Friday, 3 May 2024
LITE

ผีเสื้อโบยบิน ‘กรณีศึกษา’ แก่นแท้แห่งบุญอันยิ่งใหญ่ 1มอบโอกาสชีวิตใหม่ ผ่านการศึกษา

ว่ากันว่า บุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ไม่ใช่เงินทอง หรือ สิ่งของที่มากคุณค่า หากแต่เป็น ‘องค์ความรู้ - การศึกษา’ ที่ส่งต่อให้กับใครสักคน ได้นำไปต่อยอดชีวิตในอนาคตได้ด้วยตนเอง

จากเฟซบุ๊ก Win Phromphaet ได้โพสต์เรื่องราวน่าประทับใจจากการเป็นผู้ให้แก่บุคคลท่านหนึ่ง (ไม่เอ่ยนาม) ที่เขาได้ให้การช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา โดยในจดหมายดังกล่าวระบุความจากผู้รับความช่วยเหลือว่า...

รายงานผลการเรียนภาคเรียนที่ 1/2565

เรียน คุณวิน พรหมแพทย์

ตามที่กระผม ได้รับทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 จากท่าน กระผมขออนุญาตรายงานผลการศึกษาให้ท่านทราบว่า ขณะนี้กระผมได้จบการศึกษาแล้วภายในระยะเวลา 3.5 ปี ซึ่งในภาคการศึกษา (ภาค 1/2565) กระผมได้เกรดเฉลี่ย 3.30 ส่งผลให้เกรดเฉลี่ยสะสมเท่ากับ 3.12 ดังปรากฏในใบรับรองผลการศึกษาแนบ ทั้งนี้กระผมได้แนบบัญชีรายรับรายจ่ายมาพร้อมกับจดหมายฉบับนี้ด้วย

นอกจากการเรียนแล้ว กระผมใช้วลาว่างกับการค้นคว้าหาข้อมูลในด้านที่สนใจ เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การฝึกใช้ภาษาอังกฤษ และการค้นหาอาชีพในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังเข้าร่วมกิจกรรมของคณะ เช่น การเข้าร่วมฟังอบรมการสืบต้นฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อการวิจัย การเข้าร่วมฟังกิจกรรมแนะแนวอาชีพ และกิจกรรมจิตอาสานอกรั้วมหาวิทยาลัย เช่น กิจกรรมปลูกป้าชายเลน เป็นต้น หลังจากจบการศึกษา กระผมมีความตั้งใจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้สามารถทำงานที่ตนเองสนใจและตรงกับสาขาที่เรียนมาในระดับที่สูงขึ้น และต้องเป็นงานที่ใช้ความรู้ที่เรียนมาพัฒนาประเทศต่อไป

กระผมขอขอบพระคุณในความอนุเคราะห์ของท่าน กระผมจะตั้งใจศึกษาล่าเรียนและปฏิบัติตนให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตให้อย่างดีที่สุด เพื่อเป็นการตอบแทนพระคุณผู้ให้ทุนการศึกษากับกระผม เพราะครอบครัวของกระผม ซึ่งเป็นแหล่งสนับสนุนด้านการเรียนมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูง และรายได้ที่ลดลงจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้บิดาผู้ซึ่งหารายได้เพียงคนเดียวสนับสนุนด้านการเรียนของกระผมไม่ได้เต็มที่ อีกทั้งยังมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ส่งผลต่ออาการเหนื่อยง่าย สายตาแย่ลง และพักผ่อนน้อย

‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ความฝันของเด็กยุคสมโภชกรุงฯ ที่จะถูกปรับปรุงใหญ่ในรอบ 40 ปี

หากจะพูดว่า “พาต้า ปิ่นเกล้า คือ ความฝันของเด็กยุคสมโภชกรุงฯ” ก็ไม่น่าผิดจากความเป็นจริงนัก เพราะผมเองคือ หนึ่งในเด็กฝั่งธนฯ ที่เฝ้าฝันถึงวันจะได้มาเยือนห้างสรรพสินค้ามหัศจรรย์ชื่อ ‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ อยู่แทบทุกเมื่อเชื่อวัน

