Friday, 26 April 2024
LITE

10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ครบรอบ 69 ปี วันคล้ายวันสถาปนา ‘กองอาสารักษาดินแดน’

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันอาสารักษาดินแดน’

‘กองอาสารักษาดินแดน’ มีฐานะเป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 นับเป็นเวลายาวนานถึง 69 ปี มาแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีกำลังสำรองในการช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ ทั้งในยามปกติ และในยามสงคราม โดยการรับสมัครจากราษฎรชายหญิงที่สมัครใจอาสาเข้ามาเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ภายใต้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยแบ่งส่วนราชการกองอาสารักษาดินแดนออกเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนกลาง มีกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (บก.อส.) รับผิดชอบการบริหารงานในส่วนกลาง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้บัญชาการ

ส่วนภูมิภาค มีกองบังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด (บก.อส.จ.) รับผิดชอบการบริหารงานในส่วนภูมิภาค โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้บังคับการกองอาสารักษาดินแดนจังหวัด และกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ (กองร้อย อส.อ.) โดยนายอำเภอเป็นผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอ เป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา  

ปัจจุบันกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีจำนวนสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) สั่งใช้ทั่วประเทศทั้งสิ้น 25,925 นาย ประจำทั้ง 971 กองร้อยทั่วประเทศ มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ กองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 ดังนี้

(๑) บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติและการกระทําของข้าศึก

(๒) ทําหน้าที่ตํารวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจ

รำลึก 9 กุมภา สุขสันต์วันเกิดบนสรวงสวรรค์ 'กนกพงศ์ สงสมพันธุ์' นักเขียนหนุ่มแห่งกลุ่มนาคร ในวัยครบ 57 ปีเต็ม

ในหมู่ชาวตะวันตก (ฝรั่ง) ยังคงธรรมเนียมอวยพรวันคลัายวันเกิดแก่ผู้วายชนม์ไปแล้วว่า “Happy Heavenly Birthday” ประมาณ “สุขสันต์วันเกิดบนสรวงสวรรค์” อันคล้ายกับคติบ้านเราเกี่ยวแก่การนับ 'ชาตกาล' โดยครบกี่ปีก็ว่าต่อไป เพื่อยกย่องคุณงามความดีของผู้นั้นเสมือนยังคงชีวิตหลังความตาย

ว่ากระนั้นแล้ว กระผมก็เห็นดีงามในวันที่ '9 กุมภาพันธ์' ที่ต้องขอกล่าว “Happy Heavenly Birthday” แก่นักเขียนหนุ่มตลอดกาล 'กนกพงศ์ สงสมพันธุ์' โดยหากเขายังดำเนินชีวิตต่อจนปัจจุบัน ก็จะมีอายุ 57 ปีเต็ม

ถนนงานเขียนของกนกพงศ์เริ่มจากการสนใจ 'อ่าน' ตั้งแต่วัยเยาว์ เพราะมีบิดารักการอ่านและท่านยังบอกรับหนังสือทุกประเภทเข้าบ้าน จนเมื่อเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษา กนกพงศ์มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดกับนักเขียนชาวใต้นาม 'กลุ่มนาคร' จนจุดประกายงานเขียนเขาขึ้น กระทั่งมีผลงานบทกวีชิ้นแรก 'ความจริงที่เป็นไป' ตีพิมพ์ใน 'สยามใหม่' ขณะศึกษาเพียงชั้นมัธยมต้น (พ.ศ. 2523) เท่านั้น

จนเมื่อลาออกจากรั้วมหาวิทยาลัย กนกพงศ์จึงหันหน้าสู่งานประพันธ์อย่างเต็มเวลา โดยเริ่มงานด้านสำนักพิมพ์ช่วงสั้น ๆ แล้วจึงเดินทางบ่ายหน้าสู่เทือกเขาหลวง จ.นครศรีธรรมราช ถิ่นนักเขียนเปี่ยมพลังในกลุ่มนาคร (ซึ่งวิวัฒน์ต่อเป็น - สำนักพิมพ์นาคร) เขาท่องเที่ยวเดินทางยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วเขตปักษ์ใต้ เพื่อศึกษาและทำงานเขียนหนังสืออย่างเอาจริงเอาจัง จนมีงานตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่องกว่าสามสิบปี

โดยนับต่อจากเรื่องสั้นแรก 'ดุจตะวันอันเจิดจ้า' ใน 'มติชนสุดสัปดาห์' แล้ว ก็มีเรื่องสั้นทยอยรวมชุดออกมาถึง 7 ชุด จาก พ.ศ. 2534 - 2549 อันไอ้แก่ สะพานขาด (ชุดที่ 1) คนใบเลี้ยงเดี่ยว (2) แผ่นดินอื่น (3) โลกหมุนรอบตัวเอง (4) นิทานประเทศ (5) รอบบ้านทั้งสี่ทิศ (6) คนตัวเล็ก (7) และ กวีตาย (เรื่องสั้นเล่มเล็ก) คั่นก่อนปิดท้าย

