Friday, 3 May 2024
LITE

19 มกราคม พ.ศ. 2545 ในหลวง ร. 9 ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

วันนี้ เมื่อ 21 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสาร และอาคารเทียบเครื่องบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ทั้งนี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนาม ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ว่า 'ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ' ซึ่งมีความหมายว่า 'แผ่นดินทอง'

สำหรับแนวคิดในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร เริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง 'สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ' ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เช่นเดียวกับการศึกษาของบริษัทลิตช์ฟีลด์และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร

รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้างก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา จนสัมปทานถูกยกเลิก ต่อมา รัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาแทมส์เพื่อศึกษาพื้นที่ในการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2521 ก็ได้ข้อสรุปตามเดิมว่า หนองงูเห่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด

เมื่อถึง พ.ศ. 2534 รัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 ณ บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) เป็นผู้ดำเนินการ

ต่อมาในรัฐบาล ชวน หลีกภัย ได้อนุมัติงบประมาณ 120,000 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการ และให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ไม่ต้องนำเงินกำไร 50% ส่งเข้าคลังเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอที่จะอพยพโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่เวนคืน

18 มกราคม ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันกองทัพไทย’ รำลึกพระนเรศวรทำยุทธหัตถีมีชัยต่อทัพพม่า

วันที่ 18 มกราคมของทุกปีเป็น วันกองทัพไทย วันนี้มีเพื่อระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า

18 มกราคมของทุกปี นับเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งในวงการทหารของไทย เพราะเป็นวันที่ระลึกในวาระที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่า โดยถือเอาวันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ตามการคำนวณจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ที่ระบุว่า พระองค์กระทำยุทธหัตถี ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช 954 คำนวณได้ ตรงกับวันที่ 18 มกราคม พุทธศักราช 2135 (บางตำราว่า ปีพุทธศักราช 2136)

เดิมกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันกองทัพไทย และวันสถาปนากระทรวงกลาโหมลง 13 มิถุนายน 2513

‘เทสลา’ ประกาศ ปรับราคาจำหน่าย หวังกระตุ้นยอดขาย - จูงใจผู้บริโภค

Tesla ประกาศลดราคาจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า ในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในแถบเอเชีย ใกล้ๆ บ้านเรา ยกตัวอย่างเช่น ประเทศจีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย โดยเหตุผลในการปรับลดราคาคือ ในเอเชียรถยนต์ไฟฟ้านั้น มีการแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว ทำให้ภาพรวมตลาดรถยนต์อีวียังประสบปัญหา 

และหากเจาะไปที่ประเทศจีนจะพบว่า การปรับลดราคาของ Tesla รุ่น Model Y และ Model 3 จะทำให้ราคาจำหน่ายของทั้งสองรุ่นถูกกว่าที่จำหน่ายในสหรัฐอเมริกา 23-32% เช่น รุ่น Model 3 จากราคาเริ่มต้น 2.65 แสนหยวน เหลือ 2.29 แสนหยวน หรือราว 1.13 ล้านบาท

นอกจากนี้การปรับลดราคายังมาผลมาจากการเลิกมาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจากทางการปักกิ่ง ทำให้ Tesla ต้องตัดสินใจ ปรับลดราคาเพื่อกระตุ้นตลาดและจูงใจผู้บริโภคในยุคที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว และโรคโควิด-19 ยังระบาด ทำให้ทุกคนต้องควบคุมค่าใช้จ่าย แต่ในการตัดสินใจครั้งนี้ ก็ได้สร้างความไม่พอใจให้กับผู้ที่ซื้อรถยนต์ Tesla ไปก่อนหน้านี้จนเกิดการประท้วงกันที่หน้าโชว์รูม

วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ ผู้ประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทย

วันที่ 17 มกราคมของทุกปี ถือเป็นวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อันเป็นวันค้นพบหลักศิลาจารึก เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ทรงทำนุบำรุงปกครองบ้านเมืองด้วยพระเมตตาธรรมต่อไพร่ฟ้า อาณาประชาราษฎร์ทรงสร้างสรรค์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ ของชาติไว้อย่างอเนกอนันต์มรดกของชาติที่สำคัญที่สุดก็คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้

นอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐาน แห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากว่า 718 ปี

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ดังที่ได้ประจักษ์รัฐบาลและปวงชนชาวไทย จึงได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านเป็น 'มหาราช' พระองค์แรกของชาติไทย และได้ร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านขึ้นไว้เพื่อสักการะ ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดสุโขทัย โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จากศาลพระแม่ย่าไปสถิต ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ แล้วทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 โดยจังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มีพิธีถวายบังคมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 เป็นต้นมา

ตำราบนแผ่นฟิล์ม 'To Sir, with Love แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ' แก่น ‘คุรุ’ ช่วย 'ว่าที่ครู' ถ่องแท้ก่อนสอนสั่งลูกศิษย์

สำหรับการอธิบายความเป็น 'ครู' แล้ว ภาพยนตร์เรื่อง 'แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ' (To Sir, with Love) นั้นเหมาะสมอย่างยิ่ง พอเหมาะและสมควร ครบถ้วนด้วยเนื้อหา อารมณ์ ศิลปะการถ่ายทอด อย่างปราศจากกาลเวลาข้องเกี่ยว - อกาลิโก