เมื่อวันก่อนเห็นข่าวแจ้งจากเพจ ‘สวนสัตว์พาต้า’ (@Patazoo67) จึงอดดีใจลึกๆ กับเขาด้วยว่าคงถึงเวลาของตำนานห้างสรรพสินค้าอันดับหนึ่งของฝั่งธนบุรี ตัดสินใจปรับตัวสู้ศึกในโลกการค้าไร้พรมแดน อีกทั้งยังประกาศหาทีมงานปรับปรุงภาพลักษณ์ ‘พาต้า ปิ่นเกล้า’ พร้อมดัน ‘เสริมศิริมงคล รุ่น 2’ ขึ้นกุมบังเหียนเต็มตัว - ข้อความขึ้นต้นจากผู้บริหารพาต้าจั่วหัวไว้ประมาณนี้

แฟรนไชส์ ‘พาต้า’ เริ่มจากสาขาแรกที่ศูนย์การค้าอินทรา ประตูน้ำ (พ.ศ. 2518) และต่อมากับความสำเร็จจนรู้จักไปทั่วบ้านทั่วเมืองกับสาขาปิ่นเกล้า (พ.ศ. 2525) ต่อเนื่องไปถึงสาขาหัวหมาก (พ.ศ. 2535)

แต่ก็เช่นเดียวกับวัฏจักรโลกทั่วไปที่พาต้าฯ เอง ก็หนีไม่พ้นวงจรนี้ เพราะเมื่อขึ้นสู่จุดสูงสุด ก็จำต้องตกต่ำ ด้วยสภาพความเจริญของบ้านเมืองย่านฝั่งธนฯ ซึ่งดึงดูดเม็ดเงินจากนักลงทุนเข้ามาอย่างมหาศาล วงการสินค้าปลีกจึงตามมาแย่งชิง จนลูกค้าประจำของ พาต้า ปิ่นเกล้า ต่างหันหน้าไปสู่ห้างฯ อื่น นำมาสู่ความเงียบเหงาท้ายที่สุด

ปี พ.ศ. 2562 เกิดกระแสข่าวลือแชร์ว่อนโลกโซเชียลฯ ถึงการประกาศขายที่ดินของ พาต้า ปิ่นเกล้า แห่งนี้ บนค่าตัวหลักพันล้านบาท และ ‘ปิดกิจการ’ แต่สุดท้ายหนึ่งในคณะผู้บริหารได้ออกมาสยบข่าวลือนั้นว่า ไม่เป็นความจริง จากปากของ ‘วิวรรธน์ เสริมศิริมงคล’ อดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า จำกัด เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันไว้ราวสองปีก่อนหน้า

แต่พอเข้าสู่ปี พ.ศ. 2566 หลังจากที่ทีมบริหารได้ปรับปรุงพื้นที่สวนสัตว์พาต้าจนใกล้จะแล้วเสร็จ และกำลังเตรียมเปิดบริการเต็มรูปแบบ คณะผู้บริหารบริษัท ห้างสรรพสินค้าปิ่นเกล้า ได้มีมติเป็นหนึ่งเดียวกัน คือ พร้อมจะเริ่มต้น ปรับปรุงบ้านหลังนี้ ในรอบ 40 ปี ให้คืนสภาพ กลับมาพร้อมให้การต้อนรับผู้มีอุปการคุณ

ผมไล่อ่านรายละเอียดตามที่เห็นจากเพจฯ ถึงแผนพัฒนาห้างฯ และหัวข้อการปรับปรุงต่าง ๆ ตั้งแต่ข้อแรกจนถึงข้อสุดท้ายว่า “...พื้นที่ชั้น 5 (พื้นที่ต่อเนื่องกับสวนสัตว์) ปรับให้เป็นพื้นที่เช่า ในโครงการพิเศษต่าง ๆ เช่น ตลาดนัดสัตว์เลี้ยง หรือตลาดของใช้ทั่วไป งานแสดงสินค้า งานประชุมวิชาการ”

เพียงเท่านั้นก็เหมือนผู้บริหาร ‘พาต้า ยุค 2’ อยากระลึกชาติหวนกลับไปใช้ความชำนาญที่เคยมีมาตั้งแต่รุ่นเปิดดำเนินการคือ ‘Localized Marketing’ ซึ่งเคยสร้างความเฟื่องฟูจนถึงขีดสุดในอดีต

