน 3.5 พันล้านเหรียญ หรือ 1.14 แสนล้านบาท
8. นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ทรัพย์สิน 3.4 พันล้านเหรียญ หรือ 1.10 แสนล้านบาท
9. เสถียร เสถียรธรรมะ ทรัพย์สิน 2.6 พันล้านเหรียญ หรือ 8.44 หมื่นล้านบาท

10. นายพรเทพ พรประภา และครอบครัว ทรัพย์สิน 2.2 พันล้านเหรียญ หรือ 7.14 หมื่นล้านบาท

ไม่ใช้ก็ต้องจ่าย!!

Take-or-Pay สัญญาผูกมัดบังคับรัฐจ่ายเงินซื้อไฟ ที่เซ็นไว้ระยะยาวกับเอกชนรายใหญ่ อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ค่าไฟแพง ที่แฝงอยู่ในค่า Ft

วันนี้ห้ามพลาด!!

ค่ำนี้ เฝ้าหน้าจอรอกันเลย!!  LIVE!! Behind the Bill
ถ้าคุณอยากรู้ว่า ทำไมคุณจ่ายค่าไฟแพง... ทั้งที่ใช้ไฟเท่าเดิม  คุณต้องไม่พลาด LIVE นี้
ถ้าคุณเคยสงสัยว่าทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้นทุกปี…LIVE นี้คือคำตอบที่คุณไม่เคยได้ยินจากใคร  

มาร่วมไขทุกข้อสงสัยค่าไฟแพง กับ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน

2 กรกฎาคม 2568
 ⏰ เวลา 19:30 - 21.00 น.
 📌 รับชมที่ Facebook Page: โอกาส Chance

COLUMNIST

‘ชินวัตร–ฮุน’ ละครระหว่าง!! สองตระกูลอำนาจ เดินเรื่องตามกลยุทธ์ที่วางมาแล้ว ใช้ชีวิตปชช.กว่า 100 ล้านคน ในสองประเทศเป็นตัวประกัน ในสงครามผลประโยชน์

(6 ก.ค. 68) ในขณะที่ชายแดนไทย-กัมพูชากำลังปะทุด้วยไฟความขัดแย้ง และเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศสั่นคลอน ท่ามกลางสงครามข่าวสาร สงครามพลังงาน และเกมการเมืองระดับภูมิภาค กลับมีคำถามใหญ่ที่น่ากังวลยิ่งกว่ากระสุนปืนและขีปนาวุธ

ทำไม "ทักษิณ ชินวัตร" จึงเงียบ?
และทำไม "ฮุน เซน" จึงตื่นตัวผิดปกติ?

คำตอบอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หากมองในมุม “คนคุมเกม” ที่ไม่จำเป็นต้องออกหน้า ทักษิณในเวลานี้ไม่ใช่แค่นักการเมืองผู้ลี้ภัยกลับบ้าน แต่คือ นักยุทธศาสตร์เบื้องหลัง ที่กำลังกำกับบทละครระหว่างสองตระกูลอำนาจ: ชินวัตร–ฮุน ซึ่งเป็น “กลุ่มผลประโยชน์ร่วม” ที่ผูกโยงด้วยเงินตรา เครือข่ายทุนสีเทา และพันธมิตรธุรกิจ–การเมืองข้ามชาติ

การที่ฮุนเซนออกโรงเดินสาย ทั้งการท้าทายไทยเรื่องแรงงานเขมร บอยคอตพลังงาน และแบนสินค้าไทย เป็นมากกว่าแค่การแสดงจุดยืนทางการเมือง หากคือ “กลยุทธ์ที่วางมาแล้ว” โดยมีทักษิณช่วยประคองเกมรุกของเขมรไม่ให้สะดุด

แม้บอกว่าแบนพลังงานจากไทย แต่ก็สามารถอาศัยคอนเนกชันของทักษิณในการนำพลังงานผ่านเวียดนามเข้าสู่เขมรได้อย่างราบรื่น
แม้บอกว่าแบนสินค้าไทย แต่สินค้าไทยก็ทะลักเข้าผ่านช่องทางลาวและเวียดนามราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
และเมื่อราคาน้ำมันในเขมรถูกกว่าไทย มันก็สะท้อนภาพว่า “การโจมตีเชิงสื่อ” นั้นมีการวางแผนระดับสูง

แต่สิ่งที่ทั้งทักษิณและฮุนเซนลืมไปคือ “ราคาของความยืดเยื้อ” ไม่ได้จ่ายด้วยเงินหรือกลยุทธ์ แต่มันคือ ชีวิตประชาชนกว่า 100 ล้านคน ในสองประเทศที่กำลังถูกใช้เป็นตัวประกันในสงครามผลประโยชน์

ขณะที่ทักษิณมุ่งรักษาอำนาจและประโยชน์ของตระกูล
และฮุนเซนมุ่งรักษาระบอบการสืบทอดอำนาจ

ประชาชนไทยและกัมพูชากลับต้องจมอยู่กับความยากจน วิกฤตหนี้สิน และการไร้อนาคต
นี่คือสัญญาณอันตรายที่อาจทำให้เกมที่ “ดูเหมือนคุมได้” กลายเป็นระเบิดเวลาที่ไม่มีใครหยุดได้อีกต่อไป

ฝั่งไทย: ทักษิณกำลังสูญเสียความชอบธรรม จากการบริหารเศรษฐกิจล้มเหลว พันธมิตรกลุ่มทุนเริ่มขาดทุนหนัก เช่น คิงเพาเวอร์ ที่ได้รับผลกระทบจากการไหลออกของแหล่งทุนสีเทาและการกวาดล้างจากสหรัฐฯ

ฝั่งเขมร: ตระกูลฮุนกำลังถูกบีบจากทั้งศัตรูภายใน (เช่น เตีย บัญ – เตีย เสฮา) และศัตรูเก่า (สม รังสี) ที่มีเป้าหมายชัดเจนในการลากฮุนเซนขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ

ในภาพรวมแล้ว เกมที่ทักษิณพยายามจะเล่นให้ได้ชัยชนะสองประเทศ กลับกำลังย้อนกลับมาทำลายศูนย์กลางอำนาจของเขาเอง

คำถามใหญ่: จะยื้อได้นานแค่ไหน??