To Sir, with Love ถูกสร้างและออกฉายตั้งแต่ ค.ศ. 1967 โดยเล่าย้อนถึงช่วงกลางทศวรรษ 1960 เมื่อ 'มาร์ค แธกเกอร์เรย์' (Mark Thackeray) ชายอพยพจากอาณานิคมบริติชเกียนา ไปแสวงหาโชคบนแผ่นดินอังกฤษ ด้วยกระเป๋าเสื้อผ้าติดตัวเพียงใบเดียว พร้อมปริญญาบัตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต โดยต้องเดินเตะฝุ่นหางานนานถึงปีครึ่ง จนสุดท้ายเขาต้องหันรับงานสอนในโรงเรียนมัธยมเทศบาล 'นอร์ทคีย์' (North Quay) ชั่วคราว เพื่อรับรายได้ประทังชีพ

บท ‘มาร์ค แธกเกอร์เรย์’ แสดงโดย ‘ซิดนีย์ พอยติเยร์’ (Sidney Poitier)

เนื้อหาภาพยนตร์ชี้ว่ายุคสมัยนั้น “ช่างตกต่ำ มีความเหลื่อมล้ำสูง ทั้งแง่มุมเศรษฐกิจ และชาติพันธุ์”

ครูแธกเกอร์เรย์ต้องผจญกับความไร้ระเบียบจากเหล่าบรรดาอสูรวัยรุ่นที่พ่อแม่ฝากความหวัง (หรือเพียงดันหลังเข้าโรงเรียน) ด้วยคิดว่าลูกตนคงจะห่างไกลสิ่งแวดล้อมมลพิษรอบถิ่นที่อยู่ แต่ด้วยข้อจำกัดทางงบประมาณของสถานศึกษา กับอนาคตซึ่งตัวเด็กเองยังมองไม่เห็น พล็อตเรื่องเช่นนี้ ภาพยนตร์ ‘แด่คุณครู, ด้วยดวงใจ’ ถึงขึ้นหิ้งดราม่าฐานะตำนาน (7.6 IMDB) ตลอดกาล

สิ่งน่าชื่นชมที่สุด คือ การแสดงของ ‘Sidney Poitier’ ดาราผิวสีคนแรกที่พิชิตรางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยมจาก 'อะคาเดมี่ อวอร์ดส' (ออสการ์) ผู้ถูกนิยามว่าเป็น ‘กาวใจ’ ระหว่างรอยต่ออันอึดอัดขัดแย้งระหว่างนักแสดง ‘ผิวสี’ และนายทุน ‘ผิวขาว’ ณ ยุคเตาะแตะ ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหาของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ฮอลลีวูด

คือ 'พอยติเยร์' ที่ 'หลุยส์ กอสเส็ตต์ จูเนียร์' บิดาของเหล่าเจ้าพ่อย่านเซาท์ไซต์ (อีกที) นักแสดงรุ่นเก๋า กับ 'แดนเซล วอชิงตัน' ดาราทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของวงการ ยกย่องเขาราวเทวรูปบูชา ด้วยประโยค "ข้าพเจ้าจักเดินตามท่านทุกฝีก้าวขอรับ - I'll Follow Your Footstep, Sir." เดียวกัน

พี่ น้อง ลูกหลาน ต่างเคารพเขาเสมือน 'ครู'

ฉากน่าประทับใจจากหนัง (ภาค 1 หรือ 2 ไม่แน่ใจ - ผู้เขียน) คือตอนที่ครูมาร์คพานักเรียนวัยห้าวออกเผชิญโลกภายนอก (คล้ายๆ การเรียนรู้นอกห้อง หรือเชยๆ ก็ทัศนศึกษา) ละแวกโรงเรียนหลังทัวร์พิพิธภัณฑ์ ท่านเรียกประชุมกลุ่มตรงริมฟุตปาธ แล้วให้โจทย์นักเรียนหนุ่มผิวขาวหัวโจกของห้องเดินไปทักหญิงสูงวัยถือร่มรีรอข้ามถนน

16 มกราคม ของทุกปี เป็น ‘วันครูแห่งชาติ’ น้อมรำลึกพระคุณ ‘แม่พิมพ์ของชาติ’

วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี กำหนดให้เป็น ‘วันครูแห่งชาติ’ รำลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ ผู้ที่ได้ชื่อว่า แม่พิมพ์ของชาติ

'วันครู' ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 หลังจากพระราชบัญญัติครูประกาศใช้ 12 ปี โดยสถานที่จัดงานวันครั้งแรกเกิดขึ้นในจังหวัดพระนคร และธนบุรี ที่กรีฑาสถานแห่งชาติ

จุดเริ่มต้นของการมีวันครู มาจากการเรียกร้องของครูจำนวนมาก ซึ่งความเห็นของครูที่แสดงออกมาทั้งพยายามที่จะชี้ให้เห็นความสำคัญของครูและอาชีพครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก จึงควรที่จะมีวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู เปิดโอกาสให้ครูทั้งหลายได้พักผ่อนบำเพ็ญกุศลและตลอดจนดำรงกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อประโยชน์ของครูและการศึกษาของชาติตามสมควร

จากความต้องการและการเรียกร้องของครูดังกล่าว จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้นำเสนอในที่ประชุมผู้แทนคณะครูทั่วประเทศในคราวประชุมวิสามัญของคุรุสภา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2499 ที่ประชุมสามัญของคุรุสภามีมติเห็นชอบและให้เสนอคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาพิจารณา เพื่อกำหนดให้มีวันครูขึ้น

15 มกราคม พ.ศ.2477 พิธีเปิดอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี วีรสตรีผู้กล้าแห่งเมืองโคราช

ครบรอบ 89 ปี พิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่ชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของ ‘ย่าโม’ โดยได้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยนั้น

วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2477 เป็นวันทำพิธีเปิด อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม ที่ชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของท่าน โดยได้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร ประติมากรเลื่องชื่อในสมัยนั้น