ห้างสรรพสินค้าซึ่งถือฤกษ์งามยามดีเปิดบริการเอาในศักราช สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ที่ไม่ได้มีดีเพียงแค่อาคารรูป ‘ส.เสือ’ อักษรแรกของชื่อตระกูล น้ำพุสายรุ้งความสูงเท่ากับห้างก็คือตึก 7 ชั้น หลั่งไหลสลับสีพราวพรรณราย หรือแม้แต่ลิฟท์แก้วใสแจ๋วนอกตัวอาคาร ซึ่งน่าประหวั่นพรั่นพรึงแก่เด็กกลัวความสูงอย่างหนักเช่นผม

พ่อค้าประชาธิปไตย

เร่ค้าประชาธิปไตยไม่รู้จบ  กี่ล้านศพทบแผ่นดินสิ้นความฝัน
ยื่นมือแทรกให้แตกร้าวเข้าบีบคั้น  ใช้เชิงชั้นดันสงครามให้ลามรุก

ปักธงลงตรงไหน-ฉิบหายหมด  เลี้ยวลดคดในข้อก็ปั่นปลุก
ประชาธิปไตยปลอมเข้าย้อมคลุก  เคยวกฉุกคิดไหมในเรื่องนี้

24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีพระนามเดิมว่า ฉิม ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาช และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา

ต่อมาพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าฟ้าหญิงบุญรอด พระธิดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ ซึ่งภายหลังเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสี หลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสร่วมกัน 3 พระองค์ พระองค์ใหญ่ซึ่งปรากฏพระนามภายหลังว่าเจ้าฟ้าราชกุมาร สิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ รองลงมา คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์น้อย คือ  พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 40 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงโปรดให้ตั้งพระราชพิธีอุปราชาภิเษก สถาปนาพระเกียรติยศขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล แต่ให้คงเสด็จประทับอยู่ที่พระราชวังเดิม มิให้ขึ้นไปประทับ ณ พระราชวังบวรฯ ด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ได้กราบทูลไว้แต่เมื่อประชวรหนักว่าขอให้ลูกเธอได้อาศัยในพระราชวังบวรฯ ต่อไป ทั้งทรงพระราชดำริเห็นว่า พระองค์ก็ทรงพระชรามากอยู่แล้ว ไม่ช้านานเท่าใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็จะได้เสวยราชสมบัติ การย้ายวัง ควรไว้ย้ายเมื่อเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมมหาราชวังทีเดียว

ถึงปี พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รสช.ยึดอำนาจ รัฐบาลพลเอกชาติชาย ด้วยเหตุผลหลัก ‘ฉ้อราษฎร์บังหลวง’

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ได้เกิดรัฐประหารขึ้นโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. (National Peace Keeping Council-NPKC) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อธิบดีกรมตำรวจ เป็นรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ  ร่วมด้วย พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศ เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ 

โดยคณะ รสช. ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองจาก พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี โดยในแถลงการณ์ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่องคำชี้แจงเหตุผลการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลหลักที่เป็นเสมือนข้ออ้างในรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ไว้ 5 ประการ ได้แก่

นามสกุลแรกแห่งสยาม เจ้าพระยายมราช ปั้น ‘สุขุม’ เจ้าของนามสกุลหมายเลข ๐๐๐๑

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเหล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนนานาอารยประเทศ โดยให้มีการตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล โดยใช้แนวทางแบบตะวันตก ซึ่งพระองค์ได้ทรงประกาศขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ ๒๔๕๖ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยเรียกพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า ‘พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช ๒๔๕๖’

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคิดและพระราชทานนามสกุลครั้งแรกที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๕๖ โดยโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุลออกมา ๕ นามสกุล อันประกอบด้วย…

1) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๑ ‘สุขุม’ 
2) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๒ ‘มาลากุล’
3) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๓ ‘พึ่งบุญ’
4) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๔ ‘ณ มหาไชย’
5) นามสกุลพระราชทาน หมายเลข ๐๐๐๕ ‘ไกรฤกษ์’

ซึ่งผมจะเล่าถึงนามสกุลหมายเลข ๐๐๐๑ เนื่องเป็นนามสกุลพระราชทานนามสกุลแรก โดยในหลวงรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้แก่ ‘เจ้าพระยายมราช’ (ปั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น นามสกุล ‘สุขุม’ กำหนดเขียนเป็นอักษรโรมันว่า ‘Sukhum’ ทำไม ? ต้องเป็น ‘สุขุม’