เมื่อหัวใจของอำนาจคือ “เงิน” และเงินกำลังถูกตัดขาด
เมื่อเสาหลักของอำนาจคือ “ภาพลักษณ์” แต่ภาพลักษณ์กลับกลายเป็น ผู้สนับสนุนอาชญากรรมข้ามชาติ
และเมื่อศัตรูไม่ใช่แค่ฝ่ายค้าน แต่คือ กองทัพ–ประชาชน–องค์กรโลก

คำถามสำคัญคือ
> ทักษิณจะยังสามารถเป็นผู้กำกับละครอำนาจได้อีกนานแค่ไหน??
หรือจะกลายเป็นนักแสดงที่ต้องหนีออกจากเวที...ก่อนม่านจะปิดฉากไปพร้อมกับสองตระกูล?? ...

‘ไทย–เวียดนาม’ กระชับสัมพันธ์ ‘กลาโหม’ ท่ามกลางความตึงเครียด!! ตามแนวชายแดน

(6 ก.ค. 68) ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเผชิญกับแรงสั่นสะเทือนทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา การเยือนอย่างเป็นทางการของ พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แห่งราชอาณาจักรไทย ไปยังกรุงฮานอย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2568 ถือเป็นก้าวสำคัญของการทูตทางทหารที่สะท้อนถึงมิตรภาพอันมั่นคงระหว่างไทยกับเวียดนาม

การต้อนรับโดย พลเอก เหงียน เติน กื๋อง หัวหน้าคณะเสนาธิการใหญ่กองทัพประชาชนเวียดนาม และรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่ได้เป็นเพียงพิธีการ แต่ยังเป็นเวทีหารือเชิงลึกด้านความมั่นคง โดยทั้งสองฝ่ายเน้นย้ำเจตจำนงร่วมในการเสริมสร้างเสถียรภาพของภูมิภาค ผ่านความร่วมมือในระดับยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม

จุดยืนร่วมและความร่วมมือเชิงปฏิบัติ

ทั้งไทยและเวียดนามได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนร่วมกันในการส่งเสริม “สันติภาพ ความร่วมมือ และการพัฒนา” บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเด็นข้อพิพาททางทะเลและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ความร่วมมือที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น การแลกเปลี่ยนคณะ การฝึกร่วมระหว่างเหล่าทัพ และการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ถือเป็นแกนกลางของความสัมพันธ์ระหว่างสองกองทัพ

ที่สำคัญ พลเอกทรงวิทย์ได้แสดงความชื่นชมในนโยบาย “Four No’s” ของเวียดนาม ซึ่งประกอบด้วย:
1. ไม่เข้าร่วมพันธมิตรทางทหาร
2. ไม่เลือกข้างในความขัดแย้ง
3. ไม่อนุญาตให้มีฐานทัพต่างชาติในประเทศ
4. ไม่ใช้เวียดนามเป็นฐานสำหรับการโจมตีประเทศอื่น

แนวนโยบายนี้สอดคล้องกับหลักการของไทยในการไม่แทรกแซงและเคารพอธิปไตยซึ่งกันและกัน อันเป็นรากฐานของอาเซียน

มิตรภาพแท้ในเวลาวิกฤต

การเยือนของผู้นำกองทัพไทยในครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย–กัมพูชายังคงตึงเครียด โดยฝ่ายกัมพูชาได้แสดงท่าทีแข็งกร้าว ขณะที่ไทยเลือกใช้แนวทางเตรียมพร้อมเชิงยุทธศาสตร์ควบคู่กับการยึดหลักสันติวิธี

ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ มิตรภาพจากเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งทั้งในระดับรัฐและกองทัพ จึงมีความหมายอย่างยิ่ง เพราะไม่เพียงแต่เป็นการส่งสารแห่งความเชื่อมั่นระหว่างกัน แต่ยังเป็นการส่งสัญญาณต่อภูมิภาคว่า อาเซียนยังยึดมั่นในหลักความร่วมมือ มากกว่าการเผชิญหน้า
ข้อสังเกตเชิงยุทธศาสตร์

การกระชับสัมพันธ์ไทย–เวียดนามทางทหารในเวลานี้ อาจตีความได้ว่าเป็นการเสริมแนวหลังของไทย ในขณะที่แนวหน้าเผชิญกับการท้าทายจากเพื่อนบ้านทางตะวันออกเฉียงใต้ การมีพันธมิตรที่เชื่อถือได้เช่นเวียดนาม จึงเป็นทั้งกลยุทธ์การสร้างดุลอำนาจ และกลไกการคานอิทธิพลที่กำลังขยายตัวจากภายนอกภูมิภาค

บทสรุป
ท่ามกลางสถานการณ์ที่หลายประเทศเลือกใช้นโยบายแข็งกร้าว ความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยและเวียดนามแสดงให้เห็นว่า “การทูตทางทหาร” ยังสามารถเป็นสะพานเชื่อมของมิตรภาพ ความมั่นคง และสันติภาพ

> ในโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน... พันธมิตรที่ไว้ใจได้ คือเสาหลักที่ไม่มีเสียง แต่หนักแน่นยิ่งกว่าคำพูดใด

‘รัสเซีย’ สร้างแรงสั่นสะเทือน!! รับรอง ‘ตอลิบาน’ การเคลื่อนไหวทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ท้าทายโลกตะวันตก

เมื่อวันที่ (3 ก.ค. 68) รัสเซียได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับระบบระเบียบโลกอีกครั้งด้วยการกลายเป็นประเทศแรกที่ประกาศรับรองรัฐบาลตอลิบานของอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการท่ามกลางกระแสการปฏิเสธและความลังเลจากประชาคมโลก ท่าทีของเครมลินในครั้งนี้ไม่ใช่เพียงการติดต่อทวิภาคีทั่วไปหากแต่คือการประกาศจุดยืนอันชัดเจนว่ารัสเซียพร้อมเดินสวนทางกับค่านิยมเสรีนิยมของตะวันตกและเลือกเดิมพันทางภูมิรัฐศาสตร์กับ "รัฐที่โลกเสรีพยายามลืม" นี่คือการเดินหมากของมหาอำนาจที่ถูกกดดัน ถูกโดดเดี่ยวและถูกปิดล้อมทางการทูตอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่บุกยูเครนในปี ค.ศ. 2022 รัสเซียไม่ได้เพียงรับรองรัฐบาลตอลิบานเท่านั้นแต่ยังส่งสัญญาณถึงโลกว่ากำลังจัดวางพันธมิตรใหม่ภายใต้ตรรกะแห่งประโยชน์และอำนาจ มากกว่าจะผูกติดกับคุณค่าสากลที่ตะวันตกยกย่อง ท่ามกลางฉากหลังของสงคราม ความอดอยาก การก่อการร้าย และการแสวงหาอำนาจในเอเชียกลาง รัสเซียมองว่าตอลิบานไม่ใช่กลุ่มหัวรุนแรงหากแต่คือ "หุ้นส่วนที่เป็นไปได้" ซึ่งสามารถต่อรองอิทธิพลกับตะวันตกและถ่วงดุลการครอบงำในภูมิภาค คำถามจึงไม่ใช่ว่า "รัสเซียควรรับรองตอลิบานหรือไม่" แต่คือ "โลกจะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางระเบียบภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้อย่างไร" การยอมรับตอลิบานคือการเคลื่อนไหวที่สั่นคลอนหลักการเดิมของความชอบธรรมและสิทธิมนุษยชนและกำลังลากโลกเข้าสู่ยุคแห่งการทูตแบบดิบๆ (raw diplomacy) ที่ผลประโยชน์และอำนาจกลับมาครองเวทีอีกครั้ง บทความนี้มุ่งสำรวจพลวัตเบื้องหลังการตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ของรัสเซีย โดยวางกรอบวิเคราะห์ผ่านเลนส์ของภูมิรัฐศาสตร์ ดุลอำนาจ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการตอบโต้ระเบียบโลกฝ่ายเดียว (unipolarity) ที่ครอบงำมานานกว่าสามทศวรรษ

นับตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2021 ที่กลุ่มตอลิบานบุกยึดกรุงคาบูลและโค่นล้มรัฐบาลอัฟกานิสถานที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตก โลกก็เผชิญกับคำถามทางศีลธรรม การเมือง และความมั่นคงระหว่างประเทศอย่างหนักหน่วง การกลับมาสู่อำนาจของกลุ่มตอลิบานไม่เพียงพลิกฟื้นความทรงจำอันขมขื่นในยุคก่อนปี ค.ศ. 2001 แต่ยังเปิดฉากการทดสอบครั้งใหญ่ต่อระเบียบโลกเสรีนิยม การกลับมาของตอลิบานไม่ใช่แค่การโค่นล้มรัฐบาลเก่า แต่มันคือการฉีกหน้าระเบียบโลกที่วางอยู่บนค่านิยมเสรีนิยมตะวันตก การศึกษาสำหรับสตรี? ถูกห้าม เสรีภาพในการแสดงออก? ถูกกด สิทธิมนุษยชน? กลายเป็นวาทกรรมที่ไร้ความหมายในแดนที่กฎหมายถูกตีความผ่านอุดมการณ์ทางศาสนาแบบสุดโต่ง ในช่วงเวลากว่า 3 ปีที่ตอลิบานปกครองประเทศ กลุ่มผู้ปกครองนี้ได้พยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของตนในฐานะ "รัฐบาลแห่งเสถียรภาพ" ที่สามารถฟื้นฟูความสงบได้ดีกว่ารัฐบาลที่ตะวันตกสนับสนุน แต่ขณะเดียวกันก็กลับไปใช้นโยบายแบบอนุรักษนิยมสุดโต่งซึ่งจำกัดสิทธิสตรีอย่างรุนแรง เช่น การห้ามผู้หญิงเรียนหนังสือต่อเกรด 6 การสั่งปิดมหาวิทยาลัยสำหรับผู้หญิง และการกีดกันผู้หญิงจากแรงงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนระดับนานาชาติ หลายประเทศจึงเลือก "เปิดช่องทางสื่อสาร" แต่ไม่ให้การรับรองทางการทูตอย่างเป็นทางการ

