Friday, 3 May 2024
LITE

เกื้อกูลกันยามยาก จากใจคนไทยทุกส่วน ส่วนทางทุกข์หลากมุมโลก ปล้นสะดมเกลื่อนเมือง

คำกล่าว “น้ำใจไม่เคยเหือดแห้งหายไปจากคนไทย” คือความจริงซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากเหตุการณ์วิกฤตโควิด 19 เห็นถึงพลังทุกคนร่วมมือจนผ่านพ้นเหตุการณ์ร้าย เพียงหวังให้คราบน้ำตา ความสูญเสีย และความสิ้นหวัง ผันเปลี่ยนเป็นรอยยิ้มที่เสริมเติมพลังบวก สร้างความเข้มแข็งอย่างพร้อมต่อสู้ด้วยกัน

เพราะการมีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ช่วงแรกได้ทวีเพิ่มอย่างรวดเร็วราวไฟลามทุ่ง ผลที่ตามมาคือ แทบทุกโรงพยาบาลมีเตียงไม่เพียงพอจะรับผู้ป่วย ทางออก ณ ตอนนั้นจึงเร่งสร้าง ‘โรงพยาบาลสนาม’ เป็นพื้นที่ดูแลผู้ป่วยระดับอาการสีเขียว (ผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่มาก (ไม่มีอาการโรคอื่นร่วม) เพื่อพักรักษาตัวแยกออกจากบ้าน เพื่อรับยารักษาอาการ ได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาล และเพื่อไม่ให้อาการทวีความรุนแรงมากขึ้น

ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าจะท่วงทันเหตุ

นอกจากคณะแพทย์ - ทีมบัญชาการกองพลออกรบอันแข็งแกร่งแล้ว แต่การศึกจะไม่ประสบชัยชนะเช่นวันนี้เลย หากขาดกองกำลังหนุน 'โรงพยาบาลสนาม' ซึ่งดำเนินการโดยเอกชน หรือกลุ่มพลังคนจิตอาสาทั้งหลาย ที่ดาหน้าขับสู้กับโรคร้ายอย่างไม่กลัวภยันตราย บวกกับน้ำใจอันเหลือเฟือของชาวไทย ที่ร่วมช่วยกันคนละไม้คนละมือ โดยหากไร้ซึ่งโรงพยาบาลสนามทั้งหมดนี้ เราก็จินตนาการไม่ได้ว่าจะผ่านช่วงเวลาเลวร้ายนั้นมาอย่างไร

บรรดาคนดัง อาทิ คุณได๋ - ไดอาน่า จงจินตนาการ และคุณจ๊ะ - นงผณี มหาดไทย แห่งเพจเฟซบุ๊ก ‘เราต้องรอด’ กับ ‘องค์กรทำดี’ โดยมี คุณบุ๋ม - ปนัดดา วงศ์ผู้ดี นำทีมประสานหาเตียงแก่ ‘ผู้ป่วยรอเตียง’ ที่ยืนยันติดเชื้อ จัดหาออกซิเจนสำหรับผู้ป่วย จัดหารถพยาบาลระบบแรงดันลบเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ส่งเครื่องมือให้ทีมแพทย์ และอาหารให้ผู้ต้องการความช่วยเหลือ รวมถึงการสร้างโรงพยาบาลสนาม ซึ่งช่วยรักษาชีวิตผู้คนนับเรือนหมื่น

หรือโครงการของคุณอาร์ต - พศุตม์ แย้มบาน ในนาม ‘รถพยาบาลจิตอาสา Stand by Ambulance & MSTT’ รับส่งผู้ป่วยโควิด-19 ที่ประสานหาเตียงได้แล้ว แต่ไม่มีรถส่ง ประสานทำงานคู่ขนานกับ ‘โครงการแท็กซี่ฉุกเฉิน’ (Ambulance Taxi) รับจากบ้านส่งถึงโรงพยาบาล หรือฮอสพิเทลทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร

กลุ่ม 'สายไหมต้องรอด' กลุ่ม 'เส้นด้าย' และกลุ่ม 'ไม่ได้เป็นหมอแต่เป็นห่วง' ที่นอกจากงานอาสาหาเตียง ส่งยา อาหาร ให้ผู้ติดเชื้อ (ผู้ขาดแคลน) แลัว ยังดูแลจนถึงกลุ่มไม่สะดวกทำการรักษาที่บ้าน หรือ Home Isolation อีกด้วย

กลุ่ม ‘พรรคพวกกัน’ กับ ‘แบ่งปันลมหายใจ’ นั้น ขอดูแลเรื่องจัดสรร แบ่งปันถังออกซิเจน เพื่อต่อลมหายใจให้ผู้ป่วยระหว่างรอเตียง รอนำส่งโรงพยาบาล ก็ล้วนคนรวมตัวจากหลากอาชีพ ที่ไม่ต้องการถ้อยคำสรรเสริญใด