ขอเล่าถึงประวัติของท่านผู้รับพระราชทาน ‘เจ้าพระยายมราช’ (ปั้น สุขุม) ท่านนี้กันสักหน่อยเพื่อให้ประจักษ์ถึงที่มาของนามสกุลพระราชทาน ว่ามีที่มา ที่ไป เป็นอย่างไร  เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๕ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน ๖ คน ของนายกลั่น และนางผึ้ง เมื่ออายุ ๖ ขวบ พ่อและแม่ของท่านได้ยกให้พระครูใบฎีกาอ่วม แห่งวัดหงส์รัตนาราม จังหวัดธนบุรี ซึ่งนับถือและสนิทกันมาก ขณะไปเทศน์ที่วัดประตูสาร คือเรียกว่า ‘ใส่กัณฑ์เทศน์ถวายพระ’ 

พระครูใบฎีกาอ่วมได้สอนให้เด็กชายปั้นเล่าเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาขอม ตามธรรมเนียมของการศึกษาในสมัยนั้น จนเมื่ออายุครบกำหนดก็ได้บวชเณรและบวชพระให้ตามลำดับ พระภิกษุปั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยและภาษาบาลีอย่างแตกฉาน โดยในปี ๒๔๒๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕ โปรดให้ตั้งสนามหลวงสอบพระปริยัติธรรมขึ้นที่พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ปรากฏในการสอบ ๓ วันแรกในระดับ ‘มหา’ นั้น พระภิกษุ ‘ปั้น’ แห่งวัดหงส์รัตนาราม สอบได้เพียงรูปเดียวเท่านั้น นอกนั้นตกหมด ทำให้ชื่อเสียงของ ‘พระมหาปั้น’ เป็นที่เลื่องลือ จนได้มีโอกาสพบกับพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวัยไล่เลี่ยกันและสนพระทัยในการศาสนา จึงชอบไปมาหาสู่ สนทนากับพระมหาปั้นอยู่เนืองๆ  จนกระทั่งครั้งหนึ่งพระมหาปั้นได้ปรารภว่าอยากจะสึกออกมาดำเนินชีวิตทางโลก ขอให้พระองค์ช่วยหางานให้ทำด้วย 

กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ขณะนั้นทรงเป็นอาจารย์ของโรงเรียนพระตำหนักมหาดเล็กหลวง ในพระบรมมหาราชวัง จึงกราบทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอบรรจุ ‘มหาปั้น’ ซึ่งลาผนวชแล้ว เข้าเป็นครูในโรงเรียนพระตำหนักด้วย ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงรับเข้าเป็นครูภาษาไทย พร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น ‘ขุนวิจิตรวรสาส์น’ สังกัดกรมพระอาลักษณ์ 

ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าหลวง จะทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ๔ พระองค์ ก็ทรงคำนึงว่าพระเจ้าลูกยาเธอยังทรงพระเยาว์เกรงจะลืมภาษาไทยเสียหมด จำจะต้องส่งอาจารย์ภาษาไทยไปถวายการสอนที่นั่นด้วย และตำแหน่งนี้คงไม่มีใครเหมาะเท่า ‘ขุนวิจิตรวรสาส์น’ ด้วยเหตุนี้ ท่านขุนจึงถูกส่งไปดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอน โดยหน้าที่หลักคือพระอาจารย์ภาษาไทยของบรรดาพระเจ้าลูกยาเธอและเจ้าฟ้าทั้งหลาย

โดยส่วนตัวของท่าน ‘เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ชอบแสวงหาความรู้อยู่แล้ว จึงถือโอกาสนี้จ้างครูมาสอนภาษาอังกฤษให้ตนเอง จนสามารถทั้งพูด อ่าน เขียนได้ดี จากการทำงานที่มีคุณภาพเรียบร้อย ในปลายปี ๒๔๒๘ จึงได้รับ โปรดเกล้าฯ ให้ ‘ขุนวิจิตรวรสาส์น’ ขยับเป็น ‘หลวงวิจิตรวรสาส์น’ มีตำแหน่งเป็นเลขานุการสถานทูตสยามประจำกรุงลอนดอน