แม้ไม่มีประเทศใดก่อนหน้ารัสเซียให้การรับรองตอลิบานในฐานะรัฐบาลโดยชอบธรรม แต่อัฟกานิสถานกลับกลายเป็น “จุดยุทธศาสตร์เงียบ” ที่หลายรัฐเข้าไปมีส่วนร่วมผ่านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การเจรจาความมั่นคง และผลประโยชน์ทางทรัพยากร โดยเฉพาะจีน ปากีสถาน กาตาร์ อุซเบกิสถาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ล้วนมีช่องทางการสื่อสารกับรัฐบาลตอลิบาน แม้จะไม่มีสถานะทางการทูตเต็มรูปแบบก็ตาม องค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับสถานะของรัฐบาลตอลิบานได้อย่างเป็นเอกภาพ โดยแม้ตอลิบานจะเรียกร้องให้ได้รับที่นั่งประจำในเวทีสหประชาชาติ แต่กลับถูกปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยคณะกรรมการรับรอง (UN Credentials Committee) ภายใต้ข้ออ้างว่ายังไม่แสดงหลักฐานของการปกครองอย่างครอบคลุมและเคารพสิทธิมนุษยชน กล่าวโดยสรุป ตอลิบานดำรงอยู่ในสถานะ “รัฐเงา” (shadow state) ที่ครองอำนาจจริงแต่ไม่มีความชอบธรรมตามกรอบของประชาคมโลก เป็นรัฐบาลที่ไม่ถูกรับรอง แต่ไม่สามารถถูกมองข้าม เป็นผู้เล่นที่ไม่มีชื่อในเวที แต่มีบทบาทในภาคสนาม ทั้งในเรื่องความมั่นคง ชายแดน การค้ายาเสพติด และการอพยพข้ามพรมแดน รัฐบาลรัสเซียจึงเห็นโอกาสทางการทูตเชิงยุทธศาสตร์ในความ "ไร้ตัวตนแต่ทรงอิทธิพล" นี้ของตอลิบาน และเลือกลงมือก่อนใครด้วยการรับรองในทางเปิดเผย

ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับอัฟกานิสถานมีรากฐานที่ย้อนกลับไปถึงยุคสงครามเย็น โดยเฉพาะในช่วงที่สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอัฟกานิสถานระหว่างปี ค.ศ. 1979–1989 เพื่อสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายซ้ายที่กำลังเผชิญการต่อต้านจากกลุ่มมุญาฮิดีน ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกา ปากีสถาน และพันธมิตรตะวันตก ผลลัพธ์คือสงครามที่ยืดเยื้อ สูญเสียทางทหาร และผลกระทบภายในที่เร่งเร้าให้เกิดการล่มสลายของโซเวียตในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบันรัสเซียไม่ได้วางตัวในฐานะ "คู่ขัดแย้ง" กับอัฟกานิสถานอีกต่อไป หากแต่ปรับบทบาทเป็นผู้มีส่วนร่วมเชิงสร้างสรรค์ในภูมิภาค โดยเฉพาะหลังการถอนทหารสหรัฐฯ ออกจากอัฟกานิสถานในปี ค.ศ. 2021 รัสเซียแสดงบทบาทที่โดดเด่นในฐานะเจ้าภาพการประชุม “Moscow Format” ซึ่งรวบรวมประเทศต่าง ๆ ในเอเชียกลาง จีน ปากีสถาน และอิหร่าน เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางสร้างเสถียรภาพในอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของตอลิบาน แม้ในขณะนั้นรัสเซียจะยังไม่รับรองรัฐบาลตอลิบานอย่างเป็นทางการก็ตาม ในทางภูมิรัฐศาสตร์อัฟกานิสถานมีความสำคัญต่อรัสเซียในฐานะรัฐกันชนที่อยู่ติดกับภูมิภาคเอเชียกลางซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัสเซียต้องการรักษาอิทธิพลเชิงประวัติศาสตร์และเชิงยุทธศาสตร์ไว้ให้ได้ นอกจากนี้ความกังวลเรื่องการแทรกซึมของกลุ่มหัวรุนแรงอย่าง ISIS-K เข้าสู่รัฐอดีตโซเวียต เช่น ทาจิกิสถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถานยิ่งกระตุ้นให้รัสเซียมองตอลิบานในฐานะพลังที่จำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพ แม้จะขัดแย้งกับค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมโลกก็ตาม การตัดสินใจของรัสเซียในการรับรองตอลิบานในปี ค.ศ. 2025 จึงสะท้อนการเปลี่ยนผ่านจากประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งสู่ความพยายามสร้างพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมทางความมั่นคง ภูมิรัฐศาสตร์ และการต่อต้านอิทธิพลของชาติตะวันตกในภูมิภาคที่ยังไร้เสถียรภาพแห่งนี้

การตัดสินใจของรัสเซียในการรับรองรัฐบาลตอลิบานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2025 ไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวทางการทูตเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น หากแต่สะท้อนถึงการคำนวณทางยุทธศาสตร์ที่มีมิติซับซ้อนและครอบคลุมทั้งด้านความมั่นคง ภูมิรัฐศาสตร์ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในบริบทของโลกหลังสงครามยูเครนซึ่งรัสเซียจำเป็นต้องแสวงหาพันธมิตรทางเลือกและช่องทางสร้างอิทธิพลนอกเหนือจากขั้วตะวันตก