พี่ลอง 'จำลอง ฝั่งชลจิตร' เจ้าของนามปากกา 'ลอง เรื่องสั้น' ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ บนฐานะพี่ใหญ่ของนักเขียนเมืองนครฯ เคยยกย่องนักเขียนรุ่นน้องนาม 'กนกพงศ์ สงสมพันธุ์' ในวันที่ปราศจากเขาไว้ว่า "...นักเขียนตัวจริง ที่มีความจริงจัง ทุ่มเทชีวิตในการทำงานเขียน รวมถึงมีความพิถีพิถันต่อการทำงานอย่างสูง พยายามพัฒนาหามุมมอง และวิธีการเล่าเรื่องแบบใหม่อยู่เสมอ เพื่อให้งานออกมาอยู่ในระดับที่เยี่ยมยอด"

นอกจากรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2539 ที่เขาได้รับจากผลงานรวมเรื่องสั้น 'แผ่นดินอื่น' รวมถึงรางวัลช่อการะเกดอีกสองครั้งจากเรื่องสั้น 'สะพานขาด' และ 'โลกใบเล็กของซัลมาน' แล้ว กนกพงศ์ยังมีความสามารถทางกวีนิพนธ์อันเยี่ยมยอดไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งงานรวมเล่ม ป่าน้ำค้าง (2532) ในหุบเขา (2549) หมื่นปีกนก (2552) กวีนิพนธ์ทั้งสามเล่มคงยืนยันได้ดี

'ชีวี ชีวา' หรือ 'จตุพล บุญพรัด' บรรณาธิการแพรวสำนักพิมพ์ เพื่อนรักอีกคนผู้เคยร่วมหัวจมท้ายมาด้วยกันจาก 'กลุ่มนกสีเหลือง' ก็เคยกล่าวถึงกนกพงศ์ด้วยความคำนึงและชื่นชม “...กนกพงศ์มีอิทธิพลกับนักเขียนรุ่นน้อง และคนรุ่นหลัง ในการใช้ชีวิตเพื่อเขียนหนังสือ และผลิตงานที่ดี ๆ ออกมา เขาพยายามเป็นแกนหลักและเป็นตัวประสานงานอยู่เสมอในกิจกรรมพวกนี้"

11 ต.ค.2564 'ไทย' การประกาศชัยชนะเหนือโควิด พร้อมรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว

ถ้าปักหมุดที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563 คือจุดเริ่มต้นเผชิญหน้ากับโควิด-19 ในประเทศไทย วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564 จึงอาจถือเป็นเส้นชัยสำคัญต่อการประกาศชัยชนะต่อเชื้อโรคระบาดที่ปกคลุมทั่วราชอาณาจักรผืนนี้ก็ได้

"...หากไม่นับช่วงศึกสงคราม นี่ถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย จากการแพร่ระบาดของโควิด-19" คือบทขึ้นต้นของแถลงการณ์นายกรัฐมนตรี - เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว ณ ไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา

เพราะเหตุใด? ผู้นำรัฐบาลจึงเลือกทางเสี่ยงรับนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประตูเมือง ทั้งที่ยังมีโอกาสสูงที่พวกเขาอาจมาพร้อมเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ จนเกิดแพร่ระบาดใหญ่บนแผ่นดินไทยอีกระลอก

ด้วยข้อมูลท่องเที่ยวของ 'Global Travel' ซึ่งระบุว่าปี 2019 ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 3.06 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 20% ของมูลค่าเศรษฐกิจทั้งประเทศ นั่นคือวิสัชนาอันชัดเจน

จริงอยู่ที่ไทยเราเป็นประเทศผลิตและส่งออกอาหารแหล่งสำคัญของโลก ที่ถึงแม้ปิดตายประเทศ ปิดการส่งออกทุกด่านชายแดนและน่านฟ้า เราคนไทยก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ร่วมกันได้อีกหลายปี หรืออาจตลอดกาลนาน แต่เราก็จำเป็นต้องพึ่งพิงเม็ดเงินจากต่างแดนเข้ามาพัฒนาต่อยอดในรูปของการท่องเที่ยวมานานเนิ่นเฉกเช่นเดียวกัน

ถึงเป็นมาตการ 'กินบุญเก่า' อันมีบรรพบุรุษรุ่นก่อนสร้างสมไว้ให้จนเกิด 'อัตลักษณ์' ซึ่งต่อยอดสู่ 'ซอฟท์ พาวเวอร์' (Soft Power) ผ่านการโฆษณาขายอย่างมีกุศโลบายที่แบยบยลอีกทีหนึ่ง

ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไทยเคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางหมุนเวียนถึง 40 ล้านคนต่อปี จากหลากหลายสัญชาติ โดยแต่ละสัญชาติล้วนมีพฤติกรรมใช้จ่ายต่างกันไป นักท่องเที่ยวชาวจีนผู้มักมาเป็นกลุ่มใหญ่ (ทัวริ่งกรุ๊ป) พกเงินช็อปปิ้งและยอดซื้อของฝากกลับบ้านสูงกว่าชาติอื่น ๆ ขณะชาวยุโรปต้องการมาพักผ่อนหนีหนาว กลับชอบเดินทางด้วยตนเอง หรือเพียงกลุ่มเล็ก ๆ แต่กลับพักค้างอ้างแรมที่ใดที่หนึ่งเป็นระยะเวลานาน พร้อมกิน ดื่ม ท่องเที่ยวยามค่ำคืนชนิดไม่อั้นความสำราญ