ที่สำคัญคนเหล่านี้ไม่เคยคิด ‘ต่อยอดบุญ’ แม้สลึงเฟื้องเดียว

4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 ร.5 ทรงเปิดโรงกษาปณ์สิทธิการ แห่งที่ 3 พร้อมเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ไฟฟ้าครั้งแรก

ความเจริญก้าวหน้าด้านการค้าของประเทศ ส่งผลให้ความต้องการใช้ เหรียญกษาปณ์เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่เครื่องจักรแรงดันไอน้ำที่มีอยู่เริ่ม ชำรุดเนื่องจากใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ถึง 25 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์สิทธิการแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณอันเป็นที่ตั้งของวังเจ้านาย 6 พระองค์ ซึ่งเรียกสถานที่นี้ว่า ‘วังสะพานเสี้ยว’ ริมคลองหลอดด้าน ถนนเจ้าฟ้าทางทิศเหนือของท้องสนามหลวง โดยมีลักษณะเป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูน สูง 2 ชั้น มีรูปแบบเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตก เมื่อย้ายโรงกษาปณ์ไปอยู่สถานที่แห่งใหม่แล้ว กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติคือ ‘หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า’ ในปัจจุบัน

พิธีเปิดโรงกษาปณ์แห่งที่ 3 อย่างเป็นทางการมีขึ้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2445 และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น ‘กรมกษาปณ์ สิทธิการ’ ติดตั้งเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์เครื่องใหม่ ซึ่งทำงานด้วยกำลังไฟฟ้าสามารถผลิตเหรียญได้ประมาณวันละ 80,000 ถึง 100,000 เหรียญ โดยไม่ต้องทำการล่วงเวลา ส่วนเงินพดด้วงได้ โปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2451

เมื่อมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติมาตราทองคำ รัตนโกสินทร์ศก 127 (พ.ศ. 2451) ได้ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ผลิตเหรียญกษาปณ์ชนิดราคา 1 บาทตราพระบรมรูปตราไอราพต จากโรงกษาปณ์ปารีส จำนวน 1,036,691 เหรียญ แต่ไม่ทันได้ประกาศใช้ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน โดยตราไอราพตได้ใช้เป็นตราประจำแผ่นดินเรื่อยมาจนสิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 โลหะที่ใช้ในการ ผลิตเหรียญกษาปณ์มีราคาสูงขึ้น จึงต้องลดส่วนผสมของโลหะเงินลงและผลิตธนบัตร ราคา 1 บาทออกใช้แทน เหรียญกษาปณ์

‘การด้อยค่า’ ที่รัฐบาลไทย ‘เห็นค่า’ ใต้แผนการที่มีระบบ จนพาไทยรอด

จากมกราคม 2563 ถึงตุลาคม 2565 นับเป็น 2 ปี 9 เดือน ที่คนไทยต้องอดทนกับทุกความยากลำบากถาโถมเข้าหา ท่ามกลางสภาวะการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 กว่า 30,000 ชีวิตต้องสูญเสียอย่างไม่หวนกลับ อีกนับแสนคนไม่สามารถดำเนินชีวิตเหมือนเดิมอีกต่อไป

ติดเชื้อ 670 ล้านคน เสียชีวิต 6.82 ล้านคน คือ ภาพสรุปรวมโลกปัจจุบัน

ความสูญเสียก็คือความสูญเสียอยู่วันยังค่ำ ไม่สามารถเปรียบเทียบทางตัวเลข สถิติใดใดได้ แต่ที่ประเทศไทยรอดมา แม้บอบช้ำสาหัส นอกเหนือไปจากวิสัยทัศน์ 'ผู้นำและคณะทำงาน' การตัดสินใจเร่งนำเข้าวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสจึงคือคำตอบที่ดีที่สุดเหมาะสมอย่างยิ่ง กับสถานการณ์เบื้องหน้า - แต่เหมือนเชื้อโรคมันจะนำเราหนึ่งก้าวเสมอ

กระทั่งเมื่อโลกตั้งตัวติด วัคซีนป้องกันชีวิตจึงบังเกิด - ช่วงสายวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2564 วัคซีนล็อตแรก 'ซิโนแวค' จำนวน 200,000 โดส ขนส่งจากกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางถึงประเทศไทย โดยวัคซีนล็อตนี้ คือผลจากการเจรจากับ บริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ ซายน์ จำกัด สาธารณรัฐประชาชนจีน (Sinovac Life Sciences Co.,Ltd., People’s Republic of China) ถึงมือรัฐบาลไทยอย่างเร่งด่วน

แต่แม้ 'ด่วน' เพียงใด คนไทยก็เริ่มได้รับวัคซีนตรงจุดพีคของโลกพอดี จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564 พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วกว่า 168 ล้านคน กับตัวเลขผู้เสียชีวิต 3.5 ล้านคนเศษ

รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา วางแผนฉีดวัคซีนโควิด 19 ระยะแรกเดือนมีนาคม - พฤษภาคม จำนวน 2 ล้านโดส โดยจะฉีดให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, พื้นที่ควบคุมสูงสุด, พื้นที่ควบคุม และพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ทั้ง 18 จังหวัด โดยฉีดให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า อสม. เจ้าหน้าที่ที่สัมผัสผู้ป่วย ประชาชนทั่วไปและแรงงานที่มีอายุ 18 - 59 ปี โดยมุ่งเน้นเฉพาะผู้มีโรคประจำตัว อย่างที่เรารับรู้ต่อมาว่าคือ 'กลุ่ม 608' นั่นเอง

3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ‘วันทหารผ่านศึก’ ร่วมสดุดีวีรกรรมทหารกล้า

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันทหารผ่านศึก เพื่อสดุดีวีรกรรมของทหารกล้า อีกทั้งให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเชิดชูเกียรติและเอื้ออาทรต่อทหารผ่านศึก

วันทหารผ่านศึก (The Thai Veterans Day) กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องทหารกล้าและให้ความช่วยเหลือครอบครัวทหารที่เสียชีวิตในการรบจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 โดยยึดถือจากวันที่พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2491 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึก ได้เปลี่ยนมาเป็นองค์การกุศลของรัฐมาเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย และกระทรวงกลาโหมจะจัดกองทุนรับเงินอุดหนุนขึ้น และปี พ.ศ.2511 ภริยานายทหารชั้นผู้ใหญ่ริเริ่มจัดทำดอกป๊อปปี้ออกจำหน่ายเพื่อหารายได้เข้ามูลนิธิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2512 เป็นต้นมา

หากประเทศไทย ไร้ผู้นำที่ชื่อ ‘พลเอกประยุทธ์’ และขาดซึ่ง ‘หมอ’ หลากยุทธ์ ผู้กลบเสียงเห่า ‘หมา’

หากเปรียบในทางพุทธศาสนาที่องค์พระสมณะพุทธโคดมเคยทรงตรัสไว้ว่า "ผู้ใดอยากพ้นทุกข์ทั้งปวง ให้ปฏิบัติตาม ‘มรรค 8’ หรือ ‘หนทางสู่ความดับทุกข์ทั้งแปดประการ’ นี้เถิด" 

เฉกเช่นเดียวกันกับ ‘สถานการณ์โควิด 19’ ที่วันนี้ได้คลี่คลายลง ก็ด้วยหนทางพ้นทุกข์ภัยทั้ง 8 เช่นกัน

สำหรับวันนี้ 1 ใน 8 ที่อยากจะชวนกลับไปนึกถึง ซึ่งทำให้ไทยพ้นทุกข์จากพิษภัยโควิด หรือจะบอกว่า ‘ไทยรอดได้อย่างไรนั้น’ คือ ‘วิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศ’

นับแต่ข่าวแพร่ระบาดของ 'ไวรัสอู่ฮั่น' ซึ่งต่อมาคือ 'Corona Virus 2019' (โควิด-19) บนแผ่นดินสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เมืองอู่ฮั่น กระเซ็นกระสายออกมาว่า เกิดการติดเชื้อจาก 'ค้างคาว' แพร่สู่มนุษย์ จากคนสู่คน จนลุกลามขยายกลายเป็นวงกว้าง และเริ่มระบาดไปยังอีกหลายประเทศ ข่าวนี้ก็สร้างความวิตกกังวลทั่วทั้งโลก รวมถึงบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างไทย

จากเดิมแค่วิตกกังวล กลายเป็นความประหวั่นพรั่นพรึงทันทีที่ประเทศไทยพบเชื้อครั้งแรก ตอนต้นเดือนมกราคม 2563 โดยนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น โดยต่อมาอีกราวสองสัปดาห์ก็พบ 'ผู้ติดเชื้อชาวไทยคนแรก' คือ คนขับรถแท็กซี่วัยห้าสิบปี ผู้เป็นสารถีรับส่งหญิงชาวจีนคนนั้นนั่นเอง ท้ายที่สุดการแพร่เชื้อดังกล่าว คือต้นตอติดเชื้ออีกหลายพื้นที่ จนเกิดคลัสเตอร์จุดสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สนามมวยลุมพินี ราชดำเนิน และชุมชนแรงงานมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร

บรรยากาศหวาดวิตก เดินสู่ความหวาดหวั่น ที่สุดไทยทั้งประเทศก็จำต้องพานพบกับความมืดมนอนธการอย่างยาวนานเกินกว่า 1,000 ราตรี ภายใต้กรงเล็บทะมึนชื่อ 'โควิด 19' เชื้อร้ายไร้ปรานีผู้ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ

ขณะนั้น วิสัยทัศน์ของผู้นำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อเหตุการณ์ตรงหน้า ซึ่งเกิดพร้อมกันไล่เลียงจนครบทุกประเทศบนโลก โดยอดคิดไม่ได้ว่า หากเรามีผู้นำคนอื่นที่มิใช่ ‘พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา' บ้านเมืองอาจมีสภาพไม่ต่างจากบราซิล, อินเดีย หรือสหรัฐอเมริกา ก็เป็นได้