ประการแรก รัสเซียมองว่าอัฟกานิสถานภายใต้การนำของตอลิบาน แม้จะไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล แต่สามารถมีบทบาทในฐานะ "รัฐกันชน" (buffer state) ที่ช่วยสกัดกั้นการแพร่กระจายของแนวคิดสุดโต่งและกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ โดยเฉพาะกลุ่ม Islamic State – Khorasan Province (ISIS‑K) ซึ่งมีประวัติการโจมตีผลประโยชน์ของรัสเซีย ทั้งในเอเชียกลางและในกรุงมอสโก รัสเซียจึงให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์กับตอลิบานเพื่อสร้างช่องทางการประสานงานด้านความมั่นคง แม้จะไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตเต็มรูปแบบมาก่อนหน้านี้

ประการที่สอง ในมิติทางภูมิรัฐศาสตร์ รัสเซียพยายามขยายขอบเขตอิทธิพลของตนในเอเชียกลางและเอเชียใต้ โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่เหล่านี้เป็นจุดตัดสำคัญของมหาอำนาจหลายฝ่าย ทั้งจีน อินเดีย อิหร่าน และชาติตะวันตก การสถาปนาความสัมพันธ์กับตอลิบานจึงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการรักษาอิทธิพลของตนในภูมิภาค และตอบโต้ความพยายามของสหรัฐฯ ที่เคยใช้การแทรกแซงในอัฟกานิสถานเป็นเครื่องมือสร้างดุลอำนาจในภูมิภาคนี้

ประการที่สาม ในด้านเศรษฐกิจ รัสเซียมองเห็นศักยภาพของอัฟกานิสถานในฐานะแหล่งแร่หายาก (rare earth minerals) และทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา รวมถึงการเป็นจุดผ่านของโครงการโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค เช่น โครงการท่อส่งก๊าซ TAPI หรือเส้นทางขนส่งสินค้าสายเหนือ–ใต้ ที่อาจเชื่อมโยงรัสเซียกับเอเชียใต้ผ่านอัฟกานิสถาน การเปิดสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการจึงเป็นกลไกสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยสรุปรัสเซียมิได้มองการรับรองรัฐบาลตอลิบานในกรอบของความถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชน หากแต่มองผ่านแว่นของผลประโยชน์แห่งรัฐ (raison d'état) และความมั่นคงเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของนโยบายต่างประเทศรัสเซียในยุคหลังยูเครนที่เน้นการสร้างพันธมิตรนอกกระแส ตอบโต้การโดดเดี่ยวจากตะวันตกและขยายขอบเขตของระเบียบโลกทางเลือก

การที่รัสเซียประกาศรับรองรัฐบาลตอลิบานอย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 2025 นับเป็นจุดเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่สะท้อนถึงพลวัตของโลกที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากระเบียบโลกแบบเสรีนิยม (liberal order) ไปสู่ระเบียบโลกแบบพหุขั้ว (multipolarity) ที่คุณค่าและความชอบธรรมไม่จำเป็นต้องถูกกำหนดจากศูนย์กลางตะวันตกแต่เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป ปฏิกิริยาของโลกต่อการตัดสินใจของรัสเซียแบ่งออกอย่างชัดเจนตามแนวรอยร้าวทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ดำรงอยู่ในช่วงหลังสงครามยูเครน โดยกลุ่มประเทศตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และแคนาดา ต่างแสดงความผิดหวังอย่างเปิดเผย โดยชี้ว่าการรับรองตอลิบานคือการมอบความชอบธรรมให้แก่รัฐบาลที่ยังคงละเมิดสิทธิสตรี ปราบปรามเสรีภาพ และขาดกลไกตรวจสอบภายในทางการเมือง ปฏิกิริยาเหล่านี้สะท้อนจุดยืนที่ยังยึดโยงกับกรอบคุณค่าของสิทธิมนุษยชนสากล ซึ่งยังคงเป็นแกนกลางของนโยบายต่างประเทศของชาติตะวันตก 

ในทางตรงกันข้าม กลุ่มประเทศในเอเชียกลาง เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และบางประเทศในแอฟริกา กลับเลือกแสดงท่าทีแบบรอดูท่าทีหรือส่งสัญญาณในเชิงบวกต่อการรับรองของรัสเซีย โดยเฉพาะประเทศที่มีผลประโยชน์เชื่อมโยงกับอัฟกานิสถาน เช่น จีน ปากีสถาน อิหร่าน และกาตาร์ ต่างมีความสัมพันธ์ในทางปฏิบัติกับตอลิบานมาอย่างต่อเนื่อง และอาจใช้กรณีรัสเซียเป็นจุดตั้งต้นในการขยับสถานะของความสัมพันธ์ทางการทูตในอนาคต ที่น่าสนใจคือบางประเทศในโลกมุสลิม เช่น ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แม้จะยังไม่แสดงท่าทีชัดเจนแต่ก็เลือกหลีกเลี่ยงการประณามรัสเซียในลักษณะเดียวกับชาติตะวันตก สะท้อนให้เห็นถึงความระมัดระวังเชิงยุทธศาสตร์ในการรักษาสมดุลระหว่างความสัมพันธ์กับมอสโก และภาพลักษณ์ของตนในเวทีระหว่างประเทศ สำหรับองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ หรือองค์การเพื่อความร่วมมืออิสลาม (OIC) ยังไม่มีท่าทีอย่างเป็นทางการต่อการรับรองของรัสเซีย แต่การเคลื่อนไหวของประเทศสมาชิกอย่างรัสเซีย 