9 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็น ‘วันพิซซ่า’ ร่วมฉลองอาหารอิตาลีที่โดนใจคนทั่วโลก

วันพิซซ่า (Pizza) ตรงกับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ร่วมเฉลิมฉลองพิซซ่า อาหารอิตาลีชื่อดังที่คนทั่วโลกต่างหลงใหล ซึ่งมีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอบ

รู้หรือไม่ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันพิซซ่า (Pizza) วันแห่งการร่วมเฉลิมฉลองพิซซ่า อาหารอิตาลีชื่อดังที่คนทั่วโลกต่างหลงใหล

พิซซ่า (Pizza) เป็นอาหารอิตาลีและอาหารจานด่วนประเภทหนึ่งที่ชาวอิตาลีเป็นผู้คิดค้น มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอบ โดยในประเทศอิตาลีจะมีการเสิร์ฟพิซซ่าในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น การทานในภัตตาคาร ซึ่งจะเสิร์ฟโดยไม่หั่นและจะรับประทานโดยใช้มีดและส้อม ในขณะที่ชาวอิตาเลียนโดยทั่วไป เมื่อรับประทานพิซซ่าในโอกาสที่ไม่เป็นทางการ เช่น ทานกันเองที่บ้าน พิซซ่าจะถูกหั่นให้เป็นชิ้นพอดีคำและนิยมทานโดยใช้มือ

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ พบว่า พิซซ่า ได้รับการบันทึกครั้งแรกในช่วงศตวรรษที่ 10 ในบันทึกเอกสารภาษาละติน ณ เมืองกาเอตา (Gaeta) ทางตอนใต้ของอิตาลีในแคว้นลัตซีโอ บนพรมแดนติดกับกัมปาเนีย โดยพิซซ่าสมัยใหม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นในเนเปิลส์ และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา

โศกนาฏกรรมตุรเคีย-ซีเรีย

สะเทือนฟ้ามหาวิปโยค
ความเศร้าโศกบรรเลงเพลงงานศพ
รายเรี่ยเสียชีวิตทุกทิศทบ   
จุดจบกลบกลายสู่วายชนม์

อาคารโค่นทรุดทับลงกับพื้น   
หยิบยื่นความตายในห้วงหน
ผู้สูญหายในท่ามความมืดมน   
แขวนบนเส้นแดงแห่งความตาย

ส่องมาตรการช่วยเหลือยามโควิด19 ระบาด คำสัญญาว่า “เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” จากบิ๊กตู่

ด้วยคำยืนยันจากปากของนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ 'ประยุทธ์ จันทร์โอชา' ว่า "เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" ซึ่งคือคำสัญญาอย่างดีที่มีต่อประชาชนชาวไทย โดยเห็นเป็นรูปธรรมที่สุดผ่านนโยบายต่าง ๆ ท่ามกลางวิกฤต ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยไม่เคยทิ้งใครไว้ข้างหลังจริง ๆ อย่างที่ลั่นวาจา

โดยอาจสรุปย่อ ๆ ได้ดังนี้ มาตรการดูแลค่าเสี่ยงภัยให้บุคลากรทางการแพทย์ 20,000 เยียวยาผู้ประกอบการต่าง ๆ ด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการดูแลเยียวยาอาชีพอิสระที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม เช่น แรงงานนอกระบบประกันสังคม 16 ล้านคน ชดเชยรายได้เกษตรกร 10 ล้านคน เยียวยากลุ่มเปราะบาง 6.8 ล้านคน รวมถึงกลุ่มผู้ไม่ได้รับการเยียวยาใด ๆ อีก 1.16 ล้านคน

เฉพาะยอดรวมงบประมาณการดูแลและเยียวยา (รอบสอง) ก็ได้ใช้จ่ายเพื่อ 'ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง' ไปถึง 455,956 ล้านบาท ช่วยเหลือแรงงานคนไทยได้เกือบ 34 ล้านคน หรือมากกว่า 50% ของประชากรทั้งประเทศ พร้อมกับปล่อยสินเชื่อฉุกเฉิน สินเชื่อพิเศษ สินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องฯ รวมถึงการยืดชำระ ลดหย่อน ยกเว้นภาษีแทบทุกรูปแบบ คิดเป็นรายได้ที่รัฐต้องแบกรับเกินกว่าสามพันล้านบาท

ไทยเราบอบช้ำกับการระบาดรอบสองอย่างแสนสาหัสที่สุด

กล่าวโดยย่อ คือ รัฐบาลใช้เงินจำนวนมหาศาลมากกว่า 2.8 ล้านล้านบาท ในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อดูแลความเดือดร้อนไม่ให้ตกอยู่กับประชาชนจนมากเกินไปนั่นเอง

หากพวกอยู่ไม่สุขอยากทราบว่างบประมาณเท่านี้ซื้อเรือดำน้ำได้กี่ลำ? ก็อยากให้ลองเอาตัวเลข 11,250 ล้านบาทหารดู โดยที่ไทยยังติดอยู่ใน 4 ประเทศอาเซียนที่ยัง 'ไม่มีเรือดำน้ำ' เหมือนกับฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว แต่ยังรักษาแสนยานุภาพทางทหาร เป็นลำดับสามของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ‘จ่าคลั่ง’ ก่อเหตุกราดยิงที่โคราช หนึ่งในโศกนาฏกรรม ครั้งเลวร้ายที่สุดของไทย