ท้าวสุรนารี มีนามเดิมว่า 'โม' หรือท้าวมะโหโรง เป็นชาวเมืองนครราชสีมาโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีระกา พ.ศ. 2314 มีนิวาสสถานอยู่ ณ บ้านตรงกันข้ามกับวัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลางนคร) ทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา มีพี่สาวหนึ่งคนและน้องชายหนึ่งคน

ต่อมา

เมื่อปี พ.ศ. 2339 โม ได้แต่งงานสมรสกับนายทองคำขาว ต่อมานายทองคำขาวได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระภักดีสุริยเดช ตำแหน่งรองปลัดเมืองนครราชสีมา นางโม จึงได้เป็นคุณนายโม และต่อมา พระภักดีสุริยเดช ได้เลื่อนเป็น พระยาสุริยเดช ตำแหน่งปลัดเมืองนครราชสีมา คุณนายโมจึงได้เป็น คุณหญิงโม และชาวเมืองนครราชสีมาเรียกท่านทั้งสองเป็นสามัญว่า คุณหญิงโม และ พระยาปลัดทองคำ 

ท้าวสุรนารีเป็นคนมีสติปัญญาหลักแหลม เล่นหมากรุกเก่ง มีความชำนาญในการขี่ช้าง ขี่ม้า มีม้าตัวโปรดสีดำ และมักจะพาลูกหลานไปทำบุญที่วัดสระแก้วเป็นประจำเสมอ ท้าวสุรนารีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2395 สิริรวมอายุได้ 81 ปี

สำหรับวีรกรรมของท้าวสุรนารี ที่ชาวไทยยกย่อง และจดจำมาจนถึงทุกวันนี้ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ได้ยกกองทัพเข้ามายึดเมืองนครราชสีมา และกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไป คุณหญิงโมและนางสาวบุญเหลือรวบรวมครอบครัวชายและหญิงชาวนครราชสีมาที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย เข้าต่อสู้ฆ่าฟันทหารลาวล้มตายเป็นอันมาก ณ ทุ่งสัมฤทธิ์ แขวงเมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2369 ช่วยให้ฝ่ายไทยสามารถกอบกู้เมืองนครราชสีมากลับคืนมาได้ในที่สุด

เมื่อความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโม ขึ้นเป็น 'ท้าวสุรนารี' เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2370 เมื่อคุณหญิงโมมีอายุได้ 57 ปี พร้อมกับพระราชทานเครื่องยศดังนี้

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกแห่งสยาม

วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปีคือ ‘วันเด็ก’ แห่งชาติ ซึ่งเป็นวันสุขของเด็กๆ ที่จะได้สัมผัส รถถัง เครื่องบิน อาวุธยุทโธปกรณ์ เก้าอี้นายกฯ เก้าอี้ผู้ว่า ฯลฯ คือเรียกว่าได้ฝันเป็นอาชีพนั้นๆ อย่างมีความสุข พอนึกถึงมุมนี้ ก็มีอีกมุมหนึ่งที่ผมได้รำลึกถึงคือ เจ้านายที่เป็นยุวชน ซึ่งวัยเด็กของพระองค์คือการเรียนรู้เพื่อปกครองบ้านเมือง เป็นยุวชนที่มีมุมมองของขัตติยะ แม้ในท้ายที่สุดพระองค์จะมิได้ขึ้นครองราชย์เนื่องจากทรงสวรรคตไปเสียก่อน

‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร’ สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกแห่งสยาม คือเจ้านายพระองค์นั้น พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระราชสมภพแต่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2421 โดยพระนาม ‘มหาวชิรุณหิศ’ แปลว่า ‘มงกุฎเพชรใหญ่’ ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษได้ว่า ‘Crown Prince’ คือ ‘พระราชสมภพมาเพื่อสวมมงกุฎ’ 

ภายหลังการเสด็จทิวงคตของ ‘กรมพระราชวังบวรวิเศษไชยชาญ’ เมื่อ พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีก ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และทรงสถาปนาตำแหน่ง ‘สยามมกุฎราชกุมาร’ เพื่อเป็นองค์รัชทายาทแทน โดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริว่า ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและอาจทำให้ชาวต่างประเทศเข้าใจสับสน ส่วนพระราชอิสริยยศ ‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช’ ซึ่งเรียกว่า ‘สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า’ ที่ได้ตั้งขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เป็นตำแหน่งที่สอดคล้องตามแบบอย่างการสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในนานาอารยประเทศที่มีราชประเพณีแต่งตั้งพระราชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นมกุฎราชกุมารดำรงตำแหน่งรัชทายาท

ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2430 พระชนมายุ 9 พรรษา 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการ ให้ ‘สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงษ์ กรมพระภาณุพันธุวงษ์วรเดช’ เป็นอธิบดีอำนวยการพระราชพิธีมหาพิชัยมงคลสรงสนาน เฉลิมพระปรมาภิไธย ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าราชกุมารพระองค์ใหญ่ การพระราชพิธีครั้งนี้ เป็นการพิธีพิเศษใหญ่ยิ่ง สมควรจะมีการเฉลิมพระเกียรติยศต่อการพระราชพิธีให้สมควรแก่กาลสมัยด้วย 

สมเด็จฯ กรมพระภาณุพันธุวรเดชได้ทรงคิดให้มีการเลียบพระนคร เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ออกประทับพลับพลาหน้าท้องสนามไชย พระราชทานเหรียญที่ระลึกในการพระราชพิธี การแห่เรือกระบวนพยุหยาตราในท้องน้ำ แล้วแข่งเรือคล้ายกับพระราชพิธีกาศวยุช