ในปี ๒๔๓๑ ระหว่างที่คุณหลวงวิจิตรฯ เดินทางมาราชการที่เมืองไทย ได้กราบทูล กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งทรงมีพระคุณแก่คุณหลวงมาตลอด ได้เป็นผู้ใหญ่ไปสู่ขอ ‘นางสาวตลับ’ บุตรสาวของ ‘หลวงวิเศษสาลี’ โดยกรมพระยาดำรง ฯ ท่านก็ขอร้องให้เจ้าจอมมารดาชุ่ม มารดาของท่าน ไปสู่ขอคู่ครองให้ ‘หลวงวิจิตรวรสาส์น’ จนได้แต่งงานเป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่ บ่าว-สาว จะกลับไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ลอนดอน ตามหน้าที่ของคุณหลวง 

ในปี ๒๔๓๖ หลวงวิจิตรวรสาส์นได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น พระวิจิตรวรสาส์น ตำแหน่งอุปทูตประจำกรุงลอนดอน จนในปี ๒๔๓๗ คุณพระวิจิตรฯ และภรรยาได้เดินทางมาส่งพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นปราจิณกิติบดี ซึ่งสำเร็จการศึกษา ที่ประเทศไทยและไม่ได้กลับไปทำหน้าที่ในกรุงลอนดอนอีก เพราะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย ในตำแหน่งเลขานุการเสนาบดี กระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติราชการในกระทรวงมหาดไทยได้ไม่นาน ในปี ๒๔๓๙ พระวิจิตรวรสาส์น ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น ‘พระยาสุขุมนัยวินิต’ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งมีที่ว่าราชการอยู่ที่จังหวัดสงขลา

การลงไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนี้ นับว่าเป็นการมอบหน้าที่สำคัญยิ่งให้ เพราะการปกครองในขณะนั้น หัวเมืองภาคใต้และมลายู ยังอยู่ในแบบเมืองขึ้น มีเจ้าเมืองเป็นผู้สำเร็จราชการ มีหน้าที่ส่งส่วยอากรประจำปีมายังเมืองหลวง แต่การปกครองแบบใหม่ที่ท่านต้องดำเนินการคือการให้รวมหัวเมืองปักษ์ใต้ มี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ปะลิส และหนองจิก มาเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช เปลี่ยนฐานะผู้สำเร็จราชการเมืองต่างๆ เหล่านั้น มาเป็นข้าหลวงประจำจังหวัด ที่สำคัญคือภาษีอากรที่เคยเก็บเลี้ยงตัวเอง ที่เรียกว่า ‘กินเมือง’ ต้องส่งให้รัฐบาลทั้งหมด โดยเจ้าเมืองจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนแบบนี้ ต้องทำให้เจ้าเมืองทั้งหลายขุ่นเคืองเป็นแน่ เพราะต้องสูญเสียผลประโยชน์ที่เคยได้ และอาจจะก่อให้การกระด้างกระเดื่องขึ้นได้ แต่ ‘พระยาสุขุมนัยวินิต’ สามารถใช้ความ ‘สุขุม’ วางกุศโลบายดำเนินงานได้อย่างเรียบร้อย ทำให้ไม่เกิดปัญหาขึ้นแต่อย่างใด

22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ เปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

วันนี้ เมื่อ 37 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอเนกประสงค์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ ต.ช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เกิดจากความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กับกรมชลประทาน โดยกรมชลประทานรับผิดชอบในการสร้างเขื่อนและอาคารประกอบต่างๆ ส่วน กฟผ. รับผิดชอบโรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า

เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เป็นเขื่อนอเนกประสงค์อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เดิมชื่อว่า “เขื่อนแม่งัด” มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ด้านเหนือเขื่อนที่สามารถอำนวยประโยชน์ได้หลายด้าน อาทิ ด้านการชลประทาน การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ การบรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่เพาะปลูกท้ายอ่างเก็บน้ำ การประมงในอ่างเก็บน้ำ ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายได้ร่วมมือกันดำเนินงานมาตั้งแต่เริ่มการศึกษาโครงการ จนกระทั่งการก่อสร้างงานต่างๆ ตามโครงการได้สำเร็จลงด้วยดี

21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้ ‘พุทธศักราช’ (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน ‘รัตนโกสินทร์ศก’ (ร.ศ.)