แน่นอนว่าพลเอกประยุทธ์มิใช่อัศวินขี่ม้าขาว ควงปืนไล่ล่าเชื้อโรคจนกระเจิงหาย แต่สิ่งที่นายกรัฐมนตรีลงมือทำทันทีคือการมอบความไว้วางใจให้ 'หมอ' ขึ้นเป็นแม่ทัพสงครามต่อกรโรคระบาด โดยท่านเลือกนั่งบังคับบัญชาภาพรวมเพื่อตัดสินใจ หลังรับข้อมูลสาธารณสุขครบถ้วนทุกด้าน มาตรการมากมายหลายเรื่องถูกกลั่นจากสมองขุนพลคณะแพทย์ผู้อาสารบภายใต้นาม 'ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)' วันแล้ววันเล่า ทั้งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงแผนระยะยาว โดยมีชีวิตคนไทยกว่า 67 ล้านคนเป็นประกัน

แม้ช่วงแรกของศึกจะมีการสร้างวาทกรรมเพื่อลดความน่าเชื่อถือ เพียงหวังผลทางการเมือง และประโยชน์ทางธุรกิจ จากบางกลุ่ม แต่สุดท้ายคนไทยส่วนใหญ่ก็พร้อมใจปฏิบัติตามกฎควบคุมโรคของรัฐบาล ตั้งแต่มาตรการเคอร์ฟิว สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือ จนถึงแนวคิด 'Work From Home'

ทำไมประเทศไทย ถึงรอดจากภัยโควิด19?

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ในประเทศไทย จะคลี่คลายลงในระดับที่ทำให้คนไทยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และเปิดประเทศจนมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกไหลกลับคืนสู่ประเทศ ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยได้อย่างรวดเร็ว

แต่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมานี้ หากประเทศไทย ‘ยอมแพ้’ และไม่มีใครลุกขึ้นมาสู้ พวกเราคงไม่ได้มาอยู่ในสถานการณ์ที่ดีงามเฉกเช่นทุกวันนี้

2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวัน ‘นักประดิษฐ์’ เทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 9

วันนักประดิษฐ์ ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงประดิษฐ์ 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ กังหันชัยพัฒนา และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นวันที่สภาวิจัยแห่งชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศ เครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับการจดสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจดทะเบียนออกสิทธิบัตรให้แก่พระราชวงศ์ 

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2537 จึงได้กำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันนักประดิษฐ์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น 'เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย' หรือ 'กังหันน้ำชัยพัฒนา' และทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 นอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติแล้ว ยังเป็นวันที่ระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงคิดค้นประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และทรงได้รับสมัญญาว่า 'พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย'

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ‘รัฐบาลทักษิณ’ ประกาศสงครามกับยาเสพติด ส่งผลเกิดเหตุฆ่าตัดตอนนับพันราย

1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 วันนี้ในอดีต รัฐบาลโดยการนำของ ทักษิณ ชินวัตร ประกาศปราบปรามยาเสพติดในประเทศไทยชนิดเข้มข้น หลังการประกาศเพียง 3 เดือน เกิดคดีการฆ่าตัดตอนขึ้นนับพันราย

หลายคนจดจำ ‘รัฐบาลทักษิณ’ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2547 กับสโลแกน ‘คิดใหม่ ทำใหม่’ กันได้ดี แต่หนึ่งในเหตุการณ์ที่ต้องถือว่าเป็นไฮไลท์ในยุคที่ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ นั่นก็คือ การปราบปรามยาเสพติด

โดยเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 อดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ ได้ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่า จะทำสงครามกับขบวนการค้ายาเสพติดในประเทศไทยชนิดเด็ดขาด! และนับจากเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเมษายนของปีนั้น เกิดการฆาตกรรมที่เชื่อมโยงมาจากการปราบปรามยาเสพติดกว่า 2 พันราย!

31 มกราคม พ.ศ.2408 เชิญ ‘พระบาง’ จากวัดจักรวรรดิราชาวาสฯ คืนสู่หลวงพระบาง

วันนี้ เมื่อ 158 ปีก่อน อัญเชิญ ‘พระบาง’ จากวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหวิหาร ไปยังหลวงพระบาง

ในปี พ.ศ. 2369-2371 เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ได้ยกกองทัพเข้าตีหัวเมืองอีสานทั้งหมด ยึดได้เมืองนครราชสีมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยกกองทัพไปปราบ ในที่สุดปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้ เมื่อจัดการบ้านเมืองทางอีสานให้เข้าสู่ความสงบเรียบร้อยแล้ว

‘กลุ่มจิตอาสา 904’ ร่วมกำจัดวัชพืช เก็บผักตบชวา ปรับปรุงภูมิทัศน์ ขจัดน้ำท่วม ร่วมแก้แล้ง ที่จ.ลพบุรี

