เปิด 17 ตัวแปร เปลี่ยนไทยให้ยิ่งใหญ่ ก้าวสู่ศูนย์กลาง EV แห่งอาเซียน

ประเทศไทย 🇹🇭 จะสามารถเป็นศูนย์กลาง Hub ของ EV ได้อย่างแน่นอน เพราะว่า...

1. ปัจจุบันโรงงานประกอบและผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมใหญ่ที่สุดในอาเซียนนั้น อยู่ที่ไทยเป็นของบริษัท EA 

2. บริษัท BYD, Mercedes Benz, BMW, MG, GWM, Volt ก็เลือกประเทศไทย เป็นฐานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยตั้งให้ประเทศไทยเป็น Hub ผลิตรถ EV ในอาเซียน

3. BMW, Benz , Nissan, BYD, EVLOMO ก็ตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ EV ในประเทศไทย ตั้งให้เป็นฐานผลิตในภูมิภาค

4. Foxconn ร่วมมือกับ ปตท. ลงทุนประมาณ 72,000 ล้านบาท จัดตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าครบวงจร ชื่อ HORIZON PLUS พร้อมศูนย์วิจัย R&D ดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลาง EV อาเซียน เซ็นสัญญากันไปเรียบร้อยแล้ว

5. ล่าสุด BYD ซึ่งเป็นบริษัทรถยนต์ EV ยอดขายอันดับ 1 ของจีน ได้ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทสยามกลการของไทย ซื้อที่ดิน จำนวน 600 ไร่ เพื่อตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BYD และโรงงานผลิตแบตเตอรี่ มูลค่าการลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาทเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตรถยนต์พวงมาลัยขวา เพื่อจำหน่ายในประเทศไทยและส่งออกไปยังภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงออสเตรเลีย และ อังกฤษ ด้วยกำลังการผลิตเบื้องต้นที่ 150,000 คัน ต่อปี (ซึ่งไทย มีข้อตกลง FTA กับประเทศเหล่านี่)

6. บริษัท อีวี ไพรมัส จากจีน มีแผนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยที่นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ฉะเชิงเทรา มูลค่าการลงทุนกว่า 400 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มขึ้นไลน์ผลิตได้ในช่วงปลายปี 2566 โดยจะผลิตเพื่อขายรถยนต์ไฟฟ้าทั้งใน และต่างประเทศ ตั้งเป้าการผลิตอยู่ที่ 4,000 คันต่อปี

7. 'บ้านปู เน็กซ์' ร่วมกับ 'เชิดชัยฯ' และ 'ดูราเพาเวอร์' ผู้ผลิตแบตสัญชาติสิงคโปร์ ร่วมกันตั้งโรงงานแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในประเทศไทยที่ โคราช ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ภายในปี 2569 บุกตลาดในเอเชียแปซิฟิก

8. บริษัท EVLOMO บริษัทชั้นนำด้านยานยนต์ไฟฟ้าจากสหรัฐอเมริกา กำลังสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ขนาด 8 กิโลวัตต์ ซึ่งจะมีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน สร้างในพื้นที่ EEC ด้วยเงินลงทุน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังจับมือกับ OR ในการติดตั้งตู้ EV Super Charge 150kW อีกว่า 100 สถานีในประเทศไทย

9. Ford วางแผนดันไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า EV ในภูมิภาคเอเชีย ทั้ง รุ่น เรนเจอร์ และ เอเวอร์เรสต์ 

10. ปัจจุบันทางรัฐบาล ได้ออกนโยบาย ให้ ขสมก. ร่วมกับ เอกชนที่ทำการวิ่งรถ ให้ใช้รถเมล์ EV วิ่งทดแทนรถเก่า ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นหลายคัน ในหลาย ๆ เส้นทางแล้ว รวมถึง รถบัสของ บขส. ด้วย

11. ปัจจุบันก็เริ่มมีการ ใช้ EV Boat เรือไฟฟ้าสาธารณะแล้ว วิ่งในหลาย ๆ เส้นทาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา คลองแสนแสบ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น

12. บริษัทเอกชน ไม่ว่าจะเป็น PTTOR, EA หรือพวก การไฟฟ้า ก็เร่งทำการขยายจำนวน แท่นชาร์ตรถยนต์ ไฟฟ้าทั่วประเทศ เป็นต้น

13. ตอนนี้มีบริษัทสัญชาติไทยหลายบริษัท ที่เริ่มผลิตรถ EV ในประเทศไทย เช่น EA, Mine, NEX , Sakun C  

14. ไทยเรามีบริษัทผลิตแบตเตอรี่สัญชาติไทยหลายบริษัท เช่น GPSC , BANPU , BPP , BCPG ,EA เป็นต้น

15. การสนับสนุนธุรกิจแบตเตอรี่ของภาครัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ขยายนโยบายลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่ จาก 2 ปี เป็น 5 ปี และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ซึ่งหากตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้ 50% เพิ่มอีก 5 ปี ทำให้บริษัทที่อยู่ในธุรกิจแบตเตอรี่มีความต้องการขยายกำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้น

16. ข้อมูลปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้อนุมัติโครงการยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว 26 โครงการเป็นของ 17 บริษัท คิดเป็นยอดกำลังการผลิตรถไฟฟ้า 830,000 คัน และคาดการณ์ว่าภายในต้นปี 2566 ประเทศไทยจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1 ล้านคัน และภายในปี 2573 รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะมีสัดส่วน 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของประเทศไทย หรือ 700,000 คันต่อปี

17. ภาครัฐได้ออกนโยบายส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เช่น การอุดหนุนราคา การลดภาษีนำเข้า และลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% นโยบายเรื่องภาษีรถ EV ของรัฐ ยิ่งทำให้ยอดขายรถ EV สูงขึ้นมาก ดังพิสูจน์ได้จากยอดขายในงาน Motor Show ล่าสุด เติบโตสูงขึ้นมาก การกระตุ้นนี้ ทำให้เกิดยอดการใช้รถ EV สูงมากขึ้น มันก็จะบังคับให้ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรม EV เติบโตขึ้นตามไปด้วย เช่น แท่นชาร์จรถ , โรงงานผลิตแบตเตอรี่ , ศูนย์ซ่อม , ช่างเทคนิคที่มีความรู้ด้าน EV ทุกอย่างจะเกื้อหนุนกัน ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งแวดล้อมแบบนี้ ยังไม่สามารถหาได้จากทั้งใน เวียดนาม , อินโดนีเซีย , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของเรา แน่นอนครับ

เครดิต : คุณ YOSAPORN PAOCHAROEN

#AdminPocky/Logistics&Development Thailand