วันนี้ เมื่อ 110 ปีก่อน รัชกาลที่ 6 ประกาศ เปลี่ยนมาใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) หลังใช้มาได้เพียง 24 ปี (พ.ศ. 2432-2455) 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชดำริให้ใช้ ‘พุทธศักราช’ (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน ‘รัตนโกสินทร์ศก’ (ร.ศ.) เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 (พ.ศ. 2455) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ ‘พระพุทธศักราช’ ในราชการทั่วไป โดยถือเอาวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นวันเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ข้อมูลจากสำนักข่าวสับปะรด ระบุว่า รัตนโกสินทร์ศก หรือ รัตนโกสินทร์ศักราช (ร.ศ.) ถูกกำหนดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยเริ่มนับจากปีที่มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง คือ พ.ศ. 2325 นับเป็นรัตนโกสินทร์ศก 1 (ร.ศ. 1) แต่ในทางพระพุทธศาสนา ยังคงใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) ตามธรรมเนียมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

‘บวบ’ พืชฤทธิ์เย็น ‘ลดไฟธาตุ-กำหนัด’ ต้อนรับฤดูร้อนได้ดีนักแล

แรกเริ่มเดิมที ‘บวบ’ มีถิ่นกำเนิดจากแถบเอเชียกลาง (อินเดีย, บังคลาเทศ) ต่อมาจึงถูกขยายพันธุ์ในแถบอุษาคเนย์ รวมถึงประเทศไทย โดยบวบเป็นพืชผักตระกูลแตง (CUCURBITACEAE) อดีตคนไทยส่วนใหญ่นิยมปล่อยต้นบวบเลื้อยตามรั้ว หรือปล่อยพันไปกับต้นไม้ แล้วคอยเก็บผลอ่อนมารับประทานเป็นผัก ทำแกงเลียง ผัดกับไข่ หรืออาจลวกจิ้มกับน้ำพริกต่างๆ ผลอ่อนมีสรรพคุณแก้ร้อนใน ลดไข้ ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามทางเดินอาหาร แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ส่วนผลบวบที่ไม่ได้เก็บจะปล่อยจนแก่แห้ง เหลือแต่เส้นใยที่เรียกว่า ‘รังบวบ’ และถูกใช้อาบน้ำ ขัดถูภาชนะ บวบที่สามารถปลูกได้ในประเทศไทยมีหลายชนิด ได้แก่ บวบเหลี่ยม บวบงู บวบหอม

ข้อมูลทางโภชนาการระบุว่า คุณค่าทางอาหารของ ‘บวบหอม’ 100 กรัม ประกอบด้วย พลังงาน 85 กิโลแคลอรี น้ำ 93 กรัม โปรตีน 0.6-1.2 กรัม ไขมัน 0.21 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4-4.9 กรัม แคลเซียม 16-20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 24-32 มิลลิกรัม เหล็ก 0.4-0.6 มิลลิกรัม และวิตามินซี 7-12 มิลลิกรัม

ประโยชน์หลักอีกด้านหนึ่งของ ‘บวบ’ ที่ทุกท่านรับรู้คือด้านสมุนไพร เช่น คนในประเทศจีนจะนำผลบวบแก่มาเผาจนเป็นเถ้า (นิยมบวบหอม) ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาขับลม น้ำคั้นจากผลสดใช้เป็นยาระบาย เมล็ดแก่ใช้ทำให้อาเจียน และเป็นยาถ่าย และน้ำมันที่บีบจากเมล็ดยังใช้ทาแก้โรคผิวหนัง

การรับประทานบวบเป็นอาหารปริมาณที่พอเหมาะนั้น ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ (และหญิงช่วงให้นมบุตร) แต่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอในการรับประทานบวบเพื่อรักษาโรค และยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดพอจะระบุปริมาณการรับประทานบวบอย่างเหมาะสม ดังนั้นก่อนกินบวบ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ จากบวบ ผู้บริโภคควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น อายุ หรือปัญหาสุขภาพ