พระพุทธเจ้าหลวง โปรดเกล้าฯ ให้ทำแพลงสรง เครื่องประดับพระมณฑปและเครื่องพิธีต่างๆ ทั้งยังให้ซ่อมแซมพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทสำหรับตั้งการพระราชพิธี รวมทั้งตกแต่งซ่อมแซมเรือกระบวน เครื่องต้นสำหรับทรงแห่สมโภช และให้มีศุภอักษร ท้องตราถึงหัวเมืองประเทศราช เมือง เอก โท ตรี จัตวา ให้ทราบการกำหนดพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระให้ทราบการกำหนดพระราชพิธีลงสรงเฉลิมพระปรมาภิไธยครั้งนี้ โดยมีพระราชพิธีรวมทั้งสิ้นถึง 9 วัน

เมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระชนมายุครบ 13 พรรษา ในปี พ.ศ. 2433ได้มีพระราชพิธีโสกันต์อย่างยิ่งใหญ่เป็นเวลา 8 วัน ก่อนที่ในปีเดียวกัน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2434 โดยมี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศ วริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จนถึงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2434 จึงลาผนวช

พระองค์เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เช่น เสด็จฯ ออกรับฎีกาที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวาย / เสด็จฯ ไปในการพระราชพิธีและพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีเผด็จศกมหาสงกรานต์ / การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก / การบำเพ็ญพระราชกุศลในวันคล้ายวันประสูติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว / การเชิญพระอัฐิกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) / ทำบุญสดับปกรณ์ / การบำเพ็ญพระราชกุศลในวันวิสาขบูชา

ต่อมาเมื่อได้สถาปนาพระอิสริยยศเป็น ‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร’ นอกจากจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจดังเดิมเหมือนเมื่อครั้งเป็นสมเด็จพระลูกยาเธอแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินติดตามพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง เสด็จฯ ประพาสหัวเมืองเยี่ยมเยือนทุกข์สุขราษฎร รวมถึงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เช่น เสด็จฯ ออกรับอาร์ชดยุกลิโวโปลด์แห่งออสเตรียและคณะ พร้อมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี / ทรงเป็นสภานายกกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ / เสด็จ ฯ พระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลแก่นักเรียนโรงเรียนสุนันทาลัย (เพียบเลย) 

และเมื่อ พระพุทธเจ้าหลวง ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะจัดการทหารบก ทหารเรือ ให้เรียบร้อยเป็นระเบียบแบบแผน จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำแหน่ง ผู้บัญชาการทั่วไป ซึ่งตรงกับตำแหน่งภาษาอังกฤษว่า ‘คอมมานเดออินชิฟ’ โดยให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร รับตำแหน่ง แต่โดยที่ทรงเห็นว่ายังทรงพระเยาว์ จึงให้ตราพระราชบัญญัติตั้งกรมทหารควบคู่ไว้ด้วยเพื่อช่วยการจัดระเบียบให้เป็นแบบแผนเดียวกัน

นักวิจัยไทยสุดเจ๋ง!! รู้จัก ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ หัวหน้าคณะวิจัยและพัฒนาโมเลกุล ‘มณีแดง’

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร หัวหน้าคณะผู้วิจัยและพัฒนา โครงการ ‘มณีแดง’

สวัสดีนักอ่านที่น่ารักทุกท่าน ใครที่ติดตามเรื่องเล่าของผมเป็นประจำก็จะรู้ว่าหลายครั้งหลายคราผมได้หยิบยกเหตุการณ์ในอดีต หรือแม้แต่บุคคลที่สร้างวีรกรรมต่าง ๆ ในอดีตมาเขียนเล่าเรื่องให้ทุกท่านได้อ่านกัน และส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องหรือบุคคลในต่างประเทศ

พอมานั่งตรึกตรองดูแล้ว ผมอยากจะเล่าเรื่องของคนไทยบ้าง และอยากเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันให้มากขึ้น หันซ้ายหันขวาผมก็เจอเรื่องและบุคคลที่น่าสนใจ นั่นก็คือ ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ หัวหน้าคณะผู้วิจัยและพัฒนา โครงการ ‘มณีแดง’ 

สำหรับใครที่ตามข่าวแนว ๆ วิทยาศาสตร์ก็อาจจะเคยได้ยินชื่อ ‘มณีแดง’ กันมาบ้าง และคงตาลุกวาวเมื่อรู้ว่า ‘มณีแดง’ เปรียบดังยาอายุวัฒนะ

ก่อนจะอธิบายว่าทำไม ‘มณีแดง’ เปรียบดังยาอายุวัฒนะ นั้น ผมขอแนะนำประวัติคร่าว ๆ ของ ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ ผู้ค้นพบและวิจัยมณีแดงก่อนนะครับ

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย อาจารย์ประจำ และอดีตหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ผู้เชี่ยวชาญด้านอณูพันธุศาสตร์ มีผลงานวิจัยดีเด่นทางด้านการศึกษาการอณูพันธุศาสตร์โรคมะเร็งโพรงหลังจมูก และสภาวะเหนือพันธุกรรม (Epigenetic) ที่เป็นกลไกสำคัญในการเกิดโรคในมนุษย์ ได้แก่ มะเร็ง โรค autoimmune และโรคชรา

ที่สำคัญ ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ เป็นหัวหน้าคณะผู้วิจัยและพัฒนาโมเลกุล ‘มณีแดง’ หรือ RED-GEMs (REjuvenating DNA by GEnomic Stability Molecules) และนอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยจำนวนมากที่สำคัญ เช่น