เมื่อวานนี้ (29 ม.ค. 66) ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการจิตอาสาพัฒนา ‘คลองสวยน้ำใส’ ปรับปรุงภูมิทัศน์ กำจัดวัชพืชเก็บผักตบชวา ณ คลองส่งน้ำชลประทาน ตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ภายใต้การร่วมมือของ ‘กลุ่มจิตอาสา 904’ หลากหลายภาคส่วน โดยโครงการนี้เป็นการร่วมกันเพื่อช่วยแก้ปัญหาคลองตันจากวัชพืชที่ส่งผลต่อต้นน้ำที่ติดขัดในการใช้บริโภคของชาวบ้าน อีกทั้งยังช่วยสร้างความคล่องตัวให้ทางน้ำไม่เกิดการท่วมขังไปในตัว

สำหรับโครงการดังกล่าว ทาง ว่าที่ร้อยตรี อดิศักดิ์ วิโสรัมย์ นายอำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ให้สัมภาษณ์ว่า…

“กิจกรรมที่อำเภอท่าวุ้งในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ต่อยอดมาจากกิจกรรมอาสาพัฒนา ซึ่งตั้งแต่ที่ผมย้ายมาเป็นนายอำเภอที่นี่ เมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา ก็ได้มีการพูดคุย ปรึกษาหารือกับผู้นำท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานราชการต่าง ๆ ถึง จุดแข็ง-จุดอ่อน ของพื้นที่อำเภอท่าวุ้ง โดยพบว่ามีหลายจุดที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาน้ำ เช่น น้ำท่วม น้ำแล้ง เป็นต้น”

ว่าที่ร้อยตรี อดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า “ทางท่านกำนันบางคู้ และทีมงานของท่านนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้ และภายในพื้นที่ จึงได้มีการกำหนดร่วมกันกับสำนักงานชลประทานที่ 10 ว่า เขาควรทำอย่างไร ที่จะทำให้ปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้งหมดไป จึงได้ทำการมาลงสำรวจพื้นที่จริงกัน

“ปรากฏว่า ปัญหาสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจาก คลองส่งน้ำของเรามีวัชพืชขวางทาง เช่น ผักตบชวา จึงทำให้น้ำส่วนล่างจากในคลองส่งไปได้ไม่ดี และทำให้พี่น้องประชาชนได้รับน้ำเพื่อนำมาใช้ในการเกษตร หรืออุปโภค บริโภคได้อย่างไม่ทั่วถึง จึงเป็นที่มาที่ทางเราได้ทำการปรึกษาหารือกับทุกภาคส่วน ดำเนินการด้วยแนวคิดจิตอาสาในโครงการคลองสวยน้ำใส ในพื้นที่ของท่าวุ้งครับ”

นอกจากในส่วนของนายอำเภอแล้ว อีกหนึ่งบุคคลที่ถือว่าเป็นกำลังสำคัญ คือ นายอนิรุตติ์ กระแสลาภ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช โดยนายอนิรุตติ์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “ในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายที่ดูแล รับผิดชอบในเขตบางคู้ ตำบลบางคู้ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี และในกิจกรรมนี้ผมก็เป็นตัวแทนของทางสำนักงานชลประทานที่ 10 กรมชลประทาน จึงได้มาสนับสนุนด้านเครื่องจักร มีรถแบคโฮ จำนวน 2 คัน เพื่อมาช่วยกำจัดวัชพืชในคลองเส้นนี้ ความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร”

นายอนิรุตติ์ กล่าวอีกว่า “วันนี้ทุกคนร่วมใจกันอย่างมาก เราได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านในท้องที่ รวมถึงหน่วยงานทหาร มาช่วยเป็นอาสา ต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้มามีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่นในครั้งนี้”

30 มกราคม พ.ศ. 2491 ‘มหาตมะ คานธี’ ถูกยิงเสียชีวิต ด้วยฝีมือชายชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา

30 มกราคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) นาถูราม โคทเส ยิง มหาตมะ คานธี ผู้นำทางการเมือง และ จิตวิญญาณของชาว อินเดีย เสียชีวิต ในเมืองเดลี

ช่วงเย็นของวันที่ 30 มกราคม มหาตมะ คานธี 2491 (ค.ศ. 1948) ผู้นำทางจิตวิญญาณแห่งอินเดียกำลังยืนอยู่กลางสนามหญ้า ในขณะพนมมือสวดมนต์ตามกิจวัตร คานธีถูกนายนาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนาและไม่ต้องการฮินดู (อินเดีย) สมานฉันท์กับมุสลิม (ปากีสถาน) ใช้อาวุธปืนยิงใส่คานธี 3 นัด จนคานธีล้มลงขณะพนมมือ รายงานส่วนใหญ่บรรยายว่า คานธีเปล่งเสียงแผ่วเบาว่า 'ราม' (บ้างก็ว่า 'เห ราม' ซึ่งมีความหมายว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า) เป็นการปิดฉากบั้นปลายชีวิตของมหาบุรุษผู้ต่อสู้กับมหาอำนาจด้วยสันติวิธีในวัย 78 ปี ภายหลังจากที่อินเดียได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ได้เพียง 6 เดือน