ย่อมเพิ่มแรงกดดันให้เกิดการหารือในระดับระหว่างประเทศเกี่ยวกับสถานะของรัฐบาลตอลิบานในอนาคต กล่าวโดยสรุป การตัดสินใจของรัสเซียได้กลายเป็นหมุดหมายที่เร่งให้เกิดการ “จัดตำแหน่งทางการเมือง” (political realignment) ที่แบ่งขั้วของโลกออกอย่างเด่นชัดขึ้นระหว่างฝ่ายที่ยึดมั่นในคุณค่าตะวันตก กับฝ่ายที่ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ ความมั่นคง และอำนาจรัฐเป็นหลัก ซึ่งแนวโน้มนี้สอดคล้องกับกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากระเบียบเดิมสู่ความไม่แน่นอนของระเบียบใหม่ที่ยังอยู่ระหว่างการต่อรอง

การที่รัสเซียกลายเป็นประเทศแรกที่รับรองรัฐบาลตอลิบานอย่างเป็นทางการจึงมิได้เป็นเพียงการแสดงออกเชิงนโยบายต่างประเทศระดับทวิภาคีเท่านั้น หากแต่เป็นการเคลื่อนไหวที่สั่นคลอนโครงสร้างอำนาจของระเบียบโลกยุคหลังสงครามเย็น โดยเฉพาะในบริบทที่โลกกำลังเปลี่ยนผ่านจากระบบขั้วเดียวภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา สู่ระบบพหุขั้วที่กลุ่มอำนาจใหม่พยายามสถาปนา "ระเบียบโลกทางเลือก" (alternative world order) ขึ้นมาท้าทายศูนย์กลางเดิม ในมุมมองของรัสเซียการรับรองตอลิบานคือการใช้ “การทูตกับรัฐนอกกระแส” (pariah state diplomacy) เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพลและโต้กลับการกีดกันจากโลกตะวันตก ท่าทีนี้สอดคล้องกับแนวโน้มที่รัสเซียกำลังเร่งสร้างเครือข่ายพันธมิตรใหม่กับประเทศที่ถูกคว่ำบาตรหรือไม่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก เช่น อิหร่าน ซีเรีย เกาหลีเหนือ และเวเนซุเอลา 

โดยอาศัยความไม่สมดุลของระเบียบโลกเดิมเป็นช่องทางแสวงหาความชอบธรรมใหม่ในหมู่ประเทศที่รู้สึกว่าถูกกีดกันจากระบบโลกที่มีลำดับชั้นทางการเมือง ในขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวของรัสเซียยังสะท้อนแนวคิดที่ว่าความชอบธรรมของรัฐในเวทีระหว่างประเทศไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บน “ค่านิยมสากล” เพียงอย่างเดียว หากแต่สามารถตั้งอยู่บน “ข้อเท็จจริงเชิงอำนาจ” (power-based legitimacy) กล่าวคือรัฐใดก็ตามที่สามารถควบคุมอำนาจรัฐในทางปฏิบัติได้อย่างมั่นคงย่อมมีสิทธิได้รับการยอมรับจากประเทศอื่นโดยไม่จำเป็นต้องผ่านการรับรองจากองค์กรระหว่างประเทศหรือเคารพหลักการประชาธิปไตยแบบเสรีนิยมเสมอไป ในภาพรวมการตัดสินใจของรัสเซียจึงควรตีความในกรอบของการเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างของระเบียบโลกที่ประเทศมหาอำนาจกำลังวางรากฐานของ "ระบบคู่ขนาน" (parallel system) ในเวทีระหว่างประเทศโดยใช้การยอมรับรัฐบาลที่โลกตะวันตกไม่รับรองเป็นเครื่องมือทางยุทธศาสตร์ในการส่งสารว่า "กฎของเกมเก่าไม่สามารถผูกขาดเวทีโลกได้อีกต่อไป" ในขณะที่ชาติตะวันตกยังพยายามรักษาอิทธิพลผ่านกลไกสากลเดิม รัสเซียรวมถึงจีนกลับหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างระเบียบใหม่ผ่านกลุ่มความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ เช่น BRICS, Shanghai Cooperation Organization (SCO) และ Eurasian Economic Union (EAEU) ที่เน้นอำนาจอธิปไตย ความมั่นคง และผลประโยชน์ของรัฐ มากกว่าการกำหนดมาตรฐานจากภายนอก

การที่รัสเซียประกาศรับรองรัฐบาลตอลิบานไม่เพียงเป็นเหตุการณ์เชิงสัญลักษณ์ หากแต่ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 ระยะอย่างชัดเจน: ระยะสั้นที่เน้นการเปลี่ยนแปลงในระดับยุทธศาสตร์และการทูต และระยะยาวที่อาจส่งผลต่อโครงสร้างอำนาจและบรรทัดฐานในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลกระทบระยะสั้น ได้แก่ 1) เสริมบทบาทของรัสเซียในเอเชียกลาง การรับรองตอลิบานช่วยให้รัสเซียมีอำนาจต่อรองในภูมิภาคเอเชียกลางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในมิติความมั่นคงและการต่อต้านลัทธิหัวรุนแรง ซึ่งเป็นประเด็นอ่อนไหวสำหรับรัฐชายแดนอย่างทาจิกิสถานและอุซเบกิสถาน 2) เพิ่มแรงกดดันต่อชาติตะวันตกชาติตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ตอลิบานได้รับความชอบธรรมทางการทูตจากประเทศมหาอำนาจอื่น 