ครบรอบ 3 ปี เหตุการณ์ จ่าคลั่ง ก่อเหตุกราดยิงผู้บริสุทธิ์ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก

เรียกว่ายังคงจำฝังใจคนไทย สำหรับเหตุการณ์ กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 เป็นเหตุกราดยิงในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กรณีจ่าสิบเอก จักรพันธ์ ถมมา ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชาและญาติถึงแก่ความตาย แล้วหลบหนีเข้ามาในตัวเมือง กราดยิงผู้คนตามรายทาง ก่อนเข้าไปซ่อนตัวหลบอยู่ในห้างสรรพสินค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จับบุคคลในห้างเป็นตัวประกัน 

สำหรับเหตุการณ์ในวันนั้นเริ่มขึ้น เวลาประมาณ 15.30 น. 8 กุมภาพันธ์ 2563 จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ใช้ปืนยิงผู้บังคับบัญชา คือ พันเอก อนันต์ฐโรจน์ กระแสร์ อายุ 48 ปี ผู้บังคับกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 และนางอนงค์ มิตรจันทร์ อายุ 65 ปี แม่ยายของพันเอก อนันต์ฐโรจน์ ถึงแก่ความตายที่บ้านพักในตำบลหนองจะบก อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ขณะที่นายหน้าวิ่งหนีไป จึงถูกไล่ยิงเข้าข้างหลังแต่ไม่เสียชีวิต

จากนั้น จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ไปชิงอาวุธสงครามออกมาจากคลังอาวุธกองพันสรรพาวุธกระสุนที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ ตำบลไชยมงคล โดยยิงทหารเวรกองรักษาการณ์ และทหารดูแลคลังอาวุธ มีพลทหารบาดเจ็บ 1 นาย เสียชีวิตอีก 1 นาย ต่อมา จ่าสิบเอก จักรพันธ์ ขับรถฮัมวีหลบหนีออกไปทางด้านหลังค่าย มุ่งไปทางวัดป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล เพราะทราบว่าภรรยาของผู้บังคับบัญชาออกไปทำบุญที่วัดป่าศรัทธารวม ได้กราดยิงผู้คนตามรายทางถึงแก่ความตายรวม 9 คน คนร้ายกราดยิงกระสุนนับร้อยนัด โดยยิงคนในรถเสียชีวิตและบาดเจ็บ ยังยิงเด็กนักเรียนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และยังเดินไปยิงซ้ำอีก จากนั้นมีตำรวจมา 2 นาย ไม่ทันลงจากรถก็ถูกยิงจนพรุนเสียชีวิต แต่ปรากฏว่า ได้ทราบว่า ภรรยาของผู้บังคับบัญชาไปกินข้าวที่เทอร์มินอล 21 โคราช

ต่างชาติยอมรับ ผ่าโมเดลเศรษฐกิจประเทศไทยในช่วงโควิด แบบอย่างความสำเร็จ ที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก

'ยูเอ็น' ยก 'โมเดลความสำเร็จของประเทศไทย' เป็นแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จในการสร้างชาติ และมีการนำรายละเอียดไปเผยแพร่ต่อประชาคมโลก

ประวัติศาสตร์การส่งออกไทย ปี 65 กันสักเล็กน้อย ชาติไทยเรามีตัวเลขบวก 5.5% คิดเป็นมูลค่าก็เฉียด 10 ล้านล้านบาท

สำนักข่าว 'Bloomberg' ประกาศให้ไทยอันดับ 1 ประเทศแนวโน้มจะเป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ที่มีภาพรวมทางเศรษฐกิจดีที่สุดในปี 2564

ฝ่าวิกฤตสร้างเงินเข้าประเทศ ตั้งเป้าส่งออก 2566 บวก 1 - 2% เผยผ่านค้าชายแดนปี 65 ร่วม 1,029,837 ล้านบาท!

*** ที่ยกมาข้างต้น คือ สรุปข่าวจากสื่อชั้นนำทั่วโลกที่กล่าวถึงไทย

ถึงวันนี้เป็นที่ยอมรับกันว่า ปัจจัยโดดเด่นของไทยยังคงเป็น 'เศรษฐกิจมหภาคที่มีเสถียรภาพ' รวมถึงภาคการเงินอันเข้มแข็ง และสวัสดิการด้านสุขภาพที่ดี ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศสามารถเข้าถึง นั่นคือ 3 เหตุผลหลัก ซึ่งทำให้บ้านเรายังคงมีกำลังการผลิตสูงตลอดมา ทั้งภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยสามารถอธิบายง่ายๆ ว่า "แม้ขณะที่ผู้คนหลบอยู่ในบ้าน ไร้ซึ่งการพบปะสังสรรค์ทั้งระดับท้องถิ่นและนานาชาติ แต่การบริโภคกลับไม่เคยลดลง" เพราะฉะนั้นการส่งออก โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม จึงเติบโตฉุดภาพรวมพลิกฟื้นยืนขึ้นอย่างสง่างาม