สำหรับประวัติของชายผู้นำการเรียกร้องเอกราชและความเสมอภาค ที่ชื่อ มหาตมะ คานธี ที่เน้นความเป็นสันติวิธี เรียกกันว่าสัตยาเคราะห์ มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่คานธีเป็นทนายความในวัย 24 ปี โดยเกิดขึ้นบนสถานีรถไฟในประเทศแอฟริกาใต้ครั้งยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ

เป็นเหตุการณ์หลังจากที่คานธีเรียนจบกฎหมายจากลอนดอนกลับมาอยู่ที่อินเดียได้ไม่นาน คานธีเดินทางไปแอฟริกาใต้เพื่อไปเป็นนักกฎหมายประจำบริษัท Dada Abdulla ที่ทำการค้าอยู่ที่นั่น ในเดือนเมษายน ปี 1893 คานธีซื้อตั๋วรถไฟชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นตู้รถไฟที่หรูหราสะดวกสบายตามอัตราค่าบริการที่สูง แต่เขากลับถูกไล่ลงจากสถานีแรก ให้ไปอยู่ที่ตู้รถไฟชั้นสาม (ชั้นทั่วไปที่ไม่มีความสะดวกสบายและราคาถูก) โดยพนักงานตรวจตั๋วและผู้โดยสารชาวอังกฤษที่อ้างว่าตู้รถไฟชั้นหนึ่งสร้างขึ้นสำหรับผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น

29 มกราคม พ.ศ.2546 จลาจลเผาสถานทูตไทยในเขมร ผลพวง การยุยง ปลุกปั่นให้เกลียดชังไทย

วันนี้ เมื่อ 20 ปีก่อน เกิดเหตุจลาจลเผาสถานทูตไทย ในกรุงพนมเปญ ของกัมพูชา หลังหนังสือพิมพ์รัศมี อังกอร์ ( Rasmei Angkor) ตีพิมพ์บทความปลุกปั่นให้คนคลั่งเกลียดชังไทย

29 มกราคม พ.ศ.2546 เกิดเหตุจลาจลในกรุงพนมเปญ ของกัมพูชา ที่ชาวไทยยังจำได้ไม่ลืม โดยจุดเริ่มต้นของเรื่องมาจากข่าวแปลก ๆ ออกมาว่า เขมรจะทวงคืนปราสาทตาเมือนธมและสต๊กก๊กธม ในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2478 และบูรณะมาตลอด

กล่าวกันว่า เป็นการปล่อยข่าวจากพรรคฝ่ายค้านของนายสม รังสี ซึ่งต้องการสร้างกระแสชาตินิยมเป็นคะแนนให้พรรคสำหรับการเลือกตั้งใหญ่ในเดือนกรกฎาคมนั้น ข่าวนี้ทำคะแนนให้พรรคที่เป็นเจ้าของความคิดพอสมควร พรรคการเมืองคู่แข่งจึงต้องหาทางสร้างกระแสทำคะแนนบ้าง

ต่อมาในวันที่ 18 มกราคม 2456 ก็มีข่าวในหนังสือพิมพ์ ‘รัศมีอังกอร์’ ลงข่าวว่าดาราสาวไทย ‘กบ’ สุวนันท์ คงยิ่ง ให้สัมภาษณ์ในทีวีช่องหนึ่ง ตอบผู้สัมภาษณ์ที่ถามว่าเธอเกลียดอะไรมากที่สุดในโลก กบ สุวนันท์ บอกว่า เกลียดคนเขมรเหมือนเกลียดหมา เพราะชาวเขมรขโมยนครวัดไปจากไทย เมื่อถามว่าเธอจะเดินทางไปกัมพูชาหรือเล่นละครที่กัมพูชาเป็นผู้สร้างหรือไม่ ดาราสาวไทยก็บอกว่าจะเล่นก็ต่อเมื่อเขมรยอมคืนนครวัดให้แก่ไทย

นสพ.รัศมีอังกอร์เป็นหนังสือพิมพ์เล็กๆ มีคนอ่านไม่เท่าไหร่ ข่าวนี้เลยจุดไม่ติด ต่อมาในวันที่ 26 มกราคม นสพ. ‘เกาะสันติภาพ เดลี่’ ซึ่งเป็นหนังสือขายดีของเขมร ก็เลยต้องถ่ายทอดจาก นสพ.รัศมีอังกอร์ไปกระพือต่อ ทีนี้เลยได้ผล