๑. การค้นพบ DNA ของไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV) ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก ในปัจจุบันใช้การวัดปริมาณ EBV ของ DNA ในน้ำเหลืองเพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก

๒. ศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมของสาย DNA เบสซ้ำเพื่อควบคุมการทำงานของยีนและปกป้องจีโนมของเซลล์ (2-8) ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการป้องกัน ตรวจกรองวินิจฉัยและรักษา มะเร็งและความชราในอนาคต

๓. ศึกษาสภาวะเหนือพันธุกรรมของยีนที่จำเพราะกับชนิดเนื้อเยื่อหรือชนิดการติดเชื้อไวรัส (9-13) ทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการตรวจกรองและวินิจฉัยมะเร็งในอนาคต

๔. ค้นพบรอยฉีกขาดของ DNA ที่ดี (14-17) ที่อาจมีประโยชน์ป้องกันความไม่เสถียรของจีโนม ความชราและมะเร็ง น่าจะทำให้เกิดแนวทางใหม่ในการป้องกันการเกิดมะเร็งและความชราในอนาคต

อ่านเพียงเท่านี้ ก็ต้องยกนิ้วโป้งให้ ‘ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร’ เลยทีเดียว เพราะผลงานที่ศึกษานั้นเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก นอกจากผลงานที่ยกมาบอกเล่าข้างต้นแล้ว ผลงานที่เด่นและเป็นที่สนใจของคนในสังคมมากก็คือ การวิจัย ‘มณีแดง’ ที่คนเปรียบเปรยว่าเป็นเหมือนยาชะลอวัย นั่นเอง

ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า การวิจัยและพัฒนาโมเลกุล ‘มณีแดง’ ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สกว. สวทช. และ วช. สำหรับทีมวิจัยฯ นอกจากบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว มีรายนามคณะนักวิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยสังเขปดังต่อไปนี้ :

๑. ผศ.ดร. จิรพรรณ  ทองสร้อย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ศึกษาการตรวจวัด รอยแยกของ DNA
๒. ศาสตราจารย์ ดร. นพ. นิพนธ์ ฉัตรธิพากร และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สถานที่และคำแนะนำในเรื่องการย้อนวัยของหนูชรา
๓. บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) และคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการเลี้ยงและวิเคราะห์หมู
๔. อาจารย์ ดร. สรวงสุดา สุภาสัย ภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาหนูพาร์กินสัน และหนู อัลไซเมอร์
๕. ผศ.ดร.สุกัญญา เจริญพร และคณะ ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำการศึกษาลิงแสม

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะผู้วิจัยได้รายงานการค้นพบ DNA ของเชื้อไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstein Barr virus, EBV) หรือ EBVDNA ในน้ำเหลืองของผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูก การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาการตรวจติดตามผลการรักษา โดยที่ EBVDNA จะหายหมดไปหากไม่มีเนื้อมะเร็งโพรงหลังจมูกหลงเหลือ และหากพบมี EBVDNA ในน้ำเหลืองแสดงว่ามีการกลับเป็นซ้ำเกิดขึ้น ในปัจจุบัน แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งโพรงหลังจมูกประมาณ ๖ แสนคนทั่วโลก ได้ประโยชน์จากการตรวจหา EBVDNA ในน้ำเหลือง

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะผู้วิจัยเริ่มรายงานค้นพบการเปลี่ยนแปลงสภาวะเหนือพันธุกรรมของสาย DNA เบสซ้ำในเซลล์มะเร็ง ในผู้ชรา และในโรคอื่น ๆ เช่น กระดูกผุ โรค SLE หรือรู้จักกันในชื่อโรคพุ่มพวง การศึกษาต่อเนื่องทำให้รู้กลไกและบทบาทที่ส่งผลต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรค ทั้งจาก ความไม่เสถียรของจีโนมและการแสดงออกของยีนที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบันคณะผู้วิจัย กำลังศึกษาวิธีการที่จะนำความรู้เกี่ยวกับ สภาวะเหนือพันธุกรรมของสาย DNA เบสซ้ำ มาพัฒนาเป็นยารักษามะเร็ง ป้องกันความพิการจากความชรา และการตรวจกรองมะเร็งที่พบบ่อย นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังเป็นผู้ค้นพบสภาวะเหนือพันธุกรรมของยีนที่จำเพราะกับชนิดเนื้อเยื่อหรือชนิดการติดเชื้อไวรัส และกำลังกำลังศึกษาวิธีการที่จะนำความรู้นี้ไปใช้วินิจฉัยและการตรวจกรองมะเร็งในอนาคต

ส่วนผลงานวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะผู้วิจัยรายงานการค้นพบรอยฉีกขาดของ DNA ที่ไม่เคยถูกค้นพบมาก่อน รอยฉีกขาดของ DNA ที่รู้จักกันจะทำให้เซลล์ตายหรือกลายพันธุ์ แต่รอยฉีกขาดที่ค้นพบกลับน่าจะมีประโยชน์ต่อเซลล์ทำให้จีโนมเสถียร ไม่แก่และไม่เป็นมะเร็ง เป็นการค้นพบกลไกต้นน้ำของความชราบริเวณรอยแยก (youth-DNA-gap) ตรงจุดที่มี DNA แมดทิเลชัน (DNA methylation) ดังนั้นการเข้าใจกลไกการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลที่รอยฉีกขาดนี้อาจนำไปสู่การป้องกันการแก่และมะเร็งในอนาคต 