องค์การการค้าโลก (WTO) ทำรายงาน 'Trade Policy Review' สำหรับไทยบนฐานะสมาชิกฯ โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุ "...ประเทศไทยช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2558 - 2562) มีอัตราขยายตัวเศรษฐกิจเฉลี่ยปีละ 3.4% ปัจจัยหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก และยังมีโครงสร้างของภาคบริการ ซึ่งรวมถึงการก่อสร้าง ในสัดส่วนถึง 61% ต่อจีดีพี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ 58%

และว่า “...ฐานะทางการคลังของไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงถึง 224.3 พันล้านดอลลาร์ เมื่อสิ้นปี 2562 ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินบาทแข็งค่า และกดดันต่อขีดแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ แม้เงินบาทอ่อนค่าลงช่วงต้นปี จากการระบาดโควิดก็ตาม" พร้อมยังยกย่องรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า “...ต้องขอบคุณรัฐบาลไทยที่เคร่งครัดต่อสุขภาพทางการคลังตลอดเวลาที่ผ่านมา มีการออกกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางการคลัง หรือ Fiscal Responsibility Act (FRA) ซึ่งเข้มงวดเรื่องเป้าหมายหนี้ การใช้งบประมาณ และการลงทุนต่างๆ”

หันมาดูสถานะการส่งออกเดือนในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ที่หมวดสินค้าเกษตร นำเม็ดเงินเข้าประเทศถึง 72,992 ล้านบาท โดยภาพรวมของสินค้าขยายตัวดี ได้แก่ ไก่สด (ทั้งแช่เย็น - แช่แข็ง) สับปะรดสด ทุเรียนสด (เฉพาะทุเรียนขายได้ 8,016 ล้านบาท แม้ผลผลิตจะน้อยกว่าปี 2564 เพราะฝนตกชุก)

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในหลวง ร.9 เสด็จฯ ทรงเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่แห่งแรกของไทย

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จทำพิธีเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ เขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่ทำประโยชน์ให้พื้นที่เกษตรภาคกลาง

วันนี้เมื่อ 66 ปีมาแล้ว เป็นวันสำคัญเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการทำพิธีเปิด ‘เขื่อนเจ้าพระยา’ ซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย

กล่าวถึงเขื่อนเจ้าพระยา เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2500 โดยเป็นเขื่อนทดน้ำ ที่ไม่ใช่สำหรับกักเก็บน้ำ สร้างขวางแม่น้ำเจ้าพระยา ทำหน้าที่ยกระดับน้ำให้สูงขึ้น +16.50 เมตร จากระดับน้ำทะเล เพื่อส่งน้ำเข้าไปยังลำคลอง ในพื้นที่การเกษตร ทั้งฝั่งซ้ายและขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา

ฝนหลวงพระราชทาน ‘ดับไฟ-ดับฝุ่น-ดับทุกข์’ ‘คิด-ทดลอง’ ซ้ำๆ ก่อนคนไทยได้รับประโยชน์

ท่ามกลางละอองฝุ่นควันมลพิษ PM 2.5 ปกคลุมจนคล้ายกับอาเพศ 'หมอกมุงเมือง' สะสมตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2566 ไล่เรื่อยตั้งแต่ภาคเหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลางตอนบน และวิกฤติสุดหยุด ณ กรุงเทพมหานคร โดยรอยต่อปลายเดือนมกราคมขึ้นกุมภาพันธ์ พบว่าภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศเกินค่ามาตรฐาน จนน่าเป็นห่วงปนวิตกต่อสุขภาพทางเดินหายใจประชาชนอย่างยิ่ง

รอคอยกันไปมาจนถึงเวลา 'นักรบฝนหลวง' ต้องออกมากอบกู้สถานการณ์

นอกเหนือจาก 'ฝนหลวง' จะช่วยป้องกัน แก้ไขปัญหาภัยแล้ง ช่วยเติมน้ำให้เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ สร้างความชุ่มชื้น ลดไฟป่า แถมยับยั้งการเกิดลูกเห็บได้ผลแล้ว 'ฝนหลวง' ยังช่วยสลายหมอกควัน ลดมลพิษทั้งทางน้ำและในอากาศอีกด้วย

ปริมาณฝนซึ่งตกทั่วกรุงเทพฯ และรอบเขตปริมณฑลช่วงนี้ (5 - 9 กุมภาพันธ์) มีที่มาจากการขึ้นทำฝนหลวงบริเวณอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้น้ำฝนตกใกล้พื้นที่เมืองหลวงมากที่สุด ด้วยไม่สามารถปฏิบัติการทำฝนหลวงในกรุงเทพฯ ได้ เพราะติดข้อจำกัดทางการบิน

ต่อมา 'กรมฝนหลวง' จะดำเนินการ 'ฝนเร่งด่วน' ต่อเนื่องติดต่อถึงห้าวัน โดยตั้งหน่วยเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ขึ้นเฉพาะ เน้นพื้นที่ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคตะวันออก, ภาคกลาง ซึ่งพบว่ามีมวลความกดอากาศสูงแผ่ลงมา ทำให้มีความชื้นสัมพัทธ์เกินกว่า 40 - 50% เอื้อต่อการก่อมวลเมฆได้ผลดี บวกกับสภาพลมช่วยพัดพาเมฆฝนมาตกบนพื้นที่เป้าหมาย

ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่คนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญตลอดสองเดือนที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลผลิตเหลือใช้ทางเกษตรจำนวนมากของประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับแนวกระแสลมพัดพาเข้ามายังไทยเพิ่มขึ้น คือปัจจัยหลักของปริมาณฝุ่นละอองมลพิษเพิ่มสูง มากกว่าฝุ่นมลพิษที่เกิดจากไทยเราเอง แต่ด้วยการช่วยให้ฝนตกลงมาจะช่วยซับละอองหมอกควันในอากาศจนเจือจางลง

‘สหพรรค’ รบ.วิบากกรรมของ ‘หม่อมคึกฤทธิ์’ ดั่งถูก ‘สหบาทา’ จากผลประโยชน์อันมิลงรอย

ณ ปัจจุบันนี้ เราจะเห็น ส.ส. ในพรรคต่าง ๆ ย้ายพรรคกันอย่างสนุกสนาน เพื่ออนาคตหลังการเลือกตั้ง ซึ่งทุกคนต่างก็หวังจะได้มีโอกาสเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฟากฝั่งของรัฐบาล โดยเฉพาะได้อยู่ในพรรคอันดับหนึ่งที่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล หรือพรรคใหญ่อันดับรอง ๆ ที่มีโอกาสต่อรองสูง 

แต่หากย้อนกลับไปในอดีต มีพรรคขนาดเล็กที่มี ส.ส.เพียง 18คน ที่สามารถเป็นผู้นำในการจัดตั้งรัฐบาล ในขณะที่ ส.ส. ทั้งสภามีที่นั่งรวม 296 คน 

ผมนั่งเขียนเรื่องนี้แล้วก็คิดตามว่า...มันต้องมีพลังในการประสานประโยชน์เบอร์ไหนถึงทำได้ ว่าแล้วก็ลองไปติดตามกันดูครับ 

ในการเลือกตั้งเมื่อ วันที่ 26 มกราคม 2518 เป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 10 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากการปกครองของระบอบเผด็จการทหาร พร้อมเปลี่ยนจากการเลือกตั้งจากเขตจังหวัด มาเป็นหลายอำเภอรวมกันเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้ง และมีจำนวน ส.ส. ได้เขตละ 3 คน 

การเลือกตั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทำให้ประชาธิปไตยมีความเบ่งบานอย่างมาก จึงทำให้มีพรรคเข้าร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างเป็นประวัติการณ์ และผลจากการเลือกตั้งก็ได้พรรคการเมืองที่ได้ ส.ส. เข้าสภาฯ ถึง 22 พรรค โดยชัยชนะตกเป็นของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค โดยได้ ส.ส. ไป 72 คน ตามมาด้วยพรรคธรรมสังคม 45 คน, พรรคชาติไทย 28 คน, พรรคเกษตรสังคม 19 คน, พรรคกิจสังคม 18 คน ทั้งนี้มีพรรคการเมืองขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่าพรรคต่ำสิบอีก 13 พรรค และมีพรรคที่ได้เพียง 1 คน อีก 5 พรรค ซึ่งหากจะตั้งรัฐบาลได้จะต้องมี ส.ส. 135 คน จาก ส.ส. ทั้งหมด 269 คน 

ในฐานะพรรคอันดับ 1 พรรคประชาธิปัตย์ได้สิทธิ์รวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลก่อน แต่ด้วยเงื่อนไขทางการเมืองที่ประชาธิปัตย์สร้างไว้เองคือ คำสัญญาที่ให้ไว้ในช่วงหาเสียงว่าพรรคจะไม่จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ ‘อดีตสมาชิกพรรคสหประชาไทย’ ซึ่งเคยเป็นพรรคของ จอมพล ถนอม กิตติขจร โดยเด็ดขาดเพราะเป็นพรรคเชื้อสายทรราช (คุ้น ๆ อีกแล้ว) ด้วยเงื่อนไขนี้ทำให้ไม่สามารถจับมือกับพรรคธรรมสังคมซึ่งมี ส.ส. 45 คน รวมไปถึงพรรคสังคมชาตินิยมอีก 16 คน นอกจากนี้ ยังไม่สามารถตกลงจับมือกับพรรคชาติไทยซึ่งนำโดย พล.ต.อ. ประมาณ อดิเรกสาร ได้ เพราะพรรคชาติไทยเรียกร้อง 3 กระทรวงใหญ่คือ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ถ้ามองกันรวม ๆ แล้ว ที่การตกลงกันไม่ได้นั้น น่าจะเกิดจากความไม่ตั้งใจจริงที่จะเจรจากันมากกว่า รวมถึงความไม่สนใจที่จะไปเจรจาจับมือกับกลุ่มพรรคต่ำสิบ 