ยังมี นสพ.กัมพูชาใหม่ รับลูกเสนอเป็นข่าวใหญ่ต่อมาว่า นักศึกษา 3 มหาวิทยาลัยในกรุงพนมเปญ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์ประณามดาราสาวไทย รับกับการเสนอข่าวกุของหนังสือพิมพ์ โดยไม่ได้วินิจฉัยความเป็นไปได้ของข่าว

เป็นที่รู้กันว่า สุวนันท์ คงยิ่ง เป็นดาราสาวไทยที่ได้รับความนิยมจากคนเขมรอย่างคลั่งไคล้ และระดับการศึกษาของเธอก็ขั้นปริญญา คงไม่ปัญญาอ่อนไปด่าคนเขมรที่นิยมในตัวเธออย่างท่วมท้นแบบนั้น ตรงกันข้าม เธอจะต้องรักคนเขมรอย่างมากด้วย ที่นิยมในตัวเธอ สนับสนุนความเป็นดาราของเธอ ซึ่ง กบ สุวนันท์ ได้แถลงทั้งน้ำตาว่า เธอไม่เคยพูดอะไรเกี่ยวกับคนเขมรแบบนั้นเลย ทั้งยังอยากไปชมนครวัดสักครั้งด้วย ถ้าหากเธอพูดก็น่าจะบอกให้ชัดเจนว่าเธอพูดที่ไหน เมื่อไหร่ จะได้เอาเทปมาพิสูจน์กัน

เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือ ในวันที่ 27 มกราคม สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ไปปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดกัมปงจาม บ้านเกิดของนายสม รังสี กล่าวแสดงความไม่พอใจในคำให้สัมภาษณ์ของดาราสาวไทย และว่าเธอไม่มีค่าอะไรมากไปกว่าต้นหญ้าที่ขึ้นรอบนครวัด พร้อมทั้งเรียกร้องให้คนกัมพูชามีความพอใจในวัฒนธรรมของตน โดยระบุว่าชาวบ้านหลายคนไม่ยอมประดับพระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์และพระราชินีกัมพูชา หรือแม้แต่ภาพพ่อแม่ของตน แต่กลับนำรูปของสุวนันท์ คงยิ่งมาติดแทน ทั้งยังประกาศว่าได้ออกคำสั่งให้งดฉายละครโทรทัศน์ของไทยเรื่อง ‘ลูกไม้หล่นไกลต้น’ ที่มี กบ สุวนันท์แสดงไปแล้ว

ในวันที่ 29 มกราคม นายเหมา อาวุธ ประธานสมาคมโทรทัศน์กัมพูชา ได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า ในวันที่ผ่านมา คณะของผู้บริหารสถานีโทรทัศน์กัมพูชามีมติเป็นเอกฉันท์ ให้ทุกสถานีหยุดแพร่ภาพออกอากาศรายการโทรทัศน์ของไทยทั้งหมดไว้ก่อน

จากนั้น ในเช้าวันที่ 29 นั้น มีนักศึกษาประชาชนกว่า 500 คนไปชุมนุมกันที่หน้าสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวุฒิสภา และห่างจากกระทรวงมหาดไทยไม่ถึง 100 เมตร ผู้ชุมนุมซึ่งเชื่อกันว่าเป็นม็อบจัดตั้งได้ชูป้ายด่ากบ สุวนันท์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่อมาก็ได้มีการนำธงชาติไทยมาเหยียบย่ำและจุดไฟเผา นายชัชเวทย์ ชาติสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทย เห็นว่าเหตุการณ์ไม่น่าไว้วางใจ มีตำรวจยืนดูอยู่ไม่กี่คน จึงโทรศัพท์ไปหาพลเอก เตีย บันห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอกำลังสารวัตรทหารมาคุ้มครอง แต่ก็ได้รับคำปฏิเสธ อ้างว่าตำรวจคุ้มครองได้

ช่วงบ่ายสถานการณ์รุนแรงยิ่งขึ้น มีการงัดป้ายสถานทูตไทยไปเผา ซึ่งสร้างความหวาดกลัวให้เจ้าหน้าที่ไทยที่ถูกกักตัวอยู่ในสถานทูต จึงได้โทรศัพท์ไปถึงพลเอก เตีย บันห์อีกถึง 3 ครั้ง และนายกฯทักษิณ ชินวัตร ยังได้โทรศัพท์สายตรงถึงสมเด็จฮุนเซนขอให้ช่วยดูแลคนไทย ซึ่งก็ได้รับคำรับรอง แต่ประมาณ 17.00 น. ผู้ประท้วงหลายร้อยคนลุกฮือเข้าไปในสถานทูตและทำลายข้าวของ ท่านทูตได้เรียกเจ้าหน้าที่สถานทูตให้หลบไปอยู่ในบ้านพักด้านหลัง ผู้ชุมนุมก็ตามไปอีก เจ้าหน้าที่สถานทูต 14 คนต่างปีนรั้วหนีตายลงในแม่น้ำ บางคนก็ได้รับบาดเจ็บ โชคดีที่มีคนไทยเอาเรือมารับไปพักที่โรงแรมรอยัลพนมเปญ ขณะหนีก็เห็นไฟลุกขึ้นในสถานทูตแล้ว ต่อมาผู้ช่วยทูตทหารได้มารับท่านทูตไปพักที่บ้านพัก เจ้าหน้าที่บางส่วนยังพักที่โรงแรมต่อไป แต่ต่อมาทั้งโรงแรมรอยัลพนมเปญและบ้านพักผู้ช่วยทูตทหารก็ไม่รอด ถูกเผาวอดทั้ง 2 แห่ง ต้องหนีตายกันต่อไป