ซึ่งอาจทำให้กลไกการโดดเดี่ยวที่ตะวันตกใช้มาตลอด 3 ปีสูญเสียประสิทธิภาพ 3) สร้างแนวโน้มของการยอมรับเชิงปฏิบัติ (de facto recognition) ประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะในโลกมุสลิมหรือกลุ่มที่มีผลประโยชน์ในอัฟกานิสถาน อาจเริ่มปรับนโยบายของตนให้ใกล้เคียงกับรัสเซีย ทั้งในเชิงการทูตและเศรษฐกิจ แม้จะยังไม่ถึงขั้นรับรองในทางนิติก็ตาม ในขณะที่ผลกระทบระยะยาว มีดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงของบรรทัดฐานทางการทูต ความเคลื่อนไหวของรัสเซียอาจนำไปสู่การสั่นคลอนบรรทัดฐานที่ผูกโยงความชอบธรรมกับสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และการเลือกตั้ง หากรัฐมหาอำนาจเลือกยอมรับรัฐบาลที่ “มีอำนาจจริง” มากกว่ารัฐบาลที่ “ชอบธรรมตามคุณค่า” บรรทัดฐานการรับรองในเวทีโลกก็อาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง 2) เสริมสร้างระเบียบโลกแบบพหุขั้ว การรับรองตอลิบานโดยรัสเซียตอกย้ำแนวโน้มที่ประเทศนอกขั้วตะวันตกเริ่มดำเนินนโยบายต่างประเทศที่อิงกับผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าการเดินตามแนวทางของโลกเสรีนิยม ซึ่งอาจนำไปสู่การจัดวาง “ระบบคู่ขนาน” ทางการเมือง เศรษฐกิจ และความมั่นคง 3) การลดบทบาทขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งหากกระบวนการรับรองรัฐบาลเริ่มเกิดขึ้นผ่านกลไกทวิภาคีโดยไม่ขึ้นกับการพิจารณาขององค์การสหประชาชาติ หรือองค์กรระดับภูมิภาค ก็อาจนำไปสู่การลดทอนความน่าเชื่อถือและบทบาทของกลไกพหุภาคีในระยะยาว

บทสรุป การที่รัสเซียกลายเป็นประเทศแรกที่รับรองรัฐบาลตอลิบานในปี ค.ศ. 2025 ถือเป็นการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ที่ทรงพลังในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของระเบียบโลกในยุคที่อำนาจกำลังแปรผันจากศูนย์กลางเดิมสู่การกระจายตัวอย่างซับซ้อนและท้าทาย นัยสำคัญของเหตุการณ์นี้มิได้จำกัดอยู่เพียงในระดับทวิภาคีระหว่างรัสเซียกับอัฟกานิสถานเท่านั้น หากแต่ยังเปิดเผยถึงความพยายามของรัสเซียในการสร้างระเบียบโลกทางเลือกที่ยึดโยงกับผลประโยชน์ ความมั่นคง และอำนาจอธิปไตย มากกว่าการดำเนินนโยบายตามหลักการสากลที่กำหนดโดยตะวันตก ภายใต้บริบทนี้ “การรับรอง” จึงกลายเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการจัดวางพันธมิตร ขยายอิทธิพล และตอกย้ำภาพของรัสเซียในฐานะรัฐมหาอำนาจที่ยังคงมีบทบาทเชิงรุกในภูมิภาคเอเชียกลางและโลกมุสลิม ในขณะเดียวกันปฏิกิริยาที่แตกต่างกันของนานาประเทศต่อท่าทีของรัสเซียยังสะท้อนถึงการแบ่งขั้วของโลกอย่างชัดเจน โดยฝ่ายหนึ่งยังคงยึดมั่นในค่านิยมแบบเสรีนิยม ขณะที่อีกฝ่ายเริ่มปรับนโยบายตามความจำเป็นของบริบทภูมิรัฐศาสตร์มากกว่ากรอบคุณค่าดั้งเดิม แนวโน้มนี้อาจนำไปสู่การจัดรูปแบบใหม่ของบรรทัดฐานสากลในอนาคต ซึ่งไม่จำเป็นต้องอิงกับฉันทามติของมหาอำนาจตะวันตกเสมอไป กล่าวโดยสรุปการรับรองรัฐบาลตอลิบานโดยรัสเซียไม่ได้เป็นเพียงการยอมรับรัฐบาลหนึ่งเท่านั้น แต่คือสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนผ่านในระดับโครงสร้างของอำนาจโลก ที่กำลังเคลื่อนจากความเป็นเอกภาพ สู่ภาวะพหุขั้วที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน การต่อรอง และการจัดตำแหน่งทางการเมืองใหม่อย่างต่อเนื่อง

WORLD

‘ไซปรัส’ กังวลการเพิ่มขึ้นของ ‘ชาวอิสราเอล’ บนเกาะแห่งนี้

(6 ก.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Jaroensook Limbanchongkit Pone’ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า …

ไซปรัสกังวลการเพิ่มขึ้นของชาวอิสราเอลบนเกาะแห่งนี้

พรรคการเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของไซปรัสเตือนว่าชาวอิสราเอลจำนวนมากกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ใกล้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่อ่อนไหว

พวกเขาเกรงว่านี่อาจเป็นต้นแบบของ 'อิสราเอล 2.0'

‘อีลอน มัสก์’ เตรียมจัดตั้ง!! พรรคการเมืองใหม่ หลังมีปัญหาแตกหัก!! ‘โดนัลด์ ทรัมป์’

(6 ก.ค. 68) ‘อีลอน มัสก์’ โพสต์ข้อความผ่านบัญชีเอ็กซ์ว่าจัดตั้งพรรคอเมริกา (America Party) โดยระบุว่าพรรคนี้เป็นการท้าทายระบบสองพรรคของสหรัฐซึ่งมีพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครต

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าพรรคอเมริกาจดทะเบียนในสหรัฐอย่างเป็นทางการแล้วหรือไม่ และเพราะนายมัสก์เกิดที่แอฟริกาใต้จึงไม่มีสิทธิ์ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ รวมถึงยังไม่มีการเปิดเผยว่าใครจะเป็นหัวหน้าพรรค

ทั้งนี้ นายมัสก์เคยเสนอแนวคิดที่จะจัดตั้งพรรคการเมืองครั้งแรกในช่วงที่มีปากเสียงกับนายทรัมป์ซึ่งทำให้นายมัสก์ต้องออกจากตำแหน่งในรัฐบาลและเกิดการทะเลาะอย่างรุนแรง ในช่วงเวลาดังกล่าวนายมัสก์โพสต์สำรวจความคิดเห็นบนเอ็กซ์โดยถามผู้ใช้งานว่าควรมีพรรคการเมืองใหม่ในสหรัฐหรือไม่

และเมื่ออ้างอิงผลสำรวจนี้เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ก.ค. นายมัสก์โพสต์ว่า “ที่อัตราส่วน 2 ต่อ 1 พวกคุณต้องการพรรคการเมืองใหม่และคุณจะได้มัน!” ก่อนเสริมว่า “เมื่อเป็นเรื่องของการทำให้ประเทศล้มละลายด้วยการทุจริต เราอาศัยอยู่ในระบบพรรคการเมืองเดียว ไม่ใช่ประชาธิปไตย วันนี้พรรคการเมืองอเมริกาก่อตั้งขึ้นเพื่อคืนอิสรภาพให้กับคุณ”

รายงานระบุด้วยว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งกลางของสหรัฐยังไม่ได้เผยแพร่เอกสารที่ระบุว่าพรรคการเมืองนี้ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ และแม้ว่าจะมีคนดังนอกระบบสองพรรคดั้งเดิมเข้ามาในแวดวงการเมืองสหรัฐ แต่เป็นเรื่องยากที่จะได้รับความนิยมอย่างแข็งแกร่งในระดับที่จะทำให้สองพรรคใหญ่มีความกังวลได้

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปีที่แล้วนายมัสก์เป็นผู้สนับสนุนหลักของประธานาธิบดีทรัมป์ โดยทั้งคู่มีความสนิทสนมอย่างมากซึ่งเห็นได้จากกรณีที่นายมัสก์เต้นรำเคียงข้างนายทรัมป์ในการชุมนุมหาเสียง รวมถึงพาลูกชายวัย 4 ขวบไปพบนายทรัมป์ที่ห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาว

นอกจากนี้นายมัสก์ยังเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินคนสำคัญ ทุ่มเงินสูงถึง 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 8,000 ล้านบาทเพื่อช่วยให้นายทรัมป์ได้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง หลังการเลือกตั้งนายมัสก์ถูกแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนกที่เรียกว่า กระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล มีหน้าที่ในการระบุการตัดงบประมาณที่สำคัญของรัฐบาลกลาง

ส่วนความขัดแย้งกับนายทรัมป์เริ่มขึ้นเมื่อนายมัสก์ ลาออกจากตำแหน่งในรัฐบาลเมื่อเดือนพ.ค. พร้อมวิพากษ์วิจารณ์แผนภาษีและการใช้จ่ายของนายทรัมป์อย่างเปิดเผย ถึงอย่างนั้นกฎหมายที่นายทรัมป์เรียกว่า “big, beautiful bill” หรือร่างกฎหมายที่ยิ่งใหญ่และสวยงามได้รับการอนุมัติอย่างหวุดหวิดโดยสมาชิกสภาและนายทรัมป์เพิ่งลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา

‘หนุ่มลาว’ ฟาดเดือด!! ตอกหน้า ‘สาวเขมร ปากดี’ ชี้!! ให้ย้อนกลับไปวันแรก ที่เข้ามาของานคนไทยทำ

(5 ก.ค. 68) เพจเฟซบุ๊ก ‘Sarina Hung’ ได้โพสต์คลิป โดยมีใจความว่า ...

‘สาวแรงงานเขมร’ ได้กล่าวกับ ‘หนุ่มแรงงานจากประเทศลาว’ ว่า  

“ทุกวันนี้คนต่างด้าวมาอยู่กินฟรีใช่ไหม ขอข้าวคนไทยกินขอบ้านคนไทยอยู่ใช่ไหม ห้องก็เช่าข้าวก็ซื้อกินเอง ไม่ได้มาอยู่ฟรีกินฟรีเลย แล้วจะให้สำนึกบุญคุณอะไร”

ซึ่งทางด้านหนุ่มลาว ก็ได้ฟาดเดือด!! ตอกหน้าสาวเขมรปากดี ที่ไม่รู้จักสำนึกบุญคุณ กลับไป ว่า

“ต้องย้อนกลับไปวันแรกที่คุณ เข้าประเทศไทยมาคุณพูดภาษาไทยไม่ได้ มีเสื้อผ้ามาแค่ชุดเดียว บางคนใบอนุญาตทำงานก็ไม่มี ลักลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ มาของานคนไทยทำ มายกมือไหว้ มายกมือกราบ”

“ถ้าถามว่าบุญคุณของคนไทยคืออะไร ก็คือบุญคุณ ที่คุณไปฉีดยาไปรักษาพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลของคนไทยเขา บางคนเข้ามาคลอดลูกอยู่ประเทศไทย เอาลูกไปเข้าโรงเรียนไทย บางคนก็เรียนฟรี นี่แหละคือบุญคุณ”

© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top