ทำให้สุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์ต้องไปรวมกับพรรคเกษตรสังคมที่มี 19 คน และพรรคแนวร่วมสังคมนิยม รวมมีคะแนนเสียงสนับสนุน 103 คน ซึ่งไม่ถึงครึ่งของสภาที่ต้องมี 135 คน เลยต้องพยายามจัดตั้งรัฐบาลผสมเสียงข้างน้อยขึ้น แต่ก็ล้มเหลว เพราะเมื่อ เมื่อถึงวันแถลงนโยบายเพื่อขอความไว้วางใจในการจัดตั้งรัฐบาลต่อสภา ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฏว่า รัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 111 เสียง ไม่ได้รับการไว้วางใจให้จัดตั้งรัฐบาล จึงต้องสละสิทธิ์การจัดตั้งรัฐบาลไป แม้ประชาธิปัตย์จะประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง แต่ก็ล้มเหลวในการรวมเสียงตั้งรัฐบาล แท้งตั้งแต่ก่อนเริ่มปฏิบัติหน้าที่ จึงเป็นช่องที่ทำให้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม ซึ่งมี ส.ส.เพียง 18 คน ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล ‘สหพรรค’ ขึ้น

หลังความล้มเหลวของ ‘หม่อมพี่’ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช แห่งพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลบริหารประเทศได้ ก็ถึงคิวของ ‘หม่อมน้อง’ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม โดยเริ่มต้นการเจรจาไปที่พรรคการเมืองที่มีอดีตสมาชิกพรรคสหประชาไทย (ซึ่งหม่อมพี่ไม่เอา) รวมกลุ่มกันในชื่อ ‘กลุ่มรวมชาติ’ เป็นแกนนำของ ‘พรรคธรรมสังคม’ ซึ่งเป็นพรรคอันดับ 2 มี ส.ส. 45 คน ได้เจรจากับพรรคกิจสังคม โดยหวังใช้ชื่อเสียงและบารมีของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มาช่วยเรื่องภาพลักษณ์ในอดีตของกลุ่มตน

แม้พรรคกิจสังคมจะมี ส.ส. เพียง 18 ที่นั่งในสภา แต่ด้วยกลวิธีการเจรจาต่อรอง สร้างแรงจูงใจจากความสามารถของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรค ทำให้สามารถตั้งรัฐบาลได้ !!! โดยมีพรรคหลัก ๆ อย่าง พรรคกิจสังคม พรรคไท พรรคพลังประชาชนและพรรคอื่น ๆ ที่เรียกกันอย่างสุภาพว่า ‘รัฐบาลสหพรรค’ หรือฉายาที่มีคนตั้งให้ว่า ‘รัฐบาลร้อยพ่อพันแม่’ เพราะเป็นรัฐบาลผสมที่เกิดขึ้นจาก 12 พรรค ได้ 135 เสียง เท่ากับครึ่งหนึ่งพอดี (ก่อนจะดึงพรรคอื่นมารวมเบ็ดเสร็จไม่ต่ำกว่า 16 พรรค) 

ที่สุดแล้วการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2518 ผลการลงมติออกเสียงเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 ปรากฏว่า หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยเสียง ส.ส. 135 คน และ พ.อ. สมคิด ศรีสังคม ได้ 59 คน งดออกเสียง 88 คน และคณะรัฐบาลได้รับการไว้วางใจไปด้วยคะแนน 140 ต่อ 124 เสียง ไม่มาก ไม่น้อย 

‘บียอนเซ่’ ราชินีเพลงป็อป ชาวอเมริกัน คว้ารางวัล ‘Grammy Awards’ มากที่สุดตลอดกาล

(6 ก.พ. 66) บียอนเซ่ ราชินีเพลงป๊อปชาวอเมริกันทำลายสถิติตลอดกาลของการประกาศผลรางวัลแกรมมี ที่เป็นรางวัลด้านเพลงที่สำคัญของโลก หลังจากที่เธอกวาดรางวัลไปได้ 4 สาขาในปีนี้ ส่งผลให้เธอกลายเป็นศิลปินที่ได้รับรางวัลแกรมมีไปครองมากที่สุดรวมทั้งสิ้น 32 รางวัล

‘บียอนเซ่’ มาร่วมงานประกาศรางวัลแกรมมี่ ครั้งที่ 65 ที่นครลอสแอนเจลิส เมื่อค่ำคืนวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่นในสหรัฐฯ โดยเธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลทั้งหมด 9 สาขา แต่ได้รับรางวัลไปครอง 4 สาขา ได้แก่ รางวัลอัลบัมเพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกยอดเยี่ยม (Best Dance/Electronic Music Album) จากอัลบั้ม ‘เรอเนสองส์’ (Renaissance), รางวัลบันทึกเสียงเพลงแดนซ์-อิเล็กทรอนิกยอดเยี่ยม (Best Dance/Electronic Recording) จากเพลง ‘เบรค มาย โซล’ (Break My Soul), รางวัลเพลงอาร์แอนด์บียอดเยี่ยม (Best R&B Song) จากเพลง ‘คัฟ อิท’ (Cuff It) และรางวัลการแสดงเพลงอาร์แอนด์บีแบบเทรดิชันนอลยอดเยี่ยม (Traditional R&B Performance) จากเพลง ‘พลาสติก ออฟ เดอะ โซฟา’ (Plastic Off the Sofa)

น้ำใจจากชุมชน ความดีงามแห่งสยาม ปันทุกข์เพื่อคนยากช่วยคนอิ่มท้อง จนแม้แต่ WHO ยังชื่นชม