20 กุมภาพันธ์ ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันทนายความ’ หนึ่งในสถาบันด้านกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ของทุกปี ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความทั่วประเทศถือเป็นวันทนายความ

วันนี้ในอดีต เมื่อปี 2500 เป็นวันที่ทนายความในขณะนั้นมีแนวความคิดริเริ่มที่ต้องการให้วิชาชีพทนายความ ควรจะมีสถาบันที่เป็นตัวแทนของวิชาชีพทนายความ และเป็นอิสระควบคุมดูแลกันเอง จึงได้ประชุมกันก่อตั้งสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยขึ้น โดยจดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2500

ต่อมาสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยได้ร่วมกันใช้ความเพียรพยายามเรียกร้องและผลักดันร่างกฎหมาย พระราชบัญญัติทนายความเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร จนกระทั่งเมื่อปี 2528 จึงประสบผลสำเร็จออกประกาศใช้เป็นกฎหมาย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2528 และมีผลบังคับใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ‘ไทย - ลาว’ หยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” ความขัดแย้งจากข้อพิพาทเส้นแบ่งดินแดน

วันนี้ เมื่อ 35 ปีก่อน ‘ไทย - ลาว’ ประกาศหยุดยิงใน “สมรภูมิร่มเกล้า” เหตุการณ์ความขัดแย้งที่ผ่านมาแล้วกว่าสามทศวรรษ!! 

ความขัดแย้งระหว่างไทยและลาวบริเวณชายแดน อันเนื่องมาจากข้อพิพาทในการกำหนดเส้นแบ่งดินแดนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพรานไทยและลาวหลายครั้งตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2530 เมื่อทหารลาวได้เข้าทำลายรถแทรกเตอร์ของเอกชนไทย ทำให้คนงานเสียชีวิตหนึ่งราย ในพื้นที่ซึ่งลาวอ้างว่าอยู่ในเขตตาแสงของแขวงไชยะบุรี พร้อมระบุว่าบ้านร่มเกล้าอยู่เข้าลึกไปในเขตลาว 2 กิโลเมตร

ด้านกองทัพภาคที่ 3 ได้ส่งกองกำลังหลักเข้าผลักดันกองกำลังลาวที่เข้ามายึดพื้นที่ยุทธศาสตร์หลายแห่ง โดยวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า ยุทธการบ้านร่มเกล้า ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เมื่อ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. (ในขณะนั้น) ประกาศจะผลักดันกองกำลังต่างชาติที่เข้ามายึดครองพื้นที่ในเขตไทยทุกรูปแบบด้วยการใช้กำลังทหาร จึงทำให้เกิดการสู้รบอย่างดุเดือด

18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ‘ไคลด์ ทอมบอห์’ ค้นพบดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยะ

วันค้นพบดาวพลูโต ตรงกับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ถือเป็นอดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ของระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกค้นพบโดย ไคลด์ ทอมบอห์

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 เป็นวันค้นพบ ดาวพลูโต อดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ของระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งถูกค้นพบโดย ไคลด์ ทอมบอห์

ดาวพลูโต (Pluto) เป็นอดีตดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มีขนาดใหญ่และมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์

ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน ประกอบด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ ซึ่งวงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตมีระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 32.6 หน่วยดาราศาสตร์

ดาวพลูโตมีดาวบริวารที่ 5 ดวง ได้แก่ แครอน, สติกซ์, นิกซ์, เคอร์เบอรอส และไฮดรา ซึ่งในบางครั้งดาวพลูโตและแครอนถูกจัดเป็นระบบดาวคู่ เนื่องจากจุดศูนย์กลางมวลของวงโคจรไม่ได้อยู่ในดาวดวงใดดวงหนึ่งเฉพาะ ทำให้ไอเอยูยังไม่มีการให้คำนิยามของระบบดาวเคราะห์แคระคู่อย่างเป็นทางการ และแครอนกลายเป็นดาวบริวารของดาวพลูโตอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559

นิยามสงครามคือความพ่ายแพ้

ไม่มีใครชนะได้ในสงคราม
แม้ในท่ามยามเจรจาอุตสาหะ
ซากศพที่ทบก่ายคือนัยยะ
กี่ตรรกะก็ไร้ค่าถ้าไม่ยั้ง