หลังจากเผาสถานทูตไทยโชติช่วงแล้ว ม็อบมอเตอร์ไซค์ก็ตะเวนเผาโรงแรมและบริษัทห้างร้านของคนไทย บรรดาคนไทยต้องหนีตายกันหัวซุกหัวซุน หลายคนถูกปล้นรูดทรัพย์เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยวที่ถูกอาศัยโอกาสไปด้วย พวกโจรได้สมทบเข้าปล้นและงัดแงะทรัพย์สินของคนไทย โดยไม่มีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาดูแล

สามารถ พยัคฆ์อรุณ อดีตยอดนักมวยไทยชื่อดัง และแชมป์โลกมวยสากลอาชีพคนที่ 10 ของไทย โพสต์เฟซบุ๊กเมื่อ 27 ม.ค.2566

เมื่อวันที่ 27 ม.ค.66 ที่ผ่านมา นายสามารถ พยัคฆ์อรุณ อดีตยอดนักมวยไทยชื่อดัง และแชมป์โลกมวยสากลอาชีพคนที่ 10 ของไทย ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับเรื่องมวยไทย ภายหลังที่มีกระแสการเคลมมวยไทยจากชาวกัมพูชาผ่านเฟซบุ๊ก 'Samart Payakaroon' ว่า...

เนื่องจากมีแฟนมวยหลายๆ คน ต้องการให้ผมแสดงความคิดเห็นในกรณีประเทศเพื่อนบ้าน ผมไม่ได้มีความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์อะไร เลยไม่อยากที่จะวิพากษ์วิจารณ์อะไรออกมา

แต่สิ่งที่ผมรู้ มวยไทยของเรา มีหลักฐานการบันทึก รูปภาพ การแข่งขัน มาอย่างยาวนานอยู่แล้ว และพวกเราชาวมวยไทยได้ผ่านอุปสรรค ได้ต่อสู้อะไรกันมามากมายกว่าจะมาถึงจุดนี้ จุดที่มวยไทยเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมจากทุกมุมโลก

สำหรับความคิดผม พวกเรามาไกลเกินกว่าที่จะมาสนใจ ว่าใครจะใช้เราเป็นบันไดในการใช้สร้างชื่อเสียง สร้างเครดิตให้พวกเขา

มวยไทยเป็นกีฬาศิลปะการต่อสู้ที่มีเสน่ห์ มีศักดิ์ศรี มีเอกลักษณ์ มีความเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งหาได้ยากจากกีฬาทั่วไปและไม่มีใครเหมือนแน่นอนครับ

28 มกราคม พ.ศ. 2551 สภาโหวต ‘สมัคร สุนทรเวช’ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 25 ของไทย

วันนี้ เมื่อ 15 ปีก่อน สมัคร สุนทรเวช ผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเมืองไทย ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนที่ชนะการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และทำให้นายสมัครได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 25 ของประเทศไทย

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี มีขึ้นในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 ครั้งนั้นมีเรื่องสำคัญที่ฝ่ายพรรคพลังประชาชนกับฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์หยิบขึ้นมาพูดคุยกันสองประเด็น คือ หนึ่ง การเสนอให้ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีต้องอภิปรายแสดงวิสัยทัศน์ และสอง การเสนอชื่อคนที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี

สืบเนื่องจากผลจากการเลือกตั้ง แม้ว่าพรรคพลังประชาชนจะได้คะแนนเสียงเกือบเกินกึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร แต่ฝ่ายพรรคพลังประชาชนกับฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเสียงไม่ห่างกันมาก ที่สำคัญคือภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ส.ส.ของแต่ละพรรคไม่จำเป็นต้องทำตามญัตติพรรค ส.ส.สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้อิสระตามความคิดของแต่ละคน ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จึงเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมาแข่งกับนายสมัคร สุนทรเวช จากพรรคพลังประชาชน

‘อุ๊งอิ๊ง’ VS ‘หญิงหน่อย’ อาภรณ์ อุดมการณ์ ความรู้ ความรวย

เทียบฟอร์มกันชัดๆ ระหว่าง ‘อุ๊งอิ๊ง’ หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย ลูกสาวคนเล็กของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ ‘หญิงหน่อย’ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย ผู้ช่ำชองในวงการการเมืองไทยมากกว่า 30 ปี


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top