14 มกราคม พ.ศ. 2566 วันเด็กแห่งชาติ วันสำคัญของเด็กและเยาวชนไทย

วันเด็กแห่งชาติ ของประเทศไทย จัดงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2498 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2508 ได้มีมติเปลี่ยนแปลงเป็นวันเด็กแห่งชาติมาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม และเริ่มจัดงานวันเด็กในปี พ.ศ. 2509

ปี พ.ศ. 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้น ซึ่งจะเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็ก

ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของ วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย ว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่

ขณะนั้น สภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไป คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการ ให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานนั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ

13 มกราคม ของทุกปี กำหนดเป็น ‘วันการบินแห่งชาติ’ จุดเริ่มต้นการบินของไทย

วันที่ 13 มกราคม 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จทอดพระเนตรการบิน จึงกำหนดให้วันนี้เป็นวัน ‘การบินแห่งชาติ’ 

วันการบินแห่งชาตินั้น เริ่มต้นมาจากปี พ.ศ. 2454 ที่ จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบินที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ จึงมีคำสั่งให้นายทหาร 3 นาย คือ พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ, นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต ไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส

ในระหว่างที่นายทหารทั้ง 3 นายเดินทางไปศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศสนั้น ทางการก็ได้สั่งซื้อเครื่องบินเป็นครั้งแรกจากฝรั่งเศส มาจำนวน 7 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินแบบเบรเกต์ปีก 2 ชั้น จำนวน 3 เครื่อง และเครื่องบินแบบนิเออปอร์ตปีกชั้นเดียว จำนวน 4 เครื่อง เข้าไว้ประจำการ นอกจากนี้ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ยังได้อุทิศทรัพย์ส่วนตัว ซื้อเครื่องบินแบบเบรเกต์ให้ราชการไว้ใช้งานอีก 1 ลำ ด้วยเห็นว่าเครื่องบินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางราชการได้ ทำให้ในยุคแรก ประเทศไทยมีเครื่องบินประจำการ จำนวน 8 ลำ

หลังสำเร็จการศึกษานายทหาร นักบินทั้ง 3 นาย ได้กลับมาทดลองบินครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2456 ซึ่งนายทหารนักบินทั้ง 3 นาย สามารถขับเครื่องบินและร่อนลงจอดได้เป็นอย่างดี ท่ามกลางเสียงชื่นชมของผู้ชมจำนวนมากที่มารอชม เนื่องจากในสมัยนั้น การขึ้นบินบนท้องฟ้าถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง ผู้ที่สามารถขับเครื่องบินได้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กล้าหาญ และถือเป็นเกียรติประวัติที่ควรได้รับการสรรเสริญ

‘การยืนเคารพ’ จากประกาศของ ‘คณะราษฎร’ สู่ความย้อนแย้งแห่ง ‘เยาวรุ่น’ ที่ดันไม่ทำตาม

เมื่อหลายวันก่อนในงานคอนเสิร์ตของ BLACKPINK มีประเด็นดราม่าเรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่มี ‘คนบ้า’ คลั่งปฏิวัติคนหนึ่งออกมาห้อยโหนจนน่ารำคาญ พออ่านข้อความจากบุคคลท่านนั้นผมก็เลยรู้สึกถึงความย้อนแย้งที่มีอยู่อย่างสม่ำเสมอของบุคคลท่านนี้ เพราะจริงๆ คนที่บังคับให้คนต้องยืนตรงเคารพเพลงในแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้คือ กลุ่มบุคคลที่ ‘คนบ้า’ คลั่งปฏิวัติคนนี้เคารพซะเหลือเกิน นั่นก็คือ ‘คณะราษฎร’ และ 1 ในผู้ก่อการที่คลั่งการให้คนอื่นยืนเคารพตนและเพลงที่แต่งเพื่อตัวเองนั่นก็คือ ‘จอมพล ป. พิบูลสงคราม’ แต่ก่อนจะไปเล่าเรื่อง ‘บ้าๆ’ ของผู้นำชาติพ้นภัย ผมขอเล่าเรื่องของเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ ก่อนนะครับ 

จุดเริ่มต้นของบทเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ นั้น สืบเนื่องมาตั้งแต่ในสมัย ‘พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้มีการใช้เพลง ‘God Save the King’ ในการบรรเลงถวายความเคารพแด่องค์กษัตริย์ตามแบบอย่างธรรมเนียมการฝึกทหารจากทางฝั่งสหราชอาณาจักร 

ครั้นเมื่อถึงรัชสมัยของ ‘พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 5 พระองค์ เสด็จฯ ติดต่อกับต่างแดนสม่ำเสมอ โดยเฉพาะชาติอาณานิคม เช่น การเสด็จประพาสเกาะชวาและเมืองสิงคโปร์ในช่วงปี พ.ศ. 2414 ทหารที่นั่นก็ได้ใช้เพลง God Save the King บรรเลงเป็นเพลงพระเกียรติเพื่อรับเสด็จเช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำซ้อนกันนี้ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทยให้แต่งเพลงรับเสด็จขึ้นใหม่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

ซึ่งในช่วงแรก เพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นใช้ ‘เพลงบุหลันลอยเลื่อน’ ที่มีการเรียบเรียงทำนองดนตรีขึ้นใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาใช้ทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ ‘พระประดิษฐไพเราะ’ (มี ดุริยางกูร) ได้ดัดแปลงมาจากเพลงสรรเสริญนารายณ์ของเก่า ส่วนเนื้อร้องประพันธ์โดย ‘พระยาศรีสุนทรโวหาร’ (น้อย อาจารยางกูร) นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในปี พ.ศ. 2416 มีเนื้อเพลงว่า....