สิ่งปรักหักพังยังซ่อมได้
แต่ผู้ที่ล้มตายในหลุมฝัง
คงไม่ฟื้นคืนใหม่ได้กระมัง
เพลงศพดังทั้งโลก ณ ศกนี้

17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ประหารชีวิต ‘ชิต - บุศย์ - เฉลียว’ จำเลยคดีสวรรคต ในหลวง ร.8

วันนี้ เมื่อ 68 ปีที่แล้ว 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ศาลฎีกาได้พิพากษา ลงโทษประหารชีวิต เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนีย์ และบุศย์ ปัทมศริน จำเลยในคดีประทุษร้ายต่อสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ เรือนจำกลางบางขวาง

ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวาง เป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ

จากเหตุการณ์ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตอย่างมีเงื่อนงำ ด้วยพระแสงปืน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.20 น. บนชั้นสอง พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง

สภาพพระศพมีบาดแผลกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) บริเวณระหว่างพระขนง (คิ้ว) ข้างพระศพมีปืนพกโคลต์ตกอยู่ชิดข้อศอก ด้ามปืนหันออกจากตัว ในช่วงแรกมีการรบกวนพระบรมศพทำให้การพิสูจน์เกิดปัญหา ความเห็นของแพทย์ผู้ชันสูตรเกือบสามในสี่ลงมติเป็นการลอบปลงพระชนม์

รู้จัก 'มาม่า' เมนูเปี่ยมโภชนาการประจำวันที่ 1 และ 16 และสโลแกนที่ไม่เคยเปลี่ยนตลอด 50 กว่าปี

พุทธศักราช 2515 ผู้บริหารบริษัทในเครือ 'สหพัฒนพิบูล' มองเห็นโอกาสสร้างแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย โดยตกลงร่วมทุนกับ 'ยูนิ - เพรสซิเดนท์' จากไต้หวัน ตั้ง 'ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์' ขึ้นเพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขึ้นมา โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ตั้งต้นนั้นว่า 'มาม่า'

โดยชื่อ ‘มาม่า’ มีต้นกำเนิดจากคำว่า ‘แม่’ ด้วยเพียงสองเหตุผล คือ เป็นคำแรกที่เด็กเริ่มพูด (ในแทบทุกชาติ ทุกภาษา) และ 'แม่' คือคนทำอาหารอร่อย ๆ ให้เรากิน

ส่วนที่เรียกว่า 'บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป' ก็เพราะผู้บริโภคต้อง 'ปรุง' อีกนิดก็กินได้

แม้ 'มาม่า' จะมีแป้งและไขมันเป็นส่วนประกอบหลัก และหากรับประทานติดต่อกันป็นเวลานาน อาจขาดสารอาหารหลักได้ หรือเมื่อบริโภคติดต่อกันในปริมาณที่มากก็เสี่ยงต่อไตจะเป็นอันตราย เนื่องจากมีสารโซเดียมค่อนข้างสูง ยิ่งในผู้แพ้ผงชูรสยิ่งต้องระมัดระวัง จึงมักมีคำแนะนำให้ใส่ไข่ ผัก หรือเนื้อสัตว์เพิ่มลงไปด้วย เพื่อเพิ่มสารอาหาร และป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากจนเกินไป

แต่สำหรับสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองชั่วคราว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน 'มาม่า' จึงมักเป็นชื่อที่ผู้คนโหยหากัน ด้วยราคาอันเป็นมิตรที่น่าคบหาได้ในยามยาก แถมเพียบพร้อมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซองขนาด 60 กรัม จะให้พลังงานประมาณ 300 กว่าแคลอรี เพียงพอสำหรับหนึ่งมื้อ เพราะพลังงานที่คนต้องการคือ 2000 - 2500 แคลอรีต่อวัน โดยได้รับสารอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามินเอ ธาตุเหล็ก และไอโอดีน

ชื่อ 'มาม่า' นั้น ถือได้ว่าประสบความสำเร็จในการสื่อสารกับลูกค้าอย่างสูง จนกลายมาเป็นชื่อเรียกแทนประเภทสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือ Generic Name ที่เราเรียก ‘มาม่า’ แทนบะหมี่กึ่งทุกยี่ห้อ และคำถามที่ต้องเจอต่อก็คือ “เอามาม่ายี่ห้อไหน?”


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top