ส่วนหนึ่งจากงานวิจัย ‘ตู้ปันสุข: วิถีปกติใหม่ ยุคโควิด-19’ ของ ‘อุษณีย์ พรหมศรียา’ กับ ‘อัปสร อีซอ’ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระบุว่า “...การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งมาตรการปิดเมือง หรือ ล็อคดาวน์ (Lockdown) การหยุดกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้มีคนจำนวนมากต้องขาดรายได้ หรือตกงาน ส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่ยากลำบาก”

“...มีรูปแบบการช่วยเหลือซึ่งได้รับความนิยม คือ 'โครงการตู้ปันสุข’ ที่มุ่งช่วยเหลือคนในชุมชน ด้วยการให้คนที่มีกำลังช่วยเหลือ ร่วมแบ่งปันของต่าง ๆ นำมาใส่เอาไว้ให้กับคนที่ต้องการมาเปิดตู้กับข้าวนี้ เพื่อไปหยิบใช้ได้ฟรี โดยมุ่งหวังช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อนให้ผ่านวิกฤตจากโควิด-19 ไปด้วยกัน”

จะมีสักกี่ประเทศบนโลกซึ่งผ่านเผชิญหน้ากับเชื้อมหันตภัยไวรัสเดียวกัน โดยมีสิ่งซึ่งเรียกว่า 'ตู้ปันสุข' เช่นไทยเรา สิ่งนี้คือความดีงามของน้ำใจ แม้ผู้ให้ไม่เคยรู้จักกันกับผู้รับมาก่อน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่อันมีมาแต่โบราณ ถูกส่งต่อมายังยุคปัจจุบัน อย่างที่ใครหน้าไหนก็ 'ด้อยค่า' ลงมิได้ นี่คือแนวคิดแบบ "หยิบใส่ตู้อิ่มใจ หยิบออกไปอิ่มท้อง" อย่างไทยแท้ คือเอกลักษณ์ที่องค์กรระดับโลก WHO ยังต้องสรรเสริญสดุดี

6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันมวยไทย’ มรดกภูมิปัญญาจากบรรพชน เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ ‘พระบิดาแห่งมวยไทย’

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ถือเป็น ‘วันมวยไทย’ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าเสือ ‘พระบิดาแห่งมวยไทย’ พระมหากษัตริย์ไทยที่มีพระปรีชาสามารถด้านมวยไทย ส่งต่อภูมิปัญญามาจวบจนปัจจุบัน

‘มวยไทย’ เป็นศิลปะการต่อสู้และการป้องกันตัวของชนชาติไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมล้ำค่า ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เพื่อให้มรดกภูมิปัญญานี้ได้รับการยกย่อง ส่งเสริม และเชิดชูให้คนในชาติให้ความสำคัญต่อศิลปะการป้องกันตัวของชาติไทย ได้รับการสืบสาน รักษาพร้อมต่อยอด เป็น Soft Power พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ยั่งยืน 

หน่วยลาดตระเวนแถวหน้าสุดแห่งสมรภูมิโควิด19 ที่พกเพียง 'สเปรย์-เจล-หน้ากาก' และ 'หัวใจ'

ขณะที่ประเทศไทยเผชิญหน้ากับโควิด-19 จนมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คือส่วนสำคัญของระบบสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งร่วมรณรงค์ข้อมูลสุขภาพ รวมทั้งช่วยป้องกัน และควบคุมโรคในสถานการณ์ไม่ปกติ

หากเปรียบนายกรัฐมนตรี - ผู้นำประเทศ เป็นแม่ทัพบัญชาการรบพุ่งกับโควิด-19 บรรดาคณะแพทย์รอบโต๊ะศูนย์บริหารราชการฯ (ศบค.) เสมือน เสธ. ระดมสมองวางแผนหาหนทางสู้ หน่วยลาดตระเวนแถวหน้าสุดในสมรภูมิ ที่พกเพียงสเปรย์ และเจลแอลกอฮอล์ มีหน้ากากอนามัย และ Face Shield เป็นเกราะป้องกันตน ท่านเหล่านี้คือ อสม. ผู้ออกตรวจตรา (เคาะประตู) บ้าน ด้วยอาวุธอันจำกัดจำเขี่ย ทั้งรู้ดีแก่ใจว่าพวกตนมีสิทธิ์ติดเชื้อถึงตายตลอดเวลา โดยหากแม้นปราศจากแนวหน้านี้ ศึกคราที่ผ่านมานั้นคงจะพบเพียงความปราชัย

องค์กร อสม. เกิดจาก ‘งานสาธารณสุขมูลฐาน’ คือ ‘ชาวบ้าน’ ที่สนใจในทุกข์สุขของ ‘ชาวบ้าน’ ด้วยกัน ต่างคนต่างเคย ‘ร่วมมือ - ช่วยเหลือ’ งานสาธารณสุข เช่น จัดหาเด็กมาฉีดวัคซีน แนะนำคนไข้ให้มาพบเจ้าหน้าที่ที่สถานีอนามัยเพื่อรักษาพยาบาล จนกระทรวงสาธารณสุขได้นำเอาลักษณะงานดังกล่าว ปรับเป็นกลวิธีหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) โดยสนับสนุนงานสาธารณสุขมูลฐานครอบคลุมทั้งประเทศ และส่งเสริมชุมชนให้ตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนเอง


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top