‘ความ สุขสมบัติ บริวาร . เจริญ พระปฏิภาณ ผ่องแผ้ว 
จง ยืนพระชนมาน . นับรอบ ร้อยแฮ . มี พระเกียรติเพริดแพร้ว . เล่ห์เพียงจันทร’

ต่อมาใน พ.ศ.2431 ‘สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์’ ทรงคิดจัดคอนเสิร์ต ขึ้นในงานเฉลิมพระชนมพรรษาที่หน้าศาลายุทธนาธิการ (กระทรวงกลาโหม) โดยมี ‘ปโยตร์ ชูรอฟสกี้’ นักประพันธ์ดนตรีชาวรัสเซียเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับดนตรีตะวันตก และ ‘สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์’ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบทำนองดังนี้…

...ข้าวรพุทธเจ้าเหล่าพิริย์ผลผลา . สมสมัยกาละปิติกมล . รวมนรจำเรียงพรรค์สรรดุริยพล
สฤติมณฑลทำสดุดีแด่นฤบาล . ผลพระคุณะรักษาพละนิกายะสุขสานต์
ขอบันดาลธ ประสงค์ใด . จงสฤษดิ์ดังหวังวรหฤทัย . ดุจถวายไชยฉนี้ ฯ

ต่อมาได้ทรงแก้และทูลเกล้าฯ ถวายใหม่ในงานพระราชพิธีสรง ‘สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ’ ดังนี้…

ข้าวรพุทธเจ้า . เอามโนและสิรกราน . นบพระภูมิบาลบุญดิเรก . เอกบรมจักริน . พระสยามินทร์
พระยศยิ่งยง . เย็นศิราเพราะพระบริบาล . ผลพระคุณ ธ รักษา . ปวงประชาเป็นศุขสานต์
ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด . จงสฤษดิ์ดังสิทธิ์ดังหวังวรหฤทัย . ดุจถวายไชย ฉนี้ ฯ

จนมาถึง ‘พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว’ รัชกาลที่ 6 เด็กๆมักจะร้อง...ฉนี้...ชะนี ไปโดยมาก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนคำท้ายเป็น...ไชโย มาตั้งแต่บัดนั้น

ส่วนธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์หรือโรงมหรสพในประเทศไทยนั้น สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 เช่นกัน โดยในยุคหนังเงียบ ต้องมีแตรวงหรือวงเครื่องสายผสมบรรเลงประกอบการฉายอยู่แล้ว และจะบรรเลงเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ ถวายความเคารพเมื่อฉายจบหรือจบการแสดง โดยถือว่าเป็นสัญญาณปิดโรง ซึ่งแรกๆ คงบรรเลงอย่างเดียว ต่อมาจึงฉายกระจกพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นบนจอด้วย จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกโรงภาพยนตร์และโรงมหรสพในประเทศไทย โดยไม่มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด ย้ำนะครับ ‘ไม่มีกฎหมายบังคับ’ !!!

ส่วนเยาวรุ่นที่ ‘เห่าหอน’ เมื่อเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ บรรเลงขึ้นและไม่เท่ที่ต้องยืนเคารพ เพราะการยืนเคารพคือการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งบังคับโดยองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลย คุณจะไม่ยืนเขาก็ได้ไม่มีใครว่าอะไร เพียงแต่คุณอาจจะเป็นคนที่โคตร ‘ไม่รู้ภาษา’ และ ‘ไม่มีการศึกษา’ เอาซะเลย สมแล้วที่ถูกจูงจมูกไปไหนก็ได้โดยง่าย 

เรื่องระเบียบต้อง ‘ยืนเคารพ’ นั้นมาเกิดในช่วง 3 ปี หลังปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎร โดย ‘พระยาพหลฯ’ หัวหน้าคณะราษฎรได้ทำให้การยืนเคารพเพลง ‘สรรเสริญพระบารมี’ ในโรงภาพยนตร์เป็น ‘ระเบียบ’ ที่ต้องปฏิบัติตาม (แต่ยังไม่เป็นกฎหมาย) ซึ่ง ‘คณะราษฎรเป็นคนประกาศ’ นะครับ ย้ำ!!! 

ส่วนปฐมเหตุแห่งการ ‘บังคับยืนเคารพ’ โดยใช้ ‘กฎหมาย’ มาจาก ‘จอมพล ป. พิบูลสงคราม’ ผู้เป็นฮีโร่ของเยาวรุ่นพวกนี้ ซึ่งนายทหารและนักการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่ง ‘นายกรัฐมนตรี’ ถึง 8 สมัย รวมระยะเวลากว่า 15 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด เป็นผู้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 4 เรื่องการเคารพธงชาติ, เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อวันที่ 8 กันยายน พุทธศักราช 2482 โดยมีเนื้อความว่า.....

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 4 เรื่องการเคารพธงชาติ, เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี

ด้วยรัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่า ธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นสิ่งสำคัญประจำชาติพึงได้รับการเชิดชูเคารพของชาวไทยทั้งมวล จึงประกาศเป็นรัฐนิยมไว้ดังต่อไปนี้ (ขออนุญาตแปลงเนื้อความเป็นภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบัน)

1. เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นหรือลงจากเสาประจำสถานที่ราชการตามเวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยวหรือนกหวีดเป่าคำนับหรือให้อาณัติสัญญาณการชักธงชาติขึ้นหรือลง ให้แสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม

2. เมื่อได้เห็นธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร หรือธงประจำกองลูกเสือ ซึ่งทางการเชิญผ่านมาหรืออยู่กับที่ประจำแถวทหาร หรือหน่วยยุวชน หรือลูกเสือ ให้แสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม

3. เมื่อได้ยินเพลงชาติ ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในงานพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงานหรือที่อยู่ในวงงานนั้นแสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม

4. เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในโรงมหรสพหรือในงานสโมสรใดๆ ก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงาน หรือที่อยู่ในวงงาน หรือในโรงมหรสพนั้นแสดงความเคารพ โดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม

5. เมื่อได้เห็นผู้ใดไม่แสดงความเคารพดังกล่าวในข้อ 1–2–3 และ 4 นั้น พึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำคัญแห่งการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี

ประกาศมา ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2482
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

ร้องกันได้ยัง!! 'หน้าที่เด็ก' เวอร์ชัน 2023 เพลงแปลงเพื่อกลุ่มการเมือง ‘เยาวรุ่น’

เพจนักเขียนร้อยกรองชื่อดัง 'ภกฺติ' ได้เผยแพร่เนื้อร้องเพลง 'หน้าที่เด็ก' เวอร์ชัน 2023 มีเนื้อหาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มคลั่งไคล้ลัทธิการเมือง หรือกลุ่ม ‘เยาวรุ่น’ (เยาวชน + วัยรุ่น) ซึ่งมักแสดงออกถึงพฤติกรรมก้าวร้าว บิดเบือนสิ่งดีในสังคมให้แปดเปื้อน 

โดยเพจ 'ภกฺติ' (ออกเสียงว่า ภักติ ซึ่งเป็นคำเดียวกับ ภักดี) ได้อิงมาจากทำนอง - คำร้องของ 'หน้าที่เด็ก' เพลงเดิม ซึ่งประพันธ์โดย 'ชอุ่ม ปัญจพรรค์' (ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534) ทำนองโดย 'เอื้อ สุนทรสนาน' (บูรพศิลปิน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สาขาศิลปะการแสดง) มีวง 'สุนทราภรณ์' บรรเลงและบันทึกเสียง ซึ่งนับเป็นบทเพลงที่มีอายุยาวนานที่สุดเพลงหนึ่งของไทย ไว้ดังนี้...

* เด็กเอ๋ยเด็กดี
คิดให้ถ้วนถี่อย่าเอาอย่างมัน (ซ้ำ*)

หนึ่ง ชังชาติศาสนา
สอง ปากหมาและหน้ามั่น

สาม เถียงพ่อแม่ครูอาจารย์
สี่ วาจานั้นช่างกำเริบเสิบสาน

12 มกราคม พ.ศ. 2566 ครบ 1 ปี การจากไป ‘ไวพจน์ เพชรสุพรรณ’ ครูเพลงผู้ยิ่งใหญ่ ฉายา ‘ราชาเพลงแหล่’

ครบรอบ 1 ปี การจากไปของราชาเพลงแหล่ ‘ไวพจน์ เพชรสุพรรณ’ ครูเพลงผู้ยิ่งใหญ่ และศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ หรือ พาน สกุลณี เกิดวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 (79 ปี)  ที่ หมู่ 2 ตำบลมะขามล้ม (ปัจจุบันเป็น ตำบลวังน้ำเย็น) อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายจำปี และนางอ่ำ สกุลณี เป็นชาวไทยเชื้อสายลาว เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 

ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เริ่มหัดร้องเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านของ จ.สุพรรณบุรี ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ โดยได้ฝึกหัดและหัดตามมารดา ซึ่งเป็นแม่เพลงอีแซว จนสามารถร้องเพลงอีแซว และเพลงแหล่ได้เมื่ออายุ 14 ปี จากนั้นได้หัดร้องลิเกกับคณะลิเกประทีป แสงกระจ่าง เมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าประกวดร้องเพลงครั้งแรกที่วัดท่าตลาด ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี เพลงที่ร้องเป็นเพลงแหล่ของ พร ภิรมย์ ชื่อเพลง “จันทโครพ” ปรากฏว่าได้รางวัลที่ 1

ในช่วงนั้น ไวพจน์สนใจขับร้องเพลงลูกทุ่งมาก เพราะเป็นช่วงที่มีนักร้องลูกทุ่งมีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมาย เช่น ชัยชนะ บุญนะโชติ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร , ชาย เมืองสิงห์ ครั้งหนึ่งชัยชนะ บุญนะโชติ ได้นำวงดนตรีมาเล่นที่ตลาดสวนแตงและมีการรับสมัครประกวดร้องเพลง ไวพจน์จึงสมัครประกวดร้องเพลงด้วย และได้รับการชมเชยจากผู้ชมผู้ฟังเป็นจำนวนมาก ชัยชนะ บุญนะโชติ จึงชักชวนให้เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งและตั้งชื่อให้ใหม่ว่า 'ไวพจน์ เพชรสุพรรณ' หลังจากนั้นได้นำไวพจน์ ไปฝากเป็นศิษย์ของครูสำเนียง ม่วงทอง นักแต่งเพลงซึ่งเป็นชาว จ.สุพรรณบุรี เช่นกัน ซึ่งเป็นเจ้าของวงดนตรี 'รวมดาวกระจาย' ไวพจน์ จึงได้เข้ามาร่วมวงในฐานะนักร้องนำ ครูสำเนียงได้แต่งเพลงให้ร้อง และประสบความสำเร็จอย่างมาก คือ เพลง 'ให้พี่บวชเสียก่อน' และยังได้ขับร้องเพลงของนักแต่งเพลงผู้อื่น คือ จิ๋ว พิจิตร เช่น เพลง 'แบ่งสมบัติ' และ '21 มิถุนา ขอลาบวช' เป็นต้น


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STATES TIMES
Take Me Top